ความเป็นส่วนตัว – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 08 Aug 2023 06:40:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ปกป้องความเป็นส่วนตัว! เครื่องมือใหม่จาก Google ให้ผู้ใช้ “ลบผลการค้นหา” ข้อมูลของตัวเองได้ https://positioningmag.com/1440150 Tue, 08 Aug 2023 05:38:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440150 Google เปิดตัวเครื่องมือใหม่ ช่วยให้ผู้ใช้ติดตามและ “ลบผลการค้นหา” ข้อมูลส่วนตัวของตัวเองได้ หากไม่ต้องการให้ผู้อื่นค้นเจอ เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

เครื่องมือนี้จะรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้ที่ค้นหาเจอใน Google Search นำมาแสดงบนแดชบอร์ด และจะมีการแจ้งเตือนเมื่อมีข้อมูลใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องอัปโหลดขึ้นมา ผู้ใช้สามารถร้องขอให้ลบข้อมูลเหล่านี้ออกจากผลการค้นหาบน Google ได้

ผลการค้นหาที่คาดว่าเป็นข้อมูลละเอียดอ่อนซึ่งผู้ใช้น่าจะต้องการลบ เช่น ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับตนเอง ข้อมูลการติดต่อส่วนตัว (เบอร์โทรศัพท์, ที่อยู่) ข้อมูลที่เป็นการหมิ่นประมาทตนเอง การละเมิดคอนเทนต์ลิขสิทธิ์ เป็นต้น

ต้องย้ำอีกครั้งว่าการ “ลบผลการค้นหา” หมายถึงข้อมูลนั้นจะไม่แสดงขึ้นมาบนหน้า Google Search เท่านั้น แต่ข้อมูลดังกล่าวจะยังอยู่บนแพลตฟอร์มต้นทางบนอินเทอร์เน็ต หากผู้ใช้เข้าถึงแพลตฟอร์มได้โดยตรงหรือผ่านการค้นหาในช่องทางอื่นก็จะยังพบข้อมูลนั้นๆ

Google แนะนำว่าถ้าผู้ใช้ต้องการลบข้อมูลนั้นอย่างถาวร ควรจะติดต่อไปที่เว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มที่ลงข้อมูลโดยตรง

ปัจจุบันเครื่องมือนี้ยังทดลองใช้เฉพาะในสหรัฐอเมริกาและใช้ได้เฉพาะภาษาอังกฤษ โดยชาวอเมริกันเป็นผู้บริโภคที่ใส่ใจกับเรื่องข้อมูลส่วนตัวบนโลกดิจิทัลมาก

Pew Research มีการศึกษาในปี 2019 พบว่า 80% ของชาวอเมริกันมองว่า ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้เพราะการเก็บดาต้าส่วนตัวของผู้ใช้โดยบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ มีน้ำหนักที่สูงกว่าผลประโยชน์ที่พวกเขาได้รับจากการเข้าไปใช้งานแพลตฟอร์ม

ส่วนความกังวลต่อแพลตฟอร์มบางรายอย่างเฉพาะเจาะจงเพิ่งเกิดขึ้นในไม่กี่ปีมานี้ Pew Research ศึกษาอีกครั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2023 พบว่า คนอเมริกันส่วนใหญ่มีความหวาดหวั่นว่า TikTok แพลตฟอร์มของบริษัท ByteDance จากจีน จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ เพราะมีลักษณะเป็น ‘สายลับ’ มีการแอบติดตามโลเคชันมือถือของนักข่าวอเมริกัน และข้อมูลส่วนตัวของครีเอเตอร์บน TikTok จะถูกเก็บรวมไว้ในประเทศจีน

นอกจากเครื่องมือเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวนี้ Google ยังประกาศเครื่องมืออื่นที่น่าสนใจด้วย คือ เครื่องมือที่ให้ผู้ปกครองสามารถใส่ฟิลเตอร์ “เบลอ” รูปที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชน เช่น รูปโป๊เปลือย รูปที่มีความรุนแรง เมื่อเยาวชนใช้ Google Search ภาพเหล่านี้จะถูกเบลอไว้ทั้งหมด

source

]]>
1440150
รถไฟฟ้าใต้ดินในปารีส เตรียมทดลองใช้ AI ตรวจจับว่าผู้โดยสารสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่ https://positioningmag.com/1277516 Fri, 08 May 2020 10:21:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277516 รถไฟฟ้ากรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส กำลังเตรียมทดสอบระบบซอฟต์เเวร์เพื่อนำ AI มาทำงานร่วมกับกล้องวงจรปิด CCTV เพื่อตรวจจับว่ามีผู้โดยสารสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่

เป็นอีกหนึ่งความพยายามของรัฐบาลที่ต้องการจะหยุดยั้งการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ขณะเดียวกันก็สร้างความกังวลต่อพลเมือง เพราะอาจจะเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว

โดยซอฟต์เเวร์ที่จะนำมาใช้ในครั้งนี้ พัฒนาโดย Datakalab บริษัทเทคโนโลยีของฝรั่งเศส ซึ่งจะเริ่มนำร่องระบบที่สถานี Chatelet-Les-Halles กลางกรุงปารีส ที่มีผู้ใช้บริการกว่า 33 ล้านรายต่อปี เป็นระยะเวลารวม 3 เดือน ตามนโยบายของเมืองที่เตรียมจะคลายล็อกดาวน์ในวันที่ 11 พ.ค. นี้

CNIL หน่วยงานรัฐบาลที่ดูแลเรื่องความเป็นส่วนตัว กล่าวว่ามีความกังวลว่าเทคโนโลยีประเภทนี้ เพราะมีความเสี่ยงที่ตัวตนจะถูกปลอมเเปลงขึ้น โดยมาตรการดังกล่าวจะต้องผ่านเกณฑ์การรับรองภายใต้กฎการคุ้มครองข้อมูลของยุโรป เนื่องจากกล้องจะรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้คน

“เราจะไม่เก็บข้อมูลไว้” Xavier Fischer ซีอีโอของ Datakalab ยืนยันต่อประเด็นความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวเเละบอกว่าการส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีระยะเวลาดีเลย์ไม่ต่ำกว่า 15 นาที

ด้านรถไฟใต้ดินในกรุงปารีส ระบุว่าได้รับเเจ้งจาก CNIL เกี่ยวกับแผนการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวเเล้ว เเละจะนำไปปฎิบัติอย่างเคร่งครัด โดยซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้เพื่อวัดสถิติจำนวนคนที่ปฏิบัติตามกฎและจะไม่ถูกนำไปใช้กับคนที่ไม่สวมหน้ากากอนามัย

สำหรับสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในฝรั่งเศส ล่าสุดมียอดผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 1.7 เเสนราย มียอดเสียชีวิตสะสมกว่า 2.5 หมื่นคน นับเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดเป็นอันดับ 5 ของโลก

 

ที่มา : bloomberg

 

 

]]>
1277516
เริ่มแล้ว! สหรัฐฯ ติดตามดาต้าบนมือถือประชาชน สืบหาว่าคนแอบไปรวมกลุ่มกันที่ไหน https://positioningmag.com/1270872 Mon, 30 Mar 2020 12:57:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1270872
  • สหรัฐฯ เปิดระบบศึกษาการเคลื่อนไหวและรวมตัวกันของกลุ่มคน เพื่อต่อสู้กับโรคระบาดไวรัส COVID-19
  • รัฐบาลกลางและหน่วยงานปกครองระดับรัฐกำลังใช้ข้อมูล “โลเคชัน” ของบุคคลที่ได้จากอุตสาหกรรมโฆษณาออนไลน์
  • ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลนิรนามซึ่งเจ้าหน้าที่นำมาใช้เพื่อศึกษาการเคลื่อนไหวของกลุ่มคน มากกว่าการติดตามแบบรายบุคคล
  • สำนักข่าว The Wall Street Journal (WSJ) รายงานว่า สหรัฐอเมริกาเริ่มใช้ข้อมูลโลเคชันจากการติดตามสมาร์ทโฟนมาช่วยรับมือป้องกันไวรัส COVID-19 แล้ว โดย ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (CDC) และหน่วยงานระดับรัฐเริ่มโครงการรับข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโลเคชันเพื่อตามหาว่าคนไป “ชุมนุม” รวมตัวกันที่ไหนบ้าง

    เป้าหมาย ณ ขณะนี้ของโครงการ คือการตามหาว่าสถานที่ใดบ้างที่คนยังไปรวมตัวกัน และจะกลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อไวรัส ตัวอย่างเช่น นักวิจัยในโครงการนี้พบว่าคนมักจะไปรวมตัวกันที่สวนสาธารณะพรอสเพ็ค ในย่านบรู๊กลีน เมืองนิวยอร์ก ข้อมูลที่ได้นี้จะถูกส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเข้าไปตรวจสอบ

    ข้อมูลเหล่านี้ค่อนข้างสำคัญมาก เนื่องจากประชาชนอเมริกันบางส่วนยังคงไม่ระมัดระวังในการหลีกเลี่ยงที่ชุมนุมชน แม้ว่ายอดผู้ติดเชื้อวันที่ 29 มี.ค. 63 ของสหรัฐฯ จะพุ่งเกิน 140,000 รายไปแล้ว

    แหล่งข่าวกล่าวว่า เป้าหมายขั้นต่อไปของโครงการ คือการสร้างศูนย์รวมข้อมูลที่ให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ ภายในศูนย์นี้จะพบข้อมูลโลเคชันประชาชนจากมากกว่า 500 เมืองในสหรัฐฯ

    รายงานจาก WSJ ไม่ระบุว่าแหล่งข้อมูลของผู้ให้บริการโฆษณาออนไลน์ที่ว่าคือบริษัทใดบ้าง แต่เป็นไปได้ว่าบริษัทเหล่านี้นำข้อมูลโลเคชันบุคคลมาจากแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ประชาชนกดอนุญาตให้เข้าถึงโลเคชันได้นั่นเอง

    ข้อมูลนี้มีมูลมากยิ่งขึ้น เพราะกฎหมายเพื่อให้เงินเยียวยาชดเชยจากเหตุการณ์ระบาดไวรัสโคโรนาของสหรัฐฯ เพิ่งจะลงนามเมื่อสัปดาห์ก่อน และหนึ่งในรายการใช้จ่ายของกฎหมายนี้คืออัดฉีดเงิน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้ CDC สร้าง “ระบบรวบรวมข้อมูลและตรวจตราความปลอดภัย” เพื่อติดตามการแพร่ระบาดของไวรัส

    นอกจากนี้ เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมายังมีรายงานว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ติดต่อกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เช่น Google และ Facebook เพื่อสร้างเครื่องมือติดตามในลักษณะดังกล่าว แต่มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ซีอีโอ Facebook ปฏิเสธในภายหลัง

    อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ถูกนำไปใช้เหล่านี้เป็นข้อมูลแบบไม่ระบุตัวตน หมายถึงข้อมูลจะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นของใคร และวันเดือนปีเกิดอะไร แต่นักกิจกรรมด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลยังคงกังวลว่า ข้อมูลนิรนามเหล่านี้ยังสามารถหาทางประกอบกับเพื่อระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้อยู่ดี

    รัฐนิวยอร์กเริ่มสร้างที่เก็บศพชั่วคราวไว้นอกโรงพยาบาลหลายแห่งตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 63 หลังจากผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นจากการระบาดของไวรัส COVID-19 โดย ณ วันที่ 29 มี.ค. 63 รัฐนิวยอร์กมีผู้เสียชีวิตทะลุ 1,000 รายแล้ว จากผู้ติดเชื้อทั้งหมด 59,513 ราย โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ติดเชื้อในมหานครนิวยอร์ก (photo: Ron Adar / Echoes Wire/Barcroft Media via Getty Images)

    แซม วู้ดแฮมส์ นักวิจัยด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เปิดเผยกับ Business Insider ว่า การที่รัฐทำงานร่วมกับธุรกิจเทคโนโลยีอย่างใกล้ชิดเพื่อติดตามการเคลื่อนที่ของประชาชนนั้นทำให้เกิดข้อกังวลอย่างมาก

    “ธุรกิจนี้มีชื่อเสียงว่ามีความโปร่งใสต่ำ เริ่มด้วยข้อแรกเช่น ผู้ใช้แอปฯ จำนวนมากไม่ทราบว่าแอปฯ ที่ตนติดตั้งกำลังติดตามการเคลื่อนที่ของเจ้าของเครื่องอยู่ มันเป็นเรื่องจำเป็นที่รัฐบาลและใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลอ่อนไหวเหล่านี้ต้องสร้างความโปร่งใสว่า พวกเขากำลังปฏิบัติการอย่างไร และใช้วิธีการใดบ้างเพื่อสร้างความมั่นใจว่าสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชนจะได้รับการปกป้อง” วู้ดแฮมส์กล่าว

    สหรัฐฯ ไม่ใช่ประเทศแรกที่ใช้ดาต้าแบบนิรนามในการศึกษาการแพร่ระบาดของไวรัส ทั้งอิตาลี เยอรมนี อังกฤษ ต่างนำกลยุทธ์นี้มาใช้หรือกำลังวางแผนจะใช้วิธีการนี้แล้ว แต่ในขณะที่กลุ่มประเทศดังกล่าวร่วมมือกับเครือข่ายโทรคมนาคมเพื่อขอดาต้า สหรัฐฯ เลือกที่จะใช้ดาต้าจากธุรกิจโฆษณาออนไลน์แทน

    โลกตะวันตกอาจมีเส้นแบ่งเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่โลกตะวันออกนำระบบนี้มาใช้เข้มข้นกว่ามาก ยกตัวอย่างเช่น เกาหลีใต้ ซึ่งเก็บข้อมูลโลเคชันของผู้ติดเชื้อแบบรายบุคคล สืบละเอียดว่าเคยเดินทางไปที่ไหนมาบ้าง หรือ ไต้หวัน ที่จะติดตามโลเคชันบนมือถือของผู้ที่ถูกสั่งกักตัวในบ้าน เมื่อใดก็ตามที่บุคคลนั้นออกจากบ้าน จะมีสัญญาณแจ้งเตือนไปที่เจ้าหน้าที่ทันที (อ่านรายละเอียดทั้งหมดที่ 10 ประเทศที่ติดตาม “ดาต้ามือถือ” ประชาชน เช็กประวัติเดินทางเพื่อรับมือไวรัส COVID-19)

    ]]>
    1270872
    10 ประเทศที่ติดตาม “ดาต้ามือถือ” ประชาชน เช็กประวัติเดินทางเพื่อรับมือไวรัส COVID-19 https://positioningmag.com/1269536 Mon, 23 Mar 2020 13:11:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1269536 ความเป็นส่วนตัว vs ความปลอดภัย ? เป็นคำถามที่มาถึงตัวอย่างชัดเจนขึ้นในยุคการระบาดของไวรัส COVID-19 เพราะในห้วงเวลาวิกฤตเช่นนี้ หลายประเทศเลือกที่จะเข้าถึงข้อมูลประชาชนผ่านการติดตามดาต้ามือถือ เพียงแต่ระดับการเข้าถึงข้อมูลแตกต่างกันไป บ้างก็ใช้ข้อมูลแบบองค์รวมเพื่อให้เห็นภาพการเคลื่อนที่ของประชากร แต่บางประเทศก็เจาะลึกถึงระดับบุคคลว่าเดินทางไปไหนบ้าง

    Top10VPN ประเมินสถานการณ์ว่ามีประเทศใดบ้างที่เริ่มนำกลยุทธ์การติดตามการใช้ดาต้าสมาร์ทโฟนมาใช้สู้ไวรัส ซึ่งมีตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลภาพกว้างเพื่อให้เห็นการเคลื่อนที่ของกลุ่มประชากร จนถึงแบบแคบที่สามารถติดตามได้ว่าเจ้าของสมาร์ทโฟนเครื่องนั้น (โดยมากคือผู้ติดเชื้อหรือต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อ) เดินทางไปไหนมาบ้างและติดต่อใกล้ชิดกับใครบ้าง

    ซามูเอล วู้ดแฮมส์ หัวหน้าทีมสิทธิดิจิทัลจาก Top10VPN เปิดเผยกับ Business Insider ว่า จากเหตุการณ์นี้อาจทำให้ภาครัฐทั่วโลกเดินไปสู่การสอดส่องประชาชนทางดิจิทัลอย่างถาวรได้

    “หากไม่มีการติดตามที่พอเหมาะพอควร มีความเป็นไปได้ที่อันตรายว่า วิธีการใหม่อันบุกรุกความเป็นส่วนตัวอย่างมากนี้จะกลายเป็นมาตรฐานไปทั่วโลก แม้ว่าบางครั้งวิธีการนี้จะดูมีเหตุผลสมบูรณ์ แต่ส่วนมากแล้วจะกลายเป็นความเสี่ยงต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน”

    เพราะบางประเทศจะกำหนดข้อจำกัดในวิธีการฉุกเฉินครั้งนี้ แต่หลายๆ ประเทศอาจจะเลือกเก็บอำนาจรัฐครั้งนี้ไว้ใช้ต่อในอนาคต “เรื่องนี้ค่อนข้างสำคัญมาก เนื่องจากวิธีการใหม่หลายอย่างสามารถหลีกเลี่ยงข้อวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองและจากสาธารณชนไปได้ และไม่มีการบรรจุจุดสิ้นสุดการใช้งานไว้”

    เหล่านี้คือตัวอย่าง 10 ประเทศที่ติดตาม “ดาต้ามือถือ” ของประชาชน เพื่อนำข้อมูลมาใช้รับมือไวรัส COVID-19

     

    “เกาหลีใต้”

    • ติดตามดาต้ามือถือเป็น “รายบุคคล” จากนั้นนำมาสร้างเป็นแผนที่การเดินทางเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนรายอื่นสามารถตรวจสอบได้ว่าตนเองอาจเคยอยู่ในสถานที่เดียวกับผู้ติดเชื้อ
    • นอกจากดาต้ามือถือแล้ว รัฐบาลเกาหลียังเก็บดาต้าจากบัตรเครดิต และการสัมภาษณ์ เพื่อนำข้อมูลมาลงในแผนที่ดังกล่าวด้วย
    • รัฐบาลใช้แผนที่นี้เพื่อส่ง SMS เตือนในภูมิภาคนั้นๆ ให้ระมัดระวังบุคคลที่อาจติดเชื้อ
    • ดาต้านี้สามารถระบุละเอียดระดับชื่อร้านค้าที่บุคคลนั้นไป พร้อมเวลาที่ชัดเจน
    • หากมองในมุมลบ วิธีการเช่นนี้ทำให้หากมีผู้ใดติดเชื้อจะทำให้ข้อมูลการเดินทางทุกอย่างของบุคคลถูกเปิดเผยต่อสาธารณะทันที โดยข้อมูลบางอย่าง บุคคลนั้นอาจต้องการเก็บเป็นความลับก็ได้
    ตัวอย่างภาพจากเว็บไซต์ http://coronamap.site/ แสดงผลจุดที่มีผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในเกาหลีใต้

    “อิหร่าน”

    • อิหร่านใช้วิธีส่ง SMS บอกประชาชนให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันชื่อ AC19 ซึ่งจะมีแบบสอบถามให้ตรวจสอบด้วยตัวเองก่อนว่า ตนเองมีแนวโน้มจะติดไวรัส COVID-19 หรือไม่ ก่อนที่จะไปโรงพยาบาล
    • แอปฯ นี้ไม่ได้มีไว้ตอบแบบสอบถามเท่านั้น แต่ยังมีฟังก์ชันติดตามโลเคชันมือถือได้แบบเรียลไทม์ด้วย (ปัจจุบันแอปฯ ถูกลบออกจาก Google Play Store ไปแล้ว)

    “อิสราเอล”

    • ผ่านกฎหมายฉบับใหม่เพื่อให้หน่วยงานความมั่นคงติดตามดาต้ามือถือประชาชนได้ทันทีโดยไม่ต้องขอคำสั่งศาล อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่เก็บมาจะต้องลบทิ้งภายใน 30 วัน
    • เบนจามิน เนทานยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ยอมรับว่า กฎหมายใหม่นี้จะ “รุกล้ำ” ความเป็นส่วนตัวประชาชนระดับเดียวกับปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย แต่รัฐจำเป็นต้องทำ

    “สิงคโปร์”

    • ทางการสิงคโปร์เปิดตัวแอปฯ TraceTogether เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 63 โดยแอปฯ นี้จะสามารถระบุได้ว่ามีใครที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อในระยะน้อยกว่า 2 เมตร เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 30 นาที
    • เทคโนโลยีที่ใช้ไม่ใช่การระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ เป็นแค่การใช้ ระบบบลูทูธ ของเครื่องเพื่อเก็บข้อมูล เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นส่วนตัวในระดับหนึ่ง

    “ไต้หวัน”

    • ใช้การติดตามดาต้ามือถือเพื่อสร้าง “รั้วไฟฟ้า” เสมือนจริงในการควบคุมผู้อยู่ระหว่างกักกันตัวในบ้าน
    • หากบุคคลที่ถูกกักกันออกจากบ้าน ข้อมูลจะถูกส่งไปแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่รัฐให้ไปถึงตัวได้ใน 15 นาที

    “ออสเตรีย”

    • Telekon Austria AG ค่ายเครือข่ายมือถือที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรีย ให้ข้อมูลโลเคชันผู้ใช้แบบไม่เปิดเผยตัวบุคคลกับรัฐบาล
    • จากนั้นข้อมูลจะส่งต่อให้สตาร์ทอัพจากมหาวิทยาลัย Graz ทำแผนที่เพื่อให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวของคนโดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยว

    “เบลเยียม”

    • เช่นเดียวกับออสเตรีย แต่เบลเยียมเก็บข้อมูลโลเคชันแบบนิรนามจากผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือทุกราย

    “เยอรมนี”

    • ในทำนองเดียวกัน Deutsche Telekom ประกาศว่าจะให้ข้อมูลกับหน่วยงานรัฐเพื่อนำไปทำแผนที่การเคลื่อนไหวของประชาชนได้ลึกในระดับชุมชน

    “อิตาลี”

    • เช่นเดียวกับเบลเยียม อิตาลีเก็บข้อมูลโลเคชันแบบนิรนามจากผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือทุกราย

    “ไทย”

    • ประเทศไทยใช้มาตรการแบบอ่อนๆ เฉพาะกับผู้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย (ทั้งชาวไทยและต่างชาติ) หากมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง จะต้องดาวน์โหลดแอปฯ AoT Airport
    • นอกจากจะต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว แอปฯ ยังติดตามโลเคชันของเจ้าของเครื่องได้ ในกรณีที่มีการติดเชื้อเกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น จะสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ว่าเจ้าของเครื่องไปที่ใดมาบ้าง

    สำหรับประเทศอื่นๆ ที่กำลังพิจารณาใช้มาตรการตรวจสอบดาต้ามือถือ เช่น สหราชอาณาจักร คาดว่าจะใช้วิธีเดียวกับประเทศแถบยุโรป คือรับข้อมูลแบบนิรนามจากเครือข่ายมือถือเพื่อนำมาทำแผนที่การเดินทาง ส่วนสหรัฐฯ มีข่าวลือว่ารัฐกำลังเจรจากับ Facebook และ Google เพื่อขอเก็บข้อมูลโลเคชันแบบนิรนาม แต่มาร์ค ซักเกอร์เบิร์กปฏิเสธข่าวนี้

    ในประเทศไทย เท่าที่มีการรายงานยังไม่มีการใช้ข้อมูลดาต้ามือถือมาติดตามตัวผู้ติดเชื้อนอกจากแอปฯ AoT Airport ที่ได้กล่าวไป แต่มีทีมเอกชน 5Lab ใช้ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขและข่าวต่างๆ มาทำระบบแผนที่เรียลไทม์ เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ง่ายว่าตนเคยเดินทางไปในละแวกเดียวกับพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อหรือไม่ สามารถเช็กกันได้ผ่านเว็บไซต์ covidtracker.5lab.co

    Source

    ]]>
    1269536