ตลาดขนส่งพัสดุ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 23 Dec 2022 09:42:53 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ถาม-ตอบ “ดร.ดนันท์” แม่ทัพ “ไปรษณีย์ไทย” กับน่านน้ำใหม่ที่จะใช้เครือข่าย “พี่ไปรฯ” ทำธุรกิจ https://positioningmag.com/1413815 Fri, 23 Dec 2022 08:58:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413815 ปี 2564 ที่ผ่านมาถือว่าโหดร้ายกับ “ไปรษณีย์ไทย” เป็นอย่างมาก จากผลประกอบการที่ขาดทุน ขณะที่ปี 2565 นี้ “ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์” แย้มๆ ว่าผลรวมทั้งปียัง ‘หนัก’ แต่เห็นสัญญาณที่ดีขึ้นในช่วง 2 เดือนสุดท้ายนี้หลังไปรษณีย์ไทยมีการปรับตัวชิงส่วนแบ่งตลาดสำเร็จ และองค์กรจะลุยต่อในปี 2566 เริ่มหา “น่านน้ำใหม่” ธุรกิจใหม่ที่ต่อยอดได้จากเครือข่าย “บุรุษไปรษณีย์” ที่เข้มแข็ง

สมรภูมิขนส่งพัสดุนั้นเป็นพื้นที่ที่ดุเดือดอย่างยิ่ง มองไปในตลาดมีทั้งสีเหลือง ส้ม แดง แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซก็มีบริษัทขนส่งของตนเอง ยังไม่นับฟลีทของบริษัทกระจายสินค้าต่างๆ ที่หันมาเปิดรับขนส่งให้รายย่อยเพิ่มอีก ตลาดแบบสุดยอด ‘เรดโอเชียน’ ท้าทายการดำเนินงานของ “ไปรษณีย์ไทย” มาตลอด จนปี 2564 เป็นปีที่องค์กรเห็นผลขาดทุน

ขณะที่ปี 2565 นั้น “ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด คาดว่าปีนี้ไปรษณีย์ไทยน่าจะมีการนำจ่ายพัสดุเฉลี่ย 4.5-5 ล้านชิ้นต่อวัน หรือคิดเป็นรายได้ประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี เทียบกับในอดีตแล้ว ไปรษณีย์ไทยเคยนำส่งพัสดุได้ถึง 8 ล้านชิ้นต่อวันเมื่อปี 2562

เหตุที่ปีนี้จะค่อนข้างหนักเพราะนอกจากคู่แข่งเยอะมากแล้ว ยังเป็นปีที่กำลังซื้อในตลาดลดลง ผู้บริโภคสั่งสินค้าน้อยลงก็ทำให้ ‘เค้ก’ ของจำนวนชิ้นพัสดุลดลงตาม

ไปรษณีย์ไทย
“ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

อย่างไรก็ตาม ไปรษณีย์ไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่มีการปรับตัวสู้ไปหลายด้านในช่วงปี 2564-65 เช่น

  • ขยายบริการ “Pick-up Service” รับพัสดุถึงบ้านครอบคลุม “ทั่วประเทศ” นัดหมายได้ผ่านช่องทาง LINE
  • ปรับให้ ปณ. ทุกแห่งในกรุงเทพฯ และ ปณ. จังหวัดทุกจังหวัด ทำงานทุกวัน “ไม่มีวันหยุด” และ ปณ. ทั่วประเทศมีการ “ขยายเวลาปิดทำการ” ปิดเร็วที่สุดคือ 19:00 น. และบางแห่งขยายไปถึง 24:00 น.
  • ปรับมาตัดรอบขนส่งรอบสุดท้ายเวลา 20:00 น. เพื่อตอบโจทย์พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ซึ่งมักจะขายและแพ็กสินค้าในช่วงเย็น ให้สามารถมาส่งพัสดุทันตัดรอบในวันเดียวกัน

ไปรษณีย์ไทย

หากไม่นับเรื่องราคา ที่ผ่านมาไปรษณีย์ไทยมีจุดอ่อนคือเรื่องวันหยุดและเวลาทำการที่ปิดเร็วตามเวลาราชการ รวมถึงคู่แข่งรุกหนักด้วยบริการรับพัสดุถึงบ้าน/หน้าร้าน ทำให้การปรับของไปรษณีย์ไทยมาสู้ในจุดที่เคยเสียเปรียบ จึงทำให้ดึงลูกค้ากลุ่มอีคอมเมิร์ซได้ดีขึ้น

เมื่อประกอบกับชื่อเสียงของไปรษณีย์ไทยที่ยังมีคุณภาพดีกว่าในแง่ของการบริการ ส่งจริงไม่ทิ้งงาน ไม่ค้างจ่าย และรู้จักชุมชนอย่างละเอียด ส่งได้ถึงมือผู้รับตัวจริง ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้งาน โดยดร.ดนันท์ระบุว่าปีนี้ไปรษณีย์ไทยสามารถดึง ‘ลูกค้าเก่า’ กลับมาได้ถึง 40%

“ไตรมาส 4 น่าจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดของเราในปีนี้ โดยเฉพาะเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมเราดีขึ้นชัดเจน จะเป็นไตรมาสที่ขาดทุนน้อยลงแน่นอน” ดร.ดนันท์กล่าว “เชื่อว่าเป็นเพราะบริการของเราดีขึ้น ขณะที่คู่แข่งอาจจะเพลี่ยงพล้ำด้านคุณภาพงาน”

 

2566 เสริมแกร่งธุรกิจหลัก และ สำรวจน่านน้ำใหม่

สำหรับปี 2566 จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? ดร.ดนันท์กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทย วางกลยุทธ์การทำงานออกเป็น 2 แกนคือ Fit the Core Business & Explore New Ocean นั่นคือจะมีทั้งการเสริมแกร่งธุรกิจหลัก และ การสำรวจหาน่านน้ำธุรกิจใหม่

ธุรกิจหลักของไปรษณีย์ไทยหมายถึงงานขนส่งไปรษณียภัณฑ์ทั้งหลาย ซึ่งปัจจุบันรายได้นั้นแบ่งครึ่งๆ มาจาก B2B 50% และ B2C 50%

การจะหารายได้เพิ่ม ชิงส่วนแบ่งมาให้ได้ เท่ากับไปรษณีย์ไทยต้องปรับปรุง “งานบริการ” ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และปรับระบบ “งานขาย” ให้สอดคล้องกับตลาดปัจจุบัน

ในด้านการบริการ After Sales Service ไปรษณีย์ไทยมุ่งเป้าจะเป็น “Zero Complain Company” เน้นด้านคุณภาพการบริการ ให้มีข้อร้องเรียนน้อยที่สุด ลดพัสดุค้างจ่าย ลดจำนวนการเคลมพัสดุเสียหายลงอีก จากปัจจุบันมียอดเคลมราว 6,000 ชิ้นต่อปี

“เป้าหมายนี้ไม่ใช่ไม่ให้มีใครบ่นเลย แต่ถ้ามีการบ่นเกิดขึ้น เราต้องเข้าไปแก้ปัญหาได้ทันที ไม่ทิ้งลูกค้า โทรฯ มาต้องรับสาย มอนิเตอร์การบ่นทุกช่องทาง และต้องไปแก้ไขให้” ดร.ดนันท์กล่าว

ไปรษณีย์ไทย

ด้านงานขายนั้น “เซลส์” ไปรษณีย์ไทยทั้งประเทศจะถูกปรับโยกย้ายตามพอร์ตโฟลิโอที่เหมาะกับตลาด เพราะงานปัจจุบันมีทั้งกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ (Enterprise) จนถึงลูกค้าอีคอมเมิร์ซรายใหญ่-รายย่อย รวมถึงเซลส์จะต้องใช้ดาต้าให้เป็นประโยชน์ในการติดต่อหาลูกค้าเก่ามากขึ้น ทำความเข้าใจว่าทำไมลูกค้าจึงไม่เลือก และทำอย่างไรให้ลูกค้ากลับมา

 

ธุรกิจใหม่จากเครือข่าย ‘พี่ไปรฯ’

แกนที่สองคือการหาน่านน้ำใหม่นั้น จะเห็นว่าไปรษณีย์ไทยเริ่มต้นมาแล้วระยะหนึ่ง กับการเปิดธุรกิจค้าปลีก thailandpostmart.com ขายสินค้าของดีท้องถิ่น หรือการสร้างบริการ Post Next บริการด้านดิจิทัล เช่น บริการ e-Timestamp รับรองเวลาอิเล็กทรอนิกส์

ดร.ดนันท์มองว่า การหาน่านน้ำใหม่เป็นสิ่งที่ต้องเดินต่อ โดยต่อยอดมาจากจุดแข็งที่ไปรษณีย์ไทยมีนั่นคือ “บุรุษไปรษณีย์” ที่มีอยู่กว่า 20,000 คนทั่วประเทศ และมีการเดินทางนำจ่ายพัสดุรวมวันละกว่า 1 ล้านหลังคาเรือน

เครือข่ายเจ้าหน้าที่ที่ลงลึกถึงรากฝอยชุมชนขนาดนี้ ในปีหน้าจะได้เห็นไปรษณีย์ไทยนำมาใช้ให้บริการใหม่ในด้าน ‘Market Research’ ทำวิจัยด้านการตลาด รวมถึงจะเริ่มเปิดให้แบรนด์เป็นพันธมิตรในการขายสินค้าผ่านเครือข่ายบุรุษไปรษณีย์

“ยกตัวอย่าง สมมติว่าสินค้านั้นเป็นอาหารสุนัข บุรุษไปรษณีย์เรารู้อยู่แล้วว่าบ้านไหนในชุมชนที่เลี้ยงสุนัข และดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างดีด้วย น่าจะสนใจซื้ออาหารสุนัข บุรุษไปรษณีย์ก็สามารถนำเสนอได้ตรงเป้าหมาย” ดร.ดนันท์กล่าว

จะไปคาดหวังให้จำนวนงานกลับไปถึง 8 ล้านชิ้นต่อวันเหมือนเดิมไม่ได้ ไม่ควรคาดหวังอย่างนั้น เราควรมาหาทางทำตลาดที่เป็นของเราเองให้ได้มากกว่า อย่างบุรุษไปรษณีย์นี้จะเป็นกุญแจหลักในการต่อสู้ของเรา

การหาน่านน้ำใหม่นี้จะทำให้สถานการณ์ทำรายได้และกำไรของไปรษณีย์ไทยมั่นคงขึ้นในอนาคต “จะไปคาดหวังให้จำนวนงานกลับไปถึง 8 ล้านชิ้นต่อวันเหมือนเดิมไม่ได้ ไม่ควรคาดหวังอย่างนั้น เราควรมาหาทางทำตลาดที่เป็นของเราเองให้ได้มากกว่า อย่างบุรุษไปรษณีย์นี้จะเป็นกุญแจหลักในการต่อสู้ของเรา”

ที่น่าสนใจอีกส่วนคือ เมื่อเป้าหมายขององค์กรขยับ “โครงสร้างบุคลากร” ก็ขยับเช่นกัน โดยปีหน้าเจ้าหน้าที่ประจำ ปณ. จะได้ทำงานตำแหน่งอื่นที่เป็นการพัฒนาองค์กร เช่น เจ้าหน้าที่ Pick-up Service, เจ้าหน้าที่ดูแลบริการหลังการขาย และพนักงานไปรษณีย์ไทยรุ่นใหม่ที่รับเข้ามาก็จะทำหน้าที่ที่ช่วยขับเคลื่อนไปตามเป้าเช่นกัน เช่น งานด้านดิจิทัล จะเปิดรับมากขึ้นในช่วง 5 ปีข้างหน้า

]]>
1413815
ขนส่งสินค้าออนไลน์สะดุด ‘โควิด’ ชั่วคราว ตลาดยังโตได้ ต้องสู้ตัดราคา-เเบกต้นทุนมากขึ้น  https://positioningmag.com/1345391 Thu, 05 Aug 2021 10:00:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345391 โควิดระบาดรุนเเรงบวกมาตรการล็อกดาวน์ต่อเนื่อง กระทบภาคขนส่งสะเทือนธุรกิจขายของออนไลน์ KBANK มองเป็นปัญหาชั่วคราวต่อการจัดส่งสินค้า เเต่ภาพรวมตลาดปีนี้ ยังเติบโตได้ 7.1 หมื่นล้านเเต่จะโตน้อยลง ต้องสู้เเข่งตัดราคา-เเบกต้นทุนมากขึ้น 

ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ หรือ Last-mile delivery เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ขยายตัวตามการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ยิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคกังวลในเรื่องของความปลอดภัยและงดทำกิจกรรมนอกบ้าน มีการปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายและหันมาซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น จึงหนุนให้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตตามไปด้วย

สะดุด เจอพนักงานติดโควิด 

เเต่จากการระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้น จนทำให้ปัจจุบันมีพนักงานขนส่งสินค้าออนไลน์ของหลายบริษัทและในหลายพื้นที่ติดเชื้อโควิด โดยเฉพาะในเขตพื้นที่สีแดงเข้ม เช่น กรุงเทพฯ นนทบุรี อยุธยา ชลบุรี ประกอบกับการขยายมาตรการล็อกดาวน์ออกไปอีกอย่างน้อย 14 วันในเดือนสิงหาคม 2564 (อาจมีการทบทวนและปรับเปลี่ยนมาตรการอีกครั้ง) จนส่งผลให้ศูนย์กระจายสินค้าที่สำคัญในบางพื้นที่ รวมถึงสาขาที่รับ-ส่งสินค้าบางแห่ง ทั้งที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าและนอกห้างสรรพสินค้าต้องปิดทำการชั่วคราว

“บางสาขาที่ยังคงเปิดให้บริการได้นั้น ก็ได้รับผลกระทบเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการขนส่งสินค้าไปยังพื้นที่ปลายทางที่นานขึ้นกว่าช่วงปกติ” 

เหล่านี้ ส่งผลให้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์อาจได้รับผลกระทบและทำให้การจัดส่งสินค้าออนไลน์ติดขัดเป็นการชั่วคราว ประกอบกับการแข่งขันของธุรกิจที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันเรื่องราคาค่าขนส่งสินค้า

“ธุรกิจขนส่งในภาพรวมปีนี้ แม้คาดว่ารายได้จะยังคงเติบโต แต่ก็เผชิญความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจ” 

shopping online

สินค้าอาหาร-ของสด กระทบหนักสุด

การจัดส่งสินค้าออนไลน์ในกลุ่มอาหาร (Food) น่าจะได้รับผลกระทบมากกว่าสินค้าในกลุ่มที่ไม่ใช่อาหาร (Non-food) เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่เน่าเสียง่าย ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาหารแห้ง ผัก ผลไม้ ซึ่งถือเป็นกลุ่มสินค้าจำเป็นที่คาดว่าผู้บริโภคน่าจะยังคงมีการวางแผนใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นในช่วงที่โควิดระบาด

แต่เมื่อขนส่งไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ หรือใช้ระยะเวลานานกว่าปกติ รวมถึงยานพาหนะที่ใช้ในการจัดส่งสินค้ากลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้เอื้อต่อการจัดเก็บหรือควบคุมคุณภาพได้นาน สินค้ามีความเน่าเสียได้ง่าย จึงทำให้ได้รับผลกระทบที่ค่อนข้างมาก จนผู้ประกอบการบางราย บางพื้นที่ต้องงดรับการจัดส่งสินค้าในกลุ่มนี้เป็นการชั่วคราว

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (Non-food) หรือสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น สินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง ของตกแต่งบ้าน เนื่องจากยอดขายได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่หดตัว และใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมาอย่างต่อเนื่องก่อนหน้านี้

ดังนั้น สถานการณ์ดังกล่าว ก็อาจจะกระทบต่อการจัดส่งสินค้ากลุ่มนี้ในระดับที่น้อยกว่า หรือหากมีคำสั่งซื้อมองว่าผู้บริโภคบางรายก็อาจจะรอสินค้าได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เหตุการณ์ดังกล่าว น่าจะเป็นปัญหาชั่วคราว และจากการเร่งแก้ปัญหาและการปรับตัวของผู้ประกอบการ ส่งผลให้สาขาในบางพื้นที่ที่ปิดทำการชั่วคราวเริ่มกลับมาเปิดทำการได้บ้าง แต่ยังคงต้องรอสินค้าที่นานกว่าช่วงปกติ

ขนส่งต้องสู้เเข่งตัดราคา-เเบกต้นทุนมากขึ้น 

ส่วนรายได้ของธุรกิจจัดส่งสินค้าออนไลน์ ในภาพรวมปี 2564 ยังคงขยายตัวได้จากการระบาดของโควิดที่ยังคงหนุนให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น แต่การเติบโตคาดว่าจะชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้า ปัจจัยหลักๆ มาจากการแข่งขันด้านราคาค่าส่งสินค้า อีกทั้งยังต้องเผชิญกับต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้น

แม้ว่าการระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้น จนส่งผลกระทบต่อระบบการขนส่งสินค้าให้หยุดชะงักลงเป็นการชั่วคราวในบางพื้นที่ แต่เนื่องจากผู้บริโภคยังคงกังวลกับการออกไปใช้จ่ายหรือทำกิจกรรมนอกบ้าน การประกาศล็อกดาวน์ของภาครัฐ อีกทั้งผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ มีการอัดโปรโมชันกันอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ผู้บริโภคยังคงใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ 

“ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ในปัจจุบันที่แข่งขันกันรุนแรงจากจำนวนผู้เล่นในตลาดมากราย โดยเฉพาะการแข่งขันด้านราคาค่าขนส่งของผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ต้องปรับตัวตาม และท้ายที่สุดหากผู้ประกอบการรายใดไม่สามารถแบกรับหรือบริหารจัดการต้นทุนได้ ก็อาจจะเผชิญการแข่งขันที่ยากลำบากขึ้น” 

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า แม้ว่ารายได้ของธุรกิจจัดส่งสินค้าออนไลน์ (Last-mile delivery) ในปี 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 71,800 ล้านบาท ขยายตัว 19.0% ซึ่งเป็นการเติบโตที่ชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวถึง 31.3%

แต่หากพิจารณาในส่วนของต้นทุนในการบริหารจัดการคาดว่าน่าจะปรับเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะต้นทุนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการโควิดเพื่อสร้างความปลอดภัยและความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและพนักงาน ต้นทุนจากการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น (ทดแทนพนักงานที่ติดโควิด และรองรับกับคำสั่งซื้อออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น) 

รวมถึงต้นทุนในการบริหารจัดการเส้นทางการส่งสินค้าใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางเดิมที่มีปัญหา ในขณะที่ต้องลดราคาค่าขนส่งให้ถูกลง เพื่อให้ธุรกิจแข่งขันได้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าผลประกอบการของผู้ประกอบการบางรายยังคงประสบภาวะขาดทุน

เเนะลงทุนเพื่อความปลอดภัย ให้ลูกค้ามั่นใจสั่งของ 

การเติบโตของรายได้ธุรกิจขนส่งสินค้าออนไลน์ในภาพรวมที่อัตรา 2 หลัก อาจจะไม่ได้สะท้อนถึงผลประกอบการสุทธิที่ดีขึ้นของผู้ประกอบการได้ทุกราย และเมื่อมองไปข้างหน้า ด้วยสถานการณ์การระบาดที่ยังไม่คลี่คลาย ความเสี่ยงต่างๆ ยังคงเกิดขึ้นได้ ก็น่าจะทำให้ต้นทุนในการบริหารจัดการโควิดของผู้ประกอบการยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยจากโรค การกระจายศูนย์กระจายสินค้าไปยังพื้นที่ศักยภาพใหม่ ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงการให้บริการเรื่องของสินค้าที่ครบวงจร 

หากผู้บริโภคมีความกังวลและไม่มั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยจนทำให้มีการสำรองสินค้ามากขึ้นเพื่อลดจำนวนครั้งในการสั่งซื้อ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการจัดส่งที่น้อยลงและส่งผลต่อผลประกอบการของธุรกิจตามมา

โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัดในเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุน เงินทุน และการปรับตัวที่ไม่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ทัน ซึ่งน่าจะยังคงเผชิญความยากลำบากในการแข่งขัน

 

 

 

]]>
1345391
J&T Express สร้างปรากฎการณ์ใหม่ เปิดบริการ “เจแอนด์ที เคลมไวในวันถัดไป” แม่ค้ามั่นใจ ไร้กังวล https://positioningmag.com/1329435 Thu, 29 Apr 2021 04:00:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329435

ท่ามกลางตลาดขนส่งพัสดุอันดุเดือด มีผู้เล่นทั้งเจ้าเก่าที่แข็งแกร่ง และเจ้าใหม่ที่ทยอยตบเท้าเข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง การมีจุดแข็ง และแบรนด์ที่สตรอง ย่อมได้เปรียบกว่าอย่างแน่นอน

J&T Express เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งผู้เล่นใหญ่ในไทย เริ่มทำตลาดตั้งแต่ปี 2561 ได้สร้างปรากฎการณ์ในตลาดขนส่งพัสดุ ด้วยกลยุทธ์ “Entertainment Marketing” โดยมี “มาริโอ้ เมาเร่อ” เป็นพรีเซนเตอร์คนแรกของเมืองไทย ในตอนนั้นถือเป็นเจ้าแรกในตลาดที่ใช้พรีเซ็นเตอร์

พร้อมกับสร้างความโดดเด่นด้วยป้ายหน้าร้านที่เป็นรูปมาริโอ้ สามารถสร้างความสะดุดตา พร้อมกับสร้างการรับรู้ได้อย่างรวดเร็ว ปรากฎการณ์นี้เป็นต้นแบบทำให้แบรนด์อื่นต้องเดินรอยตามกลยุทธ์นี้กันเลยทีเดียว

ในปี 2564 แม้การแข่งขันจะดุเดือดแค่ไหน แต่ J&T Express ก็ไม่หยุดพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อส่งมอบบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ในปีนี้ได้สร้างปรากฎการณ์ครั้งใหม่ในวงการอีกครั้ง ด้วยการเปิดบริการ “เจแอนด์ที เคลมไวในวันถัดไป” พ่อค้าแม่ค้าสามารถมั่นใจในสินค้าได้ เคลมได้ง่ายๆ ผ่าน 3 ช่องทาง Application J&T Thailand, Call Center 02-009- 5678  และ LINE: @Jntexpressth รวมทั้งช่องทางอื่นๆ ที่จะเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นในเร็วๆ นี้

ในการเปิดบริการใหม่ในครั้งนี้ ที่ถือเป็นครั้งแรกในธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนของเมืองไทย โดยพัฒนาจากอินไซต์ผู้ใช้บริการจริงๆ เป็นบริการที่เข้าใจ และตอบโจทย์จากปัญหาที่พบเห็นบ่อยครั้งจากการใช้บริการของผู้ส่งสินค้า พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั่วไป ซึ่งเป็นฐานลูกค้าใหญ่ของเจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส

บริการนี้พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ และผู้รับสินค้า พร้อมช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาในการรอ หากพบพัสดุเสียหาย สูญหาย บริษัทฯ ก็จะดำเนินการเคลมค่าเสียหายให้ทันทีภายในวันถัดไป

นอกจากนี้ J&T Express ยังเล่นใหญ่ ตอกย้ำการรับรู้มากขึ้นด้วยการใช้ Entertainment Marketing ต่อเนื่อง พร้อมกับการใช้พรีเซ็นเตอร์คู่ “มาริโอ้ เมาเร่อ” และ “ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์” นางเอกขวัญใจมหาชน ถือเป็นแบรนด์แรกที่ใช้ 2 พรีเซนเตอร์คู่กัน

การตอกย้ำสร้างการรับรู้ในครั้งนี้ J&T Express ได้ส่งภาพยนตร์โฆษณาออนไลน์สุดฟีลกู้ด โดยมีเนื้อหาที่ว่ามาริโอ้ กับใบเฟิร์นเป็นคู่รักกัน ใบเฟิร์นเตรียมเปิดร้านขายเสื้อผ้า วันสำคัญวันที่เปิดร้าน แต่มาริโอ้ติดงานด่วน เลยทำให้มาแสดงความยินดีช้า จึงทำให้ใบเฟิร์นเสียใจ แต่สุดท้ายก็คืนดีกันได้ และจบลงด้วยดี เพราะมาริโอ้ตามง้อ และเซอร์ไพร์สครั้งใหญ่ในวันรุ่งขึ้นทันที

เปรียบเสมือนบริการ “เจแอนด์ที เคลมไวในวันถัดไป” ที่สามารถเคลมสินค้าได้ทันทีในวันถัดไป นอกจากเคลมสินค้าได้แล้ว สำคัญกว่านั้นคือการ “เคลมความรู้สึก” นั่นเอง ยิ่งเคลมไว ยิ่งทำให้ลูกค้ารู้สึกดีมากขึ้น มั่นใจ และสบายใจในบริการ

ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ได้มาริโอ้ และใบเฟิร์นเป็นคู่พระนางกัน ยังได้นักร้องเสียงคุณภาพ ศิลปินขวัญใจวัยรุ่น “โบกี้ ไลอ้อน” (BOWKY LION) เป็นคน Re arrange และถ่ายทอดเพลง  “วันเดือนปี”  ภายใต้แนวคิด  “ไม่ต้องรออีกต่อไป” ด้วย

J&T Express มุ่งสร้างความแตกต่าง เพื่อเปลี่ยนมุมมองของผู้บริโภคต่อธุรกิจขนส่งใหม่ ที่ต้องการสื่อสารกับผู้บริโภคด้วยการสร้างอารมณ์ ความรู้สึก  ให้ผู้ใช้รับรู้ว่า J&T Express คือแบรนด์ที่เข้าใจความต้องการของผู้บริโภค และเป็น Business partner อย่างแท้จริง  สิ่งนี้ทำให้ J&T Express เติบโตอย่างก้าวกระโดด และในปีนี้บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่น และเดินหน้าสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า และสร้างการเติบโตด้วยบริการอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการและทุกกลุ่มลูกค้า

ปัจจุบัน J&T Express พร้อมให้บริการธุรกิจขนส่งพัสดุด่วน ครอบคลุมทุกพื้นที่ ตลอดระยะเวลา 365 วัน พร้อมพบกับบริการทุกรูปแบบของ J&T Express ได้แล้วในทุกช่องทางสื่อสารทั้ง

Facebook :  J&T Express Thailand

Line: @Jntexpressth

เว็บไซต์: www.jtexpress.co.th

แอปพลิเคชัน: J&T Thailand

Call Center: 02-009-5678 พร้อมให้บริการ 24 ชม.


]]>
1329435
เดือดแน่! “อาลีบาบา” ติดใจตลาดขนส่งพัสดุในไทยลงขัน “แฟลช เอ็กซ์เพรส” https://positioningmag.com/1213112 Sat, 09 Feb 2019 03:57:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1213112 ศึกขนส่งพัสดุที่ดุเดือดอยู่แล้ว คงต้องเพิ่มดีกรีความร้อนแรงขึ้นอีก เมื่อ อาลีบาบายักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซจีน มั่นใจตลาดขนส่งพัสดุไทยอย่างมาก”

หลังจากเข้ามาร่วมทุนกับ แฟลช เอ็กซ์เพรส ผู้ให้บริการขนส่งพัสดุในประเทศไทย เพื่อหวังแจ้งเกิดบริการขนส่งด่วนในไทยเต็มตัว 

คมสันต์ ลี ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด ผู้ให้บริการด้านขนส่งแบบครบวงจร แฟลช เอ็กซ์เพรส” (Flash Express) กล่าวว่า อาลีบาบา ถือเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์สำคัญที่เข้ามาร่วมถือหุ้นร่วมทุนกับบริษัท เนื่องจากเห็นศักยภาพของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยและโอกาสการเติบโตของธุรกิจขนส่งพัสดุในประเทศไทย 

ปีนี้มีแผนจะเปิดตัวธุรกิจใหม่ รวมถึงการขยายตลาดกลุ่มอาเซียน ภายในปี 2563 ซึ่งแฟลช เอ็กซ์เพรส เปิดธุรกิจใน 4 ประเทศ คือ กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และฟิลลิปินส์ และจะเปิดครบ 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน ภายใน 4 ปี เพื่อต้องการเชื่อมการขนส่งในตลาดอาเซียน 10 ประเทศเข้าหากัน 

ในประเทศไทยปีที่ผ่านมาแฟลช เอ็กซ์เพรสใช้เงินลงทุนไปแล้ว 2,500 ล้านบาท ปีนี้เตรียมลงทุนเพิ่มอีก 2,500 ล้านบาท รวมกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อสร้างระบบขนส่งสินค้าครบวงจร รวมทั้งการลงทุนหน้าร้านเอง โดยไม่รับ Outsource หรือแฟรนไชส์ และลงทุนรับพนักงานเอง เพื่อควบคุมมารตรฐานการบริการครบวงจร โดยสิ้นปี 2562 จะมีพนักงานเพิ่มเป็น 10,000 คน

จับมือเพย์เมนต์เปิดตัวพรีเซ็นเตอร์

ในส่วนของระบบเพย์เมนต์ แฟลช เอ็กซเพรสได้จับมือกับ GB Prime Pay พัฒนาระบบการรับชำระเงินค่าบริการผ่าน Flash E-cod เพื่อให้ลูกค้าสามารถสแกน QR ชำระค่าสินค้าทั้งรูปแบบเงินสด และเครดิตการ์ด รวมถึงร้านค้าที่ใช้บริการ GB Prime Pay อยู่แล้ว สามารถส่งสินค้าผ่าน แฟลช เอ็กซ์เพรส ผ่านแอปพลิเคชั่น GB Prime Pay ได้ทันที

นอกจากนี้ได้จับมือกับสถาบันการศึกษากว่า 31 แห่ง ผุด Flash Express@UniversityShop หรือศูนย์ฝึกประสบการณ์โลจิสติกส์แบบครบวงจร ในประเทศไทยใช้งบลงทุนกว่า 100 ล้านบาท        

ด้วยเห็นว่าธุรกิจด้านขนส่งในไทยกำลังเติบโต จึงต้องการสร้างศูนย์การเรียนรู้ด้านขนส่ง (Logistics) แบบครบวงจรให้แก่นักศึกษาเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเรียนรู้ และได้ฝึกประสบการณ์จริงในธุรกิจขนส่ง

เพื่อรุกทำตลาดและสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในปีนี้ ล่าสุดได้เปิดตัว ติ๊กเจษฎาภรณ์ ผลดี พระเอกตลอดกาลมาเป็นพรีเซ็นเตอร์คนแรกของวงการขนส่งไทย พร้อมสื่อสารบริการของแฟลช เอ็กซ์เพรส ที่ให้บริการจัดส่งพัสดุถึงมือลูกค้าทั้งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลภายใน 1 โดยมีศูนย์กระจายสินค้าอยู่ทั่วประเทศกว่า 100 แห่ง ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ 

ที้งนี้ ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง นักช้อปออนไลน์เพิ่มขึ้นผลักดัน ธุรกิจขนส่งพัสดุด่วน ในไทยขยายตัวตามไปด้วย ปีที่ผ่านมามีมูลค่ากว่า 28,000 ล้านบาท ปีนี้ยังเติบโตต่อระดับ 10-20% 

ทำให้มีผู้เล่น รายใหม่ ทั้งทุนไทยและต่างชาติระดับโกลบอล ประกาศตัวเข้ามาชิงเค้กตลาดไทย พร้อมเปิดศึกแข่งขันกับเจ้าตลาด ไปรษณีย์ไทย และ เคอรี่ ที่ครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 80%

เดือนมกราคมที่ผ่านมา เบสท์ กรุ๊ป (BEST INC) หนึ่งในยักษ์ใหญ่ด้านโลจิสติกส์ของจีน ซึ่งมี อาลีบาบา” ถือหุ้นอยู่ในบริษัทลูก ได้เข้ามาร่วมทุนกับ บริษัท เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชนเปิดตัว เบสท์ เอ็กซ์เพรส ธุรกิจขนส่งพัสดุในประเทศไทย โดยใช้โมเดลแฟรนไชส์ 100%.

]]>
1213112