ผู้บริหาร – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 26 Jul 2023 05:26:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 UOB สำรวจพบ 3 ใน 4 ของ “ผู้บริหารไทย” เชื่อมั่นรายได้บริษัทฟื้นตัวปีนี้ แต่ยังต้องแบกต้นทุนเงินเฟ้อ https://positioningmag.com/1438981 Tue, 25 Jul 2023 11:55:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1438981 ผลสำรวจ “ผู้บริหารไทย” โดยธนาคารยูโอบี (UOB) พบว่า 3 ใน 4 เชื่อมั่นว่ารายได้ขององค์กรจะฟื้นตัวได้ในปีนี้ แม้ว่าปัจจัยลบเรื่องต้นทุนที่สูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อจะยังคงมีอยู่ โดยบริษัทที่เชื่อมั่นในเศรษฐกิจปีนี้มากที่สุด ได้แก่ ภาคการผลิต ภาคอสังหาฯ-โรงแรม และธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค

ธนาคารยูโอบี จัดทำรายงาน UOB Business Outlook Study 2023 (SME& Large Enterprises) สำรวจความคิดเห็นและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารไทยเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในปีนี้หลังผ่านสถานการณ์โควิด-19 มา โดยสำรวจทั้งในองค์กรขนาดใหญ่และกลุ่ม SMEs รวมทั้งหมด 530 คน ครอบคลุมอุตสาหกรรม 10 กลุ่มในประเทศไทย

ผลสำรวจพบว่า 76% หรือ 3 ใน 4 ของผู้บริหารเชื่อมั่นว่าผลประกอบการขององค์กรในปี 2566 มีแนวโน้มสูงขึ้น

โดยธุรกิจที่มีความเชื่อมั่นสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจด้านการผลิตและวิศวกรรม (85%) ตามด้วย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการโรงแรม (80%) และ ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค (79%)

74% ของบริษัทที่สำรวจยังเชื่อมั่นด้วยว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะ “ดีขึ้น” และกว่า 90% มั่นใจว่าจะเห็นกำไรฟื้นตัวกลับมาได้ภายในปี 2568

สำหรับเป้าหมายทางธุรกิจของปีนี้ของบริษัทต่างๆ 5 อันดับแรก ได้แก่ การมองหาฐานลูกค้าใหม่  (37%) สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง (35%) ลดรายจ่าย (32%) หาแหล่งรายได้ใหม่ (30%) และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ (29%)

 

“ต้นทุนพุ่ง” จากเงินเฟ้อยังเป็นปัจจัยลบ

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า 90% ของธุรกิจที่สำรวจได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อมาตั้งแต่ปี 2565

61% ของธุรกิจบอกว่าบริษัทของตนมีต้นทุนการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น และ 44% กล่าวว่ากำไรลดลงจากปัญหานี้

อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมีผลจากความขัดแย้งทางการเมืองโดยเฉพาะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ปัจจัยนี้ทำให้บริษัท 2 ใน 5 ที่สำรวจระบุว่าซัพพลายเชนของธุรกิจได้รับผลกระทบ และทำให้ต้นทุนสูง

ถึงแม้ว่าปัจจัยลบเหล่านี้ยังคงอยู่ แต่ 63% ของธุรกิจที่สำรวจยังมองบวกว่า อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยน่าจะถึงจุดสูงสุดแล้ว และน่าจะปรับลดลงได้ภายใน 6 เดือนถึง 2 ปี

กลยุทธ์ธุรกิจ: มองหาการขยายไปต่างประเทศ

ผลสำรวจนี้ยังพบด้วยว่า 90% ของธุรกิจต้องการจะขยายไปยังต่างประเทศภายใน 3 ปี เพื่อทางเพิ่มรายได้ เพิ่มกำไร และสร้างภาพลักษณ์ในระดับนานาชาติ

โดยธุรกิจที่ต้องการขยายไปต่างประเทศมากที่สุดคือ กลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ที่ทำธุรกิจค้าส่งและส่งออก (96%) เป้าหมายหลักที่บริษัทเหล่านี้ต้องการขยายไปคือ สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และจีน อย่างไรก็ตาม มีส่วนหนึ่งเหมือนกันที่สนใจจะขยายไปนอกภูมิภาคเอเชีย (คิดเป็น 1 ใน 3)

ทั้งนี้ ความท้าทายหลักที่ภาคธุรกิจเผชิญเวลาขยายธุรกิจไปต่างประเทศคือ ขาดความรู้ทางกฎหมาย กฎระเบียบ และภาษี รวมถึงขาดพันธมิตรที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ปรับตัวสู่ดิจิทัล ส่วนความยั่งยืน…ยังต้องรอก่อน

เทรนด์การดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้นในโลกและในไทยช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่า บริษัทพร้อมแล้วที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ดำเนินธุรกิจ โดย 92% ของบริษัทไทยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในธุรกิจอย่างน้อย 1 หน่วยงาน ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่มากกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชีย

ธุรกิจมักจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น บริการลูกค้าได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่วน SMEs ไทยส่วนใหญ่จะใช้เพื่อปรับกระบวนการธุรกิจ

ส่วนความสนใจด้านความยั่งยืน 96% ของบริษัทที่สำรวจสนใจแนวทางทางการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน มองว่ากลยุทธ์ด้านความยั่งยืนจะช่วยส่งเสริมชื่อเสียงของบริษัทให้ดีขึ้น ทั้งยังสามารถดึงดูดพนักงานใหม่และนักลงทุน

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจนี้พบว่าแม้ 9 ใน 10 ของธุรกิจไทยจะประกาศเป้าหมายแล้วว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (net zero emission) แต่มีเพียง 51% ที่นำแนวคิดด้านความยั่งยืนมาปฏิบัติอย่างจริงจัง

เหตุที่บริษัทเกือบครึ่งหนึ่งที่สำรวจยังไม่ได้ปฏิบัติจริง 1 ใน 3 ของเหตุผลคือความกังวลว่าแนวปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนจะทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น กระทบต่อกำไรบริษัท

สถานการณ์โควิดที่ผ่านมาเป็นตัวเร่งให้บริษัทในประเทศไทยเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัล และผนึกกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนเพื่อรับมือต่อวิกฤตที่เข้ามา โดยยังสามารถปรับตัวให้ธุรกิจมีผลกำไรและเติบโตไปข้างหน้าท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน บริษัทที่ยังไม่พร้อมนำแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาลมาใช้อาจสูญเสียโอกาสทางธุรกิจได้ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวทิ้งท้าย

]]>
1438981
FutureSkill ผนึกคอร์ส RE-CU เปิดหลักสูตรผู้บริหาร ใช้เทคโนโลยีพัฒนา “อสังหาฯ” ให้ล้ำสมัย https://positioningmag.com/1432692 Wed, 31 May 2023 13:20:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1432692 FutureSkill เปิดตัวหลักสูตรใหม่ “RECU The New Frontier” ที่พัฒนาร่วมกับ RE-CU ดึงผู้บริหาร “อสังหาฯ” เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีพลิกมุมมองการทำธุรกิจ สร้างโครงการและการตลาดที่ล้ำสมัย

ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ ไม่มีใครไม่รู้จักหลักสูตร RE-CU จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเปิดอบรมผู้ประกอบการอสังหาฯ มานาน 40 ปี มีศิษย์เก่าของหลักสูตรมากกว่า 7,000 คน

ขณะที่ FutureSkill เป็นธุรกิจการศึกษายุคใหม่ นอกจากแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์สำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว ยังมีการเปิดหลักสูตรผู้บริหารด้วยเช่นกัน

ล่าสุดทั้งสองหันมาจับมือกันเพื่อพัฒนาหลักสูตรใหม่ “RECU The New Frontier” นำความเชี่ยวชาญของทั้งสองฝั่งมาผนึกกำลังกันเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้บริหารในธุรกิจอสังหาฯ

“รศ.มานพ พงศทัต” ประธานหลักสูตร RE-CU กล่าวว่า ในอดีตธุรกิจอสังหาฯ เป็นการผลิตสิ่งที่เป็นปัจจัยสี่ของชีวิต ทำให้การตลาดไม่ได้ปรับให้ซับซ้อนมากนัก แต่วันนี้แม้แต่ธุรกิจอสังหาฯ เองก็ต้องตามโลกให้ทันและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ เป็นที่มาของหลักสูตร RECU The New Frontier

หลักสูตรนี้มีผู้ร่วมออกแบบหลักสูตรคือ “จิตติพงศ์ เลิศประดิษฐ์” ผู้ก่อตั้งและนายกสมาคม Martech Association – Thailand และ “ดิศรา อุดมเดช” ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Yell Advertising โดยโปรแกรมการเรียนต้องการพัฒนาให้ผู้บริหารอสังหาฯ เล็งเห็นอนาคตที่ล้ำสมัยกว่าเดิมของธุรกิจอสังหาฯ และการใช้เทคโนโลยีช่วยลดต้นทุน จนถึงการสร้างสรรค์การตลาดด้วยเครื่องมือใหม่ๆ

ดิศราอธิบายภาพธุรกิจอสังหาฯ ในไทยว่า ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่เก่งกาจในด้านการออกแบบทางวิศวกรรม แต่ปัจจุบันวิธีขายและทำการตลาดเปลี่ยนไป จากสมัยก่อนที่ออกแบบ ก่อสร้าง และขาย ปัจจุบันอสังหาฯ ยุคใหม่เกิดแนวคิดแบบ ‘Product-Led Growth’ คือ การออกแบบโครงการที่เป็นการตลาดในตัวเองมาตั้งแต่วันแรก ยกตัวอย่างในต่างประเทศ มักจะมีการพัฒนาโครงการที่ล้ำสมัย เป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนวิถีการอยู่อาศัย ใช้จินตนาการผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรม

ขณะที่จิตติพงศ์เสริมว่า ในแง่การทำการตลาดในยุคแห่งดาต้าก็ท้าทายมากกว่าเดิม โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาฯ​ มีความซับซ้อนในการเก็บดาต้า เพราะเป็นสินค้าที่ผู้ตัดสินใจซื้อไม่ได้มีคนเดียว บ้านหนึ่งหลังอาจมีคนร่วมตัดสินใจทั้งคุณพ่อ คุณแม่ และลูกๆ เป็นความท้าทายในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำความเข้าใจ

โปรแกรมการเรียน RECU The New Frontier

นอกจาก RECU The New Frontier แล้ว ปีนี้ FutureSkill ยังเปิดหลักสูตร CMT-Chief Marketing Technologists ต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 3 ด้วย โดยหลักสูตรนี้ต้องการจะสร้างผู้บริหารด้านการตลาดที่มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือ MarTech ทำงาน เพื่อวางกลยุทธ์หรือวิสัยทัศน์บริษัทให้ทันสมัยในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็ว

“โอชวิน จิรโสตติกุล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง FutureSkill แนะนำความสำคัญของการตามให้ทันนวัตกรรม อ้างอิงข้อมูลจาก McKinsey บริษัทที่ปรึกษาที่ได้ศึกษากลุ่มบริษัท S&P 500 และพบว่า บริษัทในกลุ่มนี้ที่ลงทุนด้านนวัตกรรม จะเติบโตได้สูงกว่าตลาด 30%

อีกทั้งในแง่การตลาดยุคใหม่ที่ต้องใช้เครื่องมือ MarTech แต่ปรากฏว่าเครื่องมือประเภทนี้ปัจจุบันมีมากถึง 9,900 ตัวในโลก ทำให้การเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จึงสำคัญ โดยรุ่น 3 ของหลักสูตร CMT จะได้อบรมกับตัวจริงในวงการ เช่น “ณัฐพล ม่วงทำ” เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน “แซม ตันสกุล” กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต, “สุธีรพันธุ์ สักรวัตร” ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ฯลฯ

สำหรับผู้ที่สนใจ หลักสูตร CMT จะเริ่มเรียนวันที่ 17 มิถุนายนนี้ ส่วนหลักสูตร RECU The New Frontier จะเริ่มเรียนวันที่ 1 กันยายน 2566 ติดตามรายละเอียดได้ที่ FutureSkill

 

อ่านบทความอื่นๆ 

]]>
1432692
ผลสำรวจปี 64 เผย ‘ซีอีโอ’ ได้ค่าตอบแทนมากกว่าพนักงานทั่วไป 254 เท่า 85% มาจากโบนัส! https://positioningmag.com/1382092 Wed, 20 Apr 2022 14:53:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382092 ย้อนไปในปี 2019-2020 ที่การระบาดของ COVID-19 ได้เริ่มระบาด ในช่วงปีนั้นค่าตอบแทนของ CEO ลดลงเพียง 1.6%  จาก 15.7 ล้านดอลลาร์เป็น 15.5 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากเหล่าผู้บริหารยอมลดหรือไม่รับเงินเดือนเพื่อพยุงบริษัทจากผลกระทบของการระบาด แต่เพียงปีเดียวช่องว่างของค่าตอบแทน CEO ก็กว้างขึ้นอีกครั้ง

จากปีแรกที่เกิดการระบาดระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ผู้บริหารระดับสูงต้องลดค่าตอบแทนที่ได้ แต่พอสถานการณ์เริ่มกลับมาเป็นปกติ รายได้ก็กลับมามากกว่าที่หายไป โดยจากผลสำรวจของ Equilar 100 พบว่าในปี 2021 CEO จากบริษัทใหญ่ ๆ ทำรายได้มากกว่าพนักงานทั่วไปเฉลี่ย 254 โดยเพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ในปี 2021 ค่าเฉลี่ยของค่าตอบแทน CEO อยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 31% จากปีก่อน โดยปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้ค่าตอบแทนสูงขึ้นเนื่องมากจากโบนัสและรางวัลหุ้นตามผลประกอบการของตลาดและผลิตภาพของบริษัท ซึ่งคิดเป็น 85% ของค่าตอบแทน อีก 15% เป็นเพียงเงินเดือนเท่านั้น

ขณะที่ค่าตอบแทนพนักงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 68,935 ดอลลาร์ในปี 2020 เป็น 71,869 ดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้นประมาณ 4% เท่านั้น โดย Equilar ระบุว่า การเติบโตส่วนหนึ่งมาเกิดจากบริษัทที่เสนอโบนัส แต่ในภาวะเศรษฐกิจที่แพร่ระบาดที่กำลังฟื้นตัว ซึ่งส่งผลให้อุปสงค์ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นและอุปทานแรงงานที่ตึงตัวขึ้น

ช่องว่างที่กว้างขึ้นแสดงให้เห็นว่าผลกำไรขององค์กรอยู่ที่จุดสูงสุด แต่ในขณะที่ คนงานซึ่งหลายคนอยู่ในแนวหน้าของวิกฤตยังไม่ได้รับผลตอบแทน Sarah Anderson ผู้เชี่ยวชาญด้านค่าตอบแทนผู้บริหารของ  สถาบัน Think Thank กล่าว

“ในปี 2564 บริษัทมุ่งเน้นไปที่การรักษาผู้บริหารให้มีความสุขและไม่ต้องกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนงาน แต่ในระยะยาว และแม้ในระยะสั้น มันจะไม่เป็นผลดีต่อผลประกอบการ”

ทั้งนี้ สถาบันนโยบายเศรษฐกิจ ประเมินค่าตอบแทนของ CEO เพิ่มขึ้น 1,322% ตั้งแต่ปี 1978 เทียบกับการเพิ่มขึ้น 18% สำหรับคนทำงานทั่วไปในช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ตาม ที่ค่าจ้างคนงานทั่วไปไม่ได้เพิ่มขึ้นเร็วเท่ากับที่ CEO นั้นมีเหตุผลหลายประการ ทั้งอัตราการว่างงานสูง การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล การพังทลายของสหภาพแรงงาน มาตรฐานแรงงานต่ำ การเพิ่มขึ้นของเงื่อนไขการไม่แข่งขันและการเอาท์ซอร์สในประเทศ

ตามข้อมูลของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ พบว่า ข้อมูลค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นประมาณ 5% ในปีที่แล้ว เป็น 31.58 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง แต่การเติบโตของค่าจ้างดูเหมือนจะชะลอตัวลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ยังคงเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยที่ประมาณ 8.5% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

Source

]]>
1382092
5 บทเรียนจากโลกแห่งการ “กีฬา” สำหรับ “ผู้นำธุรกิจ” https://positioningmag.com/1348029 Mon, 23 Aug 2021 08:22:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348029 โตเกียว โอลิมปิกเพิ่งจบลงไป พาราลิมปิก เกมส์กำลังจะเริ่มขึ้น มหกรรมกีฬาระดับโลกนี้ทำให้เราได้เห็นการแข่งขันของบรรดานักกีฬาที่เคี่ยวกรำตนเองมาอย่างหนัก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในสนามไม่ได้ให้บทเรียนเฉพาะกับนักกีฬาด้วยกันเท่านั้น แต่ยังเป็นข้อมูลสนับสนุนในการทำธุรกิจด้วย

การไปสู่จุดสูงสุดของกีฬา ต้องการทั้งทาเลนต์ วินัย ความมั่นใจ การฝึกซ้อมที่ยอดเยี่ยม และโชคอีกนิดหน่อย หรือมองอีกมุมหนึ่ง สิ่งเหล่านี้ก็คือปัจจัยเดียวกันที่ทำให้คนประสบความสำเร็จในเรื่องต่างๆ รวมถึงเรื่องธุรกิจ จึงไม่น่าแปลกใจที่สาขาวิชาด้านธุรกิจของมหาวิทยาลัยมักจะเก็บดาต้าและแรงบันดาลใจจากในสนามกีฬา เพื่อนำมาปรับใช้กับการบริหารองค์กร

บทความจาก Kellogg Insight ได้รวบรวม 5 บทเรียนของการกีฬาที่ “ผู้นำธุรกิจ” ควรนำมาใช้ ดังนี้

 

1.ยิ่งเป็น “ดาวเด่น” ยิ่งได้โอกาส

ในวงการกีฬา ซูเปอร์สตาร์มักจะได้เป็นตัวเก็งของรายการ แต่ชื่อเสียงของซูเปอร์สตาร์กลายเป็นความสำเร็จจริงๆ มากน้อยแค่ไหน?

Breyden King ศาสตราจารย์ด้านการบริหารองค์กรที่ Kellogg ศึกษาดาต้าจากกีฬาเบสบอล และพบว่า พิชเชอร์ที่เป็นดาวเด่นมักจะได้เปรียบ โดยพิชเชอร์ที่เคยติดทีมออลสตาร์มาแล้ว 5 ครั้ง มีโอกาสสูงกว่าถึง 25% ที่อัมไพร์ (กรรมการ) จะขานลูกสไตรค์ เมื่อเทียบกับพิชเชอร์ที่ไม่เคยติดออลสตาร์เลย และจะได้เปรียบมากที่สุดเมื่อลูกนั้นหมิ่นเหม่ในเส้นขอบของสไตรค์โซน ซึ่งเป็นจุดที่การตัดสินใจของกรรมการมีความไม่แน่นอนสูงยิ่งขึ้น

อคติเอนเอียงไปทางบุคคลที่มีชื่อเสียงมากกว่านั้นเกิดขึ้นในจุดอื่นนอกสนามเบสบอลด้วย

“เมื่อคุณเป็นดาวเด่น ความสำเร็จของคุณจะถูกรับรู้ได้มากกว่า” King อธิบาย “นั่นหมายความว่า คนที่อยู่ในตำแหน่งเหนือกว่า มักจะต่อยอดความสำเร็จขึ้นไปเรื่อยๆ ได้ง่ายกว่า” อคติเพราะการรับรู้ชื่อเสียงเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นกับองค์กรธุรกิจด้วย เช่น เมื่อเกิดคดีความแบ่งแยกกีดกันในการเลือกจ้างงาน บริษัทที่มีชื่อเสียงดีมักจะได้รับการยกประโยชน์ให้จำเลยไปก่อนมากกว่า

บทเรียนสำหรับผู้นำธุรกิจในเรื่องนี้คือ ประโยชน์ที่จับต้องได้ชัดเจนในการหมั่นสร้างชื่อเสียงที่ยอดเยี่ยมของบริษัท

ในขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องเตือนใจสำหรับการบริหารคนในองค์กรด้วยว่า ผู้นำได้ให้ความยุติธรรมกับพนักงานอย่างเท่าเทียมหรือไม่ เพราะคนในองค์กรที่มีชื่อเสียงน้อยกว่าหรือไม่ใช่ดาวเด่น มักจะต้องใช้ความพยายามสูงกว่ามากในการทำงาน

 

2. “ความประทับใจแรก” สำคัญกับทั้งกลุ่ม

เมื่อพูดถึงเรื่องชื่อเสียง ความประทับใจแรกมีบทบาทสำคัญกับเรื่องนี้ แต่ไม่ใช่เฉพาะบุคคลคนเดียวที่ได้ประโยชน์ งานวิจัยพบว่าทั้งกลุ่มจะได้ประโยชน์ร่วมไปด้วย

Rime Toure-Tillery ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการตลาด และทีมวิจัยของเธอ ให้ผู้เข้าร่วมงานวิจัยอ่านบทความเกี่ยวกับนักยิมนาสติก 7 คนในทีมเดียวกันที่จะแข่งขันบนฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ โดยผู้เข้าร่วมจะได้อ่านข้อมูลว่า Emma นักยิมนาสติกคนหนึ่งในทีมนี้มีความสามารถยอดเยี่ยมเป็นพิเศษ และทั้ง 7 คนจะออกทำการแข่งขันเรียงลำดับแบบสุ่ม

นักวิจัยพบความแตกต่างของการเรียงลำดับสองแบบ แบบที่ 1 เมื่อเรียงลำดับให้ Emma ออกแข่งขันเป็นคนแรก ผู้เข้าร่วมมักจะคาดการณ์ว่านักยิมนาสติกที่เหลือจะทำคะแนนได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับแบบที่ 2 เมื่อให้ Emma ออกแข่งขันเป็นคนที่ 4 หรือว่าคนสุดท้ายของกลุ่ม นักยิมนาสติกคนอื่นๆ จะถูกคาดการณ์ว่าได้คะแนนต่ำกว่าแบบแรก

“การให้เครื่องหมายว่าบางสิ่งหรือบางคนเป็น ‘อันดับ 1’ จะมีผลกระทบไม่เพียงแต่กับคนคนนั้น แต่จะมีผลกับการตัดสินของคุณต่อคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนนั้นด้วย” Toure-Tillery กล่าว “แค่บอกว่าบางสิ่งเป็น ‘ที่หนึ่ง’ จะทำให้เกิดความแตกต่างใหญ่หลวง”

สำหรับธุรกิจ การสำนึกรู้ถึงเรื่อง “ลำดับที่หนึ่ง” จะช่วยการดำเนินธุรกิจได้ชัดเจน โดยคุณควรทำให้แน่ใจว่าอะไรก็ตามที่คุณเรียกว่าเป็น “ลำดับที่หนึ่ง” คือจุดที่ดีที่สุดด้วย เช่น แคชเชียร์หมายเลข 1 ควรจะใช้พนักงานที่ดีที่สุดประจำแท่น หรือเมนูที่อยู่ในรายการแรก ก็ควรจะเป็นเมนูที่อร่อยที่สุดของร้าน เพราะเมื่อลูกค้าสัมผัสความประทับใจแรก รู้สึกดีกับสิ่งที่มาเป็นลำดับแรกแล้ว มักจะสร้างความคาดหวังในทางบวกกับสินค้าหรือบริการอื่นๆ ที่จะติดตามมา

 

3.อย่าประเมินคุณค่า “ผู้ชำนาญเฉพาะทาง” ต่ำเกินไป

Steve Kerr ไอคอนแห่งวงการบาสเกตบอล มีเส้นทางอาชีพอันโชติช่วงจากความแพรวพราวของฝีมือ ‘ยิง 3 แต้ม’ แต่ก่อนหน้านั้นหลายปี Kerr เคยถูกมองข้ามมาก่อน เพราะความเร็วและความสูงในการกระโดดของเขาสู้คนอื่นไม่ได้

เป็นไปได้อย่างไร? ผู้ชำนาญเรื่องเฉพาะทางแบบ Kerr นั้นแม้ว่าจะเก่งกาจเป็นพิเศษในบางเรื่อง แต่มักจะถูกตัดสินด้วยมาตรฐานเดียวกันกับคนทั่วไป ซึ่งทำให้เขาเสียเปรียบ

Keith Murninghan ศาสตราจารย์ด้านการบริหารจัดการองค์กรที่ Kellogg ร่วมกับทีมวิจัย ศึกษาดาต้าความสามารถในการแข่งขันและเงินเดือนของนักกีฬาบาสเกตบอล NBA มากกว่า 300 คน และพบว่า กลุ่มนักกีฬาที่เก่งเรื่องยิง 3 แต้ม ไม่ได้รับเงินเดือนจากการประเมินฝีมือยิง 3 แต้มของพวกเขา แต่ถูกประเมินจากความสามารถชู้ต 2 แต้มเหมือนกับคนอื่นๆ ทั้งที่การชู้ต 3 แต้มได้แม่นยำคือความสามารถหลักที่ช่วยทีมได้

ส่วนหนึ่งของปัญหานี้ Murninghan กล่าวว่า เพราะมนุษย์มีแนวโน้มที่จะเปรียบเทียบคนคนหนึ่งกับคนอื่นเสมอ “คุณอยากจะมีทีมนักกีฬาที่เก่งกาจ 5 คน หรือทีมที่มีมือชู้ต 3 แต้มแต่กระโดดไม่ค่อยเก่งและเชื่องช้า 1 คน กับนักกีฬาที่ยอดเยี่ยม 4 คนล่ะ ถ้าเปรียบเทียบกันตัวต่อตัวระหว่างนักกีฬาเก่งกาจ 5 คนนั้นกับมือชู้ต 3 แต้มคนนี้ คนอื่นๆ ก็คงเก่งกว่า แต่เมื่อเล่นเป็นทีม ทีมจะทำได้ดีกว่าเมื่อมีนักกีฬาคนหนึ่งที่สามารถทำสิ่งพิเศษได้”

เรื่องนี้เกิดขึ้นกับที่ทำงานเช่นกัน มีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ศึกษาโฆษณารับสมัครงานในเว็บ Monster และ Careerbuilder และพบว่า แม้แต่ตำแหน่งงานที่ระบุว่าต้องการ “ผู้ชำนาญการ” ด้านใดด้านหนึ่ง แต่ก็ยังระบุว่าต้องการผู้สมัครที่มีทักษะรอบด้านอีกหลายอย่าง แถมยิ่งบริษัทใหญ่เท่าใดก็ยิ่งมีอาการแบบนี้มากเท่านั้น ทั้งที่ควรจะเป็นองค์กรที่สามารถใช้ประโยชน์จากผู้ชำนาญเฉพาะทางเหล่านี้ได้ดีกว่า

 

4.“ทาเลนต์” จำเป็นกับทีม แต่ต้องมี “ทีมเวิร์ก” ด้วย

บางครั้ง แม้แต่ทีมที่เต็มไปด้วยดาวดังก็ยังแพ้ให้กับไก่รองบ่อนได้ ที่จริงแล้วเรื่องนี้เป็นภูมิปัญญายอดนิยมที่รู้กัน คือ ทั้งการมีทาเลนต์และการทำงานเป็นทีมได้คือเส้นทางสู่ความสำเร็จ แต่ปัจจุบันยังไม่มีใครไขออกว่าปัจจัยไหนสำคัญในสัดส่วนมากน้อยแค่ไหน

Brian Uzzi และ Noshir Contractor ศาสตราจารย์ด้านการบริหารจัดการองค์กรที่ Kellogg ศึกษาดาต้าทั้งความสามารถส่วนบุคคลและความสำเร็จของทีมที่พวกเขาอยู่ โดยเก็บข้อมูลทั้งจากกีฬาบาสเกตบอล NBA เบสบอล MLB ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก และคริกเก็ตอินเดียนพรีเมียร์ลีก จนถึงนักกีฬาอีสปอร์ตเกม Defense of the Ancients 2 โดยใช้โมเดลบนคอมพิวเตอร์ประมวลผลเพื่อทำนายว่าใครจะชนะ

และผลจากการประเมินพบว่า การมี “ทาเลนต์” เก่งๆ ในทีมมักจะทำให้ทีมมีแนวโน้มได้ชัยชนะมากกว่า แต่ว่าทีมนั้นจะต้องมี “ทีมเวิร์ก” ด้วย

Uzzi สรุปผลว่า การมีทาเลนต์ระดับท็อปอย่างเดียวไม่ช่วยให้ทีมมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจ จะเห็นได้ว่าบางครั้งบริษัทมีปัญหาเมื่อ “เฟ้นหาแต่ทาเลนต์มาร่วมงาน แต่สุดยอดทาเลนต์นั้นทำงานร่วมกับทีมไม่ได้”

 

5.จะใช้ “ดาต้า” เพื่อตัดสินใจอย่างไร?

ทุกวันนี้ ผู้นำที่เก่งที่สุดต่างใช้ดาต้าทำงาน ส่วนใหญ่ก็เพื่อจะตัดสินใจครั้งสำคัญ

Daryl Morey ผู้จัดการทีมบาสเกตบอล Houston Rockets ซึ่งใช้ดาต้าบริหารทีม กล่าวว่า “คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เผชิญอยู่เป็นเทรนด์ของจริงหรือแค่ฉาบฉวย? คู่ต่อสู้คนหนึ่งฟอร์มดีมากช่วงครึ่งแรก เขาฟอร์มดีเพราะยิงได้ดีจริงๆ และเราต้องเปลี่ยนมาไล่บล็อกเขาหรือยัง หรือเราก็ทำเกมได้ดีอยู่แล้วตามแผน แค่เราไม่มีโชคในช่วงครึ่งแรกก็เท่านั้น และเราควรจะทำตามแผนเดิมต่อไปไหม?” Morey มองว่าคำตอบอยู่ในดาต้า

การเช็กข้อมูลเหล่านี้จะง่ายขึ้นเมื่อผลออกมาเป็นไปตามที่คุณคาดการณ์ไว้หรือเชื่อมั่นว่าจะเป็นอย่างนั้น แต่ถ้าดาต้าไม่ตรงกับความเชื่อเดิมจะทำอย่างไร? ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาเรื่อง “2 for 1” ซึ่งหมายถึงการค้นพบกลยุทธ์ในช่วงท้ายควอเตอร์เมื่อเวลาเหลือน้อย หากเร่งทำแต้มให้เร็ว 2 ครั้ง มีโอกาสได้แต้มมากกว่าหาทางชู้ตครั้งเดียวแบบเน้นๆ

“ในอดีต โค้ชมักจะต้องการชู้ตครั้งเดียวเน้นๆ มากกว่า” Morey กล่าว แต่เขาเคยนำดาต้ากลยุทธ์ที่ว่านี้ไปคุยกับ Jeff Van Gundy หัวหน้าโค้ชของ Houston Rockets ตอนแรก Van Gundy รู้สึกคลางแคลงใจ แต่สุดท้ายก็เห็นด้วยกับ Morey

แล้วเขากระตุ้นให้ผู้เล่นทำแบบนี้ทุกครั้งหรือไม่? Morey บอกว่าไม่ใช่ เพราะว่าความแตกต่างของโอกาสแพ้หรือชนะไม่ได้แตกต่างกันอย่างมากขนาดนั้น

แปลว่าอะไร? เรื่องราวของ 2 for 1 จาก Morey บอกให้เรารู้ว่า คุณไม่ต้องใช้ดาต้าชี้ทิศการตัดสินใจตลอดเวลา แต่คุณควรจะคอยมองหาช่องตลอดเวลาว่าจะใช้ดาต้าตัดสินใจได้ไหม

Source

]]>
1348029
ช่วงวิกฤตโรคระบาด บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลก เลือก “ผู้หญิง” เป็น CEO แค่ 3% https://positioningmag.com/1307259 Mon, 23 Nov 2020 13:09:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307259 วิกฤตโรคระบาด กระทบโครงสร้างเเรงงาน ส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศมากขึ้น ในช่วง COVID-19 บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลก เลือกผู้ชายขึ้นดำรงตำแหน่งซีอีโอมากกว่าผู้หญิง โดยผลสำรวจล่าสุดพบว่า มีผู้หญิงเพียง 3% ที่ได้รับแต่งตั้งเป็น CEO ในบริษัทระดับโลก

Heidrick & Struggles บริษัทจัดหางานระดับผู้บริหารที่ร่วมงานกับธุรกิจยักษ์ใหญ่ทั่วโลก เปิดเผยผลวิเคราะห์การจ้างงานที่น่าสนใจในช่วงวิกฤต COVID-19 ตั้งเเต่เดือนมี..ที่ผ่านมา ระบุว่า มีการจ้างงานผู้หญิงเข้าไปดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ “CEOในบริษัทชั้นนำเพียง 3% เท่านั้น ซึ่งผลการศึกษานี้ไม่ได้พิจารณาปัจจัยด้านเชื้อชาติเเละชาติพันธุ์

ผู้หญิงและกลุ่มที่ด้อยโอกาสอื่น ๆ มีความเสียเปรียบในการเเข่งขันด้านอาชีพและเสี่ยงต่อการว่างงานมากกว่าผู้ชาย ในช่วงการแพร่ระบาด เนื่องจากผู้หญิงทำงานในอุตสาหกรรมหรือสายงานที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มากกว่า อย่างงานในภาคการท่องเที่ยวเเละบริการ

ขณะเดียวกัน ผู้หญิงจำนวนมากต้องเป็นฝ่ายที่ต้องลาออกจากงานในสัดส่วนที่มากกว่าผู้ชาย เพื่อไปทำหน้าที่ดูแลลูกที่อยู่ที่บ้าน ในช่วงล็อกดาวน์ที่ลูกยังไม่สามารถไปโรงเรียนหรือนำไปฝากเลี้ยงตามสถานดูแลเด็กได้

รายงานชิ้นนี้ ระบุถึงสาเหตุที่บริษัทส่วนใหญ่เลือกผู้ชายเข้าไปนั่งเก้าอี้ผู้บริหารระดับสูงในช่วงวิกฤตว่า อาจเป็นเพราะสถานะของผู้ชายที่มีความพร้อมรับงานในฐานะผู้นำบริษัทมากกว่า

ข้อมูลของ Heidrick & Struggles ชี้ให้เห็นว่า ผู้หญิงยังมีสัดส่วนขึ้นเป็นผู้บริหารระดับ CEO น้อยกว่าผู้ชายในอัตราค่อนข้างสูง เมื่อย้อนกลับไปดูในช่วงวิกฤตเเฮมเบอร์เกอร์ ในปี 2008 บริษัทต่างๆ ก็เลือกผู้ชายเข้าไปทำหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงมากกว่า เเต่หลังจากนั้นผู้หญิงก็เริ่มมีเเนวโน้มได้ขึ้นเป็นผู้บริหารมากขึ้น จนกระทั่งมาเจอวิกฤต COVID-19

ก่อนหน้านี้ ทางการสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลเเรงงานเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา พบว่า ผู้หญิงชาวอเมริกันต้อง “ออกจากงาน” มากกว่าผู้ชายถึง 8 เท่า โดยมีผู้หญิงต้องออกจากงาน 617,000 คน ครึ่งหนึ่งอยู่ในช่วงอายุ 35-44 ปี ขณะที่มีผู้ชายออกจากงานเพียง 78,000 คน

เเม้ตอนนี้อัตราการว่างงานสหรัฐฯ จะลดลงเเล้วหลังคลายล็อกดาวน์ เเต่อัตราว่างงานของผู้หญิงทั้งประเทศอยู่ที่ 8% โดยเฉพาะผู้หญิงผิวสีเเละผู้หญิง Hispanic American (คนอเมริกันเชื้อสายเปอร์โตริโก อเมริกากลาง อเมริกาใต้ยิ่งมีอัตราว่างงานเพิ่มสูงมากขึ้นไปอีก

โดยปัญหาใหญ่ที่ตามมาในระบบโครงสร้างเเรงงาน คือ เเม้สถานการณ์โรคระบาดจะคลี่คลายมากขึ้น เเต่ผู้หญิงจำนวนมากที่ออกมาดูเเลบ้าน ไม่สามารถกลับเข้าไปสู่ “ตลาดเเรงงาน” อีกครั้งได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่น่าเป็นห่วงอย่างพ่อเเม่ “เลี้ยงเดี่ยว” ที่ต้องเเบกภาระค่าใช้จ่ายสูง เเละจะต้องดิ้นรนในภาวะเศรษฐกิจย่ำเเย่

 

ที่มา : Bloomberg

]]>
1307259
“สหภาพการบินไทย” เสนอลดจำนวนผู้บริหาร เพราะมีมากเกินความจำเป็น หวังช่วยลดขาดทุน https://positioningmag.com/1268665 Tue, 17 Mar 2020 15:22:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1268665 สหภาพการบินไทย ออกแถลงการณ์ลดจำนวนรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้อำนวยการใหญ่ ที่มีมากเกินความจำเป็น รวมถึงตัดค่าน้ำมันรถ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายบริษัทฯในช่วงที่การเงินขาดสภาพคล่อง จากปัญหา COVID-19 เตรียมยื่นบอร์ด-คมนาคม-คลัง และ คนร.พิจารณา

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย โดยนายนเรศ ผึ้งแย้ม ประธานสหภาพการบินไทยฯ ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 5 เรื่องขอให้ยกเลิก ปรับลดบางตำแหน่ง และตัดค่าใช้จ่ายของฝ่ายบริหาร โดยระบุว่า เนื่องจากที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างหนักจากการระบาดของโรค COVID-19

เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายให้บริษัทฯ ในภาวะวิกฤตขณะนี้ สหภาพแรงงานฯ จะทำเรื่องถึงคณะกรรมการบริษัท กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ให้พิจารณาออกคำสั่งยกเลิกตำแหน่ง EVP สรรหา ปรับลดจำนวน EVP และ VP ของบริษัทๆ ซึ่งมีจำนวนมากเกินความจำเป็น

นอกจากนี้จะขอให้ผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาสั่งตัด ค่าน้ำมันรถ และรายจ่ายอื่นๆ ของ EVP และ VP ทุกตำแหน่ง จึงขอแจ้งแผนดำเนินการของสหภาพฯ ถึงสมาชิกและพนักงานการบินไทยให้ได้รับทราบโดยทั่วกัน

แหล่งข่าวจากการบินไทยกล่าวว่า ปัจจุบันการบินไทยมีผู้บริหารในระดับ EVP หรือรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ จำนวน 6 คน หากเป็นตำแหน่งที่เปิดสรรหาจากบุคคลภายนอกเป็นสัญญาจ้างจะได้รับค่าจ้างเดือนละเกือบ 1 ล้านบาท หากเป็นรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ที่เป็นพนักงาน เงินเดือนอยู่ที่ประมาณ 2-3 แสนบาท ส่วนผู้บริหารระดับผู้อำนวยการใหญ่ (VP) มีเกือบ 40 คน

Source

]]>
1268665
ต้อง follow! 8 บัญชี CMO แบรนด์ดังบน Twitter ห้ามพลาด https://positioningmag.com/1198439 Tue, 20 Nov 2018 04:55:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1198439 เปิดทำเนียบ 8 บัญชีหัวหน้าทีมการตลาด 8 แบรนด์ดังที่น่าติดตามบน Twitter เหตุผลสำคัญคือผู้บริหารเหล่านี้เข้าใจแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียแบบลึกซึ้ง ทำให้มีการสนทนาเกิดขึ้นจริง พร้อมกับการแชร์ข้อมูลที่มีประโยชน์น่าสนใจ ถือเป็น 8 บัญชีทองที่ชาวการตลาดสาวก Twitter ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

1. Keith Weed, Unilever

ชื่อบัญชี Twitter : @keithweed

ผู้ติดตาม: 27,401

ไม่น่าแปลกใจเลยที่สื่อการตลาดอย่าง MarketingDive ยกให้ Keith Weed เป็น 1 ในผู้นำด้านการตลาดที่น่าสนใจมากที่สุดบน Twitter สุดยอดแม่ทัพด้านการตลาดของ Unilever ถูกมองว่าเป็นชาว Twitter หรือ Twitter native ซึ่งใช้งาน Twitter เพื่อแบ่งปันข่าวสารน่าสนใจเป็นประจำทุกวัน

นอกจากข่าว ซีเอ็มโอรายนี้ยังแชร์ข้อความจากอีเวนต์หรืองานประชุมสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการตลาดด้วย โดยข่าวสารล่าสุดที่ Keith Weed แชร์นั้นมีความหลากหลายตั้งแต่เรื่องราวเกี่ยวกับพันธกิจด้านสังคม หรือ social initiatives ของ Unilever ไปจนถึงเรื่องราวน่าทึ่งในบ้านตัวเอง

2. Diana O’Brien, Deloitte

ชื่อบัญชี Twitter : @DianaMOBrien

ผู้ติดตาม: 41,430

CMO ของเครือข่ายบริการที่ปรึกษาของเหล่ามือโปรขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ระบุว่าเธอกำลังปฏิบัติภารกิจเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้เจริญก้าวหน้าดังนั้นข้อความและเนื้อหาที่เธอจัดมาให้บน Twitter จึงอุดมด้วยคำแนะนำด้านการตลาด และการจัดการแก่ผู้บริหารแทบทุกระดับ

ข้อมูลเหล่านี้สามารถกระตุ้นและสนับสนุนทุกคนที่ต้องการแนวทางสู่ความสำเร็จ และเนื้อหาส่วนใหญ่ถูกใจ Twitter เพราะไม่น่าเบื่อ เช่นข้อความสร้างแรงบันดาลใจที่ทำให้มีการส่งต่อหลายครั้งบน Twitter

3. Antonio J Lucio, Facebook

ชื่อบัญชี Twitter : @ajlucio5

ผู้ติดตาม: 39,729

แม้แต่คู่แข่งอย่าง Facebook ก็ยังมองว่า Twitter เป็นแพลตฟอร์มทรงคุณค่าสำหรับการสนทนาและการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่เคยมีข่าวว่า Facebook เคยคิดจะซื้อกิจการ Twitter ในช่วงก่อนหน้านี้

สำหรับ Lucio แม้จะเป็นผู้บริหารที่เพิ่งเข้าร่วมงานกับ Facebook (จากสังกัดเก่าคือ HP) แต่สิ่งที่ Lucio เผยแพร่ผ่านบัญชี Twitter นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับ FB โดยตรง จุดนี้สะท้อนว่า Lucio เข้าใจความสามารถของ Twitter ว่าสามารถเป็นได้มากกว่าโทรโข่งบอกข่าวสาร ทำให้ชาว Twitter เป็นผู้บริหารรายนี้บอกเล่าข่าวสารน่าสนใจของแบรนด์อื่นอยู่บ่อยครั้ง

4. Marisa Thalberg, Taco Bell

ชื่อบัญชี Twitter : @ExecutiveMoms

ผู้ติดตาม: 17,359

สื่ออเมริกันชี้ว่า Thalberg มีสิทธิ์ในการจัดการบัญชี Twitter ของตัวเองอย่างเต็มที่ โดยเจ้าของบัญชี “Executive Moms” มีดีกรีเป็นหัวเรือใหญ่ผู้ดูการตลาดของบริษัทในเครือ Yum! Brands ซึ่งไม่เพียงข่าวของ Taco Bell ความเห็นทางการเมือง หรือมุมมองส่วนตัวของเธอก็ถูกแสดงผ่าน Twitter อย่างมีสีสัน

5. Philip Schiller, Apple

ชื่อบัญชี Twitter : @pschiller

ผู้ติดตาม: 239,568

 จุดหนึ่ง Philip Schiller เคยถูกรายงานว่าเป็น CMO ที่ได้รับค่าตอบแทนสูงสุดในโลก ปริมาณการติดตามของ @pschiller ถือว่าเกิดขึ้นเพราะทุกคนอยากรับทราบข้อมูลจาก Apple โดยตรง ซึ่ง Philip Schiller ก็ไม่ทำให้ผิดหวังเพราะมีการบอกความเป็นไปของบริษัทเป็นครั้งคราว

6. Linda Boff, GE

ชื่อบัญชี Twitter : @lindaboff

ผู้ติดตาม: 13,828

Boff ไม่ได้เป็นเพียง CMO ของ GE เท่านั้น แต่เธอยังเป็นผู้นำอุตสาหกรรมโฆษณา ด้วยการเป็นประธานคณะกรรมการบริหารของสมาคม Ad Council ซึ่งบน Twitter ข้อมูลน่าสนใจมากมายเกี่ยวกับโลกการตลาด รวมถึงข่าวจาก GE จึงทำให้ @ lindaboff โดดเด่นไม่น้อย ซึ่งบางครั้งมีการแนะนำหนังสือที่หลายคนยกย่องว่าเป็นคำแนะนำคุณภาพ

7. Karen Walker, Cisco

ชื่อบัญชี Twitter : @KarMWalker

ผู้ติดตาม: 11,440

สื่ออเมริกันชี้ว่า Karen Walker เป็นส่วนหนึ่งของการสนทนาใน Twitter เสมอ มีทั้งการแบ่งปันข่าวและมุมมองจากหลากหลายแหล่งข่าว และในขณะที่มีการอัปเดตเกี่ยวกับโครงการล่าสุดของ Cisco ฟีดข่าวของเธอจะไม่กลายเป็นเครื่องมือโปรโมตที่น่าเบื่อ ทำให้ไม่มีใครยกเลิกการติดตามหรือ unfollow อย่างรวดเร็ว

8. Raja Rajamannar, Mastercard

ชื่อบัญชี Twitter: @RajaRajamannar

ผู้ติดตาม: 5,831

Raja Rajamannar ของ Mastercard ถือเป็น CMO ที่มีอิทธิพลและเป็นแหล่งข้อมูลที่แม่นยำอินไซต์ระดับท็อปบน Twitter แม้ว่า CMO รายนี้จะไม่ได้โพสต์เรื่องราวใหม่ตลอดเวลา แต่ฟีดข้อมูลของเขาเต็มไปด้วยข่าวใหญ่น่าสนใจในโลกของการตลาด

ทั้ง 8 บัญชี CMO น่าติดตามบน Twitter นี้ถือเป็นอีกมุมที่จะทำให้การใช้งาน Twitter ของชาวโซเชียลมีความหลากหลายมากขึ้น จากที่เป็นแหล่งพูดคุยประเด็นการเมือง เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมอื่นอีกนับไม่ถ้วน

ในมุมการตลาด Twitter เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักการตลาดที่ไม่ใช่เพียงเพื่อเชื่อมต่อกับสังคมเท่านั้น แต่ยังเป็นช่องทางสร้างชื่อเสียงและอิทธิพล รวมถึงการรักษาความประทับใจต่อแบรนด์ ด้วยการสร้างบทสนทนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค แน่นอนว่าบัญชีของ CMO ทั้ง 8 จะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับนักการตลาดทุกคนที่ต้องการสร้างอิทธิพลให้กับตัวเองและแบรนด์

แม้ว่าจะมีการถกเถียงร้อนแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ Twitter ยังคงเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับการติดตามข่าวสารและเหตุการณ์เรียลไทม์ โดย Twitter สามารถเชื่อมต่อกับผู้คนโดยตรงมากกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก บนจำนวนผู้ใช้งานต่อวันที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง.

ที่มาhttps://www.marketingdive.com/news/8-cmos-with-must-follow-twitter-accounts/541570/

]]>
1198439