การบินไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 15 Feb 2024 04:59:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 การบินไทยประกาศซื้อเครื่องบินจาก Boeing จำนวน 45 ลำ ให้เหตุผลทดแทนเครื่องรุ่นเก่า ดึงส่วนแบ่งการตลาดกลับมา https://positioningmag.com/1462744 Thu, 15 Feb 2024 01:33:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1462744 ‘การบินไทย’ สายการบินแห่งชาติได้ประกาศซื้อเครื่องบินจาก Boeing จำนวน 45 ลำ โดยเป็นรุ่นลำตัวกว้าง นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ของเครื่องบินมาใช้ผู้ผลิตอย่าง GE Aerospace แทน Rolls-Royce โดยให้เหตุผลเพื่อทดแทนเครื่องบินรุ่นเก่า ดึงส่วนแบ่งการตลาดกลับมา แต่ไม่กระทบต่อการชำระหนี้ของสายการบิน

การบินไทยประกาศการซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่จาก Boeing เป็นจำนวน 45 ลำ โดยเป็นเครื่องบินแบบลำตัวกว้าง โดยสายการบินแห่งชาติได้ให้เหตุผลถึงการการดึงส่วนแบ่งทางการตลาดให้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังยืนยันว่าในการจัดหาเครื่องบินรุ่นใหม่นั้นไม่กระทบกับการชำระหนี้

สำหรับการจัดหาเครื่องบิน 45 ลำดังกล่าว บริษัทได้เซ็นสัญญากับทาง Boeing ผู้ผลิตเครื่องบินจากสหรัฐอเมริกา รวมถึง GE Aerospace ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่นจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งถ้าหากมีการซื้อขายเครื่องบินแล้วเสร็จนั้นจะทำให้การบินไทยมีเครื่องบินประจำฝูงบิน 96 ลำ ซึ่งยังต่ำกว่าตัวเลขในปี 2013 ที่การบินไทยมีฝูงบิน 100 ลำ

ก่อนหน้านี้การบินไทยใช้เครื่องยนต์จาก Rolls-Royce ผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่นจากอังกฤษเป็นหลัก แต่ในรายงานของสำนักข่าว Bloomberg ได้ชี้ว่า ราคาเครื่องยนต์ไอพ่นจากผู้ผลิตรายดังกล่าวมีราคารวมถึงค่าบำรุงซ่อมแซมที่สูง จึงทำให้การบินไทยได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์เจ็ตจาก GE Aerospace แทน

การบินไทยได้ให้เหตุผลถึงการซื้อเครื่องบินชุดใหม่เพื่อที่จะลดข้อจำกัดด้านฝูงบินของบริษัททั้งในเชิงปริมาณและประสิทธิภาพของเครื่องบินในฝูงบิน ซึ่งส่งผลทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทที่ลดลงอย่างต่อเนื่อในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทที่สนามบินสุวรรณภูมิมีสัดส่วนลดลงจาก 51.3% ในปี 2013 เหลือแค่ 27% ในปี 2023

สายการบินแห่งชาติยังได้ชี้ว่าถ้าหากไม่มีการจัดหาเครื่องบินรุ่นใหม่แล้ว ภายในปี 2033 การบินไทยจะเหลือเครื่องบินที่ประจำฝูงบินแค่ 51 ลำเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลต่อการหารายได้ของสายการบินทำให้เม็ดเงินที่ได้ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้สินได้

แผนการเงินที่จะนำมาชำระค่าเครื่องบินและเครื่องยนต์นั้น การบินไทยได้เตรียมความพร้อมทางการเงินและคาดการณ์สภาพคล่องในอนาคตว่ามีจำนวนเพียงพอต่อการชำระค่าเครื่องบินและเครื่องยนต์ ยังรวมถึงการพิจารณาแหล่งเงินทุนและเลือกวิธีการจัดหาเงินทุนที่เหมาะสมอีกครั้ง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเงิน สภาพคล่องของการบินไทย รวมถึงความคุ้มค่าทางการเงิน ซึ่งการบินไทยเปิดกว้างพิจารณารูปแบบการเช่าดำเนินการและเช่าซื้อเครื่องบินในสัดส่วนที่เหมาะสม และการจัดหาเครื่องบินในครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทฯ ตามแผนฟื้นฟูกิจการแต่อย่างใด

เครื่องบินรุ่นใหม่ของการบินไทยที่ได้สั่งซื้อจาก Boeing จะได้รับมอบในปี 2027 และในปี 2033 และรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจะมีการเปิดเผยในงาน Singapore Airshow ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์

]]>
1462744
การบินไทยกำไร 4 ไตรมาสติดต่อกันแล้ว ล่าสุดโกยกำไรไปถึง 1,538 ล้านบาท https://positioningmag.com/1451362 Fri, 10 Nov 2023 06:59:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1451362 หลังจากที่การบินไทยต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ ล่าสุดสายการบินแห่งชาติรายนี้ได้รายงานผลประกอบการล่าสุดในไตรมาส 3 ของปี 2023 มีกำไร 1,538 ล้านบาท ทำให้การบินไทยมีกำไรติดต่อกันถึง 4 ไตรมาสแล้ว

บมจ. การบินไทย ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ในไตรมาส 3 สายการบินแห่งชาติรายนี้ยังทำกำไรได้มากถึง 1,538 ล้านบาท โดยปัจจัยหลักมาจากรายได้จากค่าโดยสารเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะเชื้อเพลิงที่ลดลง

รายได้รวมของการบินไทยในไตรมาส 3 อยู่ที่ 37,008 ล้านบาท เติบโตกว่าปีที่แล้ว 12.6% ปัจจัยหลักที่ทำให้รายได้เติบโตก็คือรายได้จากค่าโดยสารที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสารอยู่ที่ 77.3% ดีกว่าปี 2022 เล็กน้อย ขณะที่รายได้จากกิจการอื่น ๆ เช่น ครัวการบิน ฯลฯ เติบโต รวมถึงรายได้จากดอกเบี้ยรับที่เพิ่มขึ้น

ค่าใช้จ่ายในของการบินไทยในไตรมาส 3 อยู่ที่ 29,289 ล้านบาท ได้ข้อดีจากราคาน้ำมันเครื่องบินที่ลดลง อย่างไรก็ดีสายการบินมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมา 7.6% ขณะที่ค่าซ่อมบำรุงอากาศยานนั้นลดลง

การบินไทยยังได้รายงานกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) หักลบกับค่าเช่าเครื่องบินแล้ว ในไตรมาส 3 นี้มีกระแสเงินสดมากถึง 8,360 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 37.5%

ขณะเดียวกันบริษัทยังได้ขายสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักในประเทศอินโดนีเซีย สำนักงานขายที่ประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการขายเครื่องบิน Boeing รุ่น 747-400 จำนวน 2 ลำ และ Airbus A340-600 จำนวน 1 ลำ

นอกจากนี้การบินไทยยังรายงานถึงการรับโอนเครื่องบินจากสายการบินไทยสมายล์ เนื่องจากบริษัทกำลังปรับปรุงโครงสร้างภายในกลุ่มธุรกิจการบินไทย และทำการบินแทนไทยสมายล์ในเส้นทางบินต่างประเทศ เช่น เกาสง ปีนัง มุมไบ ฯลฯ และคาดว่าการโอนเครื่องบินจะแล้วเสร็จในไตรมาส 1 ของปี 2024

การรายงานกำไรในไตรมาส 3 ของการบินไทยนั้น ทำให้สายการบินแห่งชาติรายนี้มีกำไรติดต่อกัน 4 ไตรมาสแล้ว

หลังจากนี้การบินไทยเตรียมเพิ่มเที่ยวบินไปยังประเทศจีน รวมถึงเส้นทางอื่น ๆ ทำให้การบินไทยมีเส้นทางบิน 51 เส้นทาง และสายการบินยังเตรียมปรับโครงสร้างโดยจัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อลดความซ้ำซ้อน บริหารจัดการด้านธุรกิจ รวมถึงพิจารณาการลงทุนจัดตั้งศูนย์ซ่อมอากาศยานที่สนามบินอู่ตะเภาด้วย

]]>
1451362
เกือบเต็มลำ! ผู้โดยสาร “การบินไทย” เส้นทางเข้า-ออก “จีน” เด้งแตะ 90% หลังเปิด “ฟรีวีซ่า” https://positioningmag.com/1446401 Mon, 02 Oct 2023 09:40:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446401 “การบินไทย” เผยอัตราผู้โดยสารบนเที่ยวบินระหว่างประเทศจีนกับไทยสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ หลังรัฐบาลเปิด “ฟรีวีซ่า” ให้กับนักท่องเที่ยว “จีน” โดยพบว่าอัตราผู้โดยสารขึ้นไปแตะ 90% ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 เตรียมเพิ่มจำนวนเที่ยวบินไปกลับจีนรองรับดีมานด์

“กรกฎ ชาตะสิงห์” ประธานเจ้าหน้าที่สายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า เที่ยวบินระหว่างประเทศจีนกับไทยมีอัตราผู้โดยสารต่อเที่ยวขึ้นไปมากกว่า 90% ตั้งแต่ที่รัฐบาลประกาศนโยบาย “ฟรีวีซ่า” ชั่วคราวให้กับนักท่องเที่ยวจีน

“เราเห็นการเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญของจำนวนชาวจีนที่เดินทางมาไทย” กรกฎกล่าว

ประเทศไทยกำลังตั้งเป้าดึงนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาเพื่อช่วยฟื้นกำลังซื้อในประเทศ โดยรัฐบาลเริ่มออกนโยบายและเปิดโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ ที่จะช่วยรองรับนักท่องเที่ยว

ขณะที่การบินไทยนั้นเตรียมแผนให้สอดคล้องกับดีมานด์จากชาวจีนแล้วเช่นกัน โดยเมื่อเดือนก่อนเพิ่งประกาศเพิ่มจำนวนเที่ยวบินระหว่างไทย-จีนขึ้นเป็น 56 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ จากเดิม 49 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และจะเริ่มเพิ่มจำนวนไฟลท์ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2566 ปัจจุบันการบินไทยมีเที่ยวบินเข้าสู่ 5 เมืองใหญ่ของจีน ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง กวางโจว คุนหมิง และเฉิงตู

สำหรับนโยบาย “ฟรีวีซ่า” ให้กับชาวจีนนั้น เริ่มตั้งแต่ 25 กันยายน 2566 ไปจนถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567 รัฐบาลไทยเลือกกำหนดนโยบายนี้ในช่วงดังกล่าว เพื่อหวังจะดึงนักท่องเที่ยวจีนในช่วงเทศกาลวันหยุดสำคัญๆ ตั้งแต่วันชาติจีนในเดือนตุลาคม เทศกาลปีใหม่ช่วงสิ้นปี และเทศกาลตรุษจีนช่วงเดือนมกราคม

กรกฎกล่าวว่า ช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 มีผู้โดยสารบนไฟลท์การบินไทยที่เข้าออกประเทศจีนในสัดส่วนเพียง 50% ของที่เคยมีในช่วงก่อนเกิดโควิด-19

สายการบินยังมีความมั่นใจต่อการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนมายังประเทศไทยในระยะยาว แต่ยังคงชั่งน้ำหนักอยู่ว่าการบินไทยควรจะเพิ่มจำนวนไฟลท์บินเข้าออกจีนขึ้นไปสูงเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 หรือไม่

“เรากำลังประเมินอยู่ว่าจำนวนผู้โดยสารจีนจะเติบโตขึ้นอย่างมั่นคงหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น เราก็น่าจะกลับไปเพิ่มจำนวนเที่ยวได้เท่ากับเมื่อปี 2562” กรกฎกล่าว

ข่าวการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานใหม่ขึ้นมารองรับนักท่องเที่ยว โดยเมื่อสัปดาห์ก่อน ประเทศไทยเริ่มเปิดใช้อาคาร “SAT-1” อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ในสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งใช้เม็ดเงินลงทุนไปกว่า 35,000 ล้านบาท

อาคาร SAT-1 จะช่วยรองรับผู้โดยสารเพิ่มได้สูงสุด 15 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันมีสายการบิน 2 สายแรกที่เข้าไปใช้บริการ คือ AirAsia X และ VietJet

“เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีไทย กล่าวในงานพิธีเปิดใช้อาคาร SAT-1 เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า รัฐบาลนี้กำลังผลักดันการท่องเที่ยว เพราะเป็นเครื่องยนต์ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังซบเซาของประเทศได้ “การท่องเที่ยวสามารถสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับคนไทยได้อย่างรวดเร็ว” เศรษฐากล่าว

Source

]]>
1446401
การบินไทยปี 2022 ขาดทุนเหลือแค่ 252 ล้านบาท อาจออกจากแผนฟื้นฟูได้ไวกว่าที่คาด https://positioningmag.com/1420675 Fri, 24 Feb 2023 08:55:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1420675 หลังจากที่การบินไทยได้เข้าสู่โหมดฟื้นฟูกิจการมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ล่าสุดผลประกอบการในปี 2022 นี้สายการบินแห่งชาติขาดทุนเหลือแค่ 252 ล้านบาท ขณะเดียวกันผู้บริหารมองว่าบริษัทจะสามารถออกจากแผนฟื้นฟูกิจการได้ไวกว่าที่คาดในตอนแรก จากผลของ EBITDA ที่เป็นบวก

บมจ. การบินไทย แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถึงผลการดำเนินงานในปี 2022 ที่ผ่านมา โดยสายการบินแห่งชาติรายนี้ขาดทุนเหลือแค่ 252 ล้านบาทเท่านั้น โดยผู้บริหารมองว่าสามารถออกจากแผนฟื้นฟูกิจการได้ภายในปี 2024 ขณะที่หุ้นของการบินไทยจะกลับมาซื้อขายได้ในปี 2025

รายได้รวมของการบินไทยในปี 2022 อยู่ที่ 105,041 ล้านบาท เติบโตกว่าปีที่แล้ว 342% (เนื่องจากฐานรายได้ในปี 2021 ที่ต่ำ) ปัจจัยหลักที่ทำให้รายได้เติบโตก็คือคือรายได้จากค่าโดยสารที่เพิ่มมากขึ้นหลังจากการเปิดประเทศ รายได้จากค่าขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงรายได้จากหน่วยธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบิน

ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมของสายการบินอยู่ที่ 97,244 ล้านบาท ปัจจัยสำคัญมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มมากขึ้น ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสายการบินที่เพิ่มมากขึ้นตามปริมาณเที่ยวบิน

อย่างไรก็ดี ถ้าหากมาดูกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา (EBITDA) แล้วนั้นการบินไทยมี EBITDA ในปี 2022 ถึง 7,797 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่เป็นบวก ขณะเดียวกันผู้จัดการออนไลน์รายงานว่ากระแสเงินสดสะสมของการบินไทยนั้นสูงถึง 35,000 ล้านบาทแล้ว

ในปี 2022 ที่ผ่านมาการบินไทยมีจำนวนผู้โดยสารมากถึง 9.01 ล้านราย เครื่องบินประจำการอยู่ที่ 86 ลำ ลดลงจากปีที่ผ่านมา 1 ลำ ขณะที่อัตราการใช้เครื่องบินเฉลี่ยต่อลำอยู่ที่ 10.4 ชั่วโมงต่อวันต่อลำ ทางด้านอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Load Factor) อยู่ที่ 67.9%

นอกจากนี้ผู้บริหารยังคาดการณ์ว่าการบินไทยเตรียมที่จะออกจากแผนฟื้นฟูได้ภายในปี 2024 และคาดว่าหุ้นของการบินไทยจะกลับเข้ามาซื้อขายได้อีกครั้งภายในปี 2025 ส่วนกรณีของสายการบินไทยสมายล์นั้นกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาข้อดีข้อเสียในการรวมสายการบินรายนี้เข้ามา

]]>
1420675
การบินไทยไม่ขายเครื่องบินบางรุ่นแล้ว เตรียมนำกลับมาใช้งาน หลังเที่ยวบินเพิ่มสูงขึ้น https://positioningmag.com/1407563 Thu, 10 Nov 2022 05:29:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1407563 การบินไทยเปลี่ยนแผนที่จะไม่ขายเครื่องบินบางรุ่นแล้ว โดยจะนำเครื่องบินกลับมาให้บริการในช่วงปี 2023-2024 สาเหตุสำคัญมาจากตลาดขายและเช่าเครื่องบินมีความต้องการเครื่องบินรุ่นใหม่สูงมาก ขณะเดียวกันสายการบินแห่งชาติรายนี้คาดว่ารายได้จะกลับมาเกือบเท่าก่อนช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปลายปี 2023

ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Bloomberg เกี่ยวกับแผนธุรกิจของการบินไทย โดยล่าสุดสายการบินแห่งชาติรายนี้เตรียมที่จะยกเลิกการนำเครื่องบินออกขายต่อในบางรุ่น และนำเครื่องบินกลับมาให้บริการอีกครั้ง

เขากล่าวว่าการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบินทำให้เครื่องบินรุ่นใหม่ๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาดตอนนี้หาได้ยากมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาเครื่องบินใหม่จากบริษัทเช่าเครื่องบิน ส่งผลทำให้การบินไทยต้องยกเลิกการนำเครื่องบินบางรุ่นเพื่อนำไปขายต่อในท้องตลาด

เครื่องบินที่จะยกเลิกการขายต่อได้แก่ Airbus A330 จำนวน 3 ลำและ Boeing 777-200ER จำนวน 2 ลำ และจะนำเครื่องบินที่ยกเลิกการขายต่อกลับมาใช้งานอีกครั้งภายในช่วงปี 2023 นอกจากนี้ยังเตรียมนำเครื่องบินรุ่นยักษ์อย่าง Airbus A380 กลับมาใช้งานในช่วงปี 2024 อีกด้วย

สำหรับผลประกอบการไตรมาส 2 ล่าสุดนั้น รายได้รวมของการบินไทยในไตรมาส 2 อยู่ที่ 21,562 ล้านบาท เติบโตกว่าปีที่แล้ว 282% (เนื่องจากฐานรายได้ในปี 2021 ที่ต่ำ) ปัจจัยหลักที่ทำให้รายได้เติบโตในไตรมาส 2 คือรายได้จากค่าโดยสารที่เพิ่มมากขึ้นหลังจากการเปิดประเทศของรัฐบาลไทย และยังรวมถึงรายได้จากค่าขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ดีสายการบินมีผลประกอบการขาดทุนอยู่ที่ 3,213 ล้านบาท

ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาบริษัทได้รายงานว่ามีเครื่องบินใช้งานอยู่ที่ 91 ลำ อัตราการใช้เครื่องบินเฉลี่ย 9.8 ชั่วโมงต่อลำต่อวัน

ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทยยังคาดว่ารายได้ของการบินไทยในปี 2022 นี้จะอยู่ที่ราวๆ 60% ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 และจะกลับมาที่ราวๆ 90% ในช่วงปลายปี 2023 แม้ว่าจำนวนฝูงบินของการบินไทยจะลดลง ซึ่งปัจจัยบวกสำคัญคือราคาค่าโดยสารที่เพิ่มสูงขึ้น

]]>
1407563
การบินไทยโชว์งบไตรมาส 2/65 รายได้เติบโตเพิ่มขึ้น แต่กลับมาขาดทุนอีกรอบ https://positioningmag.com/1396134 Mon, 15 Aug 2022 07:42:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1396134 การบินไทยรายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ของปี 2022 รายได้กลับมาเติบโตมากขึ้น จากปัจจัยการเปิดประเทศ อย่างไรก็ดี สายการบินยังรายงานการขาดทุนมากถึง 3,213 ล้านบาท ในไตรมาส 3 สายการบินแห่งชาติรายนี้เตรียมเพิ่มเที่ยวบินเพื่อหารายได้อย่างต่อเนื่อง

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 ของปี 2022 นั้นสายการบินแห่งชาติรายนี้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าในปี 2021 ขณะเดียวกันก็ยังมีผลการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงิน ภาษี และค่าเสื่อม (EBITDA) เป็นบวก อย่างไรก็ดี ถ้าหากหักลบกับต้นทุนหรือปัจจัยอื่นๆ แล้วนั้นสายการบินรายงานว่ามีผลขาดทุนไปทั้งสิ้น 3,213 ล้านบาท

โดยรายได้รวมของการบินไทยในไตรมาส 2 อยู่ที่ 21,562 ล้านบาท เติบโตกว่าปีที่แล้ว 282% (เนื่องจากฐานรายได้ในปี 2021 ที่ต่ำ) ปัจจัยหลักที่ทำให้รายได้เติบโตในไตรมาส 2 คือรายได้จากค่าโดยสารที่เพิ่มมากขึ้นหลังจากการเปิดประเทศของรัฐบาลไทย และยังรวมถึงรายได้จากค่าขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้นด้วย

ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมของสายการบินอยู่ที่ 22,825 ล้านบาท ปัจจัยสำคัญมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ถ้าหากมาดู EBITDA แล้วนั้นในไตรมาส 2 การบินไทยมี EBITDA ถึง 1,988 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่เป็นบวกครั้งแรกนับตั้งแต่การเข้าฟื้นฟูกิจการ

ตัวเลขต่างๆ ที่น่าสนใจในไตรมาส 2 ของการบินไทย

  • การบินไทยมีเครื่องบินที่ใช้งานอยู่ 91 ลำ
  • จำนวนผู้โดยสารในไตรมาส 2 อยู่ที่ 2.01 ล้านคน
  • อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Load Factor) อยู่ที่ 60.3%
  • อัตราการใช้เครื่องบินเฉลี่ย 9.8 ชั่วโมงต่อลำต่อวัน

ขณะที่มุมมองในอุตสาหกรรมการบินนั้น การบินไทยมองว่าการบินในเส้นทางระยะไกลจะกลับมาฟื้นตัวได้ในปี 2023 และกลับเข้าสู่สภาวะปกติในช่วงปลายปี 2024 ซึ่งในไตรมาส 3 นั้นการบินไทยเตรียมจะเพิ่มเท่ียวบินในเส้นทางสำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เบลเยียม เดนมาร์ก สิงคโปร์ ซาอุดีอาระเบีย เพื่อที่จะเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้มากขึ้น

]]>
1396134
Forbes จัดอันดับบริษัท “นายจ้าง” ที่ดีที่สุดในโลก ปี 2021 “การบินไทย” ติดโผ https://positioningmag.com/1356400 Thu, 14 Oct 2021 04:45:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356400 นิตยสาร Forbes จัดอันดับ 750 บริษัท “นายจ้าง” ที่ดีที่สุดในโลก ปี 2021 แชมป์ตกเป็นของ “Samsung” จากเกาหลีใต้ ส่วนประเทศที่มีบริษัทนายจ้างที่ดีที่สุดจำนวนมาก ได้แก่ สหรัฐฯ เยอรมนี และจีน ประเทศไทยไม่น้อยหน้ามี 5 บริษัทติดอันดับ “การบินไทย” ติดโผในอันดับที่ 318

Forbes ร่วมกับ Statista สำรวจความคิดเห็นพนักงานทั้งแบบประจำและพาร์ตไทม์จำนวน 150,000 คนจาก 58 ประเทศ ที่ทำงานอยู่ในบริษัทระดับนานาชาติ

โดยผู้ได้รับการสำรวจจะถูกสอบถามว่า ต้องการแนะนำให้เพื่อนหรือครอบครัวเข้ามาร่วมงานในบริษัทเดียวกันหรือไม่ รวมถึงให้คะแนนบริษัทของตนในแง่มุมต่างๆ เช่น ภาพลักษณ์องค์กร, อิทธิพลต่อเศรษฐกิจ, การพัฒนาความสามารถพนักงาน, ความเท่าเทียมทางเพศ และความรับผิดชอบต่อสังคม โดย 750 บริษัทที่ได้รับคะแนนมากที่สุดจะเข้ามาอยู่ในการจัดอันดับนี้

10 อันดับแรกบริษัท “นายจ้าง” ที่ดีที่สุดในโลก ปี 2021 มีดังนี้

อันดับ 1 Samsung Electronics – ธุรกิจหลากหลาย – เกาหลีใต้
อันดับ 2 IBM – เซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี – สหรัฐฯ
อันดับ 3 Microsoft – ไอที อินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์ – สหรัฐฯ
อันดับ 4 Amazon – ไอที อินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์ – สหรัฐฯ
อันดับ 5 Apple – เซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี – สหรัฐฯ
อันดับ 6 Alphabet – ไอที อินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์ – สหรัฐฯ
อันดับ 7 Dell Technologies – เซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี – สหรัฐฯ
อันดับ 8 Huawei – บริการด้านโทรคมนาคม ซัพพลายเออร์เคเบิล – จีน
อันดับ 9 Adobe – ไอที อินเทอร์เน็ต ซอฟต์แวร์ – สหรัฐฯ
อันดับ 10 BMW Group – ยานยนต์ – เยอรมนี

IBM ครองอันดับ 2 ของโลกและดีที่สุดในสหรัฐฯ สำหรับการเป็น “นายจ้าง” ที่พนักงานชื่นชอบ (Photo by Spencer Platt/Getty Images)

ปีนี้สัญชาติบริษัทที่เข้ามาติดโผมากที่สุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 236 บริษัท เยอรมนี 91 บริษัท และจีน 57 บริษัท บริษัทเยอรมันนอกจาก BMW Group แล้ว มีบริษัทอื่นๆ ที่ดีที่สุดสำหรับพนักงาน เช่น Adidas, Siemens, Dr.Oetker (จำหน่ายสินค้ากลุ่มแป้งทำขนมเบเกอรี) ส่วนบริษัทจีนที่ติดโผนอกจาก Huawei เช่น Tencent Holdings, JD.com, China Life Insurance (บริษัทประกัน)

ด้านบริษัท “ไทย” นั้นมีติดอันดับ 5 แห่ง ดังนี้

อันดับ 315 ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส์ – เซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี
อันดับ 318 การบินไทย – คมนาคมและโลจิสติกส์
อันดับ 497 กลุ่มมิตรผล – วัตถุดิบอาหาร
อันดับ 585 กลุ่ม ปตท. – เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์
อันดับ 642 ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล – ท่องเที่ยวและพักผ่อน

ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส์ เป็นบริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ ปัจจุบันมีโรงงานในไทย จีน สหรัฐฯ และกัมพูชา มีพนักงานกว่า 10,000 คน

Forbes รายงานถึงสถานการณ์การจ้างงานในรอบปีที่ผ่านมาว่ามีความท้าทายต่อนายจ้างอย่างมาก เพราะการระบาดของ COVID-19 ทำให้นายจ้างต้องปรับการทำงานเป็นแบบออนไลน์หรือไฮบริดมากขึ้น ต้องมีมาตรการใหม่ๆ ในการดูแลพนักงาน โดยเฉพาะในสหรัฐฯ พบว่าลูกจ้างมีอัตราลาออกสูงขึ้น ทำให้บริษัทต้องหาแรงจูงใจและแข่งขันกันเพื่อดึงพนักงาน ส่วนใหญ่มักจะเสนอสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการศึกษา

Source

]]>
1356400
‘การบินไทย’ หารายได้ใหม่ เสิร์ฟเบเกอรี่ ‘Puff & Pie’ ใน ‘ร้านอินทนิล’ ลุยขยายให้ได้ 100 สาขา ปีหน้า https://positioningmag.com/1348869 Fri, 27 Aug 2021 06:29:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348869
‘การบินไทย’ หาช่องทางรายได้ใหม่ จับมือ ‘บางจาก รีเทล’ เสิร์ฟเบเกอรี่ ‘Puff & Pie’ ในร้านอินทนิล ตั้งเป้าขยายสาขาให้ได้ 100 สาขา ภายในปี 2565 

วันนี้ (27 ส.ค. 64) การบินไทย เเละ บางจากรีเทล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างร้านอินทนิล กับสินค้า ‘Puff & Pie’ พัฒนาธุรกิจ ทั้งในรูปแบบ Grab & Go และ Shop in Shop รวม 50 สาขาภายในปีนี้ พร้อมตั้งเป้าขยายให้ได้ 100 สาขาภายปีหน้า

ช่วงหลายปีที่ผานมา ‘ร้านกาแฟ’ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับความนิยมและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Chain Store Coffee

ปัจจุบันร้านอินทนิล เปิดให้บริการแล้วมากกว่า 700 สาขาทั่วประเทศ ทั้งในและนอกสถานีบริการน้ำมันบางจาก เเบ่งเป็น 450 สาขาในสถานีบริการน้ำมันบางจาก และนอกสถานีบริการน้ำมันอีกประมาณ 250 สาขา มีแผนเปิดให้บริการครบ 1,000 สาขาภายในปี 2565

ด้านร้าน Puff & Pie ของการบินไทย ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีจำนวน 33 สาขา ทั้งสาขาการบินไทย และสาขาผู้แทนจำหน่าย

เสรี อนุพันธนันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางจาก รีเทล จำกัด บอกว่า จากอดีตที่ผ่านมา คนทั่วไปอาจมองว่าอินทนิลคือร้านกาแฟ แต่เรามองตัวเองเป็นมากกว่าร้านกาแฟ และไม่ได้ต้องการจำหน่ายเพียงเครื่องดื่ม จึงมองหาพันธมิตรใหม่ๆ

“ในอนาคต เรามองถึงการขยายสู่อาหารพร้อมรับประทานในสาขาที่เหมาะสม และ Puff & Pie จากครัวการบินไทยก็เป็นพันธมิตร ที่ตอบโจทย์เป้าหมายนี้ของอินทนิลได้เป็นอย่างดี ทั้งเรื่องของ Product และ Operation ความร่วมมือในเฟสแรกทั้ง 15 สาขานี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ระหว่างอินทนิลกับครัวการบินไทยต่อไป”

สำหรับฝ่ายครัวการบินไทย ได้นำสินค้าของ Puff & Pie มาทดลองวางจำหน่ายในร้านอินทนิล ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่ามีกระเเสตอบรับที่ดีจากลูกค้า นำมาสู่ความร่วมมือต่อเนื่องของทั้ง 2 แบรนด์ในการต่อยอดธุรกิจ ในรูปแบบ Grab & Go เพิ่มเป็น 13 สาขา และในรูปแบบ Shop in Shop ที่ร้านอินทนิลสาขาสถานีบริการน้ำมันบางจาก ถนนบรมราชชนนี กม.10 และสาขา Summer Point สุขุมวิท อีก 2 สาขา รวมเป็น 15 สาขาในปัจจุบัน

สมัชชา ศรีทองสุข กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายครัวการบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ 2 ปีที่ผ่านมา การนำพาธุรกิจให้เติบโตนั้นไม่ง่าย และการขยายธุรกิจยังคงเป็นความท้าทาย”

Puff & Pie มีแผนจะขยายการจัดจำหน่ายในร้านอินทนิลให้ครอบคลุมสาขาในทุกพื้นที่ รวมถึงพัฒนาสินค้าพิเศษสำหรับร้านอินทนิล และรายการส่งเสริมการขายพิเศษร่วมกันอีกด้วย “ในอนาคตเราจะได้เห็นความร่วมมือใหม่ๆ จากบางจาก รีเทลและการบินไทยอย่างแน่นอน”

 

source

]]>
1348869
“ชาญศิลป์ ตรีนุชกร” ลาออกจากรักษาการ CEO การบินไทย https://positioningmag.com/1337439 Wed, 16 Jun 2021 14:27:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337439 “ชาญศิลป์ ตรีนุชกร” ลาออกจากตำแหน่ง รักษาการ CEO การบินไทย หลังศาลตั้งเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟู มีผลตั้งแต่ 16 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป พร้อมตั้ง “สุวรรธนะ สีบุญเรือง” ประธานเจ้าหน้าที่สายทรัพยากรบุคคล ดำรงตำแหน่ง รักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มีผล 16 มิถุนายน 2564

จิลลดา ณ เชียงใหม่ เลขานุการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI แจ้งว่าตามที่คณะผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทฯ ในการประชุมครั้งที่ 21/2564 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ได้มีมติอนุมัติการลาออกของนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร จากตำแหน่ง รักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยยังคงดำรงตำแหน่ง กรรมการบริษัทฯ และผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทฯ

มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป หรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทฯ และแต่งตั้งรักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แล้วแต่เหตุใดจะถึงก่อนนั้น

เมื่อ 15 มิถุนายนน 64 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทฯ ซึ่งคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทฯ ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2564 โดยที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งให้ นายสุวรรธนะ สีบุญเรือง ประธานเจ้าหน้าที่สายทรัพยากรบุคคล ดำรงตำแหน่ง รักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหารอีกตำแหน่งหนึ่ง ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2564

นอกจากนี้ THAI ยังแจ้งการลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัท 3 ราย ได้แก่ พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน เป็นกรรมการอิสระ และประธานกรรมการบริษัท , นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รองประธาน

]]>
1337439
เช็กเลย! กางเเผน ‘การบินไทย’ เปิด 16 เส้นทางบินทั่วโลก ก.ค. นี้ รับดีมานด์เดินทางท่องเที่ยว-ธุรกิจเริ่มกลับมา https://positioningmag.com/1336174 Wed, 09 Jun 2021 10:54:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336174 การบินไทย’ คัมเเบ็ก ลุยเปิด 16 เส้นทางบินทั่วโลก ช่วงเดือนก.. – .. นี้ เสิร์ฟดีมานด์การเดินทางท่องเที่ยวเเละธุรกิจเริ่มกลับมา พร้อมบริการคาร์โก้ เตรียมจัดเที่ยวบินเพิ่มเติมรับตารางบินฤดูหนาว 

นนท์ กลินทะ ประธานเจ้าหน้าที่สายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในเดือนก..-.. 2564 บริษัทจะเปิดให้บริการเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสาร จำนวน 16 เส้นทางบิน ให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการการเดินทาง และอำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสารที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเพื่อธุรกิจเเละท่องเที่ยว หรือผู้ที่ประสงค์จะเดินทางต่อไปยังเมืองอื่นๆ โดย 16 เส้นทางบินดังกล่าวได้เเก่

#เส้นทางเอเชีย

1) เส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯโตเกียว (นาริตะ) ทำการบินสัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์

2) เส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯโตเกียว (ฮาเนดะ) ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธและศุกร์

3) เส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯโอซากา ทำการบินสัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธพฤหัสบดีและเสาร์

4) เส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯนาโกยา ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพฤหัสบดีและอาทิตย์

5) เส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯโซล ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพฤหัสบดีและอาทิตย์

6) เส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯไทเป ทำการบินสัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธ ศุกร์ และอาทิตย์

7) เส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯฮ่องกง ทำการบินสัปดาห์ละ 5 เที่ยวบิน ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธ พฤหัสบดี ศุกร์เสาร์และอาทิตย์

8) เส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯละฮอร์ ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันศุกร์และอาทิตย์

9) เส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯธากา ทำการบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันศุกร์

10) เส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯมะนิลา ทำการบินสัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์

#เส้นทางยุโรป

11) เส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯลอนดอน ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธและอาทิตย์

12) เส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯโคเปนเฮเกน ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธและอาทิตย์

13) เส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯแฟรงก์เฟิร์ต ทำการบินสัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธ เสาร์และอาทิตย์

14) เส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯปารีส ทำการบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันเสาร์

15) เส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯซูริก ทำการบินสัปดาห์ละ 1 เที่ยวบิน ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธ

#เส้นทางออสเตรเลีย

16) เส้นทางไปกลับ กรุงเทพฯซิดนีย์ ทำการบินสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบินออกจากกรุงเทพฯ ทุกวันพุธและอาทิตย์

โดย ‘การบินไทยยังทำการบินเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศ (คาร์โก้) ในเส้นทางต่างๆ ได้แก่ มุมไบ นิวเดลี เจนไน สิงคโปร์ โซล โอซากา และโตเกียว (นาริตะ) เเละมีแผนจะจัดเที่ยวบินเพิ่มเติมในตารางบินฤดูหนาว ปี 2564 เพื่อรองรับการเดินทางอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ เมื่อช่วงปลายเดือนพ..ที่ผ่านมา การบินไทย เพิ่งประกาศเลิกจ้างพนักงาน 508 คน ที่ไม่เข้าร่วมกลั่นกรองเข้าสู่โครงสร้างใหม่ มีผล ณ วันที่ 31 .. 2564 โดยมีการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย ขณะที่มีสมัครใจออก 6,725 คน เหลือพนักงาน 10,990 คน เดินหน้าฟื้นฟูกิจการต่อไป

]]> 1336174