บริการรับส่งอาหาร – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 22 Jul 2021 14:18:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จาก #เเบนfoodpanda สู่ผลกระทบต่อ ‘ไรเดอร์’ เสียงสะท้อนในวิกฤต งานยิ่งน้อย รายได้ยิ่งลด https://positioningmag.com/1343796 Thu, 22 Jul 2021 13:07:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343796 กระเเส #เเบนfoodpanda สั่นสะเทือนฟู้ดเดลิเวอรี่ยักษ์ใหญ่จากเยอรมนี ที่เข้ามาทำตลาดในไทย ทั้งในเเง่เเบรนด์ดิ้ง กลุ่มลูกค้าเเละพาร์ตเนอร์ร้านอาหารที่ลดลง จากการลบบัญชีถอนตัวจากเเพลตฟอร์ม ที่สำคัญผลกระทบครั้งนี้ ได้ส่งผลโดยตรงไปยังไรเดอร์ที่ทำหน้าที่รับส่งอาหาร ซ้ำเติมรายได้ที่หดหายไปในช่วงวิกฤตโรคระบาด

ย้อนกลับไป foodpanda (ฟู้ดเเพนด้า) เป็นผู้เล่นรายแรกๆ ที่ทำตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ในไทยมาตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งตอนนั้นกระเเสเดลิเวอรี่ไม่ได้บูมเช่นปัจจุบัน โดยเริ่มรุกตลาดต่างจังหวัดไปที่เชียงใหม่’ พร้อมกระจายไปตามหัวเมืองต่างๆ จนครบ 77 จังหวัด ครองตลาดภูธรได้อย่างเหนียวเเน่น ด้วยกลยุทธ์ ‘Hyperlocalization’  

ปัจจุบัน มีร้านอาหารที่แอคทีฟบนแพลตฟอร์ม (มีออเดอร์ทุกวัน) มากกว่า 140,000 กว่าแห่ง เเละมีจำนวนไรเดอร์มากกว่าเเสนราย

หากเเบ่งเป็นสัดส่วนจะเห็นว่า กว่า 90% เป็นร้านอาหารรายย่อยแบบสแตนด์อะโลน ส่วนอีก 10% เป็นร้านอาหารของเชนแบรนด์ใหญ่ เเละมีคำสั่งซื้อจากต่างจังหวัดสูงถึง 50% ของออเดอร์ทั้งหมด

นั่นเเสดงว่า ผลกระทบครั้งนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เเค่ไรเดอร์ในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น เเต่ยังกระจายไปยังไรเดอร์ในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศด้วย

ในต่างจังหวัด ปกติออเดอร์ต่อวันก็น้อยอยู่แล้ว หลังมีกระแสแบนก็ยิ่งน้อยลงไปอีกไรเดอร์รายหนึ่ง บอกกับ Positioningmag

โดยไรเดอร์ foodpanda อีกคนกล่าวว่า ก่อนหน้านี้เขาเคยได้รับออเดอร์วันละ 20 ครั้งขึ้นไป เเต่เมื่อวานนี้ได้รับงานเเค่ออเดอร์เท่านั้น จากรายได้ 700-1,000 บาทต่อวัน แต่ตอนนี้เหลือไม่เกิน 300-400 บาท ซึ่งถือว่าน้อยลงเท่าตัว เเละไม่เพียงพอต่อรายจ่ายในชีวิตประจำวัน

เมื่อยอดสั่งซื้อจากลูกค้าลดลงตามกระเเสบอยคอต ประกอบกับร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ 13 จังหวัดควบคุมสูงสุด ต้องปิดให้บริการ (พร้อมงดเดลิเวอรี่) ตามคำสั่งมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาล ก็มีส่วนทำให้ยอดรับงานของไรเดอร์ลดลงตามไปด้วย ซ้ำเติมไรเดอร์รายใหม่ที่เพิ่งเข้ามา ยังไม่ได้เริ่มทำงาน เเละยังไม่มีรายได้ 

จากยอดว่างงานที่พุ่งสูง หลายคนหันมาประกอบอาชีพไรเดอร์ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ เเต่การ ลงทุนเริ่มต้น ก็ไม่ได้ราคาถูกเท่าไหร่นัก นอกจากจะต้องมียานพาหนะเเล้ว ก็ต้องลงทุนซื้อเสื้อ กระเป๋าอุปกรณ์เริ่มต้นที่ 850 -กว่าพันบาทเลยทีเดียว

ย้าย หรือ ไม่ย้าย ? 

บางส่วนมองว่า หากกระเเส #เเบนfoodpanda ส่งผลกระทบวงกว้างเเละยาวนานกว่าที่คิด ก็จำเป็นต้องย้ายค่าย ไปทำกับเเบรนด์อื่น ขณะที่หลายคนก็รับงานหลายเจ้าอยู่เเล้ว เพื่อกระจายความเสี่ยง

เเหล่งข่าวไรเดอร์รายหนึ่ง อธิบายถึงจุดเด่นจุดด้อย’ จากมุมมองของคนขับในการร่วมงานกับ foodpanda เมื่อเทียบกับฟู้ดเดลิเวอรี่รายอื่นๆ ให้ Positioningmag ฟัง โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ เช่น

[จุดเด่น]

ระบบจ่ายงานของ foodpanda จะวิ่งเข้ามาที่แอปฯ ของคนขับโดยตรง ไม่ต้องเเย่งชิงเเละจ้องจอมือถือตลอดเวลา ทำให้สามารถทำอย่างอื่นระหว่างรองานได้ ต่างจากบางบริษัทที่จะเป็นระบบกดแย่งงานที่มีการเเจ้งเตือนไปหาคนขับหลายคนใครกดไวกว่าถึงจะได้งานซึ่งเป็นการแข่งขันที่ดุเดือดมากเเละต้องกดรับงานให้ทันในเสี้ยววินาที

ดังนั้นไรเดอร์ที่มีข้อได้เปรียบอย่าง ใช้โทรศัพท์สเปกสูง อินเทอร์เน็ตเเรง เเละอยู่หน้าจอตลอด ก็มีโอกาสได้งานมากกว่า

โดย foodpanda ยังมีระบบการทำงานที่คล้ายๆ งานประจำคือ ต้องมีการจอง ‘shift’ จอง ‘zone’ บริเวณที่จะวิ่งงานล่วงหน้า และต้องทำงานให้เต็มเวลาของ shift ที่ตัวเองเลือกไว้ ต่างจากบางเเบรนด์ที่พอมีเวลาว่างค่อยมาเปิดแอปฯ ก็ได้ ซึ่งเรื่องนี้จะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของเเต่ละคน

ข้อดีคือได้รับงานค่อนข้างสม่ำเสมอกว่าแอปฯ อื่นๆ เพราะการจอง shift จอง zone ทำให้จำนวนคนที่ได้เข้ามาวิ่งงานอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับจำนวนงานเเหล่งข่าวระบุ

Photo : Shutterstock

[จุดด้อย]

ค่าตอบเเทนต่อเที่ยวของ foodpanda นั้นน้อยกว่าเจ้าอื่น โดยเฉลี่ยที่ประมาณ ‘ 30 บาทนิดๆและไม่ได้รับเงินทันทีหลังจบงาน แต่ต้องรอรับตามรอบที่บริษัทจ่ายให้

อีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการย้ายไม่ย้ายค่ายนั่นก็คือ การเปิดรับของบริษัทฟู้ดเดลิเวอรี่ ว่าช่วงนี้รับคนอยู่หรือไม่ซึ่งโดยปกติอาชีพไรเดอร์ก็มักจะไม่ได้ยึดติดกับการทำงานที่ใดที่หนึ่งอยู่แล้ว

ผมว่าไรเดอร์ส่วนมากก็มีไอดีหลายค่าย ค่ายไหนผลตอบแทนดี หรือช่วงไหนมีโบนัสก็ไปวิ่งค่ายนั้น เเต่เมื่อตลาดบูม จำนวนคนขับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่สัมพันธ์กับจำนวนงาน ทำให้ได้งานน้อยลง รายได้ก็ลดลง เพราะมีคนมาหารมากขึ้น

ตอนนี้ใครยังวิ่งงานให้เเค่เเอปฯ เดียว อาจจะต้องรีบหาแผนสำรองเตรียมไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ หากเกิดกรณีเช่นนี้อีก

จากที่ผ่านมาบริษัทจะเปิดรับไรเดอร์เเบบไม่จำกัด’ เเต่ตอนนี้เริ่มจำกัดจำนวนไรเดอร์บ้างแล้ว บางเเห่งยังเปิดรับต่อเนื่องเเต่ก็ใช้เวลารับเข้าระบบนานกว่าเดิม

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเรื่องนโนบายการคัดกรองไรเดอร์ก่อนรับงานที่เเต่ละบริษัทจะมีกฎระเบียบ ‘เข้มงวดหละหลวม’ ไม่เหมือนกันด้วย เช่น เรื่องการตรวจประวัติอาชญากรรม ระยะเวลาสิ้นสุดคดีความ กรณีต้องเอาใบบริสุทธิ์มายื่น เป็นต้น

กลุ่มไรเดอร์ ร้องเเบรนด์รับผิดชอบที่เป็นรูปธรรมมากกว่าคำขอโทษ 

ด้านความเคลื่อนไหวของ foodpanda หลังกระเเสบอยคอต ได้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ โดยเน้นย้ำว่าบริษัทเคารพสิทธิและเสรีภาพทางความคิด จะไม่ปลดไรเดอร์ให้พ้นสภาพ พร้อมเดินหน้าตรวจสอบหาข้อเท็จจริง เเละจะไม่ตอบความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสมบนทุกสื่ออีก

ในขณะที่ทางกลุ่มที่เรียกตัวเองว่าสหภาพไรเดอร์ ตอบโต้ว่า เเม้ foodpanda จะออกแถลงการณ์มาขอโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ผลกระทบที่ทางไรเดอร์ได้รับนั้นยังคงดำรงอยู่และต้องมีไรเดอร์จำนวนมากเข้ามาร่วมรับชะตากรรมจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดของบริษัทในครั้งนี้ รวมถึงร้านค้าต่างๆ ที่เป็นคู่สัญญากับบริษัทด้วย

บริษัทจำเป็นต้องมีการประกาศการเคารพเสรีภาพการแสดงออกทางการเมือง และมีการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานในการทำงานของไรเดอร์

สหภาพไรเดอร์ ได้เรียกร้องให้ foodpanda ปรับเปลี่ยนสัญญา สภาพการจ้าง การทำงาน ให้เกิดความเป็นธรรมกับไรเดอร์ และร้านค้า เพื่อแสดงความรับผิดชอบที่เป็นรูปธรรมมากกว่าคำขอโทษ โดยมีข้อเสนอ ดังนี้

  • ขอให้บริษัทจ่ายค่าตอบแทนให้กับไรเดอร์ไม่ต่ำกว่า ออเดอร์ละ 25 บาท ทั่วประเทศ
  • ขอให้บริษัทยกเลิกการเก็บเงินค่าอุปกรณ์การทำงาน ได้แก่ ชุดทำงานและกล่องใส่อาหาร โดยไรเดอร์สามารถนำชุดทำงานเก่าและกล่องใส่อาหารที่ชำรุด มาแลกของใหม่จากบริษัทได้ ปีละ 1 ชุด
  • ขอให้บริษัท ลดราคา ค่า GP จากเดิม 30% ให้เหลือ 15% และงดเก็บค่า GP กับร้านค้าเป็นเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1-31 สิงหาคม 2564

งานน้อยลง = รายได้น้อยลง

เมื่อถามถึงโอกาสเเละความท้าทายของการทำงานของไรเดอร์ในช่วงวิกฤตโรคระบาด

ไรเดอร์รายหนึ่ง ตอบว่า งานนี้มันไม่ได้ซับซ้อนมาก เเต่หัวใจหลักคือจัดส่งของให้ถึงผู้รับในสภาพสมบูรณ์ ให้รวดเร็วที่สุด ส่วนรายได้ก็เป็นไปตามปริมาณงานที่ทำ คนไหนทำมากก็ได้มาก ซึ่งความท้าทายที่สุดก็คงจะเป็นความกดดันจากงานที่น้อยลง ซึ่งก็คือรายได้ที่น้อยลงไปด้วย

โดยสิ่งที่อยากจะฝากให้เเบรนด์ฟู้ดเดลิเวอรี่ต่างๆ คำนึงถึงไรเดอร์มากขึ้น เป็นมีเเนวทางกว้างๆ อย่างเช่น เพิ่มสวัสดิการเเละการดูเเลจากต้นสังกัดมากขึ้น บางคนต้องการมีชั่วโมงการทำงานที่ชัดเจน เเละมีประกันรายได้ ฯลฯ

ขณะที่อีกด้านก็มีไรเดอร์บางส่วน มองว่า การนำอาชีพนี้เข้าสู่ระบบอาจจะทำให้อิสระในการทำงานหายไป เช่น อาจจะเลือกวันและเวลาทำงานตามความสะดวกไม่ได้เท่าที่ควร หรืออาจจะไม่สามารถวิ่งหลายเจ้าพร้อมกันได้เหมือนเดิม

เหล่านี้ เป็นนานาทัศนะจากไรเดอร์หนึ่งในอาชีพที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงวิกฤตโควิด-19 เป็นเหมือนฟันเฟืองเล็กๆ ที่ทำหน้าที่สำคัญๆ ในยามล็อกดาวน์

การกระทำขององค์กร ควรไตร่ตรองให้ดีก่อน เพราะนั่นคือสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อมาถึงพวกเราทุกคน…

 

 

 

]]>
1343796
ฟู้ดเดลิเวอรี่ ‘โรบินฮู้ด’ ให้เช่า ‘มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า’ วันละ 120 บาท รวมประกัน-เปลี่ยนเเบตให้ (ไม่ต้องชาร์จเอง) https://positioningmag.com/1337594 Thu, 17 Jun 2021 08:53:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337594
ฟู้ดเดลิเวอรี่ ‘โรบินฮู้ด’ ให้เช่า ‘มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า’ เพียงวันละ 120 บาท รวมทั้งค่าประกัน-เปลี่ยนเเบตฯ ให้ (ไม่ต้องชาร์จเอง) ประเดิม 200 คัน ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ให้บริการ 1,500 คัน มีจุดเปลี่ยนเเบตฯ 100 เเห่ง ตามสาขาใกล้ชุมชนของธนาคารไทยพาณิชย์

พร้อมประกาศเพิ่มรายได้ให้ ‘ไรเดอร์’ ปรับอัตราค่ารอบใหม่ 2 กิโลเมตรแรกเพิ่มขึ้น 7.5% เริ่มต้นที่ 43 บาท (จากเดิม 40 บาท) ไม่หักเปอร์เซ็นต์

Robinhood EV Bike จะมีรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสัญชาติไทย 2 เเบรนด์ให้เลือกตามความชอบ ได้เเก่ ETRAN และ H SEM ในราคาวันละ 120 บาท เบื้องต้นให้บริการ 200 คัน จุดเปลี่ยนแบตเตอรี่ 18 จุดทั่วกรุงเทพฯ กรณีรถมีปัญหาหรือเเบตฯ หมดกลางทาง ต้องการความช่วยเหลือ จะมีทีมลงพื้นที่ไปซ่อมให้

สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ETRAN รุ่น MYRA ออกเเบบมาเพื่อการขนส่งโดยเฉพาะ เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม เน้นขนาดเล็กเเต่วิ่งได้เร็ว โดยทำความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทางสูงสุด 180 กิโลเมตร/การชาร์จ

รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ETRAN รุ่น MYRA

ส่วนรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า H SEM รุ่น MOBILA G มีการเพิ่มสมรรถนะการขับขี่ให้เหมาะกับไรเดอร์มากขึ้น ด้วยความเร็วสูงสุด 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทางสูงสุด 140 กิโลเมตร/การชาร์จ

โดยจุดเปลี่ยนเเบตเตอรี่นั้น จะกระจายตามสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ นำร่องเเล้วที่ SCB สำนักงานใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่จอดรถ มีระบบรักษาความปลอดภัย ไรเดอร์ไม่ต้องรอชาร์จไฟเอง เพียงมาเปลี่ยนเเบตฯ ซึ่งใช้เวลาเพียง 3-5 นาที (ค่าเช่า 120 บาท เปลี่ยนเเบตฯ กี่ครั้งก็ได้ในหนึ่งวัน)

รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า H SEM รุ่น MOBILA G

นอกจากนี้ ยังมีสิทธิพิเศษสำหรับผู้เช่า ’Robinhood EV Bike’ เกิน 1,000 วัน จะสามารถซื้อรถมาเป็น ‘ของตัวเอง’ ได้ในราคาหลักพันเท่านั้น (เงื่อนไขการเปลี่ยนเเบตฯ ขึ้นอยู่กับเเบรนด์ผู้ผลิต)

ปัจจุบัน ‘โรบินฮู้ด’ มีร้านค้าในเเพลตฟอร์ม 97,000 ร้าน ยอดผู้ใช้ 1 ล้านคน มีไรเดอร์ทั้งหมดประมาณ 15,000 คน เเอคทีฟวันละ 5,000-6,000 คน จากผลสำรวจพบว่า ไรเดอร์ที่มีรถเป็นของตัวเอง มีค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเเละค่าบำรุงรักษาต่างๆ เฉลี่ยประมาณเดือนละ 8,000 บาท ซึ่งบริษัทประเมินไว้ว่าหากเช่ารถ EV Bike ในราคาดังกล่าว จะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงราว 4,000 บาทต่อเดือน

โดยในปีนี้ ตั้งเป้าว่าไรเดอร์จะมาใช้บริการ Robinhood EV Bike ราว 1,500-2,000 คน ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด เเละอัตราการผลิต โดยมุ่งเจาะกลุ่มผู้ที่สนใจทำอาชีพส่งอาหาร ทั้งที่มีหรือไม่มีรถจักรยานยนต์เป็นของตนเอง ช่วยสร้างงานในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ

พร้อมกันนั้น ได้เปิดตัว “โรบินฮู้ด ไรเดอร์ แอปพลิเคชัน” แพลตฟอร์มใหม่สำหรับคนส่งอาหารโดยเฉพาะ (Google Play เปิดให้ดาวน์โหลดเเล้ว – App Store รออีก 1-2 เดือน ) เพื่อเเก้ปัญหาการกระจายงานให้ทั่วถึง เพิ่มฟีเจอร์ ‘ให้ทิป’ เเละอื่นๆ เตรียมขยายบริการสู่ธุรกิจรับ-ส่งของ (Express Services) และบริการด้านสั่งซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ต (Mart Service) เพิ่มรายได้ให้ไรเดอร์ในช่วงนอกเวลาขายดีของการรับส่งอาหาร

]]>
1337594
จับตา! GET ควง “Go-Jek” ลุยสังเวียนแอปฯ เรียกรถไทย ประเดิม 3 บริการ วินมอเตอร์ไซค์-ส่งพัสดุ-ส่งอาหาร คาด 1 ปีลูกค้า 1 ล้านราย https://positioningmag.com/1216797 Thu, 28 Feb 2019 00:57:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1216797 เมื่อ 2 เดือนก่อนสังเวียนแอปพลิเคชั่นเรียกรถ หรือ Ride-Hailing Application กลับมามีความเคลื่อนไหวอีกครั้ง เมื่อน้องใหม่ “GET!” (เก็ท) ประกาศทดลองให้บริการฟรีรัศมี 6 กิโลเมตรใน 3 เขตลาดพร้าว วังทองหลาง และจตุจักร

จากนั้น Get ทยอยขยายพื้นที่ให้บริการมาเรื่อยๆ จนถึงวันนี้ GET มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุม 80% ของกรุงเทพฯ พร้อมกับอ้างสถิติมีการใช้งานกว่า 2 ล้านครั้ง คิดเป็นระยะทางกว่า 3 ล้านกิโลเมตร หรือไปกลับดวงจันทร์ 7 รอบ

บริเวณที่ใช้บริการจำนวนมากอยู่ในย่าน CBD เช่น สาทรและบางรัก ยอดดาวน์โหลดแอป 2 แสนครั้ง และมีพี่วินมอเตอร์ไซค์ลงทะเบียนในระบบ 10,000 คน จากจำนวนที่ลงทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกทั้งสิ้น 80,000 คน

การที่ Get ถูกจับตามองอย่างมาก เพราะมี Backup ที่ไม่ธรรมมา อย่าง Go-Jek (โกเจ็ก) หนึ่งในเทคยูนิคอร์นที่น่าจับตามองในแถบเอเชีย จากอินโดนีเซีย แถมมีบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกมากมาย ทั้งกูเกิล เทนเซ็นต์ และเหม่ยถวนเตี้ยนผิง ร่วมลงทุนเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินและ Know-how ในด้านเทคโนโลยี

Get นั้น ไม่ได้มีสถานะเป็นบริษัทลูกหรือบริษัทร่วมทุน ของ Go-Jek แต่อยู่ในลักษณะพาร์ตเนอร์ชิพโดยมีอำนาจในการบริการและตัดสินใจเอง ผู้บริหารและพนักงาน 100 กว่าคนเป็นคนไทยทั้งหมด และมีบางส่วน เช่น วิศวกรรมดูแลระบบที่ Go-Jek ส่งมาช่วยดูเท่านั้น

Go-Jek ได้เปิดตัวด้วยบริการรับส่งคนและพัสดุด้วยรถจักรยานยนต์เมื่อปี 2010 จนถึงตอนนี้มี 19 บริการ ตั้งแต่บริการขนส่ง รับส่งอาหาร ร้านค้าบริการนวด บริการทำความสะอาดบ้านโลจิสติกส์ รวมถึงบริการอีมันนี่ และโรยัลตี้โปรแกรม มียอดดาวน์มากกว่า 130 ล้านครั้ง และมีผู้ใช้งานกว่า 2 ล้านคนต่อวัน

ในอินโดนีเซียให้บริการ 200 เมือง/เขต และได้ประกาศการขยายสู่นานาชาติไปยัง 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม (ให้บริการเฉพาะเรียกมอเตอร์ไซค์) ใช้ชื่อ โกเหวียด” (Go-Viet) สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ (ให้บริการเฉพาะอีมันนี่เพราะเข้าไปซื้อบริษัทท้องถิ่นมา) ใช้ชื่อบริการ Go-Jek แต่ให้บริการทีหลังไทย

โดยไทยเป็นประเทศที่ 4 ที่ Go-Jek เข้ามาทำตลาด แต่ใช้ชื่อ GET! จะให้บริการ 3 บริการ คือ 1.บริการ เรียกมอเตอร์ไซค์ หรือ GET Win โดยจะมีแต่รถป้ายเหลืองที่ถูกกฎหมายเท่านั้น 2. GET Delivery บริการส่งพัสดุต่างๆ และ GET Food บริการซื้ออาหารที่มีร้านในระบบ 2 หมื่นร้าน ตั้งแต่ร้านสตรีทฟู้ดจนถึงร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ จะให้ป้ายขาววิ่งรับส่งได้

นาดีม มาคาริม ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ โกเจ็ก Go-Jek ให้เหตุผลที่สนใจตลาดเมืองไทยเพราะภาพรวมมีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกัน ทั้งการคุ้นชินกับการนั่งมอเตอร์ไซค์ ชื่นชอบอาหาร และนิยมใช้แอปพลิเคชั่นผ่านโทรศัพท์มือถือ จึงได้สนใจเข้ามาก่อนจะเจอกับทีมงานของ GET ที่เข้าใจตลาดเมืองไทยเป็นอย่างดี

ทีมงานที่ว่านี้คือ ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง และรั้งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งคลุกคลีอยู่ในวงการ O2O (Online-to-Offline) เมืองไทย เพราะเคยเป็นผู้บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งไลน์แมน (LINE Man) จนเป็นที่รู้จักในเมืองไทย ในด้านผู้ให้บริการรับส่งอาหาร (Food Delivery) รวมถึงสร้างไลน์แท็กซี่ (LINE Taxi) ขึ้นมาเป็นในฐานะอีกบริการหนึ่งของไลน์แมน

ช่วงบุกเบิก ไลน์แมน เขาได้ดึงพาร์ตเนอร์ใหญ่ๆ เข้ามาเสริมทัพได้มากมายไม่ว่าจะเป็นวงใน (Wongnai) หรือลาล่ามูฟ (Lalamove) และก่อนหน้านั้นภิญญาได้เคยทำงานกับบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำอย่าง PCUBED ในฮ่องกง และแอคเซนเจอร์ (Accenture) ในไทยพร้อมประสบการณ์ในวงการเทคโนโลยี

ภิญญาบอกว่าสังเวียน Ride-Hailing Application ยังถือว่าเป็น “Blue Ocean” เพราะถึงจะมีผู้ให้บริการรายใหญ่อยู่ แต่สัดส่วนของคนที่ใช้บริการยังเป็นตัวเลขหลักเดียว แสดงว่ายังมีโอกาสในตลาดอีกมาก ซึ่งการจะเจาะเข้าไปได้จะต้องเข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภค

จากผลรองรับในช่วงทดลองชี้ให้เห็นว่า GET สอบผ่านได้ดีด้วย 3 เหตุผล เรื่องแรกการเป็นแบรนด์ของไทยเอง เพราะชื่อ “GET!” (เก็ท) เป็นชื่อที่สั้นและสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ต่อมาการใช้งานที่ง่าย และส่งผลต่อชีวิตประจำวันของผู้บริโภคจริงๆ

ความท้าทายที่สุดของ GET ในตอนนี้คือเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคให้คุ้นชินการเรียกพี่วินมอเตอร์ไซค์ให้เร็วที่สุด

GET ย้ำตัวเองเป็นบริการที่ถูกกฎหมาย เพราะตลอดเวลา 1 ปีที่ผ่านมาได้เข้าไปหารือกับทางภาครัฐตลอด เพื่อให้บริการถูกต้องตามกฎหมาย

เบื้องต้นใน GET Win จะคิดค่าบริการตามที่กฎหมายกำหนด ช่วงนี้ยังมีโปรโมชั่นส่วนลดอยู่ มีอัตราระยะเวลาเรียกรถ 10 วินาที ส่วน GET Food และ GET Delivery คิดค่าบริการตามจริง ไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมเพิ่ม โดยต่อไปได้วางแผนเพิ่มบริการอีมันนี่เข้ามา แต่ยังไม่ได้ระบุว่าจะเปิดให้บริการในช่วงไหน ส่วนพื้นที่ให้บริการคาดครอบคลุมภายกรุงเทพฯภายในไตรมาสแรกนี้

เป้าหมายภายในปีนี้ของ GET ก็ไม่มากไม่มายแค่อยากให้มีคนไทยที่ใช้บริการ “1 ล้านคนเท่านั้นเอง.

]]>
1216797
จบดีล แกร็บซื้อกิจการ อูเบอร์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ระบุมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ใส่เกียร์แกร็บฟู้ดขึ้นเบอร์ 1 https://positioningmag.com/1163160 Mon, 26 Mar 2018 04:31:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1163160 หลังจากตกเป็นข่าวมาพักใหญ่ ในที่สุด แกร็บ (Grab) ซื้อกิจการ “อูเบอร์” (Uber) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุม 8 ประเทศ คือ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

แกร็บไม่ได้ระบุมูลค่าการซื้อกิจการครั้งนี้ บอกแต่เพียงว่า เป็นการซื้อกิจการของธุรกิจออนไลน์ในภูมิภาคนี้ที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์

โดยแกร็บจะควบรวมกิจการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชั่นและรับส่งอาหารของอูเบอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าไว้ในแพลตฟอร์มการให้บริการขนส่งและบริการทางการเงิน ที่มีอยู่หลากหลายของแกร็บ

เพื่อต้องการก้าวสู่การเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการแบบ O2O (Online to Offline) และผู้ให้บริการรับส่งอาหารชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมบริการเดินทาง บริการรับส่งอาหารและสินค้า รวมไปถึงบริการทางการเงินและการชำระเงินผ่านมือถือ

แกร็บ ระบุด้วยว่า เพื่อให้การบริหารจัดการต้นทุนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายหลังเข้าซื้อกิจการและสินทรัพย์ของอูเบอร์ในกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดยในข้อตกลง อูเบอร์จะถือหุ้น 27.5%ในแกร็บ และ ดารา โคสโรว์ชาฮี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของอูเบอร์ ก็จะเข้าร่วมเป็นหนึ่งในทีมผู้บริหารของแกร็บ

“การเข้าซื้อกิจการในวันนี้คือจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ เพื่อผลักดันให้แกร็บเป็นผู้นำแพลตฟอร์มในภูมิภาคที่สามารถจัดการต้นทุนด้วยการร่วมงานกับทีมงานของอูเบอร์เดิม ที่จะถูกเพิ่มศักยภาพของเราในการให้บริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า เพื่อพัฒนาบริการอื่น ๆ อาทิ บริการรับส่งอาหาร บริการชำระเงินผ่านมือถือ และบริการทางการเงิน ต่อไป เพื่อทำให้ชีวิตผู้คนสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น” แอนโธนี่ ตัน ประธานกรรมการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้งแกร็บ กล่าว

บุกแกร็บฟู้ดอาวุธสำคัญ

ทางด้าน ตัน ฮุ่ย หลิง ผู้ร่วมก่อตั้งแกร็บ กล่าวว่า แกร็บกำลังเร่งขยายธุรกิจแกร็บฟู้ดไปในทั่วทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในไตรมาสหน้า แกร็บจะมอบคุณค่าการให้บริการมากขึ้นให้แก่ลูกค้า พาร์ตเนอร์ผู้ขับขี่ และตัวแทน รวมไปถึงพันธมิตรคู่ค้าและร้านอาหารต่าง ๆ

ทั้งนี้ แกร็บฟู้ด จะเป็นอีกหนึ่งบริการที่ผลักดันการใช้งาน แกร็บเพย์ (GrabPay) ซึ่งเป็นบริการชำระเงินผ่านมือถือ รวมไปถึงช่วยสนับสนุนการเติบโตของแพลตฟอร์มบริการทางการเงินของแกร็บในอีกทางหนึ่ง

เปิดแผนแกร็บ กับบริการ O2O (Online to Offline)

เป้าหมายสำคัญของแกร็บในลำดับต่อไป คือ การก้าวไปสู่แพลตฟอร์มการให้บริการ O2O (Online to Offline) ชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมธุรกิจดังนี้

บริการรับส่งอาหาร :

แกร็บให้น้ำหนักกับการขยายขยายบริการแกร็บฟู้ดค่อนข้างมาก โดยจะเปิดเพิ่มอีกสองประเทศคือสิงคโปร์และมาเลเซีย จากเดิมที่มีให้บริการอยู่แล้วในประเทศอินโดนีเซียและไทย

หลังการควบรวมธุรกิจของอูเบอร์อีทส์เข้ามาในบริการ ‘แกร็บฟู้ด’ (GrabFood) แกร็บ มีแผนเปิดให้บริการแกร็บฟู้ดในทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เราดำเนินงานอยู่ภายในกลางปีนี้

บริการเดินทางขนส่ง :

สนับสนุนรัฐบาลและผู้ให้บริการขนส่ง เพื่อสร้างเครือข่ายการเดินทางสาธารณะที่หลากหลายในแบบไร้รอยต่อ จึงเป็นที่มาของการทดลอง ‘แกร็บไซเคิล’ (GrabCycle) ซึ่งเป็นบริการจักรยานและอุปกรณ์มือถือร่วม และบริการ ‘แกร็บชัตเติ้ล พลัส’ (GrabShuttle Plus) ซึ่งเป็นบริการรถโดยสารประจำทางแบบออนดีมานด์ ไปก่อนหน้านี้

บริการชำระเงินผ่านมือถือและบริการทางการเงิน :

ในส่วนนี้แกร็บระบุว่า จะขยายบริการภายใต้ ‘แกร็บไฟแนนเชียล’ (Grab Financial) ซึ่งรวมถึงบริการชำระเงินผ่านมือถือ บริการกู้ยืมสำหรับรายย่อย (micro-financing) และบริการประกัน รวมไปถึงบริการอื่น ๆ สำหรับลูกค้าที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน และผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยหลายล้านรายในภูมิภาค

แกร็บได้กำหนดเปิดบริการ Mobile Wallet ของแกร็บเพย์ จะพร้อมเปิดให้บริการในทุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของแกร็บภายในปลายปีนี้

ใช้เวลา 2 สัปดาห์เปลี่ยนผ่าน

ในช่วงการเปลี่ยนภายหลังการ แกร็บและอูเบอร์จะทำงานร่วมกันในการย้ายฐานข้อมูลรายชื่อคนขับ และผู้โดยสารจากแอปพลิเคชั่นอูเบอร์ รวมไปถึงลูกค้าที่สั่งอาหาร ผู้จัดส่ง และพันธมิตรร้านอาหารจากแอปพลิเคชั่นอูเบอร์อีทส์ ไปยังแพลตฟอร์มของแกร็บ

โดยแอปพลิชั่นอูเบอร์จะให้บริการต่อไปอีกเป็นเวลาสองสัปดาห์ เพื่อให้เวลาแก่คนขับในการเข้าไปลงทะเบียนสมัครกับแกร็บทางช่องทางออนไลน์ที่ www.grab.com/th/comingtogether ในส่วนแอปพลิเคชั่นอูเบอร์อีทส์นั้น จะให้บริการต่อไปจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2561 และหลังจากนั้นข้อมูลรายชื่อผู้จัดส่งและพันธมิตรร้านอาหารก็จะถูกถ่ายโอนไปยังแอปพลิเคชั่นของแกร็บ

ปัจจุบัน แอปพลิเคชั่นของแกร็บมียอดดาวน์โหลดกว่า 90 ล้านครั้ง และมีเครือข่ายคนขับและตัวแทนกว่า 5 ล้านคน ปัจจุบัน แกร็บ ให้บริการใน 195 เมืองใน 8 ประเทศ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซียไ ทย เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา ครอบคลุมบริการรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ แท็กซี่ คาร์พูล รวมไปถึงบริการรับส่งอาหารและสินค้า รวมถึงการชำระเงินผ่ามือถือ และบริการทางการเงิน.

]]>
1163160