ธนาคารกรุงเทพ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 01 Nov 2023 10:48:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ปิดฉาก 5 ปี บัตร SCB M “เดอะมอลล์” ควงพาร์ทเนอร์บัวหลวง เปิดบัตรโคแบรนด์ Bangkok Bank M Visa https://positioningmag.com/1450236 Wed, 01 Nov 2023 06:45:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450236 บัตร SCB M เป็นบัตรโคแบรนด์ระหว่างเดอะมอลล์ และไทยพาณิชย์ เตรียมปิดฉากยกเลิกการใช้บริการในวันที่ 31 ม.ค. 67 นับเป็นเวลา 5 ปีครึ่งที่ได้ให้บริการ มีจำนวนบัตรทั้งสิ้น 400,000-600,000 ใบ แต่ถ้าลูกค้ายังมีพันธะในการผ่อนสินค้าผ่านบัตร ก็ยังผ่อนได้จนกว่าจะหมดโปรแกรม ส่วนพอยท์ที่สะสมไว้ก็ยังอยู่กับทางเดอะมอลล์ ไม่ได้หายไปไหน

กลุ่มเดอะมอลล์ก็ไม่รอช้า ได้เปิดตัวบัตรโคแบรนด์กับพันธมิตรใหม่ก็คือ “ธนาคารกรุงเทพ” มาพร้อมบัตร Bangkok Bank M Visa จะเริ่มคิกออฟให้บริการในวันที่ 1 ธ.ค. 66 ตรงกับวันที่เปิดโครงการ EMSPHERE พอดิบพอดี

ถ้าถามว่าทำไมเดอะมอลล์ถึงเลือกเปลี่ยนพันธมิตร…

แอ๊ว – ศุภลักษณ์ อัมพุช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ได้ให้เหตุผลว่า

“การเปลี่ยนพันธมิตรโคแบรนด์ ไม่ใช่แค่เรื่องบัตรเครดิตอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องสนับสนุนโครงการต่างๆ ของเดอะมอลล์ด้วย ธนาคารกรุงเทพเป็นแบงก์แรกที่ปล่อยสินเชื่อให้ตอนสร้างเอ็มโพเรียม จนตอนนี้เติบโตปีละ 30% การจับมือครั้งนี้มองยาว 10 ปี ทำโคแบรนด์การ์ดร่วมกัน ลงทุนร่วมกัน เป็นครอบครัวเดียวกัน 

ตอนนี้แอ๊วไม่ได้สร้างช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ แต่กำลังสร้างย่าน.. ย่านที่มีทุกอย่างมองหา ย่านที่มี 3 ห้างอยู่ในที่เดียว ตอนนี้แค่ย่านสยามคงไม่พอแล้ว ต่อไปจะมีอีกย่าน Bangkok Mall ด้วย” 

ปัจจุบันเดอะมอลล์ กรุ๊ป มีสมาชิก M card ทั้งสิ้น 5.3 ล้านราย และลูกค้ากว่า 50 % ชำระผ่าน Digital Payment อาทิ บัตรเครดิต บัตรเดบิต QR Code เป็นต้น

หลังจากที่ได้ทำบัตร SCB M เดอะมอลล์ให้ความสำคัญกับบัตรโคแบรนด์มากขึ้น เพราะลูกค้ามีลอยัลตี้สูง และมียอดการใช้จ่ายมากกว่าบัตรเครดิตอื่นๆ ถึง 4.5 เท่า ซึ่งยอดเฉลี่ยปกติราวๆ 3,000 บาท

ในขณะที่ทางธนาคารกรุงเทพมีฐานลูกค้าบัตรเครดิตจำนวน 2 ล้านใบ และมีการทำบัตรโคแบรนด์กับพันธมิตรหลายราย เช่น สายการบิน, โรงพยาบาล และออโต้เซอร์วิส ครั้งนี้ถือเป็นการจับมือกับฝั่งค้าปลีกครั้งแรก มีสัญญาร่วมกัน 10 ปี

ในการเปิดให้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินครอบคลุมทั้งบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรพรีเพด (Prepaid Card), กิ๊ฟท์การ์ด (Gift Card) และบัตรกดเงินสด (Revolving Card) โดยที่บัตรเดบิต Bangkok Bank M Visa มีให้เลือกทั้งแบบบัตรชิปการ์ด และบัตรดิจิทัลที่ใช้ผ่านโมบายแบงกิ้ง หรือจะเลือกสมัครทั้ง 2 แบบไว้ใช้คู่กันก็ได้

บัตรเครดิต Bangkok Bank M Visa จะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ประกอบด้วย

  • บัตรเครดิต Bangkok Bank M Live Visa Platinum สำหรับผู้มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป
  • บัตรเครดิต Bangkok Bank M Luxe Visa Signature สำหรับผู้มีรายได้ 300,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป
  • บัตรเครดิต Bangkok Bank M Legend Visa Infinite สำหรับลูกค้าที่ได้รับการเรียนเชิญให้สมัครเท่านั้น

ในช่วงแรกได้เปิดตัวบัตรเครดิต และบัตรเดบิต Bangkok Bank M Visa ซึ่งสามารถสมัครได้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2566 และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จะทยอยเปิดให้บริการในปี 2567

โดยที่สิทธิ์พิเศษของบัตรนี้ ไม่แตกต่างจากบัตรเดิมเท่าไหร่นัก ใครที่เป็นนักช้อปของเครือเดอะมอลล์จะคุ้นเคยอย่างดี เช่น ส่วนลดสูงสุด 10% รับคะแนน M Point สูงสุด 4 เท่า ใช้คะแนน 2 เท่าของยอดซื้อลดเพิ่มอีก 25% ผ่อน 0% ทุกชิ้นทั้งห้าง นานสูงสุด 10 เดือน เมื่อใช้จ่ายในห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าเดอะมอลล์, เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์, เอ็มโพเรียม, เอ็มควอเทียร์, เอ็มสเฟียร์, สยามพารากอน, Monline.com และ Gourmetmarketthailand.com

แต่ความพิเศษของบัตร Bangkok Bank M Visa ที่เพิ่งบรรจุเข้ามาเพิ่มเติมก็คือ “คอนเสิร์ต” มีสิทธิพิเศษที่ลูกค้าสามารถสะสมยอดซื้อเพื่อแลกดูคอนเสิร์ตได้อย่างน้อย 3 ครั้ง/ปี เป็นคอนเสิร์ตในประเทศหลากหลายรูปแบบ

วรลักษณ์ ตุลาภรณ์ แม่ทัพใหญ่ทางด้านการตลาด ของเดอะมอลล์ กรุ๊ป ได้อธิบายว่า ธนาคารกรุงเทพชอบสนับสนุนเรื่องศิลปะ และบันเทิงอยู่แล้ว ประกอบกับเห็นไลฟ์สไตล์ของคนที่ชอบช้อปปิ้ง ส่วนใหญ่จะชอบความสนุกสนาน ความบันเทิง ชอบดูคอนเสิร์ต สิทธิพิเศษใหม่นี้จะเป็นการให้ลูกค้าสะสมยอดซื้อเพื่อแลกการชมคอนเสิร์ตได้ จะมีคอนเสิร์ตเพื่อตอบโจทย์คนทุกเจนเนอเรชั่น

บัตร Bangkok Bank M Visa จะเริ่มเปิดให้สมัครตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2566 เป็นต้นไป ได้ตั้งเป้ายอดบัตรเครดิต และบัตรเดบิต จำนวน 1.5 ล้านใบภายใน 5 ปีแรก

]]>
1450236
เปิดโผ 7 กองทุน “RMF-SSF” ผ่าน 3 ธีมเด่นจากบัวหลวง รับช่วงโค้งสุดท้ายปี 64 https://positioningmag.com/1367226 Wed, 15 Dec 2021 12:59:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1367226 เปิดโผ 7 กองทุน RMF-SSF เด่นๆ จากบัวหลวง ที่มีโอกาสเติบโตระยะยาว ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อเเถมประหยัดภาษี ในช่วงโค้งสุดท้ายปี 2564

สันติ ธนะนิรันดร์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ กองทุนบัวหลวง เปิดเผยว่า ภาพรวมการลงทุนในปี 2564 นี้ ผู้ลงทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นจะได้รับผลตอบแทนที่ดีชนะเงินเฟ้อได้ โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดพัฒนาแล้ว ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาดกำลังพัฒนา ส่วนผู้ลงทุนในพันธบัตรจะได้รับผลตอบแทนที่แท้จริงติดลบ แปลว่า ผลตอบแทนที่ได้รับต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งการลงทุนในปี 2565 ก็จะยังมีแนวโน้มไปในทิศทางนี้

สำหรับช่วงโค้งสุดท้ายในการค้นหากองทุนลดหย่อนภาษีสำหรับปี 2564 นี้ ทีม Investment Strategy ของกองทุนบัวหลวง ได้คัดเลือก 7 กองทุนหุ้นต่างประเทศในกลุ่มกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่น่าสนใจ นำเสนอเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้น ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้

โดยเป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนใน 3 ธีมเด่น ที่มีโอกาสเติบโตระยะยาว คือ กองทุน B-SIPRMF และ B-SIPSSF ในธีม ESG กองทุน B-INNOTECHRMF, B-FUTURERMF และ B-FUTURESSF ในธีมเทคโนโลยี ส่วนกองทุน B-CHINAARMF และ B-CHINESSF ในธีมประเทศจีน


ธีม ESG : อยู่ในกระเเสหลักของการลงทุน 

นักลงทุนทั่วโลกให้ความสำคัญกับการคัดเลือกธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ชัดเจนขึ้น โดยพบว่า 10 เดือนของปี 2564 มีเงินลงทุนไหลเข้าไปลงทุนในธุรกิจที่มี ESG สูงกว่าทั้งปี 2563 แล้ว และการลงทุนในบริษัทที่ได้รับคะแนน ESG สูง ก็ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าธุรกิจที่คะแนน ESG ต่ำ ทั้งยังมีความผันผวนต่ำกว่าด้วย

นอกจากนี้บริษัทที่มีประเด็นเรื่อง ESG พบว่า เผชิญกับเงินลงทุนไหลออกอย่างต่อเนื่อง ตอกย้ำให้เห็นว่า ESG กำลังอยู่ในกระแสหลักของการลงทุน

“หลังจากนี้ทั่วโลกก็จะมุ่งเรื่อง ESG มากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่มีท่าทีชัดเจนในเรื่องนี้มากขึ้น ในอนาคตก็จะมีบริษัทในสหรัฐฯ ที่มี ESG ให้เลือกลงทุนเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันตัวเลือกส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป”

โดยกองทุนบัวหลวงมีกองทุน B-SIPRMF และ B-SIPSSF เป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่สนใจธีมนี้ 

Photo : Shutterstock

ธีมเทคโนโลยี : โดดเด่นในช่วงอีก 10 ปี

กองทุนบัวหลวง มองว่า จะมีความโดดเด่นในช่วง 10 ปีจากนี้ โดยเฉพาะเทคโนโลยี ABCEV คือ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) บิ๊กดาต้า (Big data) ไซเบอร์ซิเคี้ยวริตี้ (Cybersecurity) รถยนต์ไฟฟ้าทั้งสายการผลิต (EV) และโลกเสมือน (Virtual)  ที่จะมีบทบาทอย่างมากต่อธุรกิจและการใช้ชีวิต  ซึ่งในช่วงที่เงินเฟ้อสูง และดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น หุ้นเทคโนโลยีที่มีความสามารถทำกำไรแข็งแกร่ง มีความสามารถในการปรับขึ้นราคาได้ ก็มีโอกาสปรับขึ้นโดยไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากเงินเฟ้อ

โดยกองทุนที่ลงทุนธีมนี้ และเฟ้นหาหุ้นเทคโนโลยีแบบนี้ ได้แก่ B-INNOTECHRMF รวมถึง B-FUTURERMF และ B-FUTURESSF

ธีมประเทศจีน : ผลตอบเเทนดีในระยะยาว 

จีนเป็นประเทศที่มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ดีมากในระยะยาว ขณะที่มูลค่าหุ้นในเวลานี้ไม่แพงเกินไป เมื่อเทียบความสามารถการเติบโต อีกทั้งการเคลื่อนไหวของหุ้นจีนไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในโลก มีลักษณะการเคลื่อนไหวเฉพาะตัว  

“หากมองในแง่การกระจายความเสี่ยง การลงทุนในจีน ก็จะช่วยให้นักลงทุนกระจายความเสี่ยงของพอร์ตโดยรวมได้ดีขึ้น และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีด้วย เพียงแค่ระยะสั้น อาจเผชิญความเสี่ยงจากความผันผวนได้ค่อนข้างมาก แต่หากนักลงทุนมองเป็นโอกาส ก็สามารถทยอยสะสมได้” 

กองทุนบัวหลวงมีกองทุน B-CHINAARMF และ B-CHINESSF เป็นทางเลือก

Photo : Shutterstock

นอกเหนือจากกองทุน RMF และ SSF ภายใต้ 3 ธีมเด่นนี้ กองทุนบัวหลวงมีกองทุนประหยัดภาษีให้นักลงทุนเลือกลงทุนได้ครอบคลุมทุกประเภทสินทรัพย์ ทั้งความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงสูง ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ และสินทรัพย์ทางเลือก รวมแล้วมีกองทุน RMF ถึง 24 กองทุน และ SSF ทั้งหมด 8 กองทุน ซึ่งนักลงทุนเลือกลงทุนได้ตามความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของตนเอง ส่วนสิ่งสำคัญที่จะทำให้นักลงทุนประสบความสำเร็จกับการลงทุน คือ ลงทุนอย่างต่อเนื่อง (Stay Invested) ในธุรกิจที่สอดคล้องกับเมกะเทรนด์ระยะยาว ไม่หวั่นไหวกับสถานการณ์รอบข้างที่มากระทบเพียงระยะสั้น

(ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน
ความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน)

 

]]>
1367226
“กสิกรไทย-กรุงเทพ-กรุงศรี-กรุงไทย” พักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยร้านปิดทำการช่วงล็อกดาวน์ https://positioningmag.com/1342670 Fri, 16 Jul 2021 05:19:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342670 3 ธนาคารใหญ่ กสิกรไทย กรุงเทพ และกรุงศรี ออกมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน แต่เฉพาะเงินต้น ช่วยเหลือลูกค้าที่ต้องปิดทำการนช่วงล็อกดาวน์ ตามมาตรการของภาครัฐ ด้านกสิกรไทยออก “เงินกู้สู้ไปด้วยกัน” ดอกต่ำ 3% ช่วยร้านอาหารและร้านค้ารายย่อย  

KBank พักชำระหนี้ ออกเงินกู้ดอกต่ำ

กสิกรไทยออกโครงการพิเศษส่งความช่วยเหลือเร่งด่วน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ร้านอาหารรายเล็ก และร้านค้ารายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ให้เข้าถึงเงินทุนได้ง่าย ภายใต้โครงการพิเศษ “เงินกู้สู้ไปด้วยกัน” อนุมัติง่าย ดอกเบี้ย 3% พักชำระเงินต้น 3 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 300,000 บาท ไม่ต้องมีหลักประกัน ฟรีค่าธรรมเนียมทุกประเภท

ผลักดันให้ร้านอาหารและร้านรายย่อยมีเงินทุนในการทำธุรกิจให้ไปต่อได้ คาดหวังช่วยร้านค้ารายย่อยได้ 35,000 ราย วงเงินสินเชื่อ 3,500 ล้านบาท

ธนาคารฯ ยังออกมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน เพื่อช่วยลูกค้าเอสเอ็มอี และลูกค้ารายย่อยที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการของทางการ

พัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า

“จากสถานการณ์ในตอนนี้ ธนาคารกสิกรไทยขอเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับร้านค้ารายย่อย จึงออกโครงการพิเศษ “เงินกู้สู้ไปด้วยกัน” อนุมัติง่าย อัตราดอกเบี้ย 3% พักชำระเงินต้น 3 เดือน วงเงินกู้สูงสุด 300,000 บาท ไม่ต้องมีหลักประกัน ฟรีค่าธรรมเนียมทุกประเภท ระยะเวลากู้สูงสุด 5 ปี ใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียวก็กู้ได้ เพียงเดินบัญชีกับธนาคารฯ สมัครทางออนไลน์ง่ายและสะดวกที่เว็บไซต์ของธนาคารฯ เพื่อช่วยให้ร้านอาหารและร้านค้ารายย่อยมีเงินทุนในการทำธุรกิจ มีความหวังและกำลังใจในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้”

ทั้งนี้ธนาคารฯ ยังสนับสนุนให้ร้านค้าเพิ่มช่องทางการขายได้บน K+ market ในแอป K PLUS ของธนาคารฯ รวมถึงการทำกิจกรรมช่วยโปรโมตร้านผ่านสื่อต่างๆ ของธนาคารฯ และร่วมมือกับเพจออนไลน์ชื่อดัง เพื่อช่วยเพิ่มยอดขายสร้างรายได้ให้แก่ร้านค้า ให้มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นได้อีกทางหนึ่ง

นอกจากโครงการพิเศษดังกล่าวแล้ว ธนาคารฯ ยังขานรับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยในการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนแก่ลูกค้าเอสเอ็มอีและลูกค้ารายย่อยที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการของทางการ ด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ระยะเวลา 2 เดือน โดยเริ่มการพักชำระตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือน ก.ค. 2564 เป็นต้นไป เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ลูกค้าของธนาคารฯ

สำหรับร้านอาหารและร้านค้ารายย่อยที่สนใจเข้าร่วมโครงการ “เงินกู้สู้ไปด้วยกัน” สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 ส.ค. 2564 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ www.kasikornbank.com และสำหรับลูกค้าเอสเอ็มอีที่ต้องการเข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ สามารถติดต่อได้ที่ผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ K-BIZ Contact Center 02-888-8822 และลูกค้ารายย่อย ติดต่อได้ที่ K-Contact Center 02-888-8888 หรือช่องทางไลน์ KBank Live ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. – 31 ส.ค. 2564

BBL ช่วยพักชำระหนี้ 2 เดือน

ธนาคารกรุงเทพ จัดมาตรการด่วนตามแนวทางของธปท. พักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และลูกค้ารายย่อย ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ เปิดหลากหลายช่องทางติดต่อ โดยเฉพาะการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.bangkokbank.com และโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. ถึง 15 ส.ค. 2564 สำหรับมาตรการให้ความช่วยเหลือก่อนหน้ายังคงพร้อมเช่นเดิม จนถึง 31 ธ.ค. 64

ลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้ เป็นได้ทั้งลูกค้าสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี และลูกค้าสินเชื่อรายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการและอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตามคำสั่งของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ซึ่งเบื้องต้นออกประกาศจำนวน 10 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ปัตตานี ยะลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสงขลา

โดยลูกค้าสามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้ที่ สำนักธุรกิจและสาขาธนาคารทั่วประเทศ และบัวหลวงโฟน โทร.1333 หรือ 0 2645 5555 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อป้องกันความเสี่ยง สามารถลงทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ www.bangkokbank.com และ โมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ

สำหรับลูกค้าที่ยังสามารถเปิดดำเนินกิจการ แต่ได้รับผลกระทบด้านรายได้ที่ลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ ธนาคารพร้อมให้คำปรึกษาและนำเสนอความช่วยเหลือตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกค้าอย่างเต็มที่

กรุงศรี คอนซูมเมอร์ พักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยลูกค้าบัตรเครดิต

กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการด้านบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลขานรับนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม เปิดให้ลงทะเบียนเพื่อขอพักชำระหนี้ 2 เดือน สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการป้องกันควบคุมโรค ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 10 จังหวัด หวังช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของลูกค้าบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ได้รับผลกระทบ

มาตรการนี้ เป็นการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนานสูงสุด 2 รอบบัญชี โดยต้องลงทะเบียนเพื่อขอเข้าร่วมมาตรการ สำหรับสมาชิกบัตรเครดิต และลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคลของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น พนักงาน ลูกจ้าง หรือเจ้าของกิจการที่อยู่ในธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 10 จังหวัด หรือได้รับผลกระทบจากธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของทางราชการ

โดยสามารถลงทะเบียนเพื่อขอเข้าร่วมมาตรการดังกล่าวได้ ตั้งแต่ 19 กรกฎาคม ถึง 18 สิงหาคม 2564 ทั้งนี้ มาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยดังกล่าว เป็นมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม จากมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ ของบริษัท เช่น ลดยอดชำระขั้นต่ำต่อเดือน, ปรับลดอัตราดอกเบี้ยและขยายระยะเวลาผ่อนชำระเป็นกรณีพิเศษ เป็นต้น ซึ่งลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถติดต่อลงทะเบียนกับบริษัทเพื่อขอเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือเหล่านี้ได้ โดยจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี

กรุงไทยก็มาด้วย

กรุงไทย ขานรับแนวทางธปท. เร่งช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ เร่งออกมาตรการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยนาน 2 เดือน เพื่อช่วยลดภาระทางการเงินให้ลูกค้าเอสเอ็มอี และรายย่อยที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 แจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป พร้อมมีอีก 7 มาตรการช่วยลูกค้าฝ่าวิกฤต

มาตรการนี้สำหรับลูกค้าธนาคาร ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด ทั้งนี้ มาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยลูกค้าเอสเอ็มอี-รายย่อยที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ สามารถแจ้งความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม ถึง 15  สิงหาคม 2564 ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือ หน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อของท่าน

มาตรการลูกค้าบุคคล 3 มาตรการ ดังนี้

มาตรการที่ 1 สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (สินเชื่อ Home for Cash, สินเชื่อ Home Easy Cash, สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน) วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยบางส่วน สูงสุด 12 เดือน หรือ ขยายระยะเวลาโดยลดอัตราผ่อนชำระ สูงสุด 12 เดือน หรือ พักชำระเงินต้น โดยชำระเฉพาะดอกเบี้ย สูงสุด 3 เดือน

มาตรการที่ 2 สินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ลดการผ่อนชำระค่างวดลง 30% นานสูงสุด 6 เดือน

มาตรการที่ 3 สินเชื่อวงเงินกู้แบบหมุนเวียน (Revolving Loan) ได้แก่ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ 5 Plus ปรับเป็นวงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ได้นาน 48 งวด หรือตามความสามารถในการชำระหนี้

 มาตรการลูกค้าธุรกิจ 4 มาตรการ ดังนี้

มาตรการที่ 1 มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2 ปีแรก ไม่เกิน 2% ต่อปี (อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี) ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ได้รับยกเว้นดอกเบี้ย 6 เดือนแรก รวมทั้งได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นานสูงสุด 10 ปี

มาตรการที่ 2 มาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME

·      ลูกค้าที่มีสินเชื่อธุรกิจ วงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท  สำหรับสินเชื่อประเภท Term Loan  พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 6 เดือน หรือ ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 24 เดือน สำหรับสินเชื่อประเภท P/N และTrade Finance  ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 6 เดือน

·      ลูกค้าที่มีสินเชื่อธุรกิจ วงเงินกู้ 20-500 ล้านบาท สำหรับสินเชื่อประเภท Term Loan พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุด 12 เดือน สำหรับสินเชื่อประเภท P/N และTrade Finance ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุด 6 เดือน

มาตรการที่ 3 มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจที่มีศักยภาพและมีทรัพย์สินเป็นหลักประกันให้สามารถลดภาระทางการเงินชั่วคราว ในช่วงที่รอให้ธุรกิจฟื้นตัว ด้วยวิธีการโอนทรัพย์ชําระหนี้และให้สิทธิซื้อทรัพย์คืนในอนาคต ในราคารับโอนบวกต้นทุนการถือครองทรัพย์ (Carrying Cost) 1% ต่อปี บวกค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์ที่ธนาคารจ่ายตามจริง หักค่าเช่าทรัพย์หลังตีโอนที่ลูกค้าชำระมาแล้ว

มาตรการที่ 4 โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง สำหรับลูกค้าธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อรวมทุกสถาบันการเงิน 50-500 ล้านบาท โดยพิจารณาตามความสามารถและศักยภาพของลูกค้า เช่น ปรับลดการผ่อนชำระ ยืดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ ตลอดจนการเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้าที่มีแผนธุรกิจชัดเจนภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาของธนาคาร

สำหรับลูกค้าที่สนใจศึกษาข้อมูลมาตรการช่วยเหลือของธนาคารที่ www.krungthai.com/link/covid-19 หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อของท่าน หรือ Krungthai Contact Center 02-111-1111

]]>
1342670
มิติใหม่! “ธนาคารกรุงเทพ” ผนึก “ฮั่วเซ่งเฮง” ซื้อ-ขายทองคำด้วยสกุลดอลลาร์สหรัฐ https://positioningmag.com/1308778 Wed, 02 Dec 2020 15:12:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308778 ครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้ความร่วมมือของธนาคารกรุงเทพ และฮั่วเซ่งเฮง เปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถซื้อ-ขายทองคำราคาเดียวกับในตลาดโลกแบบเรียลไทม์ ด้วยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ (USD) บนแพลตฟอร์ม Hua Seng Heng USD Gold Trade ผ่านบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit Account: FCD) สำหรับลูกค้าธนาคารกรุงเทพ  ช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน เพิ่มทางเลือกในการลงทุนและทำกำไรได้มากกว่าเดิม

ชาญศักดิ์ เฟื่องฟู กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

“ภายหลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไฟเขียวให้ลูกค้านักลงทุนสามารถลงทุนซื้อ-ขายทองคำกับบริษัทผู้ค้าทองคำที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. สามารถชำระค่าซื้อขายทองด้วยสกุลเงิน USD ผ่านบัญชี FCD ได้โดยไม่ต้องแปลงสกุลเงิน จากที่ก่อนหน้าการซื้อขายทองคำในประเทศตามปกติต้องชำระเป็นสกุลเงินบาท ผ่านการตัดบัญชีบาทเท่านั้น ทำให้กลุ่มผู้ค้าทองรายใหญ่ เริ่มสนใจและหันมาขยายบริการในตลาดกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น”

ขณะที่ธนาคารกรุงเทพ และฮั่วเซ่งเฮง มองเห็นโอกาสที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าของทั้ง 2 กลุ่ม ภายใต้มาตรการดังกล่าว นำมาสู่การผนึกกำลังร่วมกันของทั้ง 2 ผู้นำ ใน 2 กลุ่มธุรกิจ เพื่อร่วมบุกเบิกบริการรูปแบบใหม่นี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ผ่านแพลตฟอร์มบริการที่ชื่อว่า HUA SENG HENG USD GOLD TRADE หรือการลงทุนในรูปแบบการซื้อขายทองแท่ง 99.99 Gold Spot ด้วยสกุลเงิน USD ผ่านระบบออนไลน์ โดยอ้างอิงราคาทอง Live Gold Spot แบบ Real Time เพื่อช่วยลดต้นทุนจากแรงกดดันและความผันผวนต่อค่าเงินบาท จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากไม่ต้องแปลงค่าเงินเป็นบาททุกครั้งที่มีการซื้อขาย สร้างความคุ้มค่าทำให้นักลงทุนได้มากขึ้น รวมทั้งอำนวยความสะดวกมากยิ่งกว่าเดิม ด้วยการทำธุรกรรมแบบออนไลน์

ทั้งนี้ การให้บริการแพลตฟอร์ม HUA SENG HENG USD GOLD TRADE สามารถทำธุรกรรมได้ทั้งบนเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน โดยผู้ลงทุนจะสามารถซื้อขายทองคำเป็นเงิน USD ได้แบบเรียลไทม์ ผ่านบัญชี FCD ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการเทรดทอง เพราะไม่ต้องเปลี่ยนค่าเงินจาก USD เป็นเงินบาท

ทุกครั้งที่มีการซื้อและขาย ช่วยให้ผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนได้ง่ายขึ้น พร้อมด้วยโปรโมชันอัตราแลกเปลี่ยนพิเศษจากธนาคารกรุงเทพในการแปลงค่าเงินระหว่างบัญชี FCD สกุลเงินดอลลาร์กับบัญชีสกุลเงินบาท พร้อมทั้งยังได้รับดอกเบี้ยเงินฝากอีกด้วย

ด้าน ธนรัชต์ พสวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฮั่วเซ่งเฮง กล่าวว่า ในนามกลุ่มธุรกิจค้าทองฮั่วเซ่งเฮง รู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่ง ที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ให้ความไว้วางใจ และให้การอนุญาตแก่บริษัทในการชำระและรับชำระค่าทองคำที่ซื้อขายในประเทศ กับลูกค้าของบริษัทที่เป็นบุคคลในประเทศ และบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ด้วยสกุลดอลลาร์สหรัฐ อย่างเป็นทางการเป็นรายแรก

ฮั่วเซ่งเฮงในฐานะผู้นำในธุรกิจค้าทองในประเทศไทยมากว่า 70 ปี มีความยินดีที่ได้มีโอกาส ร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มการให้บริการซื้อขายทองในรูปแบบใหม่รองรับการลงทุนรูปแบบการซื้อขายทอง Gold Spot เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการผ่อนผันการถือครองสกุลเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย และพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจค้าทองของไทย ให้เป็นแบบอย่างที่ก้าวล้ำและเป็นผู้นำในภูมิภาค

ปัจจุบันการซื้อขายทองคำผ่านระบบออนไลน์มีการเติบโตเป็นอย่างมาก Hua Seng Heng USD GOLD จะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยิ่งเพิ่มความสะดวกให้กับนักลงทุน สามารถช่วยลดต้นทุนจากแรงกดดันและความผันผวนต่อค่าเงินบาท อีกทั้งยังสามารถดูราคาซื้อขายอ้างอิงราคา spot ในต่างประเทศได้ทันที ทำให้ซื้อขายได้คล่องสามารถชำระเงินได้อย่าง real time และทำธุรกรรมแบบออนไลน์ได้ทุกที่ที่ต้องการ จึงเพิ่มโอกาสให้นักลงทุนทำกำไรได้มากขึ้น ส่วนลูกค้าที่มีบัญชี FCD อยู่ก่อนแล้ว ยังสามารถบริหารต้นทุนผ่านการลงทุนทองคำได้โดยไม่ต้องไปลงทุนในต่างประเทศ

สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนผ่านแพลตฟอร์ม HUA SENG HENG USD GOLD TRADE สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ www.huasengheng.com หรือ โทร 0-2763-9999 และสามารถเปิดบัญชี FCD ที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงเทพ 45 สาขา ใกล้บ้าน พร้อมรับเอกสารแนะนำจากฮั่วเซ่งเฮง

โดยบัญชี FCD ธนาคารกรุงเทพ สามารถเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศในสกุลหลักๆ ได้ถึง 16 สกุลเงิน อาทิ ดอลลาร์สหรัฐ หยวน ยูโร ปอนด์สเตอร์ลิง ฟรังก์สวิส เยน ดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์นิวซีแลนด์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์สิงคโปร์ เป็นต้น ด้วยอัตราเงินฝากเริ่มต้น 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่าในสกุลเงินอื่น โดยมีจุดเด่น คือ การทำธุรกรรมได้ง่าย ทั้งฝาก ถอน หรือโอนเงินระหว่างบัญชี หลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งฝากได้ในหลากหลายสกุลเงินที่รับฝาก ทั้งบัญชีสะสมทรัพย์ประจำ หรือกระแสรายวัน

]]>
1308778
“ธนาคารกรุงเทพ” แต่งตั้ง “เทสโก้ โลตัส” เป็น Banking Agent ฝาก/ถอนได้กว่า 1,800 แห่งทั่วประเทศ https://positioningmag.com/1307322 Wed, 25 Nov 2020 04:00:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307322

ต้องบอกว่ายุคนี้เป็นยุคแห่งการผนึกกำลังเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้มากขึ้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาวงการธนาคาร และค้าปลีกต่างถูก Disrupt ด้วยเทคโนโลยี และดิจิทัล จึงเกิดเป็นเทรนด์ธนาคารที่อยู่นอกธนาคาร หรือค้าปลีกเองก็ต้องการบริการที่เป็น One Stop Service เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคมากขึ้น

จึงได้เห็นกลยุทธ์ Banking Agent เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย เป็นการจับมือกันของธนาคาร และค้าปลีก ในการเป็นตัวแทนของธนาคารในการทำธุรกรรมต่างๆ ได้ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเพิ่มจุดให้บริการ และมีเวลาการเปิดให้บริการที่นานกว่าด้วย

ล่าสุด “ธนาคารกรุงเทพ” ได้ประกาศแต่งตั้ง “เทสโก้ โลตัส” เป็น Banking Agent เป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญที่ให้บริการธุรกรรมทางการเงิน การร่วมมือกันในครั้งนี้ จะทำให้ลูกค้าของธนาคารกรุงเทพกว่า 17 ล้านบัญชี สามารถฝาก/ถอนเงินสด ผ่านเคาน์เตอร์ชำระเงินของเทสโก้ โลตัส ทั้งสาขาขนาดใหญ่ที่เป็นไฮเปอร์มาร์เก็ต และขนาดเล็กที่เป็นโมเดลเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส  เพิ่มเติมจากการทำธุรกรรมที่สาขาและเครื่องฝาก/ถอนเงินสดอัตโนมัติ

โดยปัจจุบันสามารถใช้บริการฝาก/ถอนเงินสดในเทสโก้ โลตัสได้แล้วกว่า 90% หรือมากกว่า  1,800 สาขา และภายในสิ้นปีนี้จะขยายบริการให้ครบทั้งกว่า 2,000 สาขาทั่วประเทศ

ความสำคัญของความร่วมมือนี้ ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้ามากขึ้น ลดข้อจำกัดในการทำธุรกรรมที่สาขา ไม่จำเป็นต้องเดินหาตู้ ATM สามารถเข้าถึงธุรกรรมทางการเงินได้ตลอดเวลาที่ต้องการผ่านทั้งช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์ ด้วยจำนวนสาขาของเทสโก้ โลตัสที่ครอบคลุมทุกภูมิภาค ที่สำคัญมีระยะเวลาในการทำธุรกรรมได้ยาวนานขึ้น ตามเวลาการเปิดให้บริการที่ยาวนานกว่าการให้บริการของสาขาธนาคารตามปกติ

ปรัศนี อุยยามะพันธ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

“ปัจจุบันพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้ามีความหลากหลายมาก และไม่ได้จำกัดอยู่บนเพียงแพลตฟอร์มเดียว บางคนมีเงินสดอยู่ในมือ แต่ต้องการทำธุรกรรมออนไลน์ หรือบางคนมีแอปพลิเคชันแต่จำเป็นต้องใช้เงินสดในเวลานั้นแต่ไม่มีตู้เอทีเอ็ม ดังนั้น การมีพันธมิตรอย่างเทสโก้ โลตัส ซึ่งถือเป็นผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกชั้นนำระดับประเทศ เข้ามาช่วยให้บริการ Banking Agent จะช่วยยกระดับศักยภาพการให้บริการและอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้เพิ่มมากขึ้น สามารถเชื่อมต่อกันไปมาระหว่างการทำธุรกรรมทั้งช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์ได้ตลอดเวลา”

ทางด้าน วิณัฏฐา นิภาวงษ์ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจบริการ เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า

“หนึ่งในจุดมุ่งหมายของเทสโก้ โลตัส คือการเป็น one stop destination ที่ลูกค้าสามารถมาจับจ่ายสินค้าคุณภาพสูงในราคาที่เอื้อมถึง และยังสามารถประกอบกิจกรรมต่างๆ ซึ่งรวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างสะดวกสบายภายในจุดเดียว

การร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพในการเป็น Banking Agent ช่วยเติมเต็มบริการที่เทสโก้ โลตัส ส่งมอบให้กับลูกค้าที่เข้ามาช้อปปิ้งในทุกสาขา โดยลูกค้าที่มีบัญชีธนาคารกรุงเทพ จะสามารถทำธุรกรรมฝากและถอนเงินสดได้ผ่านจุดบริการลูกค้าและทุกแคชเชียร์ในเทสโก้ โลตัส สาขาใหญ่ และแคชเชียร์เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรสทั่วประเทศ”

นอกจากนั้น ลูกค้ายังสามารถถอนเงินสดได้จากบัตรเดบิตบีเฟิสต์ สมาร์ท ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งช่วยยกระดับความสะดวกยิ่งขึ้นไปอีก ตอบโจทย์ลูกค้าในยุคปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการใช้บริการ

และเพื่อเพิ่มความคุ้มค่าให้กับลูกค้า สำหรับลูกค้าที่ใช้บริการฝาก/ถอนเงินสดผ่านบัญชีธนาคารกรุงเทพพร้อมคลับการ์ด ที่เทสโก้ โลตัส สาขาที่ร่วมรายการ ระหว่าง 1 พ.ย.2563 – 31 ธ.ค. 2563  รับฟรีคูปองส่วนลดท้ายใบเสร็จมูลค่า 15 บาท สำหรับซื้อสินค้าในครั้งต่อไป

]]>
1307322
เเบงก์กรุงเทพ ลุยกลยุทธ์ “ทำบุญ” กระตุ้นรูดบัตร จ่อปรับฐานรายได้กู้บัตรเครดิตเป็น 2.5-3 หมื่นบาท https://positioningmag.com/1307341 Tue, 24 Nov 2020 10:43:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307341 โรคระบาดทำเศรษฐกิจซบเซา คนระวังใช้จ่าย ประหยัดมากขึ้น รูดบัตรเครดิตน้อยลงเเบงก์กรุงเทพขยับเจาะลูกค้าจ่ายตามไลฟ์สไตล์ เน้นดีลซูเปอร์มาร์เก็ตสินค้าในชีวิตประจำวัน ลุยต่อกลยุทธ์กระตุ้นรูดบัตรได้ร่วมทำบุญจ่อปรับเพิ่มรายได้ขั้นต่ำสมัครบัตรเครดิตเป็น 25,000-30,000 บาทต่อเดือน ห่วงกลุ่มหนี้ครัวเรือนสูง 

โชค ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก เพราะภาคการท่องเที่ยวยังไม่กลับมา เเละคาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 12 เดือนจึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติซึ่งต้องจับตาดูการพัฒนาวัคซีนด้วย

การที่เศรษฐกิจซบเซานั้น ส่งผลกระทบต่อธุรกิจบัตรเครดิตเเละการจับจ่ายใช้สอยของผู้ถือบัตรของธนาคารโดยตรง

ล่าสุด ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตกรุงเทพ ลดลง 11-12% เมื่อเทียบจากปีก่อนดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงล็อกดาวน์ ในเดือนเม..-.. ที่ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรลดลงไปต่ำสุดที่ 16-17% เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวหายไป

สำหรับเป้าหมายบัตรเครดิตใหม่ของปีนี้ ผู้บริหารเเบงก์กรุงเทพ ยอมรับว่า ไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 2.8 แสนบัตร เพราะปัจจุบันทำได้เพียง 1.8 แสนบัตรเท่านั้น หลักๆ มาผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และคาดว่าสิ้นปีนี้จะทำได้ 2 แสนบัตร ทั้งนี้ ธนาคารกรุงเทพมีฐานลูกค้าบัตรเครดิตทั้งหมดราว 2.5 ล้านราย

ปีหน้าถ้าได้ยอดบัตรใหม่ 2 แสนบัตร เท่ากับปีนี้ก็เก่งแล้ว ส่วนยอดใช้จ่ายมองว่าจะทรงตัวจากปีนี้

โชค ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ

ขยับหาลูกค้า ซื้อของอุปโภค-บริโภค

เมื่อผู้คนต้องประหยัดเเละระมัดระวังการใช้เงินมากขึ้น ทำให้การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตลดน้อยลงไปด้วย ประกอบกับการใช้จ่ายเพื่อท่องเที่ยวต่างประเทศที่เคยเป็นหมวดที่มีการใช้จ่ายสูงหายไป

ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เเบงก์กรุงเทพต้องขยับหันมามุ่งไปส่งเสริมการใช้จ่ายเน้นด้านอุปโภคบริโภครูดบัตรเพื่อซื้อสินค้าเเละการเดินทางในชีวิตประจำวัน

ธนาคารกรุงเทพ จะทำโปรโมชันกับกลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ต เติมน้ำมัน การรักษาพยาบาล เเละการท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มมากขึ้น

เรียกได้ว่า เป็นไปตามเทรนด์ของผู้ให้บริการบัตรเครดิตหลายราย ที่เริ่มหันมาเปิดบัตรใหม่ตามไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมากขึ้น อย่าง บัตรเครดิตช้อปปิ้งออนไลน์ บัตรเครดิตเพื่อตรวจสุขภาพ ฯลฯ

ผู้บริหารเเบงก์กรุงเทพ มองว่า เป็นโอกาสที่ดีในการจะเข้าถึงลูกค้าใหม่เเละตอบโจทย์ลูกค้าเก่ามากขึ้น เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ใช้จ่ายเฉพาะส่วนตามจุดประสงค์มากขึ้น ไม่รูดบัตรเกินเพื่อเผื่อใช้ เเต่คิดว่าจะใช้อย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งยังมีอีกหลายเซกชั่นการใช้ชีวิตที่ธุรกิจบัตรเครดิตจะขยายไปหาลูกค้าได้อีก

“ทำบุญ” กระตุ้นรูดบัตร 

อีกหนึ่งบัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน ทั้งเรื่องสุขภาพเเละการชอบทำบุญของคนไทย ก็คือการ Co- Brand กับโรงพยาบาลศิริราช ที่ทำมาเเล้ว 5 ปี เเละเพิ่งมีการอัพเกรดสิทธิประโยชน์ต่อไปอีก 5 ปี เนื่องจากมีกระเเสตอบรับที่ดี สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 

สำหรับ “บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ทีพีเอ็น แรบบิท ศิริราชจะให้ฟรีประกันอุบัติเหตุ พร้อมค่ารักษาพยาบาล แตะจ่ายได้เหมือนบัตรแรบบิท ขณะที่บัตรเครดิตวีซ่า แพลทินัม ศิริราชให้ผ่อนจ่ายค่ารักษาค่ารักษา 0% นาน 3 เดือนพร้อมส่วนลดคะแนนสะสมเเละตรวจสุขภาพฟรี

โดยทุกยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรดังกล่าว ธนาคารกรุงเทพจะสมทบให้ศิริราช 0.2% ของยอดใช้จ่าย

ปัจจุบัน บัตรร่วมศิริราช มีผู้ถือบัตรรวมกว่า 1.4 ล้านราย มียอดบริจาคของลูกค้าและเงินสมทบธนาคารแก่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รวมกว่า 275 ล้านบาทในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

การที่เราทำให้ผู้ถือบัตรสามารถเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับในคราวเดียวกัน ทุกครั้งที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตร เป็นการสร้างความแตกต่างจากบัตรอื่น ๆ ในตลาด ตอบโจทย์ผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับการได้มีส่วนช่วยดูแลสังคม หรือการทำดีในแบบที่สามารถจับต้องได้จริง รู้สึกดีเมื่อรู้ว่าทุกการใช้จ่ายของลูกค้า ได้ทำประโยชน์ให้ผู้อื่นด้วย

ผู้บริหารเเบงก์กรุงเทพ บอกอีกว่า บัตรเครดิตที่เเบ่งยอดการใช้จ่ายไปทำบุญเเละช่วยเหลือสังคมนั้น กระตุ้นผู้บริโภคให้ตัดสินใจเลือกหยิบบัตรมาใช้จ่ายง่ายขึ้น เป็นอีกหนึ่งเเนวทางในการเพิ่มยอดใช้จ่ายผ่านบัตรได้ดี โดยเฉพาะในยามเศรษฐกิจไม่เเน่นอน

โชค ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ (ซ้าย) ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (ขวา)

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธนาคารกรุงเทพมีบัตรเครดิตที่ทำโปรโมชันร่วมทำบุญกับหลายโรงพยาบาล เเต่เป็นไปในลักษณะการเเลกพอยท์ ไม่ได้เป็น Co- Brand เหมือนกับศิริราช โดยคาดหวังว่าจะมีลูกค้าผู้ถือบัตรร่วมศิริราชทั้ง 2 แบบเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านราย ภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า

ต่อไปก็อาจจะมีการพิจารณาร่วมกับโรงพยาบาลอื่นๆ เเต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะออกบัตร Co- Brand ในช่วงเร็วๆ นี้

ปรับรายได้ขั้นต่ำของลูกค้าเป็น 2.5-3 หมื่นต่อเดือน

ส่วนภาพรวมแผนธุรกิจปี 2564 ในเบื้องต้นธนาคารกรุงเทพ จะปรับฐานคุณสมบัติของลูกค้าใหม่เป็นผู้มีรายได้ 25,000 -30,000 บาทต่อเดือน จากเดิมที่มีการพิจารณาปล่อยกู้ บัตรเครดิตอยู่ที่รายได้ราว 20,000 บาทต่อเดือน เพื่อหวังชะลอหนี้ครัวเรือนที่ปัจจุบันคนกลุ่มนี้อยู่ระดับสูง และไม่อยากส่งเสริมให้คนใช้จ่ายเกินตัว

เราจะเน้นไปที่การกระตุ้นการใช้จ่ายบัตรเครดิตกับลูกค้าเดิมเป็นหลัก

จากสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อลูกค้าของธนาคาร โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับภาคท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน โดยล่าสุด มีลูกค้าที่เข้าโครงการพักชำระหนี้ราว 35,000 ราย ส่วนใหญ่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ มีลูกค้าราว 20-25% ที่ยังต้องการความช่วยเหลือต่อ

โดยธนาคารกรุงเทพ มีมาตรการให้ความช่วยเหลือต่างๆ เช่น ด้วยการพักชำระหนี้ 3 เดือน , คิดดอกเบี้ย 12% จาก 16% และแปลงหนี้บัตรเครดิตเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลา ซึ่งจะมีการประเมินทุกๆ 3 เดือนหากลูกค้ายังไม่สามารถกลับมาชำระได้ก็จะมีการช่วยเหลือต่อไป

ส่วนแนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ภาพรวมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามสภาพที่เป็นไป โดยขณะนี้อยู่ที่ 2.6% จากสิ้นปี 2019 อยู่ที่ 2.15% 

 

]]>
1307341
ธนาคารไทย ตามหา “ขุมทรัพย์ใหม่” เเย่งลงทุนอาเซียน ส่ง “ดิจิทัลเเบงกิ้ง” เข้าถึงท้องถิ่น https://positioningmag.com/1279921 Mon, 25 May 2020 13:10:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279921 เห็นได้ชัดว่าช่วงนี้ ธนาคารใหญ่ในไทยกำลังหา “บ่อเงิน” เเห่งใหม่ ด้วยการเข้าไปเจาะประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
ที่เป็นตลาดเติบโตใหม่ เป็นโอกาสทองที่จะเข้าไปปูทางสร้าง “ดิจิทัลเเบงกิ้ง” ให้เข้าถึงประชากรจำนวนมาก
ในยามที่คู่เเข่งยังไม่เยอะ

ธนาคารกรุงเทพ เพิ่งปิดดีลซื้อ “Permata” เเบงก์ใหญ่อันดับ 12 ของอินโดนีเซียเเบบ “เสร็จสมบูรณ์” ไปหมาดๆ
ขณะที่ “เมียนมา” ดึงดูดสุดๆ ทั้ง SCB เเละ KBANK รุมเเย่งเข้าลงทุน ส่วนกรุงศรี ขอขยับไปลุยฟิลิปปินส์เเละเวียดนาม

อินโดฯ เนื้อหอม ตลาดใหญ่…โตได้อีก

เมื่อ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เพิ่งปิดดีลซื้อ “พอร์มาตา” (Permata) ธนาคารใหญ่อินโดนีเซีย เเบบเสร็จสมบูรณ์ไปเป็นที่เรียบร้อย หลังประกาศทำสัญญาซื้อขายกันมาตั้งเเต่ช่วงปลายปี 2019 โดยมีการโอนเงินกว่า 73,722 ล้านบาทจ่ายค่าหุ้น 89.12% พร้อมเดินหน้าทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดอีก 10.88% จากผู้ถือหุ้นรายย่อยต่อไป ซึ่งจะทำให้ BBL เป็นเจ้าของพอร์มาตา 100% ในอนาคต

BBL ปิดดีลซื้อ “เพอร์มาตา” เเบงก์อินโดฯ โอนเงิน 7.37 หมื่นล้าน จ่ายค่าหุ้น 89.12% เสร็จสมบูรณ์

ถือเป็นดีลประวัติศาสตร์ของเเบงก์ในอาเซียน โดยพอร์มาตา เป็นธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 12 ของอินโดนีเซีย มีสินทรัพย์ 366,595 ล้านบาท (หรือประมาณ 167,394,076 ล้านรูเปียห์ หรือ 11,349 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มีฐานลูกค้าจำนวน 3.75 ล้านราย และสาขา 312 แห่งทั่วอินโดนีเซีย มีจุดเด่นเรื่องฐานเงินฝากและเทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูง นับเป็นสมาชิกใหม่ในกลุ่มธุรกิจการเงินของธนาคารกรุงเทพที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า การดำเนินการในครั้งนี้
จะส่งผลให้สัดส่วนของสินเชื่อในตลาดต่างประเทศต่อสินเชื่อรวมของ BBL เพิ่มขึ้นจาก 17% เป็น 25%
เป็นไปตามกลยุทธ์เพื่อการเติบโตของธนาคาร โดยวางเป้าหมายจะเจาะลูกค้าลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs
ทั้งนี้ BBL ได้เข้าไปเปิดสาขาในกรุงจาการ์ตาเเห่งเเรก มาตั้งเเต่ปี 1968

ตลาดการเงินอินโดนีเซียนั้นหอมหวานในสายตายักษ์ใหญ่การเงินไทยและญี่ปุ่น เพราะธนาคารกรุงเทพไม่ใช่รายเดียวที่สนใจซื้อหุ้นธนาคารอินโดนีเซีย โดย SMFG หรือ Sumitomo Mitsui Financial Group Inc. ก็ยื่นข้อเสนอประมูลครั้งนี้เช่นกัน เเต่พ่ายไป

การเเข่งขันของธุรกิจการเงินในอินโดนีเซียคงดุเดือดต่อไป ด้วยความน่าดึงดูดของศักยภาพการเติบโตด้านเศรษฐกิจ ที่โตกว่า 5% เเละเเม้จะเจอพิษ COVID-19 ในไตรมาส 1/2020 ทำให้ขยายตัวเพียง 2.97% ต่ำสุดในรอบ 19 ปี เเต่ไทยก็จีดีพีหดตัวถึง -1.8%

อีกทั้ง อินโดนีเซียยังมีประชากรกว่า 260 ล้านคน มากเป็นอันดับ 4 ของโลกเเละการเมืองมีเสถียรภาพ ผู้คนในท้องถิ่นอีกจำนวนมหาศาลที่ยังไม่เข้าถึงดิจิทัลเเบงกิ้ง เเละอัตราการเข้าถึงสินเชื่อยังอยู่ในระดับต่ำที่ 36% ในขณะที่ประเทศไทยอัตรานี้เกิน 100% แล้ว เเสดงว่ามี “ช่องว่าง” ของตลาดอีกมาก เป็นโอกาสทองที่ต้องรีบคว้าไว้ให้ได้

ด้านคู่เเข่งอย่าง ธนาคารกสิกรไทย (KBank) ไม่น้อยหน้า บุกตลาดอินโดฯ เช่นเดียวกัน ด้วยการเข้าถือหุ้นในธนาคาร “แมสเปี้ยน” เต็มเพดาน 40% วางเป้าปั้นธุรกรรมดิจิทัล เจาะลูกค้าท้องถิ่น

โดยเมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา บริษัท กสิกร วิชั่น ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้น ธนาคารแมสเปี้ยน (PT Bank Maspion Indonesia Tbk) ของอินโดนีเซีย ในสัดส่วนถือหุ้นรวมเป็น 40% โดยเป็นการเพิ่มสัดส่วนจากที่ธนาคารกสิกรไทยมีอยู่เดิม 9.99% ตั้งแต่ปี 2017

KBank สยายปีกอาเซียน บุก “อินโดฯ-เมียนมา” ลุยซื้อหุ้นเเบงก์เเมสเปี้ยน 40%

“การเพิ่มสัดส่วนถือหุ้นในธนาคารแมสเปี้ยน ถือเป็นทางเลือกของการเข้าไปลงทุนที่คุ้มค่าต่างจากการที่ต้องเข้าไปลงทุนเองใหม่ทั้งหมด แม้ธนาคารแมสเปี้ยนยังเป็นธนาคารขนาดเล็ก แต่มีเครือข่ายสาขาครอบคลุมครบทุกเมืองสำคัญ” ภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย และประธานกรรมการ บริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด (KVision) กล่าว

ธนาคารแมสเปี้ยน (PT Bank Maspion Indonesia Tbk) ในอินโดนีเซีย

ผู้บริหารกสิกรไทย มองว่าอินโดนีเซีย เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่ยังเติบโตและมีอนาคตสดใสในอาเซียน
ที่สามารถใช้ความเชี่ยวชาญทางผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร รวมถึงจะใช้รูปแบบการทำธุรกิจที่เป็น Asset-Light และการลงทุนพัฒนาดิจิทัลแบงกิ้ง ตามแนวโน้มพฤติกรรมของลูกค้าในอินโดนีเซียที่จะทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ

“KBank จะมุ่งเน้นการให้สินเชื่อให้กับกลุ่มลูกค้าขนาดกลางและย่อมในอินโดฯ โดยใช้ Data Lending และ Formula Lending Model ผลิตภัณฑ์ Payroll เเละขยายธุรกิจร้านค้ารับบัตร รองรับการชำระเงินเเบบไร้เงินสด ผลักดันสินเชื่อมีหลักประกัน เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล ฯลฯ”

เปิดโลกดิจิทัล ขุมทรัพย์ “เมียนมา”

นอกจากเข้าลงทุนในอินโดนีเซียเเล้ว KBank ยังขยับไปหาขุมทรัพย์ใหม่ เพื่อนบ้านที่คุ้นเคยกันดีอย่าง “เมียนมา”
โดยธนาคารกสิกรไทย ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการโดยธนาคารกลางของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ในการเข้าร่วมลงทุนในสัดส่วน 35% ของ ธนาคารเอยาวดี ฟาร์มเมอร์ ดีเวลลอปเม้นท์แบงก์ หรือ เอแบงก์
(Ayeyarwaddy Farmers Development Bank – A bank) ซึ่งธนาคารกสิกรไทย เป็นธนาคารต่างชาติรายแรกที่ได้รับการอนุญาตให้เข้าไปลงทุนในธนาคารพาณิชย์ของเมียนมา

“การร่วมลงทุนในธนาคารกับเอแบงก์ในครั้งนี้ เป็นรูปแบบการเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศเมียนมา
ที่ใช้เงินลงทุนที่น้อยและมีประสิทธิผลกว่าการเข้าไปดำเนินธุรกิจในรูปแบบสาขาต่างประเทศและธนาคารท้องถิ่น
โดยการเข้าไปร่วมลงทุนในเอแบงก์สามารถดำเนินธุรกิจได้ทันที”

สำหรับ “เอแบงก์” ปัจจุบันมีสินทรัพย์ 314 พันล้านจ๊าด หรือราว 6.4 พันล้านบาท มีทุนจดทะเบียน 40 พันล้านจ๊าด หรือ 820 ล้านบาท ก่อตั้งเมื่อปี 2014

ธนาคารเอยาวดี ฟาร์มเมอร์ ดีเวลลอปเม้นท์แบงก์ หรือ เอแบงก์ (Ayeyarwaddy Farmers Development Bank – A bank) ในเมียนมา

กลยุทธ์ที่สำคัญของ KBank ในการรุกเมียนมา คือการขยายธุรกิจธนาคารดิจิทัล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาโมบายล์แอปพลิเคชัน เพื่อครอบคลุมลูกค้าส่วนบุคคลทั่วประเทศ ซึ่งยังมีสัดส่วนในการเข้าถึงธนาคารค่อนข้างต่ำ รวมถึงธุรกิจรับชำระเงิน เพื่อตอบโจทย์การชำระสินค้าและบริการ ซึ่งจะช่วยลดภาระในการใช้และบริหารเงินสดในประเทศรวมถึงจะขยายช่องทางธนาคารตัวแทน (Agent Banking) และการเพิ่มจำนวนเครื่อง ATM ในเมียนมาด้วย

ฝั่ง “ธนาคารไทยพาณิชย์” (SCB) ก็ประกาศบุกเมียนมาเต็มสูบเช่นกัน หลังรับอนุมัติจัดตั้ง “ธนาคารลูก” อย่างเป็นทางการ โดยตั้งเป้า 5 ปี ยอดสินเชื่อแตะ 7 พันล้านบาท เจาะลูกค้าทุกกลุ่มทั้งรายใหญ่ SMEs เเละรายย่อย

อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า
เมียนมาเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจอันดับต้นๆ ของภูมิภาคที่นักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลกให้ความสนใจ

โดยใน 5 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัวของจีดีพีเฉลี่ยประมาณ 6-7% และมีมูลค่าการลงทุนตรงจากประเทศไทย (FDI) ที่ได้รับการอนุมัติแล้วจนถึงปัจจุบันที่ 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่เป็นอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และจีน นอกจากนั้นประเทศไทยยังเป็นคู่ค้าในลำดับที่ 2 รองจากจีน มีมูลค่าการค้า 7.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2019 โดยไทยพาณิชย์เริ่มต้นให้บริการผ่านสำนักงานผู้แทนธนาคารในเมียนมาตั้งแต่ปี 2012

ทั้งนี้ ภายใต้ Subsidiary License ทำให้สามารถเปิดธนาคารในรูปแบบบริษัทลูกที่มีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้ถือหุ้น 100% และสามารถประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้เต็มรูปแบบเหมือนธนาคารท้องถิ่น เเละสามารถเปิดสาขาใน
แหล่งธุรกิจที่สำคัญได้ 10 สาขา

โดย SCB วางแผนจะทำตลาดเจาะลูกค้ารายย่อยชาวเมียนมา ด้วยผลิตภัณฑ์ทางด้านเงินฝาก สินเชื่อบุคคล ดิจิทัลแบงกิ้ง และกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง รวมถึงกลุ่มนักลงทุนไทยที่เข้าไปลงทุนในเมียนมา ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้านักธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนที่เมียนมาและมีความสนใจใช้บริการกับธนาคารแล้วกว่า 100 ราย จากกลุ่มอุปโภคบริโภค พลังงาน นิคมอุตสาหกรรม ภาคการผลิต และอุตสาหกรรมการเกษตร โดยธนาคารตั้งเป้าประมาณการวงเงินสินเชื่อ 7,000 ล้านบาท ภายในปี 2024

“ตลาดลูกค้ารายย่อยของเมียนมา ถือว่าเป็นโอกาสที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับธุรกิจธนาคาร ด้วยประชากรกว่า 54
ล้านคน ถือเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพที่ธนาคารจะพัฒนาการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินขั้นพื้นฐานให้แก่ชาวเมียนมา”

ลุยปล่อยสินเชื่อรายย่อย ฟิลิปปินส์-เวียดนาม 

ขณะที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) กำลังเดินหน้าร่วมมือกับธนาคารพันธมิตรที่อยู่ในเครือข่าย MUFG ที่เป็นบริษัทเเม่ โดยมีการเข้าไปร่วมทุน (Joint Venture) โดยถือหุ้น 50% ในบริษัท เอสบี ไฟแนนซ์ คอมปานี อิงค์ (SBF)
บริษัทไฟแนนซ์ในฟิลิปปินส์ ซึ่ง SBF เป็นบริษัทลูกของ Security Bank Corporation ที่ทาง MUFG ถือหุ้นอยู่ 20%

“ฐากร ปิยะพันธ์” ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์เเละผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงกิ้งและนวัตกรรม กล่าวว่า มีการศึกษาตลาดเเละเตรียมเเผนงานร่วมกันเรียบร้อย ซึ่งจะเริ่มรุกตลาดด้วยสินเชื่อส่วนบุคคลก่อน จะนำกรุงศรี เฟิร์สช้อยส์ ไปทดลองเเละดูว่าเเบบไหนได้ผลดี จากนั้นปีต่อไปจึงจะขยายไปสินเชื่อรถจักรยานยนต์และรถยนต์

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรุงศรี คอนซูเมอร์ ได้เริ่มธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ในลาว (asset รวมอยู่ที่ 6 พันล้านบาท) และธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ในกัมพูชา (asset รวมอยู่ที่ 3.3 พันล้านบาท)

นอกจากฟิลิปปินส์เเล้ว ในเเผนประจำปี 2020 ของกรุงศรียังกำลังมองหาโอกาสลงทุนในเวียดนามเเละอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดใหญ่เเละมีการเติบโตสูงในกลุ่ม CLMV คาดว่าจะมีการนำ “สินเชื่อรายย่อย” ไปตีตลาดก่อน จากนั้นจึงขยายไปสู่ธุรกิจใหญ่เเละบริการอื่นๆ

ธุรกิจการเงินในไทยต้องเเข่งขันสูง มีกฎเข้มงวดเเถมตลาดยังอิ่มตัวเเล้ว ส่วนตลาดในประเทศเพื่อนบ้านยังเติบโตได้อีก เเน่นอนว่าหลังผ่านพ้นวิกฤต COVID-19 เราคงจะได้เห็น “เเบงก์ไทย” หาลู่ทางสู่โอกาสใหม่กันอีกหลายเจ้า

]]>
1279921
BBL ปิดดีลซื้อ “เพอร์มาตา” เเบงก์อินโดฯ โอนเงิน 7.37 หมื่นล้าน จ่ายค่าหุ้น 89.12% เสร็จสมบูรณ์ https://positioningmag.com/1279805 Wed, 20 May 2020 18:10:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279805 ธนาคารกรุงเทพ ปิดดีลซื้อ “พอร์มาตา” ธนาคารใหญ่อินโดฯ เสร็จสมบูรณ์เเล้ว หลังโอนเงิน 73,722 ล้านบาท จ่ายค่าหุ้น 89.12% เดินหน้าทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดอีก 10.88% จากผู้ถือหุ้นรายย่อย

ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพได้โอนชำระค่าหลักทรัพย์ธนาคารพีที เพอร์มาตา ทีบีเค (เพอร์มาตา-Permata) ร้อยละ 89.12 ตามมูลค่าประเมินที่ตกลงร่วมกันที่ 1.63 เท่าของมูลค่าตามบัญชีของเพอร์มาตา ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 เป็นเงิน 73,722 ล้านบาท (หรือประมาณ 33,662,797 ล้านรูเปียห์ หรือ 2,282 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ให้กับ พีที แอสทรา อินเตอร์เนชั่นแนล ทีบีเค และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เสร็จสมบูรณ์ในวันนี้

“ธนาคารขอขอบคุณธนาคารแห่งประเทศไทย หน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจการเงินของอินโดนีเซีย Otoritas Jasa Keuangan และหน่วยงานของทางการที่เกี่ยวข้องที่ได้อนุมัติและสนับสนุนการเข้าซื้อกิจการในครั้งประวัติศาสตร์นี้ ซึ่งการเข้าซื้อกิจการธนาคารเพอร์มาตาที่มีสินทรัพย์ 366,595 ล้านบาท (หรือประมาณ 167,394,076 ล้านรูเปียห์ หรือ 11,349 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 12 ของอินโดนีเซียเมื่อพิจารณาจากสินทรัพย์รวม พร้อมด้วยฐานลูกค้าจำนวน 3.75 ล้านราย และสาขา 312 แห่งทั่วอินโดนีเซีย นับเป็นสมาชิกใหม่ในกลุ่มธุรกิจการเงินของธนาคารกรุงเทพที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้จะส่งผลให้สัดส่วนของสินเชื่อในตลาดต่างประเทศต่อสินเชื่อรวมของธนาคารกรุงเทพเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 17 เป็นร้อยละ 25 เป็นไปตามกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างรากฐานของธนาคารกรุงเทพเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน”

ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

สำหรับการดำเนินการในลำดับถัดไปธนาคารกรุงเทพจะยื่นขออนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจการเงินของอินโดนีเซีย (Otoritas Jasa Keuangan) เพื่อ จัดทำคำขอเสนอซื้อหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมดของธนาคารเพอร์มาตาอีกร้อยละ 10.88 จากผู้ถือหุ้นรายย่อย

หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการรวมสาขาธนาคารกรุงเทพในอินโดนีเซียเข้ากับธนาคารเพอร์มาตา ซึ่งจะช่วยเสริมให้ธนาคารกรุงเทพมีรากฐานที่มั่นคงยิ่งขึ้นในสองประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยจะร่วมกับธนาคารเพอร์มาตาในการขยายธุรกิจต่อยอดจากจุดแข็งเดิมในตลาดลูกค้าบุคคล ลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอี และลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันลูกค้าของธนาคารกรุงเทพจะมีโอกาสมากขึ้น

ส่วนการขยายธุรกิจเข้าไปในประเทศอินโดนีเซีย ธนาคารยังมุ่งหวังให้ความร่วมมือในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างธนาคารเพอร์มาตากับกลุ่มแอสทราให้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ด้าน พริโจโน ซูกิอาร์โต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีที แอสทรา อินเตอร์เนชั่นแนล ทีบีเค กล่าวว่า กลุ่มบริษัทแอสทราขอขอบคุณสำหรับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จของธุรกรรมธนาคารเพอร์มาตาในครั้งนี้ กลุ่มบริษัทแอสทรายังคงเชื่อมั่นในภาคธุรกิจบริการทางการเงินของอินโดนีเซีย โดยยังคงให้ความสำคัญกับการขยายบริการทางการเงินไปยังลูกค้าบุคคล และขออวยพรให้ธนาคารกรุงเทพและธนาคารเพอร์มาตาประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทแอสทราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้พัฒนาความสัมพันธ์กับธนาคารเพอร์มาตาให้แน่นแฟ้นต่อไป

บิล วินเทอร์ส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาทีมงานธนาคารเพอร์มาตามีผลงานที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง และเราเชื่อว่าธนาคารเพอร์มาตายังคงมีศักยภาพที่แข็งแกร่งสำหรับการเติบโตในระยะยาว แต่ยุทธศาสตร์ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดในขณะนี้ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจผ่านสาขาของธนาคารเองเป็นหลัก การเปิดทางให้ผู้ถือหุ้นรายใหม่อย่างธนาคารกรุงเทพที่ได้รับความเชื่อถืออย่างกว้างขวางและมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ธนาคารเพอร์มาตามีการพัฒนาทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

ชาติศิริ กล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารกรุงเทพดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี ในประเทศอินโดนีเซีย โดยเปิดทำการสาขาจาการ์ตาเป็นแห่งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยมีความเชื่อมั่นในความมั่นคงทางเศรษฐกิจและโอกาสในการเติบโตของอินโดนีเซีย แม้ในช่วงเวลาอันยากลำบากที่ทุกประเทศกำลังต่อสู้กับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมาก ธนาคารกรุงเทพพร้อมยืนหยัดเคียงข้างธนาคารเพอร์มาตา และร่วมมือกันสนับสนุนบุคลากร ลูกค้าและสังคม ให้ก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งความท้าทายนี้ไปด้วยกัน


ทั้งนี้ การเข้าถือหุ้นของธนาคารกรุงเทพในธนาคารเพอร์มาตาครั้งนี้ จะทำให้ทั้งสองสามารถนำความเชี่ยวชาญและจุดแข็งของกันและกันมาใช้สนับสนุนการขยายธุรกิจในตลาดลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และเอสเอ็มอี โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารกรุงเทพมีเครือข่ายที่เข้มแข็งและครอบคลุมทั่วภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งความสัมพันธ์กับบริษัทชั้นนำทั่วเอเชีย รวมถึงความเชี่ยวชาญในบริการทางการเงินสำหรับการค้าระหว่างประเทศและประสบการณ์เชิงลึกในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยธนาคารเพอร์มาตาสามารถสนับสนุนลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่มีคุณภาพสูง และส่งเสริมการเข้าถึงตลาดนอกประเทศอินโดนีเซียผ่านเครือข่ายของธนาคารกรุงเทพทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ

นอกจากนี้ ธนาคารยังมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะในภาคการเกษตรและยานยนต์ให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ อีกทั้งยังพร้อมส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินและเผยแพร่ความรู้ทางการเงินในประเทศอินโดนีเซีย

 

]]>
1279805
รวมมิตร 14 ธนาคาร “พักหนี้” ทั้งต้นทั้งดอก 6 เดือน ช่วย SMEs-รายย่อย ฝ่ามรสุม COVID-19 https://positioningmag.com/1273383 Tue, 14 Apr 2020 15:00:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273383 “เเบงก์พาณิชย์-เเบงก์รัฐ” ขานรับนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พาเหรดออกมาตรการช่วยลูกหนี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

ลูกค้ารายย่อยเเละเจ้าของธุรกิจ SMEs ที่กำลังหาข้อมูลมาตรการ “พักชำระหนี้” ของธนาคารต่างๆ Positioning รวบรวมมาให้เเล้วถึง 14 ธนาคาร 

1. ไทยพาณิชย์ (SCB)

เริ่มต้นกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศมาตรการพักชำระสินเชื่อทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 6 เดือนให้แก่ลูกค้าผู้ประกอบการ SMEsที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาททุกราย โดยจะธนาคารดำเนินการพักหนี้
ให้ลูกค้ากลุ่มนี้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระทางด้านค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ

“ลูกค้าเอสเอ็มอีมีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาททุกราย จะได้รับการพักชำระหนี้ 6 เดือนโดยอัตโนมัติโดยไม่จำเป็นต้องติดต่อธนาคาร”

นอกจากนี้ยังมีมาตรการสนับสนุน “สินเชื่อซอฟต์โลน” อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ยในระยะ 6 เดือนแรก เนื่องจากรัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยในช่วงดังกล่าวแทนผู้ประกอบการ สามารถขอสินเชื่อซอฟต์โลนใหม่ได้ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางการเงินสำหรับการดำเนินธุรกิจต่อไป

สำหรับลูกค้าที่ต้องการสินเชื่อซอฟต์โลนสามารถแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2563 – 30 กันยายน 2563

อ่านเพิ่มเติม : ถาม-ตอบ กรณีลูกค้าสินเชื่อบุคคลและ SMEs ขอรับความช่วยเหลือจากการได้รับผลกระทบ COVID-19

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? 02-722-2222

2. กสิกรไทย (KBank)

ตามมาด้วย กสิกรไทย ที่ปัจจุบันมีลูกค้าเงินกู้ในระบบที่เป็น SMEs อยู่ถึง 40% ได้ประกาศมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับลูกค้าผู้ประกอบการที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท ระยะเวลา 6 เดือน เริ่มตั้งเเต่ 1 เมษายน 2563-30 กันยายน 2563 รวมถึงพร้อมให้เงินกู้เสริมสภาพคล่องลูกค้าผู้ประกอบการที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยให้ลูกค้าสามารถกู้ได้ 20% ของยอดวงเงินเดิม คิดอัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี
และไม่คิดอัตราดอกเบี้ย 6 เดือนแรก

อ่านเพิ่มเติม : รวมมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อทั้งหมดสำหรับลูกค้ารายย่อยและผู้ประกอบการของ KBank

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? ลูกค้าบุคคล 02-8888888
? ลูกค้าผู้ประกอบการ 02-8888822

3. กรุงศรีอยุธยา

ด้านธนาคารกรุงศรีอยุธยา ก็ออกมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 6 เดือนแก่ลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท เริ่มตั้งเเต่ 1 เมษายน 2563 – 30 กันยายน 2563 เช่นกัน พร้อมด้วยมาตรการให้เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง (Soft loan) แก่ลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยสามารถกู้ได้สูงสุด 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ สิ้นปี 2562 ในอัตราดอกเบี้ย 2% เป็นเวลา 2 ปี และไม่ต้องชำระดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก

ทั้งนี้ ลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs สามารถติดต่อผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ หรือแจ้งขอรับมาตรการความช่วยเหลือได้ที่ โครงการรับเรื่องจากลูกค้าสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 บนเว็บไซต์ krungsri.com

สำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้าน จะมีมาตรการพักชำระเงินต้นเเละดอกเบี้ย 6 เดือนเเละพักชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน ส่วนสินเชื่อบุคคล (สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคลเเละสินเชื่อกรุงศรี IFIN) พักชำระเงินต้นเเละดอกเบี้ย 6 เดือน ซึ่งเป็นโปรเเกรมสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 เท่านั้นเเละขอสงวนสิทธิ์เเล้วเเต่กรณี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?1572
?เว็บไซต์ krungsri.com

กรุงศรีคอนซูมเมอร์ : ลูกค้าบัตรเครดิต

กรุงศรีคอนซูเมอร์ ปล่อยโครงการ “เราจะก้าวผ่านไปด้วยกัน กับกรุงศรี คอนซูมเมอร์” ช่วยเหลือลูกค้าบัตรเครดิตกว่า 6 ล้านบัญชี โดยออก 3 มาตรการพิเศษ ด้วยการลดยอดชำระขั้นต่ำต่อเดือน และการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน สำหรับ “ลูกค้าทุกราย” โดยไม่ต้องแจ้งความจำนง

รวมถึงการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม โดยเน้นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางตรง เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม การบิน และบริการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ เหลือ 12% สำหรับบัตรเครดิต และ 22% สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล โดย “ลูกค้าต้องลงทะเบียน” เพื่อขอรับพิจารณาความช่วยเหลือดังกล่าวผ่านแอปพลิเคชัน UCHOOSE ซึ่งจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี

มีรายละเอียดดังนี้

มาตรการที่ 1 : ลดยอดชำระขั้นต่ำต่อเดือน สำหรับบัตรเครดิตจากเดิม 10% เหลือ 5% ตามรอบบัญชีตั้งแต่ 1 เม.ย. 2563 – 31 ธ.ค. 2564 ส่วนผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลจากเดิม 5% เหลือ 3% ตามรอบบัญชีตั้งแต่ 18 มี.ค. 2563 – 31 ธ.ค. 2563 สำหรับลูกค้าทุกราย โดยมิต้องติดต่อแจ้งความจำนง

มาตรการที่ 2 : พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน ให้กับลูกค้าบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลทุกรายโดยมิต้องแจ้งความจำนงเป็นระยะเวลา 2 รอบบัญชี สำหรับลูกค้าทุกรายที่มีวันครบกำหนดชำระตั้งแต่ 14 เม.ย. – 12 มิ.ย. 2563 โดยดอกเบี้ยยังคงคำนวณตามอัตราปกติแบบลดต้นลดดอก ทั้งนี้ สถานะบัญชีของลูกค้าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนแปลง

มาตรการที่ 3 : ปรับลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ เริ่มต้น 12% สำหรับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยลูกค้าต้องลงทะเบียนแจ้งความจำนง และจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี ส่วนผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษเหลือ 12% และลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายการเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 48 เดือน ผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เหลือ 22% และลดการผ่อนชำระขั้นต่ำเหลือเพียง 3%

โดยมาตรการดังกล่าว สำหรับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว หรือธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของทางราชการ โดยลูกค้าต้องมีบัญชีสินเชื่อกับบริษัทก่อนเดือน มี.ค. 2563

ทั้งนี้ ลูกค้าจะถูกปรับลดวงเงินสินเชื่อ ให้คงเหลือเท่ากับยอดสินเชื่อคงค้างที่เข้าร่วมโครงการ โดยลูกค้าสามารถลงทะเบียนรับพิจารณาความช่วยเหลือดังกล่าว ผ่านแอปพลิเคชัน UCHOOSE ตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. 2563 – 30 มิ.ย. 2563 โดยบริษัทจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2563 เป็นต้นไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?บัตรเครดิตกรุงศรีอยุธยา krungsricard.com
?บัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน centralthe1card.com
?บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ firstchoice.co.th
?บัตรเครดิตเทสโก้ โลตัส วีซ่า tescolotusmoney.com

4. กรุงไทย

ธนาคารกรุงไทย ได้เพิ่มมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยประกาศพักชำระหนี้เงินต้นเเละดอกเบี้ย 6 เดือน ให้กับลูกค้าธุรกิจที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 100 ล้านบาท เพื่อรับมือกับรายจ่ายที่จำเป็นของธุรกิจ เริ่มมีผลเดือนเมษายน – กันยายน 2563 เเละยังสนับสนุนสินเชื่อใหม่ (Soft Loan) เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กลุ่มลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยกู้ได้สูงสุดไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ 31 ธันวาคม 2562 อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี

“ธนาคารไม่คิดดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้”

ก่อนหน้านี้ กรุงไทยได้ออกมาตรการช่วยเหลือ “ลูกค้าทุกกลุ่มทุกขนาด” อย่างการพักชำระเงินต้น 12 เดือน ให้กับลูกค้ารายย่อย พักชำระเงินต้น 12 เดือน ขยายระยะเวลาชำระหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) และสินเชื่อ Trade Finance ออกไป 6 เดือน สำหรับลูกค้าธุรกิจที่มีรายได้ลดลง

มีการพักชำระหนี้ให้ลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจที่มีสถานะชำระปกติทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 3 เดือน ทั้งสินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท สินเชื่อธุรกิจที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อ “กรุงไทยต้านภัยโควิด-19 ดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 2% ต่อปี คงที่ 2 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด 20 ล้านบาท ฟรีค่าธรรมเนียม บสย. ค้ำประกัน 4 ปี ทำธุรกรรมโอน รับ จ่าย ไม่คิดค่าธรรมเนียมนาน 1 ปี สำหรับลูกค้าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม รถเช่า ร้านขายของฝาก ของที่ระลึก เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?02 111 1111
? facebook : Krungthai Care

5. กรุงเทพ

ด้านธนาคารกรุงเทพ ร่วมออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs ให้มีเงินทุนและสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจและรักษาการจ้างงานต่อไปโดยมี 2 มาตรการ ดังนี้

1. สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการค้าทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยและมีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท ได้พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยโดยอัตโนมัติ ระยะเวลา 6 เดือนและไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต เพื่อช่วยให้มีสภาพคล่องรองรับรายจ่ายจำเป็น

ทั้งนี้ ลูกค้าผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ ธนาคารขอแนะนำให้ชำระหนี้ตามปกติเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

2. ธนาคารพร้อมสนับสนุนสินเชื่อใหม่ (soft loan) เพื่อเป็นเงินกู้เสริมสภาพคล่อง สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการค้าทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และมีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษ 2% ต่อปี ในช่วง 2 ปีแรกและไม่คิดดอกเบี้ยในช่วง 6เดือนแรก ทั้งนี้ลูกค้าต้องมีสถานะผ่อนชำระปกติหรือค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 โดยแต่ละรายสามารถขอกู้ได้ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้างของลูกหนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562

ด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่ออเนกประสงค์ที่ใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันวงเงิน ขณะอนุมัติไม่เกิน 3 ล้านบาท พักชำระเงินต้น จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยนาน 3 เดือน เเละวงเงินขณะอนุมัติตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไปขอความช่วยเหลือเป็นรายกรณีตามสถานการณ์

ส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ประเภทเงินกู้ (Installment Loan) จะพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 3 เดือน

มาตรการปรับลดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำมาอยู่ที่ 5% (จากเดิม 10%) จนถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท และทุกรายได้รับสิทธิอัตโนมัติ โดยไม่ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิปรับลดดอกเบี้ยลงเป็นพิเศษ อยู่ที่ 12% สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงประกอบอาชีพหรือทำงานในธุรกิจโรงแรม การท่องเที่ยว สายการบินและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากการที่รัฐบาลประกาศให้หยุดบริการชั่วคราวพักชำระเงินต้น และดอกเบี้ยนาน 3 เดือนยกเว้นดอกเบี้ยค้างชำระ 1 เดือน (ลงทะเบียนที่นี่)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?1333
?bangkokbank.com

ธนาคารกรุงเทพ

6. LH BANK

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ แจ้งลูกค้าผ่านไลน์ ว่า พร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs โดยจะพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน สำหรับเอสเอ็มอีที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท รวมถึงพร้อมปล่อยกู้เสริมสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี ปลอดดอกเบี้ย 6 เดือน ซึ่งกู้ได้ไม่เกิน 20% ของหนี้คงค้าง ณ 31 ธ.ค.2562

สำหรับลูกค้าทุกกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 มีมาตรการช่วยเหลือ ได้แก่ ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระ เช่น ปลอดเงินต้นสูงสุด 12 เดือน และขยายระยะเวลาเงินกู้ เพื่อให้ภาระการผ่อนชำระลดลง หลังหมดช่วงปลอดเงินต้น เเละสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติมด้วย

“ธนาคารคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกค้าได้ในระดับหนึ่งโดยมาตราการดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงตามผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะต่อไปและตามความเหมาะสมทางธุรกิจของลูกค้าแต่ละราย”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?1327

7. ออมสิน

ธนาคารออมสิน ออกมาตรการพักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย โดยอัตโนมัติทันที สำหรับลูกค้ากลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 2563

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?1115 หรือ 0-2299-8000

 

8. ธ.ก.ส.

ฝั่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เเละเกษตรกร โดยพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน ตั้งเเต่ 1 เม.ย. – 30 ก.ย. 2563 เพื่อเป็นการสนับสนุนเงินกู้เสริมสภาพคล่องให้ลูกค้าตามร่างพระราชกำหนดให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) โดยมาตรการอื่นๆ จะมีการเเจ้งให้ทราบต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? 0-2555-0555
? baac.or.th

9. ธพว.

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ระบุว่า ได้ออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือ SMEs โดยเลื่อนชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยอัตโนมัติให้ลูกค้าเป็นเวลา 6 เดือน เริ่มมีผลตั้งแต่เดือนเมษายน – กันยายน 2563 สำหรับภาระหนี้ที่พักชำระไว้ ธนาคารจะนำยอดดังกล่าว ไปรวมกับค่างวดในงวดสุดท้าย ซึ่งในช่วงที่ผ่อนปรนนี้ ไม่ถือว่าเสียประวัติข้อมูลเครดิต

โดยลูกค้าที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวจะได้รับสิทธิโดยอัตโนมัติทันที ไม่ต้องแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการ หรือลงทะเบียนใดๆ ทั้งสิ้นและหากลูกค้าท่านใด ต้องการชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่เคยได้รับก็สามารถชำระได้ตามปกติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
?1357
? smebank.co.th

10. EXIM BANK

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIM BANK แจ้งว่า ธนาคารได้มีมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน สำหรับลูกค้าทุกรายที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม

พร้อมเงินกู้เสริมสภาพคล่องสำหรับลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยให้กู้ได้ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ 31 ธ.ค. 2562 คิดอัราดอกเบี้ยต่ำ 2% ต่อปี และ ปลอดดอกเบี้ยช่วง 6 เดือนแรก ซึ่งลูกค้าสามารถติดต่อขอกู้ได้จนถึง 31 ธ.ค. 2563

นอกจากนี้ยังมี โครงการ “สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน” เพื่อสนับสนุนสถานประกอบการในซัพพลายเชนของการส่งออกไทย โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 3% ต่อปี ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? 02-617-2111 ต่อ 3510-2

11. UOB 

ธนาคารยูโอบี (ไทย) ประกาศมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ปรับลดอัตราการผ่อนชำระคืน ขั้นต่ำและมอบทางเลือกในการพักเงินต้น

โดยลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตของธนาคารที่มีสถานะทางบัญชีปกติ จะได้รับการปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำจาก 10% เป็น 5% สำหรับบัตรเครดิตยูโอบี และจาก 5% เป็น 2.5% สำหรับบัตรกดเงินสดยูโอบีแคชพลัส โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563

สำหรับลูกค้าบัตรเครดิตยูโอบีและทูมอร์โรว์ บัตรกดเงินสดยูโอบีแคชพลัสสามารถแจ้งความประสงค์ในการขอพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 รอบบัญชีหรือเปลี่ยนยอดหนี้คงค้างเป็นยอดผ่อนรายเดือนชำระรายเดือนสูงสุด 48 รอบบัญชี สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล i-Cash สามารถแจ้งความประสงค์ในการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 รอบบัญชี

ส่วนลูกค้าสินเชื่อบ้าน สามารถแจ้งความประสงค์เลือกพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 รอบบัญชีหรือพักชำระเงินต้นโดยชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลา 12 รอบบัญชี

ลูกค้าเอสเอ็มอี สามารถแจ้งความประสงค์ขอพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือนหรือเลือกพักชำระเงินต้นโดยชำระเฉพาะดอกเบี้ยได้สูงสุด 12 เดือน หรือยื่นขอสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องกับสินเชื่อโครงการ Soft Loan
ที่อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? โทร 02 285 1555 , 02 343 3555
? uob.co.th

12-13. TMB & ธนชาต

ด้านธนาคารธนชาตได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อบ้านธนชาต หรือ Thanachart Home Loan ซึ่งประกอบไปด้วย สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ (Refinance), สินเชื่อบ้านมือสอง (Resell house)สินเชื่อปลูกบ้าน (Self built) สินเชื่อบ้านแลกเงิน (Cash Your Home) และสินเชื่อโฮมพลัส (Home Plus)

ด้วยการพักชำระหนี้เงินต้น และดอกเบี้ย นานสูงสุด 3 เดือน และเมื่อครบกำหนดก็ต้องชำระหนี้คืนตามปกติ สำหรับระยะเวลาโครงการนั้นจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2564

สำหรับลูกค้าปัจจุบันสินเชื่อรถยนต์ธนชาต DRIVE ประเภทสินเชื่อรถยนต์ใหม่สินเชื่อรถยนต์ใช้แล้ว และ สินเชื่อรถแลกเงิน สามารถขอพักชำระหนี้ได้สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน (Skip Payment) หรือขยายระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 96 งวด ทั้งนี้ โดยเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด และเมื่อครบกำหนดให้กลับมาชำระหนี้ตามปกติ ส่วนประเภทสินเชื่อเล่มแลกเงิน สามารถขอพักชำระหนี้ได้ไม่เกิน 60 วัน

ด้านธนาคารทหารไทย ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อบ้าน ทีเอ็มบี (TMB Home Loan) ด้วยการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลาสูงสุด 3 เดือน และเมื่อครบกำหนดก็ต้องกลับมาชำระหนี้ตามปกติ
เช่ยเดียวกันกับธนาคารธนชาต

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? โทร ธนชาต 1770 – TMB 1558
? thanachartbank.co.th , tmbbank.com

14. ธอส.

ล่าสุด “ธนาคารอาคารสงเคราะห์” ได้ยกระดับความช่วยเหลือเพิ่มเติมให้แก่ลูกค้าของธนาคารที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในมาตรการที่ 5 โดยหลังจากพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 4 เดือนแล้ว ธนาคารจะยกดอกเบี้ยที่พักชำระไว้ทั้ง 4 เดือนให้กับลูกค้า เมื่อสิ้นสุดระยะเวลากู้ตามสัญญา

สำหรับกลุ่มลูกค้าทุกวัตถุประสงค์การกู้ที่มีวงเงินกู้ทุกบัญชีรวมกัน ไม่เกิน 3 ล้านบาท และมีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 35,000 บาท ครอบคลุมลูกค้า 1.1 ล้านบัญชี ทั้งสถานะบัญชีปกติ และสถานะบัญชีดอกเบี้ยผิดนัดหรือสถานะกฎหมาย และเตรียมกรอบวงเงิน 10,000 ล้านบาท จัดทำมาตรการที่ 6 พักชำระเงินต้นระยะเวลา 4 เดือน พร้อมลดดอกเบี้ยเหลือ 1.00% ต่อปี สำหรับ “บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข”

แจ้งความประสงค์ เข้ามาตรการผ่าน Mobile
Application : GHB ALL ตั้งแต่วันที่ 13 – 30 เมษายน 2563

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
? 0-2645-9000
?ghbank.co.th

หมายเหตุ :รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 14 เมษายน 2563 
ผู้สนใจติดต่อสอบถามทางธนาคารเพื่อการอัพเดตข้อมูลมาตรการอีกครั้ง 

]]>
1273383
ส่องเบื้องหลัง Big Deal แบงก์กรุงเทพทุ่มซื้อ PermataBank ของอินโดฯ 9 หมื่นล้านบาท https://positioningmag.com/1256843 Fri, 13 Dec 2019 04:28:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256843 จากข่าวลือช่วงเช้า (12 .. 62) ว่า ธนาคารกรุงเทพเข้าร่วมการประมูลซื้อกิจการธนาคารในอินโดนีเซีย ทำให้ราคาหุ้นของแบงก์กรุงเทพดิ่งลงถึง 7% และภายในเย็นวันนั้นธนาคารกรุงเทพจัดแถลงข่าวด่วนเรื่องการซื้อหุ้น 89.12% ของธนาคาร Permata ที่อินโดนีเซีย 

ทำไมแบงก์กรุงเทพต้องซื้อธนาคารในอินโดนีเซียจะเป็นผลดีกับธนาคารอย่างไร

.กรุงเทพสยายปีกทั่วอาเซียนทุ่ม 90,000 ล้านบาทซื้อแบงก์อินโดฯ

จรัมพร โชติกเสถียร กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า วันที่ 12 ..ธนาคารกรุงเทพทำสัญญาซื้อขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (Standard Chartered) และพีที แอสทร่า อินเตอร์เนชั่นแนล ทีบีเค (PT Astra International Tbk) เพื่อถือหุ้น 89.12% ในธนาคารพีที เพอร์มาตา ทีบีเค (Permata) ในอินโดนีเซีย คิดเป็นมูลค่า 37,430 ล้านรูเปีย (ประมาณ 81,017 ล้านบาทคาดว่าจะทำธุรกรรมเสร็จสิ้นในปี 2563 และจะดำเนินการซื้อหุ้นส่วนที่เหลืออีก 10.88% สำหรับการถือหุ้น 100% มูลค่าเบื้องต้นจะอยู่ที่ 42,000 ล้านรูเปีย (ประมาณ 90,909 ล้านบาท)

ทั้งนี้ข้อมูลจากงานแถลงข่าวธนาคารกรุงเทพย้ำว่า การซื้อหุ้นฯ ธนาคาร Permata ทั้ง 100% จะใช้เงินทุนภายในของธนาคาร โดยไม่ต้องเพิ่มเงินทุนจากผู้ถือหุ้น และการซื้อหุ้นธนาคารต่างประเทศครั้งนี้เป็นกลยุทธ์หลักของธนาคารที่จะสร้างเครือข่ายทั่วอาเซียนและเอเชีย ซึ่งประเทศอินโดนีเซียมีการเติบโตเร็วที่สุดในเอเชียด้วยปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจมหภาค จำนวนประชากร รวมถึงความร่วมมือกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียนถือว่าแข็งแกร่ง 

ปัจจุบันธนาคารกรุงเทพถือเป็นธนาคารไทยที่มีเครือข่าย (เช่น สาขา สำนักงานตัวแทน ฯลฯ)ในต่างประเทศมากที่สุด  ดังนั้นการซื้อหุ้นธนาคารเพอร์มาตา ในอินโดนีเซีย ก็เพื่อสยายปีกธุรกิจแบงก์ไปในต่างประเทศให้มากขึ้น หลังการรวมทั้ง 2 ธนาคาร ธนาคาร Permata จะเลื่อนขึ้นเป็นธนาคารอันดับที่ 10 ของอินโดนีเซียจากปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 12 ด้านธนาคารกรุงเทพจะมีมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 3.3 ล้านล้านบาท จากปัจจุบันที่อยู่ 3.1 ล้านล้านบาท

อินโดนีเซียเติบโตแค่ไหน ทำไมต้องซื้อแบงก์ Permata ?

ธนาคารกรุงเทพสนใจในอินโดนีเซียมานาน และเข้าไปทำธุรกิจตั้งแต่ปี 2511 ซึ่งปัจจุบันมีสาขาอยู่ 3 สาขา ก็ไม่เพียงพอกับการเติบโตของประเทศอินโดนีเซียมีประชากรราว 267 ล้านคน สาเหตุหลักที่อินโดนีเซียน่าสนใจเพราะ ระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียน อัตราการเข้าถึงสินเชื่อยังอยู่ในระดับต่ำที่ 36% ในขณะที่ประเทศไทยอัตรานี้เกิน 100% แล้ว แสดงว่ายังมีช่องว่างตลาดอีกมากที่แบงก์กรุงเทพจะเข้าไปทำธุรกิจไม่ว่าจะปล่อยสินเชื่อรายย่อย หรือสินเชื่อรายใหญ่ที่แบงก์กรุงเทพถนัด

ไชยฤทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ เล่าว่า ธนาคารกรุงเทพสนใจอินโดนีเซียมานาน เพราะนอกจากเศรษฐกิจ GDP จะเติบโตสูงกว่าไทย วัฒนธรรมของอาเซียนยังเข้าใจกันได้ง่าย นอกจากนี้มีโอกาสทางธุรกิจก็เยอะเพราะมีกลุ่มลูกค้าที่เข้าไม่ถึงบริการธนาคารมาก  สินเชื่อมีการเติบโตสูงเกือบ 2 หลัก ขณะเดียวกันเรื่องอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ของธนาคาร ในอินโดนีเซียถือว่าน่าสนใจเพราะ เฉลี่ย NIM อยู่ที่ 3% ขึ้นไป ขณะที่ไทย NIM เฉลี่ยอยู่ที่ 2.4% 

ส่วนจุดแข็งของ Permata นอกจากมีฐานลูกค้า 3.5 ล้านคนในทุกกลุ่มลูกค้า (รายย่อย SME รายใหญ่) ยังมีสำนักงานรวม 332 แห่ง ดังนั้นเมื่อรวมกับสำนักงานของธนาคารกรุงเทพในอินโดนีเซียที่มีอยู่ 3 แห่งจะเบื้องต้นธนาคารกรุงเทพจะมีสาขาเพิ่มขึ้นเป็น 335 สาขา รวมถึงช่องทางการให้บริการอื่นๆ เช่น ตู้ ATM 989 เครื่อง ฯลฯ

นอกจากนี้ Permata มีเงินให้สินเชื่อรวม 108 ล้านล้านรูเปีย (ประมาณ 234,000 ล้านบาท) มีเงินฝาก 120 ล้านล้านรูเปีย (ประมาณ 259,000 ล้านบาท) มีพนักงานรวม 7,670 คน ซึ่งธนาคารกรุงเทพจะไม่เปลี่ยนชื่อธนาคาร และเบื้องต้นจะเน้นให้ผู้บริหาร พนักงานในท้องถิ่นดูแลธุรกิจเพราะมีความเชี่ยวชาญและเข้าใจธุรกิจในอินโดนีเซีย

ส่วนคำถามว่าทำไมราคาหุ้นของธนาคารกรุงเทพอย่าง BBL ถึงราคาดิ่งลงถึง 7.5% ในวันที่ 12 .. 62 อาจเพราะนักลงทุนกังวลว่าการเข้าซื้อกิจการของธนาคารกรุงเทพอาจทำให้แบง์ต้องขอเพิ่มทุนและเมื่อจำนวนทุนมากขึ้น ผู้ถือหุ้นก็อาจได้ส่วนแบ่งจากหุ้นของตัวเองน้อยลง 

เรียกว่าปีนี้เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของธนาคารพาณิชย์ในไทย นอกจากแบงก์กรุงเทพจะสยายปีกในอาเซียนอย่างเป็นทางการ ก็มีดีลการคบวรวมระหว่างธนาคารทหารไทยและธนาคารธนชาต ไหนจะฝั่งธนาคารไทยพาณิชย์ก็มีดีลใหญ่หลักหมื่นล้านที่ขายธุรกิจประกันชีวิตออกไป

ปีหน้าธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในไทยจะมีอะไรให้ตื่นเต้นอีกคงต้องรอติดตาม.

]]>
1256843