กระแสของ Free Magazine ในญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างของฟรีที่หาได้ง่ายในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่จะวางให้เห็นอย่างสะดุดตาบริเวณทางเข้าร้านสะดวกซื้อตามสถานีรถไฟใหญ่ๆ ห้างสรรพ สินค้ากลางใจเมือง
คุณสามารถเห็นได้จากร้านขายซีดี เช่น Tower Record, HMV, Tsutaya หรือแม้ในร้าน อาหารบางร้านซึ่งสังเกตได้จากคำว่า “FREE” หรือ 0 Yen หรือไม่ก็อาจมีอักษรคันจิสองตัวที่เขียนอยู่บนปกอ่านว่า mu-ryou ถ้าหากไม่มั่นใจควรจะสอบถามพนักงานให้แน่ใจเสียก่อนว่าเป็น Free Magazine จริงๆ หรือไม่
ถึงแม้ว่าเนื้อหาใน Free Magazine หลายเล่มจะมีไม่มากเท่า Magazine ที่ต้องจ่ายเงินซื้อก็ตาม แต่เนื้อหาที่ลงพิมพ์นั้นเอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอยู่ไม่น้อย ทั้งในแง่ความรู้ทั่วไป ร้อยแปดเทคนิคในการเลือกซื้อของ ข้อมูลการท่องเที่ยวและงานเทศกาลต่างๆ การแต่งบ้านความเคลื่อนไหวล่าสุดในวงการบันเทิง รวมถึงคูปองลดราคาและโฆษณาส่งเสริม การขายชนิดวันต่อวันเลยก็มี ฯลฯ
ด้วยความหลากหลายนี้เองจึงมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายเป็นเงาตามตัว ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับคนต่างชาติ นอกจากจะได้ประโยชน์ดังกล่าวแล้ว Free Magazine นี้ยังใช้เป็นสื่อ การเรียนภาษาญี่ปุ่นนอกห้องเรียนได้เป็นอย่างดี ขอมีแค่เพียงพจนานุกรม เวลาสำหรับอ่าน และคนให้ถาม (ในกรณีเปิดพจนานุกรมก็แล้วยังไม่เข้าใจ) ก็จะช่วยเสริมสร้างและพัฒนาการอ่านภาษาญี่ปุ่นได้เร็วโดยไม่รู้ตัว
บริษัทผู้ผลิต Free Magazine มีรายได้จากค่าโฆษณาที่ลูกค้า (ผู้ประกอบการธุรกิจ) เล็งเห็นว่า เป็นอีก chanel หนึ่งที่มีประสิทธิภาพในราคายุติธรรมสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลผ่านไปยัง กลุ่มผู้บริโภคได้
การหาทำเลที่จะวาง Free Magazine ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่มาลงโฆษณา และใน ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากตามกลยุทธ์การส่ง free directmail ถึงบ้านก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลสูงในการเจาะสู่ตลาด ที่สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนและ แน่นอนด้วยวิธีง่ายๆ เพียงแจ้งความจำนงพร้อมที่อยู่ไปยังบริษัทผู้ผลิต Free Magazine
ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของ Free Magazine ในญี่ปุ่นคือ ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดพิมพ์ด้วยกระดาษ recycle ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิต อีกทั้งช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายใต้กลไกการส่งเสริมการตลาดที่มีมานานจนเป็นกิจกรรมปกติของ Free Magazine ในภาคธุรกิจของญี่ปุ่นนี้นับวันก็ยิ่งมีส่วนผลักดันให้ผู้คนบริโภคทั้งข้อมูลและสินค้ามากขึ้นเรื่อยๆ
จึงไม่น่าแปลกใจที่ Free Magazine ของญี่ปุ่นทุกวันนี้จะมีรูปเล่มสวยงามและเนื้อหาที่น่าสนใจ ซึ่งดูๆ ไปอาจจะเป็น Magazine ที่ดีและมีคุณภาพไม่ต่างไปจาก Magazine บางเล่มในท้องตลาด ที่ต้องควักกระเป๋าซื้อเสียด้วยซ้ำ