โพลล์คนกรุงชี้ การเมืองเดือด สารพัดม็อบขย่มรัฐบาล

หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ หน้า 2 (วันวันจันทร์ 28 พฤศจิกายน 2548) ได้นำเสนอรายงานวิเคราะห์ระบุว่า ปรากฏการณ์ “สนธิฟีเวอร์” ทุกช่วงวันศุกร์นั้น สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อสถานการณ์ร้อนทางการเมือง” ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,438 ตัวอย่าง โดยโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้

ตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 64.0 ติดตามข่าวสารการเมืองเป็นบางวัน ร้อยละ 31.2 ติดตามทุกวัน และร้อยละ 4.8 ไม่ได้ติดตามเลย

สำหรับความเชื่อต่อความเข้มข้นร้อนแรงทางการเมืองนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.8 เชื่อว่าการเมืองจะเข้มข้นร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ร้อยละ 29.4 ไม่เชื่อ และร้อยละ6.8 ไม่มีความเห็น ในขณะเดียวกัน ตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ57.2 ไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพทางการเมืองในอีก 3 เดือนข้างหน้า ร้อยละ18.1 มั่นใจต่อเสถียรภาพทางการเมือง และร้อยละ 24.7 ไม่มีความเห็น

เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็นต่อ “สาเหตุที่กระทบต่อเสถียรภาพทางการเมือง” นั้น ตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.4 เห็นว่า มาจากทุกสาเหตุที่มีผลกระทบ ได้แก่ ข่าวม็อบต่างๆ เช่น ม็อบครู ม็อบต้านแปรรูป กฟผ. การชุมนุมที่สวนลุม

ส่วนร้อยละ 71.1 เห็นว่า มาจากประเด็นความไม่พอใจของประชาชนต่อการปิดกั้นการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของประชาชน ร้อยละ68.7 เห็นว่า มาจากการโอนย้ายครูไปสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นร้อยละ 56.8 เห็นว่า มาจากชายแดนภาคใต้

ร้อยละ 54.8 เห็นว่ามาจากความไม่พอใจของประชาชนต่อข่าวพรรคไทยรักไทยที่เลือกปฏิบัติเอาใจใส่ต่อพื้นที่ที่มี ส.ส.ของพรรคอยู่ก่อนพื้นที่อื่นๆ

ร้อยละ 52.3 เห็นว่า มาจากข่าวการแปรรูป กฟผ. ร้อยละ 49.2 เห็นว่า มาจากวิธีการตอบโต้ของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลต่อผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และร้อยละ 40.6 เห็นว่า มาจากบทบาทการทำงานของฝ่ายค้าน

สำหรับวิธีแก้ปัญหาของรัฐบาลเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเมืองนั้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยกับวิธีแก้ปัญหาของรัฐบาล ดังนี้

1. เร่งแก้ปัญหาประชาชนลดการตอบโต้ (เห็นด้วย ร้อยละ 72.8)
2. คืนพื้นที่สื่อเสนอข่าวสารที่สมดุลให้กับประชาชน (เห็นด้วย ร้อยละ71.6)
3. ลดอคติต่อกันในสังคมเพื่อความมั่นคงของประเทศ (เห็นด้วย ร้อยละ70.8)
4. ชี้แจ้งสร้างความเข้าใจที่ดีกับประชาชนอย่างสุภาพไม่ก้าวร้าว (เห็นด้วยร้อยละ 68.2)

ในขณะเดียวกัน ตัวอย่างไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการเอาผิดกับคนที่เห็นตรงข้ามกับรัฐบาล (ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 64.9)

ผลสำรวจต่อ การประเมินการกระทำของรัฐบาลในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า การกระทำของรัฐบาลที่ประชาชนพอใจ 5 อันดับแรก ดังนี้

1. การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามที่โจมตีรัฐบาล (ร้อยละ 68.4)
2.ผลงานนายกรัฐมนตรีในต่างประเทศ (ร้อยละ 64.5)
3. รณรงค์แนวทางแก้ปัญหาครอบครัว เช่นให้วันอาทิตย์ เป็นวันครอบครัว (ร้อยละ63.7)
4. การปราบปรามยาเสพติด (ร้อยละ61.7)
และ 5. โครงการรณรงค์ลดใช้พลังงาน (ร้อยละ 60.9)

เมื่อสอบถามตัวอย่างถึง ความพอใจและไม่พอใจโดยภาพรวมต่อพรรคฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.3 พอใจพรรคฝ่ายรัฐบาลมากกว่า เพราะมีผลงานชัดเจน ช่วยให้ประเทศเจริญมากขึ้น ตั้งใจจริงแก้ปัญหาวิกฤตด้านต่างๆ ของประเทศ เป็นต้น รองลงมา คือ ไม่พอใจพรรคฝ่ายค้าน เพราะไม่มีผลงาน ลอยตัวเหนือปัญหา ไม่เห็นทำอะไรชัดเจน มุ่งล้มล้างรัฐบาล (ร้อยละ46.9)

ไม่พอใจพรรคฝ่ายรัฐบาล เพราะแทรกแซงสื่อปิดกั้นการรับรู้ข่าวสารของประชาชน มุ่งประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง มีพฤติกรรมตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามที่รุนแรง เป็นต้น (ร้อยละ 39.2) และพอใจพรรคฝ่ายค้านมากกว่า เพราะติดตามการตรวจสอบรัฐบาลอย่างใกล้ชิด ปรับปรุงการทำงานตลอด มีข้อมูลที่เชื่อถือได้ ตั้งใจทำงาน เป็นต้น (ร้อยละ24.1) ในขณะที่มีตัวอย่างร้อยละ 20.3 ที่ไม่ระบุความคิดเห็น

ประเด็นสุดท้ายที่น่าพิจารณา คือ การให้โอกาสรัฐบาลในการทำงานต่อไป พบว่า ตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 51.4 ให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป ร้อยละ28.9 ไม่ให้โอกาสและร้อยละ 19.7 ไม่มีความเห็น.

ความเชื่อต่อความเข้มข้นร้อนแรงทางการเมือง
– เชื่อว่าการเมืองจะเข้มข้นร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ร้อยละ 63.8
– ไม่เชื่อ ร้อยละ 29.4
– ไม่มีความเห็น ร้อยละ 6.8

ความมั่นใจต่อเสถียรภาพทางการเมืองในอีก 3 เดือนข้างหน้า
– ไม่มั่นใจ ร้อยละ 57.2
– ไม่มีความเห็น ร้อยละ 24.7
– มั่นใจ ร้อยละ 18.1

การให้โอกาสรัฐบาลในการทำงานต่อไป
– ให้โอกาสทำงานต่อ ร้อยละ 51.4
– ไม่ให้โอกาส ร้อยละ 28.9
– ไม่มีความเห็น ร้อยละ 19.7

การประเมินการกระทำของรัฐบาลในช่วง 30 วันที่ผ่านมา

การกระทำของรัฐบาล
พอใจ
ไม่พอใจ
ไม่มีความเห็น

1.การที่นายกฯไม่ตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม
– พอใจ 68.4
– ไม่พอใจ 18.5
– ไม่มีความเห็น 13.1

2.ผลงานนายกฯในต่างประเทศ
– พอใจ 64.5
– ไม่พอใจ 26.8
– ไม่มีความเห็น 8.7

3.รณรงค์แก้ปัญหาครอบครัว
– พอใจ 63.7
– ไม่พอใจ 17.9
– ไม่มีความเห็น 18.4

4.การปราบปรามยาเสพติด
– พอใจ 61.7
– ไม่พอใจ 29.3
– ไม่มีความเห็น 9.0

5. โครงการรณรงค์ลดใช้พลังงาน
– พอใจ 60.9
– ไม่พอใจ 20.3
– ไม่มีความเห็น 18.8

6.แนวทางสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้เยาวชน
– พอใจ 60.6
– ไม่พอใจ 12.8
– ไม่มีความเห็น 26.6

7.การประกาศปราบปรามสื่อลามก
– พอใจ 50.2
– ไม่พอใจ 38.7
– ไม่มีความเห็น 11.1

8.ความร่วมมือกับของรัฐบาลกับกรุงเทพมหานครเรื่องรถไฟฟ้า
– พอใจ 48.9
– ไม่พอใจ 32.6
– ไม่มีความเห็น 18.5

9.การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้
– พอใจ 48.3
– ไม่พอใจ 31.1
– ไม่มีความเห็น 20.6

10.การแก้ปัญหาความยากจน
– พอใจ 43.8
– ไม่พอใจ 39.9
– ไม่มีความเห็น 16.3