ดราม่าชาวจีนบอยคอต – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 06 Aug 2021 04:14:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กระแสบอยคอตทำรายได้ Q2 ‘Adidas’ ในจีนลด -16% แต่ภาพรวมทั่วโลกยังเติบโต https://positioningmag.com/1345504 Thu, 05 Aug 2021 14:38:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345504 แม้ผลประกอบการไตรมาสแรกของ ‘อดิดาส’ (Adidas) ในจีนจะเติบโตได้ 156% แต่ผลจากการถูกแบนจากประเด็นการแสดงความเห็นว่าจีนนั้นละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์ก็มาส่งผลในผลประกอบการไตรมาส 2 ที่ -16% อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการทั่วโลกของอดิดาสยังสามารถเติบโตได้ถึง 55%

อาดิดาสได้เปิดเผยผลประกอบการในไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นในทุกตลาดโดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ยกเว้นประเทศจีน โดยมีอัตรารวมเติบโตได้ 55% จากปีก่อนหน้า มีรายรับสุทธิที่ 397 ล้านยูโร (470 ล้านดอลลาร์) ตรงกันข้ามกับยอดขาดทุนสุทธิ 295 ล้านยูโร เมื่อปีที่แล้ว

“เราเห็นตลาดอเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกา และยุโรปมีการเติบโตที่แข็งแกร่งมาก และแม้เราจะเห็นความไม่แน่นอนในตลาดจีน แต่มั่นใจมากว่าตลาดจีนจะยังประสบความสำเร็จได้ในปีนี้” Kasper Rorsted CEO Adidas กล่าว

เนื่องจากสถานการณ์โควิดที่ดีขึ้นในหลายประเทศ ทำให้ยอดขายออนไลน์ -14% ในไตรมาสที่สอง โดยอดิดาสระบุว่ายอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2020 เมื่อตลาดหลายแห่งปิดตัวลง ซึ่งยอดขายที่ลดลงถือว่ายอดขายออนไลน์กำลังอยู่ในช่วง ‘ปกติ’ จากระดับที่ผิดปกติที่เห็นในปีที่แล้ว แต่ก็ยังหวังว่าจะได้เห็นการเติบโตของตลาดออนไลน์ในอนาคต

ในส่วนของตลาดจีน ยอดขายของอดิดาสลดลง -16% ซึ่งเป็นผลกระทบจากผู้บริโภคชาวจีนบางคนเริ่มคว่ำบาตรแบรนด์ต่างประเทศที่โจมตีว่าจีนใช้แรงงานชาวอุยกูร์ในซินเจียง

อย่างไรก็ตาม อดิดาสมองว่าภาพรวมทั้งปีจะสามารถเติบโตได้ถึง 20% โดยแรงสนับสนุนจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่กำลังจะมาถึงและผู้คนจำนวนมากขึ้นจะสามารถเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาสดได้

Source

]]>
1345504
โดนแบนแล้วไง ‘Adidas’ โชว์ยอดขายในจีนโต 150% แม้จะโดนคว่ำบาตรเพราะกรณีฝ้ายซินเจียง https://positioningmag.com/1331080 Fri, 07 May 2021 11:11:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331080 ช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สหรัฐฯ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และแคนาดา ได้กำหนดมาตรการคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีน 4 คน เพื่อตอบโต้การละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์ของจีน ซึ่งนั่นทำให้ชาวจีนไม่พอใจอย่างมาก จนนำไปสู่การ ‘แบน’ บรรดาแบรนด์ที่เคยออกมาแสดงความกังวลต่อการบังคับใช้แรงงาน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘Adidas’ (อดิดาส)

สรุปประเด็น ‘แบนฝ้ายซินเจียง’ สู่การแก้แค้นของลูกค้าจีน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Adidas จะถูกแบนก็ตาม แต่ผลประกอบการในไตรมาสแรกของประเทศจีนกลับเติบโตได้ 156% ขณะที่ยอดขายทั่วโลกเพิ่มขึ้น 20% เป็น 5.27 พันล้านยูโร ส่วนผลกำไรอยู่ที่ 558 ล้านยูโร (673.2 ล้านดอลลาร์) จากที่ปีที่แล้วมีกำไรเพียง 31 ล้านยูโร ซึ่งปัจจัยหนุนมาจากรายได้จากผู้บริโภคโดยตรงและอีคอมเมิร์ซ

บริษัทกล่าวว่า มีความมั่นใจมากขึ้นเกี่ยวกับยอดขายในปีนี้ เนื่องจากมีความต้องการผลิตภัณฑ์ทั่วโลกเกินคาด นอกจากนี้ยังมีแรงหนุนจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ รวมถึงการแข่งขันกีฬาสำคัญ ๆ เช่น ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก, ยูฟ่า ยูโรปา และโคปาอเมริกาจะช่วยสนับสนุนธุรกิจด้วย

Source : Facebook Adidas

และแม้ว่าในตลาดจีนจะถูกคว่ำบาตรก็ตาม Kasper Rorsted ซีอีโอของ Adidas กล่าวว่า เขายังคงคาดหวัง ”การเติบโตที่แข็งแกร่งมาก” จากประเทศจีนในปีนี้

“เรายังคงมั่นใจมากว่าเราจะยังคงสร้างตำแหน่งของเราในจีนซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเรา แต่แน่นอนว่ากรณีการใช้แรงงานชาวอุยกูร์นี่เป็นหัวข้อที่ละเอียดอ่อนและเรากำลังทำทุกวิถีทางเพื่อให้แน่ใจว่าสิทธิมนุษยชนได้รับการคุ้มครอง”

ทั้งนี้ Adidas ยืนยันว่า ไม่เคยผลิตสินค้าในซินเจียงและไม่มีความสัมพันธ์ทางสัญญากับซัพพลายเออร์ในซินเจียงใด ๆ ขณะเดียวกันในปีนี้ Adidas ยังได้เข้าร่วมกับองค์กร ‘Better Cotton Initiative’ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งเลือกที่จะระงับกิจกรรมในซินเจียงเมื่อปีที่แล้วเนื่องจากความกังวลเรื่องสิทธิมนุษยชน

CNBC / marketwatch

]]>
1331080
สรุปประเด็น ‘แบนฝ้ายซินเจียง’ สู่การแก้แค้นของลูกค้าจีน https://positioningmag.com/1325797 Wed, 31 Mar 2021 13:25:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325797 นาทีนี้คงไม่มีประเด็นอะไรจะร้อนแรงไปกว่าความขัดแย้งของ ‘ตะวันตก’ กับ ‘จีน’ ในเรื่องของ การละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์ อีกแล้ว ซึ่งความขัดแย้งดังกล่าวกำลังบานปลายกลายเป็นการทำสงครามการค้า มีการแบนแบรนด์ดังต่าง ๆ กันเยอะแยะวุ่นวายไปหมด ดังนั้น Positioning จะมาสรุปถึงที่มาที่ไปถึงความขัดแย้งที่นำไปสู่สงครามการค้ากัน

รู้จัก ซินเจียง ให้มากขึ้น

‘ซินเจียง’ หรือในชื่อเต็ม ‘เขตปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ ซินเจียง’ เป็นมณฑลที่อยู่ปลายสุดทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีนที่ขนาดพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 16 ของผืนแผ่นดินของประเทศจีน หรือมีเนื้อที่ใหญ่เป็น 3 เท่าของประเทศไทย โดยประชากรที่อาศัยอยู่ในซินเจียงนั้นมีประมาณ 19.25 ล้านคน ประกอบด้วยชนกลุ่มต่าง ๆ ผสมปนเปกันมากถึง 47 ชนชาติ โดยชนชาติที่มีจำนวนมากรองจากฮั่น ก็คือ อุยกูร์ (Uyghurs) ชนชาติที่ส่วนใหญ่พูดภาษาเตอร์กิช และนับถือศาสนาอิสลามกว่า 54%

ซินเจียง ถือเป็นพื้นที่ปลูกฝ้ายขนาดใหญ่สุดของจีน โดยมีอำเภอท้องถิ่นถึง 61 อำเภอที่ปลูกฝ้าย ขณะที่เกษตรกรเกือบครึ่งหนึ่งของซินเจียงมีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตฝ้าย โดยคิดเป็นสัดส่วนรายได้เกือบ 30% ของเหล่าเกษตรกร ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนระบุว่า ผลผลิตของฝ้ายซินเจียงอยู่ที่ 5.16 ล้านตัน คิดเป็น 87.3% ของการผลิตฝ้ายทั้งหมดในจีน โดยซินเจียงครองอันดับ 1 ในการผลิตฝ้ายถึง 25 ปีซ้อน และเป็นผู้ผลิตเบอร์ 2 ของโลก

ภาพจาก shutterstock

ค่ายกักกัน ประเด็นที่ถูกพูดมากที่สุด

ตั้งแต่อดีต ชาวอุยกูร์ถูกรัฐบาลคอมมิวนิสต์เลือกปฏิบัติในวงกว้างมาหลายปี ทั้งยังมีนโยบายสนับสนุนให้ชาวจีนฮั่นให้ย้ายถิ่นฐานเข้าไปในพื้นที่ ซึ่งทำให้เกิดความตึงเครียดกับชาวอุยกูร์ ก่อนจะลุกลามไปสู่ความรุนแรง ส่งผลให้เกิดการปราบปรามครั้งใหญ่ และเกิดโครงการเฝ้าระวังของรัฐ โดยเฉพาะประเด็นที่ถูกพูดถึงและตั้งคำถามจากนานาชาติเป็นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็คือ ‘ค่ายกักกัน’ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวอุยกูร์

โดยทางสหประชาชาติยืนยันว่ามีรายงานที่น่าเชื่อถือว่ามีประชาชนชาวอุยกูร์อย่างน้อย 1 ล้านคนถูกกักตัวไว้ในค่าย เพื่อปรับทัศนคติ นอกจากนี้ยังมีการ บังคับใช้แรงงานชาวอุยกูร์ในโรงงานสิ่งทอ อีกด้วย และไม่ใช่แค่นี้ แต่มีข่าวลือว่ามีการละเมิดความเป็นส่วนตัวต่าง ๆ เช่น ติดตั้งแอปพลิเคชันส่งข้อความที่เข้ารหัสทางโทรศัพท์ เพื่อดูเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา การล่วงละเมิดทางเพศ และการสังหารหมู่

แน่นอนว่ารัฐบาลจีนได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาต่าง ๆ โดยยืนยันว่าค่ายดังกล่าวเป็นเพียงโรงเรียนฝึกหัดอาชีพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการบรรเทาความยากจนของประเทศเท่านั้น โดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลซินเจียง กล่าวว่า “ภูมิภาคนี้ได้เอาชนะภัยคุกคามจากความรุนแรงของผู้ก่อการร้ายในอดีตด้วยเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง”

Photo by Yuan Huanhuan/VCG via Getty Images)

คว่ำบาตรจีน

หลังจากที่มีข่าวการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์ในปี 2020 รัฐบาลสหรัฐฯ นำโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้พิจารณาแบนสินค้าที่ใช้ฝ้ายจากมณฑลซินเจียงเป็นการตอบโต้ รวมถึงได้กำหนดมาตรการคว่ำบาตร เฉิน ฉวนกั๋ว (Chen Quanguo) เจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนในซินเจียง และช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สหรัฐฯ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และ แคนาดา ได้กำหนดมาตรการคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีน 4 คน ซึ่งนี่ถือเป็นท่าทีที่ชาติตะวันตกร่วมมือกันเพื่อส่งสัญญาณต่อต้านการใช้ความรุนแรงและละเมิดสิทธิมนุษยชนในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์

ส่วนรัฐบาลจีนออกมาตรการตอบโต้ท่าทีของชาติตะวันตก ผ่านการคว่ำบาตร 10 คน และหน่วยงาน 4 แห่งในยุโรป ซึ่งมีบทบาทจับตาสถานการณ์ในเขตปกครองซินเจียงอุยกูร์ โดยมีทั้งนักการเมืองเยอรมัน ซึ่งดูแลความสัมพันธ์กับจีนในสภายุโรป ไปจนถึงนักวิชาการที่ศึกษานโยบายจีนต่อเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์

ภาพจาก shutterstock

แบรนด์ใหญ่โดนขุด

การบอยคอตเจ้าหน้าที่จีนและการกล่าวหาเรื่องการใช้แรงงานชาวอุยกูร์ทำให้ประชาชนชาวจีนไม่พอใจอย่างมาก เนื่องจากหลายคนมองว่าทั้งหมดนั้นเป็นแค่ข่าวลือและเกมการเมือง จนเกิดแฮชแท็ก “I support Xinjiang cotton” เพื่อสนับสนุนให้ใช้ฝ้ายซินเจียงและสนับสนุนรัฐบาลจีน

นอกจากนี้ ยังนำไปสู่การ ‘ขุด’ และ ‘แบน’ แบรนด์ต่าง ๆ ที่เคยออกมาแสดงความกังวลต่อการบังคับใช้แรงงาน การละเมิดมนุษยธรรมในพื้นที่ซินเจียง รวมถึงแบรนด์ที่ระบุว่า จะไม่ใช้วัตถุดิบจากซินเจียง เพราะไม่สนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งรวม ๆ แล้วมีแบรนด์ในสหรัฐฯ และยุโรปอย่างน้อย 11 แบรนด์

ขณะที่เหล่าดารานักแสดงชื่อดังอย่างน้อย 30 คน ที่ประกาศยกเลิกสัญญากับแบรนด์เสื้อผ้าตะวันตก เช่น หวัง อี้ป๋อ, หวง ซวน, ซ่ง เชี่ยน หรือแม้แต่ ตี๋ลี่เร่อปา นักแสดงหญิงเชื้อสายอุยกูร์ก็ออกมาแสดงจุดยืนด้วย

ตี๋ลี่เร่อปา นักแสดงหญิงเชื้อสายอุยกูร์ (Photo by Getty)

H&M โดนหนักสุด

ตัวอย่างแบรนด์ที่กระทบหนัก ๆ ดูเหมือนจะเป็น H&M แบรนด์แฟชั่นรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกและอันดับ 4 ของจีนที่สาขาอย่างน้อย 6 แห่งในจีนถูกห้างสรรพสินค้าสั่งปิดแบบไม่มีกำหนด และร้านอีก 500 สาขาก็ค้นหาในแอปฯ นำทางไม่ได้ รวมถึงร้านค้าบนอีคอมเมิร์ซทั้งใน Tmall JD.com และ Pinduodu ก็ถูกถอดออกจากแพลตฟอร์มแล้ว

ส่วน Nike กับ Adidas ที่มีตลาดจีนเป็นตลาดสำคัญที่สุดในยุคหลัง COVID-19 ก็ไม่รอด โดยเหล่าชาวโซเชียลจีนได้ออมาไล่ให้แบรนด์ดังกล่าวออกจากจีน และจะหันมาสนับสนุนแบรนด์ท้องถิ่น เช่น หลี่หนิง (Li Ning) และ แอนท่า (Anta) แทน ยักษ์ใหญ่ค่ายมือถืออย่าง Huawei และ Xiaomi ประกาศระงับการดาวน์โหลดแอปฯ ของ Nike กับ Adidas เรียบร้อยแล้ว

แต่ก็มีบางแบรนด์ที่ไหวตัวทัน อย่าง MUJI แบรนด์แฟชั่นค้าปลีกสัญชาติญี่ปุ่นก็ออกมาระบุว่า MUJI สาขาจีนจะยังใช้สินค้าที่ผลิตจากฝ้ายซินเจียงต่อไป หรือล่าสุด แบรนด์ Hugo Boss และ Asics ก็สวนกระแสและยังยืนยันจะซื้อฝ้ายจากซินเจียง

H&M สาขาปักกิ่ง (Photo : Shutterstock)

บอยคอตจีน แต่เจ็บเอง?

นักวิเคราะห์มองว่าการที่ สหรัฐฯ, แคนาดา, อังกฤษ และอียูที่ออกมาตรการคว่ำบาตรนั้น เป็นแค่การแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์เป็นส่วนใหญ่ และคาดว่าไม่น่าจะกระทบเศรษฐกิจและพฤติกรรมของจีนมากนัก เพราะจีนเป็นผู้ผลิตฝ้ายที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก และอีกประเด็นคือ การที่บริษัทตะวันตกต้องทิ้งลูกค้า ‘คนจีน’ ที่มีทั้งจำนวนและกำลังซื้อมหาศาลนั้นคุ้มแค่ไหน

ก็ไม่รู้สถานการณ์จะจบลงอย่างไร เพราะประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ถูกพูดถึง แต่ที่แน่ ๆ คนที่ได้รับผลกระทบหนักสุดตอนนี้คงหนีไม่พ้น ‘แบรนด์’ ที่กำลังอ่วมเพราะรายได้ที่หดหายอยู่ตอนนี้

]]>
1325797
อย่าล้อเล่นกับพญามังกร! เมื่อ 3 แบรนด์เสื้อผ้าหรูต้องออกมาขอโทษจีน กรณีทำเสื้อยืดชูเอกราชฮ่องกง-ไต้หวัน-มาเก๊า https://positioningmag.com/1242074 Tue, 13 Aug 2019 04:19:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242074 กลายเป็นบทเรียนที่บรรดาแบรนด์หรูต้องจดจำอีก 1 กรณีว่าอย่าล้อเล่นกับพญามังกร เมื่อแบรนด์แฟชั่นสุดหรู Versace, Coach และ Givenchy ได้ขอโทษที่สร้างการรับรู้อย่างไม่ถูกต้องต่ออธิปไตยของจีน ด้วยเสื้อยืดที่มีการระบุชื่อฮ่องกงและไต้หวันเป็นประเทศ

Versace ถูกวิพากษ์วิจารณ์เมื่อวันอาทิตย์ สำหรับเสื้อยืดที่บอกเป็นนัยว่าฮ่องกงและมาเก๊ามีเอกราช ซึ่งขณะนี้ฮ่องกงกลายเป็นประเด็นที่อ่อนไหวเป็นพิเศษในจีนแผ่นดินใหญ่ ขณะที่ศูนย์กลางทางการเงินของเอเชียแห่งนี้ มีการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย

ในวันจันทร์มีภาพเสื้อยืด Coach ที่ระบุว่าไต้หวันและฮ่องกงไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน สร้างความไม่พอใจในโลกออนไลน์ นอกจากนั้น Givenchy ก็ทำผิดในลักษณะเดียวกัน ด้วยเสื้อยืดสีดำที่ระบุว่า ไต้หวันและฮ่องกงนั้นแยกออกจากจีนแผ่นดินใหญ่

ขณะนี้ทั้งสามแบรนด์แฟชั่นสุดหรูกำลังพยายามลดความเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาด

Coach ระบุผ่านแถลงการณ์ในวันจันทร์ (12 สิงหาคม) ว่าเสื้อผ้าที่มีความไม่ถูกต้องร้ายแรงถูกเก็บแล้ว และทางบริษัทตระหนักถึงความร้ายแรงของข้อผิดพลาดนี้และเสียใจอย่างสุดซึ้ง

ทางด้าน Versace ก็ขอโทษว่าเรารักประเทศจีนและเคารพในอำนาจอธิปไตยด้านดินแดนของจีนแบรนด์อิตาลีเขียนไว้ในโซเชียลมีเดีย Weibo ที่มีลักษณะคล้าย Twitter

Source

]]>
1242074
พลิกประวัติ Dolce & Gabbana ก่อนเจอดราม่าชาวจีนบอยคอต https://positioningmag.com/1199440 Sun, 25 Nov 2018 03:00:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1199440 Dolce & Gabbana กลายเป็นข่าวดังทั่วโลกเพราะชาวจีนไม่พอใจโฆษณาชุดใหม่และความเห็นที่เชื่อว่าเป็นของผู้ก่อตั้ง ล่าสุดแบรนด์ต้องล้มงานแสดงแฟชั่นโชว์ขนาด 500 ชุดในเซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา พร้อมกับการถูกคว่ำบาตรจากหลายฝ่ายทั้งบนโลกออนไลน์และออฟไลน์ สิ่งที่หลายคนลุ้นคือวิกฤตินี้จะมีผลต่อธุรกิจ Dolce & Gabbana อย่างไรในอนาคต โดยเฉพาะในแง่ของยอดขาย ซึ่ง Dolce & Gabbana เคยมีจุดยืนว่าไม่ใช่จุดประสงค์หลักเมื่อเริ่มก่อตั้ง เพราะจุดประสงค์หลักคือความรักในการทำงานและแฟชั่นชนิดเข้มข้น

บ้านเกิดของ Domenico Dolce และ Stefano Gabbana ถือว่าอยู่คนละฝั่งของประเทศ แต่ทั้ง 2 คนสามารถทำให้เกิดพลังน่าทึ่งได้ต่อเนื่องนับตั้งแต่แฟชั่นโชว์ครั้งแรกที่มิลาน โดย Domenico Dolce เกิดในเมือง Polizzi Generosa เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.. 2501 ครอบครัวเป็นเจ้าของธุรกิจเสื้อผ้าขนาดเล็กทำให้ Domenico คลุกคลีกับวงการเสื้อผ้าตั้งแต่เด็ก ขณะที่ Stefano Gabbana เกิดที่เมืองมิลาน วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.. 2505 แม้จะศึกษาด้านกราฟิกแต่ไม่นานก็หันไปเรียนด้านแฟชั่นแทน 

หลังจากช่วงเวลาไม่นานที่ได้ร่วมงานกันในฐานะผู้ช่วยผู้ออกแบบ ทั้งคู่ได้ก่อตั้งแบรนด์ Dolce & Gabbana ซึ่งมีการแสดงบนรันเวย์เป็นครั้งแรกภายใต้กลุ่ม New Talent ที่มิลานในปี พ.. 2528 ตามคำเชิญของโปรโมเตอร์ดังแดนมักกะโรนี Beppe Modenese

ทั้ง Domenico Dolce และ Stefano Gabbana ยืนยันเสมอว่าพวกเขาไม่ได้เริ่มสร้าง Dolce & Gabbana เพื่อเงินหรือหวังให้เป็นที่นิยม แต่พวกเขาเริ่มต้นจากความรักในการทำงาน และมีความปรารถนาหรือ passion ที่จะทำ แน่นอนว่า passion ในแฟชั่นและเสื้อผ้าสามารถสะท้อนออกมาได้อย่างเต็มที่ภายใต้แบรนด์ Dolce & Gabbana ส่งให้แบรนด์รุ่งเรืองต่อเนื่องหลายสิบปี

ไทม์ไลน์ Dolce & Gabbana

คอลเลกชั่นแรกปี 2529 ของ Dolce & Gabbana ใช้ชื่อว่า “Real Women” หลังความสำเร็จของการแสดงแฟชั่นโชว์ครั้งแรก คอลเลกชั่นชุดผู้ชายก็คลอดตามมา รวมถึงน้ำหอมซึ่งเป็นกลิ่น signature นั้นจำหน่ายเกลี้ยงที่ร้าน D&G ในอิตาลี ฮ่องกง และญี่ปุ่น

ปี 2530 เป็นจุดที่ Dolce & Gabbana เริ่มเปิดตัวชุดชั้นในสตรี ก่อนขยายมาเป็นชุดว่ายน้ำในปีต่อมา กระทั่งช่วงต้นปี 2531 จึงเริ่มผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ่านธุรกิจครอบครัวของ Domenico Dolce ทำให้คอลเลกชั่นแรกของ Dolce & Gabbana ปรากฏตัวขึ้นในปี 2533

ในปี 2537 แบรนด์ Dolce & Gabbana จึงเริ่มปรับมาเป็น street style และดูอ่อนเยาว์ขึ้น มีการเปลี่ยนฐานการผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อผ้าเป็นบริษัท Ittierre 

ไม่พอ Dolce & Gabbana แตกไลน์สู่สินค้ากลุ่มน้ำหอมด้วยการเปิดตัวน้ำหอมหลายรุ่นทั้ง Dolce & Gabbana Perfume, By Dolce & Gabbana และ Dolce & Gabbana Men หนึ่งในโฆษณาน้ำหอมของพวกเขาถูกกำกับโดยผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี Giuseppe Tornatore ซึ่ง Dolce และ Gabbana ใกล้ชิดสนิทสนมมากจนร่วมแสดงภาพยนตร์ด้วยในปี 2539 เรื่อง The Star Maker 

นอกจากน้ำหอม Dolce & Gabbana เริ่มทำแบรนด์ D&G และเริ่มออกแบบแว่นตา พร้อมกับเริ่มต้นธุรกิจซีดีเพลงภายใต้แบรนด์ D&G ทั้งหมดนี้ถือเป็นไทม์ไลน์สำคัญในวาระครบรอบ 10 ปี ซึ่งแบรนด์ดังเปิดตัวหนังสือ Ten Years of Dolce & Gabbana กระทั่งในปี 2542 แบรนด์ D&G Junior จึงถูกสร้างขึ้น โดยมีคอลเลกชั่นแสดงในงานแฟชั่นเด็ก Pitti Bimbo ในเมือง Florence ด้วย

ดีเอ็นเอของ Dolce & Gabbana

Dolce & Gabbana เป็นแฟชั่นเฮาส์ที่มีชื่อเสียงเพราะดีกรีของ Domenico Dolce และ Stefano Gabbana ที่ลือชื่อมากเรื่องการสร้างสไตล์และรูปลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งคู่ทำให้ดารานักแสดงมีความเป็นสตาร์ได้อย่างเจิดจรัส บน Collection ของทั้ง 2 คนที่สะท้อนถึงกลิ่นอายประเพณีอิตาเลียนคลาสสิก ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากยุคปี 60

จาก 30 ปีก่อนที่ 2 ดีไซเนอร์เริ่มต้นธุรกิจด้วยเงิน 1,500 เหรียญในกระเป๋า แต่ Dolce & Gabbana ก็ประสบความสำเร็จอย่างสูงทั้งในสินค้าชุดเสื้อผ้าและเครื่องประดับสำหรับผู้หญิง เชื่อกันว่าพื้นฐานของ D&G เกิดขึ้นได้เพราะนักออกแบบทั้ง 2 คนนี้เคยทำงานเป็นผู้ช่วยในแวดวงศิลป์ในเมืองมิลาน บวกกับแรงบันดาลใจจากยุคโบฮีเมีย ซึ่งสามารถสัมผัสได้ชัดเจนใน Collection ของทั้งคู่ การใช้สีโทนเข้มร่วมกับภาพพิมพ์รูปสัตว์ทำให้ D&G มีภาพ passion ติดตัวเรื่องการออกแบบเสื้อผ้าที่มีเรื่องราวเหมือนการสร้างภาพยนตร์

ภาพของ D&G ที่สื่อมอง คือการสร้างเรื่องราวขึ้นมาแล้วออกแบบเสื้อผ้าตามเรื่องราวนั้น D&G จึงมีเสื้อผ้าที่สะท้อนบทบาทหลากหลายไม่น่าเบื่อ เช่น ชุดสูทปักเข็มกลัดสไตล์เจ้าพ่อ หรือเสื้อโค้ดพิมพ์ลาย ที่มีเรื่องราวซ่อนไว้เหมือนภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง

ชุดสตรีของ D&G มักถูกนำไปใช้เป็นชุดให้นางแบบในแคมเปญโฆษณาชื่อดังหลายชิ้น D&G จึงเป็นที่รู้จักเรื่องการทำให้ผู้หญิงดูเซ็กซี่มีระดับ นำไปสู่ยุคทองของ D&G ที่ชัดเจน เพราะแม้ว่าจะมีแบรนด์ใหญ่เช่น Armani และ Versace เป็นเจ้าตลาด แต่ D&G ก็สามารถแทรกตัวขึ้นมาโดดเด่นแถวหน้าได้อย่างสง่างาม

ปี 2540 แบรนด์ดัง D&G ทำเงินได้มากกว่า 400 ล้านปอนด์ ข่าวดังในปีนั้นไม่ได้มีเพียงยอดขายเท่านั้น แต่ทุกคนช็อกเต็มที่เมื่อ Dolce และ Gabbana ประกาศแผนการของตัวเองว่าจะเกษียณในวัย 40 ปี

ความสัมพันธ์ที่โรแมนติกระหว่าง Dolce และ Gabbana สิ้นสุดลงไม่กี่ปีหลังจากนั้น แต่ความสัมพันธ์ทางธุรกิจนั้นแข็งแกร่งขึ้นทุกปี โดยยังสามารถทำ Collection สุดฮือฮาได้ในปี 2552 ซึ่งเป็นปีที่ D&G กล้าคิดกล้าทำนำเอาชุดนอนมาตับเย็บให้ดูหรูหราสำหรับใส่ไปทำงานหรืองานราตรี (ผลงาน Spring/Summer 2009)

ยอดขายเคยพุ่งและตกฮวบ

ระหว่างปี 2554 ถึง 2560 ยอดขายรวมของ Dolce & Gabbana เพิ่มขึ้นจาก 331.8 ล้านยูโร มาเป็น 991 ล้านยูโร อย่างไรก็ตาม ภาวะการเติบโตของ Dolce & Gabbana นั้นเริ่มสะดุดเพราะเริ่มคงที่ โดยยอดขายปี 2560 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2559 ที่ทำได้ 998 ล้านยูโร

ภาวะยอดขายลดลงของ Dolce & Gabbana นั้นไม่ใช่ครั้งแรก เพราะช่วงปี 2556-2558 นั้นยอดขายของ Dolce & Gabbana ลดตัวลง ประเด็นนี้ไม่แน่ชัดว่าเป็นเพราะความเห็นแง่ลบของ Domenico Dolce ที่ปลุกกระแสให้ชุมชน LGBTQI และคนอื่นต่อต้าน Dolce & Gabbana หรือไม่ เนื่องจากช่วงเวลานั้น Domenico Dolce ออกมาให้สัมภาษณ์โดยเรียกเด็กที่เกิดจากการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF จากบิดามารดาที่เป็นเพศเดียวกันว่าเด็กสังเคราะห์ซึ่ง Domenico Dolce ออกมาขอโทษในช่วง 5 เดือนต่อมา

ต้องรอลุ้นว่าครั้งนี้ ข่าวฉาวของ Stefano Gabbana จะทำให้รายได้ของ Dolce & Gabbana หล่นฮวบอีกหรือไม่ โดย Stefano Gabbana ถูกพาดพิงเพราะมีการเผยแพร่ข้อความได้ตอบโต้กับชาว Twitter รายหนึ่งถึงสาเหตุที่ Dolce & Gabbana ยอมลบคลิปชุดตะเกียบคีบ ว่าเป็นเพราะมีผู้บริหาร Dolce & Gabbana บางรายเกรงกลัวบารมีจีน พร้อมกับบอกว่าหากเป็นเขา จะไม่ลบแน่นอน 

ในข้อความของ Gabbana เขียนว่าผมจะบอกให้รู้ตรงนี้ว่า ประเทศจีนเป็นประเทศที่ … (อิโมติคอนรูปอุจจาระ)” ทำให้เกิดความโกรธแค้นทั่วสังคมจีน เบื้องต้น Dolce & Gabbana แถลงการณ์ว่าบัญชีของ Gabbana ถูกแฮก ซึ่งทำให้ความโกรธแค้นยิ่งระอุมากขึ้นจนทำให้สินค้า Dolce & Gabbana ถูกถอนออกจากเว็บไซต์ดังมากมาย รวมถึงร้านค้าในจีนขณะนี้

จนล่าสุด Domenico Dolce และ Stefano Gabbana ต้องอัพคลิป แถลงการณ์ขอโทษอย่างเป็นทางการว่า เป็นเพราะ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ และจะไม่ทำแบบนี้อีก

ไม่แน่ว่า การออกมาขอโทษในครั้งนี้จะช่วยให้วิกฤติแบรนด์ของ Dolce & Gabbana ที่เริ่มต้นมาด้วยความรักจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้หรือไม่.

ที่มา :


ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1199440