ธนาคารกรุงไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 19 Apr 2023 03:19:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กางแผน 5 ปี “ธนาคารกรุงไทย” กับยุทธศาสตร์ X2G2X ย้ำจุดแข็งธนาคารพาณิชย์ของรัฐ https://positioningmag.com/1427444 Mon, 17 Apr 2023 04:29:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427444 ธนาคารกรุงไทยกางโรดแมป 5 ปี ตั้งแต่ 2566-2570 มีมิชชั่นสำคัญก็คือ การเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทย แล้วทำให้ชีวิตดีขึ้นในในทุกๆ วัน เน้นยุทธศาสตร์หลัก X2G2X ใช้จุดแข็งความเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ เชื่อมต่อพาร์ตเนอร์ และพัฒนาแพลตฟอร์มให้ลูกค้า พร้อมเตรียมงบ 12,000 ล้านบาท ลงทุนเทคโนโลยีรองรับการก้าวสู่การเงินดิจิทัล

เข้าถึงปัจจัย 4 ของคนไทย

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์ หลายคนเรียกมันว่าเข้ามา Disrupt หลายๆ ธุรกิจเลยก็มี เนื่องจากดิจิทัลทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไป ถ้าธุรกิจไหนไม่ปรับตัว ก็ยากที่จะอยู่รอด

ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอันดับต้นๆ หนีไม่พ้นค้าปลีก และธนาคาร ที่มีหน้าร้านสาขาในการให้บริการลูกค้า ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งเครื่องในการเอาตัวเองเข้าสู่อีคอมเมิร์ซ ส่วนธนาคารเองก็ต้องพัฒนาระบบดิจิทัล ซึ่งประเทศถือว่ามีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคตอบรับกับบริการดิจิทัลมากขึ้นด้วย

“ธนาคากรุงไทย” เป็นหนึ่งในกลุ่มธนาคารยักษ์ใหญ่ในไทย ในปีนี้ได้ดำเนินการมาครบ 57 ปีแล้ว แต่เดิมกรุงไทยมีภาพลักษณ์เป็นธนาคารสำหรับข้าราชการ เพราะด้วยความเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ผู้ใช้งานจึงค่อนข้างมีอายุหน่อย ทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากรุงไทยได้รีเฟรชแบรนด์ให้ทันสมัยขึ้น พร้อมกับดึง “ณเดชน์ คูกิมิยะ” เป็นพรีเซ็นเตอร์แอปพลิเคชัน KRUNGTHAI NEXT เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น

ซึ่งปัจจุบันกรุงไทยเองก็เป็นหนึ่งในฟันเฟืองหลักในการพัฒนาบริการดิจิทัลสู่มือผู้บริโภค เรียกว่ามีบริการแทบจะครอบคลุมไลฟ์สไตล์ของคนไทย มีการพัฒนาเองบ้าง และจับมือร่วมกับพาร์ตเนอร์บ้าง

ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เล่าว่า

“ธนาคารกรุงไทยมีจุดแข็งที่เป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ มีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่เราเน้นสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน และมิชชั่นสำคัญก็คือ อยากให้คนไทยมีชีวิตที่ดีขึ้นในทุกๆ วัน โฟกัสที่ปัจจัย 4 ของมนุษย์ ลูกค้าส่วนใหญ่ของกรุงไทยจะเป็นผู้สูงวัย จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพเป็นพิเศษ แต่มีการเน้นเรื่องการศึกษามากขึ้น เพราะต้องการดึงคนรุ่นใหม่เข้ามาเพิ่มขึ้น เรียกว่าต้องใช้โมเดลเรือบรรทุกเครื่องบิน กับสปีดโบ้ท เอามาปรับใช้ในการขับเคลื่อนองค์กร”

จุดเปลี่ยนสำคัญก็คือการพัฒนาแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ในช่วงแรกเป็นการใช้กับโครงการสวัสดิการต่างๆ ของรัฐ เช่น คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน ต่อมาได้พัฒนาบริการต่างๆ ที่สามารถใช้งานผ่านแอปเป๋าตังได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพที่ใช้สิทธิบัตรทอง หรือรับถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิดได้ รวมไปถึงการซื้อสลากดิจิทัล ที่คุมราคาได้ใน 80 บาท และบริการอื่นๆ อีกมากมาย

ปัจจุบันแอปพลิเคชันเป๋าตัง มีผู้ใช้งาน 40 ล้านคน และมีเงินหมุนเวียนในระบบ 600 ล้านบาท ในอนาคตจะมีบริการที่ต่อยอดมากขึ้นเรื่อยๆ อาจมองไปถึง 5 อีโคซิสเท็มหลักของคนไทย ได้แก่ สุขภาพ, การศึกษา, รัฐ, เพย์เมนต์ และการเดินทาง

โรดแมป 5 ปี 7 ยุทธศาสตร์

ทั้งนี้ธนาคารกรุงไทยได้กางแผนงาน 5 ปี ระหว่างปี 2566-2570  เพื่อเร่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงภายใต้แนวคิด “มุ่งสร้างคุณค่า สู่ความยั่งยืน” เพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างมั่นคง ตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างครอบคลุม ทั่วถึง แบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายใต้ 7 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้

1. ปลดล็อกศักยภาพในการสร้างมูลค่าจากการทำธุรกิจกับคู่ค้าของลูกค้า (X2G2X) เร่งต่อยอดยุทธศาสตร์ X2G2X ให้เกิดการเชื่อมโยงในเชิงลึกในกลุ่มลูกค้าต่างๆ ทั้ง B2B B2C G2B และ G2C และมีแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์คู่ค้าของลูกค้า ทั้งการเร่งสร้าง Economic Value จากแอปฯ เป๋าตัง และถุงเงิน เสริมศักยภาพผู้ประกอบการ SME ให้แข็งแกร่ง ต่อยอดความร่วมมือที่ได้ลงทุนไปแล้วทั้งระบบ Smart Transit ตั๋วร่วม Smart Hospital และ Digital Business Platform เป็นต้น

2. ขับเคลื่อนประสิทธิภาพองค์กรด้วยดิจิทัล และข้อมูล เร่งนำข้อมูล และเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เป็น Process Digitalization โดยนำระบบ RPA หรือ Robotic Process Automation และการใช้ AI เข้ามาใช้ในกระบวนการทำงานภายในของธนาคารมากขึ้น ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการใช้กระดาษ (Paperless) นำไปสู่โครงสร้างการประเมินอัตรากำลังที่เหมาะสมในการให้บริการผ่านสาขา ผสมผสานการให้บริการออนไลน์สู่ออฟไลน์ได้เต็มศักยภาพ โดยช่องทางสาขาจะถูกปรับเป็นการให้บริการทางธุรกิจ และอยู่ระหว่างการทดสอบในพื้นที่ EEC

3. เปิดตัวแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างการเติบโตในมิติใหม่ พัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร ทั้ง Virtual Banking ที่ธนาคารจะร่วมกับพันธมิตร เพื่อดำเนินการ และ Wealth-Tech เพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และบริการทางการเงินในทุกระดับชั้น ต่อยอดสร้างศักยภาพการออม เสริมสร้างความมั่งคั่งให้คนไทย

4. สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างครอบคลุม เท่าเทียม และยั่งยืน ขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทาง ESG  สนับสนุนประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียม โปร่งใส ลดความเหลื่อมล้ำ ลดช่องว่างการกระจายรายได้ เชื่อมโยงกลุ่มลูกค้า SME กับ Digital Economy และเร่งปรับตัวเข้าสู่กลุ่มอุตสาหกรรม New S-Curve เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน

5. พัฒนา และเสริมสร้างขีดความสามารถการทำงานแห่งอนาคต เร่งสร้างการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านความพร้อมของระบบรองรับ PDPA & Cyber Risk เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม บริหารจัดการ NPL และ NPA เพื่อแก้ปัญหาปรับเป็นสินทรัพย์ที่สร้างคุณค่าในเวลารวดเร็วขึ้น พร้อมบูรณาการบริษัทในเครือ สร้างประโยชน์จากสินทรัพย์ให้เต็มศักยภาพ บนความร่วมมือแบบ ONE Krungthai

6. ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีหลักขององค์กรลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT และ Digitalization อย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับโครงสร้างเทคโนโลยีให้มีความทันสมัย มั่นคง ปลอดภัย มีเสถียรภาพ มีประสิทธิภาพและสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อสนับสนุนการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

7. ปฏิรูปวัฒนธรรม และปลูกฝังวิธีการทำงานแบบใหม่เพื่อขับเคลื่อนองค์กรด้วยความคล่องตัว ปรับวิธีการทำงานรูปแบบใหม่ให้เป็นไปในลักษณะ Agility มีความกระฉับกระเฉง โดยอาศัยหลักการแบบ Fail Fast Learn Fast ยกระดับพนักงานให้มีทักษะใหม่ๆ (Upskill/Reskill) สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถในระดับประเทศและระดับโลกเข้ามาทำงานเสริมสร้างความแข็งแกร่ง เป็นองค์กรแห่งการสร้างผู้นำในอนาคต

ทิศทางการดำเนินธุรกิจธนาคารกรุงไทยในระยะต่อไป อยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางการเงินใหม่ ที่เปิดกว้างใน 3 ด้านคือ

  1. Open Infrastructure การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับทั้งผู้เล่นใหม่ และผู้เล่นปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการแข่งขันและต่อยอดในเชิงนวัตกรรม
  2. Open Data ส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล เช่น การสนับสนุนให้มีธนาคารไร้สาขา หรือ Virtual Bank เป็นต้น
  3. Open Competition ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายที่สุด จากการแข่งขันที่เปิดกว้างจากผู้เล่นใหม่เส้นแบ่งการแข่งขันระหว่างธนาคารและสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank) ที่แยกกันไม่ออก

เร่งลงทุนเทคโนโลยี

สำหรับแผนการบริหารสินทรัพย์รอการขาย (NPA) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 40,000 ล้านบาท นั้น ผยง กล่าวว่า ธนาคารตั้งเป้าจะลด NPA ให้อยู่ในระดับ 20,000 ล้านบาท เท่ากับอุตสาหกรรมภายในระยะเวลา 5 ปี (66-70) โดยภายในไตรมาส 3 ปีนี้ ธนาคารจะสามารถสรุปพันธมิตรเพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนบริหารสินทรัพย์ (JV AMC) ซึ่งจะช่วยให้สินทรัพย์รอการขาย และหนี้เสียลดลง ส่งผลให้การตั้งสำรองหนี้เสียอยู่ในระดับต่ำได้

ผยง กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้ธนาคารกรุงไทยตั้งเป้าลงทุนด้านเทคโนโลยีประมาณ 12,000 ล้านบาท พร้อมรองรับสู่การเงินดิจิทัลทั้งปัจจุบัน และอนาคตในการจัดตั้งธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) กับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC เนื่องจาก ADVANC มีความเชี่ยวชาญด้านโมบายเดต้า ทำให้ธนาคารไม่ต้องสำรองวงเงินไว้ลงทุนในเรื่องดังกล่าว

ผยง ศรีวณิช

“วงเงินลงทุนจำนวน 12,000 ล้านบาท เพียงพอสำหรับการลงทุนด้านเทคโนโลยี และการร่วมทุนจัดตั้งธนาคารไร้สาขา เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาใช้เงินลงทุนดังกล่าวไปเพียง 7,000-8,000 ล้านบาท จากวงเงินเป้าหมายทั้งหมดที่ตั้งไว้ 12,000 ล้านบาท”

ธนาคารเตรียมรุกตลาดสินเชื่อออนไลน์ (ดิจิทัลเลนดิ้ง) บนเป๋าตังค์ภายในปีนี้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มอาชีพอิสระและกลุ่มที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ช่วงเดือนที่ผ่านมาธนาคารปล่อยสินเชื่อออนไลน์ผ่านกรุงไทยเน็กซ์ (NEXT) ได้สูงถึง 5,000 ล้านบาท ทำให้มั่นใจภายในสิ้นปี 66 นี้ ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อดังกล่าวถึง 10,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ธนาคารมีแผนเปิดสาขารูปแบบใหม่ภายใน 1-2 เดือนนี้ ที่ให้บริการในรูปแบบดิจิทัลบนแท็บเล็ตทั้งหมด โดยพนักงานไม่จำเป็นต้องนั่งให้บริการเฉพาะที่หน้าเคาน์เตอร์เท่านั้น ยกเว้นแต่ธุรกรรมถอน-ฝากเงินสด ทำให้ลูกค้าได้รับบริการได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งเบื้องต้นตั้งเป้าหมายเปิด 20 สาขาในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และเมืองใหญ่ อาทิ ชลบุรี และเชียงใหม่ เป็นต้น

]]>
1427444
“TMB” แชมป์ธนาคาร “เป็นธรรม-รับผิดชอบสังคม” สูงสุด “กรุงไทย” ก้าวกระโดดคว้าอันดับ 2 https://positioningmag.com/1315423 Wed, 20 Jan 2021 13:26:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315423 Fair Finance Thailand ประกาศผลธนาคารที่เป็นธรรมและรับผิดชอบต่อสังคมสูงสุดปี 2563 แชมป์เก่า “TMB” ยังครองแชมป์ต่ออีกสมัย ด้านธนาคาร “กรุงไทย” ก้าวกระโดดขึ้นสู่อันดับ 2 ไฮไลต์การพัฒนาความรับผิดชอบสังคมปีนี้ มีตั้งแต่นโยบายต่อต้านการทุจริต ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ จนถึงการไม่เก็บค่าธรรมเนียมการเปิดบัญชีพื้นฐาน

Fair Finance Thailand จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 แล้วในประเทศไทย โดยการประเมินนี้เป็นเครือข่ายและใช้ดัชนีชี้วัดจาก Fair Finance International (FFI) ซึ่งริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2552 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันมีทั้งหมด
11 ประเทศที่นำดัชนีนี้มาใช้ชี้วัดการทำงานที่รับผิดชอบสังคมของธนาคาร ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เยอรมนี นอร์เวย์ สวีเดน บราซิล อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม

สำหรับ Fair Finance Thailand มีองค์กรที่มีส่วนร่วมในการประเมินทั้งหมด 5 แห่ง คือ ป่าสาละ, มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw), มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิบูรณะนิเวศ และ International Rivers โดยการเปิดรายชื่ออันดับปีนี้นำโดย “สฤณี อาชวานันทกุล” หัวหน้าคณะวิจัย Fair Finance Thailand เป็นผู้รายงาน

การวัดผลความเป็นธรรมและรับผิดชอบ มีดัชนีชี้วัด 3 หมวด 13 หัวข้อหลัก ซึ่งจะแตกออกเป็นมากกว่า 200 หัวข้อย่อย หัวข้อหลักที่วัดผล เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ผลกระทบต่อสุขภาพ (ซึ่งเป็นหัวข้อใหม่), สิทธิแรงงาน, ความเท่าเทียมทางเพศ, การคุ้มครองผู้บริโภค, ความโปร่งใสและความรับผิด เป็นต้น การวัดผลทั้งหมดจะมาจากการตรวจสอบนโยบายที่ประกาศเป็นสาธารณะเท่านั้น เช่น รายงานประจำปี ข้อมูลบนเว็บไซต์

ปี 2563 มีธนาคารที่ได้รับการประเมินทั้งหมด 12 แห่ง ไล่เรียงตามขนาดสินทรัพย์ ดังนี้ ธนาคารกรุงเทพ (BBL), ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB), ธนาคารกรุงไทย (KTB), ธนาคารกสิกรไทย (KBANK), ธนาคารออมสิน (GSB), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY), ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.), ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.), ธนาคารทีเอ็มบี (TMB), ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP), ธนาคารทิสโก้ (TISCO) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank)

ทั้งนี้ ธนาคารที่ออกจากรายชื่อการประเมินปีนี้คือธนาคารธนชาตเนื่องจากได้ควบรวมกับ TMB แล้ว และธนาคาร 4 แห่งที่เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจะจัดอันดับแยกออกไป เนื่องจากภารกิจบางอย่างไม่สอดคล้องกับดัชนีชี้วัด ได้แก่ ธ.ออมสิน ธกส. ธอส. และ SME Bank

ผลสรุป อันดับธนาคารพาณิชย์ใน Fair Finance Thailand 2563 เป็นธรรม-รับผิดชอบสังคมสูงสุด ได้แก่

1) ทีเอ็มบี คะแนน 38.9% (เพิ่มขึ้น +72%)
2) กรุงไทย คะแนน 22.4% (เพิ่มขึ้น +43%)
3) กรุงเทพ คะแนน 21.8% (เพิ่มขึ้น +28%)
4) ไทยพาณิชย์ คะแนน 21.2% (เพิ่มขึ้น +4%)
5) กสิกรไทย คะแนน 20.6% (ลดลง -0.5%)
6) กรุงศรีอยุธยา คะแนน 16.9% (ลดลง -1.9%)
7) เกียรตินาคินภัทร คะแนน 16.1% (เพิ่มขึ้น +0.5%)
8) ทิสโก้ คะแนน 15.9% (ลดลง -0.9%)

(Photo : Fair Finance Thailand)

ผลสรุป อันดับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐใน Fair Finance Thailand 2563 เป็นธรรม-รับผิดชอบสังคมสูงสุด ได้แก่

1) ธกส. คะแนน 22.1%
2) ออมสิน คะแนน 15.4%
3) ธอส. คะแนน 11.0%
4) SME Bank คะแนน 9.0%

สฤณีกล่าวว่า ปี 2563 ธนาคารทีเอ็มบียังคงครองแชมป์ และพัฒนาขึ้นสูงมาก มีหลายดัชนีชี้วัดที่ทีเอ็มบีเป็นธนาคารเดียวในไทยที่มีนโยบาย ส่วนธนาคารกรุงไทยมีการพัฒนาที่สูงไม่แพ้กัน โดยปรับตัวขึ้นจากอันดับ 7 เมื่อปีก่อนมาเป็นอันดับ 2 ในปีนี้

“ภาพรวมค่าเฉลี่ยธนาคารพาณิชย์ของไทยอยู่ที่ 21.7% ซึ่งพัฒนาขึ้นไวมาก จากเมื่อสองปีก่อนค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12% เท่านั้น เห็นได้ชัดว่าเกิดบรรยากาศการแข่งขันที่ดีในหมู่ธนาคารที่จะมีความรับผิดชอบสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม 5 อันดับแรก” สฤณีกล่าว

สำหรับหัวข้อที่ธนาคารไทยให้ความใส่ใจสูงสุด คือ “การคุ้มครองผู้บริโภค” ซึ่งทุกธนาคารจะมีนโยบายเกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้ ในทางกลับกัน หัวข้อที่ธนาคารไทยยังมีนโยบายน้อยคือ “สิทธิมนุษยชน” ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ทีเอ็มบีได้คะแนนสูง เพราะเป็นธนาคารที่มีนโยบายในด้านนี้มากกว่าธนาคารอื่นอย่างเห็นได้ชัด

 

ไฮไลต์ “นโยบายเพื่อสังคม” ที่โดดเด่นของธนาคารชั้นนำ

สฤณียังนำเสนอไฮไลต์ตัวอย่างนโยบายเพื่อสังคมเด่นๆ ของกลุ่มธนาคาร 5 อันดับแรกที่น่าสนใจ ดังนี้

1) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ – จัดรายการธุรกิจ “เหมืองถ่านหิน” หรือ “โรงไฟฟ้าถ่านหิน” ให้อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ไม่ให้การสนับสนุนทางการเงิน (exclusion list) –> ธนาคารที่มีนโยบาย : TMB

2) การต่อต้านการทุจริต – ประกาศไม่ทำกิจกรรมใดๆ กับล็อบบี้ยิสต์ –> ธนาคารที่มีนโยบาย : TMB, KTB, SCB

“ความเท่าเทียมทางเพศ” เป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมและรับผิดชอบสังคม

3) ความเท่าเทียมทางเพศ – กำหนดเป้าหมายรักษาสัดส่วนผู้บริหาร “หญิง” ไม่น้อยกว่า 40% ของตำแหน่งผู้บริหารทั้งหมด –> ธนาคารที่มีนโยบาย : TMB

4) การขยายบริการทางการเงินมีบัญชีเงินฝากพื้นฐานที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการเปิดบัญชี –> ธนาคารที่มีนโยบาย : KTB, KBANK

5) นโยบายค่าตอบแทน – การจ่ายค่าตอบแทนโบนัสกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานตั้งอยู่บนเกณฑ์อื่นนอกเหนือจากธุรกิจด้วย เช่น ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (เป็นนโยบายสำคัญที่ทำให้ผู้บริหาร/พนักงานนำกลยุทธ์ความยั่งยืนต่างๆ ไปใช้จริง) –> ธนาคารที่มีนโยบาย : TMB,KTB, SCB, KBANK

 

“แชมป์” TMB มีนโยบายจัดลิสต์ธุรกิจที่ “ไม่ปล่อยกู้”

สำหรับบริษัทที่ได้อันดับ 1 อีกครั้งในปีนี้ มีนโยบายที่น่าสนใจและแตกต่างจากธนาคารอื่น คือการจัดทำ “รายการธุรกิจที่ไม่ให้การสนับสนุนทางการเงิน” (exclusion list) ด้วย โดยรายการธุรกิจเหล่านี้ถูกแบนด้วยเหตุผลด้านการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือเกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคม

ต่อประเด็นนี้ “นริศ อารักษ์สกุลวงศ์” หัวหน้ากลยุทธ์องค์กร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทีเอ็มบีจัดทำนโยบายนี้ โดยอ้างอิงกรอบการทำงานมาจาก ING ธนาคารที่เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในทีเอ็มบี แบ่งลิสต์ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

“รายการธุรกิจที่ไม่สนับสนุนทางการเงิน”
1) การพนัน
2) ภาพอนาจาร
3) ธุรกิจที่เกี่ยวพันกับสวัสดิภาพสัตว์
4) อาวุธที่เป็นประเด็นในสังคม (เช่น โดรนโจมตีอัตโนมัติ)
5) พลังงาน
6) การประมง
7) ป่าไม้
8) พันธุวิศวกรรม
9) แร่ธาตุ
10) เหมืองถ่านหิน
11) พื้นที่หวงห้าม

“รายการธุรกิจที่จะพิจารณาอย่างเข้มงวด”
1) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2) อาวุธ เครื่องมือป้องกันตัว
3) พลังงาน เคมีภัณฑ์ ทรัพยากรธรรมชาติ
4) แร่กัมมันตรังสี
5) ยาสูบ

“รายการธุรกิจที่ไม่ให้การสนับสนุนทางการเงิน” (exclusion list) ของทีเอ็มบี (Photo : TMB)

นริศกล่าวว่า ลิสต์เหล่านี้จัดทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ธุรกิจที่ธนาคารสนับสนุนด้วยการให้สินเชื่อจะตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนในภาพใหญ่ที่ธนาคารวางแนวทางไว้ นอกจากกรอบคิดจาก ING แล้ว ในประเทศไทยเอง ทีเอ็มบีก็กำลังพยายามมองโจทย์ของประเทศด้วย เช่น ขณะนี้ทีเอ็มบีกำลังมุ่งเน้นหารือกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ “ไร่อ้อย” เพื่อหาความร่วมมือสนับสนุนให้ธุรกิจมีการเผาไร่อ้อยลดลง เพื่อร่วมแก้ปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการเผาไร่ทางการเกษตรเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของ PM 2.5

การจัดอันดับตามดัชนีชี้วัดของ Fair Finance Thailand ทำให้เห็นว่า “ธนาคาร” สามารถมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งการทำงานทางตรงภายในธนาคารเอง และในฐานะที่เป็นแหล่งทุนในการทำธุรกิจ

]]>
1315423
ทิศทาง “กรุงไทย” หลังพ้นรัฐวิสาหกิจ วางจุดยืน “แบงก์พาณิชย์ของรัฐ” https://positioningmag.com/1309417 Mon, 07 Dec 2020 12:03:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309417 กรุงไทย (KTB) กำลังเดินสู่ก้าวใหม่ หลังคณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความสถานะของธนาคารว่าพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ ในช่วงเวลาเดียวกัน ต้องเผชิญกับความท้าทายของธุรกิจเเบงก์” ในยุคดิจิทัล ฝ่าฟันวิกฤตเศรษฐกิจจากพิษ COVID-19 

การประกาศจะเป็น “เเบงก์ของคนต่างจังหวัด” เข้าถึงชุมชนในไทย เเละรองรับมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ของรัฐ ก็เป็นอีกหนึ่ง “งานหิน” ที่ต้องพัฒนาต่อไปเช่นกัน วันนี้เรามาฟังทิศทางต่อไปของกรุงไทยชัดๆ จากเอ็มดี KTB กัน 

ชูจุดเด่น “เเบงก์พาณิชย์ของรัฐ” 

ประเด็นการพ้นสภาพรัฐวิสาหกิจผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ยืนยันว่า การเปลี่ยนเเปลงดังกล่าวเป็นเป็นการเปลี่ยนที่รูปแบบ เเต่ไม่ได้เป็นสารสำคัญ 

เรื่องนี้ไม่ได้มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของกรุงไทยเเต่อย่างใด เพราะเราวางตัวเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐมาโดยตลอด เเละจะไม่มีการปลดพนักงานออก

โดยผยงอธิบายเพิ่มว่า เเม้ธนาคารกรุงไทยจะพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจเเล้ว ตามการตีความด้วยสถานะ เเต่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในภาคปฏิบัติยังคงเป็นธนาคารพาณิชย์ของกระทรวงการคลังของรัฐบาล ที่มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) และกระทรวงการคลัง ถือหุ้นใหญ่กว่า 55% มานานกว่า 30 ปีเเล้ว ซึ่งทุกอย่างก็ยังอยู่เหมือนเดิม 

ด้านเงินฝากของหน่วยงานรัฐรัฐวิสาหกิจนั้น ทางกระทรวงการคลังได้เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจฝากเงินกับธนาคารกรุงไทยต่อไปได้ ส่วนผลกระทบด้านอื่นๆ ก็ทยอยความชัดเจนออกมาต่อเนื่อง

ผู้บริหารกรุงไทยเน้นว่าการปฏิบัติงานต่างๆ เหมือนเดิม ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม

ตอนนี้เราค้นพบตัวเอง หาทางเดินที่เหมาะสม โดยการเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐเเห่งเดียวของประเทศไทยที่วางสถานะให้เเข่งขันกับเเบงก์ใหญ่เจ้าอื่นๆ ได้ อยากให้ความมั่นใจเเละไม่ต้องกังวล

-ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย

ส่วนกระเเสข่าวที่ว่าจะเป็นการฉวยโอกาสเพื่อเอาพนักงานออกนั้นไม่ใช่เรื่องจริง

โดยการพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ ในด้านสวัสดิการพนักงาน มีเพียงเรื่องเดียวที่จะเปลี่ยนคือ เรื่องการรักษาพยาบาล เนื่องจากพนักงานรัฐวิสาหกิจนั้นจะอยู่ภายใต้ พ... งบประมาณฯ ไม่ต้องเข้า พ... ประกันสังคมเหมือนเอกชน

เเต่เมื่อพ้นสภาพมาเเล้ว ผยงกล่าวว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะเเต่เดิมกรุงไทยก็ไม่ได้ใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดินในการดำเนินงาน ดังนั้นธนาคารจะแก้ไขระเบียบภายในให้สามารถปรับการรักษาพยาบาลของพนักงานให้คงสิทธิ์เช่นเดิมได้ โดยได้หารือกับสหภาพเเรงงานถึงการเปลี่ยนเเปลงดังกล่าวเเล้ว เเละเป็นไปด้วยดี

เราจะยืนอยู่บนตัวตนของเรา เป็นพันธมิตรกับรัฐบาล จับมือกับพาร์ตเนอร์อื่นๆ ที่เข้าใจเราเเละเราเข้าใจเขา ทุ่มลงทุนเทคโนโลยี เเละศึกษาทางเลือกอยู่เสมอ

Photo : Shutterstock

เปลี่ยนบริการให้เป็นเซลส์ 

ช่วงที่ผ่านมา กรุงไทยเริ่มปรับตัวครั้งใหญ่ ด้วยการขยับไปสู่การเป็น Personal Life Banking เข้าไปอยู่ในการใช้ชีวิตของผู้คน ผ่านการยึดโยงทางดิจิทัล เป็น One Stop Service เเละเป็น Omni-Channel 

เราจะเเบงก์ของคนต่างจังหวัด ใกล้ชิดชุมชน เเละจะต่อยอดให้เข้าถึงคนไทยให้ได้มากที่สุดต่อไป

ส่วนความท้าทายในการขับเคลื่อนองค์กรที่อยู่มานานนั้น ผยงตอบว่า คือการ ReskillUpskill เพิ่มทักษะยุคใหม่ให้พนักงาน รวมไปถึงการใช้ Data ที่ธนาคารมีอยู่มหาศาลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

โดยต่อไป กรุงไทย มีวิสัยทัศน์ธุรกิจ 5 เเนวทางหลักๆ ได้เเก่

  • ประคองธุรกิจหลัก ให้ก้าวผ่านช่วงวิกฤตโลก
  • สร้างธุรกิจใหม่ ที่ไม่ใช่เเค่ธุรกรรมธนาคารเเต่ขยายในน่านน้ำอื่นๆ
  • ใช้กระดาษน้อยลง ประหยัดพลังงาน ดำเนินงานสาขาอย่างเป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม
  • หาพันธมิตรใหม่ๆ ร่วมมือกันสร้างนวัตกรรม เเละลงทุนในเทคโนโลยี
  • ยึดถือสโลเเกนกรุงไทยเคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน  ช่วยเหลือชุมชน SME เพิ่มทักษะให้พนักงาน

เรามีการเปลี่ยนบริการให้เป็นเซลส์ (การขาย) เช่น การเพิ่มบริการคอลเซ็นเตอร์ ด้านการทวงหนี้ ติดตามหนี้ ประเมินหลักทรัพย์ต่างๆ ไปให้บริการกับบริษัทอื่นเพื่อเป็นรายได้อีกช่องทางหนึ่ง

นอกจากนี้ เเต่เดิมกรุงไทยตั้งการใช้งบฯ การลงทุนไว้ที่ 1.4 หมื่นล้าน เเต่ปีนี้ใช้ไปได้เเค่ 7-8 พันล้านจากสถานการณ์โรคระบาด จึงคาดได้ว่าปีหน้าจะมีการทุ่มลงทุนมากขึ้นอย่างเเน่นอน โดยเฉพาะในส่วนดิจิทัล เพื่อรองรับมาตรการต่างๆ ของรัฐ อย่าง เเอปฯ เป๋าตัง เว็บไซต์ลงทะเบียนคนละครึ่ง เที่ยวด้วยกัน ฯลฯ เเละขยายฐานลูกค้าผู้ใช้เเอปพลิเคชัน Krungthai NEXT จากผู้ใช้ตอนนี้ 9.95 ล้านรายให้ได้ 12 ล้านรายในปีหน้า

ธนาคารกรุงไทย ได้แต่งตั้งให้ไปรษณีย์ไทยเป็น Banking Agent อย่างเป็นทางการ เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการทางการเงินให้สะดวกยิ่งขึ้น

ปี 2564 : ประคองธุรกิจ ดูแลสินเชื่อเก่าให้ดีและรอด

ธนาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบหนักจาก COVID-19 ทั้งด้านผลกำไรที่ลดลงเเละราคาหุ้นที่ตกต่ำ เเม้จะผ่านช่วงวิ
กฤตไปเเล้ว เเต่ปีหน้ายังมีความท้าทายสูง จากความเสี่ยงหนี้เสียเเละคนตกงาน

ไม่ใช่ปีเเห่งกำไร หรือปีเเห่งการเติบโต เเต่เป็นปีเเห่งการรักษาความเเสถียร เน้นดูแลสินเชื่อเก่าให้ดีและรอด ผยง ศรีวณิช กล่าวถึงทิศทางธุรกิจในปี 2564

โดยมองว่า แผนดำเนินงานในปีหน้าจะยังไม่เน้นการเติบโตของสินเชื่อใหม่มากนัก ตั้งเป้าการเติบโตไว้ที่ 2-3% ใกล้เคียงกับการขยายตัวของจีดีพีไทย

ผยง คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะหดตัวในกรอบ -6% ถึง -7 % ขณะที่ปี 2564 เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน จะขยายตัวได้ในกรอบ 2.0% ถึง 4.0%

เเม้เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวบ้างเเล้ว เเต่ประเทศไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน โดยเฉพาะการพึ่งพาการท่องเที่ยวที่มีสัดส่วนกว่า 10% ของจีดีพี เเต่ยังฟื้นตัวจำกัด ยังไม่สามารถว่าจะมีนักท่องเที่ยวกลับมาได้เท่าใดเเละเมื่อไหร่ ขึ้นอยู่กับการพัฒนาเเละกระจายจายวัคซีน

ดังนั้น ธนาคารจึงต้องเน้นไปที่การประคองเศรษฐกิจ นำเสนอบริการที่เเยกตามกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ระวังตลาด
เเรงงานที่ยังเปราบาง อัตราว่างงานสูง ระวังความเสี่ยงจากหนี้เสีย (NPL) ซึ่งตอนนี้ของ KTB อยู่ที่ราว 4% นิดๆรวมไปถึงความเสี่ยงจากหนี้ครัวเรือนด้วย

ประเทศไทยจะลดหนี้ครัวเรือนไม่ได้ หากไม่เพิ่มรายได้ให้ประชาชน…”

ช่วงที่ผ่านมา ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบขาก COVID-19 ที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือของกรุงไทย คิดเป็น 18% ของสินเชื่อรวมที่ระดับ 1.8 ล้านล้านบาท ถือว่าไม่มากนัก เมื่อเทียบกับธนาคารอื่นจะอยู่ที่ราว 30-40% ปัจจัยหลักๆ มาจากลูกค้าเป็นกลุ่มข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ที่ไม่ได้รับผลกระทบเรื่องรายได้ ส่วนสินเชื่อรายย่อยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เชื่อมโยงไปยังซัพพลายเชนธุรกิจอื่นๆ มากนัก

ภาครัฐยังเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้า ต้องกระตุ้นกำลังซื้อภาคครัวเรือนให้ความต่อเนื่อง ทั้งโครงการคนละครึ่ง เที่ยวด้วยกัน ช้อปดีมีคืน

ผยง บอกอีกว่า การเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุนของภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ จะเป็นแรงสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ และสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุน รวมถึงยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยในระยะยาว

@ลุยต่อคนละครึ่งคาดเเห่ลงเฟส 2 ถึง 10 ล้านคน

หนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ ณ ขณะนี้ คงหนีไม่พ้น โครงการคนละครึ่ง ที่ส่งเสริมให้พ่อค้าเเม่ค้ารายย่อยมีรายได้มากขึ้น โดยภาครัฐจะช่วยออกค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,000 บาท ตลอดระยะเวลาโครงการ ภายใต้วงเงินอุดหนุน 30,000 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 23 ..-31 .. (เฟสเเรก)

ล่าสุดเฟส 2” จะเริ่มให้ใช้สิทธิในวันที่ 1 .. – 31 มี.. 2564 ขยายวงเงิน 3,500 บาทต่อคน และเพิ่มวงเงินให้แก่ผู้ได้รับสิทธิในเฟสแรกอีก 500 บาทต่อคน เปิดให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ตั้งแต่วันที่ 16 ..นี้ เป็นต้นไป

เรากำลังเร่งฝ่ายไอทีให้ตรวจสอบเสถียรภาพ ไม่ให้เกิดปัญหาคอขวด แม้ว่าจะเปิดรับลงทะเบียนเพียง 5 ล้านคน แต่เชื่อว่าจะมีผู้สนใจมาลงทะเบียนสูงถึง 10 ล้านคน

โดยมีการปรับปรุงระบบการลงทะเบียนหน้าเว็บไซต์ ให้สามารถรองรับผู้ใช้งานได้มากขึ้นจาก 200,000 คน ต่อการเข้าใช้งาน 1 ครั้ง เป็น 500,000-1,000,000 คน ต่อการใช้งานในแต่ละครั้ง พร้อมประสานกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในการเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วของระบบการส่งข้อความยืนยัน โอทีพี (OTP) ผ่าน SMS

ส่วนผู้เข้าร่วมโครงการในเฟสเเรก แล้วต้องการต่อสิทธิ์อัตโนมัติรัฐบาลจะมีการเพิ่มปุ่มหรือส่งข้อความให้ผู้ลงทะเบียนเฟส 1 ยืนยันว่าจะเข้าร่วมมาตรการต่อในเฟส 2 หรือไม่ ขณะที่ผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์จากโครงการคนละครึ่ง เฟสเเรก เนื่องจากไม่ได้ใช้จ่ายภายใต้โครงการภายในวันที่กำหนดไว้ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเฟส 2 ได้ 

สำหรับโครงการคนละครึ่ง วันที่ 2 ธันวาคม 2563 มีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 8.9 แสนร้านค้า และมีผู้ใช้สิทธิแล้วจำนวน 9.5 ล้านคน มียอดการใช้จ่ายสะสม 33,754 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 17,236 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 16,518 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 181 บาทต่อครั้ง 

ส่วนจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา นครศรีธรรมราช ชลบุรี และเชียงใหม่ โดยผู้ประกอบการร้านค้ายังคงสมัครเข้าร่วมโครงการได้อย่างต่อเนื่อง

 

 

 

]]>
1309417
“กรุงไทย” มีกำไรในไตรมาส 3 มูลค่า 16,572 ล้าน เพิ่มขึ้น 16% ส่วน 9 เดือนเพิ่มขึ้น 12% https://positioningmag.com/1302570 Wed, 21 Oct 2020 07:00:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302570 ธนาคารกรุงไทย และบริษัทย่อย ประกาศผลประกอบการ มีกำไรจากการดำเนินงานช่วง 9 เดือน ปี 2563 เท่ากับ 54,149 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ไตรมาส 3 กำไรจากการดำเนินงาน เท่ากับ 16,572 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16%

ธนาคาร และบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3/2563 เท่ากับ 16,572 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้นจากรายได้ดอกเบี้ยพิเศษ นอกเหนือจากการบริหารจัดการทางการเงิน ท่ามกลางสภาวะดอกเบี้ยขาลง ประกอบกับรายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายพิเศษจากการตั้งสำรองผลประโยชน์พนักงาน ในไตรมาส 3/2562 ส่งผลให้ Cost to Income ratio ลดลงเป็น 45.3% จาก 53% ในไตรมาส 3/2562

ธนาคารได้ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำนวน 12,414 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 103.6% เมื่อเทียบกับการตั้งสำรองในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ส่งผลให้กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร ลดลงเป็น 3,057 ล้านบาท หรือลดลง 51.9%

ธนาคารมีกำไรจากการดำเนินงาน 9 เดือนปี 2563 เพิ่มขึ้น 12.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเท่ากับ 68,023 ล้านบาท ขยายตัวขึ้น 0.6% ท่ามกลางสภาวะดอกเบี้ยนโยบายที่ถูกปรับลดจนต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีสาเหตุหลักจากการได้รับรายได้ดอกเบี้ยพิเศษ นอกเหนือจากการบริหารจัดการทางการเงิน จึงช่วยลดผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้

รายได้จากการดำเนินงานอื่นเติบโต 13.3% และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง 13.8% จากรายการพิเศษสำรองด้อยค่าทรัพย์สินรอการขายฯ และการตั้งสำรองผลประโยชน์พนักงานในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ Cost to Income ลดลงเป็น 42.2% จาก 48.8% ในช่วงเดียวกันของปี 2562

จากการพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบ ประมาณการภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างรุนแรงและมีความไม่แน่นอน ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพสินเชื่อ ธนาคารจึงได้ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำนวน 35,649 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 87.7% จากค่าใช้จ่ายสำรองในช่วงเดียวกันของปี 2562 ส่งผลให้มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 13,279 ล้านบาท ลดลง 39.2%

ณ 30 กันยายน 2563 ธนาคารมียอดสินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับสุทธิ 2,149,620 ล้านบาท โดยธนาคาร (งบการเงินเฉพาะ) มีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 15.01 และอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยงที่ร้อยละ 18.42  ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

]]>
1302570
“กรุงไทย” แต่งตั้ง “ไปรษณีย์ไทย” เป็น Banking Agent ผนึกจุดให้บริการรวม 13,000 แห่ง https://positioningmag.com/1294383 Thu, 27 Aug 2020 14:46:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294383 ธนาคารกรุงไทยได้แต่งตั้งให้ไปรษณีย์ไทยเป็น Banking Agent อย่างเป็นทางการ เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการทางการเงินให้สะดวกยิ่งขึ้น

ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า

“ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าไม่จำกัดเพียงที่สาขา หรือช่องทางหลักของธนาคารเท่านั้น การร่วมมือทางธุรกิจโดยแต่งตั้งไปรษณีย์ไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เป็น Banking Agent อย่างเป็นทางการ ช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการทางการเงินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ”

โดยจุดให้บริการของไปรษณีย์ไทยกว่า 1,200 แห่ง รวมกับสาขาของธนาคาร 1,014 แห่ง และเครื่องบริการอัตโนมัติอีกกว่า 10,000 จุด ทำให้ธนาคารมีจุดให้บริการรวมทั้งสิ้นกว่า 13,000 แห่งทั่วประเทศ เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้ามากยิ่งขึ้น

โดยเมื่อไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมา ได้ให้บริการฝากเงินสด โดยไม่ต้องใช้สมุดบัญชี ตั้งแต่ 1 บาท-50,000 บาทต่อรายการ สูงสุด 100,000 บาทต่อวันต่อบัญชี มียอดการทำธุรกรรมแล้วกว่า 3,600 ล้านบาท และบริการรับชำระค่าปรับจราจร จากใบสั่ง หรือใบเตือนทุกชนิดที่มีบาร์โค้ดและเครื่องหมาย PTM มียอดการทำธุรกรรมแล้วกว่า 114 ล้านบาท

ทั้ง 2 หน่วยงานจะร่วมกันศึกษาพัฒนารูปแบบและต่อยอด เพื่อขยายขอบเขตการให้บริการทางการเงินใหม่ๆ ได้แก่ ถอนเงินผ่านเครื่อง EDC และ QR Code ได้ทุกธนาคาร เติมเงินบัตร M-Pass ติดตั้งเครื่อง “e-KYC” เทคโนโลยีการระบุตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเปิดบัญชีหรือทำธุรกรรมทางการเงิน โครงการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อให้บริการรับชำระภาษี จัดพิมพ์และจัดส่งใบแจ้งรายการทรัพย์สิน ใบแจ้งภาษีและใบแจ้งเตือนให้แก่หน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่น การพัฒนาระบบรับชำระเงินในเว็บไซต์ Thailandpostmart และแอปพลิเคชัน Wallet@Post ให้เชื่อมโยงกับ Krungthai NEXT ตลอดจนพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRMS) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานและลูกจ้างของไปรษณีย์ไทย เช่น การขอเอกสารรับรองเงินเดือน เป็นต้น

]]>
1294383
“ผยง ศรีวณิช” MD กรุงไทย เป็นประธานสมาคมธนาคารไทยคนใหม่แทน “ปรีดี ดาวฉาย” https://positioningmag.com/1293397 Wed, 19 Aug 2020 14:16:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293397 ที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมธนาคารไทย ได้แต่งตั้ง “ผยง ศรีวณิช” กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมธนาคารไทย คนที่ 24 แทนนายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ที่ลาออกจากตำแหน่งประธานสมาคมธนาคารไทย เพื่อไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยมีผลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563

การรับตำแหน่งในครั้งนี้ มีภารกิจที่ต้องเร่งผลักดัน คือ การร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการพัฒนาระบบธนาคารพาณิชย์ให้เป็นดิจิทัลเต็มรูปแบบ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวผ่านวิกฤตเศรษฐกิจและตอบโจทย์ทุกความต้องการของคนไทยในทุกภาคส่วน ทั้งนี้ ประธานสมาคมธนาคารไทยจะหารือกับผู้บริหารของธนาคารสมาชิกเพื่อร่วมกันกำหนดแผน ยุทธศาสตร์ของสมาคมธนาคารไทยในระยะถัดไป

ประวัติประธานสมาคมธนาคารไทย คนที่ 24

ผยง ศรีวณิช ปัจจุบันอายุ 52 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ ที่ University of Arizona ,Tucson, Arizona สหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ ที่ University of Pittsburgh, Pennsylvania  สหรัฐอเมริกา

มีประสบการณ์ในด้านธุรกิจการเงินการธนาคารมากว่า 20 ปี เคยดำรงตำแหน่ง Managing Director, Head of Global Markets & Country Treasurer Citibank N.A.,Thailand ระหว่างปี 2551-2557 ทำงานกับธนาคารกรุงไทยในปี 2558 ในตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย

]]>
1293397
ขสมก. เอาบ้าง! จ่ายผ่านบัตรโดยสาร รับเครดิตเงินคืน 2 บาทต่อเที่ยว ใช้ได้กว่า 3,000 คัน https://positioningmag.com/1256126 Fri, 06 Dec 2019 11:12:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256126 ขสมก. ร่วมกับธนาคารกรุงไทย ออกบัตรเติมเงินโดยสารรถประจำทาง พร้อมกับจัดโปรให้เครดิตเงินคืน 2 บาทต่อเที่ยว สูงสุด 15 เที่ยวต่อเดือน แก่ผู้โดยสารที่ชำระค่าโดยสารด้วยบัตร ใช้ได้กับรถโดยสารกว่า 3,000 คัน

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ร่วมกับธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ ขสมก.(บัตรเติมเงิน) มีจำหน่ายบนรถโดยสาร ขสมก.ในราคาใบละ 50 บาท สามารถเติมเงินผ่านธนาคารกรุงไทยทุกสาขา, แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT, ตู้เอทีเอ็ม และตู้บุญเติมที่ร่วมโครงการ

ได้จัดโปรโมชันแก่ผู้โดยสารที่ชำระค่าโดยสารด้วยบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ร่วม ขสมก.กว่า 3,000 คัน ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล รับเครดิตเงินคืน 2 บาทต่อเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2562 ถึง 31 ม.ค. 2563

ทั้งนี้ ผู้ถือบัตร 1 ใบจะได้รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 15 สิทธิ์ หรือ 30 บาทต่อบัตรต่อเดือน ซึ่งจะได้รับเครดิตเงินคืนไปยังบัตรที่คงสถานะปกติภายใน 15 วันทำการ นับจากสิ้นเดือน ธ.ค. 2562 และ ม.ค. 2563 โดยเครดิตเงินคืนมีทั้งหมด 975,000 สิทธิ์ ตลอดระยะเวลารายการส่งเสริมการขาย

Source

]]>
1256126
ส่อง 3 ธนาคารยักษ์ใหญ่ เปิดศึกแข่งกับร้านแลกเงิน ออกโปร/บัตร แลกเงินเรทพิเศษ https://positioningmag.com/1249740 Mon, 14 Oct 2019 16:22:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1249740 ยุคนี้คนที่จะเดินทางไปต่างประเทศต้องการแลกเงินมักจะนึกถึง “ร้านแลกเงินก่อนเสมอ แต่ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ต่างๆ แห่ออกโปรโมชันแลกเงินอัตราพิเศษแข่งกัน มีอย่างน้อย 3 ธนาคารดังออกมาสู้ศึกครั้งนี้

ธนาคารกรุงเทพ

รับส่วนลดอัตราแลกเปลี่ยนพิเศษ เมื่อแลกซื้อธนบัตรต่างประเทศ 8 สกุล ที่ฝ่ายบริการแลกเปลี่ยนและโอนเงินระหว่างประเทศ ชั้น 2 ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ สีลม โดยสามารถซื้อธนบัตรต่างประเทศหลังหักส่วนลดแล้วเทียบเท่าไม่เกิน 500,000 บาทต่อครั้ง รับอัตราแลกเปลี่ยนขายธนบัตรต่างประเทศ (Bank Notes Selling Rates) หักส่วนลดตามโปรโมชัน ณ วันและเวลา ที่ใช้บริการ ตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค. 2562 ถึง 30 มิ.ย. 2563

ธนาคารกสิกรไทย

สำหรับลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตกสิกรไทย รูดแลกเงินตราต่างประเทศด้วยบัตรเครดิตกสิกรไทย ณ สำนักงานแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ และสาขาที่ร่วมรายการ โดยระดับบัตร The Wisdom ขึ้นไป สามารถใช้คะแนน KBank Reward Points แลกส่วนลด 10% และระดับบัตรเครดิตกสิกรไทย อื่นๆ สามารถใช้คะแนน KBank Reward Points แลกส่วนลด 8%

นอกจากนี้ เมื่อรูดแลกเงินต่างประเทศ 4,000 บาทขึ้นไป สามารถผ่อนชำระ 0% นาน 4 เดือน ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ม.ค. 2563

สำหรับลูกค้าผู้ถือบัตรเดบิตเจอร์นี (JOURNEY) นอกจากใช้จ่ายผ่านบัตรได้ทุกสกุลเงินทั่วโลก ไม่มีชาร์จ 2.5% ยังสามารถแลกเงินและรับอัตราแลกเปลี่ยนพิเศษ เพียงแสดงบัตรที่บูธแลกเงินของธนาคารกสิกรไทยกว่า 1,000 จุดทั่วประเทศ ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธ.ค. 2562

สำหรับลูกค้าทั่วไป สามารถแลกเงินได้ที่เครื่องแลกเปลี่ยนเงินอัตโนมัติ (Automated Currency Exchange Machine) ทำรายการด้วยตัวเอง แลกเงินไทยบาทเป็นเงินต่างประเทศ ได้ 3 สกุลเงินต่างประเทศในอัตราพิเศษ ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) เงินเยนของญี่ปุ่น (JPY) และเงินสกุลยูโรของสหภาพยุโรป (EUR) ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ชั้น B1 บริเวณสถานีแอร์พอร์ตลิงก์ สุวรรณภูมิ ใช้หลักฐานได้แก่ หนังสือเดินทาง (Passport) และธนบัตรสำหรับแลก โดยส่วนต่างจะทอนออกมาเป็นเหรียญบาทไทย จำกัดยอดเงินในการทำรายการไม่เกิน 30,000 บาทต่อรายการ และสูงสุดไม่เกิน 99,999 บาทต่อวันต่อคน

ธนาคารกรุงไทย

สำหรับลูกค้าผู้ถือบัตรกรุงไทย ทราเวล การ์ด (Krungthai Travel Card) ถ้าแลกเงินสกุลต่างประเทศผ่านแอปฯ Krungthai Next หรือเป๋าตัง (เมนูบัญชีกรุงไทย) ในอัตราพิเศษแล้ว สามารถถอนเงินสดสกุลต่างประเทศที่สาขาและจุดให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคาร ได้แก่ สาขานานาเหนือ จุดบริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ สถานีสุวรรณภูมิ สาขาสยามพารากอน สาขาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และสาขาเซ็นทรัลลาดพร้าว สูงสุด 25,000 บาทต่อรายการ จำกัดไม่เกิน 2 รายการต่อวัน

สำหรับการแลกเงินไปต่างประเทศ เมื่อไปที่เคาน์เตอร์แลกเงิน ให้สังเกตราคาขาย (Bank Selling Rate) เป็นหลัก โดยนำราคาไปคูณกับจำนวนที่ต้องการแลก

ตัวอย่างเช่น เงินดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 30.17 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ถ้าต้องการซื้อเงิน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้เอา 30.17 คูณเข้าไป (30.17 x 1,000) จะเท่ากับ 30,170 บาท

เมื่อกลับมาแล้ว เงินสกุลต่างประเทศยังคงเหลือ หากต้องการแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท ให้สังเกตราคาซื้อ (Bank Buying Rate) เป็นหลัก ซึ่งโดยปกติราคาแลกคืนจะต่ำกว่าราคาขายอยู่แล้ว

ตัวอย่างเช่น กลับจากต่างประเทศ เหลือเงินติดตัว 450 ดอลลาร์สหรัฐฯ ราคารับซื้ออยู่ที่ 29.98 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ให้เอา 450 คูณเข้าไป (450 x 29.98) เงินบาทที่ได้คืนจะเท่ากับ 13,491 บาท

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ ก่อนแลกเงินควรศึกษาอัตราแลกเปลี่ยนแต่ละธนาคาร และร้านแลกเงินต่างๆ ก่อนทุกครั้ง ซึ่งราคาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อความคุ้มค่าในการแลกเงิน

(ข้อมูล ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2562)

Source

]]>
1249740
“Functional Foods” เทรนด์อาหารแห่งอนาคต น่านน้ำใหม่ของ SME https://positioningmag.com/1223554 Fri, 05 Apr 2019 00:59:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1223554 ไม่ว่าอย่างไรคนเราก็ต้องกินอาหารทุกวันอย่างน้อยวันละ 3 มื้อ ไม่นับรวมของว่างระหว่างวัน นั้นทำให้อุตสาหกรรมอาหารมูลค่า 409,000 ล้านบาทกลายเป็นกลิ่นที่หอมหวาน ดึงดูดให้คนที่สนใจพุ่งเข้ามา ที่ผ่านมาจึงมีผู้ที่ประกอบธุรกิจอาหารเพิ่มขึ้นทุกปี อย่างในปี 2017 มี 1,317 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ถึง 372 ราย

สาเหตุสำคัญที่ทำให้มีผู้เล่นหน้าใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี เป็นเพราะธุรกิจนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนที่สูงมากและต้นทุนการค้นคว้าสูตรต่ำ เมื่อกำแพงไม่สูงมากเลยมีผู้เล่นเข้ามาอยู่ตลอดเวลา หากการขายสินค้าที่ไม่ได้แตกต่างกันมากนักกลับเป็นผลเสียกำไรที่ควรจะมากหากความเป็นจริงไม่สูงเลยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา กำไรสุทธิอยู่ราว 2.8%

นั้นเป็นเพียงภาพผิวเผินเท่านั้น จริงๆ แล้วอุตสาหกรรมอาหารยังมีความน่าสนใจอยู่มาก แต่ต้องโฟกัสให้ถูกจุด เลี่ยงการแข่งขันที่สูงเพื่อลดผลกระทบ และการเข้าไปยังกลุ่มที่ยังไม่เคยมีใครทำมา ก่อนจะสร้างความได้เปรียบและตลาดที่ว่านั้นคือ “Functional Foods” หรืออาหารที่มีคุณสมบัติเฉพาะด้าน

Functional Foods ช่องว่างของ SME

Functional Foods เป็นอาหารที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอาหารที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่ไม่ถึงกับเป็นอาหารทางการแพทย์ โดยจะเป็นอาหารอาหารที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง ในการส่งเสริมสุขภาพด้านต่างๆ เพิ่มเติมจากคุณประโยชน์ของอาหารทั่วไป

เช่น การเสริมโปรตีน วิตามิน คอลลาเจน หรือลดทอนลงไปทั้ง เกลือ น้ำตาล โซเดียม อาหารที่จะนับเป็น Functional Foods ต้องไม่อยู่ในรูปแคปซูล/ผงเหมือนยา ไม่มีข้อจำกัดเหมือนยา แต่ให้ผลโดยตรง

วันนี้ในตลาดบ้านเราเริ่มเห็นได้เยอะแล้วทั้งโทฟุซังซึ่งเป็นผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่เป็นเจ้าแรกๆ มีการออกนมถั่วเหลืองที่เพิ่มงาดำ ซึ่งมีคุณสมบัติแคลเซียม การเพิ่มโปรตีน

นม Bed Time Milk” ของบริษัท แดรี่โฮม ที่มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นม ที่มีระดับสารเมลาโทนินธรรมชาติสูง ช่วยให้นอนหลับสนิท และดีเวอร์เอนเนอร์จี้เจลเครื่องดื่มให้พลังงานช่วยเสริมร่างกายนักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกายให้ดูดซึมได้ง่าย

ดรพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส และ อภินันทร์ สู่ประเสริฐ รองผู้อำนวยการฝ่าย สายงาน Global Business Development and Strategy ธนาคารกรุงไทย ร่วมกันกล่าวว่า

จุดนี้เป็นที่สังเกตว่า แบรนด์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในตลาด ยังเป็นแบรนด์เล็กๆ หรือ SME ในขณะที่แบรนด์ใหญ่ๆ ยังไม่ลงมาเล่นในตลาดมากนัก จึงถือว่าน่านน้ำที่ยังมีโอกาสอีกมากสำหรับ SME”

เติบโตจากเทรนด์สุขภาพ

ทำไม Functional Foods ถึงน่าสนใจ? ข้อมูลจาก Euromonitor ระบุว่าตลาดนี้ในเมืองไทยมีมูลค่า 46,000 ล้านบาท ถือว่ายังไม่เยอะเมื่อเทียบกับตลาดโลกมูลค่า 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 6.361 ล้านล้านบาท โดยคาดการณ์ 5 ปีต่อจากนี้เติบโตปีละประมาณ 4% แต่ที่น่าสนใจมากกว่านั้นคืออัตรากำไรสุทธิทำได้สูงกว่า 3 เท่า หรือเฉลี่ย 7.3%

เนื่องจากอาหารเหล่านี้ เป็นอาหารที่ตอบสนองกับผู้บริโภคที่มีความต้องการเฉพาะกลุ่ม (Niche) จึงสามารถทำราคาได้สูงกว่าอาหารทั่วไปมากถึง 200–400% เช่น นม Lactose free 155%, นมช่วยการนอนหลับ 183%, นม High Protein 238% และโปรตีนบาร์ 436%

ที่สำคัญยังเป็นอาหารที่เข้ามาเทรนด์สุขภาพ (Health & Wellness) ที่กำลังเติบโตอย่างสูง ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้บริโภค ที่ให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้นและมีแนวคิดว่าการป้องกันโรคดีกว่าการรักษาโรค รวมทั้งต้องการทางเลือกที่ไม่ใช่ยา ยืนยันด้วยผลวิจัยที่ธนาคารกรุงไทย ได้รวบรวมข้อมูลจากสถาบันอาหาร, Nielsen 2015, Mintel 2018 พบว่า

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว 32% ของผู้บริโภคในสหภาพยุโรปมองว่าปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารมีผลมากต่อการตัดสินใจซื้อ, 46% ของผู้บริโภคน้ำผลไม้ในสหรัฐฯ อยากให้เพิ่มสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพิ่มเติมส่วนประเทศที่กำลังพัฒนา 53% ของผู้บริโภคชาวจีนที่มีบุตรตั้งแต่อายุ 4-12 ปีต้องการซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยเสริมพัฒนาการทางสมอง

ส่วนในเมืองไทยพบ 81% ของผู้บริโภคในเมืองใหญ่บริโภค Functional Foods and Drinks อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์, 79% ของผู้บริโภคในเมืองใหญ่ต้องการมีโภชนาการที่ดีขึ้น และ 38% ของผู้บริโภคคนไทยมองหาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อบำรุงสมอง

ยิ่งไปกว่านั้น Functional Foods มีที่ว่างในตลาดให้จับจองอีกมากเพราะแตกเป็นเซ็กเมนต์ยิบย่อยจำนวนมากบางตลาดยังมีผู้เล่นไม่มากนัก และบางตลาดยังไม่มีเจ้าตลาดที่แท้จริง รวมไปถึงแบรนด์ยักษ์ใหม่ยังเข้าไม่ถึง

โดยสิ่งที่ธนาคารกรุงไทยเห็นมี 2 กลุ่มที่กำลังเป็นเทรนด์เมื่อวัดจากพฤติกรรมของผู้บริโภคได้แก่ 1. ให้พลังงานและควบคุมน้ำหนัก เช่น ให้พลังงานและสร้างกล้ามเนื้อ ลดอาการบาดเจ็บหลังแข่ง ควบคุมน้ำหนักและช่วยสมานแผล เป็นต้น และ 2. เสริมภูมิคุ้มกัน

นอกจากนี้ Functional Foods ยังเป็นหนึ่งในอาหารแห่งอนาคต ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในกลุ่ม S-Curve จึงทำให้ได้รับประโยชน์ จากการส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ ทั้งสิทธิพิเศษทางภาษีและเงินสนับสนุนการทำวิจัย

แนะวิธีก่อนเข้าสู่ Functional Foods

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะเข้าสู่ตลาด Functional Foods ควรสำรวจความต้องการของตลาด ศึกษาสารอาหารที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และควรเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อช่วยทำวิจัย เช่น ผู้ผลิตสารอาหารเฉพาะด้าน (Functional Ingredients) และหน่วยงานวิจัยจากภาครัฐ หรือสถาบันการศึกษา 

เพื่อลดความเสี่ยงในการทำวิจัยเอง และช่วยให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงความต้องการของตลาดได้ง่ายขึ้น ทั้งเรื่องของรสชาติที่อร่อย การรักษาคุณสมบัติของสารอาหารให้คงเดิมและได้มาตรฐานการผลิต ตามมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โดยปัจจุบันเทคโนโลยีในการรักษาคุณค่าของสารอาหารก้าวหน้าไปมาก เช่น เทคโนโลยี Encapsulation ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างชั้นป้องกันสารสำคัญจากปฏิกิริยาหรือสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีในการรักษารสชาติสี กลิ่น ให้ใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์อาหารเดิม

การจะเจาะเข้าสู่ตลาดนี้ให้มุ่งไปหาผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม (Niche) ไปเลยไม่ต้องสนใจกลุ่มแมส โดยสินค้าที่ออกมานั้นควรจะเป็น Ready to Eat หรืออาหารพร้อมรับประทานไปเลย ที่สำคัญต้องบอกให้ชัดเจนว่าหากผู้บริโภคทานอาหารนี้เข้าไปแล้วจะมีประโยชน์อะไรบ้าง แต่ทั้งนี้การโฆษณาต้องไม่ขัดต่อกฎหมายกำหนด

]]>
1223554
แบงก์หนีฝุ่นพิษ ไทยพาณิชย์-ธนชาตตามมาติดๆ ให้พนักงานท้อง-มีโรคประจำตัวทำงานที่บ้าน กรุงไทยให้หยุด 8 วัน ไม่ถือเป็นวันลา https://positioningmag.com/1211640 Thu, 31 Jan 2019 15:40:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1211640 หลังจากธนาคารกสิกรไทยออกประกาศในวันนี้ (31 มกราคม 2562) ให้พนักงานแนวทางดูแลพนักงานในภาวะฝุ่น (PM2.5) ในอากาศสูง และเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ธนาคารให้พนักงานที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือมีโรคประจำตัว ที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงภาวะฝุ่น หรือจำเป็นต้องดูแลบุตรที่ไม่สามารถไปเรียนตามปกติได้ สามารถแจ้งความประสงค์ต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อขออนุญาตปฏิบัติงานที่บ้านหรือที่พักอาศัยในระหว่างวันที่ 31 มกราคม 2562- 5 กุมภาพันธ์ 2562 ได้นั้น

ไทยพาณิชย์ให้ทำงานที่บ้านตั้งแต่ 1 ..เป็นต้นไป

ล่าสุดธนาคารไทยพาณิชย์ได้ออกแนวทางดูแลพนักงานในภาวะที่ต้องประสบกับฝุ่น PM2.5 ให้พนักงานที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือมีโรคประจำตัว ที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงฝุ่น หรือพนักงานที่มีบุตรต้องดูแลพิเศษ สามารถแจ้งความประสงค์ต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง เพื่อขอปฏิบัติงานที่บ้าน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นต้นไป โดยธนาคารจะตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและแจ้งให้พนักงานทราบต่อไป

ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาโดยตรง ในการพิจารณาไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการให้บริการลูกค้า

กรุงไทยให้หยุด 1-8 ..ไม่ถือเป็นวันลา

ทางด้านธนาคารกรุงไทยออกประกาศแนวทางพนักงานตามที่เกิดสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 บริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล 5 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ธนาคารจึงอนุมัติให้พนักงานที่มความเสียงได้รับผลกระทบ เช่น พนักงานที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือ มีโรคประจำตัวจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงภาวะฝุ่น สามารถหยุดงานได้ โดยไม่ถือเป็นวันลา

ทั้งนี้การอนุญาตของพนักงาน ต้องพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของธนาคาร หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจธนาคาร และขอให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดของพนักงานเป็นผู้พิจารณา โดยธนาคารกำหนดให้ลาตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2562

ธนชาติให้ทำงานที่บ้าน 1-5 ..

ทางด้านธนาคารธนชาต ได้ออกประกาศให้พนักงานที่อยู่รระหว่างตั้งครรภ์ หรือมีโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงภาวะฝุ่น หรือจำเป็นต้องดูแลบุตรไม่สามารถไปเรียนตามปกติได้ สามารถแจ้งความประสงค์ต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อขออนุญาตปฏิบัติงานที่บ้านหรือที่พักอาศัยในระหว่างวันที่ 1-5 กุมภาพันธ์ 2562.

]]>
1211640