บีทีเอส – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 27 Sep 2024 06:46:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 2 “อาคารโบราณ” ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จะถูกเนรมิตใหม่เป็น “โรงแรม” สุดหรู https://positioningmag.com/1492020 Fri, 27 Sep 2024 06:46:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1492020
โปรเจ็กต์ที่น่าสนใจอีก 2 แห่งกำลังจะเกิดขึ้นริมแม่น้ำเจ้าพระยาในย่านเจริญกรุง จากอาคารโบราณที่มีคุณค่าทางประวัติศาตร์ จะถูกรีโนเวตกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่เป็น “โรงแรม” สุดหรู

แห่งแรกคือ “อาคารอีสต์เอเชียติก” อาคารอายุ 124 ปีที่เคยเป็นที่ทำการบริษัทเดินเรือขนส่งจากยุโรป ปัจจุบันเจ้าของโครงการคือ AWC ตระกูลสิริวัฒนภักดี กำลังจะเปลี่ยนแปลงมาเป็นโรงแรม “เดอะ พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา แบงคอก”

อีกแห่งหนึ่งคือ “โรงภาษีร้อยชักสาม” อาคารอายุ 140 ปี อดีตศุลกสถานเก็บภาษีนำเข้าส่งออกสินค้า ปัจจุบันเจ้าของโครงการที่ได้สัมปทานคือ “แรบบิท​ โฮลดิ้งส์” (เครือบีทีเอส กรุ๊ป) จะเปลี่ยนอาคารมาเป็นโรงแรม “เดอะ แลงแฮม แบงคอก”

ทั้งสองอาคารจะมีการเก็บอนุรักษ์รูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมเอาไว้ ซึ่งถือเป็นงานที่ยากและต้องใช้เวลา ความประณีตในการทำงานสูงมาก

คาดว่าเราจะได้เห็นทั้ง 2 อาคารกลับมาให้บริการได้ในปี 2569

#อาคารโบราณ #รีโนเวต #ปรุงปรุงอาคาร #โบราณสถาน #อาคารเก่า #เจริญกรุง #ริมน้ำ #PositioningOnline

]]>
1492020
U City ปรับทิศ เลิกทำ ‘อสังหาฯ’ เทขายโรงเเรมในยุโรป ทุ่มหมื่นล้าน ขอลุย ‘บริการทางการเงิน’ https://positioningmag.com/1349219 Mon, 30 Aug 2021 08:10:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349219 U City บริษัทลูกในเครือ ‘บีทีเอส กรุ๊ป’ ที่เคยมุ่งลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ 100% วันนี้ประกาศทรานส์ฟอร์มใหม่ ทยอยเทขายโรงแรมในยุโรป หลังเจอพิษโควิดฉุดท่องเที่ยวซบเซา ทุ่มหมื่นล้าน ขอลุย ‘บริการทางการเงิน’ 

กวิน กาญจนพาสน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ถึงการปรับตัวท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 นี้ ว่า “ทาง U City มีตั้งใจที่จะ ‘ยุติการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์”

เนื่องจากมองว่าธุรกิจอสังหาฯ โรงเเรมเเละออฟฟิศ ภายใน 3 -5 ปีนี้ ‘ไม่น่าจะทำกำไร’ จากผลกระทบของโรคระบาด ทำให้ธุรกิจมีรายได้ค่อนข้างต่ำ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่นักลงทุนต้องการ

ทางบริษัท จึงได้ประกาศขายธุรกิจโรงแรมที่เหลืออยู่ในยุโรปเกือบทั้งหมด รวมถึงขายแบรนด์เวียนนา เฮ้าส์ และส่วนหนึ่งของบริษัท แอ๊บโซลูท โฮเต็ล เซอร์วิส จำกัด เบื้องต้น คาดว่าธุรกรรมนี้ จะสร้างกำไรให้แก่บริษัทและจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้

กวิน บอกว่า การเทขายอสังหาฯ เเละโรงเเรมครั้งนี้ จะทำให้มีเงินทุนกลับมาประมาณ ‘หมื่นกว่าล้าน’ ซึ่งจะนำไปไปลงทุนในธุรกิจ ‘ไฟแนนซ์เชียล เซอร์วิส’ อย่างเจมาร์ท เเละซิงเกอร์

โดย U City เเจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย ว่า ได้ทำการเข้าซื้อหุ้น 24.9% ในบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ Singer จำนวน 7,000 ล้านบาท ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด และเข้าลงทุน 9.9% ในบริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ Jaymart จำนวน 4,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังขยายไปสู่ธุรกิจประกัน โดย U City ทุ่มเงินอีก 1,500 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้น 75% ในบริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ A Life พร้อมขยายฐานลูกค้าเเละช่องทางการจัดจำหน่าย ร่วมกับ วีจีไอ, ซิงเกอร์ และ เจเอ็มที รวมถึงพันธมิตรในเครือข่ายของกลุ่มบีทีเอส ที่มีทั้งธุรกิจระบบขนส่งมวลชน สื่อโฆษณา ธุรกิจบริการ

สถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 2 ปี ทำให้ U City ต้องปรับเเผนการดำเนินธุรกิจในระยะยาวครั้งใหญ่
“จุดเปลี่ยนครั้งนี้ จะพลิกฟื้นธุรกิจจากอุตสาหกรรมที่กำลังเป็นขาลง ให้ก้าวไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน” กวิน กล่าว

ในช่วงต่อไปนี้ U City จะดำเนินการขายพอร์ตอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ข้อตกลงและราคาที่สร้างผลกำไร เพื่อจะจัดสรรเงินทุนที่ได้รับไปต่อยอดธุรกิจบริการทางการเงินต่อไป

“อสังหาฯ เเละโรงเเรมที่เหลืออยู่ กำลังรอราคาที่ดี เพื่อขายให้ได้กำไร ไม่ใช่จะเร่งขายถูกในช่วงนี้”

ทั้งนี้ ต่อไปบริษัทจะมีการเปลี่ยนชื่อ ‘U City’ (ยูซิตี้) โดยจะให้ผู้ถือหุ้นเสนอชื่อบริษัทขึ้นมาใหม่ในเร็วๆ นี้

 

 

]]>
1349219
ด้อมเกาหลี ขยายสู่เเฟน “อินเตอร์” มิติใหม่ “ป้าย HBD” เทนายทุน มุ่งกระจายรายได้ชุมชน https://positioningmag.com/1311070 Fri, 18 Dec 2020 13:18:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311070 ช่วงหลายปีที่ผ่านมา เวลาเราเดินทางด้วยรถไฟฟ้าก็มักจะเห็นป้าย HBD ที่เหล่าเเฟนคลับทุ่มเทลงขันบริจาคเงินกันเพื่อซื้อสื่ออวยพรวันเกิดให้ศิลปิน สร้างสีสันเเละบรรยากาศคึกคักในสถานี

จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ การเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย นำมาสู่กระเเสการเเบนบริษัทนายทุนต่าง ๆ หนึ่งในนั้นได้เกิดแคมเปญรณรงค์ให้ชาวแฟนด้อมหันไปสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย

เรียกได้ว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่ #เเบนจริง อย่างเป็นรูปธรรม เเละทำให้เกิดเเรงกระเพื่อมได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

เเม้สัดส่วนรายได้จากป้ายศิลปินจะยังไม่มากนัก เมื่อเทียบกับสื่อนอกบ้านอื่น ๆ เเต่บรรดาเเบรนด์ต่าง ๆ ก็ต้องกลับมาคิดให้หนักกันมากขึ้น

เพราะกลุ่มเเฟนคลับ หรือที่มักเรียกกันว่าเเฟนด้อม” (Fandom) เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง เห็นได้จากในเเต่ละครั้งที่มีการเปิดโดเนท เหล่าเเฟนด้อมจะสามารถ “ระดมทุนได้ยอดเงินบริจาค ตั้งเเต่ “หลักหมื่นยันหลักล้าน” ในเวลาอันรวดเร็ว เพียงเปิดโดเนทไม่กี่ชั่วโมง ก็ทะลุหลักเเสนบาทไปเเล้วในด้อมใหญ่ ๆ ที่มีเเฟนคลับจำนวนมาก

ด้อมเกาหลี ขยายสู่อินเตอร์” ช่วย “ตุ๊กตุ๊ก

กระเเสนี้เริ่มต้นจากกลุ่มเเฟนคลับศิลปินเกาหลี รวมตัวกันเพื่อต่อต้านการซื้อสื่อโฆษณาในสถานีรถไฟฟ้า เเม้จะเป็นโปรเจกต์ที่เหล่าเเฟนคลับทำกันมาช้านานก็ตาม

มีการเสนอให้นำโปรเจกต์ศิลปินต่าง ๆ ย้ายไปซื้อสื่อโฆษณาในขนส่งมวลชนท้องถิ่นมากขึ้น เช่น รถตุ๊กตุ๊ก บิลบอร์ดรถสองเเถว รถเเดง ป้ายในเรือ หรือป้ายในย่านชุมชนต่าง ๆ เเทน

เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ก็ประเดิมด้วยด้อมใหญ่อย่างกลุ่ม A.R.M.Y แฟนคลับของวง BTS บอยเเบนด์ชื่อดังเเห่งยุค ได้ทำโปรเจกต์ซื้อพื้นที่ป้ายโฆษณาหลังรถตุ๊กตุ๊กจำนวน 15 คัน เพื่ออวยพรวันเกิดให้ 2 สมาชิกในวงอย่าง คิม ซอกจิน (Jin) เเละคิม แทฮยอง (V) เน้นเคลื่อนที่ไปตามถนนเส้นสำคัญในกรุงเทพฯ อย่างสยามเเละสุขุมวิท

จากนั้นก็มีกลุ่มเเฟนด้อมต่าง ๆ หันไปซื้อสื่อโฆษณาในท้องถิ่นตามไปด้วย จนป้ายตามสถานีรถไฟฟ้าว่างในหลายพื้นที่อย่างเห็นได้ชัดต่างจากที่ผ่านมาจะมีโฆษณาลงเต็มตลอด

Source : twitter @piiragan

ล่าสุดความเคลื่อนไหวนี้ ไม่ได้จำกัดเเค่ในด้อมเกาหลีเท่านั้น เพราะได้ขยายไปสู่กลุ่มเเฟนคลับศิลปินระดับอินเตอร์ที่มีคนรู้จักทั่วโลก อย่าง Sarah Paulson เเละ Taylor Swift

Photo : Facebook / Sarah Paulson Thailand

จากการที่ได้พูดคุยกับผู้ทำโปรเจกต์เเละผู้ร่วมบริจาคซื้อโฆษณาบนรถตุ๊กตุ๊ก หลายคนมองว่า

  • เป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชนคนหาเช้ากินค่ำ
  • เป็นความเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ เพื่อต่อต้านนายทุนได้ดี
  • ราคาถูกกว่าการซื้อโฆษณาเเบบอื่น เเต่มีคนเห็นบนท้องถนนจำนวนมาก
  • มีความพิเศษ ไม่เหมือนใคร เพราะรถตุ๊กตุ๊กมีเเค่ในไทย ใครเห็นก็จำได้เเละคนต่างชาติก็สนใจ
  • เเบรนด์สินค้าก็สามารถทำได้ เพื่อลดต้นทุนการตลาดในยามเศรษฐกิจไม่ดี
Photo : Twitter @moomoots13

ด้านเหล่าคนขับรถตุ๊กตุ๊กบอกกับสื่อมวลชนว่าเเม้หลายคนจะมองว่ารายได้ป้ายโฆษณา 700 บาทต่อคันต่อเดือนนั้นจะน้อยนิดเเต่ก็สามารถต่อชีวิตในช่วงวิกฤต COVID-19 ได้ใช้จ่ายในครอบครัวหรือจ่ายค่านมลูกได้

จ่ายไม่เเพง เเต่ไปถึงคนตัวเล็กตัวน้อย

โดยราคาราคาป้ายโปรโมตศิลปินท้ายรถตุ๊กตุ๊กมีอัตราค่าบริการโดยเฉลี่ยราว 300 – 700 บาทต่อคันต่อเดือน ส่วนใหญ่ไม่มีขั้นต่ำจะติดกี่คันก็ได้ บางจุดไม่มีการหักค่าหัวคิว สามารถติดต่อคนขับได้โดยตรง เเต่บางจุดต้องติดต่อผ่านหัวหน้าวิน ซึ่งจะมีเเพ็กเกจพิเศษให้ถ้าตกลงติดตั้งเเต่ 30 – 100 คัน ส่วนตัวป้ายนั้น “ต้องทำมาเอง

ส่วนรถกระป้อในซอยต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ เรตราคาจะอยู่ที่ 400 – 500 บาทต่อคันต่อเดือน ส่วนรถเเดงในเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่ จะมีค่าทำตัวป้าย 500 บาท และค่าเช่ารถสองแถว 1,000 บาทต่อเดือน โดยได้ติดต่อผ่านทางสหกรณ์ที่ดูเเลรถ

Photo : Twitter @NEST97TG_

ขณะที่เมื่อเทียบกับค่าบริการป้ายโฆษณาของสถานีรถไฟ MRT นั้นจะเห็นว่าต่างกันมาก เเละลูกค้าต้องติดต่อกับบริษัทโดยตรง หรือบางกลุ่มก็ติดต่อผ่านเอเยนซี่โฆษณา โดยค่าใช้จ่ายของการติดตั้งป้ายนั้น รวมค่าพื้นที่มีเดีย สถานี ภาษีมูลค่าเพิ่มและระยะเวลาที่ต้องการติดตั้งไปด้วย ซึ่งมีไซส์ที่นิยมกันอยู่ 3 ขนาด คือ

  • ขนาดเล็ก (เเนวตั้งเเนวนอนเล็กเรตราคาตั้งเเต่หลักพันปลาย ๆ ถึง 3 หมื่นบาท
  • ขนาดกลาง (แนวนอนเรตราคาตั้งเเต่ 3 – 8 หมื่นบาท
  • ขนาดใหญ่ เรตราคาตั้งเเต่ 8 หมื่น – แสนบาท

โดยราคาของป้ายศิลปินมีอยู่หลากหลายมาก เริ่มตั้งเเต่หลักพันปลาย ๆ ไปจนถึงหลักเเสน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเเละโลเคชั่น เช่น ถ้าขึ้นเเค่ 15 วันจะถูกลงไปอีก อยู่จุดไหน สถานีไหน ขนาดเท่าไหร่ จุดที่คนมองเห็นมากน้อย ก็จะมีราคาที่ต่างกัน รวมถึงโปรโมชันที่ได้ด้วย

ตัวอย่างป้ายอวยพรศิลปิน ในสถานีรถไฟฟ้า MRT

ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะจองขึ้นป้าย 15 วัน – 1 เดือน เป็นธีมอวยพรวันเกิด เเสดงความยินดีในโอกาสพิเศษ ออกเพลงละคร หรือออกอัลบั้มใหม่

เมื่อดูจากสัดส่วนรายได้ พบว่า รายได้รวมจากป้าย HBD ศิลปินจากกลุ่มเเฟนคลับถือเป็นส่วนเล็ก ๆ ของสื่อโฆษณาทั้งหมดของ BMN บริษัทผู้พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ใน MRT โดยคิดเป็นเเค่ 2 – 3% เพราะส่วนใหญ่เป็นเเบรนด์สินค้าถึง 97%

เเต่ผู้บริหาร BMN ให้สัมภาษณ์กับ Positioning เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาก่อนจะเกิดกระเเสการเเบนนี้ว่า

ถึงจะน้อยเเต่เราไม่ละทิ้ง เราจะดูเเลลูกค้ากลุ่มเเฟนคลับเป็นพิเศษ เพราะต้องทำความเข้าใจพวกเขาด้วย ด้วยการที่เขาทำด้วยความชื่นชอบ เราจึงไม่ได้มองว่าต้องเอากำไรมากหรือเป็นการค้าจ๋าขนาดนั้น รวมถึงเป็นการสร้างสีสันเเละความหลากหลายให้สถานีด้วย คนเเวะมาถ่ายรูป ก็เป็นการเพิ่มทราฟฟิกเเละการจับจ่ายใช้สอยไปในตัว 

ด้านฝั่งผู้พัฒนาสื่อโฆษณารายใหญ่ของเมืองไทยอย่าง Plan B เทคแอคชั่นในกระเเสนี้ด้วยเชิญชวนเเฟนคลับกลับมาลงโฆษณา ด้วยเเคปชั่นว่าเมนใคร ใครก็รัก ประกาศความน่ารักของเมนให้โลกรู้  ซึ่งหลายความเห็นในทวิตเตอร์มองว่า ยิ่งทำให้รู้ว่าความเคลื่อนไหวในการ #เเบน ครั้งนี้มีผลต่อวงการโฆษณาไม่น้อย

เมื่อถามว่าความเคลื่อนไหวนี้ จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวหรือต่อไปอีกยาวหรือไม่ หนึ่งในผู้ทำโปรเจกต์ศิลปินเกาหลี บอกกับ Positioning ว่า จะมีการทำต่อเนื่องอย่างเเน่นอน โดยเฉพาะการซื้อโฆษณากับคนในชุมชน นอกจากรถตุ๊กตุ๊กเเล้ว ก็จะมีการขยายไปยังขนส่งมวลชนท้องถิ่นอื่น ๆ รวมไปถึงป้ายตามร้านโชห่วย รถเร่ขายของเเละรถพุ่มพวง ตามโอกาสที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งมองว่าในปีหน้าแฟนคลับจะมีการทุ่มเงินโปรโมตให้มากกว่าปีนี้อย่างเเน่นอนเพื่อเป็นการช่วยเหลือกันในช่วงเศรษฐกิจย่ำเเย่

สำหรับภาพรวมสื่ออุตสาหกรรมโฆษณาในเมืองไทย คาดว่าทั้งปีนี้ เงินโฆษณาจะสะพัดอยู่ที่ 7.1 หมื่นล้าน เเตะจุด “New Low” ต่ำสุดรอบ 20 ปี ใกล้เคียงกับช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง โดยสื่อทีวีและสื่อนอกบ้าน ที่เคยมีเม็ดเงินมากที่สุดยัง “ติดลบหนัก” ส่วนดาวรุ่งอย่างสื่อดิจิทัลที่เคยเติบโต 20-30% ต่อเนื่องมาทุกปี ต้องสะดุดเเละอาจเติบโตได้เพียง 0.5% เท่านั้น

 

]]>
1311070
BTS กำไรปี 62/63 พุ่ง 8 พันล้าน โต 184% จ่อเพิ่มทุนพันล้านหุ้น เพิ่มวงเงินหุ้นกู้เป็น 6 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1281646 Tue, 02 Jun 2020 05:04:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281646 BTS อวดกำไรปี 62/63 ที่ 8.16 พันล้านบาท โต 184% พร้อมปันผล 0.15 บาท/หุ้น เตรียมออกหุ้นเพิ่มทุน เสนอขาย PP 1.1 พันล้านหุ้น เพิ่มวงเงินหุ้นกู้จากเดิมเป็น 6 หมื่นล้านบาท ชี้เคอร์ฟิวทำเที่ยวเดินทางไตรมาสเเรก ลด 17.5%

บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS รายงานผลดำเนินงาน งวดปี 62/63 (สิ้นสุด มี.ค. 63) มีกำไรสุทธิ 8,161.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 184.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,872.95 ล้านบาท โดยมีรายได้รวม จำนวน 42,203 ล้านบาท รายได้หลักมาจากธุรกิจระบบขนส่งมวลชน

โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท อนุมัติจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.15 บาท ต่อหุ้น กำหนดวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) วันที่ 29 ก.ค. 2563 กำหนดจ่ายวันที่ 14 ส.ค. 2563

กวิน กาญจนพาสน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บีทีเอส กรุ๊ป กล่าวว่า ผลประกอบการปีงบประมาณ 2562/63 (เมษายน 2562 ถึงมีนาคม 2563) เป็นที่น่าประทับใจ แม้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ โดยกำไรสุทธิในปีนี้เพิ่มขึ้น 184% จากปีก่อน แตะ 8.2 พันล้านบาท

ในขณะที่กำไรสุทธิหลังหักภาษีจากรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำสร้างสถิติสูงสุด ที่ 4.8 พันล้านบาท เติบโต 47% จากปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในธุรกิจระบบขนส่งมวลชน ธุรกิจสื่อโฆษณาและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมที่เพิ่มขึ้น รายได้รวมจำนวน 42.2 พันล้านบาท โดยมีรายได้จากธุรกิจระบบขนส่งมวลชนเป็นรายได้หลัก ในส่วนธุรกิจสื่อโฆษณา มีผลการดำเนินงานเติบโตแข็งแกร่งแสดงกำไรสุทธิสูงสุดใหม่ ที่ 1.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% จากปีก่อน

สำหรับธุรกิจระบบขนส่งมวลชน โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาของเรายังคงมีพัฒนาการรุดหน้าต่อเนื่องเป็นอย่างมาก โดยในปี 2562/63 มีรายได้ค่าก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลืองและรายได้จากการให้บริการติดตั้งงานระบบและจัดหารถไฟฟ้าขบวนใหม่ภายใต้สัญญาสัมปทานสำหรับโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวใต้และเหนือ จำนวน 25.2 พันล้านบาท

ด้านรายได้จากการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) ประจำปี 2562/63 เพิ่มขึ้น 65% YoY เป็น 3.8 พันล้านบาท บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ที่ 3.4 พันล้านบาท ปัจจัยหลักมาจากการเปิดให้บริการโครงการส่วนต่อขยายสายสีเขียวใต้ทั้งสายตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 รวมถึงการทยอยเปิดให้บริการ 5 สถานีแรกของโครงการส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือในปี 2562

นอกจากนี้ บริษัทตั้งเป้าการเปิดทดลองให้บริการโครงการดังกล่าวอีก 4 สถานี ถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ในเดือนมิถุนายน 2563 และคาดว่าจะเปิดให้บริการสถานีที่เหลือภายในสิ้นปี 2563

BTS คาดว่าการเปิดให้บริการสถานีใหม่ๆ จะเป็นปัจจัยหนุนหลักของการเติบโตของรายได้ O&M ในอนาคต สำหรับโครงการคมนาคมขนส่งอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองนั้น คาดว่าจะเห็นความคืบหน้าเป็นอย่างมากในปี 2563/64 ภายหลังการลงนามในสัญญาที่คาดว่าโครงการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาจะสามารถลงนามได้ในเดือนมิถุนายน 2563 และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในเดือนกรกฎาคม 2563

สำหรับช่วงการแพร่ระบาด COVID-19 ส่งผลกระทบต่อไทย โดยรัฐขอความร่วมมือให้ประชาชนอยู่บ้าน ทำงานที่บ้าน รวมถึงการปรับเวลาให้บริการให้สอดคล้องกับช่วงที่รัฐบาลประกาศห้ามออกจากเคหสถาน (เคอร์ฟิว) ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทฯ ด้วย โดยไตรมาสล่าสุด (มกราคมถึงมีนาคม 2563) จำนวนเที่ยวการเดินทางลดลง 17.5% จากปีก่อน

ในฝั่งธุรกิจสื่อโฆษณา บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ VGI ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแบบ Offline-to-Online (O2O) โซลูชั่นส์ สามารถสร้างสถิติรายได้และกำไรสุทธิสูงสุดใหม่ โดยมีรายได้ 4 พันล้านบาท เติบโต 11% YoY และกำไรสุทธิ 1.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1.1 พันล้านบาทในปีก่อน โดยมีหน่วยธุรกิจใหม่ของ VGI อย่าง VGI Digital Lab ที่จะใช้ฐานข้อมูลในการให้บริการแบบดิจิทัล สร้างผลการดำเนินงานแข็งแกร่งทะลุเป้ารายได้ปีแรกที่วางไว้ 150 ล้านบาท

นอกจากนี้ VGI ยังได้ยกเลิกการควบรวมงบการเงินบริษัท มาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) หรือ MACO เริ่มตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2562/63 เป็นต้นไป อันเป็นผลมาจากการลดสัดส่วนการถือหุ้นของ VGI ใน MACO จากการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ให้แก่บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ PLANB ทั้งนี้ การยกเลิกการควบรวมงบการเงินดังกล่าวทำให้อัตรากำไรสุทธิของ VGI ดียิ่งขึ้น โดย VGI มีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 35.6% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในไตรมาสต่อๆ ไป

จ่อเพิ่มทุน 1.1 พันล้านหุ้น 

BTS เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทอนุมัติให้เสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 เพื่อพิจารณาและอนุมัติแผนการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ แบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จำนวนไม่เกิน 4,400,000,000.00 บาท หรือเท่ากับประมาณ 8.36% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทฯ โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 1,100,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 4 บาท เพื่อเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด (Private Placement)

ทั้งนี้ บริษัทจะลดทุนทะเบียน 4,574,781,048.00 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 62,618,389,192.00 บาท เป็น 58,043,608,144.00 บาท โดยการตัดหุ้นจดทะเบียนที่ยังไม่ได้ออกจำหน่าย 1,143,695,262 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 4 บาท ก่อนทำการเพิ่มทุนใหม่ให้เป็น 62,533,050,788.00 บาท โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน 1,122,360,661 หุ้น รองรับการปรับสิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ BTS-W5 จำนวนไม่เกิน 22,360,661 หุ้น และ การเสนอขายหุ้น PP จำนวนไม่เกิน 1,100,000,000 หุ้น

โดยบริษัทมีแผนการลงทุนเพื่อขยายกิจการของกลุ่มบริษัทในอนาคตอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มทุนจดทะเบียนของ บริษัทฯ แบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จะช่วยให้บริษัทฯ มีแหล่งเงินทุนที่สามารถใช้ในการรองรับแผนการลงทุนเพื่อขยายกิจการในอนาคตได้อย่างทันกาล โดยบริษัทฯ มีแผนการที่จะนำเงินทุนที่จะได้รับจากการเพิ่มทุนไปใช้ใน การลงทุนในโครงการต่างๆ เพื่อขยายกิจการของบริษัทฯ รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการดำเนินกิจการ

ทั้งนี้ จำนวนเงินที่ใช้ใน การลงทุนดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอน โดยขึ้นอยู่กับโอกาสและความคุ้มค่าของการลงทุนในขณะนั้น ๆ และเมื่อเทียบกับการกู้ยืมเงินแล้วจะไม่ทำให้อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อหุ้น (Earnings per Share) ลดลง

พร้อมกันนั้น จะเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ พิจารณาและอนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นกู้ของบริษัทฯ โดยมีวงเงินรวมกันทั้งสิ้น ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ไม่เกิน 60,000 ล้านบาท (หรือสกุลเงินอื่นในจำนวนเทียบเท่า) ซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการเพิ่มวงเงินการออกหุ้นกู้อีกจำนวน 30,000 ล้านบาท จากวงเงินเดิม ซึ่งที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2559 ของบริษัทฯ ได้อนุมัติไว้จำนวน 30,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการสนับสนุนการลงทุน 

อ่านเพิ่มเติม : ตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย 

]]>
1281646
บัตรเเรบบิท จ่าย “สมาร์ทบัส” ได้เเล้ว ตั้งเป้าปีหน้า 2,000 คัน-เติมเงินผ่านโมบายเเบงกิ้ง https://positioningmag.com/1254884 Tue, 26 Nov 2019 13:18:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254884 บัตรเเรบบิท รุกตลาดรถโดยสารประจำทาง “สมาร์ทบัส” เปิดให้บริการชำระค่าโดยสาร “ไร้เงินสด” ระบบเดียวกันกับบีทีเอส นำร่องสาย 104, 150 ต้นปีหน้าขยายอีก 5 สาย ตั้งเป้าสิ้นปี 2563 ได้ 22 สาย 2,000 คัน พร้อมเปิดระบบเติมเงินผ่านโมบายแบงกิ้งของธนาคาร ไตรมาสเเรกปีหน้า

รัชนี แสนศิลป์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (บีเอสเอส) ผู้ให้บริการบัตรแรบบิท (Rabbit Card) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2562 ที่ผ่านมา บัตรแรบบิท ได้ร่วมมือกับบริษัท สมาร์ทบัส จำกัด ผู้ประกอบการให้บริการรถร่วมบริการ ขสมก. เปิดตัวระบบการชำระค่าโดยสารด้วยบัตรแรบบิทโดยใช้มาตรฐานเดียวกับระบบที่ใช้ในรถไฟฟ้าบีทีเอส

โดยเริ่มทดลองใช้กับ รถสมาร์ทบัสสาย 104 ปากเกร็ด–หมอชิต 2 และสาย 150 ปากเกร็ด–บางกะปิ พร้อมส่วนลด 2 บาท/เที่ยว ตั้งแต่ 19 พ.ย. 62–31 มี.ค. 63 ซึ่งถือว่าเป็นการนำระบบการชำระเงินตามมาตรฐานสากลมาใช้ในรถโดยสารประจำทางสาธารณะในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เเละสามารถใช้กับบัตรเเรบบิทได้ทุกประเภท ได้รับเสียงตอบรับที่ดี เนื่องจากสายที่ทดลองผู้ใช้เป็นนักศึกษาเเละคนทำงานที่ต้องเดินทางมาต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสอยู่เเล้ว เเต่ก็ยังต้องการผู้ใช้ใหม่อีกมาก

นอกจากนี้ยังมีของขวัญปีใหม่มอบให้เเก่ผู้ใช้บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพแรบบิท (Bangkok Bank Rabbit Credit Card) ที่ชำระค่าบริการรถสมาร์ทบัสสายดังกล่าว ด้วยส่วนลด 1 บาทตลอดสาย ในช่วง 1 ธ.ค. 2562- 31 ม.ค.2563 นี้เท่านั้น 

“ภายในไตรมาสแรกของปี 2563 จะมีการติดตั้งเพิ่มในรถสมาร์ทบัสอีก 5 สาย ได้เเก่ สาย 51, 52, 147 , 167 เเละอีกหนึ่งสายที่กำลังจะเปิดบริการเร็วๆ นี้ เเละคาดว่าสิ้นปี 2563 จะสามารถติดตั้งระบบการชำระเงินด้วยบัตรแรบบิทนี้ได้อย่างสมบูรณ์ในรถสมาร์ทบัสสายอื่นๆ อีกราว 22 สาย รวมกว่า 2,000 คัน พร้อมขยายบริการให้สามารถเติมเงินเรียลไทม์เเละขายบัตรเเรบบิทบนรถสมาร์ทบัสได้ด้วย “

สำหรับวิธีการแตะจ่ายบัตรแรบบิท ให้แตะบัตรแรบบิทที่ประตูทางขึ้น (ด้านหน้ารถ) ทุกครั้ง โดยที่บัตรต้องมีเงินคงเหลือไม่น้อยกว่าอัตราค่าโดยสารสูงสุด (25 บาท) เมื่อถึงป้ายรถเมล์ที่ต้องการให้แตะบัตรแรบบิทที่ประตูทางลง ระบบจะคำนวณค่าโดยสารตามระยะทางที่กำหนด คือ 4 กิโลเมตรแรก 15 บาท, 4-16 กิโลเมตร 20 บาท และ 16 กิโลเมตรขึ้นไป 25 บาท หากลืมแตะบัตร ระบบจะหักค่าโดยสารในอัตราสูงสุด

จากการขยายเครือข่ายการชำระค่าโดยสารด้วยบัตรแรบบิทในระบบขนส่งสาธารณะนี้ คาดว่าในปี 2563 จำนวนผู้ใช้บัตรแรบบิทจะเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 8 แสนถึง 1 ล้านคนต่อวัน

พร้อมทั้งอานิสงส์จากการเพิ่มเส้นทางการให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส ในระหว่างปี 2563-2564 ระยะทางจะเพิ่มขึ้นจาก 50 กม. เป็น 170 กม. ซึ่งเส้นทางที่เพิ่มขึ้น คือ สายสีเขียวเหนือ (หมอชิต–คูคต) สายสีเหลือง (ลาดพร้าว–สำโรง) และสายสีชมพู (แคราย–มีนบุรี) ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ใช้งานบัตรแรบบิทเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 1 ล้านคนต่อวัน

“ช่วงต้นปีหน้า บัตรแรบบิทจะเพิ่มความสะดวกสบายในการเติมเงินให้ผู้ใช้ โดยจะพัฒนาให้บัตรแรบบิทสามารถเติมเงินผ่าน โมบายแอปพลิเคชั่นของแรบบิท และผ่านโมบายแบงกิ้งของธนาคารต่างๆ ได้ โดยเบื้องต้นได้ร่วมกับ SCB , BBL เเละ Kbank เเล้ว”

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีการออกบัตรแรบบิทไปแล้วกว่า 13 ล้านใบ โดยเป็นอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด เฉลี่ยปีละกว่า 2 ล้านใบ โดยใช้เดินทางขนส่งสาธารณะได้มากถึง 10 การเดินทาง ครอบคลุมทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ รถบัส และเรือ ในพื้นที่รวม 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม เชียงใหม่ และภูเก็ต รวมถึงการมีร้านค้าพันธมิตรเพิ่มขึ้นมากกว่า 300 ร้านค้า และจุดบริการที่ครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 12,000 จุด

สำหรับผู้ใช้ส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มนักศึกษาไปจนถึงวัยทำงาน ช่วงอายุ 20-35 ปี โดยในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ผู้โดยสารส่วนใหญ่เดินทางด้วยบัตรแรบบิทมากถึง 70% ของจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ย 900,000 เที่ยวคนต่อวัน ส่วนที่เหลือเป็นการใช้งานบัตรโดยสารเที่ยวเดียวประมาณ 29% และบัตรโดยสารประเภทหนึ่งวันประมาณ 1% เเละมีผู้ใช้เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น 5%

 

 

]]>
1254884
กลุ่มซีพี-บีทีเอส ยื่นซองชิงสัมปทานรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน https://positioningmag.com/1196918 Mon, 12 Nov 2018 10:29:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1196918 หลังจากที่วันนี้ (12 ..) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ให้ผู้สนใจยื่นข้อเสนอการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมืองสุวรรณภูมิอู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กมมูลค่า 224,544.36 ล้านบาท 

ปรากฏว่า เวลา 11.11 . กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ที่เกิดจากการร่วมมือระหว่าง บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ บริษัท ซิโนไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ได้เข้ายื่นซองประมูลเป็นกลุ่มแรก

โดยกลุ่ม BSR มาพร้อมเอกสาร 3 กล่องใหญ่ ตามขั้นตอนจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและรับรองเอกสารก่อนปิดผนึก เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาต่อไป

ในช่วงบ่าย เวลา 14.03 . ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) นำทีม ได้เดินทางมายื่นเอกสารการประมูล ในนามกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งและพันธมิตร ประกอบด้วย เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (ประเทศไทย) บมจ. .การช่าง (ประเทศไทย) บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ประเทศไทย) China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

ทั้งนี้ กำหนดยื่นเอสารวันนี้ มีขึ้นระหว่างเวลา 09.00-15.00 .โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหลักประกันซองพร้อมกับซองข้อเสนอมูลค่า 2,000 ล้านบาท

ต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่ .เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท ที่สำนักงานโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ มักกะสัน

และผู้ที่ยื่นเสนอผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้แก่การรถไฟฯ ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา

สำหรับการคัดเลือกจะมีข้อเสนอ 4 ซอง 1. คุณสมบัติ 2. เทคนิค ซึ่งมี 6 หมวดแต่ละหมวดต้องมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 75% และรวมคะแนนทั้งหมดต้องมีไม่น้อยกว่า 80% 3. ด้านการเงิน คัดเลือกผู้ที่ขอรัฐอุดหนุนต่ำที่สุด 4. ข้อเสนอพิเศษ จะเปิดพิจารณาหรือไม่ อยู่ที่การเจรจาต่อรอง.

Source

]]>
1196918