3 บิ๊กธนาคารเบื้องหลัง Hub การเงินสิงคโปร์

แม้ว่าในช่วง 2 ทศวรรษแรกของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จะไม่ให้ความสำคัญกับกลุ่มทุนจีนขนาดใหญ่ในประเทศ แต่กลุ่มทุนธนาคารยังคงเป็นกลุ่มทุนภาคเอกชนขนาดใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์เพียง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มธนาคารยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ (The United Overseas Bank) หรือ UOB Group กลุ่มธนาคารโอเวอร์ซีส์ยูเนียน (The Overseas Union Bank) หรือกลุ่ม OUB และกลุ่มธนาคารโอเวอร์ซีไชนีส หรือ กลุ่มโอซีบีซี

ธนาคารทั้ง 3 กลุ่มอยูคู่กับสิงคโปร์มาตั้งแต่ก่อนจะกลายเป็นเอกชน โดยไม่ได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาล

United Overseas Bank (UOB) เป็นธนาคารที่ทรงอิทธิพลในสิงคโปร์และต่อระบบการธนาคารของสิงคโปร์ ยังคงถูกควบคุมโดย Wee Cho Yaw ผู้ก่อตั้งและครอบครัว แม้ว่าเขาและครอบครัวจะถือครองหุ้นของธนาคารเพียงประมาณร้อยละ 10

Wee ทำธุรกิจอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่ใช่ธุรกิจด้านธนาคาร เขาควบคุมบริษัท United Oversias Land และเป็นประธานและมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ United Industrial Corporation ซึ่งผลิตผงซักฟอก บริษัทหลังนี้ยังเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ และบริหารบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าและท่องเที่ยว ธุรกิจคอมพิวเตอร์ รวมทั้งควบคุมบริษัท Singapore Land ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของสิงคโปร์

Wee ยังมีธุรกิจโรงแรม โดยถือหุ้นและมีอำนาจควบคุมโรงแรม Plaza Parkroyal, New Park Centra และ Grand Plaza Parkroyal ของสิงคโปร์ ธุรกิจหลากหลายของ Wee อาจนำไปสู่ปัญหาผลประโยชน์ขัดแย้งทับซ้อน โดยมีความวิตกกันว่า Wee และครอบครัวของเขาอาจใช้ UOB เป็นฐานในการสร้างความมั่งคั่งส่วนตัว แทนที่จะรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้น

ส่วนธนาคาร Overseas-Chinese Banking Corporation (OCBC) ซึ่งเป็นธนาคารเอกชนใหญ่อันดับสองของสิงคโปร์ ได้เปิดเผยเป็นครั้งแรกในปี 1999 ว่า มีที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ในครอบครองจำนวนมาก คือ 187 แห่งทั่วสิงคโปร์ จนเกือบจะกลายเป็นบริษัทที่ครองครองที่ดินมากที่สุดในสิงคโปร์ เมื่อเทียบกับบรรดาบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมด้านนี้โดยตรง โดยมีเพียงประมาณหนึ่งในสี่ของที่ดินจำนวนดังกล่าว ที่ถูกใช้ด้วยวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับธนาคาร นอกจากนี้ OCBC ยังถือครองหุ้นในบริษัทจดทะเบียนอีกหลายแห่ง รวมทั้งในบริษัทน้ำอัดลม Fraser&Neave

OCBC เคยประกาศจะขายทิ้งทรัพย์สินที่ไม่ได้อยู่ในภาคการเงินการธนาคาร แต่ต่อมาก็ได้ประกาศเลื่อนการขายออกไป

ด้านธนาคาร DBS ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่สุดของสิงคโปร์ ก็ถูกควบคุมโดย Temasek Holdings บริษัทลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งถือหุ้นใหญ่ในอีกหลายบริษัทคือ Capitaland บริษัทอสังหาริมทรัพย์ใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลนส์ บริษัท ST Engineering และ Chartered Semiconductor Engineering

ส่วนธนาคาร Overseas Union Bank (OUB) ได้ชื่อว่าเป็นธนาคารอันดับ 3 ของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นธุรกิจการลงทุนร่วมระหว่างกลุ่มนายทุนจีนในสิงคโปร์ ไทย และฮ่องกง ภายใต้การนำของโอว หยาง จี่ มหาเศรษฐีจีนเชื้อสายไทย เกิดในกรุงเทพฯ

ธนาคาร OUB มีสาขาทั่วสิงคโปร์ 35 แห่ง และสาขาอื่นๆ ในอีก 14 ประเทศ รวม 70 สาขา ธนาคารทั้ง 3 ยังได้ลงทุนรวมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาสิงคโปร์ ร่วมกันจัดตั้งธนาคารธนาคารระหว่างประเทศของสิงคโปร์ (The International Bank of Singapore)

นอกจากนี้ธนาคารทั้ง 3 กลุ่ม นอกจากประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ทุกรูปแบบแล้ว ยังมีเครือข่ายธุรกิจการลงทุน ทั้งในสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย บรูไน ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง และประเทศอื่นๆ

ทั้ง 3 ธนาคารยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางการค้าและการเงินของสิงคโปร์ ในภูมิภาคนี้ โดยปรับปรุงระบบบริการ และการใช้เครื่องมือให้ทันสมัยเหมือนธนาคาชั้นนำของโลก ยังมีส่วนในการค้าเงินตราระหว่างประเทศ และพัฒนาตัวเองให้เป็นตลาดค้าพันธบัตรดอลลาร์ในเอเชีย ที่มีอัตราดอกเบี้ยหลากหลาย และยังมีบทบาทในการอัดฉีดเงินทุนให้กับธุรกิจภายในประเทศ และในภูมิภาคนี้แถบนี้ เพื่อนำไปใช้พัฒนาวิธีการผลิตสินค้าต่างๆ

(เนื้อหาบางส่วนมาจากหนังสือ จีนโพ้นทะเลสมัยใหม่ โดย ดร. ภูวดล ทรงประเสริฐ)

Did you know?

ธนาคารกรุงเทพ

ซึ่งเคยเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนหน้าวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย ก่อนที่จะถูกธนาคาร DBS ของสิงคโปร์แย่งตำแหน่งไป ยังคงถูกควบคุมโดยตระกูลโสภณพนิช ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งธนาคาร แม้ว่าตระกูลดังกล่าวจะถือครองหุ้นอยู่เพียงประมาณร้อยละ 15 แต่ก็ยังคงพยายามรักษาอำนาจการควบคุมไว้ได้พอสมควร เนื่องจากผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ค่อนข้างกระจัดกระจาย และแต่ละรายถือครองหุ้นในจำนวนไม่มาก

ในสายตาของธนาคารต่างชาติ ธนาคารที่น่าจะกู้ยืมเงินมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจจะเป็นธนาคารสิงคโปร์ โดยต่างชาติมองว่าสิงคโปร์เป็นผู้ให้บริการด้านการเงินประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะมีการบริหารจัดการดี เข้าถึงได้ง่าย มีความเป็นมืออาชีพ และที่สำคัญคือมีเงินสด

แต่ธนาคารของสิงคโปร์ก็หนีไม่พ้นปัญหาโครงสร้างความเป็นเจ้าของที่เป็นปัญหาร่วมอย่างหนึ่งของธนาคารในภูมิภาคนี้