ช้อปดีมีคืน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 28 Jan 2022 09:43:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สยามพารากอน ปลุกกำลังซื้อรับตรุษจีน เสริมมงคลปีเสือทรงพลัง จัดแคมเปญ “Siam Paragon Golden Prosperous Chinese New Year 2022” ตั้งแต่วันนี้ – 20 ก.พ.นี้ https://positioningmag.com/1371442 Fri, 28 Jan 2022 10:00:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371442

ศูนย์การค้าสยามพารากอน ปลุกกำลังซื้อรับปี 2565 อัดเม็ดเงินสะพัดสู่ระบบเศรษฐกิจ สร้างบรรยากาศจับจ่ายสุดคุ้ม กับแคมเปญ “Siam Paragon Golden Prosperous Chinese New Year 2022” ระหว่างวันนี้ – 20 ก.พ.2565 ฉลองเทศกาลตรุษจีนภายใต้มาตรการสุขอนามัย เนรมิตบรรยากาศเสริมสิริมงคลรับปีขาล มอบพลังแห่งความสุข ความรุ่งโรจน์ และความโชคดี

ศูนย์การค้าสยามพารากอน ตอกย้ำความเป็นศูนย์กลางการช้อปปิ้งระดับโลก มอบความคุ้มค่าในการจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลตรุษจีน เดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ อัดโปรโมชั่นจัดแคมเปญ Siam Paragon Golden Prosperous Chinese New Year 2022”  พร้อมเนรมิตบรรยากาศต้อนรับเทศกาลตรุษจีนเสริมสิริมงคลรับปีใหม่ ภายใต้มาตรการสุขอนามัยป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19  ร่วมเสี่ยงเซียมซีออนไลน์รับปีขาลและรับอักษรจีนมงคลจากปรมาจารย์พู่กันจีน

นางธณพร ตันติยานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานกิจกรรมการตลาด  บริษัท สยาม
พารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
 กล่าวว่า เพื่อมอบความคุ้มค่าและความเป็นสิริมงคลแก่นักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวไทยเชื้อสายจีนที่พำนักอยู่ในเมืองไทยในช่วงเทศกาลตรุษจีน สยามพารากอน  ได้สร้างปรากฏการณ์ความมหัศจรรย์ภายใต้แคมเปญ Siam Paragon Golden Prosperous Chinese New Year 2022พร้อมขานรับนโยบายภาครัฐฯ ด้วยการจัดซิกเนเจอร์อีเว้นท์และกิจกรรมต่างๆ ควบคู่กับการดำเนินการมาตรการสุขอนามัยป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยเน้นมอบโปรโมชั่นแคมเปญสุดพิเศษให้ลูกค้าได้จับจ่ายใช้สอยอย่างคุ้มค่า  ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยให้คึกคักขึ้นแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งมีแนวโน้มที่เงินสะพัดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีการเลือกซื้อของขวัญให้กับตนเองและคนในครอบครัวเพื่อเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นปีใหม่ รวมถึงเลือกซื้อของขวัญในเทศกาลวาเลนไทน์ให้กับคนที่รัก นอกจากนี้ยังเป็นช่วงเดียวกับที่ภาครัฐฯ มอบของขวัญให้คนไทยกับมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” จึงนับเป็นช่วงโอกาสพิเศษที่จะช่วยเสริมสภาพคล่องทางเศรษฐกิจให้เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง”

สำหรับแคมเปญโปรโมชั่นสุดพิเศษนี้ เพียงช้อปตามเงื่อนไข รับทันที Siam Gift Card รวมมูลค่ากว่า 2 ล้านบาท และข้อเสนอสุดพิเศษจากบัตรเครดิตที่ร่วมรายการรับเงินคืนสูงสุด 22% พิเศษสมาชิก VIZ Card  ที่มี ONESIAM SuperApp และมียอดซื้อขั้นต่ำ 5,000 บาท ชึ้นไปต่อใบเสร็จ รับเพิ่ม 200 VIZ COINS (จำกัด 3,999 สิทธิ์ตลอดรายการ รวม 4 ศูนย์การค้า สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และ ไอคอนสยาม)  และยังมีโปรโมชั่นพิเศษจากร้านอาหารที่ร่วมรายการ อาทิ เมื่อรับประทานอาหารครบตามเงื่อนไข รับอั่งเปาฟรีทันที, รับส่วนลดสูงสุด  50% เมนูพิเศษ และรับเครื่องดื่มหรือขนมฟรี ตามเงื่อนไขที่กำหนด เป็นต้น

นอกจากนี้ยังเพิ่มความพิเศษระหว่างวันที่ 29 ม.ค.-1 ก.พ. 2565 เมื่อช้อปครบ 20,000 บาทขึ้นไป แลกรับ Siam Gift Card มูลค่า 1,500 บาท พร้อมรับเพิ่มคะแนนสะสม K Point สูงสุด 5,000 คะแนน เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตวันสยามกสิกรไทย

ในโอกาสฉลองของเทศกาลปีใหม่ของชาวจีน  ระหว่างวันที่ 27 ม.ค. – 1 ก.พ. 2565 สยามพารากอนได้เนรมิตพื้นที่บริเวณ พาร์ค พารากอน ให้กลายเป็นไชน่าทาวน์ แลนด์มาร์คของการถ่ายภาพใจกลางเมือง ตระการตาด้วยสถาปัตยกรรมจำลองแบบจีน ด้านหน้าทางเข้าออกแบบเป็นซุ้มประตูวิหารสุดอลังการ ประดับตกแต่งด้วยโคมไฟและประติมากรรมเสริมสิริมงคล ส่วนด้านในจัดให้มีมุมถ่ายภาพ และตื่นตาไปกับมังกรทอง LED ตัวแทนของพลังอันยิ่งใหญ่แห่งธรรมชาติ ขนาดความยาว 69 เมตรที่จะมาปรากฎตัวอย่างยิ่งใหญ่ และร่วมเสี่ยงเซียมซีออนไลน์ โดยได้รับคำทำนายจากซินแสชื่อดัง

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมไฮไลท์ จากศิลปินชั้นครู อาจารย์หลี่หยาง พระอาจารย์ที่ได้รับเลือกให้ถวายการสอนกู่เจิงแด่ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ร่วมบรรเลงบทเพลงอันไพเราะ และรับอักษรจีนมงคลจากปรมาจารย์พู่กันจีน เหล่าซือ นพพล ไวทยะชาติ ที่จะมาร่วมอำนวยพรด้วยศาสตร์และศิลป์จากปลายพู่กันจีนแก่ผู้ร่วมงานฟรี!!

ร่วมฉลองตรุษจีนปีขาล และกระตุ้นเศรษฐกิจให้คึกคัก พร้อมรับความคุ้มค่ากับแคมเปญSiam Paragon Golden Prosperous Chinese New Year 2022 ” ตั้งแต่วันนี้ถึง 20 ก.พ.นี้ ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน  ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แฟนเพจ SIAMPARAGONSHOPPING หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-610-8000

 #SiamParagonGoldenProsperousChineseNewYear2022#SiamParagonChineseNewYear2022
#SiamParagon #WorldClassShoppingDestination

]]>
1371442
“สมาคมผู้ค้าปลีก” เสนอแผนกระจายวัคซีน ลดค่าน้ำ-ไฟ 50% หยุดดอกเบี้ย 6 เดือน https://positioningmag.com/1342753 Fri, 16 Jul 2021 06:48:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342753 สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เสนอมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการค้าปลีกและบริการ ทั้งมาตรการจัดการวัคซีนที่รวดเร็ว ลดค่าน้ำค่าไฟ 50% เป็นเวลา 6 เดือน พักชำระหนี้ และหยุดดอกเบี้ยเงินกู้ 6 เดือน เพื่อต่อลมหายใจ SME

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม ประกอบด้วยกลุ่มแรงงาน และผู้ประกอบการทั้งในและนอกระบบประกันสังคม มีระยะเวลาในการช่วยเหลือ 1 เดือน โดยครอบคลุม 10 กลุ่มอาชีพ รวมทั้งลดค่าน้ำค่าไฟแก่ประชาชนทั่วประเทศอีก 2 เดือน เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของลูกจ้าง นายจ้างและประชาชนที่ได้รับผลกระทบในช่วงล็อกดาวน์

ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า

“มาตรการภาครัฐครั้งนี้ออกมาได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมได้ดีขึ้นกว่าเดิม แต่สิ่งที่ต้องการจากรัฐบาลคือ การเร่งจัดหาและกระจายวัคซีนอย่างรวดเร็วและทั่วถึงให้กับบุคลากรของกลุ่มการค้าปลีกและบริการเพื่อให้การล็อกดาวน์ครั้งนี้ เจ็บแต่จบ และหากฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมาย ก็จะสามารถเปิดประเทศได้ อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวยังไม่เพียงพอ และควรครอบคลุมผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนทุกกลุ่ม รวมทั้งขยายระยะเวลาในการเยียวยาให้ยาวขึ้น พร้อมเร่งดำเนินการให้เงินเยียวยาถึงมือโดยทันที”

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ขอเสนอ 3 มาตรการ ดังนี้

1. มาตรการจัดหา และกระจายวัคซีนที่ชัดเจน

  • ใช้พื้นที่จุดฉีดวัคซีนที่ภาคค้าปลีกและบริการได้เตรียมไว้ทั่วประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
  • เร่งฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรของกลุ่มการค้าปลีกและบริการให้ทั่วถึง
  • สนับสนุนชุดตรวจ Rapid Antigen Test ให้กับธุรกิจในภาคค้าปลีกและบริการเพื่อนำไปตรวจเชิงรุกให้กับบุคลากรในบริษัท เป็นการลดความเสี่ยงของการระบาด

2. มาตรการช่วยเหลือ และเยียวยาผู้ประกอบการค้าปลีกและบริการ

  • ลดค่าน้ำ ค่าไฟ เพิ่มเป็น 50% เป็นระยะเวลา 6 เดือน
  • เพิ่มมาตรการพักหนี้ ช่วยลูกหนี้ในพื้นที่ล็อกดาวน์ จาก 2 เดือน เป็น 6 เดือน พร้อมหยุดคิดดอกเบี้ยเงินกู้
  • สนับสนุนให้ผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่เป็นผู้รับสินเชื่อ Soft Loan จากสถาบันการเงิน เพื่อนำไปให้กับผู้ประกอบการ SME

3. มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน

  • ปรับกลไกโครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” ให้เหมือนกับ โครงการ “ช้อปดีมีคืน” และเพิ่มวงเงินเป็น 100,000 บาท เพื่อกระตุ้นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง
  • ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมโดยจัดเก็บภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ตั้งแต่บาทแรกและห้ามขายสินค้าต่ำกว่าทุน
  • ปลดล็อกขั้นตอนการออกใบอนุญาตเหลือเพียง 1 ใบ (Super License) จากเดิมที่ต้องขอใบอนุญาตกว่า 43 ใบจาก 28 หน่วยงาน
  • ขยายเวลาโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับนักศึกษาจบใหม่ (Co-payment) ซึ่งจะสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2564 ออกไปอีก 1 ปี
  • ทดลองใช้ระบบการจ้างงานประจำเป็นรายชั่วโมง เพื่อสอดคล้องกับช่วงฟื้นฟูธุรกิจและเกิดการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้น
]]>
1342753
ทิศทาง “กรุงไทย” หลังพ้นรัฐวิสาหกิจ วางจุดยืน “แบงก์พาณิชย์ของรัฐ” https://positioningmag.com/1309417 Mon, 07 Dec 2020 12:03:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309417 กรุงไทย (KTB) กำลังเดินสู่ก้าวใหม่ หลังคณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความสถานะของธนาคารว่าพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ ในช่วงเวลาเดียวกัน ต้องเผชิญกับความท้าทายของธุรกิจเเบงก์” ในยุคดิจิทัล ฝ่าฟันวิกฤตเศรษฐกิจจากพิษ COVID-19 

การประกาศจะเป็น “เเบงก์ของคนต่างจังหวัด” เข้าถึงชุมชนในไทย เเละรองรับมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ของรัฐ ก็เป็นอีกหนึ่ง “งานหิน” ที่ต้องพัฒนาต่อไปเช่นกัน วันนี้เรามาฟังทิศทางต่อไปของกรุงไทยชัดๆ จากเอ็มดี KTB กัน 

ชูจุดเด่น “เเบงก์พาณิชย์ของรัฐ” 

ประเด็นการพ้นสภาพรัฐวิสาหกิจผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ยืนยันว่า การเปลี่ยนเเปลงดังกล่าวเป็นเป็นการเปลี่ยนที่รูปแบบ เเต่ไม่ได้เป็นสารสำคัญ 

เรื่องนี้ไม่ได้มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของกรุงไทยเเต่อย่างใด เพราะเราวางตัวเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐมาโดยตลอด เเละจะไม่มีการปลดพนักงานออก

โดยผยงอธิบายเพิ่มว่า เเม้ธนาคารกรุงไทยจะพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจเเล้ว ตามการตีความด้วยสถานะ เเต่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในภาคปฏิบัติยังคงเป็นธนาคารพาณิชย์ของกระทรวงการคลังของรัฐบาล ที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) และกระทรวงการคลัง ถือหุ้นใหญ่กว่า 55% มานานกว่า 30 ปีเเล้ว ซึ่งทุกอย่างก็ยังอยู่เหมือนเดิม 

ด้านเงินฝากของหน่วยงานรัฐรัฐวิสาหกิจนั้น ทางกระทรวงการคลังได้เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจฝากเงินกับธนาคารกรุงไทยต่อไปได้ ส่วนผลกระทบด้านอื่นๆ ก็ทยอยความชัดเจนออกมาต่อเนื่อง

ผู้บริหารกรุงไทยเน้นว่าการปฏิบัติงานต่างๆ เหมือนเดิม ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม

ตอนนี้เราค้นพบตัวเอง หาทางเดินที่เหมาะสม โดยการเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐเเห่งเดียวของประเทศไทยที่วางสถานะให้เเข่งขันกับเเบงก์ใหญ่เจ้าอื่นๆ ได้ อยากให้ความมั่นใจเเละไม่ต้องกังวล

-ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย

ส่วนกระเเสข่าวที่ว่าจะเป็นการฉวยโอกาสเพื่อเอาพนักงานออกนั้นไม่ใช่เรื่องจริง

โดยการพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ ในด้านสวัสดิการพนักงาน มีเพียงเรื่องเดียวที่จะเปลี่ยนคือ เรื่องการรักษาพยาบาล เนื่องจากพนักงานรัฐวิสาหกิจนั้นจะอยู่ภายใต้ พ... งบประมาณฯ ไม่ต้องเข้า พ... ประกันสังคมเหมือนเอกชน

เเต่เมื่อพ้นสภาพมาเเล้ว ผยงกล่าวว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะเเต่เดิมกรุงไทยก็ไม่ได้ใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดินในการดำเนินงาน ดังนั้นธนาคารจะแก้ไขระเบียบภายในให้สามารถปรับการรักษาพยาบาลของพนักงานให้คงสิทธิ์เช่นเดิมได้ โดยได้หารือกับสหภาพเเรงงานถึงการเปลี่ยนเเปลงดังกล่าวเเล้ว เเละเป็นไปด้วยดี

เราจะยืนอยู่บนตัวตนของเรา เป็นพันธมิตรกับรัฐบาล จับมือกับพาร์ตเนอร์อื่นๆ ที่เข้าใจเราเเละเราเข้าใจเขา ทุ่มลงทุนเทคโนโลยี เเละศึกษาทางเลือกอยู่เสมอ

Photo : Shutterstock

เปลี่ยนบริการให้เป็นเซลส์ 

ช่วงที่ผ่านมา กรุงไทยเริ่มปรับตัวครั้งใหญ่ ด้วยการขยับไปสู่การเป็น Personal Life Banking เข้าไปอยู่ในการใช้ชีวิตของผู้คน ผ่านการยึดโยงทางดิจิทัล เป็น One Stop Service เเละเป็น Omni-Channel 

เราจะเเบงก์ของคนต่างจังหวัด ใกล้ชิดชุมชน เเละจะต่อยอดให้เข้าถึงคนไทยให้ได้มากที่สุดต่อไป

ส่วนความท้าทายในการขับเคลื่อนองค์กรที่อยู่มานานนั้น ผยงตอบว่า คือการ ReskillUpskill เพิ่มทักษะยุคใหม่ให้พนักงาน รวมไปถึงการใช้ Data ที่ธนาคารมีอยู่มหาศาลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

โดยต่อไป กรุงไทย มีวิสัยทัศน์ธุรกิจ 5 เเนวทางหลักๆ ได้เเก่

  • ประคองธุรกิจหลัก ให้ก้าวผ่านช่วงวิกฤตโลก
  • สร้างธุรกิจใหม่ ที่ไม่ใช่เเค่ธุรกรรมธนาคารเเต่ขยายในน่านน้ำอื่นๆ
  • ใช้กระดาษน้อยลง ประหยัดพลังงาน ดำเนินงานสาขาอย่างเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม
  • หาพันธมิตรใหม่ๆ ร่วมมือกันสร้างนวัตกรรม เเละลงทุนในเทคโนโลยี
  • ยึดถือสโลเเกนกรุงไทยเคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน  ช่วยเหลือชุมชน SME เพิ่มทักษะให้พนักงาน

เรามีการเปลี่ยนบริการให้เป็นเซลส์ (การขาย) เช่น การเพิ่มบริการคอลเซ็นเตอร์ ด้านการทวงหนี้ ติดตามหนี้ ประเมินหลักทรัพย์ต่างๆ ไปให้บริการกับบริษัทอื่นเพื่อเป็นรายได้อีกช่องทางหนึ่ง

นอกจากนี้ เเต่เดิมกรุงไทยตั้งการใช้งบฯ การลงทุนไว้ที่ 1.4 หมื่นล้าน เเต่ปีนี้ใช้ไปได้เเค่ 7-8 พันล้านจากสถานการณ์โรคระบาด จึงคาดได้ว่าปีหน้าจะมีการทุ่มลงทุนมากขึ้นอย่างเเน่นอน โดยเฉพาะในส่วนดิจิทัล เพื่อรองรับมาตรการต่างๆ ของรัฐ อย่าง เเอปฯ เป๋าตัง เว็บไซต์ลงทะเบียนคนละครึ่ง เที่ยวด้วยกัน ฯลฯ เเละขยายฐานลูกค้าผู้ใช้เเอปพลิเคชัน Krungthai NEXT จากผู้ใช้ตอนนี้ 9.95 ล้านรายให้ได้ 12 ล้านรายในปีหน้า

ธนาคารกรุงไทย ได้แต่งตั้งให้ไปรษณีย์ไทยเป็น Banking Agent อย่างเป็นทางการ เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการทางการเงินให้สะดวกยิ่งขึ้น

ปี 2564 : ประคองธุรกิจ ดูแลสินเชื่อเก่าให้ดีและรอด

ธนาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบหนักจาก COVID-19 ทั้งด้านผลกำไรที่ลดลงเเละราคาหุ้นที่ตกต่ำ เเม้จะผ่านช่วงวิ
กฤตไปเเล้ว เเต่ปีหน้ายังมีความท้าทายสูง จากความเสี่ยงหนี้เสียเเละคนตกงาน

ไม่ใช่ปีเเห่งกำไร หรือปีเเห่งการเติบโต เเต่เป็นปีเเห่งการรักษาความเเสถียร เน้นดูแลสินเชื่อเก่าให้ดีและรอด ผยง ศรีวณิช กล่าวถึงทิศทางธุรกิจในปี 2564

โดยมองว่า แผนดำเนินงานในปีหน้าจะยังไม่เน้นการเติบโตของสินเชื่อใหม่มากนัก ตั้งเป้าการเติบโตไว้ที่ 2-3% ใกล้เคียงกับการขยายตัวของจีดีพีไทย

ผยง คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะหดตัวในกรอบ -6% ถึง -7 % ขณะที่ปี 2564 เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน จะขยายตัวได้ในกรอบ 2.0% ถึง 4.0%

เเม้เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวบ้างเเล้ว เเต่ประเทศไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน โดยเฉพาะการพึ่งพาการท่องเที่ยวที่มีสัดส่วนกว่า 10% ของจีดีพี เเต่ยังฟื้นตัวจำกัด ยังไม่สามารถว่าจะมีนักท่องเที่ยวกลับมาได้เท่าใดเเละเมื่อไหร่ ขึ้นอยู่กับการพัฒนาเเละกระจายจายวัคซีน

ดังนั้น ธนาคารจึงต้องเน้นไปที่การประคองเศรษฐกิจ นำเสนอบริการที่เเยกตามกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ระวังตลาด
เเรงงานที่ยังเปราบาง อัตราว่างงานสูง ระวังความเสี่ยงจากหนี้เสีย (NPL) ซึ่งตอนนี้ของ KTB อยู่ที่ราว 4% นิดๆรวมไปถึงความเสี่ยงจากหนี้ครัวเรือนด้วย

ประเทศไทยจะลดหนี้ครัวเรือนไม่ได้ หากไม่เพิ่มรายได้ให้ประชาชน…”

ช่วงที่ผ่านมา ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบขาก COVID-19 ที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือของกรุงไทย คิดเป็น 18% ของสินเชื่อรวมที่ระดับ 1.8 ล้านล้านบาท ถือว่าไม่มากนัก เมื่อเทียบกับธนาคารอื่นจะอยู่ที่ราว 30-40% ปัจจัยหลักๆ มาจากลูกค้าเป็นกลุ่มข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ที่ไม่ได้รับผลกระทบเรื่องรายได้ ส่วนสินเชื่อรายย่อยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เชื่อมโยงไปยังซัพพลายเชนธุรกิจอื่นๆ มากนัก

ภาครัฐยังเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้า ต้องกระตุ้นกำลังซื้อภาคครัวเรือนให้ความต่อเนื่อง ทั้งโครงการคนละครึ่ง เที่ยวด้วยกัน ช้อปดีมีคืน

ผยง บอกอีกว่า การเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุนของภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ จะเป็นแรงสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ และสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุน รวมถึงยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยในระยะยาว

@ลุยต่อคนละครึ่งคาดเเห่ลงเฟส 2 ถึง 10 ล้านคน

หนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ ณ ขณะนี้ คงหนีไม่พ้น โครงการคนละครึ่ง ที่ส่งเสริมให้พ่อค้าเเม่ค้ารายย่อยมีรายได้มากขึ้น โดยภาครัฐจะช่วยออกค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,000 บาท ตลอดระยะเวลาโครงการ ภายใต้วงเงินอุดหนุน 30,000 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 23 ..-31 .. (เฟสเเรก)

ล่าสุดเฟส 2” จะเริ่มให้ใช้สิทธิในวันที่ 1 .. – 31 มี.. 2564 ขยายวงเงิน 3,500 บาทต่อคน และเพิ่มวงเงินให้แก่ผู้ได้รับสิทธิในเฟสแรกอีก 500 บาทต่อคน เปิดให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ตั้งแต่วันที่ 16 ..นี้ เป็นต้นไป

เรากำลังเร่งฝ่ายไอทีให้ตรวจสอบเสถียรภาพ ไม่ให้เกิดปัญหาคอขวด แม้ว่าจะเปิดรับลงทะเบียนเพียง 5 ล้านคน แต่เชื่อว่าจะมีผู้สนใจมาลงทะเบียนสูงถึง 10 ล้านคน

โดยมีการปรับปรุงระบบการลงทะเบียนหน้าเว็บไซต์ ให้สามารถรองรับผู้ใช้งานได้มากขึ้นจาก 200,000 คน ต่อการเข้าใช้งาน 1 ครั้ง เป็น 500,000-1,000,000 คน ต่อการใช้งานในแต่ละครั้ง พร้อมประสานกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในการเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วของระบบการส่งข้อความยืนยัน โอทีพี (OTP) ผ่าน SMS

ส่วนผู้เข้าร่วมโครงการในเฟสเเรก แล้วต้องการต่อสิทธิ์อัตโนมัติรัฐบาลจะมีการเพิ่มปุ่มหรือส่งข้อความให้ผู้ลงทะเบียนเฟส 1 ยืนยันว่าจะเข้าร่วมมาตรการต่อในเฟส 2 หรือไม่ ขณะที่ผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์จากโครงการคนละครึ่ง เฟสเเรก เนื่องจากไม่ได้ใช้จ่ายภายใต้โครงการภายในวันที่กำหนดไว้ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเฟส 2 ได้ 

สำหรับโครงการคนละครึ่ง วันที่ 2 ธันวาคม 2563 มีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 8.9 แสนร้านค้า และมีผู้ใช้สิทธิแล้วจำนวน 9.5 ล้านคน มียอดการใช้จ่ายสะสม 33,754 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 17,236 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 16,518 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 181 บาทต่อครั้ง 

ส่วนจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา นครศรีธรรมราช ชลบุรี และเชียงใหม่ โดยผู้ประกอบการร้านค้ายังคงสมัครเข้าร่วมโครงการได้อย่างต่อเนื่อง

 

 

 

]]>
1309417
“ช้อปดีมีคืน” ช่วยได้ แต่ยังไม่สุด! “เดอะมอลล์” หนุนรัฐเปิดรับนักท่องเที่ยวเพิ่ม https://positioningmag.com/1307392 Tue, 24 Nov 2020 08:54:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307392
  • เดอะมอลล์ กรุ๊ป ประเมินกำลังซื้อไตรมาส 4 ปีนี้กระเตื้องขึ้นจากแคมเปญภาครัฐ “ช้อปดีมีคืน” และ “คนละครึ่ง” พบลูกค้าของเครือ 25% ร่วมโครงการช้อปดีมีคืน คาดสถานการณ์ค้าปลีกไทยจนถึงสิ้นปีหดตัว -6% ซึ่งน้อยลงกว่าเดิมที่คาดว่าจะหดตัว -7.8-7.9%
  • ขณะที่ยอดขายของเดอะมอลล์ กรุ๊ป น่าจะแตะเป้า 50,000 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน -4% โค้งท้ายปีบริษัทเตรียมงบ 250 ล้านบาทอัดโปรโมชันจัดเต็ม แม้ลดจำนวนอีเวนต์ลง
  • อย่างไรก็ตาม มองยาวถึงปี 2564 สถานการณ์ค้าปลีกน่าจะยังติดลบ หากรัฐบาลยังไม่มีนโยบายรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศเพิ่ม
  • “วรลักษณ์ ตุลาภรณ์” ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า กำลังซื้อผู้บริโภคช่วงไตรมาส 4/63 เห็นสัญญาณบวกตั้งแต่เดือนตุลาคม และยิ่งได้แรงกระตุ้นจากภาครัฐ ทั้งแคมเปญ “ช้อปดีมีคืน” และ “คนละครึ่ง” ทำให้ยอดขายดีขึ้น

    โดยพบว่าลูกค้าเดอะมอลล์ กรุ๊ป 25% จะใช้สิทธิช้อปดีมีคืน วัดจากการขอใบกำกับภาษี ซึ่งสัดส่วนนี้เก็บข้อมูลจากช่วง 10 วันแรกหลังรัฐประกาศใช้นโยบาย แต่เชื่อว่าจนถึงสิ้นปีจะมีลูกค้าสัดส่วน 35% ที่ร่วมโครงการช้อปดีมีคืน เพราะเริ่มทราบข้อมูลนโยบายมากขึ้น และศูนย์การค้าจะมีโปรโมชันกระตุ้นควบคู่กันในช่วงเดือนธันวาคมนี้

    “ภาพรวมค้าปลีกปีนี้น่าจะจบที่ -6% ซึ่งดีขึ้นจากเดิมคาดว่าจะติดลบ -7.8-7.9% เพราะภาครัฐมีมาตรการช่วย และเอกชนต่างก็ร่วมด้วยช่วยกันในการใช้แคมเปญทิ้งโค้งท้ายปี ทำให้ลูกค้าหนึ่งคนจะได้โปรโมชันหลายต่อมาก” วรลักษณ์กล่าว

    “วรลักษณ์ ตุลาภรณ์” ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด

     

    เป้าหมาย 50,000 ล้าน อัดโปรโมชันท้ายปีแต่ลดอีเวนต์

    สำหรับเดอะมอลล์ กรุ๊ป ตั้งเป้าจะเพิ่มทราฟฟิก 20% จากช่วงเวลาปกติในเทศกาลช้อปปลายปี และวางเป้ายอดขายปี 2563 ไว้ที่ 50,000 ล้านบาท ซึ่งลดลง -4% จากปี 2562 ที่ทำได้ 52,000 ล้านบาท เห็นได้ว่าสถานการณ์ดีกว่าตลาดเล็กน้อย

    วรลักษณ์กล่าวถึงภาพรวมของเดอะมอลล์ กรุ๊ปปีนี้ พบว่าทราฟฟิกเข้าศูนย์ฯ ที่ไม่ได้อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังปกติ แต่ลูกค้ามีการใช้จ่ายต่ำลง ทำให้ยอดขายลดลงบ้าง

    “ปีนี้โจทย์ไม่เหมือนปีก่อนๆ ที่แต่ละแห่งช่วยกันเร่งให้กำลังซื้อโต แต่ปีนี้เป็นการ ‘switch’ คือทำอย่างไรให้ลูกค้าที่มีงบการซื้อเท่าเดิมมาเลือกใช้งบนั้นกับเราเป็นหลัก” วรลักษณ์กล่าว

    ของสมนาคุณในเทศกาลช้อปปิ้ง Happier Together 2021 ของ เดอะมอลล์ กรุ๊ป

    ดังนั้น โค้งท้ายปีซึ่งเป็นเทศกาลช้อปปิ้งจะเป็นช่วงสำคัญ เดอะมอลล์ กรุ๊ปได้จัดสรรงบการตลาดไว้อัดในช่วงนี้ 250 ล้านบาท ยาวตั้งแต่ 30 พ.ย. 63 – 6 ม.ค. 64 รวมส่วนลดและของรางวัลมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท มีรางวัลใหญ่สุดคือช้อปครบทุก 1,000 บาทได้สิทธิลุ้นรับรถยนต์ Toyota Majesty มูลค่ากว่า 1.9 ล้านบาท

    พร้อมกับจะมีการจัดอีเวนต์อีกหลายงานในศูนย์ฯ ทั่วประเทศ โดยมีงานที่จะเป็นแลนด์มาร์กในช่วงนับถอยหลังส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2021 คือ The Mall Korat Countdown Presented by Singha ปีนี้จัดมินิคอนเสิร์ตจาก “จินตหรา พูนลาภ” และวง Tattoo Color จับแฟนเพลงทั้งสองแนวไว้ในเวทีเดียว

    อย่างไรก็ตาม วรลักษณ์ยอมรับว่าปีนี้มีการลดงบการตลาดลงจากไตรมาส 4 ปีก่อนเคยใช้งบถึง 400 ล้านบาท ส่วนที่ยังอยู่ครบคือโปรโมชันกระตุ้นการจับจ่าย แต่อีเวนต์มีการลดจำนวนการจัดงานลงราวครึ่งหนึ่ง จะเน้นการจัดงานในศูนย์ฯ ที่มีศักยภาพเป็นหลัก เช่น เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน ซึ่งรีโนเวตเสร็จใหม่ทำให้ลูกค้าต้องการมาเยี่ยมชมอยู่แล้ว หรือ เดอะมอลล์ บางแค ซึ่งได้อานิสงส์จากรถไฟฟ้า MRT เปิดบริการปีนี้ จึงมีทราฟฟิกสูงขึ้น

     

    วอนรัฐเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวเพิ่ม

    อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงปี 2564 วรลักษณ์มองว่าสถานการณ์อาจจะติดลบน้อยลง แต่จะยังไม่กลับมาเป็นบวกแน่นอน หากยังไม่มีความคืบหน้าเรื่องการเปิดรับนักท่องเที่ยวเพิ่มจากที่มีในปัจจุบัน

    “จะหยุดติดลบต้องรอให้เปิดประเทศ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่คนไทยจะใช้จ่ายมากจนชดเชยส่วนที่นักท่องเที่ยวหายไปได้” วรลักษณ์กล่าว

    “Expat Fair : Expat Festive Deal 2020” เพิ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 22 พฤศจิกายน 2563 โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่ศูนย์ฯ เอ็มควอเทียร์ เจาะกลุ่ม Expat โดยตรง

    นักท่องเที่ยวที่เคยเข้ามาปีละ 30-40 ล้านคน ทำให้กำลังซื้อส่วนนี้หายไปอย่างมาก แม้ว่าคนไทยกระเป๋าหนักที่ไม่สามารถออกไปเที่ยวต่างประเทศได้ จะหันมาช้อปในประเทศทดแทนโดยเฉพาะกลุ่มแบรนด์เนม แต่ก็ยังไม่สามารถชดเชยได้ทั้งหมด

    สำหรับเดอะมอลล์ กรุ๊ป จะมีศูนย์การค้าที่กระทบแรงจากกลุ่มนักท่องเที่ยวหดหายคือ “สยามพารากอน” ซึ่งปกติมีนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนคิดเป็น 40% และ “เอ็มโพเรียม-เอ็มควอเทียร์” ปกติมีนักท่องเที่ยวและกลุ่ม expat สัดส่วน 20% รวมไปถึง “บลูพอร์ต หัวหิน” ก็ซบเซามากเช่นกัน ส่วนเดอะมอลล์นั้นกระทบน้อย มีนักท่องเที่ยวไม่ถึง 5% เพราะสาขาของเดอะมอลล์ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลขอบเมือง ชานเมือง อยู่แล้ว

    วรลักษณ์แจกแจงว่า นักท่องเที่ยวที่หายไปไม่ได้มีผลกระทบทางตรงเท่านั้น แต่ยังมีผลทางอ้อมกับคนไทยที่อยู่ในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องต่างๆ เช่น การบิน โรงแรม โรงพยาบาลเอกชนที่รับคนไข้ต่างชาติ ร้านอาหารกินดื่มในย่านต่างชาติ คนกลุ่มนี้จะขาดกำลังซื้อไปมาก

    ดังนั้น มาตรการรัฐที่มีขณะนี้ถือว่าดีและทั่วถึงกับคนไทยทุกคนแล้ว แต่หวังว่าปีหน้าจะมีนโยบายขยายรับนักท่องเที่ยวกลุ่มพิเศษมากขึ้น เช่น นโยบาย Travel Bubble กับบางประเทศ

    “มีนักท่องเที่ยวมากมายที่อยากจะเข้ามา เพียงแต่เราต้องมีมาตรการที่เขาเข้ามาแล้ว คนในประเทศเรายังสุขภาพดี มันไม่ง่าย แต่ก็คงไม่ยากจนเกินไป” วรลักษณ์กล่าว

    ]]>
    1307392