บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 12 Oct 2023 12:01:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “มาม่า” บุกหนัก “จีน” – คืนสังเวียนตลาด “เวียดนาม” เตรียมเพิ่ม​ “โรงงาน” ใหม่ในไทย ลงทุน 2 พันล้าน https://positioningmag.com/1447913 Thu, 12 Oct 2023 11:18:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447913
  • อัปเดตแผน “มาม่า” วางเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้ต่างประเทศเป็น 50% โดยจะเริ่มบุกหนักในตลาด “จีน” หลังสินค้าไทยเป็นที่นิยม และหวนคืนสังเวียนในตลาด “เวียดนาม” ที่เคยต้องถอยกลับเมื่อปี 2542
  • ด้านการผลิตปีนี้มีการย้ายฐานผลิตในเมียนมาจากย่างกุ้งสู่มัณฑะเลย์ พร้อมเพิ่มไลน์ผลิตหลังดีมานด์ในเมียนมาเติบโต อนาคตวางแผนเพิ่ม “โรงงาน” แห่งใหม่ในไทย 1 แห่ง 8 ไลน์การผลิต งบลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท รองรับดีมานด์ได้ 10 ปี
  • เมื่อปี 2565 “มาม่า” ประกาศแผนเพิ่มรายได้จากต่างประเทศเป็น 50% ของรายได้รวม จากปัจจุบันมีรายได้จากต่างประเทศ 30% จากการส่งจำหน่ายไป 68 ประเทศ

    มาถึงโค้งท้ายปลายปี 2566 “พันธ์ พะเนียงเวทย์” ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) อัปเดตความคืบหน้าในแต่ละตลาด ไฮไลต์สำคัญคือ “จีน” และ “เวียดนาม” ที่กำลังเป็นเป้าหมายหลัก

    มาม่า
    “พันธ์ พะเนียงเวทย์” ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)

    พันธ์อธิบายว่า มาม่าเคยลงทุนหนักใน “จีน” ช่วงปี 2541-42 ก่อนจะผ่อนคันเร่งเพราะไม่ได้รับผลตอบรับที่ดีนัก หลังจากนั้นมาม่ายังส่งขายในตลาดจีนแต่ไม่ได้ทำการตลาดมากนัก

    อย่างไรก็ตาม ในระยะอันใกล้มาม่าจะกลับไป ‘บุกหนัก’ ในจีนอีกครั้ง

    “เมื่อก่อนสินค้าไทยไม่เป็นที่นิยม แต่ตอนนี้คนจีนกลับมานิยมสินค้าไทย และมองว่าสินค้าไทยเป็นของพรีเมียม ทำให้เราต้องกลับไปเจาะตลาดให้ได้ โดยจะเน้นทำการตลาดแบบไวรัลบน Douyin (*ชื่อแพลตฟอร์ม TikTok ในจีน) และใช้ KOL เป็นหลัก จีนมีประชากรถึง 1 พันล้านคน ขอเพียงเราเจาะได้ 1% ก็ถือว่าเป็นตลาดใหญ่แล้ว” พันธ์กล่าว

    ส่วนอีกตลาดที่น่าสนใจคือ “เวียดนาม” ซึ่งก็เคยถอยออกมาในช่วงปี 2542 เช่นกัน เพราะคู่แข่งแบรนด์ท้องถิ่น 3-4 แบรนด์แข็งแรงมาก และเวียดนามเป็นตลาดที่ต้องทำสงครามราคา แต่ด้วยจำนวนประชากร 100 ล้านคนจึงเป็นอีกตลาดที่น่าสนใจ อีกทั้งห้างสรรพสินค้าสัญชาติไทยยังเข้าไปเปิดในเวียดนามจำนวนมาก

    พันธ์กล่าวว่า ปี 2567 น่าจะได้เห็นแผนที่ชัดเจน โดยขณะนี้กำลังเจรจาพาร์ทเนอร์เพื่อพา “มาม่า” เข้าสู่ตลาดเวียดนามอีกครั้ง

    มาม่า
    มาม่า ที่จำหน่ายในต่างประเทศ (Photo: Facebook@mamaglobalofficial)

    อีกตลาดที่มาม่ากำลังดูศักยภาพ คือ “ทวีปแอฟริกา” ปัจจุบันไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์เข้าไปถือหุ้นในโรงงานผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อหนึ่งในประเทศเคนยา และมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตให้กับพาร์ทเนอร์ร่วมทุน

    ขณะนี้ในตลาดเคนยาใช้แบรนด์บะหมี่กึ่งฯ ของพาร์ทเนอร์ในการจำหน่าย ยังอยู่ระหว่างดูผลตอบรับในตลาดแอฟริกา เพราะถือเป็นตลาดที่ยังต้องประชาสัมพันธ์การรับประทานบะหมี่กึ่งฯ ถ้าหากตลาดน่าสนใจมากขึ้น อาจจะมีการนำแบรนด์มาม่าเข้าไปจำหน่าย

    ส่วนตลาดในกลุ่มชาวตะวันตก เช่น สหรัฐฯ ยุโรป ออสเตรเลีย เป็นกลุ่มที่บริษัทกำลังเปลี่ยนแปลงทางการตลาด จากเดิมเน้นลงขายในร้านค้าเอเชีย (Asian Store) เพื่อเจาะกลุ่มผู้อพยพชาวเอเชีย ขณะนี้ต้องเปลี่ยนมาลงขายในห้างสรรพสินค้าทั่วไปให้ได้ เพราะกลุ่มคนเอเชียรุ่น 2-3 มีวิถีชีวิตที่เหมือนกับคนท้องถิ่นมากขึ้น ซื้อสินค้าตามห้างฯ ปกติมากกว่าร้านค้าเอเชีย

     

    ลงทุนโรงงาน “มาม่า” แห่งใหม่ 2 พันล้าน

    ด้านกำลังการผลิต พันธ์กล่าวว่าปัจจุบันโรงงานของไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ทั้งหมด เฉพาะกลุ่มบะหมี่เหลือง สามารถผลิตแบบซองได้ 180 ล้านซองต่อเดือน และแบบถ้วย 36 ล้านถ้วยต่อเดือน

    โรงงานผลิตของบริษัท ในไทยมีทั้งหมด 5 แห่ง และต่างประเทศ 4 แห่ง ได้แก่

    • จ.ชลบุรี 1 แห่ง ผลิตบะหมี่เหลือง 16 ไลน์การผลิต
    • จ.ลำพูน 1 แห่ง ผลิตบะหมี่เหลือง 10 ไลน์การผลิต
    • จ.ระยอง 1 แห่ง ผลิตบะหมี่เหลือง 7 ไลน์การผลิต
    • จ.ราชบุรี 2 แห่ง ผลิตเส้นหมี่ขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว โจ๊ก ข้าวต้ม
    • ประเทศฮังการี 1 แห่ง ผลิตบะหมี่เหลือง 2 ไลน์การผลิต
    • ประเทศบังคลาเทศ 1 แห่ง ผลิตบะหมี่เหลือง 1 ไลน์การผลิต
    • ประเทศกัมพูชา 1 แห่ง ผลิตบะหมี่เหลือง 2 ไลน์การผลิต
    • ประเทศเมียนมา 1 แห่ง ผลิตบะหมี่เหลือง 3 ไลน์การผลิต
    มาม่า
    โรงงานไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ (มาม่า) จ.ชลบุรี

    พันธ์กล่าวว่า ปี 2566 นี้บริษัทมีการเพิ่มกำลังผลิตแล้วในเมียนมา โดยย้ายฐานผลิตจากเมืองย่างกุ้งไปยังเมืองมัณฑะเลย์ เพื่อขยายโรงงานให้ใหญ่ขึ้น เพิ่มไลน์ผลิตจากเดิม 2 เป็น 3 ไลน์การผลิต ตอบรับดีมานด์ในเมียนมาที่เติบโต

    ส่วนการผลิตในไทย คาดว่าจะเพิ่มเครื่องจักรอีก 1 ไลน์การผลิตที่โรงงาน จ.ระยอง ภายใน 2 ปีนี้ ซึ่งจะทำให้โรงงานทุกแห่งที่บริษัทมีในไทยพื้นที่เต็ม ไม่สามารถขยายกำลังผลิตเพิ่มได้อีก

    ดังนั้น ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์จึงมีแผนเปิดโรงงานผลิตแห่งใหม่เพิ่มอีก 1 แห่ง ใช้พื้นที่ราว 50-60 ไร่ เพื่อลงเครื่องจักรได้ 8 ไลน์การผลิต เพียงพอสำหรับรองรับดีมานด์ตลาดได้อีก 10 ปี คาดว่าจะใช้งบลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยเป็นการทยอยลงทุนในช่วง 10 ปีข้างหน้า

    โรงงานไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ (มาม่า) จ.ชลบุรี

    ขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าจะเปิดโรงงานใหม่ในพื้นที่ใด แต่กำลังคัดเลือกหาที่ดินระหว่างพื้นที่อีอีซีซึ่งบริษัทมีโรงงานเดิมอยู่แล้ว หรือเลือกพื้นที่อื่นๆ ที่รัฐบาลจะส่งเสริมการลงทุน เช่น ริมแม่น้ำโขง

    สำหรับการเติบโตช่วงปี 2566-67 พันธ์กล่าวว่า ยอดขายมาม่าปีนี้น่าจะเติบโตประมาณ 4% ปิดยอดขายราว 15,000 ล้านบาท (แบ่งเป็นยอดขายในประเทศ 11,000 ล้านบาท กับต่างประเทศ 4,000 ล้านบาท) ขณะที่ปีหน้าน่าจะเติบโตได้ 5-7%

    ปี 2566 นี้ถือว่าการเติบโตของ “มาม่า” ไม่สูง เพราะช่วงปี 2564-65 มาม่าเติบโตสูงไปแล้วจากพฤติกรรมกักตุนสินค้าอาหารช่วงโควิด-19 ของผู้บริโภค ทำให้ฐานรายได้เดิมค่อนข้างสูง ส่วนปี 2567 พันธ์หวังว่ามาตรการเงินอัดฉีดจากรัฐบาลและการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้ประชาชน น่าจะทำให้มาม่าได้อานิสงส์เพราะถือเป็นสินค้ากลุ่มอาหารที่เป็นปัจจัยสี่ของผู้บริโภค

    ]]>
    1447913
    ความต้องการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั่วโลกยังโตต่อเนื่อง 7 ปีติด ปัจจัยสำคัญคือเรื่องของเงินเฟ้อ https://positioningmag.com/1445256 Sat, 23 Sep 2023 13:35:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445256 World Instant Noodles Association ได้รายงานถึงความต้องการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั่วโลกนั้นยังเติบโตต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 แล้ว สาเหตุสำคัญที่ทำให้ความต้องการในปีนี้เติบโตคือเรื่องปัจจัยของเงินเฟ้อ ทำให้ผู้บริโภคหลายประเทศบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเนื่องจากราคาที่ถูก มีความสะดวก

    Nikkei Asia รายงานถึงความต้องการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปี 2022 ได้มีการเสิร์ฟทั่วโลกไปแล้วมากถึง 121,200 ล้านครั้ง เติบโตจากปี 2021 ถึง 2.6% โดยการเติบโตดังกล่าวนี้ถือว่าเติบโตต่อเนื่อง 7 ปีติดต่อกัน และความต้องการดังกล่าวยังทำสถิติสูงสุดอีกด้วย

    World Instant Noodles Association ได้เก็บข้อมูลโดยอ้างอิงตามการจัดส่งโดยประมาณใน 56 ประเทศ พบว่าราคาอาหารในหลายประเทศพุ่งสูงขึ้นเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมารับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซึ่งเป็นทางเลือกที่เหมาะสม และมีราคาที่ถูกกว่า

    ในปี 2022 ความต้องการจากประเทศจีนยังเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่เวียดนามเองมีการบริโภคลดลง ทางด้านของประเทศอย่างเม็กซิโกเองยังมีความต้องการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้นถึง 11% ทางด้านสหรัฐอเมริกามีปริมาณการบริโภคเพิ่มขึ้น 3.5%

    ขณะที่ไทยเองยังครองตำแหน่งอันดับ 9 ของโลกในแง่ปริมาณการบริโภค ซึ่งปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งเติบโตต่อเนื่องจากปี 2021

    อย่างที่เราทราบกันดีว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารที่นิยมทั่วเอเชีย โดยที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ใช้ซุปเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมอาหารในหลายประเทศ แต่ความนิยมของอาหารชนิดนี้ก็เพิ่มขึ้นในประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก ซึ่งไม่เคยมีวัฒนธรรมเช่นนี้มาก่อน

    นิสซิน ฟู้ดส์ ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรายใหญ่จากญี่ปุ่นได้กล่าวว่า ผู้บริโภคชนชั้นกลางที่ไม่เคยกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาก่อนกำลังนำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ โดยบริษัทเองวางแผนที่จะตั้งโรงงานผลิตในสหรัฐอเมริกาภายในปี 2025 เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งในสหรัฐฯ และเม็กซิโก

    นอกจากผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีราคาไม่แพง ทุกคนสามารถจับต้องได้ ผู้บริโภคบางส่วนยังต้องการผลิตภัณฑ์ที่สามารถประหยัดเวลาพร้อมทั้งให้สารอาหารต่างๆ อย่างครบถ้วน ทำให้ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหลายรายกำลังปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนโดยทำให้มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้นและใช้ส่วนผสมที่คุณภาพดีขึ้นด้วย

    ]]>
    1445256
    10 ประเทศที่บริโภค “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” มากที่สุดในโลก https://positioningmag.com/1374597 Fri, 18 Feb 2022 09:55:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374597 10 ประเทศที่บริโภค “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” มากที่สุดในโลก
    1. จีน 46,350 ล้านหน่วยต่อปี
    2. อินโดนีเซีย 12,640 ล้านหน่วยต่อปี
    3. เวียดนาม 7,030 ล้านหน่วยต่อปี
    4. อินเดีย 6,730 ล้านหน่วยต่อปี
    5. ญี่ปุ่น 5,970 ล้านหน่วยต่อปี
    6. สหรัฐอเมริกา 5,050 ล้านหน่วยต่อปี
    7. ฟิลิปปินส์ 4,470 ล้านหน่วยต่อปี
    8. เกาหลีใต้ 4,130 ล้านหน่วยต่อปี
    9. ไทย 3,710 ล้านหน่วยต่อปี
    10. บราซิล 2,720 ล้านหน่วยต่อปี
    แต่หากคิดเป็นการบริโภคต่อคนต่อปี “ไทย” อยู่ในอันดับ 3 ของโลก
    • เกาหลีใต้ 79.8 หน่วย
    • เวียดนาม 72.2 หน่วย
    • ไทย 53.2 หน่วย
    • เนปาล 52.9 หน่วย
    • มาเลเซีย 48.5 หน่วย

    ค่าเฉลี่ยประชากรโลกบริโภค “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” 15 หน่วยต่อคนต่อปี

    *หมายเหตุ: ข้อมูลปี 2563 จาก World Instant Noodles Association

     

    “ความท้าทายและโอกาส” ตลาด “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” ในไทย
    • จากปี 2536 คนไทยบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปประมาณ 30 หน่วยต่อคนต่อปี การบริโภคต่อคนต่อปีของไทยในปัจจุบันเติบโตขึ้นมาก ทำให้ตลาดเชิงปริมาณค่อนข้างอิ่มตัว
    • โอกาสในไทยคือการผลักดันเชิงมูลค่า ให้คนไทยบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูประดับพรีเมียมทดแทน
    • เทียบข้อมูลจากไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ ผู้ผลิต “มาม่า” พบว่าการขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพรีเมียมในไทยมีสัดส่วน 25% เท่านั้น ยังมีโอกาสเติบโต

    อ่านข่าวเพิ่มเติม >> ครบรอบ 50 ปี “มาม่า” ครองตลาดไทย 50% อีก 5 ทศวรรษข้างหน้าลุยครอง “ตลาดโลก”

    ]]>
    1374597
    ครบรอบ 50 ปี “มาม่า” ครองตลาดไทย 50% อีก 5 ทศวรรษข้างหน้าลุยครอง “ตลาดโลก” https://positioningmag.com/1374105 Tue, 15 Feb 2022 10:04:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374105 “มาม่า” ยึดครองตลาดเมืองไทยได้อย่างเหนียวแน่น เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ชื่อยี่ห้อกลายเป็นชื่อเรียกสินค้าที่ผูกพันกับคนไทยมายาวนาน 50 ปี แต่การ “ไปต่อ” ของมาม่าจะเติบโตได้ต้องอาศัย “ตลาดโลก” และการพัฒนาสินค้าระดับ “พรีเมียม” กำไรสูงให้ได้มากขึ้น

    ครอบครัว “พะเนียงเวทย์” ยกทัพจัดแถลงข่าวร่วมกันในวาระครบรอบ 50 ปีของ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิต “มาม่า” ในเครือสหพัฒนพิบูล

    มาครบทั้ง “พิพัฒ พะเนียงเวทย์” ซีอีโอและรองประธานกรรมการ “ดร.พจน์ พะเนียงเวทย์” กรรมการผู้อำนวยการ “ดร.พจนี พะเนียงเวทย์” รองผู้อำนวยการ แม่ทัพด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ “พจนา พะเนียงเวทย์” กรรมการธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยง แม่ทัพด้านตลาดต่างประเทศ “เพชร พะเนียงเวทย์” ที่ปรึกษาบริษัท และผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด 2 บมจ.สหพัฒนพิบูล ดูแลงานขายและการตลาดให้มาม่า “พันธ์ พะเนียงเวทย์” ผู้จัดการสำนักกรรมการผู้อำนวยการ ร่วมด้วย “ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์” ที่ปรึกษาบริษัท

    มาม่า
    กลุ่มผู้บริหาร บมจ.ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์

    50 ปีของมาม่า เริ่มจากการร่วมทุนของสหพัฒน์กับบริษัท เพรซิเดนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จากไต้หวันเมื่อปี 2515 ก่อนที่ฝั่งไทยจะซื้อหุ้นทั้งหมดในเวลาต่อมา ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายวิกฤต จากการบริหารความเสี่ยง ไม่ลงทุนเกินตัว และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งรสชาติใหม่ สินค้าใหม่ แพ็กเกจจิ้งใหม่ จนถึงวิธีการผลิตที่ทำให้ประหยัดต้นทุนมากขึ้น ชีวิตคนโรงงานดีขึ้น

    ระหว่าง 5 ทศวรรษนี้ มาม่าขึ้นราคามาเพียง 3 เท่า จากซองละ 2 บาทเป็นซองละ 6 บาท โดยยึดหลักการผลิตสินค้า 5 เสาหลักคือ อร่อย สะดวก ปลอดภัย เก็บได้นาน และประหยัด ทำให้พยายามตรึงราคาไว้ ขึ้นราคาครั้งสุดท้ายก็เมื่อปี 2551 ที่บริษัทมองว่าไม่สามารถจัดการต้นทุนได้แล้ว

    อย่างไรก็ตาม 5 ทศวรรษถัดไปจากนี้ “มาม่า” จะมีการเพิ่มเข้าไปอีก 2 เสาในการพัฒนาสินค้า คือ มีคุณค่า และรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อตามให้ทันผู้บริโภคยุคใหม่ และให้สอดคล้องกับการเข้าสู่ “ตลาดโลก”

     

    “ตลาดโลก” จะเป็นครึ่งหนึ่งของรายได้ “มาม่า”

    พื้นฐานไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ปัจจุบัน ปี 2564 ทำยอดขายไปประมาณ 14,000 ล้านบาท (ไม่รวมรายได้จากการถือหุ้นในบริษัทต่างๆ) แบ่งเป็นตลาดไทย 10,000 ล้านบาท และตลาดต่างประเทศ 4,000 ล้านบาท

    ในไทยนั้นไม่ต้องพูดถึง มาม่าเป็นเจ้าตลาดมีมาร์เก็ตแชร์ถึง 50% แต่เนื่องจากตลาดกำลังอิ่มตัว เพชรระบุว่า คนไทยมีอัตราการรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 53.2 หน่วยต่อคนต่อปี เป็นอันดับ 5 ของโลก และเทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่รับประทานกัน 15 หน่วยต่อคนต่อปี คนไทยนับว่าทานมากกว่าหลายเท่า

    มาม่า ชุดครบรอบ 50 ปี นำ 3 รสชาติที่คนคิดถึงกลับมาขายแบบ Limited Edition ได้แก่ ข้าวซอยไก่, เส้นโฮลวีตรสหมูพริกไทยดำ และบะหมี่หยกแห้งรสเป็ดย่าง

    โอกาสที่เห็นชัดจึงไปอยู่กับตลาดประเทศอื่นๆ ทั้งประเทศที่ผู้บริโภคทานบะหมี่กึ่งฯ สูงมากอยู่แล้ว เช่น เกาหลีใต้ ทานกัน 75-80 หน่วยต่อคนต่อปี และประเทศที่ทานน้อยจนมีช่องว่างให้ทำตลาดผลักดันการรับประทานเพิ่ม เช่น ประเทศแถบตะวันตก ประเทศในทวีปแอฟริกา

    พจนาแจกแจงว่า ปัจจุบันมาม่าส่งออกอยู่แล้ว 68 ประเทศทั่วโลก โดยมีทั้งส่งออกจากโรงงานในไทย 5 แห่ง และโรงงานต่างประเทศ 4 แห่งที่เมียนมา กัมพูชา บังกลาเทศ และฮังการี แบ่งสัดส่วนทวีปที่ส่งออก ดังนี้

    • 50% เอเชีย
    • 28% ยุโรป
    • 18% อเมริกา
    • 3% ออสเตรเลีย
    • 1% แอฟริกา
    มาม่า โอเรียนทอลคิทเช่น หนึ่งในสินค้ากลุ่มพรีเมียม

    สินค้าที่ส่งไปแบ่ง 80% เป็นตลาดแมส คือกลุ่มมาม่าปกติเหมือนที่มีขายในไทย และ 20% เป็นกลุ่มพรีเมียมและไฮแวลู เช่น มาม่าโอเรียนทอลคิทเช่น, เฝอ, เส้นพาสต้าปราศจากกลูเตน, เส้นพาสต้าผลิตจากข้าวเจ้าออร์แกนิกส์ เหมาะกับคนต่างชาติที่แพ้กลูเตนกันมาก

    จากการปูทางในตลาดโลกมานาน เป้าหมายต่อไปของมาม่าจะบุกหนักมากขึ้น โดยตั้งเป้าทำรายได้ต่างประเทศเพิ่มเป็น 15,000 ล้านบาท ภายในปี 2569 ซึ่งคาดว่าจะมีสัดส่วน 50% ของรายได้รวมบริษัท (นั่นเท่ากับว่า ปีนั้นมาม่าจะสร้างยอดขายรวมประมาณ 30,000 ล้านบาท) การเติบโตนี้จะต้องก้าวกระโดด 4 เท่าตัวภายใน 4 ปี!

    ตัวอย่างสินค้าที่ขายในต่างประเทศ: พาสต้าปราศจากกลูเตน

    กลยุทธ์ที่จะไปถึงยอดขายดังกล่าว พจนากล่าวว่า บริษัทมีการร่วมงานกับพาร์ทเนอร์ผู้จัดจำหน่ายในแต่ละประเทศ ผลักดันกลยุทธ์การตลาดผ่านดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง, ใช้อินฟลูเอนเซอร์, เพิ่มช่องทางจำหน่ายผ่านอีคอมเมิร์ซ โดยแนวทางหลักพยายามดึงลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งมีกำลังซื้อมาทดแทนกลุ่มผู้สูงวัย

    รวมถึงพยายามขยายโอกาสจากเดิมเน้นชาวเอเชียในต่างประเทศ ขยายเป็นชาวต่างชาติท้องถิ่นมากขึ้น มีการออกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับคนต่างชาติสูงขึ้นดังที่กล่าวไป ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นสินค้าไฮแวลูที่ทำกำไรสูง

     

    ตั้ง “โรงงาน” ให้ครบทุกทวีป

    ในแง่การลงทุนเพิ่ม มาม่าจะขยายออฟฟิศและเพิ่มผู้จัดจำหน่าย แบ่งเป็น 2 เฟส คือ เฟสแรกในประเทศฮังการี อินเดีย มาเลเซีย และเวียดนาม ส่วนเฟสที่สองจะจัดตั้งในสหรัฐฯ ตะวันออกกลาง และทวีปแอฟริกา

    แผนการตั้งออฟฟิศและตัวแทนจัดจำหน่ายต่างประเทศเพิ่มเติม

    ไม่เฉพาะการขายและการตลาดเท่านั้น พจนากล่าวว่า มาม่ามีแผนระยะยาวจะตั้งโรงงานให้ครบทุกทวีปภายใน 5 ปี โดยทวีปที่ขาดอยู่ปัจจุบันคือแอฟริกาและอเมริกา

    พันธ์เสริมในส่วนนี้ว่า เหตุที่มาม่าต้องการจะตั้งโรงงานทุกทวีป เพราะหากจะบุกตลาดโลกแล้ว การขนส่งข้ามทวีปต้องส่งทางเรือซึ่งใช้เวลานานแรมเดือน ทำให้อาหารไม่สดใหม่ และหากเกิดวิกฤตเรือขาดอีกก็จะเป็นปัญหา

    แต่การตั้งโรงงานต้องหา “พาร์ตเนอร์” ที่เข้ากันได้ดีจึงจะประสบความสำเร็จ ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ไม่สามารถเข้าไปลงทุนเองได้ ยังต้องการพันธมิตรที่เข้าใจตลาด เข้าใจกฎหมายท้องถิ่น ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ที่ผ่านมาบริษัทเคยไปตั้งโรงงานในจีนและเวียดนามแล้วต้องถอนทัพกลับมาแล้ว เนื่องจากความไม่ลงตัวกับการทำธุรกิจร่วมกัน ดังนั้น จึงยังกำหนดไม่ได้ว่าดีลการลงทุนจะสำเร็จเมื่อใดและใช้เงินลงทุนมากแค่ไหน

     

    พัฒนาสินค้า “พรีเมียม” หาน่านน้ำใหม่

    อีกกลยุทธ์หนึ่งของ 5 ทศวรรษหน้าของ “มาม่า” จะเป็นการวิจัยและพัฒนาสินค้าพรีเมียม/ไฮแวลูออกมาต่อเนื่อง โดยบริษัทมีการกันงบ 0.5% ของกำไรเพื่อ R&D ทุกปี

    มาม่า
    ตัวอย่างสินค้านวัตกรรม: เส้นบะหมี่จากโฮลวีต ในกลุ่มสินค้าเดียวกันยังมีเส้นที่ผลิตจากเห็ดชิตาเกะ และจากผักเคล

    การวิจัยสินค้าต่อจากนี้ พจนีกล่าวว่าจะมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เช่น ม.เกษตรศาสตร์ ม.มหิดล จุฬาฯ เทคโนโลยีสุรนารี ฯลฯ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่บริษัทสนใจบางอย่างซึ่งเป็น ‘Future Foods’ เช่น เนื้อทำจากพืช (plant-based) บริษัทไม่มีพื้นฐานงานวิจัยด้านนี้ และหากมีโอกาสก็จะจับมือกับนักวิชาการด้านอาหารในต่างประเทศด้วย

    “เราจะมาก้าวสั้นๆ ช้าๆ ก็อาจจะไม่ทันแล้ว” พจนีกล่าวถึงการยื่นมือหาพันธมิตรงานวิจัย เพื่อตามให้ทันผู้บริโภคที่วันนี้เปลี่ยนรสนิยมอย่างรวดเร็ว

    ปัจจุบันยอดขายบริษัทแบ่งเป็นตลาดแมส 75% และตลาดพรีเมียม 25% แต่ในอนาคตอาจจะเปลี่ยนแปลงสัดส่วนได้ ซึ่งไม่ใช่ว่ามาม่าจะเลิกผลิตหรือพัฒนาสินค้าตลาดแมส แต่การเพิ่มสินค้าพรีเมียมจะยิ่งเข้มข้นขึ้น ทั้งในกลุ่มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเองที่ผู้บริโภคเปิดรับสินค้าราคาสูงขึ้นหากได้รสชาติหรือคุณภาพที่พรีเมียมกว่า และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ที่บริษัทจะผลิตต่อไป

    ]]>
    1374105
    “มาม่าคัพ” ดัมพ์ราคาเหลือ 10 บาทครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ไวรัสดันตลาดแตะ 2.2 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1277943 Mon, 11 May 2020 16:15:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277943 “สหพัฒน์” เพิ่มกำลังการผลิตมาม่าอีก 30% พร้อมกับจัดโปรโมชั่นลดราคามาม่าคัพแบบถ้วยเหลือ 10 บาท เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ลุ้นตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแตะ 22,000 ล้านบาท หรือโตพรวด 16%

    ล็อกดาวน์ กักตัวดันมาม่าโต

    การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในไทย ส่งผลให้เกิดมาตรการล็อกดาวน์ และคนไทยเองก็ต้องกักตัวอยู่บ้าน เพื่อลดการแพร่ระบาดให้มากที่สุด ซึ่งการล็อกดาวน์ในครั้งนี้ ทำให้ได้เห็นภาพผู้คนกักตุนอาหาร ซึ่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็เป็นสินค้ายอดนิยมที่คนไทยกักตุนกันอย่างมาก

    ปัจจุบันตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่า 19,000 ล้านบาท จากเหตุการณ์ล็อกดาวน์ทำให้ตลาดโตขึ้น 5.8% มีการคาดการณ์ว่าปีนี้อาจจะได้เห็นตลาดโตขึ้นไปถึง 16% หรือแตะ 22,000 ล้านบาทได้

    เวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

    “จากสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้ภาพรวมของสหพัฒน์ในเรื่องของแผนลงทุนใหญ่ๆ ในปีนี้ต้องชะลอออกไป เอางบเก็บไว้ก่อน แต่ในส่วนของคลังสินค้า อีคอมเมิร์ซ และโลจิสติกส์ยังคงเดินหน้าลงทุนต่อเนื่อง โดยเฉพาะคลังสินค้าใหญ่ที่มีแผนเปลี่ยนไปใช้คลังที่มีพื้นที่ใหญ่ขึ้นที่ศรีราชานั้นจะเป็นไปตามแผนเดิมที่จะเปลี่ยนในปี 2564”

    ขณะที่อีคอมเมิร์ซจะเห็นภาพชัดเจนในช่วง COVID-19 ว่ามียอดสั่งซื้อเข้ามาเติบโตเป็น 100% จึงต้องมีการปรับปรุงระบบ พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเปลี่ยนคลังสินค้าของอีคอมเมิร์ซจากพื้นที่ร่มเกล้ามาที่พื้นที่พระราม 3 ในไตรมาส 3 นี้

    ตั้งทีม New Normal รับการทำงานที่เปลี่ยนไป

    สหพัฒน์ยังตั้งทีม New Nomal เพื่อตั้งรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น เพื่อกำหนดเป็นกลยุทธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลัง COVID-19 จบลง โดยระหว่างนี้เราจะยังอยู่ในช่วงระวังกันอีกเป็นปี แม้สถานการณ์จะเริ่มดีขึ้น แต่ก็ยังไม่คล่องตัวก่อนเข้าสู่ New Normal ในเฟสถัดไป

    รวมถึงได้เพิ่มกำลังผลิตของมาม่าอีก 30% เพื่อรับกับความต้องการของผู้บริโภค ได้เข้าร่วมโครงการพาณิชย์ลดราคาช่วยประชาชน เพื่อช่วยเหลือและลดค่าครองชีพของประชาชนที่กำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 โดยนำสินค้าหลายแบรนด์เข้าร่วมโครงการ เช่น ผงซักฟอก เปา, ไฮคลาส, โชกุบุสซึ นิสชิน และ มาม่า เป็นต้น

    ได้ปรับลดราคา “มาม่าคัพ” ทุกรสชาติ จากราคา 13 บาท เหลือ 10 บาท ตั้งแต่วันที่ 1-31 พฤษภาคม 2563 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของมาม่าคัพที่มีการลดราคา

    ลุ้นตลาดแตะ 22,000 ล้านครั้งแรก!

    สำหรับภาพรวมตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่า 19,000 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมามีการเติบโต 8% แบ่งเป็น แบบซองโต 20% และแบบคัพโต 10% โดยในส่วนของแบบซอง มาม่ามีแชร์ 48% ขณะที่แบบคัพ มาม่ามีแชร์ 55%

    โดย 2 เดือนที่ผ่านมานี้มาม่าได้เพิ่มกำลังผลิตอีกกว่า 30% จากปกติกำลังการผลิตอยู่ที่ 4 ล้านชิ้นต่อวัน รองรับความต้องการของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น

    เวทิตเสริมว่า ในเดือนเมษายนยอดขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังเติบโตมากกว่าปกติ แต่น้อยกว่าเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่วนสถานการณ์หลังจากนี้ตอบยากว่าจะเติบโตได้มากแค่ไหน แต่เชื่อว่าตลอดทั้งปีนี้มีโอกาสที่จะได้เห็นตัวเลขรวมถึง 22,000 ล้านบาท ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศไทย

    Source

    ]]>
    1277943
    ออเรียนทัลคิตเชน แผลงฤทธิ์ ช่วย “มาม่า” กลับมาโตสูงสุดในรอบ 3 ปี https://positioningmag.com/1236648 Thu, 27 Jun 2019 15:03:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1236648 หลังจากเจอโจทย์ใหญ่ ตัวเลขอัตราการเติบโต “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” ลดลง ต่อเนื่องมา 3 ปี โดยปี 2558 ตลาดเติบโตเพียง 0.4% เป็นตัวเลขที่เติบโตต่ำสุดในรอบ 44 ปีด้วยมูลค่าตลาด 14,500 ล้านบาท กลายเป็นปัญหาที่ผู้เล่นทุกรายต้องหาทางออก

    เวทิต โชควัฒนา กรรมการรองผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชนเจ้าของแบรนด์ มาม่า ซึ่งยึดหัวตารางมีส่วนแบ่งเป็นเบอร์ 1 และอยู่ในตลาดมากว่า 45 ปี ระบุว่าปัจจัยสำคัญของตัวเลขที่ต่ำสุดในประวัติการณ์ มาจากภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ “ผู้บริโภคระดับรากหญ้า ซึ่งแม้แต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปราคา 6 บาท/ซอง ยังต้องคิดหนักเวลาจะซื้อจึงหันข้าวเปล่าถ้วยละ 3-4 บาท ไปกินกับอย่างอื่นแทน

    แต่ภาพเหล่านั้นกลับไม่ได้เกิดขึ้นกับช่วงครึ่งปีแรก 2019 เพราะยอดขายของ มาม่า ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาด ด้วยส่วนแบ่ง 51-51% มีอัตราเติบโตกว่า 11.6% คิดเป็นยอดขาย 4,600 ล้านบาท ส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นกว่า 3% ถือเป็นการเติบโตมากที่สุดในรอบ 3 ปี แน่นอนการเติบโตของยักษ์ใหญ่ย่อมสะท้อนไปถึงภาพตลาด ส่งผลให้เติบโตกว่า 6.5%

    การเติบโตมาจากหลายสาเหตุ ทั้งกลุ่มรากหญ้าหันมากินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเหมือนเดิม เพราะราคาข้าวเปล่าปรับขึ้นจนไม่ต่างกันแล้ว อีกอย่างได้อานิสงส์จากบัตรประชารัฐ ซึ่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นหนึ่งอาหารพื้นฐานที่ผู้บริโภคกินอยู่แล้ว เวทิต” ยืนยันว่า ไม่ได้มีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ ข้าวสารบรรจุถุง ก็ได้เหมือนกัน แถมโตมากกว่าด้วยซ้ำ

    อย่างไรก็ตาม เมื่อมองลึกลงไปถึง พบว่าแม้กำลังซื้อกลุ่มรากหญ้าจะกลับมาก็จริง แต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปราคา 6 บาทต่อซอง ซึ่งจัดเป็นกลุ่มแมสเติบโตราว 1% เท่านั้น ฮีโร่ ที่แท้จริงกลับเป็นเซ็กเมนต์พรีเมียม ที่อยู่ภายใต้แบรนด์ มาม่า OK” เติบโตกว่า 300%

    ​“เวทิต อธิบายว่า ตัวเลขนี้เกิดขึ้นเพราะราวกลางปีก่อน มาม่าได้บุกตลาดสินค้ากลุ่มพรีเมียมอย่างจริงจัง ผ่านกลุ่มมาม่าออเรียนทัลคิตเชนด้วยการส่ง “มาม่า OK” ออกมา 2 รสชาติใหม่ได้แก่ ฮอตโคเรียน และ กุ้งผัดซอสต้มยำ ราคา 15 บาท

    การออก 2 รสชาตินี้เป้าหมายหลักของมาม่า เพื่อต้องการสู้กับกลุ่มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนำเข้า หรือที่เรียกกันติดปากว่า บะหมี่เกาหลีรสเผ็ด ซึ่งที่ผ่านมาเติบโตหลัก 30-40% จนเข้ามาเบียดเจ้าตลาดทั้งหลายที่อยู่มาก่อน

    มาม่า OK นับเป็นการแก้เกมที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะด้วยราคา 15 บาทต่อซอง จึงถูกกว่าของนำเข้าที่ขาย 40 – 50 บาทต่อซอง จึงไม่แปลกที่ยอดขายรวมของมาม่าจะแตะไปถึงตัวเลขสองหลัก

    ยิ่งปลายปีที่ผ่านมามีการออกรสชาติ มาม่า ผัดไข่เค็ม” หนึ่งในรสชาติยอดฮิตที่แปลงตัวไปอยู่ทั้งของคาวของหวาน สร้างกระแสจนขาดตลาดในช่วงหนึ่ง และกลายมาเป็นรสชาติยอดฮิตอันดับ 3 ต่อจากรสต้มยำ และรสหมูสับ

    เพื่อต่อยอดในปีนี้จึงได้นำมาม่า OK แบบแห้ง 2 รสชาติ ได้แก่ฮอตโคเรียนและผัดไข่เค็ม ขยายจากซองไปออกคัพขนาด 80 กรัมที่มาพร้อมนวัตกรรมฝา 2 ชั้นช่วยเทน้ำออก วางขายราคา 20 บาท

    ขณะเดียวกันได้ต่อยอดมาม่าข้าวต้ม หลังพบว่า เมื่อ 2 ปีก่อนได้ออกรสหมูสับกระเทียมพริกไทย แล้วได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะข้ามต้มถือเป็นอาหารที่กินได้ทั้งมื้อเช้าหรือมื้อดึก ซึ่งก่อนหน้านี้ปี 2016 “ตลาดข้าวต้มพร้อมทาน” มีมูลค่าตลาดราว 14 ล้านบาท แต่พอมาม่าออกสินค้าทำให้ปี 2017 มีมูลค่า 54 ล้านบาทเติบโต 238% ส่วนปี 2018 มีมูลค่า 60 ล้านบาท

    ในปีจึงได้ออกเพิ่มอีก 3 รสชาติได้แก่ รสเล้งแซบ รสซุปไข่สาหร่าย และรสกุ้งกระเทียม ขณะนี้มาม่าถือเป็นเจ้าตลาดข้าวต้มพร้อมทาน ดังนั้นการออกสินค้าใหม่จึงเชื่อว่าภาพรวมตลาดปี 2019 จะเพิ่มมาเป็น 160 ล้านบาท ส่วนปีหน้าจะเพิ่มเป็น 190 ล้านบาท

    ความท้าทายของมาม่า คือเมื่อไหร่ก็ตามที่ปีก่อนหน้าประสบความสำเร็จมากเท่าไหร่ ปีถัดมาก็ต้องรักษาไว้ให้ได้ ซึ่งหลักๆ จะมาจากการออกสินค้าใหม่ๆ แต่ก็ง่านยเพราะผู้บริโภคมีความต้องการเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ต้องตอบสนองให้ทัน

    ทั้งนี้ปี 2019 มาม่าตั้งเป้าเติบโต 10.5% หรือคิดเป็นยอดขาย 10,350 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งจะมาจากจัดแคมเปญใหญ่ประจำปี มาม่าคัพเปิดรหัสคัพลุ้นขับ MG” ร่วมกับบริษัท​ เอ็มจี เซลส์​ (ประเทศไทย)​ จำกัด ใช้งบการตลาด 50 ล้านบาท คาดการณ์ว่าแคมเปญนี้จะสามารถเพิ่มยอดขายมาม่าคัพได้ 20% 

    ด้านภาพรวมของตลาดคาดเติบโต 6% คิดเป็นมูลค่า 20,000 ล้านบาท สำหรับการแข่งขันนั้น “เวทิต” ระบุยังรุนแรงเหมือนเดิมยิ่งในกลุ่มแมสหากแบรนด์ใดที่ทำโปรโมชั่นก็จะได้ยอดขายไป ซึ่งต่างจากกลุ่มพรีเมียมโปรโมชั่นมีผลบ้าง แต่ถ้าผู้บริโภคชอบสินค้าแล้วก็จะซื้อประจำอยู่ดี.

    ตลาดข้าวต้มพร้อมทานเมนูคุ้นหู แต่มูลค่าไม่น้อย

    • ปี 2016 มูลค่า 14 ล้านบาท
    • ปี 2017 มูลค่า 54 ล้านบาท
    • ปี 2018 มูลค่า 60 ล้านบาท
    • ปี 2019 มูลค่า 160 ล้านบาท
    • ปี 2019 มูลค่า 190 ล้านบาท
    • *ปี 2019 – 2020 ตัวเลขคาดการณ์

    ที่มา : มาม่า, มิถุนายน 2019

    ]]>
    1236648
    บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจีนเผชิญวิกฤติใหญ่ ไม่เป็นที่นิยมแล้ว https://positioningmag.com/1154017 Sat, 20 Jan 2018 01:15:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154017 การตายอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต และการบริโภคในประเทศจีน เมื่ออุตสาหกรรมถึงจุดสูงสุดในปีพ.. 2556 บริการ online-to-offline (O2O) กำลังเฟื่องฟู แต่การมาของแอพพลิเคชันสั่งอาหาร ซึ่งมีทางเลือกมากมายทำให้การเติบโตและพึ่งพาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปลดลง (ภาพจีบีไทม์ส)

    เดอะเปเปอร์ (18 ม.ค.) รายงานยอดขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ลดลงเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน หลังก่อนหน้านี้ ยอดขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศจีน มียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 10 ปีโดยมียอดขายสูงสุด 4.62 หมื่นล้านถ้วย ในปี 2556 เทียบเท่ากับยอดจำหน่ายเฉลี่ย 1,465 ถ้วยต่อวินาที

    ตามข้อมูลจากสมาคมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโลก ยอดขายบะหมี่กึ่งรูปประจำปี ในประเทศจีนอยู่ที่ 3.85 หมื่นล้านถ้วย ในปีพ. ศ. 2559 ลดลง 8,000 ล้านถ้วย จากยอดขายสูงสุดที่เคยทำสถิติฯ

    การตายอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต และการบริโภคในประเทศจีน เมื่ออุตสาหกรรมถึงจุดสูงสุดในปีพ.ศ. 2556 ก่อนที่บริการ online-to-offline (O2O) เฟื่องฟู และการมาของแอพพลิเคชันสั่งอาหาร ซึ่งมีทางเลือกมากมายทำให้การเติบโตและพึ่งพาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปลดลงอย่างฉับพลัน

    จู ต้านเผิง นักวิจัยจาก ไชน่า แบรนด์ กล่าวว่า เช่นเดียวกับการที่คนปัจจุบันเดินทางบนรถไฟความเร็วสูง ก็ทำให้ยอดขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซึ่งมีสัดส่วนราวร้อยละ 20 ที่เคยขายให้กับผู้โดยสารรถไฟธรรมดาหายไป

    อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แม้ระยะเวลาการเดินทางลงรถไฟความเร็วสูงได้ลดลงอย่างมาก จนไม่มีใครหิวจนถึงต้องซื้อบะหมี่ถ้วยทาน แต่ก็เปลี่ยนมาเป็นทานของขบเคี้ยวแทน

    ที่มา : mgronline.com/china/detail/9610000005687

    ]]>
    1154017