ธุรกิจสั่งอาหารออนไลน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 19 Feb 2021 09:25:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 บทเรียนก้าวเเรกของ ‘Robinhood’ ได้ใจร้านเล็ก กับเส้นทางอนาคต เมื่อจะไม่เก็บค่า GP ‘ตลอดไป’ https://positioningmag.com/1319725 Fri, 19 Feb 2021 08:20:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319725 เป็นเวลาร่วม 3 เดือนกว่าเเล้วที่ ‘Robinhood’ น้องใหม่ฟู้ดเดลิเวอรี่ฝีมือคนไทยจากค่ายเเบงก์ SCB เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ท่ามกลางความลุ้นระทึกว่าจะ ‘รอด’ หรือจะ ‘ร่วง’ 

จากเป้าหมายเล็กๆ พลิกวิกฤตเป็นโอกาส หวังจะช่วยร้านอาหารไทยที่กำลังประสบปัญหาอ่วมค่า GP’ ให้เหลือรายได้เพิ่มขึ้น จนมาถึงวันนี้ที่ Robinhood ‘สอบผ่าน’ มีกระเเสตอบรับอย่างดี เเละพร้อมประกาศจะไม่เก็บค่า GP ตลอดไป

อะไรคือสิ่งที่ ‘Robinhood’ ได้เรียนรู้ เป้าหมายที่เเท้จริงเเละเส้นทางธุรกิจต่อไปจะเป็นเช่นไร จะมีฟีเจอร์ใหม่ๆ เเบบไหนที่กำลังจะปล่อยออกมาลองของในตลาดอีกบ้าง Positioning จะพามาหาคำตอบกัน

อินไซต์น่าสนใจของ Robinhood

ปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีการอัปเดตตัวเลขสถิติผู้ใช้เเอปพลิเคชัน Robinhood ออกมาให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยรวมถือว่าเกินคาดจากเป้าหมายที่ทีมงานวางไว้

  • มีลูกค้าทะเบียนในระบบกว่า 580,000 ราย
  • ร้านอาหารในระบบกว่า 55,000 ร้านค้า
  • ไรเดอร์ที่พร้อมให้บริการกว่า 11,500 ราย
  • ยอดสั่งอาหารออเดอร์เดียวสูงสุด 3,528 บาท
  • ลูกค้าสั่งอาหารไกลที่สุด 45 กิโลเมตร
  • มีลูกค้าคนเดิมสั่งอาหารสูงสุดถึง 18 ออเดอร์ใน 1 สัปดาห์
  • รายการอาหารทั้งหมดในระบบ 1.6 ล้านรายการ
  • มีร้านอาหารกว่า 8,200 ร้าน เข้าร่วม LS ที่ให้ส่วนลดกับลูกค้า
  • มีปลาแซลมอนรวมกว่า 5 ตันถูกสั่งจากเเอป Robinhood
  • ไรเดอร์คนหนึ่งเคยรับงานสูงสุดถึง 44 งานต่อวัน
  • 74% ของไรเดอร์ เลือกทำ Robinhood เป็นงานเสริม
10 ร้านอาหารยอดนิยมบน Robinhood 
  • มนต์นมสด (สาขา เสาชิงช้า)
  • รุ่งเรืองตั๋ง ก๋วยเตี๋ยวหมูสุขุมวิท 26 (เจ้าเก่า) ห้องหัวมุม
  • Oba San 168
  • หน่องริมคลอง
  • ไก่ทอดเจ๊กี (โปโล)
  • โจ๊กสามย่าน บรรทัดทอง
  • ข้าวหมูแดงสีมรกต
  • ประจักษ์เป็ดย่าง
  • ซ้งเป็ดพะโล้
  • ไข่หวานบ้านซูชิ จามจุรีแสควร์

คำค้นหายอดนิยมสูงสุด ได้เเก่ แซลมอน, โจ๊ก, ก๋วยเตี๋ยว, ข้าวมันไก่เเละส้มตำ

พื้นที่ที่มีการสั่งออเดอร์เยอะที่สุด ได้เเก่ จตุจักร, ห้วยขวาง คลองเตย

โดยไรเดอร์มีช่วงเวลาในการรับงานเฉลี่ย 12 วินาทีต่อการสั่ง เเละมีรายได้จากการให้บริการรับส่งอาหารเฉลี่ยรอบละ 40-50 บาท 

ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด

‘ไม่มีคนชมว่าเราถูก เเต่ก็ไม่มีใครด่าว่าเราแพง’ 

คำกล่าวของ โจ้-ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด บริษัทลูกของ SCB ที่พัฒนา Robinhood ขึ้นมาเป็นหนึ่ง CSR Project ของธนาคาร ที่ได้รับเงินทุนเพื่อช่วยสังคมราว 150 ล้านบาทต่อปี

การฉีกเเนวธุรกิจเเบงก์ มาลงทุนในศึกฟู้ดเดลิเวอรี่’ เมืองไทยของ SCB ครั้งนี้ สั่นสะเทือนวงการไม่น้อย จี้จุด Pain Point อย่างการไม่คิด GP ไม่คิดค่าสมัคร โอนเงินไวใน 1 ชั่วโมง

ท่ามกลางศึกฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เเข่งขันกันดุเดือดเลือดพล่าน ‘เผาเงิน’ เเจกโปรโมชันกันเป็นว่าเล่น เเม้ตอนเเรก Robinhood บอกว่าจะไม่ทุ่มงบการตลาดเเบบเจ้าอื่น เพราะในงบร้อยกว่าล้านต่อปีนั้น เป็นงบที่รวมทุกอย่าง’ ทั้งการจัดการ พนักงาน ระบบหลังบ้านและเครือข่าย ซึ่งจะมีงบด้านการตลาดเหลืออยู่ไม่ถึง 20 ล้านบาท จึงเลือกจะไม่นำไปใช้เพื่ออัดโปรโมชัน

เเต่ตอนนี้หลังได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากๆ ก็จำเป็นต้อง ‘ขอทุนเพิ่ม’ จากบอร์ดบริหารเพื่อให้สอดคล้องกับการเติบโต

ปัจจุบัน Robinhood รั้งอันดับ 4 ในตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่เมืองไทย (ไม่ได้เป็นตัวเลขทางการ) เเต่ทางทีมประมาณการจากสถิติการสั่งออเดอร์ โดยอันดับ 1 เป็นของเจ้าใหญ่อย่าง GrabFood รองลงมาคือ FoodPanda ส่วนอันดับ 3 เป็นของ LINE MAN เเละตามมาด้วย Robinhood

LS is Key : เพราะไม่มีค่า GP จึงมีส่วนลดจาก ‘ร้านค้า’ 

กลยุทธ์การตลาดหลักๆ ที่ Robinhood จะนำมาทำโปรโมชันคือ LS ส่วนลดจากร้านค้าเอง ซึ่งเกิดจากการที่ทีมงานได้เข้าไปพูดคุยกับร้านค้าว่า เมื่อไม่เสียค่า GP ราว 30-35% (คอมมิชชันที่ต้องจ่ายให้เเพลตฟอร์ม) เเล้ว พอจะให้ ‘ส่วนลดเพิ่มเติม’ กับลูกค้าได้หรือไม่ ซึ่งร้านค้าจำนวนมากก็มีความสนใจเเละให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ปัจจุบันมีร้านค้าเลือกให้ส่วนลดกับผู้ใช้ราว 15% จากจำนวนร้านค้าทั้งหมด มีโปรโมชันส่วนลดเฉลี่ยราว 8-20% ต่อรายการ นอกจากนี้ยังถือเป็นการโปรโมตร้านขึ้นบนหน้าเเอปฯ ให้เห็นได้ง่ายไปในตัวด้วย

ก้าวเเรกเเละสิ่งที่ได้เรียนรู้ 

ธนา เล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังเปิดให้บริการ Robinhood มาได้ 3 เดือนกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเเก้ไขเเละนำไปพัฒนาต่อไป หลักๆ ได้เเก่

  • ‘ออเดอร์หลอก’ ของร้านค้าและไรเดอร์ 

ในช่วงการเปิดตัวของ Robinhood บริษัทได้เเจก ‘โค้ดส่วนลดโดยไม่จำกัดการซื้อ’ ทำให้ร้านค้าและไรเดอร์ จำนวน 4 ร้านร่วมมือกับไรเดอร์ไม่กี่คน สั่งออเดอร์โดยใช้โค้ดส่วนลดผ่านระบบ และให้ไรเดอร์ที่ร่วมมือซึ่งอยู่ใกล้ร้านที่สุดเป็นคนกดรับออเดอร์ ร้านค้าจึงได้รับเงินจากโค้ดส่วนลด และไรเดอร์ได้รับค่าส่ง เเม้ไม่มีการซื้อขายจริงเกิดขึ้น ซึ่งทางทีมงานเห็นความเป็นไปที่เกิดขึ้น เพราะมีการมอนิเตอร์ข้อมูลตลอด

กรณีนี้ทำให้ Robinhood เสียหายราว 1 เเสนบาท จากนั้นทีมงานจึงเเก้ไขด้วยการมียอดซื้อขั้นต่ำก่อนใช้ส่วนลด

  • ต้องมัดใจร้านค้าเล็กๆ ให้ได้ก่อนเชนใหญ่

จากการประสานงานต่างๆ พบว่า ร้านค้าเชนใหญ่ เเม้จะเป็นเป้าหมายที่สร้างรายได้กว่าครึ่งหนึ่งบนฟู้ดเดลิเวอรี่ทั่วไป เเต่การติดต่อเพื่อให้เข้ามาในระบะมีความยากลำบากมาก เเละมี ‘ต้นทุน’ ที่ต้องเสียเยอะ จึงหันไปหา ‘ร้านเล็ก’ ให้ได้มากที่สุด เรียกได้ว่ามากกว่า 90% ของเเพลตฟอร์ม

เมื่อมีเสียงตอบรับดี กลายเป็นว่าร้านอาหารเชนใหญ่ มองเห็นโอกาสลูกค้าเเละเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรเองมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ก็มีร้านดังในเครือไมเนอร์ , CRC , The Mall และสยามพิวรรธน์

  • เเอปพลิเคชั่น SCB ระบบล่ม

โดยเฉพาะในช่วงวันเงินเดือนออก ส่งผลให้การสั่งซื้ออาหารผ่าน Robinhood ก็ล่มตามไปด้วย เพราะมีช่องทางการชำระเงินผ่านระบบ SCB Easy และบัตรเครดิต ซึ่งจะมีการประสานงานระบบหลังบ้านกันต่อไป พร้อมขยายช่องทางชำระเงินอื่นๆ

  • มารยาทดี คือจุดขาย 

หลังจากเปิดตัวมาได้สักพัก ฟีดเเบ็กที่ได้รับมากที่สุดคือการบอกว่าไรเดอร์ ‘มารยาทดี’ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เรียนรู้ว่าลูกค้าให้ความสำคัญกับการบริการมาก อย่างการ ‘พูดเพราะ-ยกมือไหว้’ ก็เป็นสิ่งเล็กๆ ที่ลูกค้าประทับใจ โดยทางธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้จัด ‘อบรมไรเดอร์’ เอง หลังจับมือกับ Skootar สตาร์ทอัพไทยที่ให้บริการส่งเอกสารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีคนขับในสังกัดประมาณ 10,000 ราย

Robinhood จะทำอะไรต่อไป ?

สำหรับเเผนในปี 2564 ของ Robinhood ตั้งเป้ามีจำนวนผู้ใช้งาน 1 ล้านราย เพิ่มจำนวนร้านค้าให้ได้ 150,000 ร้าน มีไรเดอร์ 20,000 ราย จำนวนออเดอร์มากกว่า 25,000 รายการต่อวัน และมียอดธุรกรรมที่เกิดขึ้นราว 1.6 พันล้านบาท

พร้อมขยายบริการไป ‘ต่างจังหวัด’ เบื้องต้นที่วางไว้มี 5 จังหวัดคือ เชียงใหม่, ภูเก็ต, พัทยา, นครราชสีมา และขอนแก่น เเต่เนื่องจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ทำให้ต้องเลื่อนเมืองท่องเที่ยวออกไป เเละเริ่มที่นครราชสีมา และ ขอนแก่น ก่อน

สีหนาท ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการของ เพอร์เพิล เวนเจอร์ส บอกว่า กลยุทธืการเพิ่มจำนวนร้านอาหารในเเพลตฟอร์ม ทำควบคู่กันไปทั้ง ‘ออนไลน์-ออฟไลน์’ มีการโปรโมททางโซเชียลมีเดีย เเละให้พนักงานตามสาขาของธนาคารออกไปหาร้านค้าที่อยู่พื้นที่ใกล้เคียง เข้าไปช่วยทั้งการดาวน์โหลด ถ่ายรูปภาพอาหาร เเละให้คำเเนะนำต่างๆ รวมถึงนำเสนอเเอปฯ กับผู้ที่มาใช้บริการในสาขาด้วย

โดยปีนี้จะเริ่มเปิดรับร้านอาหาร ‘แบรนด์ดัง’ ต่างๆ เข้ามาเพื่อขยายฐานผู้ใช้ให้กว้างขึ้น มีเเคมเปญการตลาดกระตุ้นการใช้จ่าย ไปพร้อมๆ กับการออก ‘ฟีเจอร์’ ใหม่ พัฒนาเเอปพลิเคชั่นให้เท่าทันตลาด เช่น

  • มีระบบแผนที่ ติดตามตำแหน่งของไรเดอร์
  • ระบบการจ่ายเงินผ่านบริการเงินดิจิทัลอื่น ๆ นอกเหนือจาก SCB
  • สามารถสั่งอาหารหลายออเดอร์พร้อมกันได้
  • บันทึกร้านที่ลูกค้าชื่นชอบ
  • ระบบรีวิวร้านค้า-ไรเดอร์
  • นำแต้มบัตรเครดิตมาจ่ายโดยตรงได้
  • จัด ‘เพลย์ลิสต์’ ร้านอาหารตามสไตล์ของผู้ใช้ อารมณ์เหมือนเพลย์ลิสต์ในเเอปฯ ฟังเพลง
  • ส่วนร้านค้าจะมีระบบจัดการร้านเเละสาขาง่ายขึ้น ล็อกอินพร้อมกันได้หลายเครื่องเเละใช้งานร่วมกับ POS ได้

นอกจากนี้ Robinhood จะเปิดให้บริการ ‘ซื้อสินค้าในตลาดสด’ โดยจะนำร่องที่ตลาดเสนีย์ ฟู้ดมาร์เก็ต, ตลาดมีนบุรี , ตลาดถนอมมิตรเเละตลาดบางใหญ่ ก่อนจะขยายให้ครบ 9 ตลาด ตามข้อตกลงกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

-สีหนาท ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการของ เพอร์เพิล เวนเจอร์ส

เปิดให้เช่ารถมอเตอร์ไซค์ EV ร้อยกว่าบาทต่อวัน

ในส่วนของ ‘ไรเดอร์’ Robinhood โปรเจ็กต์ใหม่ที่น่าสนใจมาก นั่นก็คือการ ให้เช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารายวัน เริ่มเเรกจะทดลองราว 200-400 คัน ส่วนราคานั้นประมาณไว้อยู่หลัก ‘ร้อยกว่าบาท’ เพื่อให้คนขับมีรายได้เหลือในการทำงาน หรือชาร์จไฟเองที่บ้านได้

โดยวางเเผนจะมีจุดชาร์จแบตเตอรี่ประมาณ 500 จุดทั่วกรุงเทพฯ เน้นใช้พื้นที่ใน ‘ตึกสาขา’ ของไทยพาณิชย์ที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างดี หรือจะชาร์จไฟเองที่บ้านก็ได้ คาดว่าจะเริ่มเปิดตัวได้ในช่วงปลายเดือนมี.ค.นี้ หลังจากทำข้อตกลงกับพาร์ทเนอร์เรียบร้อย

เป้าหมายรายได้ที่เเท้จริงคือ B2B

ธนา ย้ำว่าจุดมุ่งหมายของ Robinhood ยังคงเป็นการช่วยเหลือ ‘คนตัวเล็ก’ ฉะนั้นการไม่เรียกเก็บ ‘ค่า GP’ จะคงอยู่ตลอดไป

เเต่เมื่อลงมือทำธุรกิจก็ต้องมีรายได้เป็นธรรมดา ซึ่งในปี 2565 เเอปฯ จะเริ่มสร้างรายได้ด้วยการเป็น B2B Platform ที่มีข้อได้เปรียบจากการมีฐาน ‘ร้านอาหาร SMEs’ หลายเเสนร้านในระบบ 

“ฟู้ดเดลิเวอรี่ส่วนใหญ่อยากโตไปเป็นเเบงก์ อยากโตเเล้วปล่อยกู้ เเต่เรามีเเต้มต่อคือเป็นเราเเบงก์อยู่เเล้ว”

เเละการเข้ามาเเบบ Late Comer ยิ่งต้องกลับหัวตีลังกา กลยุทธ์ไม่เรียกเก็บค่า GP สวนทางกับเจ้าอื่น เป็นหัวใจหลักที่ทำให้ Robinhood ได้ใจร้านค้า พอ ‘ได้ใจ’ กันเเล้วก็ไปต่อยอดทำธุรกิจอื่นได้ง่าย

โดยสเต็ปต่อไปจะเป็นการเข้าไปช่วยจัดการ Financial Service ช่วยการจัดการต่าง ๆ ทั้งด้านการจัดหาวัตถุดิบ เป็นตัวกลางระหว่างร้านค้ากับซัพพลายเออร์ เเละจะเข้าไปช่วยในด้าน Business Service พร้อมๆ กับการช่วยทำมาร์เก็ตติ้ง จากข้อมูลดาต้าผู้ใช้ที่มีอยู่

นี่คือทิศทางการหารายได้ต่อไปของ Robinhood ที่นอกเหนือจากการปล่อยสินเชื่อ ให้ครอบคลุมทุกการทำธุรกิจ เเละจะทำให้ร้านค้าได้ประโยชน์มากขึ้น

เป็น ‘ก้าวเเรก’ ของฟู้ดเดลิเวอรี่ของคนไทย ที่ต้องติดตามกันต่อไป…

 

 

 

]]>
1319725
เจาะลึกทุกมุมของ Robinhood ไขข้อสงสัยปมค่าส่ง โมเดลธุรกิจเเละเเผนสู้ศึก “ฟู้ดเดลิเวอรี่” https://positioningmag.com/1283697 Thu, 18 Jun 2020 12:40:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283697 ย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ธนาคารใหญ่อย่าง SCB ตั้งใจจะเปิดตัว Robinhood เเอปฯ สั่งอาหารน้องใหม่สัญชาติไทยเเบบเบาๆเเต่กลับมีกระเเสตอบรับอย่างล้นหลาม จนทีมงานต้องตกใจ

การฉีกเเนวธุรกิจเเบงก์ มาลงทุนในศึกฟู้ดเดลิเวอรี่เมืองไทยของ SCB ครั้งนี้ สั่นสะเทือนวงการไม่น้อย เมื่อกำลังถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง ด้วยประเด็นจี้จุด Pain Point อย่างการไม่คิด GP ไม่คิดค่าสมัคร โอนเงินไวใน 1 ชั่วโมง

อ่านเพิ่มเติม : เปิดเบื้องหลัง SCB ฉีกเเนวธนาคาร เปิดตัว Robinhood ลงศึกฟู้ดเดลิเวอรี่เเบบไม่เก็บค่า GP”

หลายคนสงสัยในประเด็นค่าส่งว่าจะเเพงกว่าเจ้าอื่นหรือไม่ เมื่อไม่มีการอัดโปรโมชั่นหนักๆ รัวๆ เเล้วอะไรที่จะดึงดูดใจให้คนมาใช้ อะไรที่จะทำให้ Robinhood อยู่รอดในสมรภูมิที่มีการเเข่งขันอย่างดุเดือด กับคู่เเข่งเจ้าใหญ่ที่มีทุนหนาอย่าง Grab, LINE Man, GET เเละ Food Panda

และเมื่อเป็นการลงทุนเเบบไม่หวังกำไรดังที่ธนาคารได้ประกาศไว้ แต่การลงทุนปีละ 100 ล้านบาท คงต้องมีผลประโยชน์กลับมาไม่ว่าทางใดทางหนึ่งเเน่นอน โดยโมเดลธุรกิจ กลยุทธ์เเละเเผนต่อยอดของ Robinhood จะเป็นเช่นไร Positioning จะพามาเจาะลึกและไขข้อข้องใจนี้กัน

ถ้าจะพูดกันว่าเป็นการเผาเงินเล่น ก็คงเป็นการเผาเงินที่คุ้มค่ามากเราลงทุนปีละร้อยล้าน จะมองว่าเยอะก็เยอะ จะว่าน้อยก็น้อย เเต่เมื่อเทียบกับกำไรของธนาคารที่ได้ปีละ 4 หมื่นล้านเเล้ว ถือว่าน้อยมาก งบในส่วน CSR ของบริษัทเยอะกว่านี้อีก

นี่คือคำกล่าวของธนา เธียรอัจฉริยะผู้บริหาร SCB ที่จะมาเป็นหัวเรือใหญ่ของ Robinhood ผ่านการดำเนินงานภายใต้ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (บริษัทลูกของ scb 10x) โดยเขาจะนั่งเป็นประธานกรรมการบริหาร พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านเพย์เมนต์อย่างสีหนาท ล่ำซำที่จะมานำทัพบุกเบิกบริษัท ในตำเเหน่งกรรมการผู้จัดการ ซึ่งกำลังจะปั้นทีมใหม่ให้ได้ราว 40-50 คน

Robinhood เกิดขึ้นจากไอเดียของ อาทิตย์ นันทวิทยา ซีอีโอของ SCB ตอนที่เขาต้องกักตัวในช่วงการระบาดของ COVID-19 ต้องทำงานจากที่บ้าน ทำให้ต้องสั่งอาหารออนไลน์บ่อยครั้ง และมองเห็นโอกาสว่าธนาคารมีทรัพยากรเพียงพอที่จะทำได้ จึงต่อยอดด้วยการระดมทีมกว่า 80 คนพัฒนาแอปฯ นี้ขึ้น ภายในเวลาไม่ถึง 3 เดือนก่อนเปิดตัว

เเนวคิดหลักของ Robinhood เป็นไปตามเเบบฉบับของสตาร์ทอัพ คือมุ่งเเก้ Pain Point ในวงการฟู้ดเดลิเวอรี่ ทั้งประเด็นการเก็บค่าธรรมเนียม หรือ GP ที่สูงถึง 30-35% ที่ทำให้บางร้านอาหารเเทบไม่มีกำไร หรือผู้บริโภคที่ต้องเเบกรับค่าอาหารที่เเพงขึ้นจากปกติ ดังนั้น Robinhood จึงคว้าโอกาสชูจุดขายว่า ไม่เก็บค่า GP รวมถึงปัญหาเงินหมุนของทั้งร้านค้าเเละคนขับ จึงเป็นที่มาของการที่จะเคลียร์เงินเข้าบัญชีให้ได้ใน 1 ชั่วโมง

ทาง SCB ยืนยันว่าเป็นหนึ่งใน CSR ของบริษัทที่ “จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม GP ทั้งในช่วงนี้และต่อไป” เเละถ้าหากในอนาคตมีคนใช้จำนวนมาก แนวทางการหารายได้จะเป็นไปในทาง “เสนอสินเชื่อ” ให้ผู้ประกอบการมากกว่าที่จะหันมาหักค่า GP

โดย Robinhood จะเริ่มทดลองให้ใช้ในวงจำกัดก่อนในช่วงเดือน ก.ค. เพื่อทดสอบความเรียบร้อย ก่อนจะเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบในช่วงต้นเดือนส.ค. เริ่มในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ก่อนจะขยายไปทั่วประเทศในอนาคต

ถ้าการเข้ามาในตลาดนี้ของเรา ทำให้เจ้าอื่นๆ ตื่นตัวเเละทุ่มโปรโมชั่นเพื่อเเข่งขันกันมากขึ้น ก็ถือว่าเป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภค”

ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (Purple Ventures)

สู้ค่าส่ง 10 บาทไม่ไหว…อะไรที่จะทำให้คนเลือกใช้ Robinhood ?

ด้วยความที่ SCB ลงทุนใน Robinhood ด้วยงบปีละร้อยล้านบาท ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับเจ้าตลาดในปัจจุบัน ที่มีการลงทุนกันระดับหลายพันล้านบาททั้งสิ้น

เเละในงบร้อยล้านนั้น ยังเป็นงบที่รวมทุกอย่างทั้งการจัดการ พนักงาน ระบบหลังบ้านและเครือข่าย ซึ่งจะมีงบด้านการตลาดเหลืออยู่ไม่ถึง 20 ล้านบาท พร้อมยืนยันว่าจะไม่มีการนำไปใช้เพื่ออัดโปรโมชั่น รวมถึงจะไม่มีการออกเงินค่าส่งต่อครั้งที่ให้เหล่าคนขับเหมือนเเอปฯเจ้าอื่นด้วย ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ค่าส่งของ Robinhood ต้องเเพงกว่าเเน่นอน

“ถ้าผู้ให้บริการรายอื่นมีโปรฯ ค่าส่ง 10 บาท ก็ไปใช้กันเถอะครับ ทางเราไม่เเข่งด้วย สนับสนุนให้ใช้บริการของคู่แข่งได้เลย มันคุ้มมากจริงๆ ทำให้ผู้บริโภคได้ค่าส่งถูกๆ ถือเป็นเรื่องดี” ธนากล่าว

อย่างไรก็ตาม “ตลาดมีช่องว่างเสมอ” ยังพอหนทางที่จะทำให้พอจะสู้เรื่องค่าส่งได้ นั่นก็คือ “ถ้าซื้ออาหารจาก Robinhood จะคุ้มค่ากว่าเมื่อดูที่ราคารวม โดยเฉพาะการสั่งซื้อที่ยอด 300 บาท ขึ้นไป”

ผู้บริหาร SCB อธิบายต่อ โดยยกตัวอย่างกรณีที่ร้านอาหารจำเป็นต้องชาร์จราคาอาหารเพิ่ม เพื่อให้สอดคล้องกับค่า GP ที่ถูกเรียกเก็บ จากราคาหน้าร้านที่ถุงละ 50 บาท เป็นราคาในเเอปฯ 70 บาท สมมติลูกค้าสั่งโจ๊ก 5 ถุงเท่ากับราคา 350 บาท เเม้จะมีค่าส่งเพียง 10 บาทเเต่เมื่อรวมเเล้วจะต้องจ่ายรวมทั้งสิ้น 360 บาท ขณะที่ Robinhood จะมีการคิดราคาอาหารเท่าหน้าร้านที่ถุงละ 50 บาท เมื่อสั่ง 5 ถุงจะเท่ากับ 250 บาท เเม้จะบวกค่าส่งที่เเพงกว่าที่ 30-50 บาท เเต่โดยรวมเเล้วจะไม่เกิน 300 บาท เป็นต้น

นอกจากนี้ ทางแอปฯ กำลังพยายามการเจรจา “ดีลพิเศษ” กับร้านอาหารขนาดใหญ่เเละเชนร้านอาหารชื่อดังต่างๆ ที่สนใจจะมาร่วมให้บริการ เช่นทางร้านอาจจะเป็นฝ่ายทำโปรโมชั่นพิเศษ หรือเเจกส่วนลดค่าส่งให้ลูกค้าเองโดยตรง เพราะเมื่อร้านไม่ได้เสียค่า GP (หรืออาจเป็นดีลที่จ่ายน้อยกว่าแอปฯอื่น) เเล้ว ก็สามารถนำส่วนต่างนั้นไปทำเเคมเปญเรียกลูกค้าได้ เป็นอีกหนึ่งจุดเด่นที่จะมีใน Robinhood

ในส่วนของคนส่งอาหาร Robinhood จับมือกับ Skootar สตาร์ทอัพไทยที่ให้บริการส่งเอกสารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีคนขับในสังกัดประมาณ 10,000 ราย และยังไม่มีบริการส่งอาหารมาก่อน ถือเป็นการเติบโตร่วมกัน และทางบริษัทกำลังมองหาพาร์ตเนอร์เจ้าอื่นๆ ด้วย

ทั้งนี้ ผู้สนใจที่จะร่วมงานกับ Robinhood ต้องสมัครเเละผ่านการอบรมกับทาง Skootar ก่อน ซึ่งสาเหตุที่ Robinhood ไม่ได้ลงทุนด้านขนส่งเอง ก็เพราะต้นทุนการบริหาร Rider Fleet สูงมากนั่นเอง

เเม้ตอนนี้ยังไม่ได้มีการเปิดเผย “ค่าส่ง” ที่เเน่ชัด เเต่ทาง Robinhood ระบุว่าจะมีการคิดค่าส่งตามระยะทางที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับรายอื่นๆ ได้เเน่นอน 

ส่วนข้อสงสัยที่ว่า ก่อนหน้านี้ SCB ได้ร่วมมือกับ GET ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่รายใหญ่ เป็นพันธมิตรด้าน Financial Business จะเป็นการเเย่งตลาดกับพาร์ตเนอร์หรือไม่นั้น ผู้บริหาร SCB ตอบว่ามีการพูดคุยกันเป็นที่เรียบร้อย โดยทางธนาคารไม่ได้จะทำธุรกิจเดลิเวอรี่เเข่งกับ GET แต่อย่างใด เพราะ GET ก็มีฐานลูกค้าที่เเข็งเเกร่ง มีประสบการณ์มากกว่า และในอนาคตก็สามารถร่วมมือกันได้

ต่อยอดสินเชื่อ – Data – เพิ่มผู้ใช้ SCB Easy 

“บริษัทใหญ่ของโลกที่ให้บริการทั้ง E-Marketplace , Ride Hailing เเละเดลิเวอรี่ สุดท้ายก็จะวนมาสู่บริการทางการเงิน เป็นคำถามว่าแล้ว SCB ที่เป็นธนาคารให้บริการทางการเงินอยู่แล้ว โดนดิสรัปต์มาโดยตลอด แล้วทำไมธนาคารจะก้าวข้ามไปทำบริการอื่นๆ ไม่ได้”

สีหนาท ล่ำซำ เอ็มดีของ Robinhood กล่าวถึงการลงทุนในธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ของธนาคาร และบอกว่าข้อได้เปรียบของการเป็นธนาคารในตลาดนี้ คือฐานลูกค้าเเละความเสถียรของระบบเพย์เมนต์ รวมถึงข้อเสนอเรื่องสินเชื่อที่ผู้ประกอบการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

สีหนาท ล่ำซำ ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (Purple Ventures)

โดยร้านอาหารที่จะเข้าร่วม Robinhood จะต้องใช้ระบบเพย์เมนต์ของ SCB ซึ่งมาจากฐานลูกค้าเดิมที่ทำ QR Code ของ “แม่มณี” เบื้องต้นคาดว่าจะมีร้านเข้าร่วมประมาณ 20,000 ร้านในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยตอนนี้มีร้านที่สนใจติดต่อเข้ามาจำนวนมากกว่า 1,000 ร้านต่อวัน (ร้านอาหารที่สนใจสมัครได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ สาขา SCB, onboard.robinhood.in.th หรือโทร. 02-777-7564)

ส่วนผู้บริโภคจะเป็นการจ่ายเเบบ “ไร้เงินสด” เพื่อให้เข้ากับพฤติกรรม New Normal โดยจะสามารถจ่ายเงินผ่าน SCB Easy ที่มีฐานผู้ใช้กว่า 11 ล้านราย และตัดบัตรเครดิตได้ทุกธนาคาร ซึ่งเฟสต่อไปจะมีการพัฒนาให้จ่ายผ่าน QR Code และ Mobile Banking เจ้าอื่นๆ ทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้

เมื่อไม่ได้เน้นเรื่องรายได้ หลายคนจึงมองว่า Robinhood เป็นโอกาสของ SCB ที่จะเก็บข้อมูล (Data) จากการใช้บริการทั้งร้านอาหาร คนขับเเละผู้บริโภค โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ธนาคารกำลังพัฒนาระบบวิเคราะห์สถานะทางการเงิน เพื่อรุกด้านสินเชื่ออนไลน์ ให้สามารถยื่นผ่านแอปฯ SCB Easy ได้ทันที

ผู้บริหาร Robinhood ตอบในกรณีนี้ว่า การเก็บข้อมูลจะต้องอยู่บนพื้นฐาน Privacy ความปลอดภัยของข้อมูลของผู้ใช้ ซึ่งเป็นเรื่องที่บริษัทจะให้ความสำคัญมากที่สุด “ทุกธนาคารมีข้อมูลเยอะอยู่เเล้ว ตอนนี้ข้อมูลใน Mobile Banking ก็ไม่ได้นำมาใช้มากมายนัก เมื่อเทียบกับการใช้ธุรกรรมต่างๆ” 

Photo : Shutterstock

พนักงานเเบงก์ต้องถ่ายรูปสวย เพื่อสร้าง Engagement 

โมเดลธุรกิจของ Robinhood ที่นอกเหนือจากการเสนอสินเชื่อเเละการเก็บข้อมูลเเล้ว ธนาบอกว่าสิ่งที่ตั้งความหวังไว้มากที่สุด คือการที่ Robinhood จะมาเป็นธุรกิจที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างร้านอาหารกับพนักงานสาขา เป็นผลพลอยได้ที่จะนำไปสู่การปรับองค์กรครั้งใหญ่ที่ตั้งใจจะทำกันมานานมากเเล้ว

โดยพนักงานธนาคารจะต้องออกไปเจอร้านค้าที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร ไปพูดคุย ทำความรู้จักเเละให้คำเเนะนำได้ เป็นการ Re-Skill และปรับการทำงานของสาขา SCB ใหม่ จึงเกิดเป็นการเทรนนิ่งพนักงานกว่า 800 คนทั่วประเทศขึ้น

สำหรับการ “เทรนนิ่งออนไลน์” จะใช้เวลาหลังเลิกงานประมาณ10 วัน มีการอบรมการถ่ายรูปด้วยมือถือ จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ทั้งการถ่ายรูปเมนูอาหารให้สวยงาม เรื่องแสงและเงา กฎการถ่ายภาพ 3 ส่วน 9 ส่วน การใช้แอปพลิเคชันเเต่งภาพ และจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ

จึงมาถึงยุคที่พนักงานธนาคารต้องปรับตัว ให้ “ถ่ายรูปสวย” เพื่อเป็นผู้ช่วยให้กับร้านอาหาร เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มากกว่าการ “ฝาก-ถอน” ซึ่งความสนิทสนมเหล่านี้ ทำให้มีโอกาสสูงที่จะต่อยอดไปสู่บริการอื่นๆ ของธนาคารได้ง่ายขึ้น

การได้ทรานส์ฟอร์มองค์กรเเละต่อยอดรายได้ของธนาคาร จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ได้จากการ “เผาเงินเเบบคุ้มมากๆ” ของ Robinhood นั่นเอง

เเม้ Robinhood จะย้ำตลอดว่าต้องการเป็นเพียงเเอปฯ เล็กๆไม่เเข่งกับใคร ไม่อยากเป็นเบอร์หนึ่ง ขอเเค่เป็นทางเลือก เเต่หลายคนมองว่าอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของ Super App ของคนไทยก็เป็นได้ ขณะที่หลายคนก็มองว่าศึกฟู้ดเดลิเวอรี่ต้องสู้กันจนเลือดสาด การที่จะเเจ้งเกิดเเละอยู่รอดระยะยาวได้ไม่ง่ายนักก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า Robinhood จะเข้ามาเขย่าวงการนี้ได้จริงๆ หรือไม่

 

]]>
1283697
นักเรียน-นักศึกษาฮิตสั่งอาหารออนไลน์ ไก่เกาหลี-เบอร์เกอร์อาหารยอดนิยม จุฬา-ประสานมิตรออเดอร์เยอะสุด https://positioningmag.com/1187464 Thu, 13 Sep 2018 04:00:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1187464 บริษัท ฟู้ดแพนด้า (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ เปิดเผยข้อมูลออเดอร์บริการจัดส่งอาหารในหมู่นักเรียน-นักศึกษามหาวิทยาลัยเยอะมากขึ้น 25% ในปี พ.ศ. 2561 เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2560 เเสดงให้เห็นถึงเทรนด์ในการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย และความสนใจในการสั่งอาหารออนไลน์ที่สูงขึ้น

ไก่ทอดเกาหลีและเบอร์เกอร์เป็นอาหารยอดนิยมในหมู่นักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ

ฟู้ดแพนด้า ได้รับยอดออเดอร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตรมากที่สุด แสดงถึงความสนใจในธุรกิจจัดส่งอาหารออนไลน์ในหมู่นิสิต-นักศึกษามหาวิทยาลัยเหล่านี้

ฟู้ดแพนด้า เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการสั่งอาหารออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในช่วงเปิดเทอมต้นปีที่ผ่านมา ระหว่างเดือนมกราคมไปจนถึง กรกฏาคม ในปี พ.ศ. 2560 และ 2561 ในบริเวณมหาวิทยาลัยต่างๆ ในกรุงเทพฯทั้งหมด 7 แห่ง ดังนี้ :

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน)
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต)
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ไก่บอนซอนแมคโดนัลด์ เมนูต่อสู้กับความเครียด!

ฟู้ดแพนด้าพบว่าระหว่างต้องทำการบ้านหรืออ่านหนังสือเตรียมสอบ นิสิตและนักศึกษาสั่ง “ไก่บอนชอน” เป็นอันดับที่ 1 และ “แมคโดนัลด์” เป็นอันดับที่ 2

ช่วงเวลาสั่งอาหารสุดฮิต!

ช่วงเวลาที่นักเรียนมหาวิทยาลัยสั่งอาหารมากที่สุดคือ “มื้อเย็น” โดยมียอดสั่งซื้อที่ 40% ในช่วงเวลาดังกล่าว จำนวนออเดอร์ที่สั่งในช่วงเวลานี้ตกอยู่ที่ 48% ของจำนวนออเดอร์ทั้งหมดในหนึ่งวัน

ฟู้ดแพนด้า ใช้โอกาสนี้ จัดโปรโมชั่น ต้อนรับเปิดเทอมตลอดเดือนกันยายน

  • ส่งฟรีทุกร้านอาหาร ยกเว้นร้านสตรีทฟู้ด ต้องดูร้านที่ติป้าย “Free Delivery”
  • ใช้โค้ด FDBCK2SCH สำหรับส่วนลด 150 บาท (สงวนสิทธิ์สำหรับผู้ใช้ใหม่ 1,000 ท่านเท่านั้น)

สำหรับฟู้ดแพนด้า (ไทยแลนด์) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2555 โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันบริการฟู้ดเดลิเวอรี ฟู้ดแพนด้าจึงขยายจากกรงเทพฯ ออกไปต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ พัทยา ภูเก็ต ในเดือนธันวาคม 2559 ฟู้ดแพนด้าได้ขายกิจการให้กับ Delivery Hero สตาร์ทอัพด้านการจัดส่งอาหาร.

]]>
1187464
สีส้ม ใช้กันเยอะ “foodpanda” แปลงโฉมเป็น “สีชมพู” เพิ่มความสดใสและให้แตกต่าง https://positioningmag.com/1144454 Thu, 26 Oct 2017 22:55:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1144454 ธุรกิจสั่งอาหารออนไลน์ชื่อดัง ฟู้ดแพนด้า (foodpanda) ได้รีแบรนด์ครั้งใหญ่ ด้วยการบอกลา “สีส้ม” ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของแบรนด์มานาน มาเป็นสี ชมพู ซึ่งประจำแบรนด์ใหม่ เพื่อไปสู่ทิศทางใหม่

การรีแบรนด์ของ foodpanda ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนี ครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากบริษัท Delivery Hero คู่แข่งในตลาดบริการส่งอาหารออนไลน์สัญชาติเดียวกัน ได้ซื้อกิจการ foodpanda ในเดือน ธ.ค. 2016 และต่อมาได้ทำการเปลี่ยนสีส้ม มาเป็นสีชมพูแทน ส่วนสัญลักษณ์ “แพนด้า” ยังคงอยู่เหมือนเดิม แต่จะมีการปรับปรุงให้สัญลักษณ์มีความโค้งมนดูทันสมัยมากขึ้น รวมทั้งตัวหนังสือก็ปรับใหม่ให้เข้ากัน ซึ่งทางบริษัทเชื่อว่าสัญลักษณ์ใหม่น่าจะทำให้ผู้ใช้บริการจดจำ foodpanda ได้มากขึ้น และยังเป็นการบ่งบอกว่าหลังจากนี้ foodpanda กำลังจะเดินไปสู้ทิศทางใหม่ๆ

ลอรา แคนเตอร์ หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ foodpanda บอกว่า “สีชมพู” จะทำให้แบรนด์ได้รับการจดจำในตลาดมากขึ้น เพราะสีส้มเป็นสีที่แบรนด์ต่างๆ เลือกใช้กันค่อนข้างจะมากอยู่แล้ว

นอกจากนี้ สีชมพู ยังเป็นสีประจำของ foodora บริการสั่งอาหารออนไลน์ที่อยู่ในเครือเดียวกันด้วย ซึ่งบริษัทจะรีแบรนด์ foodpanda ใน 190 เมืองจาก 12 ประเทศที่บริษัทเปิดบริการสั่งอาหารออนไลน์อยู่ รวมถึง สิงคโปร์, ฮ่องกง, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน และแน่นอนว่ารวมถึงประเทศไทยด้วย

นอกจากนั้น foodpanda จะนำเสนอแอปรูปแบบใหม่ รวมถึงหน้าเว็บไซต์ใหม่ที่เริ่มเปิดอย่างเป็นทางการแล้ว โดยจะเน้นปรับปรุงให้ง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น จะมีทั้งการติดตามออเดอร์ และกำหนดเวลาที่จะส่งสินค้า เป็นต้น

ทั้งนี้ แม้ว่า foodpanda จะไม่ได้เปิดเผยถึงค่าใช้จ่ายในการรีแบรนด์ครั้งนี้ แต่ แคนเตอร์ ก็ยอมรับว่าการเปลี่ยนโฉม foodpanda ใหม่แบบทั้งหมดเป็น “งานช้าง” เลยก็ว่าได้ ตั้งแต่การเปลี่ยนหน้าตาของ แอป, เว็บไซต์ และ ดิจิทัลแพลตฟอร์มอื่นๆ ทั้งหมด จนไปถึงการเปลี่ยนสัญลักษณ์ของแบรนด์ในร้านอาหารที่สิงคโปร์มากกว่า 1,500 แห่ง ที่เป็นพาร์ตเนอร์กับ foodpanda

foodpanda ยังต้องเปลี่ยนทั้งชุดพนักงาน, บรรจุภัณฑ์อาหาร, รถมอเตอร์ไซค์สำหรับการส่งอาหาร มากกว่า 3,000 คัน รวมไปถึงการเปลี่ยนสีกำแพงของสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์ด้วย แต่การเปลี่ยนโฉมทั้งหมดจะเป็นเรื่องของรูปโฉมภายนอกของแบรนด์เท่านั้น เพราะบุคลากรของ foodpanda ยังเป็นทีมงานเดิม

และนอกเหนือจากการรีแบรนด์แล้ว foodpanda ยังจะเน้นการให้บริการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าท้องถิ่น โดยเฉพาะในสิงคโปร์เป็นหลัก จะมีการออกแผนการตลาด และหาพาร์ตเนอร์ในสิงคโปร์ต่อไป โดย ณ ขณะนี้ foodpanda ได้จับมือกับร้านอาหารชื่อดังในสิงคโปร์หลายๆ แห่ง ไม่ว่าจะเป็น Pizza Express และ Kinara โดยจะมีการคิดเมนูใหม่ๆ เพื่อฉลองในวาระที่มีการรีแบรนด์ foodpanda ครั้งนี้ด้วย โดยอาหารจานพิเศษดังกล่าวจะมีจำหน่ายเฉพาะทาง foodpanda เป็นเวลา 2 สัปดาห์

foodpanda ยังจะร่วมจัดอีเวนต์ที่จะเป็นหนึ่งของแผนการตลาดในการปรับโฉมของบริษัทด้วย โดยในเดือน พ.ย. ที่จะถึงนี้จะมีการจัดอีเวนต์พิเศษในลักษณะห้องปฏิบัติการนวัตกรรม ที่จะมีเชฟจากร้านอาหารชื่อดังในสิงคโปร์ 5 คน มาสร้างสรรรค์รสชาดใหม่ๆ ที่เป็นสไตล์ของแต่ละคน และ foodpanda ก็ได้จับมือกับโซเชียลมีเดีย SGAG ของทางสิงคโปร์ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ด้วย

ในสิงคโปร์ foodpanda ยังร่วมมือกับ W Communications และ Havas Media ในการซื้อ “สื่อนอกบ้าน” ด้วย ส่วนในฮ่องกงบริษัทก็เพิ่งจะมอบหมายให้ Text100 มาวางกลยุทธ์การสื่อสารให้กับบริษัท

สำหรับในไทย foodpanda เข้ามาเปิดให้บริการ ตั้งแต่ปี 2555 รวมเป็นเวลา 5 ปีเต็ม ที่ foodpanda เปิดกิจการมา และถือเป็นแบรนด์แรกๆ ที่เข้ามาบุกธุรกิจรับส่งอาหารออนไลน์ ด้วยการเป็นพาร์ตเนอร์กับร้านอาหาร โดยรับจัดส่งออนไลน์ให้ ค่าจัดส่งเริ่มต้น 40 บาท

ที่มา : marketing-interactive.com/foodpanda-undergoes-global-rebrand-from-orange-to-pink/

]]>
1144454