จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 14 Dec 2022 07:34:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จุฬาฯ จับมือ KBank พัฒนา CU NEX ต่อยอดเป็นแพลตฟอร์มเพื่อเรียนรู้และใช้ชีวิตที่ครบวงจรของนิสิตยุคดิจิทัล https://positioningmag.com/1412376 Thu, 15 Dec 2022 10:00:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412376

โลกในศตวรรษที่ 21 เผชิญกับความท้าทายมากมายเทคโนโลยีกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องลงมือทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เรื่องของ Digital Transformation จึงกลายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญขององค์กรต่าง ๆ สถาบันการศึกษาก็เป็นหน่วยงานที่ผลักดันยุทธศาสตร์ด้านดิจิทัล เทคโนโลยีและหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ได้ทำ Digital Transformation มาอย่างต่อเนื่อง ก็คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั่นเอง

โดยโครงการ CU NEX ซึ่งถือเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับธนาคารกสิกรไทยที่มีมาตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา โดยใช้เทคโนโลยีจากกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG มีเป้าหมายมุ่งสู่การเป็น ‘Digital Lifestyle University’ เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของนิสิตและบุคลากรของจุฬาฯ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งการเรียน และการทำงาน

Positioning จะพาไปดูว่าในช่วงที่ผ่านมาความร่วมมือดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างไร รวมถึงทิศทางหลังจากนี้ว่าโครงการ CU NEX จะพัฒนาต่อไปเพี่อตอบโจทย์โลกยุคดิจิทัล


มารู้จักกับ CU NEX 

CU NEX เป็นโครงการความร่วมมือของธนาคารกสิกรไทย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน CU NEX โดยมีความต้องการของผู้ใช้งาน คือ นิสิต เป็นหัวใจของการพัฒนา เพื่อนำเอาเทคโนโลยีมาทำให้การเรียนการสอน และการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยมีความเป็นดิจิทัลไลฟ์สไตล์ในทุกมิติ พร้อมกันนี้ยังได้ต่อยอดสู่แอปพลิเคชัน CU NEX STAFF โดยมีฟังก์ชันที่จะมาช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำงานของชาวบุคลากรจุฬาฯ

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า แอปพลิเคชัน CU NEX คือก้าวสำคัญของการเปลี่ยนจุฬาฯ เข้าสู่ยุคใหม่ (Chula New Era) การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาอำนวยความสะดวกให้กับนิสิตและบุคลากร คือเป้าหมายสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านดิจิทัลไลฟ์สไตล์แห่งแรกของประเทศไทย”

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารมีเป้าหมายร่วมกันกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการขับเคลื่อนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่การเป็น Digital Lifestyle University ทั้งการพัฒนาระบบ สิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรมทั้ง Online และ On Ground องค์ความรู้ต่างๆ เพื่อทำให้การใช้ชีวิตของนิสิตมีศักยภาพ และสะดวกสบายยิ่งขึ้นในยุคดิจิทัล จนเกิดเป็นหลายๆ อย่างที่นิสิตและบุคลากรได้ใช้กันทุกวันนี้ ทั้ง CU NEX (App), CU NEX STAFF (App), Plearn space, และโครงการ CU NEX Club ที่ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 4 แล้ว 

โดยตลอด 4 ปีที่ผ่านมา CU NEX ได้มีการพัฒนาบริการต่างๆ ในแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง และทำให้นิสิต บุคลากรของจุฬาฯ ได้ใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่

  • ช่วยให้นิสิตทำกิจกรรมต่าง ๆ กับมหาวิทยาลัยผ่านแอปฯ ได้สะดวก เช่น ใช้แอปฯแทนบัตรนิสิต ชำระค่าเทอมผ่านแอปฯ ค้นหาหนังสือในห้องสมุด ค้นหาเบอร์ติดต่อหน่วยงานและอาจารย์ ขอทุนการศึกษา รวมทั้งสิทธิประโยชน์จากร้านค้าต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตรโครงการ เป็นต้น
  • เป็นช่องทางที่มหาวิทยาลัยใช้ในการสื่อสารข้อมูลถึงนิสิตได้ทั่วถึงอย่างรวดเร็ว
  • รองรับการพัฒนาการใช้งานตามสถานการณ์ เช่น ใช้แอป CU NEX จัดการเลือกตั้งองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯและสภานิสิตฯ แทนการเลือกตั้งในรูปแบบเดิมที่เป็นคูหาเลือกตั้ง โดยมีระบบยืนยันตัวตนผ่านแอปที่รัดกุม การลงคะแนนเป็นความลับ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่มีนิสิตใช้สิทธิ์มากที่สุดในรอบ 5 ปี

ปัจจุบันแอป CU NEX สำหรับนิสิตนั้นมียอดจำนวนผู้ดาวน์โหลด 99.5% มี Active User ประมาณ 73% เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยให้การใช้ชีวิตนิสิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสะดวกมากขึ้น ขณะที่ CU NEX STAFF สำหรับบุคลากรไว้ใช้งานนั้นมียอดจำนวนผู้ดาวน์โหลด 74%

แอปฯ CU NEX


เชื่อมโยงทุกมิติของชีวิตนิสิตจุฬาฯ ด้วย CU NEX แอปพลิเคชันเดียวจบ

 สำหรับการพัฒนาในระยะที่ 2 นี้ ได้มีการเพิ่มศักยภาพแอปพลิเคชัน CU NEX ด้วยการพัฒนาต่อยอดฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อให้ CU NEX เป็นแอปพลิเคชันที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันทั้งการเรียน การใช้ชีวิต รวมถึงการดูแลสุขภาวะของตนเองทั้งร่างกายและจิตใจ ไปจนถึงการพัฒนาศักยภาพของตนเองบ่มเพาะความรู้ด้านดิจิทัล เทคโนโลยี

โดย KBTG ซึ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีของ KBank ได้นำความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้กับบริบทการใช้ชีวิตของนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ เช่น Biometrics Technology ที่เป็น Commercial grade in house รับรองด้วย iBeta global certification รวมถึงในเฟสที่ 2 ที่จะมีการนำ Deep Technology มาพัฒนาต่อยอด CU NEX

ไม่เพียงเท่านี้ CU NEX ยังเป็นพื้นที่ที่ทำให้นิสิตจาก CU NEX Club ที่มีสมาชิกรวม 60 คนจาก 17 คณะมีส่วนร่วมในการพัฒนาแอปพลิเคชั่น และได้ฝึกฝน เรียนรู้ ระดมไอเดีย และลงมือปฏิบัติกระบวนการทำงานจริงในหลากหลายด้าน เช่น ด้านไอที ด้านการตลาด เป็นต้น 

ฟีเจอร์ใหม่ๆ ของแอปพลิเคชัน CU NEX หลังจากนี้ที่จะมีให้บริการแก่นิสิต เช่น

  1. บริการด้านสุขภาพ เช่น การนัดหมายเพื่อรับบริการ Tele-Clinic, นัดหมายเพื่อรับการเข้าตรวจสุขภาพกรณีที่เจ็บป่วย รวมถึงบริการด้านสุขภาพใจ เพื่อช่วยดูแลให้นิสิตมีความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
  2. ร่วมศึกษา ออกแบบ วิจัยกับ KBTG และ MIT Media Lab ในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อผลักดันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี และเป็นตัวอย่างให้กับองค์กรอื่นๆ ที่อยากจะสร้างแอปพลิเคชั่นที่ตอบโจทย์การทำงานได้เป็นอย่างดี
  3. เชื่อมต่อ CU Smart เพื่อรับข้อมูลด้านการใช้พลังงาน คุณภาพอากาศ บริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  4. ท่องโลกเสมือน Chula Verse ใช้ CU NEX เป็นประตูเชื่อมต่อกับโลกเสมือน Chula Verse โดยใช้เทคโนโลยี AR/VR และอุปกรณ์ IoT
  5. ให้ความรู้เรื่องการเงินรูปแบบใหม่ๆ โดยให้ความรู้เรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงิน (Financial Literacy) รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบใหม่ๆ เช่น DeFi และ NFTs

การใช้งาน CU NEX ในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

]]>
1412376
เปิดลิสต์ Thailand’s Top และ ASEAN’s Top องค์กรที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดปี 2020 https://positioningmag.com/1308083 Fri, 27 Nov 2020 15:10:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308083 หลักสูตรปริญญาโทด้านแบรนด์และการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศผลงานวิจัยและมอบรางวัล ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2020 ให้แก่องค์กรที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดของแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียน และ 15 หมวดธุรกิจในประเทศไทย ประจำปี 2563

จากการคำนวณด้วยเครื่องมือวัดมูลค่าแบรนด์องค์กร CBS Valuation (Corporate Brand Success Valuation) พัฒนาโดย ศ. ดร. กุณฑลี รื่นรมย์ และ ผศ. ดร. เอกก์ ภทรธนกุล โดยมี ศ.ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานมอบรางวัล ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำหรับรางวัล ASEAN’s Top Corporate Brands 2020 ซึ่งมอบให้แก่องค์กรที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดของแต่ละประเทศในอาเซียน ที่มีตลาดหลักทรัพย์ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ครองตำแหน่งเป็นองค์กรที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดของประเทศไทยนับเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยมีมูลค่าแบรนด์องค์กร 781,938 ล้านบาท

ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด

  • อินโดนีเซีย ได้แก่ Bank Central Asia มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 37,010 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • ฟิลิปปินส์ ได้แก่ SM Prime Holdings, Inc. มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 16,308 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สิงคโปร์ ได้แก่ Singapore Telecommunications Limited มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 13,410 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • มาเลเซีย ได้แก่ Public Bank Berhad มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 10,271 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • เวียดนาม ได้แก่ Vietnam Dairy Products Joint Stock Company มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 8,623 ล้านเหรียญสหรัฐ

ศ. ดร. กุณฑลี รื่นรมย์ หนึ่งในผู้สร้างเครื่องมือวัดมูลค่าแบรนด์องค์กร CBS Valuation เผยว่า

“แม้ว่าปี 2563 จะมีสถานการณ์ไม่ปกติจากการระบาดของโควิด-19 แต่คณะผู้วิจัยยังคงทำงานวิจัยวัดมูลค่าแบรนด์องค์กรของบริษัทจดทะเบียนทั้งในประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหารระดับสูงของภาคธุรกิจให้ความสำคัญต่อการสร้างและพัฒนาแบรนด์องค์กร (Corporate Brand) เพื่อความยั่งยืนขององค์กรในระยะยาว”

สำหรับรางวัล Thailand’s Top Corporate Brands 2020 มอบให้แก่องค์กรธุรกิจที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดใน 15 หมวดธุรกิจ โดยปีนี้มี 3 องค์กรชั้นนำรายใหม่ขึ้นรับรางวัล ได้แก่

  • บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 92,733 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์
  • บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 56,462 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่ม
  • บริษัท พี.ซี.เอส. แมชีน กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 5,124 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจยานยนต์

ส่วนองค์กรที่ยังคงรักษาแชมป์ได้อีกหนึ่งสมัย ได้แก่

  • บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 145,577 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)  มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 137,032 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 86,999 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจธนาคาร
  • บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 64,753 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
  • บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 57,060 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์
  • บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 50,697 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์
  • บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 38,121 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจวัสดุก่อสร้าง
  • บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 27,710 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์
  • บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 25,547 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  • บริษัท โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 20,749 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจการแพทย์
  • บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 8,675 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจการท่องเที่ยวและสันทนาการ
  • บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 5,796 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต

นอกจากนี้ยังได้ประกาศรางวัลหอเกียรติยศ Thailand’s Top Corporate Brand Hall of Fame 2020 ให้แก่องค์กรที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดในหมวดธุรกิจนั้นๆ ต่อเนื่องกัน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2016 – 2020 ได้แก่

  • บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในหมวดธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม โดยจะไม่นำกลับมาคำนวณอีกต่อไป

ด้าน ผศ. ดร. เอกก์ ภทรธนกุล หนึ่งในผู้สร้างเครื่องมือวัดมูลค่าแบรนด์องค์กร CBS Valuation กล่าวปิดท้ายว่า

“เครื่องมือ CBS Valuation ทำให้ “คุณค่าแบรนด์องค์กร” สามารถระบุเป็นตัวเลขทางการเงิน สามารถสื่อสารและสร้างความเชื่อถือให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจและสาธารณชน ไม่เพียงเท่านี้องค์กรธุรกิจชั้นนำหลายบริษัท ได้นำผลวิจัยเป็นหนึ่งใน KPI ที่ช่วยชี้ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาองค์กร การประกาศผลวิจัยและการมอบโล่รางวัลเกียรติยศให้แก่ผู้บริหารในแต่ละปีอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 จึงสะท้อนถึงความสำเร็จของการพัฒนาแบรนด์องค์กรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม”

]]>
1308083
‘G-Able’ ผนึก ‘UTC จุฬาฯ’ ติดตั้ง ‘NVIDIA DGX A100’ สำหรับใช้พัฒนา ‘AI’ รายแรกในไทย https://positioningmag.com/1302717 Thu, 22 Oct 2020 12:00:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302717

หากพูดถึง ‘ปัญญาประดิษฐ์’ หรือ ‘AI’ (Artifact Intelligence) อาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวและเป็นเรื่องใหม่มาก แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก แค่หยิบสมาร์ทโฟนมาถ่ายรูปก็มี AI เข้ามาช่วยโฟกัสรูปให้แล้ว และในยุคที่ ‘ข้อมูล’ หรือ Data ที่ เปรียบเสมือน ‘the new oil’ ข้อมูลกลายเป็นพื้นฐานหลักในการผลักดันเศรษฐกิจยุคดิจิทัล AI ยิ่งมีความสำคัญ เพราะต้องใช้สำหรับประมวลผลของข้อมูลที่มีมากมายมหาศาล

รู้จัก NVIDIA DGX A100™

หากจะพัฒนา AI ให้มีประสิทธิภาพที่สุด ก่อนอื่นต้องรู้จักกับ NVIDIA DGX A100™ ซี่งนับเป็น AI Infrastructure สำคัญที่ช่วยนักวิจัยในการเร่งสปีดของงานวิจัยและนวัตกรรม ทั้งด้านประสิทธิภาพและระยะเวลาในการเทรนนิ่งได้ และยังรองรับความต้องการของผู้ใช้งานได้เป็นจำนวนมาก

ด้วยศูนย์ข้อมูลแบบเร่งความเร็วระดับ 5-petaflop ที่ให้พลังงานและประสิทธิภาพที่จำเป็นสำหรับนักวิจัย AI โดยมีพื้นฐานบนสถาปัตยกรรมของ NVIDIA Ampere พร้อมกับบรรจุ 8 GPU A100 Tensor Core GPUs เพื่อให้หน่วยความจำ 320GB สำหรับการฝึกอบรมชุดข้อมูล AI ขนาดใหญ่การอนุมานและปริมาณงานการวิเคราะห์ข้อมูล

นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยี GPU หลายอินสแตนซ์ สามารถรองรับปริมาณงานที่น้อยลงได้หลายอย่างโดยแบ่งพาร์ติชัน DGX A100 เป็น 56 อินสแตนซ์ เมื่อรวมกับประสิทธิภาพความเร็วสูงในตัว NVIDIA®Mellanox® การเชื่อมต่อเครือข่าย HDR นั้น DGX A100 ซึ่งจะสามารถตอบสนองโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่นสำหรับศูนย์วิจัย

UTC หน่วยงานแรกในไทยที่ใช้ NVIDIA DGX A100™

ย้อนไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เปิดตัว ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมจุฬาฯ (Chulalongkorn University Technology Center: UTC) เป็นเวทีสำหรับการวิจัยและช่วยเหลือนักวิจัย บ่มเพาะนวัตกรรมจากเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech) พร้อมกับนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมออกสู่ตลาดเพื่อเป็นกลไกในการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการสร้างคนและสร้างเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย

ทั้งนี้ หนึ่งในเรื่องที่ UTC ได้พัฒนาก็คือ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และเพื่อให้โครงการเกี่ยวกับการพัฒนา AI สามารถผลิตออกมาได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น NVIDIA DGX A100™ จึงถือเป็นส่วนสำคัญ โดย UTC ถือเป็นหน่วยงานแรกในไทยที่ใช้ และเป็นเพียงไม่กี่แห่งทั่วโลก

“การที่จะพัฒนางานทางด้าน AI จะต้องมีเครื่องมือที่ใหญ่และมีประสิทธิภาพที่ดีพอ จึงสามารถทำงานนวัตกรรมที่ใช้งานได้จริงและแข่งขันในระดับนานาประเทศได้ นักวิจัยไทยมีเทคนิคไม่แพ้ชาติใดในโลก แต่เราจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือเพื่อไปเสริม ความสามารถเขาให้ไปถึงจุดนั้นให้ได้” ผศ.ดร. ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว

 

ผศ.ดร. ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์

ปัจจุบัน UTC มุ่งเน้นในการสร้างนวัตกรรม AI และ MedTech ซึ่งการดำเนินงานด้าน AI นั้นได้เริ่มจากงานวิจัยภายในจุฬาฯ ก่อน ว่ามีงานวิจัยชิ้นไหนที่สามารถต่อยอดได้ โดยในเวลานี้ มีโครงการที่น่าสนใจคือ AI ที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทยเช่น AI ที่ดึงข้อความภาษาไทยจากภาพถ่ายและวิดีโอ AI แปลงเสียงให้เป็นข้อความภาษาไทย เป็นต้น AI เพื่อการแพทย์ หรือ AI for Health เช่น AI ช่วยจำแนกประเภทย่อยของโรตหัวใจล้มเหลวจากภาพ CT-Scan AI ช่วยตรวจหาชิ้นเนื้อที่ผิดปกติที่พบจากการส่องกล้องทางเดินอาหาร AI ที่ช่วยในการทำ pre-screening สำหรับงานด้าน tele-medicine AI สำหรับภาคอุตสาหกรรม หรือ AI for Industry ที่นำงานวิจัยด้าน AI มาพัฒนาเป็นนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์จริงจากภาคอุตสาหกรรม

สุเทพ อุ่นเมตตาจิต

ทั้งนี้ ทาง UTC ได้ G-Able ซึ่งเป็นหนึ่งใน Top partner ของ NVIDIA ที่มีทีมที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยติดตั้ง NVIDIA DGX A100 ให้แก่ศูนย์ โดยเริ่มติดตั้งในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดย     สุเทพ อุ่นเมตตาจิต กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทจีเอเบิล กล่าวว่า “เราพร้อมสนับสนุนเพื่อให้ศูนย์ UTC ก้าวสู่ เป้าหมายทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อสนับสนุนงานวิชาการเชิงลึก ส่งเสริมนักวิจัยให้พัฒนางานวิจัยสู่งานนวัตกรรมที่ใช้ได้จริง การติดตั้ง NVIDIA DGX A100 ในครั้งนี้ ทำให้ศูนย์ UTC มี AI Infrastructure ที่ดีที่สุดในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะทำให้นักวิจัยทุกคนได้ประโยชน์อย่างเต็มที่”

]]>
1302717
เผยโฉม KBank สาขาสยามฯ ให้นิสิตจุฬาฯ ร่วมดีไซน์เป็นแฟล็กชิป “ธนาคารแห่งความยั่งยืน” https://positioningmag.com/1282555 Mon, 08 Jun 2020 06:27:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282555 ธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับจุฬาฯ เตรียมพัฒนาสาขาสยามสแควร์เป็นแฟล็กชิปสโตร์ ต้นแบบ “ธนาคารแห่งความยั่งยืน” สำหรับธุรกิจและสังคมในยุค 5.0 เน้นผนวกเทคโนโลยี และการมีส่วนร่วมที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า

“ธนาคารกสิกรไทยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมปรับรูปแบบธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามสแควร์ ซึ่งเปิดให้บริการมาแล้วกว่า 50 ปี ในพื้นที่สยามสแควร์ซอย 7 ให้สอดรับกับการพัฒนาเป็นถนนคนเดินที่เป็นศูนย์รวมของประสบการณ์การบริการด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ ในรูปแบบที่หลากหลาย

โดยสาขาสยามสแควร์ จะเป็นต้นแบบสาขาในยุค 5.0 ที่พัฒนารูปแบบสาขาให้เข้ากับพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของกลุ่มลูกค้าในแต่ละพื้นที่เป็นหลัก มีการผนวกเทคโนโลยีเข้ากับรูปแบบและโครงสร้างสาขา รวมถึงมีกิจกรรมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างสรรค์สำหรับโลกยุคใหม่ ภายใต้แนวคิดที่เป็น “ธนาคารแห่งความยั่งยืน” โดยลูกค้าจะได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ของสาขาสยามสแควร์ได้ในราวเดือนธันวาคม 2564″

เปิดโอกาสให้นิสิตเสนอแนวคิด

สำหรับก้าวแรกของการพัฒนาสาขาสยามสแควร์สู่ “ธนาคารแห่งความยั่งยืน” ธนาคารกสิกรไทยได้ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการประกวดออกแบบสาขาสยามสแควร์ ภายใต้แนวคิด “อาคารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable Building)

เปิดโอกาสให้นิสิตเสนอแนวความคิดใหม่ในด้านรูปแบบและการใช้งานของสาขา โดยคำนึงถึงประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มากกว่าการให้บริการทางการเงิน ผสมผสานเทคโนโลยี นวัตกรรม ประโยชน์ใช้สอยให้สอดคล้องกับความต้องการทุกไลฟ์สไตล์ของผู้คนในสังคมโดยรอบ พร้อมให้เป็นสถานที่พบปะของกลุ่มคนที่มีความสนใจในด้านการใช้ชีวิตที่ประหยัดพลังงาน  

สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัล โครงการประกวดออกแบบสาขาสยามสแควร์ ภายใต้แนวคิด “อาคารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ทีม K Move รับรางวัลมูลค่า 200,000 บาท จากผลงานยอดเยี่ยมด้านการออกแบบและงานโครงสร้าง โดยอีกสองทีม ได้แก่ ทีม KLOUD รับรางวัลดีเด่นด้านออกแบบสร้างสรรค์ มูลค่า 100,000 บาท และ ทีม Kommunity รับรางวัลดีเด่นด้านโครงสร้างสร้างสรรค์ มูลค่า 100,000 บาท

ทีม K Move รับรางวัลผลงานยอดเยี่ยม ได้รับเลือกจากคณะกรรมการ เนื่องจากมีความโดดเด่นตามหลักเกณฑ์ ทั้งในด้านงานสถาปัตยกรรมภายในและด้านวิศวกรรมโครงสร้าง มีภาพรวมของผลงานที่สอดคล้องกับแนวคิดของธนาคาร ทั้งนี้ ทุกผลงานของนิสิตที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการสามารถสะท้อนแนวคิดในการออกแบบได้อย่างชัดเจน จะได้รับทุนการศึกษาเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการเข้าร่วมกิจกรรมอีกด้วย 

]]>
1282555
นันยางผุดไอเดียช้างดาว “เหลืองแดง-ไวท์พิ้งค์” รุ่น COVID Edition แก่ชาว “จุฬา-ธรรมศาสตร์” https://positioningmag.com/1275207 Fri, 24 Apr 2020 15:05:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1275207 เป็นอีกหนึ่งโปรเจกต์ที่สร้างสีสันการตลาดในช่วง COVID-19 ได้ดีไม่น้อย นันยางผุดไอเดียใหม่ช่วงวิกฤตนี้ โดยการดีไซน์รองเท้าแตะช้างดาวรุ่น COVID Edition เหลืองแดง และไวท์พิ้งค์ สำหรับชาวจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ ภายในกลุ่มตลาดนัดของทั้ง 2 สถาบัน

ช้างดาวรุ่นฝ่าโควิด!

หลงัจากที่ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา บนโลกโซเชียลร้อนแรงไปด้วยตลาดนัดของชาวมหาวิทยาลัย ที่ต่างสร้างกลุ่มในเฟซบุ๊ก เพื่อเป็นพื้นที่ให้กับศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบันได้ฝากร้าน ฝากธุรกิจของตัวเอง กลายเป็นการ Reunion พบปะรุ่นพี่รุ่นน้องแบบย่อยๆ ได้อัพเดตชีวิตว่าใครทำธุรกิจอะไรอยู่บ้าง

2 กลุ่มที่เป็นกระแสมากทุ่สดคงหนีไม่พ้นกลุ่ม “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” และ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” ของชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และธรรมศาสตร์ ที่รวบรวมศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันที่มีชื่อเสียง รวมถึงเจ้าของ หรือทายาทแบรนด์ดังๆ มากมาย

หนึ่งในนั้นได้มีผู้บริหารของ “นันยาง” ที่ไม่ใช่แค่ฝากร้าน ฝากแบรนด์นันยางแค่อย่างเดียว แต่ยังผุดโปรเจกต์ใหม่สำหรับชาวมหาลัยทั้ง 2 ด้วย เป็นรองเท้าแตะช้างดาวรุ่น COVID Edition ช้างดาวเหลืองแดงสำหรับชาวธรรมศาสตร์ และชางดาวไวท์พิ้งค์สำหรับชาวจุฬาฯ

โดยที่ “จั๊ก-จักรพล จันทวิมล” ทายาทรุ่นที่ 3 ของนันยาง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด เป็นศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี กลุ่ม ง.งู รหัส 46 ม.ธรรมศาสตร์ และกำลังศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยี และการจัดการนวัตกรรม หรือ CUTIP รุ่น 12 จึงได้ออกแบบช้างดาว 2 สถาบัน

เปิดพรีออเดอร์ ใช้เวลาทำ 90 วัน

รายละเอียดของช้างดาวทั้ง 2 รุ่นนี้ ได้แก่

– จะผลิตตามจำนวนที่สั่งซื้อเท่านั้น (Made to order)
– สามารถสั่งซื้อได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 เม.ย. 63 (Lazada และ Shopee)
– กำหนดส่งสินค้า ประมาณเดือน สิงหาคม 63 ใช้เวลาทำ 90 วัน
– ราคาคู่ละ 199 บาท (ส่งฟรี)
– มีไซส์พิเศษ 8.5 (22cm) และ 11.5 (29cm)

จักรพลได้เปิดเผยในส่วนหนึ่งของโพสต์ในกลุ่มจุฬาว่า “เมื่อสัปดาห์ก่อนผมจึงได้ขออนุญาตฝากร้านรองเท้านันยางบ้าง ได้รับ feedback อย่างเหลือเชื่อ จนทำให้นอนไม่หลับ หารือกับทีมงาน ปรึกษาเพื่อนๆ CUTIP จนมาถึงโพสต์นี้ กราบขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ธาตรี ใต้ฟ้าพูล คณะนิเทศศาสตร์ และ รองผู้อำนวยการหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม และขอบคุณเพื่อนๆ CUTIP และชาวจุฬาฯ ทุกคนที่แอบช่วยกันออกแบบ และให้ความเห็นก่อนเปิดตัววันนี้”

ได้ทิ้งท้ายว่า กำไรจากการจำหน่ายรองเท้าช้างดาวรุ่นนี้จะขอมอบให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในนามของพวกเราทุกคน

ทำหรับรองเท้าทั้ง 2 รุ่นนี้ ใช้เวลาในการทำ 90 วัน เนื่องจากเป็นสินค้า Made to order จึงต้องแทรกการผลิตสินค้าปกติ โดยมีกำหนดการดังนี้

  • 30 เม.ย. ปิดรับออเดอร์
  • 1 – 10 พ.ค. รวบรวมสรุปและสั่งผลิตสินค้า
  • 11 พ.ค. (วันแรกพบ) เริ่มกระบวนการผลิตสินค้า
  • 20 มิ.ย. (น่าจะ) ผลิตรองเท้าเสร็จ
  • 20 มิ.ย. – 20 ก.ค. ทิ้งระยะเวลาหดตัวของยางพารา 30 วัน (เป็นกระบวนการสำคัญของรองเท้าช้างดาว)
  • 25 ก.ค. สินค้าพร้อมจัดส่ง

กรณีศึกษา แบรนด์ไม่หยุดพัฒนา

สำหรับนันยางเป็นแบรนด์เก่าแก่ ที่มีตำนานสำหรับรองเท้านักเรียนมายาวนาน แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ได้มีการปรับตัว และพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง

ในแต่ละครั้งสามารถเรียกเสียงฮือฮาได้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นรองเท้าผ้าใบผู้หญิง, รองเท้า NanyangRED สำหรับแฟนลิเวอร์พูล, รองเท้า KYHA จากขยะทางทะเล สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวของแบรนด์อย่างต่อเนื่อง

เพราะด้วยตัวสินค้ารองเท้านักเรียนมีช่วงเวลาการขายที่จำกัด อีกทั้งเมื่อเจอวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ปกครองต่างไม่มีรายได้ในการซื้อรองเท้า รวมถึงอัตราการเกิดของเด็กไทยน้อยลง ทำให้จำนวนนักรเียนก็น้อยลงด้วย

การที่นันยางแตกไลน์ไปยังกลุ่มรองเท้าอื่นๆ สามารถสร้างสีสันให้ตลาด แต่ยังไม่ทิ้งจุดแข็งของแบรนด์คือรองเท้า ยิ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงแบรนด์ได้มากขึ้น

]]>
1275207
ชุมชนมหา’ลัยเปิดกลุ่ม “ฝากร้าน” พลังสถาบันช่วยเหลือกันในยุค COVID-19 ขายตั้งแต่ของกิน ยันจระเข้! https://positioningmag.com/1273245 Tue, 14 Apr 2020 08:16:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273245 เมื่อมีการเริ่มต้นตั้งกลุ่มบน Facebook ในชื่อ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” จุดประสงค์ให้บัณฑิตและนิสิตมา “ฝากร้าน” ได้ทุกอย่าง ตั้งแต่สารพัดร้านขายอาหารไปจนถึงบริการดูดวงออนไลน์!? จุดกระแสฮิตให้ชุมชนมหาวิทยาลัยหลายแห่งตั้งกลุ่มลักษณะเดียวกันมาช่วยประชาสัมพันธ์สินค้า-บริการ บอกเลยว่าของที่ลงขายมีหลากหลายเกินคาดพร้อมกับกระแสฮือฮาเมื่อเหล่าเซเลบคนดังยังมาลงขายกับเขาด้วย

แอดมินกลุ่ม 6 คนได้ตั้งกลุ่มบน Facebook ชื่อ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” ขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 63 เพื่อให้พี่น้องม.ธรรมศาสตร์ ช่วยกันซื้อช่วยกันขายในยุคเศรษฐกิจฝืดจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ปรากฏว่ากลุ่มนี้ฮิตระเบิดจนปัจจุบันมีสมาชิกเกือบ 68,000 คนเข้าไปแล้ว

ด้วยจำนวนสมาชิกขนาดนี้ และจากพลังสายสัมพันธ์รุ่นพี่รุ่นน้องร่วมสถาบันที่ต้องการช่วยเหลือกันก่อน ทำให้ของที่ลงขายนั้นขายได้จริงและขายดีเกินคาดด้วย ล่าสุดแอดมินกลุ่มมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้านเล่าเรื่องราวเพื่อขอบคุณสมาชิกทุกคนที่เข้ามาช่วยซื้อขายว่า สมาชิกในกลุ่มบางรายมีคิวดูดวงออนไลน์แน่นทั้งวันจนมีเงินพอจ่ายค่าเช่าตึกแล้ว หรือสมาชิกที่มีสวนทุเรียนสามารถขายทุเรียนได้หมดทั้งสวนจากพลังของสมาชิกกลุ่ม

สีสันภาพปกของกลุ่มขายของสถาบันต่างๆ

กระแสการเปิดช่องทางขายใหม่เช่นนี้กระจายไปสู่ชุมชนมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่เริ่มตั้งกลุ่ม Facebook เฉพาะกิจขึ้นมาเหมือนกันเช่น กลุ่ม “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” จำนวนสมาชิกวิ่งไปถึงเกือบ 86,000 คน! “ตลาดนัด มศว” สมาชิกกว่า 3,300 คน “ม.เกษตร มาร์เก็ต และการฝากร้าน” สมาชิกกว่า 1,100 คน “Silpakorn Online Market : ชีวิตสั้น ฝากร้านกันยาวๆ” สมาชิกกว่า 3,700 คน

 

ขายทุกอย่างที่คุณจะนึกออกและนึกไม่ออก

ถ้าการไถหน้าจอดูของใน Lazada หรือ Shopee ว่ามีของมากมายแล้ว กลุ่ม Facebook ขายของจากชาวสถาบันเหล่านี้มีสินค้าและบริการแบบครอบจักรวาลยิ่งกว่า ทั้งในแง่มูลค่า และในแง่ความแปลกแตกต่าง เหมือนได้เดินตลาดทุกแห่งทั่วประเทศพร้อมกันในรอบเดียว รู้ตัวอีกทีน่าจะสั่งไปแล้วหลายอย่าง พร้อมลิสต์ร้านน่าสนใจอีกยาวเป็นหางว่าว

สินค้าที่ทุกคนคงไม่แปลกใจที่มีขายคือ “หมวดอาหาร” สารพัดอาหารทั้งของแปรรูปและยังไม่แปรรูปมารวมกันในกลุ่มสถาบัน เช่น ข้าวเหนียวทุเรียน โรตี สะตอ ก๋วยเตี๋ยวญวณ ผัดไท ครัวซองต์ คึ่นช่าย

ฝากร้านหมวดอาหาร

“หมวดของใช้” อย่างต่างหู เครื่องกีฬา กระถางต้นไม้ ลำโพง “หมวดบริการ” รับงานล่าม แปล ทนายความ
ดูแลรถยนต์ ฯลฯ

ฝากร้านหมวดของใช้

ไปจนถึงสินค้าที่คุณนึกไม่ถึง อย่างการขายหมูป่า และจระเข้เป็นๆ จากฟาร์ม กำไลหินโหราศาสตร์ ดูดวงออนไลน์ พระเครื่อง ไปจนถึง…ขายง้าวโบราณ

สิ่งที่นึกไม่ถึงอย่างฟาร์มปศุสัตว์เฉพาะทางก็มาขายกันในนี้ (ภาพจากกลุ่ม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน)

ในแง่มูลค่าก็เช่นกัน สินค้ายอดฮิตที่ลงขายกันมากคือ อสังหาริมทรัพย์ ทั้งที่ดินเปล่า บ้าน คอนโดฯ มูลค่าขายตั้งแต่หลักล้านต้นจนถึงพันล้านก็มีคนลงขายมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีการโพสต์ธุรกิจ B2B ต่างๆ อีกมาก เช่น รับเหมาก่อสร้าง โรงงานผลิตเสื้อผ้ากีฬา แพ็กเกจจิ้ง โรงพิมพ์ อุปกรณ์โรงงาน ฯลฯ

กระทั่งที่ดิน-คอนโดฯ ราคาหลักล้านถึงพันล้านก็มีขาย

 

ดารา-คนดัง-ทายาทธุรกิจ ก็ฝากร้านกับเขาด้วย

ไม่ใช่แค่คนทั่วไปที่เข้าไปฝากร้าน แม้แต่ดารา คนดัง หรือทายาทธุรกิจก็ขออาศัยช่องทางนี้ฝากร้านกับเขาด้วย!

ที่ฮือฮากันช่วงนี้คือ “เชฟป้อม-ม.ล.ขวัญทิพย์ เทวกุล” บัณฑิตจากรัฐศาสตร์ จุฬาฯ รหัส 22 ยังเข้าไปฝากร้านข้าวแช่ของตนเองในกลุ่ม “รวิศ หาญอุตสาหะ” บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ รหัส 39 ขอเข้ามาฝากเครื่องสำอางศรีจันทร์ กระทั่ง “เบียร์-ปิยะเลิศ ใบหยก” บัณฑิตครุศาสตร์ จุฬาฯ รหัส 42 ก็เข้าไปขายชุดข้าวแช่จากโรงแรมหัวช้าง เฮอริเทจของครอบครัว

คนดังชาวจุฬาฯ ฝากร้านในจุฬาฯมาร์เก็ตเพลส
คนดัง ม.ธรรมศาสตร์ ก็มาฝากร้านด้วย

ฟาก ม.ธรรมศาสตร์ก็ไม่น้อยหน้า “วู้ดดี้ มิลินทจินดา” บัณฑิตเศรษฐศาสตร์ ภาคอินเตอร์ (BE) มธ. รหัส 37 เข้ามาฝากรายการ Woody From Home Live หรือ “วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล” บัณฑิตเศรษฐศาสตร์ มธ. ที่เข้ามาฝากรายการเถื่อนทราเวล

กลุ่ม Facebook มหา’ลัยเหล่านี้อาจจะเริ่มจากการซื้อขายของเฉพาะหน้าเพื่อช่วยกันรอดพ้นในช่วงการระบาดของ COVID-19 แต่เมื่อของขายหลากหลายขึ้น คนมากขึ้น จะพบว่ากลุ่มนี้ทำให้ “คอนเน็กชัน” ในฐานะรุ่นพี่รุ่นน้องสถาบันเกิดขึ้นชัดเจนและเป็นวงกว้างมากกว่าเดิม เพราะทำให้คนขายของต้นน้ำได้มาเจอกับคนขายกลางน้ำและปลายน้ำในกลุ่มเดียวกัน กลายเป็นระบบนิเวศทางธุรกิจที่ทรงพลัง

]]>
1273245
“ซีพีออลล์” คว้าสุดยอดแบรนด์องค์กรธุรกิจพาณิชย์มูลค่าสูงสุด 558,608 ล้านบาท https://positioningmag.com/1243742 Fri, 23 Aug 2019 10:39:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243742 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกาศผลงานวิจัยและมอบรางวัล “ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2019” ให้กับแบรนด์องค์กรที่มีมูลค่าสูงสุดทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ประจำปี 2019

15 ธุรกิจแบรนด์ไทยมูลค่าสูงสุด

สำหรับสุดยอดแบรนด์องค์กรไทยในปีนี้ (Thailand’s Top Corporate Brands 2019) 15 บริษัท จาก 15 หมวดธุรกิจ โดย “ซีพี ออลล์” ในธุรกิจพาณิชย์ มีมูลค่าสูงสุดที่ 558,608 ล้านบาท

ส่วนธุรกิจหมวดอื่นๆ ประกอบด้วย อาหารและเครื่องดื่ม ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล มูลค่า 98,882 ล้านบาท, ธุรกิจธนาคาร กสิกรไทย มูลค่า 135.787 ล้านบาท, ธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ บัตรกรุงไทย (KTC) มูลค่า 45,363 ล้านบาท

ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต ทิพยประกันภัย มูลค่า 5,810 ล้านบาท, ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ปูนซีเมนต์นครหลวง มูลค่า 34,185 ล้านบาท, ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มูลค่า 64,811 ล้านบาท

กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค พลังงานบริสุทธิ์ มูลค่า 125,206 ล้านบาท, ธุรกิจการแพทย์ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ มูลค่า 22,120 ล้านบาท, ธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ วีจีไอ โกลบอล มีเดีย มูลค่า 44,949 ล้านบาท

การท่องเที่ยวและสันทนาการ เอราวัณ กรุ๊ป มูลค่า 8,602 ล้านบาท ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ มูลค่า 49,511 ล้านบาท กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เคอีซี อีเลคโทรนิคส์ มูลค่า 34,207 ล้านบาท ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร อินทัช โฮลดิ้งส์ มูลค่า 142,034 ล้านบาท และกลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ อินโดรามา เวนเจอร์ส มูลค่า 65,926 ล้านบาท

สำหรับการหามูลค่าแบรนด์องค์กร (Corporate Brand Value) คือนำมูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์ทั้งหมด (Enterprise Value) หักด้วยเงินสด รายการเทียบเท่าเงินสด และการลงทุนชั่วคราว ผลลัพธ์ที่ได้ คือมูลค่าแบรนด์องค์กร

ในการคำนวณมูลค่าแบรนด์องค์กร ใช้ค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังกับทุกตัวแปรในสูตร จากนั้นจัดอันดับบริษัทที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดในแต่หมวดธุรกิจ ซึ่งองค์กรที่จะได้รับรางวัล Thailand’s Top Corporate Brands จะต้องมีมูลค่าแบรนด์องค์กรตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป

6 บริษัทรางวัลหอเกียรติยศ

ดร.กุณฑลี รื่นรมย์ และ ดร.เอกก์ ภทรธนกุล อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สร้างเครื่องมือวัดมูลค่าแบรนด์องค์กร CBS Valuation (Corporate Brand Success Valuation) กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีที่ 10 สำหรับประเทศไทย ที่ได้ประกาศผลงานวิจัยการวัดมูลค่าแบรนด์องค์กรของไทยในหมวดธุรกิจต่างๆ ของตลาดหลักทรัพย์

ปีนี้มีแบรนด์องค์กรไทยที่ได้รับรางวัล Thailand’s Top Corporate Brands ต่อเนื่อง 5 ปีติดต่อกัน เข้ารับรางวัลหอเกียรติยศสุดยอดแบรนด์องค์กรไทย (Thailand’s Top Corporate Brands Hall of Fame 2019) 6 บริษัท ได้แก่ กรุงเทพประกันชีวิต, โรงแรม เซ็นทรัล พลาซา, ท่าอากาศยานไทย, กรุงเทพดุสิตเวชการ, เซ็นทรัลพัฒนา และ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)

AOT ติดท็อประดับอาเซียน

สำหรับรางวัล ASEAN’s Top Corporte Brands 2019 มี 6 รางวัล 1.อินโดนีเซีย บริษัท PT Hanjaya Mandala Sampoerna Tbk มูลค่า 30,014 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 2.มาเลเซีย บริษัท Public Bank Berhad มูลค่า 11,453 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 3.ฟิลิปปินส์ บริษัท SM Prime Holdings, Inc มูลค่า 14,050 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 4.สิงคโปร์ บริษัท Singapore Telecommunications Limited มูลค่า 22,353 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 5. ประเทศไทย บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT  มูลค่า 22,107 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 6. เวียดนาม บริษัท Vietnam Daily Products Joint Stock Company มูลค่า 8,440 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดย AOT ถือเป็นสุดยอดแบรนด์องค์กรที่มีมูลค่าสูงสุดในประเทศไทย มีมูลค่า 676,916 ล้านบาท  โดยเป็นแบรนด์องค์กรที่ได้รับ Thailand’s Top Corporate Brands ต่อเนื่อง 5 ปีติดต่อกัน จึงเข้าไปอยู่ในบริษัทที่รับรางวัลหอเกียรติยศสุดยอดแบรนด์องค์กรไทย

]]>
1243742
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ หรือ Chulalongkorn Business School เดินแถว คว้ารางวัลจากหลากหลายโครงการ https://positioningmag.com/62980 Thu, 07 Apr 2016 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62980

กันตพัฒน์ พฤฒิธรรมกูล ตัวแทนทีม Royal Blue ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศแผนการตลาดพระราชทาน J-MAT Award ครั้งที่ 24 ภายใต้การดูแลของ รศ.ม.ล.สาวิกา อุณหนันท์ แห่งภาควิชาการตลาดกล่าวว่าการเข้าร่วมแข่งขันประกวดตามเวทีต่างๆ เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่อาจารย์ส่งเสริมนิสิตให้มีโอกาสฝึกฝนตัวเอง เช่น การประกวด J-MAT Award ของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นงานประกวดแผนการตลาดของนิสิตนักศึกษาที่สำคัญที่สุดของประเทศ

“หัวข้อที่ผมได้รับคือ รุกไอเดียให้ล้ำทำปั๊มให้เจ๋ง ซึ่งปตท. เป็นผู้สนับสนุน มีผู้ร่วมแข่งขันกว่า 400 ทีมทั่วประเทศ พอได้รับโจทย์มาพวกเราก็ทำรีเสิร์ชก่อนที่จะถึงวันเข้ารับฟังรายละเอียดเกี่ยวกับงานเสียอีก เราแจกแบบสอบถาม เพื่อดูว่าผู้บริโภคจริงๆ แล้วต้องการปั๊มแบบไหน เราสอบถามตั้งแต่ไอเดียธรรมดาๆ คือห้องน้ำสะอาดไปจนถึงไอเดียสุดล้ำ อย่างการมีโรงหนังในปั๊ม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมมากที่สุด ซึ่งผลจากการทำวิจัยตรงกับความต้องการของกรรมการ” กันตพัฒน์กล่าว และด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ทีมของเขาได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยรางวัลที่สองก็เป็นเพื่อนใน Chulalongkorn Business School เช่นกัน

ตัวแทนทีม Royal Blue กล่าวอีกว่า การได้เข้าร่วมแข่งขัน J-MAT ช่วยให้ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม และฝึกเรื่องความรับผิดชอบ ได้เห็นวิธีคิดของผู้อื่น ซึ่งช่วยให้ตนและเพื่อนได้นำไปพัฒนาความคิดของตัวเอง 

ส่วนอีกทีมที่ไปคว้ารางวัลชนะเลิศงานประกวดแผนธุรกิจน้องสุขใจ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นำโดย ทิพธัญญา ครุฑวัฒนา นิสิตภาควิชาการตลาด หัวหน้าทีม The Wanderlust กล่าวถึงการประกวดครั้งนี้ ตนกับเพื่อนในทีมเห็นประกาศรับสมัครจากสื่อออนไลน์ แล้วนำแนวคิดมาปรึกษากับอาจารย์  ดร.เอกก์ ภทรธนกุล และคณาจารย์ในภาควิชาการตลาด ซึ่งก็ได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดี  ตลอดระยะเวลาการแข่งขันจนได้รับชัยชนะมาในที่สุด
             
“แผนที่เราคิดมีความเชื่อมโยงกับททท.มาก เราเสนอให้เขาทำน้องสุขใจออกมาเป็น 5 คาแรกเตอร์ แล้วเอาไปจับกับทุกกิจกรรมที่ททท.ทำอยู่ ครอบคลุมครบวงจร ทั้งศูนย์ข้อมูลต่างๆ หรือแคมเปญต่างๆ”  ทิพธัญญากล่าว

นอกจากนั้นทีมนิสิตคนเก่งยังเห็นว่าเข้าร่วมแข่งขัน เหมือนเป็นการเอาความรู้ที่เรียนมาทั้งหมดมาบูรณาการรวมกันทำให้ลำดับความคิดในเรื่องเรียนดีขึ้น รางวัลที่ได้รับเป็นเหมือนแรงบันดาลใจ ทำให้ตนและเพื่อนๆ มีกำลังใจเรียนมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเห็นผลแล้วว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปนั้นสามารถนำไปใช้ได้จริง และสังคมให้การยอมรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารองค์กรใหญ่

“การเข้าประกวดทำให้เราได้ลงมือทำจริงๆ แล้วมีท่านผู้ใหญ่ในภาคธุรกิจมาพูดให้เราฟังว่า สิ่งที่เราทำลงไป ผลเป็นอย่างไร ทำให้เห็นว่า โลกการทำงานจริงเป็นยังไง ทำให้เราได้เห็นและเรียนจากมุมมองของคนอื่น”

ทั้งนี้ ชัยชนะของทีม Royal Bule และ The Wanderlust เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความภาคภูมิใจที่ชาว Chulalongkorn Business School ทั้งคณาจารย์ บุคลากรและนิสิตออกไปสร้างผลงานตามเวทีต่างๆ ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติจนสามารถสร้างชื่อเสียงตลอดปี 2558  ซึ่งทางคณะฯ จะใช้โอกาสนี้ ร่วมเฉลิมฉลองสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 100 ปี จัดงานเชิดชูเกียรติ “เรียง 100 ความภูมิใจ”  Chulalongkorn Business School ให้กับบุคลากรคุณภาพดังกล่าวขึ้น ในวันที่ 19 เมษายนนี้ เวลา 14:00 น.  ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

]]>
62980
Mocumentary 3,000 บาทของ ikea https://positioningmag.com/13768 Mon, 09 May 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13768

การเปิดสาขาของ ikea ในประเทศไทย ช่วงปลายปีนี้ คือสัญญาณการแข่งขันในธุรกิจศูนย์สินค้าตกแต่งบ้านที่เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง ทั้งผู้บริโภคและคู่แข่งในธุรกิจนี้ต่างก็จับตามองแบรนด์ใหญ่จากต่างประเทศรายนี้ว่าจะเข้ามาเปิดตลาดในไทยได้อย่างไร และด้วยวิธีการใด อย่างน้อยผู้บริโภคก็จะได้เตรียมตัวซื้อ ส่วนคู่แข่งก็เตรียมตัวรับมือ

ต้องขายสินค้าให้คนที่ไม่รู้จัก ikea
อิเกียมองและประเมินลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของตัวเองอย่างชัดเจนว่า สินค้าอิเกียนั้นทำมาเพื่อสำหรับทุกคน ทั้งเรื่องคุณภาพ การออกแบบ คุณประโยชน์ และราคา ซึ่งทั้งหมดเป็นจุดแข็งของอิเกียในการทำตลาดในทุกประเทศ

ในประเทศไทยอิเกียเลือกการสื่อสารกับกลุ่มคนที่ไม่รู้จักอิเกียเป็นหลัก ซึ่งนั่นก็คือกลุ่มลูกค้าระดับกลางลงมา ซึ่งเป็นฐานลูกค้าที่ใหญ่ และอิเกียมีสินค้าที่รองรับมากพอ และนโยบายราคาที่ต้องถูกกว่าคู่แข่งในอัตรา 10% ในสินค้าประเภทเดียวกัน

อิเกียเชื่อว่า สินค้าที่ออกแบบดี วัสดุดี ทนทาน ราคาถูก จะสามารถยึดครองลูกค้ากลุ่มนี้ได้ การส่ง Massage ถึงลุกค้ากลุ่มนี้จึงมีการออกแบบ และเตรียมการมาพร้อมสรรพ

ลาร์ สเวนสัน Deputy Store Manager บริษัท อิคาโน่ (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า นโยบายของอิเกียคือ การสร้างสิ่งที่ไม่คาดหมาย ให้กับลูกค้า ซึ่งในประเทศไทยอิเกียเลือกใช้การสื่อสารถึงกลุ่มลูกค้าด้วยการทำ Mocumentary 1 เรื่อง ในแนวคิดชีวิตที่ดีกว่า ที่สะท้อนให้เห็นว่าอิเกียช่วยทำให้ชีวิตคนกรุงเทพฯ ดีขึ้นอย่างไร

การทำสารคดีเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นอิเกียในประเทศไทย หากคิดในรูปแบบของแบรนด์ใหญ่ การว่างจ้างเอเยนซี่ใหญ่ๆ รับงานไปด้วยงบประมาณที่พร้อมจ่าย ก็สามารถทำได้ แต่อิเกียคิดด้วยอีกวิธีหนึ่ง

อิเกียเลือกใช้แนวทางที่ตรงกันข้ามคือ ให้นักศึกษาเป็นคนคิดงาน ด้วยการส่งทีมงานเข้าไปอธิบายและบอกเล่าถึงสิ่งที่ต้องการให้กับนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับฟัง พร้อมกับให้ส่งผลงานเข้าแข่งขันกัน

โจทย์ที่กำหนดให้ก็คือ การบอกเล่าถึงสินค้าอิเกียเปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้อย่างไร ซึ่งต้องสื่อออกมาสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นกรุงเทพฯ ที่ทุกคนรู้จักและยอมรับด้วย

ลาร์ บอกว่า อิเกียต้องการความคิดของคนรุ่นใหม่ นักศึกษา เพราะพวกเขามีความคิดที่เปิดกว้าง และมีแนวคิดใหม่ๆ กล้านำเสนอ ซึ่งอิเกียเองไม่ได้มองที่งบประมาณว่ามากหรือน้อย แต่ต้องการได้สิ่งใหม่ๆ และคาดไม่ถึง

เมื่อให้โจทย์กับนักศึกษาที่สนใจแล้ว การตอบรับของนักศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ ปีที่ 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในชื่อทีม Nine Lives ได้รับการคัดเลือก ซึ่งอิเกียตัดสินเลือกทีมนี้เพราะว่าตอบโจทย์ได้ชัดเจน และตรงกับแนวคิดของอิเกียมากที่สุด

ทีม Nine Lives เลือกทำ Mocumentary เพื่อสื่อให้เห็นว่า สินค้าของอิเกีย สามารถเข้าได้กับทุกคน ทุกกลุ่ม คนทั่วไปที่ทำงานหาเช้ากินค่ำ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นสินค้าที่เข้ากับทุกระดับรายได้ แม้แต่คนที่ไม่รู้จักก็สามารถใช้ได้ แม้แต่คนที่ไม่รู้จักอิเกียมาก่อน

แปลงโฉมวินมอเตอร์ไซค์ – ร้านข้าวแกง
ทีม Nine Livesประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะนิเทศศาสตร์ เอกโฆษณาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 5 คน ร่วมกันคิดแนวทางของการทำ Mocumentary จำนวน 2 เรื่องตามโจทย์ที่ได้มาจากทางอิเกีย

“โจทย์ที่ได้มาคือ อิเกียมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว และจะมีส่วนร่วมกับชีวิตคนกรุงเทพฯ อย่างไร ทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นอย่างไร คุณภาพชีวิตดีอย่างไร” ตัวแทนทีมงานเล่าถึงสิ่งที่ต้องการของอิเกีย

ในส่วนของทีมงานรู้จัก อิเกียเป็นอย่างดี จากการเรียนในวิชาโฆษณา ที่กรณีศึกษางานโฆษณาของอิเกียจะถูกหยิบยกจากอาจารย์ผู้สอนมาเป็นบทเรียนในห้องเรียนอยู่บ่อยครั้ง เพราะมีความแตกต่าง และน่าสนใจ แต่ทั้งหมดยังไม่เคยเป็นลูกค้าอิเกีย เพียงแต่รับรู้ว่าคืออะไร

เมื่อได้รับโจทย์มา การตีความและการสรุปแนวคิดเพื่อผลิตออกมาเป็นงานที่ต้องการ ทั้งทีมระดมความคิด และถกเถียงกันเรื่อง อะไรที่สื่อถึงกรุงเทพมหานคร และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ซึ่งทีมงานก็ได้ข้อสรุปว่า วินมอเตอร์ไซค์ ร้านข้าวแกง ท่าเรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส

ท่าเรือถูกตัดทิ้งออกไป เพราะเรื่องของสถานที่ถ่ายทำ และขั้นตอนต่าง ๆ ไม่สะดวก ทั้งๆ ที่ได้ทดลองออกไปถ่ายทำมาแล้วส่วนหนึ่ง รถไฟฟ้าบีทีเอสก็ยังไม่ตรงกับความต้องการเท่าไหร่ เพราะแนวคิดนี้อิเกียเคยทำมาแล้วในต่างประเทศ ข้อสรุปสุดท้ายเหลือ 2 สถานที่คือ วินมอเตอร์ไซค์ และร้านข้าวแกง

“คอนเซ็ปต์ที่วางไว้คือ สิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคตื่นเต้นได้ ก็คือการทำ Surprise ด้วยการ

เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ให้เป็นของใหม่ ทำให้ชีวิตดีขึ้น ใช้เฟอร์นิเจอร์เขาไปช่วย เพราะต้องการบอกว่าอิเกียเหมาะกับทุกคน และทุกสถานที่ ไม่ใช่ว่าต้องมีเงิน ทุกที่สามารถใช้เฟอร์นิเจอร์อิเกียได้”

ทีม Nine Lives ลงมือถ่ายทำสารคดีเปิดตัวให้อิเกีย ด้วยการเปลี่ยนวินมอเตอร์ไซค์ที่ดูรกรุงรัง ไม่เป็นระเบียบ ด้วยการใส่เฟอร์นิเจอร์เช่นโซฟา ชั้นวางหมวกกันน็อก โคมไฟ ใช้เฟอร์นิเจอร์ของอิเกียทั้งหมด และดูเหมือนห้องนั่งเล่นในบ้าน
ส่วนร้านข้าวแกง ก็เข้าไปเปลี่ยนโต๊ะเก้าอี้ การตกแต่งจากร้านเพิงธรรมดา กลายเป็นร้านอาหารริมถนนที่มีโต๊ะกินข้าวที่สวยงาม เทียบเท่าร้านอาหารติดแอร์

ทั้ง 2 ที่นี่ไม่มีการติดป้าย หรือขึ้นข้อความ สัญญลักษณ์ ที่สื่อถึงแบรนด์อิเกียแม้แต่ชิ้นเดียว

สารคดีปิดท้ายด้วยการถามคนที่ใช้บริการมอเตอร์ไซค์ ร้านข้าวแกง ว่ารู้จักอิเกียหรือไม่ ซึ่งคำตอบส่วนใหญ่กว่า 90% บอกชัดเจนเลยว่าไม่รู้จัก

ทีมงานใช้เวลาในการผลิต Mocumentary จำนวน 3 วัน และถูกนำเสนอในงานฉลองปิดหลังคาโครงการอิเกียเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

สำหรับต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 3,000 บาท ต้นทุนส่วนนี้ไม่คิดค่าเฟอร์นิเจอร์ และทีมงานของอิเกียที่ต้องลงพื้นที่ในการตกแต่ง ต้นทุนต่ำระดับนี้เพราะทุกอย่างทีม Nine Lives ทั้ง 5 คนลงมือทำเองทั้งหมด ตั้งแต่ถ่ายทำ ตัดต่อ กำกับ จนเป็นงานออกมาเหมือนกับทำรายงานกลุ่มส่งอาจารย์

ค่าตอบแทนที่ทีมนี้ได้ก็คือ เงินทุนการศึกษา ประกาศนียบัตร และโอกาสในการร่วมงานกับอิเกีย

แต่ทีมงานบอกว่าสิ่งที่ได้มากกว่านั้นคือการได้ทำงานกับแบรนด์ใหญ่ระดับโลก และจะเป็นผลงานติดตัวไป ที่สามารถหยิบยกมาอ้างอิงได้ทุกเวลา

แบรนด์ติดดิน ยกระดับคุณภาพชีวิต

กำหนดเปิดอย่างเป็นทางการของอิเกียในประเทศไทยคือวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 ซึ่งเวลาที่กำลังนับถอยหลังอยู่นี้ คือการสร้างลูกค้า พร้อมกับสร้างภาพลักษณ์ของอิเกียให้ชัดเจนตามแนวทางของบริษัทแม่

การเลือกใช้วิธีบอกเล่าเรื่องราวการเปิดตัวของอิเกียผ่านฝีมือนักศึกษา ด้วยแนวคิดชีวิตที่ดีขึ้นนี้ ลาร์ บอกด้วยว่า เราสร้างความแตกต่าง และ Surprise เพื่อที่จะสื่อว่าอิเกียเป็นแบรนด์ติดดิน ไม่ใช่ไฮโซ และต้องการให้ผู้บริโภคคิดถึงเรา ในทุกๆ ด้าน

สิ่งที่เขาต้องการสื่อความหมายก็คือ กระแสและรูปแบบการโฆษณาของศูนย์เฟอร์นิเจอร์ สินค้าแต่งบ้านที่มีอยู่แล้วในบ้านเรา มีแนวทางคล้ายกันคือ จะ Present สินค้าของตัวเองให้กับตลาดกลางถึงบน

ทำให้เราเห็นโฆษณาของแบรนด์ไทยต่างๆ จะมีคนดัง หรือเซเลบฯ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับแบรนด์เหล่านั้น เพื่อสร้างแรงดึงดูดผู้บริโภค ที่บางครั้งต้องการกลุ่มอ้างอิงในการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ ไม่มีประโยชน์ที่อิเกียจะลงไปแข่งในตลาดตรงนั้น เพราะด้วยขนาด จำนวนสินค้า บวกกับราคา อิเกียต้องขายให้ได้มาก เรียกคนเข้ามาในร้านให้ได้มากกว่า

รูปแบบการนำเสนอที่วาง Positioning ตัวเองชัดเจนว่าเป็นสินค้าสำหรับ Mass เพราะมีราคาถูก ทำให้เข้าถึงได้ง่าย

ลาร์ บอกด้วยว่า หลังจากที่เผยแพร่ Mocumentary ออกไปทางผู้บริหาร และผู้มาร่วมงานต่างแปลกใจ และชอบงานที่ออกมา เพราะพวกเขาเห็นว่าตรงกับความเป็นอิเกียมากที่สุด และงานชี้นนี้จะถูกนำมาเผยแพร่อีกครั้งในวันเปิดอิเกียอย่างเป็นทางการ 3 พฤศจิกายนนี้ด้วย

ทีมงาน NINE LIVES
– พรทิมา เตียงปิยกุล
– ลภัสรดา เสวิกุล
– พลอยใจ อิทธะรงค์
– ยุวรัตน์ สุรัตนาสถิตกุล
– พีระ วรปรีชาพาณิชย์

เกิดอะไรขึ้นกับ ikea ในปี 2553
ลูกค้า 699 ล้านคนซื้อสินค้าจากอิเกียทั่วโลก
เว็บไซต์อิเกียมียอดคลิก 737 ล้านคลิก
อิเกียมี 316 สาขา ใน 38 ประเทศ
อเมริกาเหนือและแคนาดา 48 สาขา
แคริบเบียน 1 สาขา
ยุโรป 231 สาขา
ตะวันออกกลาง 8 สาขา
เอเชีย 23 สาขา
ออสเตรเลีย 5 สาขา
ikea บางนา มีอะไรบ้าง
พื้นที่ 43,000 ตารางเมตร
ที่จอดรถ 1,300 คัน
มีสินค้าเสนอขาย 7,500 รายการ
ร้านอาหารอิเกีย 700 ที่นั่ง
พนักงาน 400 คน
]]>
13768
โนเกียร่วมกับเทส–แอมและจุฬาฯ ฉลองความสำเร็จโครงการรณรงค์ รีไซเคิลมือถือ “จุฬาฯ รักษ์โลก” https://positioningmag.com/54220 Fri, 01 Apr 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=54220

โนเกีย เทส-แอม และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมฉลองความสำเร็จของโครงการ “จุฬาฯ รักษ์โลก” ซึ่งเป็นโครงการรณรงค์การรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือเพื่อเชื่อมโยงให้ผู้คนได้มีบทบาทในการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ความสำเร็จของโครงการนำไปสู่การขยายกิจกรรมไปยังโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเครือข่ายรวมทั้งริเริ่มกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อสิ่งแวดล้อม

ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2553 จนถึงวันที่ 2 มีนาคม 2554 โนเกียและเทส-แอมซึ่งเป็นบริษัทรีไซเคิลได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย (ศสอ.) ดำเนินโครงการ “จุฬาฯ รักษ์โลก” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมให้กับนิสิตจุฬาฯ และประชาชนทั่วไปผ่านการนำโทรศัพท์มือถือมารีไซเคิล ผลจากการประชาสัมพันธ์ของนิสิตที่เข้าร่วมเป็นทูตโนเกียให้เพื่อนๆ และประชาชนนำโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริมที่ไม่ใช้แล้วมาทิ้งลงกล่องรีไซเคิล 19 จุดทั่วมหาวิทยาลัย ทางโครงการฯ สามารถเก็บรวบรวมโทรศัพท์มือถือที่ไม่ใช้แล้วได้เกือบ 1,800 เครื่องและอุปกรณ์เสริมมากกว่า 2,000 ชิ้น (แบตเตอรี่ ที่ชารจ์ หูฟัง ฯลฯ) และสื่อสารให้กับนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ กว่า 40,000 คนได้รับทราบและตระหนักถึงความสำคัญของการรีไซเคิล

ในพิธีปิดโครงการที่จัดขึ้นในวันนี้ ทูตโนเกียที่สามารถเก็บรวบรวมโทรศัพท์มือถือที่ไม่ใช้แล้วเพื่อรีไซเคิลได้มากที่สุด ได้แก่ น.ส. ยุพดี  วัฒนะชาติ  และน.ส. พิชญาภา  รักษาราษฎร์ สองนิสิตคู่หูจากคณะสหเวชศาสตร์ซึ่งได้รับรางวัลใหญ่ไปชมโรงงานรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์และยูนิเวอร์แซลสตูดิโอที่สิงคโปร์ ส่วนรองชนะเลิศได้รับรางวัลเงินสดและโทรศัพท์มือถือโนเกีย นอกจากนี้ โนเกียและเทส-แอมยังได้ร่วมกันบริจาคเงินจำนวน 110,000 บาท (ประมาณ 3,600 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ) เข้ากองทุนสิ่งแวดล้อมของจุฬาฯ ตามข้อตกลงว่า ทุกๆ 1 เครื่องที่โครงการฯ เก็บรวบรวมได้ โนเกียและเทส-แอมจะร่วมสมทบทุน 2 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ

ศ.นพ. ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความยินดี
เป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับโนเกียและเทส-แอมดำเนินโครงการจุฬาฯ รักษ์โลกและขอขอบคุณที่ทั้งสองบริษัทได้บริจาคเงินสมทบกองทุนสิ่งแวดล้อมของจุฬาฯ โดยเราจะนำเงินจำนวนนี้สมทบกับงบประมาณของจุฬาฯ จัดกิจกรรมรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องในหมู่นิสิต ชุมชน โรงเรียนใกล้เคียงและประชาชนทั่วไป นอกเหนือจากการรณรงค์รีไซเคิลโทรศัพท์มือถือแล้ว เราจะส่งเสริมให้นิสิตเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา
เพื่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น การร่วมนำขยะมารีไซเคิลในสัปดาห์รีไซเคิลขยะและการร่วมปลูกป่าชายเลน เป็นต้น”

ด้วยเงินสมทบกองทุนสิ่งแวดล้อมจากโนเกียและเทส-แอมและงบประมาณเพิ่มเติมจากสำนักบริหารงานกิจการนิสิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทางศสอ.ร่วมกับสำนักบริหารงานกิจการนิสิตจะร่วมกันดำเนินโครงการรณรงค์การรีไซเคิลต่อไปในปีนี้โดยจะมีกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ และภาคส่วนต่างๆ อาทิ

– การรณรงค์การรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือที่ไม่ใช้แล้วและกิจกรรมบูธให้ความรู้เรื่องความสำคัญของการรีไซเคิล ณ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยเครือข่าย
– การจัดงาน “สัปดาห์รีไซเคิล”
– การจัดค่ายสิ่งแวดล้อม กิจกรรมปลูกป่า และกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

มร.ฟรานซิส ชอง ผู้จัดการด้านสิ่งแวดล้อมประจำภูมิภาค โนเกีย เอเชียแปซิฟิกตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “แม้ความร่วมมือภายใต้โครงการ “จุฬาฯ รักษ์โลก” จะจบลงในวันนี้ แต่โนเกียยังคงร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงาน/องค์กรอื่นๆ อาทิ กรมควบคุมมลพิษเพื่อจัดทำโครงการรณรงค์การรีไซเคิลโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่องในปีนี้”

มร.ลุค สโคลเตอ แวน มาสท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเทส-แอม (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “สำหรับเทส-แอม ความสัมพันธ์กับโนเกียมีความหมายมากกว่าการเป็นบริษัทที่รับรีไซเคิลโทรศัพท์มือถือ หากแต่เรายังดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างแข็งขันเพื่อสนับสนุนกิจกรรมรีไซเคิลของบริษัทลูกค้า รวมทั้งค้นหาวิธีการใหม่ๆ ในการเก็บรวบรวมโทรศัพท์มือถือเก่า เรายืนหยัดที่จะร่วมมือกับโนเกียและองค์กรพันธมิตรในการรณรงค์การรีไซเคิลต่อไป”

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโครงการจุฬาฯ รักษ์โลกสามารถติดตามได้ที่ www.ehwm.chula.ac.th หรือโทร 02 218 3959

]]>
54220