คอนเทนต์ ครีเอเตอร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 17 Mar 2021 09:56:53 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Facebook จีบ “คอนเทนต์ ครีเอเตอร์” ร่วมเปิดขายระบบสมาชิก “จดหมายข่าว” https://positioningmag.com/1323764 Wed, 17 Mar 2021 09:25:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1323764 Facebook เทสต์ฟีเจอร์หารายได้แบบใหม่อีกแล้ว! รอบนี้เป็นฟีเจอร์ในรูปแบบ “จดหมายข่าว” ให้กับสมาชิกที่สมัครรับข่าวสาร โดยมีการเก็บค่าสมาชิกและแบ่งรายได้ให้กับ “คอนเทนต์ ครีเอเตอร์” ที่มาร่วมงาน

เว็บไซต์ Axios รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าววงในว่า Facebook กำลังจะทดลองฟีเจอร์ใหม่ในลักษณะ “จดหมายข่าว” โดยฟีเจอร์ใหม่นี้ยังไม่ได้ตั้งชื่อ แต่จะเป็นการควบรวมกับ Facebook Pages หรือก็คือ “เพจ” ต่างๆ ที่เราคุ้นเคยกันมานาน และแพลตฟอร์มจะสนับสนุนการสร้างเว็บไซต์แยกต่างหากจาก Facebook โดยให้ครีเอเตอร์ตั้ง “กลุ่ม” ใน Facebook ไว้ใช้สานสัมพันธ์กับผู้ติดตาม และเป็นฐานเพื่อวิเคราะห์ลักษณะชุมชนผู้ติดตามได้

รายงานข่าวระบุว่า Facebook จะเริ่มทดลองฟีเจอร์จดหมายข่าวเร็วๆ นี้ โดยคอนเทนต์ ครีเอเตอร์กลุ่มแรกๆ ที่ได้รับเชิญมาร่วมทดลอง ทางบริษัทจะจ่ายค่าจ้างให้ด้วยเพื่อจูงใจให้เข้ามาใช้งาน

ฟีเจอร์จดหมายข่าวที่เราคุ้นเคยมักจะเป็นการสมัครรับข่าวทางอีเมล ซึ่งมักจะใช้ “ข้อความ” สื่อสารเป็นหลัก แต่จดหมายข่าวของ Facebook ต้องการให้เป็นมัลติมีเดียมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการไลฟ์สตรีมมิ่ง หรือผสมผสานฟีเจอร์ “Stories” เข้าไปด้วย

Facebook หันมาสนใจฟีเจอร์ “จดหมายข่าว” เพราะช่องทางสื่อสารวิธีนี้กำลังกลับมาฮิตในโลกตะวันตก นำโดยสตาร์ทอัพมาแรง “Substack” ซึ่งมองการรับข่าวสารในมุมใหม่ว่าไม่ควรจะฝากไว้กับอัลกอริธึม แต่ควรจะสมัครรับข่าวกับช่องทางที่คุณไว้วางใจ

ความฮิตนี้ทำให้ Twitter เทกโอเวอร์บริษัทแพลตฟอร์มจดหมายข่าว Revue ไปเมื่อเดือนมกราคม 2021 และ LinkedIn ก็กำลังซุ่มพัฒนาโครงการรวมตัวครีเอเตอร์สำหรับพัฒนาคอนเทนต์ให้องค์กรอยู่เช่นกัน

การเปิดฟีเจอร์เกี่ยวกับ “ข่าวสาร” ที่จะสร้างรายได้ให้กับครีเอเตอร์หรือ “นักข่าว” โดยตรงจาก Facebook เกิดขึ้นในห้วงเวลาไล่เลี่ยกับที่ Facebook กำลังทำศึกกับสื่อออสเตรเลีย โดยประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศแรกที่ผ่านกฎหมายบังคับให้ทั้ง Facebook และ Google ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์คอนเทนต์แก่บริษัทสื่อเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 (อ่านเพิ่มเติม : “ออสเตรเลีย” ผ่านกฎหมาย บีบ Google/Facebook จ่ายค่าคอนเทนต์ข่าวแก่สื่อท้องถิ่น)

น่าสนใจว่านี่อาจจะเป็นโครงการรองรับอนาคตของ Facebook ที่จะมีครีเอเตอร์ข่าวในลักษณะเอาต์ซอร์สหรือพาร์ตเนอร์ของตนเอง แทนที่จะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับบริษัทสื่อดั้งเดิม และยังสอดคล้องกับกระแสการแยกตัวของนักข่าวดังที่มีฐานผู้ติดตาม เริ่มลาออกมาเปิดเว็บไซต์ข่าวส่วนตัวกันมากขึ้น

ที่มา: The Verge, Axios

]]>
1323764
“พี่ฉอด” ขอเชนจ์ จากผู้บริหารสถานีทีวี สู่ คอนเทนต์ ครีเอเตอร์ “Change 2561”  https://positioningmag.com/1203908 Wed, 19 Dec 2018 05:13:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1203908 หลังจากที่ลงจากตำแหน่งแม่ทัพคุมช่อง GMM 25 และปรับไปเป็นรองประธานกรรมการ บริษัท จี เอ็ม เอ็ม โฮลดิ้ง จำกัด “พี่ฉอด” สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ก็ขอเปลี่ยนบทบาทอีกครั้ง กับการเป็นหัวเรือ “เช้นจ์ 2561” บริษัทคอนเทนต์ ครีเอเตอร์ ที่เธอบอกว่า “รู้สึกมีความสุขและสนุกกว่างานเดิม ที่เคยทำเสียอีก”

จึงเป็นที่มาของ  เช้นจ์ 2561ที่เกิดจาก เอ็มเอ็ม แกรมมี่ถือหุ้นผ่าน จี เอ็ม เอ็ม โฮลดิ้ง 50% และอีก 50%  เป็นของ “อเดลฟอส” ธุรกิจส่วนตัวของ 2 เจ้าสัวน้อยกลุ่มไทยเบฟ “ฐาปนและปณต สิริวัฒนภักดี” ด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาทแจ้งวัตถุประสงค์ ผลิตรายการและละครโทรทัศน์ออกอากาศในช่องดิจิตอลทีวี และช่องทางออนไลน์ แรกเริ่มเดิมทีมีพนักงาน 5 คน ตอนนี้เพิ่มเข้ามาเป็น 60 คนแล้ว

พี่ฉอด” บอกว่า คอนเทนต์ที่เกิดจาก “เช้นจ์ 2561 จะเน้นทำ Made to order ตามโจทย์ที่มีผู้ว่าจ้างเป็นหลัก ทั้งจากช่องทีวีดิจิทัลที่กำลังต้องการคอนเทนต์ไปเสริมช่อง หรือแบรนด์ต่างๆ ที่อยากได้คอนเทนต์รูปแบบใหม่ๆ แต่จะยังคงเอกลักษณ์ที่เป็น DNA ของพี่ฉอดเองนั้นคือเน้นเปลี่ยนวิธีคิดและทัศนคติของคนดูให้ดียิ่งขึ้น

โดยเช้นจ์ 2561 แบ่งธุรกิจออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ละครและซีรีย์, รายการโทรทัศน์, โชว์บิซ, กิจกรรมออนกราวด์ และออนไลน์คอนเทนต์ สำหรับปี 2019 วางแผนไว้ดังนี้

ละครและซีรีย์” นอกเหนือจากคลับฟรายเดย์ เดอะซีรี่ส์ 11 จำนวน 10 เรื่องที่จะออกอากาศทางช่อง GMM 25 ตลอดทั้งปีแล้ว ยังรับจ้างผลิตละครจำนวน 10 เรื่องให้กับทีวีดิจิทัล 4 ช่องได้แก่ GMM 25 จำนวน 5 เรื่อง, ONE 31 จำนวน 1 เรื่อง ถือเป็นครั้งแรกที่ป้อนให้ช่องนี้ แม้จะอยู่ในเครือเดียวกันก็ตาม โดยละครจะเน้นสะท้อนสังคมเป็นหลัก, อมรินทร์ทีวี 2 เรื่อง และ PPTV อีก 3 เรื่อง ขณะนี้ยังมีทีวีดิจิทัลช่องอื่นๆ ที่สนใจกำลังเจรจากันอีกหลายช่อง

ผู้ถือหุ้นไม่ได้จำกัดว่าต้องรับจ้างผลิตละคร เฉพาะช่องของเครือตัวเองเท่านั้น อย่างอมรินทร์ทีวีก็เข้าใจว่า จะเป็นการเข้าไปเสริมคอนเทนต์ของช่อง ที่ถือผู้หุ้นอเดลฟอสได้เข้าไปลงทุนก่อนหน้านี้ ส่วน PPTV ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันในเชิงผู้ถือหุ้นเลย”

แต่เอาเข้าจริงแล้ว จะว่าไม่เกี่ยวข้องกับ PPTV เลยคงเป็นไปไม่ได้ เพราะก่อนหน้านี้ช่อง ONE 31 ที่อยู่ในเครือแกรมมี่เช่นเดียวกัน ได้ถูก “บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด” ซึ่งเป็นของลูกสาว “นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททอง” เจ้าของ PPTV เข้าไปถือหุ้น 50% ดังนั้นถ้านับเครือญาติกันดีๆ ก็ต้องบอกว่า เป็นการผลิตคอนเทนต์เพื่อซัพพอร์ต PPTV ที่จะเริ่มลุยละครเป็นครั้งแรกปีหน้าอยู่ดี

ต่อด้วย “รายการโทรทัศน์” ตามแผนที่วางไว้จะมีรายการ Variety Talk Show ชื่อ Club Friday Show นำเสนอเรื่องราวชีวิตศิลปินดารา ทั้งเรื่องความรักและการใช้ชีวิต ออกอากาศช่อง GMM 25

โชว์บิซ” จะจัดทั้งหมด 4 คอนเสิร์ตใหญ่ตลอดทั้งปี ไล่มาตั้งแต่ สีแยกปากหวานคอนเสิร์ต ตอน 2562 ในเดือนมีนาคม, เดอะ เรียล ณเดชน์ คอนเสิร์ต เดือนพฤษภาคม, เจอะดรีนาลีนคอนเสิร์ต เดือนสิงหาคม และ ดิเอ็มไพร์ออฟปองศักดิ์ เดือนตุลาคม

วิธีทำคอนเสิร์ตสไตล์พี่ฉอด จะเลือกศิลปินที่คุ้นเคยกันอยู่แล้วที่สามารถเอาคนดูได้ “อยู่หมัด” ทั้งช่วงพูดคุยและร้องเพลง โดยคอนเสิร์ตจะมี 2 รูปแบบ คือ จัดที่พารากอนฮอลล์ รอบละ 5,000 คน และ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี รอบละ 10,000 คน ส่วนใหญ่จะจัด 2 รอบ

จะเห็นได้ว่า ศิลปินที่แปลกหน้ามีเพียงณเดชน์คนเดียว ซึ่งเคยมีโอกาสได้ร่วมงานตอนทำ Give Me Five Concert เมื่อ 5 ปีก่อน และได้พูดคุยกันมาตลอดและพบว่า ณเดชน์ มีความฝันอยากเป็นนักร้องสักครั้ง ในที่สุดจึงออกมาเป็นคอนเสิร์ตนี้”

กิจกรรมออนกราวด์” เป็นการจัดต่อเนื่องของ “พี่อ้อย พี่ฉอด ออนทัวร์” โดยเป็นการเดินสายเข้าไปพูดยังโรงเรียน มหาวิทยาลัย ทั้งของรัฐและเอกชน ในปี 2018 เดินสายทั้งหมด 10 แห่ง โดยจะนำทั้งหมดมาทำเป็นรายการ เพื่อออกอากาศด้วย

สุดท้าย “ออนไลน์คอนเทนต์” ซึ่งเป็นหน่วยที่ “เช้นจ์ 2561 ให้ความสนใจมากที่สุด เพราะเป็นช่องทางหลักที่คนดูรุ่นใหม่เลือกเป็นพื้นที่หลักในการเสพสื่อ โดยเตรียมทำรายการไว้กว่า 10 รายการ เช่น พี่อ้อย พี่ฉอด ตัวต่อตัว, คุยสตอรี่อั๋นจ๋าเดอะเรียลลิตี้ และ Boy Jeab The Journey เป็นต้น

พี่ฉอดบอกว่าก่อนจะทำสักรายการหนึ่งทีมงานมีการพูดคุยกันหลายรอบมาก เพื่อให้ออกมาโดนใจคนดูมากที่สุดถึงขนาดที่ว่า คอนเทนต์ต้องฉูดฉาดและทำให้ “ปัง” ภายใน 1-2 นาทีให้ได้ เพื่อดึงให้คนดูอยู่ต่อจนจบตอน รายการออนไลน์จะมีความยาว 8-12 นาที กำลังดีแล้ว ขณะนี้เริ่มมีรายได้จากสปอนเซอร์เข้ามาบ้างแล้ว

แม้ภาพรวมของธุรกิจสื่อยังอยู่ในภาวะซบเซา แต่ส่วนตัวเชื่อว่ายังมีโอกาสซ่อนอยู่อีกมาก คำว่า Content is King เป็นเรื่องจริง ถ้าทำคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ ยังไงก็มีโอกาสเติบโตได้สูง ไปพร้อมๆ กับแพลตฟอร์มที่มีอยู่ในมือทุกช่องทาง”

บทบาทใหม่ของพี่ฉอดมีทั้งความยากและง่าย ความง่ายคือสิ่งที่กำลังทำอยู่ เป็นสิ่งที่พี่ฉอดทำมาตลอดอยู่แล้ว นอกจากนั้นเป็นความสุขและสนุกเพราะได้ทำในสิ่งที่รัก ส่วนความยากอยู่ที่การต้องอยู่ให้ได้ในภาวะที่ภูมิทัศน์สื่อกำลังเปลี่ยนไปอย่างมาก การทำคอนเทนต์ไม่ได้มีสูตรที่ตายตัว ยังต้องอาศัยการเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ตลอดเวลา

แต่ทั้งนี้ก็ต้องไม่ลืมหน้าที่หลักในการเป็นอีกขาหนึ่งที่หารายได้เข้า “แกรมมี่” ซึ่งพี่ฉอดบอกว่าจะพยายามรักษากำไรให้อยู่ในระดับ 10-15%ในทุกธุรกิจที่ทำ ไม่ให้น้อยกว่านี้.

]]>
1203908