ซิงเกอร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 16 Sep 2021 14:14:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ผ่อนทองผ่านไลน์’ CLICK2GOLD น้องใหม่จากค่ายซิงเกอร์-ออโรร่า จับนิวเจนสายฟรีแลนซ์ https://positioningmag.com/1352182 Thu, 16 Sep 2021 13:10:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352182 ทางเลือกการลงทุนยุคโควิดกับ ‘CLICK2GOLD’ ผ่อนทองผ่านเเพลตฟอร์มไลน์ นานสูงสุด 24 เดือน มุ่งจับตลาดนิวเจนสายฟรีแลนซ์ยูทูบเบอร์อินฟูลฯขยายช่องทางออนไลน์ หาลูกค้าใหม่ต่อยอดฐานเก่าซิงเกอร์ ตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อรวมโตเเตะหมื่นล้านปีนี้

CLICK2GOLD เปิดตัวมาด้วยสโลเเกนผ่อนทองสะดวก รับทองสบายเป็นบริการใหม่ล่าสุดจากเอสจี แคปปิตอลบริษัทในเครือซิงเกอร์ ที่ร่วมมือกับออโรร่าเจ้าของธุรกิจค้าทองคำและเครื่องประดับเพชรรายใหญ่ เปิดให้บริการบนแพลตฟอร์มไลน์ (LINE)

ไม่มีเงินก้อน เลือก ‘ผ่อนทอง’ ช่วงโควิด

อย่างที่ทราบกันดีว่า ‘ทองรูปพรรณ’ เป็นสินค้าที่กลุ่มลูกค้าทั่วไปต้องการ เพราะเป็นเครื่องประดับที่คนไทยนิยมซื้อไว้เพื่อสวมใส่ ควบคู่กับเป็นการเก็บออมทรัพย์สินและการลงทุน

กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด บริษัทในเครือซิงเกอร์ (SINGER) กล่าวว่า ในสถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดเยื้อเป็นเวลานาน ก็มีส่วนทำให้คนไทยหันมาให้ความสำคัญกับการเก็บออมและการลงทุน เพื่อรับความเสี่ยงที่คาดไม่ถึงกันมากขึ้น เเละหนึ่งในนั้นก็คือทองรูปพรรณที่เป็นทั้งเครื่องประดับ เก็งกำไรเเละเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที

ด้านปัจจัยที่ส่งผลให้คนไทยหันมาผ่อนทองนั้น อนิพัทย์ ศรีรุ่งธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดบริษัทออโรร่า ดีไซน์ จำกัด อธิบายไว้ว่า

หลักๆ มาจากราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เเละการซื้อทองคำด้วยเงินสดที่ต้องใช้เงินก้อนใหญ่ๆ นั้นไม่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัวที่ผู้บริโภคต้องรัดเข็มขัด คนส่วนใหญ่จึงเลือกผ่อนชำระมากกว่า มองหาการวางแผนทางการเงินที่ยืดหยุ่น ปรับ เพิ่ม ลด วงเงินในการจ่ายค่าสินค้าได้

มีน้อยจ่ายน้อย ช่วงไหนมีมากก็จะจ่ายมากขึ้นได้ เเละวิธีการผ่อนยังช่วยลดความเสี่ยงด้านราคาทองในแต่ละช่วงเวลาได้

การที่ลูกค้าสามารถซื้อทองได้ง่ายขึ้นแม้มีรายได้น้อย หรือไม่มีเงินก้อน เลือกผ่อนทองได้ตามกำลังที่เหมาะสม เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การขยายช่องทางออนไลน์ของบริษัท เพราะช่องทางขายดังกล่าวสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ตลอดเวลา ใช้งานสะดวก รวดเร็ว เพียงมีบัตรประชาชนใบเดียว ก็สามารถเลือกผ่อนทองตามขนาดและระยะเวลาการผ่อนชำระที่เหมาะสมและยืดหยุ่น ผ่านช่องทาง LINE Official: SINGERCONNECT

โดยการเปิดตัว CLICK2GOLD ผ่านเเอปพลิเคชันไลน์นั้น ก็นับเป็นการปรับบริการเพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ก็ใช้ไลน์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันอยู่เเล้ว

ทั้งนี้ จากรายงาน Global Digital Report 2021 ของ We Are Social และ Hootsuite ระบุว่า มีคนไทยมากถึง 50 ล้านคนเป็นผู้ใช้งานไลน์ เเละด้วยวิกฤตโควิด-19 ก็เป็นปัจจัยเร่งให้คนไทยกว่า 69% เข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์ ซึ่งคนไทยนิยมช้อปปิ้งออนไลน์ติดอันดับ 4 ของโลกเลยทีเดียว

จับใจนิวเจนสาย ‘ฟรีเเลนซ์’ 

สำหรับกลุ่มเป้าหมายของ CLICK2GOLD นั้น จะครอบคลุมผู้บริโภคทุกระดับ ทั้งลูกค้าปัจจุบันของซิงเกอร์ ซึ่งประกอบอาชีพ ค้าขาย เกษตรกร ลูกจ้างรายวัน และผู้ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ปัจจุบันมีมากกว่าหนึ่งล้านราย

รวมไปถึงกลุ่มนิวเจนเนอเรชันที่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือฟรีแลนซ์ นักเรียน นักศึกษา กลุ่มคนคนรุ่นใหม่ประกอบอาชีพบนออนไลน์ เช่น ยูทูบเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ ฯลฯ

โดยช่องว่างโอกาสธุรกิจที่จะเจาะตลาดกลุ่มนี้ได้ คือ ส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ ไม่สามารถเข้าสู่ระบบสินเชื่อทั่วไป ไม่มีบัตรเครดิตหรือบัตรผ่อนสินค้าอื่นๆ หรือไม่มีใบรับรองเงินเดือน เเต่ในขณะเดียวกันคนกลุ่มนี้เอง ก็เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการจัดสรรเงินเพื่อผ่อนชำระสินค้าได้เป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถเป็นเจ้าของทองคำ สำหรับเป็นเครื่องประดับ การเก็บออมรวมทั้งเป็นการลงทุนได้ง่ายขึ้น

ดันพอร์ตสินเชื่อซิงเกอร์โตรวมหมื่นล้าน 

บริการ CLICK2GOLD จะให้บริการ ผ่อนทองขั้นต่ำ 450 บาทต่อเดือน โดยสามารถเลือกผ่อนชำระได้นานตั้งแต่ 6 เดือน ไปจนถึงสูงสุด 24 เดือน โดยตั้งเป้ามีผู้ใช้บริการจำนวน 10,000 ราย คิดเป็นพอร์ตสินเชื่อจำนวน 100 ล้านบาท

สำหรับผลประกอบการของเอสจี แคปปิตอลในเครือซิงเกอร์นั้น มีเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยปีละ 50% และในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีพอร์ตสินเชื่อจำนวน 8,569 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 29.8% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 โดยพอร์ตหลักเป็นพอร์ตสินเชื่อรถทำเงิน (C4C) 4,636 ล้านบาท ส่วนพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อ (Hire purchase) อยู่ที่ 3,933 ล้านบาท

การเปิดให้บริการเช่าซื้อใหม่ในกลุ่มทองคำ’ จึงเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ก้าวสู่ยุคใหม่ธุรกิจสินเชื่อซิงเกอร์โดยในปีนี้ บริษัทตั้งเป้ามีพอร์ตสินเชื่อรวมทุกกลุ่มเเตะ 10,000 ล้านบาท

 

 

]]>
1352182
U City ปรับทิศ เลิกทำ ‘อสังหาฯ’ เทขายโรงเเรมในยุโรป ทุ่มหมื่นล้าน ขอลุย ‘บริการทางการเงิน’ https://positioningmag.com/1349219 Mon, 30 Aug 2021 08:10:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349219 U City บริษัทลูกในเครือ ‘บีทีเอส กรุ๊ป’ ที่เคยมุ่งลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ 100% วันนี้ประกาศทรานส์ฟอร์มใหม่ ทยอยเทขายโรงแรมในยุโรป หลังเจอพิษโควิดฉุดท่องเที่ยวซบเซา ทุ่มหมื่นล้าน ขอลุย ‘บริการทางการเงิน’ 

กวิน กาญจนพาสน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ถึงการปรับตัวท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 นี้ ว่า “ทาง U City มีตั้งใจที่จะ ‘ยุติการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์”

เนื่องจากมองว่าธุรกิจอสังหาฯ โรงเเรมเเละออฟฟิศ ภายใน 3 -5 ปีนี้ ‘ไม่น่าจะทำกำไร’ จากผลกระทบของโรคระบาด ทำให้ธุรกิจมีรายได้ค่อนข้างต่ำ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่นักลงทุนต้องการ

ทางบริษัท จึงได้ประกาศขายธุรกิจโรงแรมที่เหลืออยู่ในยุโรปเกือบทั้งหมด รวมถึงขายแบรนด์เวียนนา เฮ้าส์ และส่วนหนึ่งของบริษัท แอ๊บโซลูท โฮเต็ล เซอร์วิส จำกัด เบื้องต้น คาดว่าธุรกรรมนี้ จะสร้างกำไรให้แก่บริษัทและจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้

กวิน บอกว่า การเทขายอสังหาฯ เเละโรงเเรมครั้งนี้ จะทำให้มีเงินทุนกลับมาประมาณ ‘หมื่นกว่าล้าน’ ซึ่งจะนำไปไปลงทุนในธุรกิจ ‘ไฟแนนซ์เชียล เซอร์วิส’ อย่างเจมาร์ท เเละซิงเกอร์

โดย U City เเจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย ว่า ได้ทำการเข้าซื้อหุ้น 24.9% ในบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ Singer จำนวน 7,000 ล้านบาท ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด และเข้าลงทุน 9.9% ในบริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ Jaymart จำนวน 4,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังขยายไปสู่ธุรกิจประกัน โดย U City ทุ่มเงินอีก 1,500 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้น 75% ในบริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ A Life พร้อมขยายฐานลูกค้าเเละช่องทางการจัดจำหน่าย ร่วมกับ วีจีไอ, ซิงเกอร์ และ เจเอ็มที รวมถึงพันธมิตรในเครือข่ายของกลุ่มบีทีเอส ที่มีทั้งธุรกิจระบบขนส่งมวลชน สื่อโฆษณา ธุรกิจบริการ

สถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 2 ปี ทำให้ U City ต้องปรับเเผนการดำเนินธุรกิจในระยะยาวครั้งใหญ่
“จุดเปลี่ยนครั้งนี้ จะพลิกฟื้นธุรกิจจากอุตสาหกรรมที่กำลังเป็นขาลง ให้ก้าวไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน” กวิน กล่าว

ในช่วงต่อไปนี้ U City จะดำเนินการขายพอร์ตอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ข้อตกลงและราคาที่สร้างผลกำไร เพื่อจะจัดสรรเงินทุนที่ได้รับไปต่อยอดธุรกิจบริการทางการเงินต่อไป

“อสังหาฯ เเละโรงเเรมที่เหลืออยู่ กำลังรอราคาที่ดี เพื่อขายให้ได้กำไร ไม่ใช่จะเร่งขายถูกในช่วงนี้”

ทั้งนี้ ต่อไปบริษัทจะมีการเปลี่ยนชื่อ ‘U City’ (ยูซิตี้) โดยจะให้ผู้ถือหุ้นเสนอชื่อบริษัทขึ้นมาใหม่ในเร็วๆ นี้

 

 

]]>
1349219
เจาะระดับตำบล “ซิงเกอร์” เร่งเปิดแฟรนไชส์ 7,000 สาขา หวังปั้นรายได้โต “7 เท่า” ปี 65 https://positioningmag.com/1245498 Fri, 06 Sep 2019 07:50:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1245498 “ซิงเกอร์” ถือเป็นแบรนด์สินค้าอายุกว่า 130 ปี ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี เริ่มจากจักรเย็บผ้า ปัจจุบันมีทั้งสินค้าและบริการของแบรนด์ซิงเกอร์ และที่ไม่ใช่แบรนด์ซิงเกอร์ การทำตลาดในช่วง 3 ปีนี้ คือการเข้าถึงผู้บริโภคลงลึกระดับ “ตำบล” ด้วยเป้าหมายเปิดร้านแฟรนไชส์ให้ครบ 7,000 สาขา

กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER กล่าวว่าแผนธุรกิจในช่วง 3 ปีนี้จะขยายสาขาหรือ “ร้านซิงเกอร์” ให้ครอบคลุมทั่วประเทศถึงระดับตำบล ด้วยการขาย แฟรนไชส์ให้กับผู้ที่สนใจร่วมธุรกิจ โดยตั้งเป้าขยายแฟรนไชส์หรือสาขาย่อยให้มีประมาณ 300 สาขาหลัก และ 7,000 สาขาย่อย ครอบคลุม 925 อำเภอ รวม 77 จังหวัด ภายในปี 2565 เพื่อสร้างกรเติบโตมีรายได้เพิ่มเป็น 7 เท่า ภายในปี 2565

จากปัจจุบัน ซิงเกอร์ มีสาขารวมกัน 1,051 สาขา แบ่งเป็นร้านสาขาหลัก 182 สาขา ร้านแฟรนไชส์หรือสาขาย่อย 869 สาขา ครอบคลุม 763 ตำบล จาก 475 อำเภอ ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ ขาดจังหวัดเดียวคือ แม่ฮ่องสอนที่จะเปิดเร็วๆ นี้ หลังจากที่เคยมีสาขาและปิดไปก่อนหน้านี้

โดยวางเป้าหมายต้องเปิดสาขาได้ประมาณ 150 สาขาต่อเดือนจากนี้ เพื่อให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมาเปิดสาขาเฉลี่ย 120 – 140 สาขาต่อเดือน ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปี 2562 จะมีรวมเป็น 200 สาขาหลัก กับอีก 2,000 สาขาย่อย

โมเดลแฟรนไชส์ของซิงเกอร์ จะไม่มีการเก็บค่าแรกเข้า ค่าธรรมเนียมรายปี ไม่ต้องลงทุนในการซื้อสินค้าไปสต๊อก ได้เป็นเจ้าของกิจการของตนเอง ในแต่ละโมเดลจะใช้ยอดขายเป็นเกณฑ์ในการแบ่งรายได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดรูปแบบร้าน การวางสินค้า และการคิดคำนวณค่าตอบแทนการขายที่ไม่เหมือนกัน และขายสินค้าได้ทั้งในรูปแบบของระบบเงินสดและเงินผ่อน

สำหรับร้านแฟรนไชส์ มี 3 รูปแบบและเงื่อนไขต่างกันไปแต่หลักๆ คือ 1. แบบสแตนดาร์ดหรือมาตรฐาน จะมีรายได้คือ 6% จากยอดขาย และค่าบริการเก็บเงินอีก 5 – 10% 2. แบบพรีเมียม รักษายอดขายไว้ที่ 3 แสนบาทต่อเดือน ค่าบริหารงานขาย 8% และค่าบริหารการเก็บเงิน 5 – 10% และ 3. แบบพาร์ทเนอร์ มียอดขาย 6 แสนบาทต่อเดือน ค่าบริหารงานขาย 10% และค่าบริหารการเก็บเงิน 5 – 10%

“ผู้เป็นแฟรนไชส์ไม่ต้องซื้อสินค้าจากเรา ไม่ต้องมีสต๊อก เพียงแต่มีคนค้ำประกันให้เท่านั้น ตามวงเงินที่รับสินค้าไป แต่จะมีรายได้จากการขาย การสร้างทีมขาย การบริหารบัญชีลูกค้าของตนเอง ขายสินค้าได้ทั้งระบบเงินสดและเงิน ผ่อน โดยจะได้รับเงินสัปดาห์ละ 2 ครั้งเข้าบัญชี และทุกสิ้นเดือนจะได้รับส่วนแบ่งที่เป็นอินเซนทีฟ บริษัทจะเป็นผู้ดูแลด้วยการนำระบบที่ใช้งานได้ทันทีผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ และมีทีมงานบริหารหลังบ้าน (back office) คอยสนับสนุน”

สำหรับสินค้าและบริการมี 2 – 3 ระดับและมีสัดส่วนรายได้ยอดขายคือ 1. การทำคาร์ฟอร์แคชหรือนอนซิงเกอร์ มีสัดส่วน 50% และ 2. การขายสินค้าแบรนด์ซิงเกอร์ ซึ่งจ้างผลิตทั้งหมด มีสัดส่วน 50% แต่ในแง่สินค้านั้นมี 3 กลุ่ม คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ทีวี ตู้เย็น แอร์ เครืองซักผ้า สัดส่วน 65%, กลุ่มหยอดเหรียญ ตู้แช่ สัดส่วน 30% และกลุ่มมือถือ 5%

โดยวางเป้าหมายจะปรับสัดส่วนเป็น กลุ่มนอนซิงเกอร์ 65% และ การขายสินค้าแบรนด์ซิงเกอร์ 35% ในปีหน้า และภายในปี 2565 จะเป็นนอนซิงเกอร์หรือการปล่อยสินเชื่อ 75% ส่วนแบรนด์ซิงเกอร์ 25%

ปัจจุบันมียอดสินเชื่อจากลูกหนี้หรือลูกค้าประมาณ 4,000 ล้านบาท โดยมีวงเงินหนี้สำรองประมาณ 20 – 30 ล้านบาทต่อเดือน และจะเพิ่มเป็น 6,000 ล้านบาทในปีหน้า และปี 2565 จะเพิ่มเป็น 8,000 ล้านบาท

Source

]]>
1245498