การเมือง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 29 May 2023 13:05:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แกะรอย 20 ปีเพดานหนี้สหรัฐฯ สู่บทเรียน ‘วินัยทางการเงินส่วนบุคคล’ https://positioningmag.com/1432235 Mon, 29 May 2023 13:05:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1432235

บทความโดยตราวุทธิ์ เหลือสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth

ช่วงนี้ปัจจัย ‘การเมือง’ เข้ามารับบทเด่นและส่งผลต่อ Sentiment การลงทุนในบ้านเราเป็นอย่างมาก แม้เรายังลุ้นกับโฉมหน้ารัฐมนตรีใหม่ และนโยบายใหม่ๆ แต่ตลาดการลงทุนก็ตอบสนองกับหลายๆ นโยบายหาเสียงของว่าที่รัฐบาลใหม่กันไปพอสมควรแล้ว ขณะเดียวกัน ‘Policy Maker’ จากหลากหลายองค์กรในประเทศ ก็ออกมากำชับว่าที่รัฐบาลใหม่ให้ความสำคัญกับ ‘วินัยทางการเงินการคลัง’ ก่อนที่จะมีการประกาศใช้นโยบายอย่างเป็นทางการ    

ข้ามไปอีกฟากฝั่งของซีกโลก ประเด็น ‘เพดานหนี้สหรัฐฯ’​ ก็กลับมาร้อนระอุกันอีกครั้ง เมื่อกำหนดเส้นตายของการขยายเพดานหนี้งวดเข้ามาทุกวัน

ในบางครั้ง หลายปัญหาทางการเงินไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับองค์กร ไปจนถึงระดับประเทศหรือระดับโลก ก็อาจสั่งสมมาทีละเล็กละน้อย บางอย่างเราอาจมองข้าม ละเลย หรือไม่ได้เคร่งครัดจัดการ รู้ตัวอีกทีปัญหาก็อาจมาจ่ออยู่ที่ปลายจมูกแล้ว

ประวัติศาสตร์หนี้สหรัฐฯ

วันนี้ตั้งใจจะมาชวนคุยเรื่องเบาๆ เกี่ยวกับการสร้าง ‘วินัยทางการเงินส่วนบุคคล’ แต่เริ่มเรื่องด้วยปัญหาหนักๆ อย่างเพดานหนี้สหรัฐฯ เพราะเชื่อว่าสามารถสะท้อนให้เห็นถึงวินัยทางการเงินการคลังได้ดีทีเดียวเลยครับ ภายใต้กฎหมาย Public Debt Acts ของสหรัฐฯ ที่เริ่มบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2005 เปิดทางให้รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง สามารถกู้ยืมเพื่อนำเงินมาเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่ายด้านต่างๆ ซึ่งช่องทางหลักในการกู้คือการออกพันธบัตรรัฐบาลนั่นเอง แต่กฎหมายก็ได้กำหนดเพดานหนี้ที่ภาครัฐสามารถก่อได้ เพื่อเป็นการควบคุมวินัยการคลัง แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นก็คือ รัฐบาลสหรัฐฯ ในแต่ละยุคแต่ละสมัยก็ได้ขอขยายเพดานหนี้มาโดยตลอด 

ดังนั้น ประเด็นเพดานหนี้สหรัฐฯ ที่กลับมาร้อนแรงอีกครั้งในช่วงเดือนนี้ จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ และสามารถพูดได้เลยครับว่า เป็นปัญหาที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์การคลังของประเทศมาอย่างยาวนาน แต่ระดับความกดดันหรือความเสี่ยงก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วง และดูเหมือนว่าในรอบนี้จะมีความกังวลมากเป็นพิเศษ เพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่ในภาวะอ่อนแอ แถมยังถูกซ้ำเติมด้วยความเปราะบางของภาคการเงินอีกด้วย

ภาระหนี้สหรัฐฯ ซึ่งในที่นี้หมายถึงหนี้ภาครัฐหรือหนี้สาธารณะ เริ่มเพิ่มสูงขึ้นในทศวรรษ 80 หลังประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ลดภาษีครั้งใหญ่ เมื่อไม่มีรายได้จากภาษีมากพอ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเสริมสภาพคล่องด้วยการกู้ยืม ต่อมาในทศวรรษ 90 เมื่อสงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียตสิ้นสุดลง ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ลดงบประมาณด้านกลาโหมลงได้จำนวนมาก ขณะที่เศรษฐกิจก็เติบโตและมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีสูงขึ้น

จากเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างร้อนแรง ทำให้สหรัฐฯ ต้องเจอกับปัญหาฟองสบู่เทคโนโลยี หรือที่เรียกกันว่า ‘วิกฤตดอทคอม’ ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 จนเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช จึงประกาศลดภาษีถึง 2 ครั้งในปี 2001 และ 2003 และสามารถช่วยพยุงเศรษฐกิจประเทศไว้ได้ แต่หลังจากนั้นสหรัฐฯ เข้าไปทำสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน ทำให้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเกือบ 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐตลอดช่วงสงคราม

จนกระทั่งมาถึงวิกฤตการเงินในปี 2008 หรือ ‘วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์’ รัฐบาลใช้เงินมหาศาลอุ้มธุรกิจธนาคาร รวมถึงเพิ่มงบประมาณด้านการบริการทางสังคม เพราะอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นกว่า 10% หลังจากนั้นเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงและอัตราการว่างงานกลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้ง ในปี 2017 ภายใต้การนำและนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศลดภาษีครั้งใหญ่ ทำให้หนี้สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 7.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ล่าสุดในปี 2019 ที่โลกต้องเผชิญกับ ‘วิกฤต Covid-19’ ทำให้รัฐบาลแทบทุกประเทศต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการรับมือกับโรคระบาด และออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ รวมทั้งรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ออกมาตรการกระตุ้นมาหลายระลอกรวมเป็นเงินกว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อย้อนรอยดูประวัติศาสตร์การก่อหนี้สหรัฐฯ​ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ก็พอจะเห็นภาพกันนะครับว่ารัฐบาลนำเงินไปใช้เพื่อการใดกันบ้าง และหลายต่อหลายครั้งที่รัฐต้องการใช้เงินเพิ่ม ก็จะขอขยายเพดานหนี้เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขาดดุลงบประมาณมาโดยตลอด จนเมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมา หนี้ของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นมาชนเพดานที่ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังไม่มีข้อสรุปว่าสภา Congress ว่าจะขยายเพดานหนี้ออกไปอีกหรือไม่

เพดานหนี้-ดราม่าการเมือง

หลายคนมองว่า ปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ คือประเด็นดราม่าทางการเมือง เพราะเป็นเกมระหว่าง 2 ขั้วอำนาจในสภา ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ ที่เป็นแบบ Split Congress ซึ่งประกอบด้วยสภาสูงหรือวุฒิสภา โดยปัจจุบันพรรคฝ่ายค้านคือรีพับลิกันครองเสียงข้างมาก และสภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฏร ซึ่งพรรครัฐบาลเดโมแครตของประธานาธิบดีโจ ไบเดนคุมเสียงข้างมากอยู่ ดังนั้น การให้ความเห็นชอบในนโยบายใดๆ ของอีกฝ่ายจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก และมักเกิดการงัดข้อทางการเมืองกันอยู่เสมอ

เช่นเดียวกับประเด็นเพดานหนี้ ที่รัฐบาลเป็นฝ่ายเสนอแต่ยังไม่ผ่านสภา โดยพรรครีพับลิกันกังวลว่าการขยายเพดานหนี้ไปเรื่อยๆ จะเป็นการเอาเงินไปใช้เพื่อสนับสนุนโครงการของรัฐบาลเดโมแครตโดยเฉพาะ รวมทั้งจะเพิ่มภาษีคนมีรายได้สูงทั้งที่ไม่ได้เป็นเรื่องจำเป็น จึงอยากให้ปรับลดงบประมาณลง และเพิ่มความเข้มงวดกับการใช้งบประมาณในโครงการสวัสดิการต่างๆ เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังหาข้อตกลงร่วมกันไม่ได้ ซึ่งตามไทม์ไลน์รัฐบาลต้องสรุปประเด็นดังกล่าวให้ได้ภายในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ ไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่ ‘การผิดนัดชำระหนี้’ ของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้

หากมีการผิดนัดชำระ หรือ Default ขึ้นจริง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นสามารถจินตนาการได้แบบไม่รู้จบเลยล่ะครับ เริ่มจากหุ้นตก ตลาดการเงินผันผวนหนัก รัฐบาลเสียเครดิต ประเทศถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลง สั่นคลอนความเชื่อมั่นของประชาชน นักธุรกิจ นักลงทุน นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย อัตราว่างงานพุ่งพรวดและอื่นๆ สุดแท้แต่จะประเมินกัน

แม้ประเด็นเพดานหนี้จะเป็นปัญหากับรัฐบาลสหรัฐฯ มาตลอดช่วง 20 ปี แต่ข่าวดีก็คือ สหรัฐฯ ก็ยังไม่เคยเดินไปถึงทางตันขั้นที่ต้องผิดนัดชำระหนี้แม้แต่ครั้งเดียว โดยสถานการณ์เลวร้ายสุดที่เกิดขึ้นคือ สหรัฐฯ ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศลง ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2011 สมัยประธานาธิบดีบารัค โอบามา

โดยขณะนั้นปัญหาเกิดจากนโยบาย ‘โอบามาแคร์’​ ที่เกิดการคัดค้านและเตะถ่วงร่างกฎหมาย Affordable Care Act จากฝั่งตรงข้าม ทำให้เหตุการณ์บานปลายไปถึงขั้น Government shutdown คือการหยุดดำเนินงานของภาครัฐชั่วคราว จนเกิดการว่างงานประมาณ 80,000-200,000 ตำแหน่ง ส่งผลให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ปรับลดอันดับเครดิตสหรัฐฯ ลงจาก AAA Outstanding เหลือ AA+ Excellent

ปัญหาภาคธนาคารกับวินัยการเงิน

เมื่อการขยายเพดานหนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียง เรื่องวินัยทางการเงินการคลังก็จะเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ตามมาด้วยทุกครั้ง แต่ดูเหมือนปัญหาจะยังคงวนลูปกลับไปที่เดิม และเมื่อ 3 ธนาคารในสหรัฐฯ คือ Silicon Valley Bank, Signature Bank และ First Republic Bank เกิดปัญหาสภาพคล่องตามกันมาเป็นโดมิโน รวมถึงความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ของ Credit Suisse ธนาคารชั้นนำในยุโรป ยิ่งสะท้อนวินัยทางการเงินได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่เพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ก็ต้องยอมรับนะครับว่า การขึ้นดอกเบี้ยอย่างร้อนแรงของธนาคารสหรัฐฯ และยุโรปตลอดปีที่ผ่านมา ก็ส่งผลข้างเคียงต่อสภาพคล่องในภาคการเงินเช่นกัน

ซึ่งในการประชุมผู้ถือหุ้น Berkshire Hathaway ประจำปี 2023 ที่ผ่านมานั้น ก็ได้หยิบยกประเด็นเพดานหนี้ และปัญหาภาคธนาคารมาพูดคุยกันด้วย โดย 2 ศาสดาการลงทุนสาย VI อย่างคุณปู่วอร์เรน บัฟเฟตต์ และคุณปู่ชาร์ลี มังเกอร์ ก็ได้ให้มุมมองถึงความสำคัญของการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง การบริหารสภาพคล่องที่เหมาะสมและการบริหารความเสี่ยงที่ดีของภาคธนาคาร รวมถึงการให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีจากภาครัฐ เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลาม

ปัญหาสภาพคล่องของธนาคารในสหรัฐฯ ได้ส่งผลให้ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวลดลงอย่างหนักมากว่า  90% จนนักงทุนพากันเบือนหน้าหนีหุ้นกลุ่มนี้กันหมด แต่นักลงทุนสาย VI อย่างคุณปู่วอร์เรนกลับมองเห็นเป็นโอกาสที่จะเข้าซื้อหุ้นดีช่วงราคาเซลล์ แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าราคาก็คือ การหาหุ้นพื้นฐานดีให้เจอด้วยการศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอ

Financial Investing
Photo : Shutterstock

เมื่อพูดถึงหุ้นกลุ่มธนาคาร ก็มีประสบการณ์การลงทุนดีๆ จากคุณปู่วอร์เรนมาเล่าสู่กันฟังนะครับ ในวัยหนุ่มคุณปู่สนใจติดตามหุ้น American Express ธุรกิจบัตรเครดิตระดับโลกมาโดยตลอด แต่ยังไม่ได้เข้าลงทุนเพราะราคายังสูงตามปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจ ต่อมาในปี 1963 เกิดกรณีดราม่า Salad Oil Scandal กับ American Express จนราคาร่วงถึง 50% แต่คุณปู่ก็ไม่ได้กระโดดเข้าซื้อทันทีนะครับ

สิ่งที่คุณปู่ทำก็คือ เดินสำรวจตลาดการใช้บัตร American Express ตามซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าต่างๆ เมื่อพบว่ากระแสข่าวอื้อฉาวที่เกิดขึ้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้บัตรแต่อย่างใด คุณปู่จึงค่อยตัดสินใจซื้อหุ้นสวนทางกับการเทขายของนักลงทุนอื่นๆ เพราะมองว่ายิ่งหุ้นราคาตก ยิ่งมี margin of safety ในการลงทุนเพิ่มขึ้น

ตัดภาพมาตอนนี้ หุ้น American Express ถือว่ามีสัดส่วนการลงทุนสูงสุดตัวหนึ่งในพอร์ต Berkshire Hathaway ของคุณปู่ และสร้างผลตอบแทนได้อย่างน่าประทับใจ ตามคำพูดที่คุณปู่กล่าวไว้เสมอว่า “จงโลภเวลาที่คนอื่นกลัว” เหนือสิ่งอื่นใด ต้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มธนาคารต้องมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี และมีวินัยทางการเงินสูง

วินัยทางการเงินสร้างได้ตั้งแต่วันนี้

เรื่องการเงินเป็นเรื่องของทุกคนนะครับ ไม่ใช่เรื่องขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะ การวางแผนทางการเงินและการสร้างวินัยทางการเงินก็เช่นกัน เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสมดุลและความมั่นคงทางการเงินให้กับตัวเราเอง และเป็นโอกาสสร้างความมั่งคั่งให้กับเราได้ในระยะยาว ที่สำคัญจะเป็นเกราะป้องกันให้เรารอดพ้นจากกับดักหนี้ได้อีกด้วย

ผมมีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจจะเป็นไอเดียในการบริหารเงินของแต่ละคนได้ เริ่มจากการวางแผนการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับรายรับ โดยพิจารณาว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นว่ามีอะไรบ้าง เพื่อกันไว้สำหรับส่วนนี้ แล้วกันส่วนที่เหลือไว้เป็นเงินออม หากพบว่ารายรับไม่เพียงพอก็ควรหาทางลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้

Photo : Shutterstock

ต่อมา ควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น เช่น ควรมีเงินออมเผื่อไว้กรณีฉุกเฉิน 3-6 เท่าของรายจ่ายจำเป็นและภาระหนี้ในแต่ละเดือน เห็นตัวเลขแล้วบางคนอาจร้องโอ้โห! เยอะไปมั๊ย!! แต่หากทำได้ คุณจะต้องขอบคุณตัวเองแน่ๆ ในวันที่ปัญหาเดินทางมาถึง นอกจากนี้ ควรหมั่นตรวจสอบสวัสดิการและประกันสุขภาพที่มีอยู่ ว่าครอบคลุมแค่ไหน หากไม่เพียงพอและสามารถทำได้เพิ่มเติม ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะเพิ่ม buffer ทางการเงินให้กับตัวคุณเอง

กรณีที่ต้องกู้ยืม ควรพิจารณาถึงความพร้อมของรายได้ในปัจจุบัน และความไม่นอนที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของตัวเอง อาจหาแหล่งรายได้เสริมเพิ่มเติมเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน โดยเฉพาะหลังจากที่เราผ่านเหตุการณ์ไม่คาดคิดระดับโลกอย่าง Covid-19 มาแล้ว วลีที่ว่า ‘ทุกวันนี้มีอาชีพเดียวคงไม่พอ’ คือ เรื่องจริงมากๆ หรืออีกแนวทางในการสร้างรายได้เสริมก็คือการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการนำทรัพย์สินที่มีอยู่ไปลงทุนต่อยอดให้งอกเงย หรือนำเงินออกมาลงทุนในสินทรัพย์ลงทุนต่างๆ

วางแผนการใช้จ่าย

หากรู้ล่วงหน้าว่าจะต้องใช้เงินจำนวนมาก ควรวางแผนเก็บเงินเตรียมไว้แต่เนิ่นๆ บริหารเงินออมให้งอกเงย เช่น ฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตร ซื้อประกันสะสมทรัพย์ ซื้อกองทุนรวม หรือสินทรัพย์ลงทุนอื่นๆ โดยต้องศึกษาและทำความเข้าใจรูปแบบการออม ความเสี่ยง รวมทั้งติดตามข่าวภาวะเศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนตามสภาวะตลาดที่เหมาะสม และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

หากใช้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ควรใช้อย่างมีวินัย จัดเก็บใบเสร็จเพื่อตรวจสอบและจ่ายเงินให้ตรงตามกำหนด เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยโดยไม่จำเป็น

ในความจริงแล้ว การก่อหนี้ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวนะครับ แต่ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี และเลือกก่อหนี้ที่มีประโยชน์หรือมีความจำเป็นจริงๆ เช่น การกู้ซื้อบ้าน กู้เพื่อประกอบอาชีพ หรือหาอาชีพเสริม ที่สำคัญต้องประเมินความสามารถในการชำระคืนด้วย ซึ่งตามหลักทฤษฎีมีการแนะนำไว้ว่า เราไม่ควรมีหนี้เกิน 1 ใน 3 ของรายได้ในแต่ละเดือน

หากมีหนี้สินเกินตัว ก็ต้องพยายามปลดหนี้ด้วยการประหยัด ทยอยผ่อนชำระ โดยเฉพาะหนี้นอกระบบและหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง ที่สำคัญไม่ควรก่อหนี้เพิ่ม หากไม่สามารถชำระคืนได้ ก็ควรหารือกับเจ้าหนี้เพื่อหาทางออกร่วมกัน ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงินต่างๆ ก็มีแพ็กเกจการชำระหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เลือกหลายหลายรูปแบบ สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการชำระคืนของลูกหนี้แต่ละคน

อย่างที่บอกนะครับ การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่จะผิดมากถ้าไม่มีวินัย และปล่อยให้ภาระหนี้กลายเป็นกับดักที่กัดกินตัวเราเอง จนไม่สามารถปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระทางการเงินได้

อย่าลืมนะครับ เราเป็นเพียงคนตัวเล็กๆ ที่ต้องดูแลฐานะทางการเงินของตัวเองและคงไม่สามารถขอผ่อนผันเจ้าหนี้หรือขยายเพดานหนี้ไปได้เรื่อยๆ เหมือนรัฐบาลสหรัฐฯ

]]>
1432235
‘มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก’ ลุยปรับลดการมองเห็นคอนเทนต์ ‘การเมือง’ บน Faecbook ทั่วโลก https://positioningmag.com/1317108 Fri, 29 Jan 2021 09:08:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317108 มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กซีอีโอเเละผู้ก่อตั้ง Facebook เริ่มเอาจริงกับการเดินหน้าลดการเเสดงคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับการเมืองบน News Feed โดยยกให้เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของปีนี้เลยทีเดียว

เจ้าพ่อโซเชียลมีเดีย กล่าวถึงประเด็นดังนี้ในงานแถลงผลประกอบการไตรมาส 4 ปีของ 2020 ว่า Facebook จะเริ่มลดการมองเห็นเนื้อหาทางการเมืองในแพลตฟอร์ม เเละหยุดการแนะนำกลุ่มและเพจการเมืองบน News Feed  เพื่อลดความแตกแยก ซึ่งจะเริ่มทำจริงจังในปีนี้

ผู้ใช้งาน Facebook ไม่ได้ต้องการให้การเมืองและการปะทะบนคีย์บอร์ดมาทำลายประสบการณ์ใช้งานของแพลตฟอร์ม เราจะมุ่งทำงานเพื่อสร้างพลังบวกและสร้างความใกล้ชิดระหว่างผู้คนมากขึ้น

บริษัทเริ่มปรับลดความสำคัญของคอนเทนต์การเมืองลงเรื่อยๆ นำร่องด้วยการหยุดแนะนำกลุ่มการเมืองในสหรัฐฯ ในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดี 2020 รวมไปถึงการประกาศ ‘แบน’ บัญชีของโดนัลด์ ทรัมป์ จนกว่าโจ ไบเดนจะเข้ารับตำแหน่ง เพื่อป้องกันการปลุกปั่น

โดยหลังจากนี้ Facebook จะลดการนำเสนอคอนเทนต์ทางการเมืองด้วยอัลกอริทึมในระยะยาวเเละจะไม่จำกัดเเค่ในอเมริกาอีกต่อไป เเต่จะขยายให้ครอบคลุมเเพลตฟอร์มทั่วโลก

Photo : Shutterstock

อย่างไรก็ตามซักเคอร์เบิร์กไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเเน่ชัดว่า เนื้อหาเเบบใดที่จะเข้าข่ายว่าเป็นกลุ่มการเมือง เเละไม่ได้ระบุว่าการนโยบายใหม่นี้จะกระทบต่อการรับข้อมูลข่าวสารบน News Feed ของผู้ใช้หรือไม่ เเต่เขาเน้นย้ำว่า เสรีภาพในการแสดงออกบน Facebook ยังมีอยู่และจะไม่มีจำกัดการเเสดงความคิดเห็นทางการเมืองแน่นอน

ที่ผ่านมา Facebook ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่สร้างความแตกแยกทางการเมือง โดยมีการเรียกร้องให้จำกัดการแนะนำ ‘Facebook Group’ ของระบบอัลกอริทึม เนื่องจากมีผู้ใช้บางกลุ่มทำเป็นเป็นช่องทางเผยแพร่ข้อมูลผิดๆ ปั่นข่าวปลอม (Fake News) หรือนัดจัดกิจกรรมที่มีความรุนแรง เป็นต้น

Facebook เปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 4/2020 มีรายได้รวมอยู่ที่ 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 33% มีผลกำไรอยู่ที่ 11,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 53% เมื่อเทียบกับปีก่อน

ส่วนรายได้ของตลอดทั้งปี 2020 อยู่ที่ 8.59 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 22% จากปี 2019 โดยเป็นรายได้จากค่าโฆษณาถึง 98% ซึ่งเป็นอานิสงส์จากการล็อกดาวน์ในช่วงเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนใช้เวลากับโซเชียลมีเดียขณะเดียวกันธุรกิจต่างๆ ก็หันมาทุ่มงบทำตลาดในเเพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น

 

ที่มา : Engadget , BBC , Reuters , Yahoo

]]>
1317108
5% ของพนักงาน Coinbase ตบเท้ารับแพ็กเกจ “ลาออก” หลังบริษัทประกาศ “ไม่ยุ่งการเมือง” https://positioningmag.com/1300978 Sat, 10 Oct 2020 02:57:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300978 หลังจาก Coinbase บริษัทบิตคอยน์ชื่อดังแห่งซิลิคอน วัลเลย์ สหรัฐอเมริกา ประกาศนโยบาย จะไม่มีการแสดงจุดยืนในเชิงสังคมการเมือง และมุ่งมั่นเฉพาะเป้าหมายของบริษัทเองเท่านั้น พร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานรับแพ็กเกจสมัครใจ “ลาออก” ได้ หากรู้สึก “ไม่สบายใจ” กับทิศทางของบริษัท ล่าสุดมีพนักงานลาออกแล้ว 60 คน หรือคิดเป็น 5% ของทั้งบริษัท

ไบรอัน อาร์มสตรอง ซีอีโอบริษัท Coinbase แถลงผ่านบล็อกโพสต์ของบริษัทว่า ขณะนี้มีพนักงาน 60 คนหรือคิดเป็นสัดส่วน 5% ของทั้งหมด ตัดสินใจรับแพ็กเกจสมัครใจลาออก เนื่องจากมีมุมมองไม่ตรงกันกับทิศทางของบริษัทที่ต้องการไม่แสดงจุดยืนในประเด็นสังคมการเมืองใดๆ

อาร์มสตรองประกาศผ่านบล็อกโพสต์ของเขาเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2020 ว่า บริษัทต้องการสร้างวัฒนธรรม “ไม่แสดงจุดยืนทางการเมือง” และขอให้พนักงานมุ่งมั่นกับเป้าหมายของบริษัทเท่านั้น นั่นคือ “การสร้างระบบการเงินแบบเปิด” พร้อมระบุสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในบริษัทเกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมการเมือง

ในวันต่อมา Coinbase ร่อนอีเมลถึงพนักงานทุกคนว่า บริษัทมีโครงการสมัครใจลาออก หากพนักงานรู้สึกไม่สบายใจกับวัฒนธรรมองค์กรดังกล่าว โดยพนักงานที่ทำงานไม่ถึง 3 ปีจะได้รับเงินชดเชย 4 เท่าของเงินเดือน ส่วนพนักงานที่ทำงาน 3 ปีขึ้นไปจะได้รับเงินชดเชย 6 เท่าของเงินเดือน

อาร์มสตรองยังระบุในบล็อกโพสต์ครั้งล่าสุดว่า คาดว่ามีพนักงานราว 8% ของบริษัทที่สนใจเข้าโครงการ แต่เชื่อว่าจะมีผู้ตัดสินใจลาออกจริงไม่ถึงสัดส่วนดังกล่าว รวมถึงระบุว่า กลุ่มพนักงานที่ถือเป็นกลุ่มชายขอบ เช่น คนผิวสี ผู้หญิง ไม่ได้ลาออกเป็นสัดส่วนมากกว่าค่าเฉลี่ยแต่อย่างใด

 

ย้อนรอยจุดเริ่มต้น ‘ดราม่า’ ใน Coinbase

เรื่องราวก่อนจะมาถึงการตัดสินใจของอาร์มสตรอง ต้องย้อนไปถึงการประท้วง Black Lives Matter จากกรณี จอร์จ ฟลอยด์ ชายผิวสีที่ถูกตำรวจผิวขาวใช้เข่ากดคอจนเสียชีวิตกลางถนนเมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2020 จากนั้นในเดือนมิถุนายน เหตุประท้วงเกิดขึ้นรอบสหรัฐอเมริกาเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับกลุ่มคนผิวสี

บริษัทอเมริกันหลายแห่งตัดสินใจแสดงจุดยืนสนับสนุน Black Lives Matter ทำให้พนักงานของ Coinbase
พยายามเรียกร้องให้บริษัทของตนแสดงจุดยืนด้วยเช่นกัน กลางการประชุมออนไลน์รอบแรกเต็มไปด้วยน้ำตาของพนักงานผิวสีที่เรียกร้องให้บริษัทสนับสนุนพวกเขา ขณะที่อาร์มสตรองกล่าวว่า โดยส่วนตัวเขาเข้าใจความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น แต่ยังไม่รับปากว่าบริษัทจะปฏิบัติอย่างไร

ผู้คนร่วมไว้อาลัยการจากไปของจอร์จ ฟลอยด์ (Photo : mgronline.com)

วันต่อมา ในการประชุมรวมทั้งบริษัท อาร์มสตรองระบุว่า ภารกิจของ Coinbase คือการสร้าง “เสรีภาพทางเศรษฐกิจ” และบริษัทมีวัฒนธรรมแบบ “ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง” เขาตอบคำถามอย่างคลุมเครือเมื่อพนักงานถามว่า การแบ่งแยกสีผิวถือเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับภารกิจนั้นหรือไม่ และยังคงไม่รับปากการแสดงจุดยืนเรื่อง Black Lives Matter

ความคลุมเครือของบริษัททำให้พนักงานหลายสิบคนเริ่มประท้วงด้วยการพิมพ์คำว่า Black Lives Matter ในช่องทาง Slack ที่มีไว้ติดต่อประชุมงาน และพนักงานบางแผนก ได้แก่ ทีมดูแลประสบการณ์ใช้งานของลูกค้า ทีมทรัพยากรบุคคลบางส่วน และทีมวิศวกร ต่างนัด “พับหน้าจอ” คอมพิวเตอร์พร้อมกันระหว่างประชุม เปรียบเหมือนการ “วอล์กเอาต์” จากการประชุมแต่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์

ตารางงานที่สะดุดลงทำให้อาร์มสตรองรีบทวีตสนับสนุน Black Lives Matter ในไม่กี่ชั่วโมงต่อมา แต่ทวีตบนบัญชีส่วนตัว มิใช่ของบริษัท ตามด้วยการส่งอีเมลขออภัยกับพนักงาน พร้อมให้คำมั่นว่าบริษัทจะพัฒนาความหลากหลายของบุคลากร โดยตั้งเป้าให้วิศวกรบริษัทสัดส่วน 20% ต้องมาจากกลุ่มคนชายขอบ (ตัวเลขปัจจุบันอยู่ที่ 3%) ยังผลให้พนักงานคลายความกังวลและมีความหวังมากขึ้น

 

พลิกกลับอีกรอบ บริษัทเปิดโครงการสมัครใจลาออก

ทว่า หลังจากนั้นบริษัทก็เริ่มเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรอย่างจริงจัง เริ่มจากปิดช่องทางสื่อสารกลางบนออนไลน์ที่ให้พนักงานทุกคนสามารถส่งคำถามถึงผู้บริหารได้โดยตรง ต่อด้วยเดือนสิงหาคม บริษัทมีแนวนโยบายใหม่สำหรับให้พนักงานปฏิบัติเมื่อจะพูดคุยเรื่องการเมือง เนื่องจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีกำลังใกล้เข้ามา

ตามด้วยบล็อกโพสต์ขนาดยาวเหยียดของอาร์มสตรองเมื่อปลายเดือนกันยายนดังกล่าว โดยเขากล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในบริษัทว่า “Coinbase กำลังเผชิญความท้าทายของเราเองที่นี่ หมายรวมถึงการวอล์กเอาต์ของพนักงานด้วย”

ไบรอัน อาร์มสตรอง ซีอีโอ Coinbase

โพสต์ของเขาเน้นย้ำอีกครั้งว่าภารกิจของบริษัทคือ “เสรีภาพทางเศรษฐกิจ” และบอกขอบเขตที่ชัดเจนว่าเสรีภาพทางเศรษฐกิจที่ว่าคือ การสร้างโครงสร้างคริปโตเคอเรนซี่ซึ่งจะทำให้คนบนโลกเท่าเทียมกันมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายถึงบริษัทจะช่วยแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมทุกประการบนโลก รวมถึงย้ำว่าบริษัทมีวัฒนธรรมไม่แสดงจุดยืนทางการเมือง

อาร์มสตรองยังสรุปแนวปฏิบัติให้พนักงานด้วยว่า สิ่งที่พนักงานไม่ควรทำ คือ อภิปรายเรื่องสังคมการเมืองหรือนักการเมืองภายในบริษัทโดยไม่เกี่ยวข้องกับงาน, คาดหวังให้บริษัทเป็นตัวแทนความเชื่อส่วนบุคคล, ทึกทักว่าเพื่อนร่วมงานไม่บริสุทธิ์ใจและไม่คอยระวังหลังให้กัน และร่วมกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับภารกิจหลักในงาน

ส่วนสิ่งที่พนักงานควรทำคือ ถกเถียงเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน, สนับสนุนกันและกันเพื่อสร้างความร่วมมือในทีม,  คาดการณ์ว่าเพื่อนร่วมงานมีความตั้งใจดี และวางเป้าหมายของบริษัทให้เหนือกว่าเป้าหมายของทีมหรือของตนเอง

ตามด้วยการเปิดโครงการสมัครใจลาออกดังกล่าว ซึ่งทำให้เห็นชัดเจนว่า บริษัทมีการขีดเส้นแบ่งและเปิดเผยว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมการเมืองใดๆ

อย่างไรก็ตาม ต้องรอดูผลที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวของบริษัทหลังมีการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร เพราะ Coinbase ก็เหมือนกับบริษัทเทคฯ อเมริกันส่วนใหญ่คือมีพนักงานหลักเป็นคนผิวขาวและผู้ชาย ขณะที่นักเคลื่อนไหวพยายามมาหลายปีเพื่อให้ผู้หญิงและคนผิวสีได้มีที่ทางในธุรกิจเทคโนโลยี การแบนการพูดคุยประเด็นทางสังคมในบริษัทครั้งนี้ จะทำให้ความหลากหลายในองค์กรก้าวถอยหลังหรือไม่

Source: Wired, Forbes, LA Times

]]>
1300978
ตัวเก็งนายกฯ คนใหม่ของญี่ปุ่น “โยชิฮิเดะ สุงะ” เลขาธิการครม. มือขวาของ “อาเบะ” https://positioningmag.com/1295580 Fri, 04 Sep 2020 08:44:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295580 โพลสำรวจของหนังสือพิมพ์ Asahi Shimbun พบว่า “โยชิฮิเดะ สุงะ” เลขาธิการของคณะรัฐมนตรี กำลังเป็นตัวเก็งนั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นแทนที่ “ชินโซ อาเบะ” ที่ลาออกด้วยปัญหาสุขภาพ โดยพลิกมาได้รับแรงสนับสนุนสาธารณะเป็นอันดับ 1 ต่างจากเมื่อ 3 เดือนก่อนที่เขายังเป็นที่ 2 รองจาก “ชิเงรุ อิชิบะ” อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ผลสำรวจความคิดเห็นสาธารณะของหนังสือพิมพ์ Asahi Shimbun เผยแพร่วันที่ 4 กันยายน 2563 พบว่า “โยชิฮิเดะ สุงะ” มาแรงอันดับ 1 มีผู้สนับสนุน 38% ตามด้วย “ชิเงรุ อิชิบะ” ตามมาใกล้ๆ ที่ 25% และอันดับ 3 ซึ่งค่อนข้างทิ้งห่างคือ “ฟูมิโอะ คิชิดะ” หัวหน้าฝ่ายนโยบายของพรรคเสรีประชาธิปไตยและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ผลโหวตเพียง 5%

ผลโหวตนี้แตกต่างจากการสำรวจของสำนักเดียวกันเมื่อเดือนมิถุนายนซึ่งพบว่า อิชิบะได้รับคะแนนนิยมมากที่สุดที่ 31% และในขณะนั้นสุงะมีคะแนนนิยมเพียง 3% เท่านั้น

ผู้ตอบแบบสอบถามของ Asahi Shimbun ยังตอบด้วยว่า คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของนายกฯ คือ “ความเป็นผู้นำ” โดยคุณสมบัติข้อนี้ได้รับการโหวตถึง 37% และคนที่โหวตคุณสมบัติข้อนี้ 43% จะเลือกสุงะ สังเกตได้ว่าความนิยมของเขาพุ่งสูงขึ้นมากในช่วงหลัง เพราะการปรากฏตัวต่อสื่อในฐานะเลขาธิการของคณะรัฐมนตรี

 

คุณลุงเรวะ หน้าตาของรัฐบาล

สุงะนั้นประกาศอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมาว่า เขาจะลงแข่งขันชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตยคนใหม่ และการโหวตหัวหน้าพรรคคนใหม่จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 กันยายน โดยมีเหล่า ส.ส. ของพรรคกับตัวแทนพรรคระดับภูมิภาคเข้ามาลงคะแนน ผู้ชนะที่ได้เป็นหัวหน้าพรรค ค่อนข้างแน่ชัดว่าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วย เพราะพรรคเสรีประชาธิปไตยได้ที่นั่งส่วนใหญ่ในสภาอยู่แล้ว

กล่าวกันว่า สุงะนั้นคือตัวแทนรัฐบาลที่ประชาชนรู้จักมากที่สุดรองจากอาเบะ เพราะเขาทำหน้าที่หัวหน้าโฆษกรัฐบาลมานานกว่า 7 ปี และต้องเปิดแถลงกับผู้สื่อข่าววันละ 2 ครั้ง เขายังเป็นที่รู้จักด้วยฉายานาม “คุณลุงเรวะ” เพราะเขานี่เองคือคนเปิดชื่อรัชสมัยใหม่ของญี่ปุ่นเมื่อปีก่อน

สุงะเป็นคนอากิตะ โดยปีนี้เขามีอายุ 71 ปีแล้ว ประวัติการทำงานและตำแหน่งของสุงะไม่ใช่แค่เลขาฯ ธรรมดา แต่ถือเป็นหน้าที่ “มือขวา” ของนายกฯ และเป็นคนสนิทที่สุดของชินโซ อาเบะมาตลอดเกือบ 8 ปี ทำให้ผลงานของเขาพิสูจน์ได้เพราะเป็นหนึ่งในผู้กำหนดทิศทางนโยบายต่างๆ มาตลอด

ในห้วงเวลาที่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญสถานการณ์ COVID-19 สำนักข่าว The Japan Times รายงานว่า สุงะถูกมองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สุดในการจัดการวิกฤต และเขามีความสามารถมากพอที่จะจัดการระบบราชการเพื่อให้ความมุ่งหมายทางการเมืองประสบผลสำเร็จ ออกเป็นนโยบายที่ใช้การได้จริง

Source : Reuters, The Japan Times

]]>
1295580
ข่าวสะพัด! “ชินโซ อาเบะ” อาจ “ลาออก” ตำแหน่งนายกฯ ญี่ปุ่น จากปัญหาสุขภาพย่ำแย่ https://positioningmag.com/1294470 Fri, 28 Aug 2020 07:56:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294470 สำนักข่าว NHK รายงานกระแสข่าว “ชินโซ อาเบะ” นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เตรียมลาออกจากตำแหน่ง หลังจากปัญหาสุขภาพย่ำแย่ลงมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พรรคเสรีประชาธิปไตยถกเครียดหาคนนั่งตำแหน่งนายกฯ แทน โดยอาเบะเตรียมแถลงข่าว 17.00 น. วันนี้ ตามเวลาญี่ปุ่น

หลังผ่านพ้นวันที่ 2,799 ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ วัย 65 ปี เพิ่งจะสร้างสถิตินายกฯ ญี่ปุ่นที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดที่แดนปลาดิบเคยมีมา แต่สุขภาพของเขากำลังจะทำให้เขาต้องหยุดสถิติลง หลังเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเคโอ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2563 และเพิ่งได้รับผลการตรวจครั้งล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

ผลการตรวจพบว่าสุขภาพของอาเบะย่ำแย่ลงอีกนับตั้งแต่เริ่มเข้าโรงพยาบาลในเดือนกรกฎาคม การที่เขาเข้าโรงพยาบาลมาแล้ว 2 ครั้ง และครั้งหนึ่งต้องพักในโรงพยาบาลนาน 7 ชั่วโมงครึ่ง ทำให้เกิดความกังวลภายในพรรคเสรีประชาธิปไตยมาพักใหญ่แล้วว่า อาเบะอาจจะไม่สามารถทำหน้าที่ต่ออีก 1 ปีจนครบเทอมได้ และมีการคาดการณ์หาคนขึ้นแทนที่ตำแหน่งนายกฯ มาแล้วระยะหนึ่ง แม้หน้าฉากทางพรรคจะปฏิเสธกับนักข่าวว่าอาเบะยังมีสุขภาพดี

อาเบะนั้นป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังมาตั้งแต่เป็นวัยรุ่น ทั้งนี้ รายละเอียดเชิงลึกในการเข้าโรงพยาบาลของอาเบะยังไม่เปิดเผยว่าเกิดจากสาเหตุใด

อย่างไรก็ตาม นายกฯ อาเบะจะแถลงข่าวเกี่ยวกับสุขภาพของเขาในเวลา 17.00 น. วันนี้ตามเวลาท้องถิ่นญี่ปุ่น

Source: The Japan Times, Aljazeera

]]>
1294470
สรุปไทม์ไลน์ “Brexit” มหากาพย์ 3 ปีแห่งความปั่นป่วนก่อน UK พ้นสมาชิกสภาพคืนนี้ https://positioningmag.com/1262784 Fri, 31 Jan 2020 14:07:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262784 เป็นเวลาสามปีครึ่งหลังการลงประชามติของชาวอังกฤษ เพื่อตัดสินใจให้ประเทศของตนลาออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) กลายเป็นจุดเริ่มต้นของความปั่นป่วนทางการเมืองและเศรษฐกิจตลอดหลายปีที่ผ่านมา จนกระทั่งในที่สุด สหราชอาณาจักรจะพ้นการเป็นสมาชิก EU อย่างเป็นทางการแล้วคืนนี้

สมาชิกรัฐสภายุโรปเพิ่งลงมติรับรองเงื่อนไขข้อตกลง Brexit ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยียม ในวันที่ 29 มกราคม 2020 ซึ่งหมายถึงสหราชอาณาจักรกำลังจะได้ออกจากการเป็นสมาชิก EU อย่างเป็นทางการ หลังจากนั้นสภายุโรปได้ร่วมกันร้องเพลง Auld Lang Syne เพื่อบอกลาสมาชิกจาก UK ทำให้บรรยากาศในรัฐสภายุโรปอึมครึมและโศกเศร้ายิ่ง

ประวัติศาสตร์ 47 ปีของ UK ที่ได้ร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปกำลังจะสิ้นสุด ณ เวลา 23.00 น. ของวันที่ 31 มกราคม 2020 ตามเวลาท้องถิ่นอังกฤษ (หรือ 6.00 น. ของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2020 ตามเวลาประเทศไทย) เราขอชวนคุณมาย้อนติดตาม ไทม์ไลน์ของการ “Brexit” ที่ไม่ง่าย และต้องใช้เวลาถึง 3 ปีครึ่งกว่าจะมาถึงจุดนี้

 

มิถุนายน 2016: ลงประชามติ Brexit

เหตุผลหลักๆ ของการเปิดลงประชามติเพื่อ Brexit ของชาวอังกฤษ เกิดจากความรู้สึกประชาชนจำนวนมากที่มองว่า UK เสียมากกว่าได้ ในการอยู่กับ EU เพราะการเป็นสมาชิกทำให้ต้องจ่ายค่าสมาชิกมหาศาล และอังกฤษยังเป็นประเทศที่รับผู้อพยพเข้ามาซึ่งเป็นภาระค่าใช้จ่ายรวมถึงมีผลต่อวัฒนธรรมความเป็นอยู่

การลงประชามติครั้งนี้นับเป็นแผ่นดินไหวสะเทือนวงการการเมืองอังกฤษในรอบหลายทศวรรษ เมื่อประชาชนโหวตเพื่อลาออกจากการเป็นสมาชิก EU ด้วยคะแนนฉิวเฉียด 52 ต่อ 48 เปอร์เซ็นต์ ส่งให้ “เดวิด คาเมรอน” นายกรัฐมนตรี ณ ขณะนั้นประกาศลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 24 มิถุนายน 2016 เพื่อเปิดทางให้ผู้นำคนใหม่เข้ามานำพาประเทศไปในทิศทางที่ประชาชนเลือก เนื่องจากตัวคาเมรอนเองมีจุดยืนที่ชัดเจนว่าเขาไม่ต้องการให้ UK ออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป

กรกฎาคม 2016: เธเรซ่า เมย์ ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกฯ

ภายในพรรคอนุรักษนิยมมีการแข่งขันกันภายในอย่างดุเดือดเพื่อคัดเลือกสมาชิกขึ้นเป็นนายกฯ แทนที่คาเมรอน ในที่สุด “เธเรซ่า เมย์” คือผู้ชนะและรับตำแหน่งนายกฯ พร้อมภารกิจสุดหิน นั่นคือการเจรจาเงื่อนไขการลาออกจากสมาชิกสหภาพยุโรปให้สำเร็จ โดยเงื่อนไขนั้นจะต้องเป็นที่พอใจทั้งฝั่งรัฐสภายุโรปและรัฐสภาอังกฤษ

เธเรซ่า เมย์ ในวันแรกที่่ขึ้นรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษ (Photo by Karwai Tang/Getty Images)

ตุลาคม 2016: แผน Brexit ร่างแรก

ผ่านไปหลายเดือน ในที่สุดนายกฯ เมย์เผยเงื่อนไขร่างแรกของการ Brexit ในที่ประชุมพรรคอนุรักษนิยมที่เบอร์มิงแฮม โดยใจความสำคัญคือสหราชอาณาจักรจะไม่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรมแห่งยุโรปอีกต่อไป และส่งสัญญาณว่าเธอมีความตั้งใจที่จะออกจากระบบตลาดเดียว (*ระบบตลาดเดียวคือระบบที่อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินทุน และคนได้อย่างเสรี เช่น การนำเข้า-ส่งออกสินค้าใน EU สามารถส่งข้ามประเทศได้โดยไม่ต้องเสียภาษี)

ต่อมา เมย์ปาฐกถาอย่างชัดเจนในเดือนมกราคม 2017 ว่าเธอต้องการพาอังกฤษออกจากระบบตลาดเดียว และปฏิเสธโมเดลการเป็น ‘กึ่ง’ สมาชิก EU แบบนอร์เวย์ ลิคเทนสไตน์ หรือไอซ์แลนด์ ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิก EU แต่ยังอยู่ในระบบตลาดปลอดภาษีกับสหภาพยุโรปอยู่

มีนาคม 2017: เมย์ประกาศใช้มาตรา 50

รัฐสภาอังกฤษโหวตการประกาศใช้มาตรา 50 ตามสนธิสัญญาลิสบอน 2007 เป็นมาตรากฎหมายว่าด้วยการแจ้งเรื่องขอลาออกจากการเป็นสมาชิก EU ทำให้การเจรจาเพื่อ Brexit เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ โดยโดนัลด์ ทัสก์ ประธานสภายุโรป ยืนยันได้รับการแจ้งจากรัฐบาลอังกฤษและจะเริ่มเปิดการเจรจา พร้อมกับตั้งเดดไลน์การเจรจาจะต้องลุล่วงภายในวันที่ 29 มีนาคม 2019 หรือ 2 ปีนับจากวันได้รับแจ้ง

เมษายน 2017: เลือกตั้งทั่วไป

ด้วยคะแนนเสียงที่ไม่ชนะขาดดังที่เห็นจากผลลงประชามติ ทำให้ UK ตกอยู่ในความแตกแยก เพราะเมื่อเจาะลึกลงในผลโหวต Brexit จะเห็นได้ว่ากลุ่มวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นส่วนใหญ่โหวตให้อยู่กับ EU ต่อไป ขณะที่วัยเบบี้บูมโหวตลาออก รวมถึงในแง่ภูมิศาสตร์ด้วย ประเทศทางตอนเหนืออย่างสก๊อตแลนด์ต้องการอยู่กับ EU แต่ประเทศอังกฤษกลับต้องการลาออก ดังนั้นในรัฐสภาอังกฤษจึงปั่นป่วนเช่นกัน

สภาพการณ์นี้นำไปสู่การตัดสินใจที่น่าตกตะลึงของเธเรซ่า เมย์ โดยเธอประกาศจะจัดการเลือกตั้งทั่วไป ถือเป็นการตัดสินใจที่นำตำแหน่งทางการเมืองของเธอเข้าเสี่ยงอย่างมาก เพราะผลการเลือกตั้งนั้นไม่มีใครรู้ว่าพรรคอนุรักษนิยมจะได้คะแนนเสียงและจำนวนส.ส.มากขึ้นหรือน้อยลง

แต่เมย์อธิบายการตัดสินใจครั้งนี้ว่า เกิดขึ้นเพราะส.ส.หลายรายในสภาพยายามขัดขวางแผนการเจรจาเพื่อลาออกจาก EU “ประเทศนี้กำลังเดินไปทางเดียวกัน แต่รัฐสภาไม่เป็นเช่นนั้น” เมย์กล่าว

เธเรซ่า เมย์ ในช่วงหาเสียงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 8 มิถุนายน 2017 (Photo by Carl Court/Getty Images)

การเสี่ยงดวงของเมย์นำไปสู่หายนะ เพราะหลังการเลือกตั้งเดือนมิถุนายน 2017 ผลปรากฏว่าพรรคอนุรักษนิยมได้จำนวนที่นั่งส.ส.น้อยลงไปอีก และพรรคแรงงานซึ่งสนับสนุนการอยู่ใน EU ต่อมาตลอดได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น จนพรรคอนุรักษนิยมมี ส.ส.มากกว่าพรรคแรงงานแค่ 8 ที่นั่ง อย่างไรก็ตาม โชคดีที่พรรคแรงงานเองยังมีเสียงไม่พอที่จะจัดตั้งรัฐบาล ทำให้พรรคอนุรักษนิยมยังได้เป็นรัฐบาลผสม โดยต้องดึงเสียงจากพรรค DUP มาเข้าร่วม

ธันวาคม 2017: เฟสที่สองของ Brexit

หลังจากนั้นสหราชอาณาจักรเจรจากับ EU อย่างต่อเนื่องและยากลำบาก จนถึงเดือนธันวาคม 2017 เมย์จึงเผยข้อตกลงเบื้องต้นกับ EU เกี่ยวกับ 3 ประเด็นหลักเพื่อ “หย่าขาด” กับสหภาพยุโรป ได้แก่ ประเด็นพรมแดนประเทศไอร์แลนด์ (*ประเทศไอร์แลนด์ยังเป็นสมาชิก EU อยู่ ทำให้ชายแดนที่ติดกับ UK ระยะทาง 500 กม. เป็นปัญหาที่ต้องตกลงกันถ้า UK ออกจาก EU แล้ว) ประเด็นค่าธรรมเนียมการลาออกที่ UK ต้องจ่ายให้ EU และประเด็นสิทธิของประชาชนชาวยุโรป

พรมแดนระหว่างประเทศไอร์แลนด์กับไอร์แลนด์เหนือของสหราชอาณาจักร

ฤดูร้อน 2018: ออกกฎหมาย Brexit + รัฐบาลป่วน

เดือนมิถุนายน 2018 มีความคืบหน้าไปอีกขั้น เมื่อสภาผู้แทนราษฎรผ่านกฎหมายการถอนตัวจากการเป็นสมาชิก EU กฎหมายนี้จะว่าด้วยการโอนย้ายกฎหมายของสหภาพยุโรปมาใช้ในกฎหมายของสหราชอาณาจักรด้วยหลัง Brexit แล้ว แต่รายละเอียดสำคัญๆ ยังต้องอภิปรายกันต่อ

หลังจากนั้นเดือนกรกฎาคม 2018 รัฐบาลมีการจัดประชุมที่บ้านเชคเกอร์ บ้านพักตากอากาศประจำตำแหน่งนายกฯ เหล่ารัฐมนตรีต่างอนุมัติแผน Brexit ของเมย์ที่มุ่งเป้าการคงความสัมพันธ์ในอนาคตกับสหภาพยุโรปไว้ ซึ่งรวมถึงการเจรจาเขตการค้าปลอดภาษี UK-EU ด้วย

แต่แล้วทั้ง “เดวิด เดวิส” เลขาธิการ Brexit และ “บอริส จอห์นสัน” เลขาธิการรัฐด้านกิจการต่างประเทศ กลับประกาศลาออกจากรัฐบาล โดยจอห์นสันกล่าวว่าเป็นเพราะแผนการของนายกฯ เมย์จะทำให้อังกฤษ “มุ่งไปสู่สถานะการเป็นอาณานิคมของ EU อย่างแท้จริง”

แม้จะมีการลงประชามติไปแล้ว แต่การประท้วงเพื่อหยุดยั้งการลาออกจาก EU ยังคงมีขึ้นต่อเนื่องในสหราชอาณาจักร (Photo by Dan Kitwood/Getty Images)

พฤศจิกายน 2018: ร่างแรกเตรียมเข้าสู่รัฐสภา + รัฐบาล (ยังคง) ป่วน

เส้นตายงวดเข้ามาทุกที ในที่สุดร่างแรกของข้อตกลง Brexit ก็ได้รับการยอมรับร่วมกันทั้งจากฝั่งรัฐบาล UK และสภา EU

แต่ระหว่างที่เมย์ก้าวต่อไปสู่การอภิปรายกับคณะรัฐมนตรีถึงเนื้อหารายละเอียดของข้อตกลง คณะรัฐมนตรีของเมย์ต้องเจอความปั่นป่วนแบบฉายซ้ำวนลูป เมื่อ “โดมินิค ราอับ” เลขาธิการ Brexit (คนใหม่) และ “เอสเธอร์ แมคเวย์” เลขาธิการรัฐด้านงานและบำนาญ พร้อมใจกันลาออก โดยกล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ให้เกียรติต่อผลของการลงประชามติ

ท่ามกลางความปั่นป่วนในคณะทำงานของรัฐบาลเองและความเป็นไปได้ที่สภาผู้แทนราษฎรจะคัดค้านแผน Brexit ของเธอ ในเดือนธันวาคม 2018 เมย์ก็ยังตัดสินใจเปิดโหวตครั้งสำคัญในสภาเพื่อตัดสินใจว่า ดีล Brexit นี้จะผ่านหรือไม่ผ่านมติที่ประชุม

ก่อนจะไปถึงการนำแผน Brexit เข้าสภา พรรคอนุรักษนิยมมีการจัดโหวตลับเพื่อลงมติไว้วางใจในความเป็นผู้นำของเธเรซ่า เมย์ ซึ่งเธอชนะไปด้วยคะแนนเสียง 200 ต่อ 117 ทำให้เธอยังคงดำรงตำแหน่งนี้ต่อไป

มกราคม-มีนาคม 2019 : ข้อตกลง Brexit ถูกตีตกแบบยับเยินในสภา

เหลืออีก 2 เดือนกว่าก่อนถึงเดดไลน์ เมย์นำข้อตกลง Brexit เข้ารัฐสภาเป็นครั้งแรก ซึ่งกลายเป็นความพ่ายแพ้ครั้งสำคัญ เพราะส.ส.โหวตค้านข้อตกลงฉบับนี้แบบขาดลอยโดยเสียงค้านชนะไปถึง 230 เสียง แม้แต่ส.ส.พรรคอนุรักษนิยมข้างฝ่ายรัฐบาลเองก็โหวตค้านเป็นจำนวนมาก

ข้อตกลง Brexit เข้าสู่รัฐสภาเป็นครั้งที่สองในเดือนมีนาคม 2019 และยังคงถูกตีตกเหมือนเดิม ทำให้นายกฯ เมย์ต้องหาทางขอขยายเวลากับ EU ไปถึงเดือนมิถุนายน 2019

ฤดูใบไม้ผลิ 2019 : ขยายเวลาการ Brexit + นายกฯ เมย์ลาออก

หลังหารือกับสภายุโรป EU อนุมัติให้สหราชอาณาจักรขยายเวลาการลาออกจาก EU ไปถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2019

แต่แล้วเธเรซ่า เมย์ กลับประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมในวันที่ 24 พฤษภาคม 2019 หลังการต่อสู้และทนแรงกดดันมาเนิ่นนาน

“ดิฉันจะลาออกจากตำแหน่งเร็วๆ นี้ และรู้สึกเป็นเกียรติของชีวิตที่ได้ปฏิบัติหน้าที่นี้” เธอกล่าว “นี่คือยุคของนายกฯ หญิงคนที่สองแห่งอังกฤษ แต่จะไม่ใช่คนสุดท้ายอย่างแน่นอน ดิฉันลาออกโดยไม่ได้มีเจตนาร้าย แต่ทำไปเพื่อแสดงความขอบคุณอย่างสุดซึ้งที่ได้รับใช้ประเทศที่ดิฉันรัก” เมย์กล่าวแถลงการณ์หน้าบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวน์นิ่งด้วยน้ำตา

เธเรซ่า เมย์ แถลงการลาออกจากตำแหน่งทั้งน้ำตา (Photo by Leon Neal/Getty Images)

กรกฎาคม 2019 : บอริส จอห์นสัน ขึ้นเป็นนายกฯ

เธเรซ่า เมย์ ลงจากตำแหน่งอย่างเป็นทางการ และ บอริส จอห์นสัน ชนะคู่แข่งในพรรคอนุรักษนิยม ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป โดยเขาแสดงความแข็งกร้าวและประกาศจุดยืนนำอังกฤษออกจาก EU ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2019 แบบ “ไม่มีคำว่าถ้า ไม่มีคำว่าแต่” จอห์นสันกล่าวว่าตนเอง “เชื่อว่าสามารถออกจาก EU โดยดีลข้อตกลงได้สำเร็จ” แต่อย่างไรก็ตาม เขาจะเตรียมตัวสำหรับการออกแบบ No-deal Brexit ไว้ด้วย

บอริส จอห์นสัน โบกมือทักทายหน้าบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวน์นิ่ง ในวันรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (Photo: Wiktor Szymanowicz / Barcroft Media via Getty Images)

ตุลาคม 2019 : ดีลครั้งใหม่

จอห์นสันเริ่มเสนอแผน Brexit อย่างเป็นทางการกับ EU โดยข้อสำคัญคือการหาทางแก้ปัญหาพรมแดนประเทศไอร์แลนด์กับพื้นที่ไอร์แลนด์เหนือของ UK โดยนายกฯ จอห์นสันประกาศว่าดีลครั้งนี้เป็น “ดีลที่ยอดเยี่ยม” และจะทำให้ UK ได้ออกจาก EU ทั้งหมด ประกอบด้วยอังกฤษ สก๊อตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ แต่ดีลของเขาก็ยังไม่ผ่านสภาอังกฤษเสียที จนต้องขอเลื่อนการ Brexit กับ EU อีกครั้งเป็นวันที่ 31 มกราคม 2020

ในที่สุด เพื่อล้างไพ่ให้เสียงในสภาเข้าข้างเขา จอห์นสันพยายามผลักดันการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ที่เร็วกว่ากำหนดจนสำเร็จ และการเลือกตั้งจะมีขึ้นในเดือนธันวาคม 2019

ธันวาคม 2019 : จอห์นสันชนะท่วมท้น ปลดล็อก Brexit

จอห์นสันหาเสียงด้วยการชูนโยบาย “ทำ Brexit ให้สำเร็จ” และเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น โดยมี ส.ส.มากกว่าพรรคแรงงานถึง 80 ที่นั่ง เสียงที่ได้เพิ่มขึ้นนี้จะทำให้จอห์นสันมีโอกาสดันดีล Brexit ผ่านรัฐสภาอังกฤษมากกว่าในยุคของเมย์ ส่วนพรรคแรงงานซึ่งได้รับผลการเลือกตั้งที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ปี 1935 ส่งผลให้ “เจเรมีย์ คอร์บิน” ต้องลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค

บอริส จอห์นสัน หลังชนะเลือกตั้งทั่วไปด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2019

มกราคม 2020 : Brexit (จริงๆ)

เมื่อได้รับชัยชนะท่วมท้น ทำให้ข้อตกลงยอมรับการ Brexit ของจอห์นสันผ่านสภาสำเร็จ จากนั้นจึงเข้าสู่สภายุโรป และได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 29 มกราคม

ในวันที่ 31 มกราคม 2020 เวลา 23.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นอังกฤษ สหราชอาณาจักรจะออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ และเข้าสู่ “ช่วงการเปลี่ยนผ่าน” เป็นเวลา 11 เดือนนั่นคือจนถึง 31 ธันวาคม 2020

ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ สิ่งที่จะเห็นเป็นรูปธรรมของการ Brexit คือชื่อและธงชาติอังกฤษจะถูกปลดออกจากสหภาพยุโรป รวมถึงจะไม่มีผู้แทนของ UK เข้าร่วมกับสหภาพยุโรปอีกต่อไป แต่สำหรับคนทั่วไปแล้ว ช่วงนี้การค้าขาย การเดินทาง และอยู่อาศัยข้ามประเทศจะยังดำเนินไปตามปกติก่อน

UK ได้ออกจาก EU ไปแล้วแบบไม่มีทางหันหลังกลับ แต่ทางเดินยังไม่สิ้นสุดเท่านี้ เพราะในเวลา 11 เดือน บอริส จอห์นสันจะต้องดีลข้อตกลงต่างๆ กับ EU ให้ได้ โดยเฉพาะข้อตกลงทางการค้า มิฉะนั้นแล้วอังกฤษจะต้องออกแบบ No-deal Brexit จริงๆ ซึ่งนั่นหมายถึงกำแพงภาษีของ EU ที่จะเกิดขึ้นทันทีและมีผลกับเศรษฐกิจประเทศอังกฤษ

Source: The Independent, CNN

]]>
1262784
รู้จัก “หลี่ปิงหยู” ผู้สมัคร ส.ส.ไต้หวัน กลยุทธ์เเต่งคอสเพลย์ ดึงคนสนใจการเมือง https://positioningmag.com/1258646 Thu, 26 Dec 2019 09:28:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258646 Photo : @LaiPinYuSouichi via Facebook

สร้างกระเเสฮือฮาให้การเลือกตั้ง “ไต้หวัน” คึกคักมากยิ่งขึ้น เมื่อพรรคการเมืองใหญ่ต่างระดมกำลังหาเสียงด้วยไอเดียเเปลกใหม่ พร้อมสีสันจากผู้สมัครรุ่นใหม่ที่สร้างภาพลักษณ์เเตกต่างจากนักการเมืองเก่า โดยเฉพาะตัวเเทนจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) ที่มีทั้งอดีตนักร้องเดธเมทัล และสาวสวยที่แต่งชุดคอสเพลย์จากการ์ตูนชื่อดัง

วันนี้เราจะมารู้จัก “หลี่ปิงหยู” (Lai Pin Yu) ผู้สมัครลงชิงตำเเหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในวัย 27 ปี ซึ่งนับว่าที่อายุน้อยที่สุดในปีนี้ ด้วยบุคลิกร่าเริงสดใสพร้อมใบหน้าสวยหวาน ทำให้เธอได้รับความนิยมอย่างมาก

โดยเธอยังมีกลยุทธ์การหาเสียงที่ดึงดูดความสนใจจากผู้คนทั้งเยาวชนไปยันกลุ่มสูงวัยอย่างการ “แต่งชุดคอสเพลย์” ล่าสุดหลี่ปิงหยู เลือกที่จะมาในชุดปลั๊กสูทที่แดงแรงฤทธิ์ หรือ ชุดสำหรับผู้บังคับหุ่นยนต์ จากการ์ตูนสุดฮิต Neon Genesis Evangelion ที่ตัวละคร โซริว อาสึกะ แลงเลย์ (Asuka Langley Soryu) สวมในเรื่อง

Photo : @LaiPinYuSouichi via Facebook

สำหรับ “หลี่ปิงหยู” เป็นผู้สมัครของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าแห่งไต้หวัน ได้ขึ้นเวทีหาเสียงร่วมกับประธานาธิบดีคนปัจจุบันอย่าง “ไช่ อิงเหวิน”

เธอเกิดในครอบครัวนักการเมืองที่มีพ่อคือ “หลี่จินหลิน” อดีต ส.ส. อย่างไรก็ตาม เเม้จะมีจะอยู่ในตระกูลนักการเมือง เเต่เธอก็ประกาศว่าเธอมีจุดยืนเป็นของตัวเอง

“หลี่ปิงหยู” จบการศึกษาด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัยไทเป เริ่มทำงานการเมืองมาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย
ในสมัยเรียนเคยร่วมเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการเจรจาการค้าที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชนไต้หวัน ร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านการผูกขาดเเละเข้าร่วมกับขบวนการเสื้อขาว ‘White Shirt Army’ การเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในไต้หวัน พร้อมเรียกร้องสิทธิมนุษยชน

Photo : @LaiPinYuSouichi via Facebook

แต่นอกจากเรื่องการเคลื่อนไหวและจุดยืนทางการเมืองแล้ว สิ่งที่ทำให้ชาวไต้หวันรู้จักเธอเป็นวงกว้างนั่นคือการโด่งดังจากการเเต่งตัว “คอสเพลย์” หรือแต่งตัวตามแบบตัวการ์ตูนเเละคาแร็กเตอร์ต่างๆ

“ถ้าคอสเพลย์แล้วคนสนใจประเด็นที่ฉันอยากจะพูด…ฉันก็จะเเต่งคอสเพลย์”

โดยเธอมักจะแต่งคอสเพลย์ในกิจกรรมเคลื่อนไหวต่างๆ นอกจากชุดปลั๊กสูทบนเวทีหาเสียงแล้ว เธอยังเคยแต่งชุดแบบตัวละคร “อายานามิ เรย์” ใน Neon Genesis Evangelion ระหว่างการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเหล่าเกษตรกรซึ่งถูกไล่ที่ดินทำกินด้วย

ตอนสมัครลงชิงตำแหน่ง ส.ส. เธอยังแต่งชุดกิโมโนแบบญี่ปุ่นและยังเคยใส่เสื้อนักเรียนญี่ปุ่นหาเสียงมาแล้ว และแน่นอนว่าชุดเซเลอร์ มูน ก็ไม่พลาดเคยใส่มาแล้วเหมือนกัน

เธอบอกว่าตัวเองเป็นแฟนตัวยงของอนิเมะอยู่แล้ว และยอมรับตรงๆ ว่าเเต่งคอสเพลย์ระหว่างทำกิจกรรมทางการเมือง ก็เพื่อเรียกร้องความสนใจนั่นเอง

“ฉันรู้สึกมาตลอดว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองของตัวเอง ไม่มีพลังเพียงพอ ถ้าชุดจากตัวการ์ตูนทำให้คนสนใจในประเด็นต่างๆ ได้มากขึ้น ฉันก็พร้อมที่จะทำ ถ้าใครมาขอเซลฟีเวลาฉันแต่งตัวเป็นตัวะละครที่พวกเขาชอบ
ฉันก็จะยินดีเสมอ พวกเขาอาจจะสนใจชุด สนใจการเซลฟีมากกว่า แต่อย่างน้อยประเด็นที่ฉันต้องการนำเสนอก็จะถูกส่งผ่านภาพเซลฟีพวกนั้นไปด้วย”

Photo : @LaiPinYuSouichi via Facebook

ด้านการเมืองไต้หวัน บรรดาผู้สมัครเริ่มโชว์ตัวตามสื่อ ทั้งกระแสหลักและสื่อสังคมออนไลน์ เเม้พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าซึ่งเป็นรัฐบาลในปัจจุบันจะพ่ายเเพ้ ในการเลือกตั้งท้องถิ่นเมื่อปี 2561 เเต่ในช่วงนี้ผลสำรวจระบุว่า “ไช่ อิงเหวิน” ยังมีคะเเนนนำคู่เเข่งอยู่ราว 10%

ซึ่งมีแนวโน้มว่าในการเลือกตั้งครั้งที่ 4 ของไต้หวัน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 มกราคมที่กำลังจะถึงนี้ เธออาจได้รับชัยชนะเป็นสมัยที่ 2 แม้จะเผชิญกับข่าวฉาวและภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวก็ตาม

โดยความนิยมเพิ่มขึ้นจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้เเก่ สถานการณ์ความไม่สงบในฮ่องกง ทำให้แรงสนับสนุนพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้ามีมากขึ้น รวมถึงพรรคชาตินิยมซึ่งเป็นฝ่ายค้านด้วย เเละผลจากสงครามการค้าระหว่างจีนเเละสหรัฐ ที่ทำให้ต่างชาติพยายามมองหาแหล่งสินค้าอื่นๆ ที่เคยผลิตในจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งไต้หวันได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในส่วนนี้

 

Source 
Source 

 

 

]]>
1258646
ถอดถอน “ทรัมป์” รอดหรือร่วง…เเละทำไม “บลูมเบิร์ก” รวยเเซงหน้าทรัมป์ ถึง 17 เท่า https://positioningmag.com/1257976 Fri, 20 Dec 2019 09:40:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257976 ในยามที่กำลังลุ้นว่า “โดนัลด์ ทรัมป์” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 45 จะถูกถอดถอนออกจากตำเเหน่ง ไปไม่ถึงการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงปลายปีหน้าหรือไม่ Positioning พามาดูขุมทรัพย์ของมหาเศรษฐี 2 ตัวเต็งชิงผู้นำอเมริการะหว่างเจ้าพ่อสื่อ ไมเคิล บลูมเบิร์ก VS โดนัลด์ ทรัมป์ เเละวิเคราะห์โอกาสในการถอดถอน “ทรัมป์” ว่ามีมากน้อยเเค่ไหน

ทำไม “บลูมเบิร์ก” รวยเเซงหน้า “ทรัมป์” ถึง 17 เท่า

ทุกคนรู้ดีว่าปัจจุบันช่องว่างของความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยเเละคนจนมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยเละประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ขณะเดียวกันช่องว่างนี้ก็เกิดขึ้นระหว่างคนรวยกับคนรวยด้วย เมื่อมองไปถึงการชิงตำเเหน่งประธานาธิบดีสหรัฐที่จะกำลังจะมีขึ้นในปี 2020

“โดนัลด์ ทรัมป์” (Donald Trump) ผู้นำสหรัฐฯ คนปัจจุบันจากพรรครีพับลิกัน ได้รับการประเมินว่ามีความมั่งคั่งอยู่ที่ 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 9.37 หมื่นล้านบาท) ติดอันดับ 715 ของทำเนียบมหาเศรษฐีโลกปีนี้ จากการจัดอันดับของ Forbes ถือว่าเป็นเงินจำนวนมหาศาลเมื่อเทียบกับคนส่วนใหญ่บนโลก

แต่ทรัพย์สินของทรัมป์ กลับดูน้อยมากหากเทียบกับทรัพย์สินของผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีตัวเต็งจากพรรคเดโมเเครตอย่าง “ไมเคิล บลูมเบิร์ก” (Michael Bloomberg) ผู้ครองความมั่งคั่งกว่า 5.3 หมื่นล้านเหรียญ (ราว 1.64 ล้านล้านบาท ) ติดอันดับ 9 ของทำเนียบมหาเศรษฐีโลกปีนี้ 

บลูมเบิร์ก สามารถบริหารจัดการธุรกิจและทรัพย์สินได้อย่างเหมาะสม เเละเพิ่มความมั่งคั่งได้เป็นทวีคูณ โดยติดอันดับ 400 บุคคลที่รวยที่สุดในอเมริกาหรือ Forbes 400 เป็นครั้งแรกได้ในปี 1992 ซึ่งคนที่จะติดอันดับได้ต้องมีสินทรัพย์ 350 ล้านเหรียญขึ้นไปในขณะนั้น หลังจากบริษัทของเขาที่ให้บริการข้อมูลหุ้น พันธบัตร และอื่นๆ เริ่มเป็นที่นิยมในวอลสตรีท

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ฟาก “ทรัมป์” ต้องฝ่าวิกฤตเพื่อรักษาอาณาจักรของครอบครัวไว้ หลังมีหนี้สินก้อนโตจนเกือบล้มละลาย

ฟ้าหลังฝน ทรัมป์ฝ่าวิกฤตได้และกลับเข้ามาสู่ทำเนียบ Forbes 400 ได้ในปี 1996 ด้วยความมั่งคั่งราว 450 ล้านเหรียญ ขณะที่ บลูมเบิร์ก ตอนนั้นมีความมั่งคั่งอยู่ราว 1 พันล้านเหรียญ เเล้ว จากมูลค่าหุ้นในธุรกิจข้อมูลทางการเงินของเขา

ตลอดช่วง 23 ปีที่ผ่านมา ความมั่งคั่งสุทธิของทรัมป์ เพิ่มขึ้นในอัตรา 8.8% ต่อปี มากกว่าผลตอบแทนของดัชนีหุ้น S&P 500 ซึ่งอยู่ที่ 6.7% ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยผลตอบแทนของทรัมป์ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในปี 1996-1997 ซึ่งทำให้เขาก้าวกระโดดจาก 450 ล้านเหรียญมาเป็น 1.4 พันล้านเหรียญ

ขณะที่ความมั่งคั่งของบลูมเบิร์ก มีการเติบโตเเละมีความเสถียรมากกว่า ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 18.8% ต่อปี

ผลตอบแทนเเละการเติบโตทางธุรกิจที่โดดเด่น การขยายกิจการเเละเข้าซื้อธุรกิจสื่อ ทำให้บลูมเบิร์กรวยขึ้นมหาศาล เเซงหน้าเหล่ามหาเศรษฐีที่ธุรกิจส่วนใหญ่ยังเป็นการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์เก่าดั่งเช่นทรัมป์

โดยช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา บริษัท Bloomberg LP เติบโตขึ้นจากการขยายการรายงานข่าวธุรกิจและการเงินเข้ามาด้วย จากเดิมที่เพียงให้บริการข้อมูลด้านการเงินเท่านั้น

จากนั้น Bloomberg LP ได้เข้าซื้อกิจการหนังสือ BusinessWeek ซึ่งกำลังประสบปัญทางการเงินอย่างหนักจาก McGraw-Hill ด้วยมูลค่า 5 ล้านเหรียญ และรับโอนหนี้สินมาอีกเกือบ 32 ล้านเหรียญในปี 2009

ปัจจุบัน ประเมินว่า Bloomberg LP มีรายได้อยู่ที่ 1 หมื่นล้านเหรียญและ “ไมเคิล บลูมเบิร์ก” ผู้ก่อตั้งนั้นถือครองหุ้นอยู่ 88% ของบริษัท

ไมเคิล บลูมเบิร์ก นักธุรกิจผู้ท้าชืงตำเเหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ในปี 2020 – AFP Photo/Olivier Douliery

นอกจากนี้เจ้าพ่อสื่ออย่างบลูมเบิร์ก ยังมีชื่อเสียงจากการเป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีที่บริจาคเงินเพื่อการกุศล โดยเขาบริจาคเงิน 8 พันล้านเหรียญให้กับองค์การกุศลและกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ รวมถึงมหาวิทยาลัย Johns Hopkins
และกิจกรรมที่ผลักดันการควบคุมอาวุธปืน

เเม้การเอาชนะใครบางคนได้ในสนามธุรกิจ กับการเอาชนะใครบางคนได้ในสนามเลือกตั้งนั้นต้องใช้ทักษะที่แตกต่างกัน ซึ่งในปีหน้านี้ บลูมเบิร์ก ผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์กมาเเล้ว 3 สมัย จะได้รับโอกาสพิสูจน์ตัวเองว่าเขาจะสามารถต่อสู้กับทรัมป์บนเวทีการเมืองได้หรือไม่เเละอย่างไร

ทุ่มเงินซื้อโฆษณาเลือกตั้ง 2020

มีรายงานจาก Advertising Analytics บริษัทด้านสำรวจโฆษณาในสหรัฐฯ เผยว่าบลูมเบิร์กได้ทุ่มเงินจำนวนอย่างน้อย 33 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 990 ล้านบาท) ซื้อโฆษณารณรงค์ประชาสัมพันธ์การสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาในหลายรัฐ

เป็นที่น่าสนใจว่า เงินดังกล่าวส่วนใหญ่ถูกลงไปกับการซื้อโฆษณาหาเสียงในรัฐที่เป็นฐานเสียงของพรรคคู่เเข่งอย่างรีพับลิกัน และถือเป็น “Swing State” ที่มีจำนวน Electoral College หลายที่นั่ง เช่น รัฐฟลอริดา โอไฮโอ มิชิแกน ยูทาห์ และเท็กซัส

เเม้ข้อมูลตัวเลขของเเคมเปญดังกล่าวจะยังไม่ชัดเจน เเต่ก็นับว่าสูงกว่าสมัยที่อดีตประธานธิบดี “บารัค โอบามา” เคยใช้เงินซื้อโฆษณาที่ 24 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่า ทีมหาเสียงของมหาเศรษฐี “บลูมเบิร์ก”
อาจใช้เงินในการรณรงค์แคมเปญหาเสียงสูงเลือกตั้งครั้งนี้ถึง 100 ล้านเหรียญเลยทีเดียว

ถอดถอน “ทรัมป์” รอดหรือร่วง?

ล่าสุดกับข่าวใหญ่ของการเมืองสหรัฐและการเมืองโลกในช่วงปลายปีนี้ เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ลงมติด้วยคะแนน 230 :197 ถอดถอน (impeachment) ประธานาธิบดีทรัมป์ใน 2 ข้อกล่าวหาคือ ข้อหาการใช้อำนาจในทางมิชอบ และขัดขวางกระบวนการสอบสวนของสภาคองเกรส โดยพรรคเดโมแครตมี ส.ส. จำนวน 232 เสียง ซึ่งโหวตเห็นชอบเกือบหมด ส่วนพรรครีพับลิกันมี ส.ส. จำนวน 195 เสียงเเละโหวตคัดค้านทุกคน

เเฟ้มภาพ – โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45

ส่งผลให้ทรัมป์กลายเป็นผู้นำคนที่ 3 ของสหรัฐฯ ที่ถูกพิจารณาถอดถอนในขั้นตอนของสภาผู้แทนราษฎร ถัดจากแอนดรูว์ จอห์นสัน และ บิล คลินตัน

อย่างไรก็ตาม การถอดถอนประธานาธิบดีไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องอาศัยเสียงโหวตในสภา โดยการเสนอถอดถอนต้องใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง (1/2) ของสภาล่าง (ผ่านเเล้ว) แต่การโหวตตัดสินว่าผิดจริงหรือไม่ต้องใช้เสียงถึง 2/3 ของสภาสูงหรือวุฒิสภา ที่มีจำนวน 100 ที่นั่ง หรือเท่ากับต้องมี 67 เสียงขึ้นไปถึงจะถอดถอนได้

เเละเมื่อมองดูจากสถานการณ์ ตอนนี้พรรครีพับลิกันนั้นครองเสียงข้างมากในสภาสูงคือ 53 เสียง พรรคเดโมแครตมี 45 เสียง และวุฒิสมาชิกอิสระอีก 2 เสียง ทำให้การที่พรรคเดโมเเครตจะมีคะเเนนโหวตถึง 2/3 ของสภาสูงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนนี้การเมืองสหรัฐฯ มีการเเบ่งขั้วชัดเจน (ดูจากพรรครีพับลิกันมี ส.ส. จำนวน 195 เสียงก็โหวตคัดค้านพร้อมเพรียงกันทุกคน)

อย่างไรก็ตาม หากเกิดการ “พลิกล็อก” ขึ้นมาจริงๆ ในกรณีทรัมป์ถูกถอดถอนสำเร็จ รองประธานาธิบดี “ไมค์ เพนซ์” (Mike Pence) ซึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาลพรรครีพับลิกันก็ยังคงบริหารต่อไป โดยขึ้นมารับตำแหน่งประธานาธิบดีแทน

นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าการยื่นถอดถอนทรัมป์ของพรรคเดโมเเครตครั้งนี้ เป็นเทคนิคทางการเมืองที่ทำให้คู่เเข่งอย่างรีพับลิกันไขว้เขวเเละไม่โฟกัส การเลือกตั้งประธานาธิบดีที่กำลังจะมาถึงในช่วงปลายปีหน้า เพราะกระบวนการต่อสู้ต้องใช้ทรัพยากรมากทั้งการเตรียมข้อมูล การหักล้างฟาดฟันกัน

ในมุมกลับกันก็อาจเป็นการสร้างเเนวร่วมให้กับฐานเสียงของทรัมป์ด้วย ซึ่ง The Wall Street Journal ออกมาวิเคราะห์ว่าการยื่นถอดถอนทรัมป์ครั้งนี้ อาจเป็นการยืนยันว่าทรัมป์จะชนะเลือกตั้งสมัยหน้าอีกก็เป็นได้ (อ่านเพิ่มเติมใน The Democrats Could Re-Elect Trump in 2020) 

ที่มา

 

]]>
1257976
5 แฮชแท็กการเมืองถล่ม “ทวิตเตอร์ไทย” จุดพลุด้วย #ทรงพระสเลนเดอร์ ก่อนส่งต่อ #แม่มาแล้วธานอส พลังของเรียลไทม์ มาร์เก็ตติ้ง https://positioningmag.com/1213062 Fri, 08 Feb 2019 09:37:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1213062 หลังจากเวลาประมาณ 09.00 ของเช้าวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 เมื่อ ..ปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) เสนอชื่อ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีในบัญชีผู้ที่พรรคจะเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี

ทันทีที่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการทำให้ในขณะนี้ 5 แฮชแท็ก ที่มาแรงที่สุดของประเทศไทยเทรนด์ในทวิตเตอร์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมืองหมดเลย เริ่มต้นด้วย “#ทรงพระสเลนเดอร์ซึ่งมาจากกระแสของพรรคไทยรักษาชาติ มีคนทวีตข้อความรวมกันกว่า 505,000 ข้อความ ตามมาด้วยไทยรักษาชาติ 937,000 ข้อความ, “เลือกตั้ง62” 446,000 ข้อความ,อนาคตใหม่ 139,000 ข้อความ และ #แม่มาแล้วธานอส 41,000 ข้อความ

สำหรับคำว่าทรงพระสเลนเดอร์คือ คำที่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงตอบกลับผู้เข้ามาแสดงความคิดผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว nichax ว่าถ้าลุ้นอย่าพูดว่าทรงพระเจริญเพราะไม่อินเทรนด์ ถ้าจะให้พรก็บอกว่าทรงพระสเลนเดอร์

ที่มา : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000013746

หลายข้อความที่ติด #ทรงพระสเลนเดอร์ ต่างมียอดการรีทวิตพุ่งขึ้นสูงระดับหลักหมื่นซึ่งมักไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักในเมืองไทย ทั้ง @SpringNews_TV มียอดรีทวิตกว่า 31,479 ครั้ง และชื่นชอบอีก 5,668 ครั้ง ความน่าสนใจยังอยู่ที่ถึงไม่ได้เป็นสำนักข่าว ก็มียอดรีทวิตจำนวนมากอย่าง @drballban มียอดรีทวิตโดนขึ้นไปกว่า 43,669 ครั้ง และชื่นชอบอีก 6,176 ครั้ง (ณ เวลาประมาณ 13.55 . ของเวลาประเทศไทย)

ก่อนหน้านี้ทวิตเตอร์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เปิดเผยอินไซต์ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ พบฐานผู้ใช้หลัก 40% อยู่ในช่วงอายุ 15-24 ปี ตามมาด้วยอายุ 25-34 ปี สัดส่วน 26% ดังนั้นการขึ้นเทรนด์ #ทรงพระสเลนเดอร์ ชี้ให้เห็นชัดเจนเลยว่า การเลือกตั้ง 2562 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนราว 7-8 ล้านคน ที่จะมีสิทธิ์เลือกตั้งใหญ่เป็นครั้งแรก

อย่างไรก็ตาม แม้การเลือกตั้งจะเป็นเรื่องที่จริงจังแต่แบรนด์ก็ไม่พลาดที่จะขอมีส่วนร่วมบ้างจึงเป็นที่มาของ #แม่มาแล้วธานอส ซึ่งเจ้าพ่อมือหนึ่งเรื่องเรียลไทม์ มาร์เก็ตติ้ง @MajorGroup จับกระแสทันควันหยิบหนังเรื่องกัปตันมาร์เวล” (Captain Marvel) ภาพยนตร์ลำดับที่ 21 ในจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล มีตัวละครนำเป็นผู้หญิง และกำลังจะเข้าฉายวันที่ 6 มีนาคม ออกมาโปรโมตทันที ในเวลา 09.15 . ตามหลังจากที่มีประกาศ 10 กว่านาทีเท่านั้น

ความน่าสนใจและสามารถหยิบกระแสมาผูกเข้ากับเรื่องราวที่จะโปรโมตทำเอาถูกอกถูกใจชาวทวิตภพแม้เรื่องเลือกตั้งจะค่อนข้างซีเรียส แต่ก็ขออารมณ์ขันกันบ้าง #แม่มาแล้วธานอส จึงไต่ขึ้นมาติดอันกับ 5 ของตารางเทรนด์ทวิตเตอร์ไทยจนได้

ดูถูกไม่ได้จริงๆ พลังของเรียลไทม์ มาร์เก็ตติ้ง


ข่าวเกี่ยวเนื่อง

• เจาะอินไซต์ #ทวิตภพ จาก #YearOnTwitter วันนี้คนใช้ไม่ได้มีแค่วัยรุ่นที่ “หนี” พ่อแม่เข้าไปเล่นอีกแล้ว

]]>
1213062
เปิด 10 เทรนด์ AI ที่ต้องจับตาในปี 2018 https://positioningmag.com/1154658 Sun, 28 Jan 2018 06:36:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154658 การเข้าสู่โลกใหม่ที่มีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) รอเปิดประตูต้อนรับอยู่นั้นอาจไม่ใช่เรื่องน่าสนุก แต่ถึงวันนี้คงต้องยอมรับว่า ทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศผู้นำ หรือประเทศที่มีศักยภาพต่างยอมทุ่มงบประมาณ และกำลังคนเข้ามาร่วมแข่งขันในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์กันแล้วทั้งสิ้น 

โดยในรายงานของแมคคินซีย์ (McKinsey) เกี่ยวกับการลงทุนด้าน AI นั้นพบว่า บริษัทยักษ์ใหญ่เช่น อัลฟาเบ็ท (Alphabet) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล (Google) มีการลงทุนไปกับ AI ราว 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ไป่ตู้ (Baidu) หนึ่งในพี่น้องค้างคาวของจีนก็ลงทุนไปถึง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่ผ่านมาเช่นกัน ความสำคัญในระดับนี้จึงเป็นที่น่าจับตาว่าเทรนด์ของ AI จะทำให้โลกเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างในปี 2018 ซึ่งอาจประกอบด้วย

1. AI จะกลายเป็นประเด็นพูดคุยทางการเมือง

เหตุที่กล่าวเช่นนี้เพราะ AI นั้นสามารถสร้างงานใหม่ ๆ ขึ้นได้ก็จริง แต่ก็จะมีพนักงานบางคนที่ตกงานเพราะ AI ด้วยเช่นกัน เช่นกรณีของรถยนต์ไร้คนขับ ที่โกลด์แมน แซคส์ (Goldmen Sachs) คาดการณ์ว่าจะมีพนักงานขับรถตกงานถึง 25,000 คนต่อเดือน

หรือในกรณีของโกดังอัจฉริยะที่สามารถบริหารงานได้ด้วยคนเพียง 10 – 20 คน นั่นหมายความว่าจะมีแรงงานประมาณหนึ่งล้านคนในสหรัฐอเมริกาที่ไม่มีรายได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับตลาดที่ AI มาถึงแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา เพราะถึงแม้ประธานาธิบดีคนใหม่อย่างโดนัลด์ ทรัมป์ จะจำกัดการให้วีซ่าแก่พลเมืองของประเทศอื่นด้วยมองว่าเข้ามาแย่งงานคนอเมริกันทำแล้วก็ตาม แต่ตลาดแรงงานของสหรัฐอเมริกาก็ใช่ว่าจะปรับตัวให้มีคุณสมบัติมากพอที่จะขึ้นมาทำงานกับ AI ได้แต่อย่างใด

2. ระบบโลจิสติกส์จะถูกเปลี่ยนโฉมหน้าไปตลอดกาล

ในสหรัฐอเมริกามีบริษัทอย่าง คีว่า ซิสเต็มส์ (Kiva Systems) หรือปัจจุบันที่ใช้ชื่อว่าแอมะซอน โรโบติกส์ (Amazon Robotics) ซึ่งเป็นบริษัทที่นำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ร่วมกับหุ่นยนต์เพื่อปลดล็อกปัญหาเดิม ๆ ของวงการโลจิสติกส์แล้ว และเทคโนโลยีนี้จะทำให้โกดังในอนาคตมีสภาพแตกต่างไปจากปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง เพราะการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้จะทำให้สามารถทำงานติดต่อกันทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงได้ และบางทีอาจไม่ต้องใช้แสงสว่างในการแพ็กของอีกต่อไป เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องใช้แสงนั่นเอง

3. อุตสาหกรรมรถยนต์จะมุ่งสู่การผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง

การผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง (Self-Driving Car) จะกลายเป็นกระแสหลักที่ทุกค่ายรถต่างต้องมุ่งไป ไม่ว่าจะพอใจหรือไม่ก็ตาม โดยมีเทสล่า (Tesla) บริษัทของอีลอน มัสก์เป็นผู้นำเทรนด์ ซึ่งคนที่ตามหลังมา ได้แก่ ออดี้ (Audi) ที่มีแผนจะเปิดตัวรถยนต์อัจฉริยะของตนเองในปี 2018 ส่วนรถยนต์ยี่ห้อคาดิลแล็ค (Cadillac) และวอลโว่ (Volvo) ก็เผยว่ากำลังพัฒนาเทคโนโลยีการขับเคลื่อนด้วยตัวเองนี้อยู่เช่นกัน

4. ความต้องการนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจะแซงหน้าวิศวกร

ไอบีเอ็ม (IBM) ออกมาคาดการณ์ว่า ความต้องการพนักงานในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล หรือ Data Scientist จะเพิ่มขึ้นเป็น 2.7 ล้านคนในปี 2020 เนื่องจากการใช้งาน AI ที่สูงขึ้น อีกทั้งยังพบว่า การประมวลผลข้อมูลเพื่อนำมาใช้งานจะเป็นสิ่งที่บริษัททุกขนาดไม่ว่าจะองค์กรเล็กหรือใหญ่จำเป็นต้องทำ จึงทำให้ตำแหน่ง Data Scientist กลายเป็นตำแหน่งที่มีความจำเป็นต่อธุรกิจในอนาคต

5. รูปแบบการโค้ชพนักงานจะเปลี่ยนไป

เหตุที่กล่าวเช่นนั้น เพราะจะมีเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิ่งจะเข้ามาช่วยสอนงานพนักงานแทน ยกตัวอย่างเช่น Gong หรือ Chorus เครื่องมือบันทึกเสียงสนทนาของพนักงานขาย ซึ่งจากนั้นระบบสามารถนำมาวิเคราะห์และสอนวิธีพูดกับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมได้ โดยมีการคาดการณ์กันว่า AI ที่จะมาซัพพอร์ตพนักงานระดับบนนั้นจะเริ่มเห็นได้มากขึ้นในปี 2018 นี้

6. คอนเทนต์ข่าวจะสร้างโดยใช้ AI

ปัจจุบัน ผู้ผลิตสื่ออย่าง ยูเอสเอทูเดย์ (USA Today) ซีบีเอส (CBS) เอพี (Associated Press) หรือ Hearst ต่างก็นำ AI มาใช้ในการผลิตคอนเทนต์แล้ว ตัวอย่างที่ดีคงเป็น Wibbitz ซึ่งเป็น AI ที่ช่วยเปลี่ยนคอนเทนต์แบบเขียนให้กลายเป็นคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอได้ในเวลาไม่กี่นาที และในปี 2018 จะเป็นปีที่ผู้อ่านอาจจะได้เห็นการปรับใช้ AI มาเขียนข่าว หรือผลิตคอนเทนต์วิดีโอได้มากขึ้น

7. AI จะจับมือกับบล็อกเชนทำให้เกิดความโปร่งใสตามมา

บริษัทชื่อพรีเสิร์ช (Presearch) เป็นบริษัทหนึ่งที่ตั้งเป้าจะใช้บล็อกเชนและ AI สร้างความโปร่งใสให้กับวงการเสิร์ชมากขึ้น โดยทางพรีเสิร์ชมองว่า ทุกวันนี้ กูเกิล (Google) ครองส่วนแบ่งตลาดเสิร์ชเอนจินไว้มากกว่า 80% แต่มีน้อยคนที่จะเข้าใจว่า อัลกอริธึมของกูเกิลนั้นเลือกคอนเทนต์อย่างไรให้ผู้บริโภคแต่ละคนได้รับชมกัน ด้านพรีเสิร์ชจึงเข้ามาแก้ปัญหานี้ ด้วยการใช้บล็อกเชนเป็นตัวสร้างความโปร่งใส และวางแผนว่าจะให้เงินดิจิตอลเป็นการตอบแทนให้กับผู้ที่ยอมให้บริษัทเช่าใช้พลังของคอมพิวเตอร์ในการเสิร์ชครั้งนี้ด้วย

8. ผู้บริโภคยุคใหม่จะคุ้นเคยกับ AI ผ่านระบบการสั่งการด้วยเสียง

ในปี 2018 จะเป็นปีที่ผู้บริโภครู้สึกสบายใจมากขึ้นที่จะพูดกับผู้ช่วยดิจิตอลซึ่งเป็น AI ของตนเอง ไม่ว่าจะพูดกันผ่านลำโพง, สมาร์ทโฟน หรือแม้กระทั่งทีวี ซึ่งประเทศที่เห็นเทรนด์นี้ก่อนใครน่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมียอดขายลำโพงอัจฉริยะในปีที่แล้วกว่า 20 ล้านเครื่อง (เฉพาะแอมะซอนอย่างเดียว)

9. จะเกิดการจับมือกันขององค์กรด้านเทคโนโลยี-การทหาร

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ DARPA หน่วยงานด้านวิจัยระดับสูงเพื่อการทหารของสหรัฐอเมริกาในตอนนี้ได้จับมือกับบอสตัน ไดนามิกส์ เพื่อออกแบบหุ่นยนต์ที่นำ AI เข้ามารวมอยู่ด้วย 

10. AI จะถูกนำมาใช้ต่อกรกับโรคระบาดมากขึ้น

เทคโนโลยีอย่างบล็อกเชน เมื่อรวมเข้ากับ AI ซึ่งอาจฝังอยู่ในชิปขนาดเล็กอาจถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์โมเลกุล หรือใช้ในการรักษาโรค นอกจากนี้ ยังอาจมีการใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งเพื่อค้นหายารักษาอาการป่วยตัวใหม่ หรือกระบวนการรักษาอาการป่วยแบบใหม่ เพื่อให้คนไข้หายป่วยได้เร็วขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น

เรียบเรียงจาก 

https://www.msn.com/en-us/news/technology/10-artificial-intelligence-trends-to-watch-in-2018/ar-AAuU7Ub?li=AA4Zoy&ocid=spartanntp

https://www.cnbc.com/2017/05/22/goldman-sachs-analysis-of-autonomous-vehicle-job-loss.html

สนับสนุนข่าวโดย : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000006439

]]>
1154658