Try to be Thai

บ้านไทยอายุเกือบ 100 ปี ตกแต่งแบบ Art Nuvo ของคุณหญิงเชย บุตรีของกฤตราชทรงสวัส อดีตอธิบดีกรมศิลปากร หลังนี้ต้องตั้งตระหง่านเป็นส่วนหนึ่งของถนน ข้าวสารมาเนิ่นนานนับตั้งแต่ปี 2540 (ในปีเดียวกับที่สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม) แต่น้อยคนนักที่จะสังเกตหรือพบเห็น วันนี้ Starbucks เป็นผู้ถือสิทธิเช่าเป็นระยะเวลา 3 ปี จากหลานชายของคุณหญิงเชย ตือ กฤต ไกรจิตติ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เปิดสาขาที่ 44 ขึ้นบนถนนหลากวัฒนธรรม โดยใช้เวลาดำเนินการบูรณะและปรับปรุงเป็นเวลา 2 เดือน และยังคงสภาพของลวดลายจิตรกรรมที่ปรากฏบนเพดานไว้เช่นเดิม

บริเวณชั้นล่างด้านหน้าเป็นส่วนของ Counter Bar ห้องนั่งเล่น 8 เหลี่ยม (หรือห้อง Memphis ตั้งตามภาพสไตล์อียิปต์ที่ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้รังสรรค์ขึ้น) และห้องรับแขก ชั้นบนแบ่งเป็น 3 ห้อง ห้องแรก แสดงภาพถ่ายโบราณของเกาะรัตนโกสินทร์ ห้องที่ 2 บอกเรื่องราวของตระกูลไกรจิตติ และห้องสุดท้าย เปิดโอกาสให้ศิลปินนำผลงานมาแสดงโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ

เป็นอีกครั้งที่ Starbucks “Try to be Thai” นับจากสาขาทองหล่อ สุรวงศ์ (มณเฑียร พลาซ่า) และหลังสวนที่มีกลิ่นอายของสถาปัตยกรรมและการตกแต่งแบบไทยๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ Starbucks ทุกสาขาทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนกันคือเป็น “Third Place…between home and work” แอนดรูว์ เนธัน กรรมการผู้จัดการ บอก

ร้านสตาร์บัคส์คอฟฟี่ในเขตกรุงเทพฯ

  1. เซ็นทรัล ชิดลม
  2. เซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว
  3. ซอยคอนแวนต์ สีลม
  4. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  5. มณเฑียร พลาซ่า
  6. อัมรินทร์ พลาซ่า
  7. เซ็นทรัล พลาซ่า ปิ่นเกล้า
  8. สยามเซ็นเตอร์
  9. เอสซีบี พาร์ค พลาซ่า*
  10. เซ็นทรัล ซิตี้ บางนา
  11. อาคารนายเลิศ สุขุมวิท 5
  12. เซ็นทรัล พลาซ่า พระราม 3
  13. อาคาร บางกอก ซิตี้ ถนนสาทร*
  14. อาคารเอ็มโพเรียม ทาวเวอร์*
  15. ห้างสรรพสินค้า ดิ เอ็มโพเรียม
  16. ทองหล่อ ระหว่างซอยทองหล่อ 8 และ 10*
  17. ห้างสรรพสินค้า มาบุญครอง
  18. เซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า
  19. อาคาร เอ็มไฟร์ ทาวเวอร์ ถนนสารทร*
  20. อาคาร อื้อ จื่อ เหลียง
  21. อาคาร จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่*
  22. แคมป์เดวิส สุขุมวิท 24*
  23. บีทูเอส ชั้น7, เซ็นทรัล ชิดลม
  24. อาคารซีอาร์ซี, ออล ซีซั่นเพลส ถนนวิทยุ*
  25. ซอยหลังสวน*
  26. เซ็นทรัลพลาซ่าพระราม 2 ชั้น 1
  27. เอสเอฟทาวน์ เซ้นเตอร์ ซอยทองหล่อ
  28. เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน
  29. ยูบีซี 2* (ธนาคารกสิกรไทย)
  30. นิชาดาธาน
  31. พหลโยธิน* (ธนาคารกสิกรไทย)
  32. สยามสแควร์ (ธนาคารกสิกรไทย)
  33. สยามดิสคัฟเวอร์รี่*
  34. เดอะมอลล์ บางกะปิ
  35. สเตท ทาวเวอร์
  36. เมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์
  37. ถนนข้าวสาร

ร้านสตาร์บัคส์คอฟฟี่ในจังหวัดท่องเที่ยว

  1. พัทยา ซอยยามาโต้*
  2. พัทยา ลิโด
  3. หาดเฉวง เกาะสมุย
  4. หาดป่าตอง ภูเก็ต*
  5. เชียงใหม่
  6. เชียงใหม่ แอร์พอร์ท พลาซ่า*
  7. มอเตอร์เวย์พัทยา

* บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

Did you know?

Starbucks มีสาขาอยู่ในกรุงเทพฯ 37 สาขา โดยมากกระจุกตัวอยู่ในย่านธุรกิจหรูหรา เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าผู้มีรสนิยมวิไล ขณะที่สาขาต่างจังหวัดมีเพียง 7 สาขา โดยเน้นในจังหวัดท่องเที่ยวเป็นหลัก และ Starbuck ไม่มีสาขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางเลย (ยกเว้นกรุงเทพฯ) โดยสาขาที่ทำยอดขายสูงสุดให้กับ Starbucks จะผลัดเปลี่ยนกันไปในแต่ละเดือน แต่ละสาขาชิดลมครองอันดับ 1 อยู่เป็นประจำ

New Brand : Starbucks Coffee สาขา ถนนข้าวสาร ตั้งอยู่ในซอย Sunset Street
Company : บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ไทยแลนด์) จำกัด เริ่มดำเนินการครั้งแรกในไทย เมื่อปี 2541 ณ ห้างเซ็นทรัล ชิดลม ในนามของบริษัท คอฟฟี่ พาร์ทเนอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ จำกัด และ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ก่อนที่ในปี 2543 บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ จำกัด ได้ถือสิทธิ์กิจการทั้งหมด และดำเนินงานโดย บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ไทยแลนด์) จำกัด นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
Official Launch : 1 พฤษภาคม 2547
Positioning : เป็นสาขาของ Starbucks ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของสถาปัตยกรรม “บ้านโบราณ 97 ปี” สร้างโดยสถาปนิกชาวอิตาเลียน และการตกแต่งที่กลมกลืนระหว่างความเป็นไทยและตะวันตกด้านบนเป็นส่วนจัดแสดงพิพิธภันฑ์ภาพ
Target : ผู้ที่รักในการดื่มกาแฟคุณภาพดีจากทั่วประเทศ ท่ามกลางบรรยากาศที่อบอุ่น คุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไป