ผู้อพยพลี้ภัย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 06 May 2021 06:22:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สหรัฐฯ เพิ่มโควต้ารับ ‘ผู้ลี้ภัย’ ขึ้น 4 เท่าเป็น 62,500 คนในปีนี้ ตั้งเป้า 1.25 เเสนคนในปีหน้า https://positioningmag.com/1330629 Thu, 06 May 2021 05:41:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330629 ‘ไบเดน’ ล้างข้อจำกัดรับผู้ลี้ภัยในยุคทรัมป์ ประกาศเพิ่มโควต้าขึ้น 4 เท่าเป็น 62,500 คน ในปีนี้ ตั้งเป้า 1.25 เเสนคนในปีหน้า

หลังจากที่นโยบายรับผู้ลี้ภัยถูกกีดกันอย่างหนักในสมัยของโดนัลด์ ทรัมป์ เเต่ในสมัยของโจ ไบเดนประธานาธิบดีสหรัฐคนล่าสุด ก็เริ่มเห็นสัญญาณดีขึ้นอีกครั้ง

โดยไบเดน ได้ประกาศเพิ่มจำนวนการรับผู้ลี้ภัยเข้าสหรัฐฯ สูงสุดเป็น 62,500 คนต่อปี หลังจากที่ก่อนหน้านี้อดีตประธานาธิบดีทรัมป์ ตั้งเพดานการรับผู้ลี้ภัยไว้ที่สูงสุดเเค่ 15,000 คนต่อปี น้อยกว่าสมัยของบารัก โอบามาที่เปิดโควต้ารับผู้ลี้ภัยสูงถึง 1.1 แสนคนต่อปี

นี่จะเป็นการลบล้างการรับผู้ลี้ภัยที่ต่ำสุดในประวัติศาสตร์ 15,000 คน ที่กำหนดโดยคณะบริหารชุดก่อน ซึ่งไม่ได้สะท้อนถึงค่านิยมของอเมริกา ในฐานะชาติที่ยินดีต้อนรับและสนับสนุนผู้ลี้ภัย ไบเดนระบุ

เป้าหมายนี้ยังมีอุปสรรคหลายประการ ต้องใช้เวลาเเละอาจจะไม่สามารถบรรลุได้ในปีแรก เเต่ไบเดนยืนยันว่า คณะทำงานจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างรวดเร็ว เพื่อแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

โดยจะพยายามใช้เครื่องมือทุกอย่างที่มีอยู่ เพื่อช่วยให้ผู้ลี้ภัยที่ได้รับการตรวจสอบ ให้หนีพ้นจากสภาพเเวดล้อมที่น่ากลัวในบ้านเกิดได้

(Photo by Chip Somodevilla/Getty Images)

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตั้งเป้าว่าจะสามารถขยายโควต้าการรับผู้ลี้ภัยเพิ่มเป็นได้เป็น 1.25 แสนคนต่อปี ในปีงบประมาณ 2022

ทั้งนี้ ปีงบประมาณปัจจุบัน ซึ่งเริ่มมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา มีผู้ลี้ภัยเพียง 2,000 กว่าคนเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ย้ายถิ่นฐานในอเมริกา

โครงการนี้จะเปิดรับผู้ลี้ภัยที่ได้รับการคัดเลือกเเละตรวจสอบอย่างละเอียดจากสำนักงานความมั่นคงของสหรัฐฯ และหน่วยข่าวกรองจากค่ายขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วโลก

สำหรับแผนงานปัจจุบันภายใต้การนำของโจ ไบเดนนั้น สหรัฐฯ จะรับผู้ลี้ภัยจากแอฟริการาว  22,000 คน จากเอเชียตะวันออก 6,000 คน จากยุโรปและเอเชียกลาง 4,000 คน จากละตินอเมริกาและเเถบแคริบเบียน 5,000 คน และจากเอเชียใต้อีก 13,000 คน นอกจากนี้ ยังมีโซนที่ยังรอการจัดสรรอีกราว 12,500 คน

อย่างไรก็ตาม หลังรับตำเเหน่งมาเกิน 100 วัน ไบเดนมีคะแนนนิยมต่ำสุดจากการสำรวจความคิดเห็นเรื่องการจัดการปัญหาการอพยพโดยเฉพาะปัญหาในชายแดนสหรัฐฯเม็กซิโก เเละชาวอเมริกันบางส่วนเห็นว่า การลดจำนวนคนการรับผู้ลี้ภัยในสหรัฐฯ การจัดการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย เป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ รัฐยังต้องจัดการปัญหาการเกลียดกลัวคนต่างชาติเเละเหยียดเชื้อชาติ (xenophobic and racist) ต่างๆ ด้วย

 

 

ที่มา : BBC , Reuters , theguardian

]]>
1330629
โบกมือลาบ้านเกิด! นักเรียน “ฮ่องกง” แห่เรียนต่อมหา’ลัยออสเตรเลีย หนีกฎหมายความมั่นคง https://positioningmag.com/1290381 Fri, 31 Jul 2020 08:18:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290381 แม้นักเรียนชาติอื่นๆ จะสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยของออสเตรเลียลดลงฮวบฮาบ เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แต่จำนวนนักเรียนจากฮ่องกงกลับเพิ่มขึ้น 16% เพื่อแสวงหาโอกาสย้ายประเทศถาวร หลีกหนีกฎหมายความมั่นคงและการควบคุมของรัฐบาลจีน

Reuters รายงานข้อมูลจากรัฐบาลออสเตรเลีย แสดงตัวเลขจำนวนชาวฮ่องกงที่สมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยออสเตรเลียพุ่งสูงที่สุดในรอบ 3 ปี โดยที่เพิ่งจะผ่านพ้นครึ่งปีแรกของปี 2020 เท่านั้น ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่น่ากังวลของฮ่องกง หลังรัฐบาลจีนเริ่มบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแล้ว

จำนวนนักเรียนฮ่องกงสมัครเข้าเรียนต่อที่ออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 16% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน สวนทางกับนักเรียนสัญชาติอื่นๆ ในโลกซึ่งสมัครเรียนต่อที่ออสเตรเลียลดลงมาก เนื่องจากโรคระบาด COVID-19 ทำให้นักเรียนจำนวนมากเลื่อนแผนการเรียนต่อต่างประเทศไปก่อน

ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนี้ เชื่อว่าเกิดขึ้นจากความหวั่นเกรงต่ออนาคตความเป็นอยู่ของเยาวชนฮ่องกง ภายใต้การปกครองของรัฐบาลจีน

ขณะที่ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ได้รับความนิยมอันดับ 3 ในการเรียนต่อระดับอุดมศึกษาต่างประเทศ รองจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ อีกทั้งออสเตรเลียยังเพิ่งจะออกประกาศนโยบายต่อวีซ่าให้อีก 5 ปีทันทีสำหรับนักเรียนฮ่องกงที่เข้ามาเรียนต่ออุดมศึกษาในประเทศ พร้อมสิทธิยื่นขอเป็นผู้พำนักถาวร (PR) หลังหมดช่วงต่อวีซ่า 5 ปี ทำให้ออสเตรเลียเป็นประเทศยอดฮิตในการ “ย้ายถิ่นฐาน” ของคนฮ่องกง

“เราเห็นการขอวีซ่าของนักเรียนฮ่องกงและผู้พำนักอาศัยในฮ่องกงเติบโตอย่างรวดเร็วทันทีที่รัฐบาลประกาศนโยบายดังกล่าว” ไซมอน เดอ เวียร์ ผู้อำนวยการศูนย์ผู้อพยพสากล Stirling Henry กล่าว

ภาคธุรกิจการศึกษาของออสเตรเลียถือเป็นตลาดบริการใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ รองจากธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจนี้สามารถสร้างมูลค่าให้ประเทศถึงปีละ 3.7 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 8.32 แสนล้านบาท) แต่ธุรกิจนี้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโรคระบาด COVID-19 โดยกลุ่มมหาวิทยาลัยประเมินว่าธุรกิจของพวกเขาน่าจะสูญรายได้ 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 3.6 แสนล้านบาท) ในช่วงปีนี้จนถึงปี 2023

ส่วนกลุ่มนักเรียนที่ชะลอการเรียนต่อที่ออสเตรเลียมากที่สุดก็คือนักเรียนจากจีนแผ่นดินใหญ่ โดยมีการสมัครเข้าเรียนต่อต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2012 เทียบเฉพาะช่วงครึ่งปีแรก

Source

]]>
1290381
เอาด้วย! “ออสเตรเลีย” อ้าแขนต้อนรับผู้อพยพ “ฮ่องกง” กลุ่มทักษะสูง-นักเรียน-นักธุรกิจ https://positioningmag.com/1287879 Wed, 15 Jul 2020 10:37:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287879 ออสเตรเลีย อ้าแขนต้อนรับบุคคลกลุ่ม “ทาเลนต์” ที่มีความสามารถสูง กลุ่มนักเรียน นักธุรกิจ ที่ต้องการอพยพจากฮ่องกง สามารถเข้ามาลี้ภัยในออสเตรเลียได้ โดยสอดคล้องกับนโยบายที่ออสเตรเลียมีอยู่แล้วคือการค้นหาบุคคลกลุ่มทาเลนต์จากทั่วโลก ให้เข้ามาทำงานและช่วยพัฒนาเศรษฐกิจออสเตรเลีย

รัฐบาลออสเตรเลียประกาศเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า จะให้การช่วยเหลือประชาชนบนเกาะฮ่องกงที่ต้องการลี้ภัยออกจากเกาะ เนื่องจากรัฐบาลปักกิ่งประกาศบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงของรัฐฉบับใหม่เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2020 โดยออสเตรเลียเป็นดินแดนแห่งที่สามที่ประกาศต้อนรับผู้ลี้ภัยชาวฮ่องกงต่อจากไต้หวันและสหราชอาณาจักร

“ออสเตรเลียเป็นประเทศแห่งผู้อพยพ และเรายังคงตามหา ‘ทาเลนต์’ จากทั่วโลก” อลัน ทัดจ์ รัฐมนตรีกระทรวงโครงสร้างพื้นฐานของเมืองและประชากร ประเทศออสเตรเลีย กล่าวกับสำนักข่าว CNBC

ข้อกำหนดของออสเตรเลียคือ ชาวฮ่องกงที่มีทักษะอาชีพและบัณฑิตจบใหม่ที่ถือวีซ่าชั่วคราวออสเตรเลีย จะได้รับการต่อวีซ่าออกไปอีก 5 ปี ซึ่งจะปูทางให้บุคคลเหล่านั้น “มีสิทธิเป็นผู้พำนักถาวร (PR)” หลังจากสิ้นสุดการถือวีซ่า 5 ปีดังกล่าว

เหตุที่ออสเตรเลียต้องการกลุ่มทาเลนต์จากทั่วโลก ทัดจ์ระบุว่า เป็นเพราะออสเตรเลียเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนนับแสนคนต้องตกงาน และประชาชนต้องการให้รัฐบาลออกนโยบายมุ่งเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้คนมีงานทำอีกครั้ง ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องการแรงงานที่มีทักษะเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศ

ในกรณีฮ่องกง ออสเตรเลียจะเน้นให้สิทธิกับ นักเรียนนักศึกษา และ บุคคลที่มีความสามารถหรือ ‘ทาเลนต์’ อย่างสูง รวมถึง บริษัทที่ต้องการย้ายสำนักงานใหญ่ออกจากฮ่องกง เพื่อให้เขาเหล่านั้นมาช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างเศรษฐกิจแก่แดนจิงโจ้

การประท้วงในฮ่องกงเมื่อปี 2019

สำหรับกลุ่มธุรกิจ ทัดจ์กล่าวว่ากลุ่มบริษัทประเภทบริการทางการเงิน บริษัทที่ปรึกษา และบริษัทสื่อ คือกลุ่มที่กำลังมองหาโลเคชันใหม่ในการย้ายสำนักงาน และออสเตรเลียต้องการสร้างแรงดึงดูดใจให้บริษัทที่จะย้ายฐานเข้ามาที่นี่ ดังนั้นการให้วีซ่าระยะยาวและสิทธิที่จะได้เป็นผู้พำนักถาวรในอนาคตจึงสำคัญยิ่ง เพราะทำให้พนักงานระดับสูงของบริษัทสามารถย้ายมาทำงานที่ออสเตรเลียได้

ส่วนเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีซึ่งสำคัญมากกับกลุ่มธุรกิจ ทัดจ์กล่าวว่าจะมี “การจัดการทางการเงินให้เป็นพิเศษ” เพื่อเสนอแก่กลุ่มธุรกิจส่วนตัวที่ต้องการย้ายเข้ามา ทั้งนี้ ปัจจุบัน ภาษีนิติบุคคลของฮ่องกงอยู่ที่ 16.5% แต่ภาษีนิติบุคคลของออสเตรเลียสามารถขึ้นไปสูงสุดถึง 30% ดังนั้น นี่อาจจะเป็นข้อด้อยที่ทำให้ออสเตรเลียไม่ใช่ตัวเลือกได้

ความเป็นไปได้ที่ชาวฮ่องกงและธุรกิจฮ่องกงจะย้ายออกจากเกาะนั้น เป็นเพราะการคืนเกาะฮ่องกงจากสหราชอาณาจักรกลับไปให้จีนเมื่อปี 1997 แต่ชาวฮ่องกงต้องการเสรีภาพแยกจากจีนแผ่นดินใหญ่ ด้วยระบบเศรษฐกิจและกฎหมายที่แยกจากกันชัดเจน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลปักกิ่งมีนโยบาย “จีนเดียว” ซึ่งจะบีบให้ฮ่องกงต้องเป็นดินแดนหนึ่งที่ใช้ระบบกฎหมายเดียวกันกับจีน และไม่มีการเลือกตั้งตามหลักประชาธิปไตย

แรงกดดันจากปักกิ่งทำให้ชาวฮ่องกงประท้วงมานานหลายเดือน แต่รัฐบาลจีนยังคงตั้งมั่นในนโยบาย โดยล่าสุดเพิ่งออก กฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ ดังกล่าว ระบุให้ 4 การกระทำเหล่านี้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ได้แก่ การล้มล้างการปกครอง, แบ่งแยกดินแดน, ก่อการร้าย และสมคบคิดกับกองกำลังต่างชาติก่ออันตรายแก่ความมั่นคงแห่งชาติ โทษของกฎหมายร้ายแรงมากโดยมีโทษจำคุกขั้นต่ำ 10 ปีจนถึงจำคุกตลอดชีวิต รวมถึงศาลมีสิทธิให้พิจารณาโดยทางลับ ไม่มีคณะลูกขุน และไม่เปิดเผยต่อสาธารณะจนกว่าการตัดสินจะสิ้นสุด

เป็นหมุดหมายสำคัญของข้อพิพาทระหว่างจีนกับฮ่องกง ที่น่าจะส่งแรงกระเพื่อมให้ชาวฮ่องกงบางกลุ่มตัดสินใจย้ายถิ่นฐานจากบ้านเกิดไปสู่อิสระเสรี

Source

]]>
1287879