ผ้าอ้อม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 27 Mar 2024 07:23:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อัตราเกิดทรุดฮวบ! กระทบบริษัทใหญ่ในญี่ปุ่นเลิกผลิตไลน์สินค้า “ผ้าอ้อมเด็ก” หันมาผลิตแต่ “ผ้าอ้อมผู้ใหญ่” https://positioningmag.com/1467878 Wed, 27 Mar 2024 07:01:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1467878 “Oji Nepia” บริษัทผู้ผลิตสินค้าผ้าอ้อมสำเร็จรูปในญี่ปุ่น ประกาศยกเลิกการผลิตสินค้าประเภท “ผ้าอ้อมเด็ก” หันมาผลิตเฉพาะ “ผ้าอ้อมผู้ใหญ่” เท่านั้น หลังจากอัตราการเกิดในญี่ปุ่นทรุดเร็วกว่าที่คาด โดยเมื่อปี 2023 มีเด็กทารกเกิดใหม่เพียง 758,631 คน และสังคมญี่ปุ่นกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ

Oji Nepia บริษัทลูกของเครือธุรกิจ Oji Holdings ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสินค้า “ผ้าอ้อมสำเร็จรูป” รายใหญ่ของญี่ปุ่น ประกาศเมื่อวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมาว่า โรงงานภายในประเทศของบริษัทจะ “เลิกผลิต” สินค้าประเภท “ผ้าอ้อมเด็ก” ตั้งแต่เดือนกันยายน 2024

การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้บริษัทยกเลิกแบรนด์สินค้า Whito และ Genki! ของบริษัทไปด้วย ซึ่งบริษัทตัดสินใจเช่นนี้เพราะดีมานด์ที่ลดลงอย่างมาก เทียบกับเมื่อปี 2001 บริษัทสามารถขายผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูปได้ปีละ 700 ล้านชิ้น แต่เมื่อปี 2023 ตัวเลขนี้ลดเหลือเพียง 400 ล้านชิ้นต่อปีเท่านั้น

ตัวเลขยอดขายผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูปมีแนวโน้มจะลดลงอีกในอนาคต เพราะจากสถิติที่ประกาศโดยรัฐบาลญี่ปุ่นพบว่าปี 2023 มีเด็กทารกเกิดใหม่เพียง 758,631 คน เป็นสถิติที่ต่ำที่สุดที่เคยมีมา ซึ่งตัวเลขนี้ถือว่าผิดไปจากที่คาดอีกด้วย เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นเคยประเมินว่าจำนวนทารกเกิดใหม่จะไม่ร่วงลงมาต่ำกว่า 800,000 คนต่อปีจนกว่าจะถึงปี 2030

ฝั่งทารกเกิดใหม่น้อยกว่าจำนวนผู้เสียชีวิต โดยปีที่แล้วมีประชากรชาวญี่ปุ่นเสียชีวิต 1.59 ล้านคน และเมื่อย้อนไปถึงปี 2022 พบว่าประชากรญี่ปุ่นที่มีอายุไม่เกิน 15 ปีนั้นมีเพียง 12% ของประชากรรวม ขณะที่คนญี่ปุ่นที่อายุ 65 ปีขึ้นไปกลับคิดเป็นเกือบ 30% ของประชากร

เมื่อเป็นเช่นนี้ แทนที่จะผลิตสินค้าตอบสนองกลุ่มทารก Oji จึงเปลี่ยนมาโฟกัสการผลิตสินค้าให้ตอบโจทย์โครงสร้างประชากรของญี่ปุ่นแทน นั่นคือการผลิต “ผ้าอ้อมผู้ใหญ่” ซึ่งน่าจะมีดีมานด์เติบโตขึ้นเรื่อยๆ

Oji แจ้งอีกด้วยว่า การหยุดผลิตสินค้าผ้าอ้อมเด็กจะหยุดเฉพาะในโรงงานที่ญี่ปุ่นเท่านั้น ส่วนโรงงานที่บริษัทมีในต่างประเทศ​คือ มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย จะยังคงผลิตผ้าอ้อมเด็กต่อไป รวมถึงจะผลักดันยอดขายผ้าอ้อมเด็กในต่างประเทศมากขึ้นด้วย

จากอัตราการเกิดที่ลดลงของญี่ปุ่น ทำให้จำนวนประชากรญี่ปุ่นที่เคยขึ้นไปสูงสุด 128.1 ล้านคนเมื่อปี 2010 ปัจจุบันลดลงมาเหลือ 125 ล้านคนเท่านั้น และมีการคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรจะลดจนเหลือเพียง 88 ล้านคนภายในปี 2065

แน่นอนว่ารัฐบาลญี่ปุ่นมีความพยายามมากมายที่จะกระตุ้นให้คู่รักมีลูกกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการให้เงินอุดหนุนมากขึ้น หรือกระตุ้นการให้วันลาคลอดและเลี้ยงดูบุตรเพิ่มขึ้น แต่เห็นได้ว่าความพยายามของรัฐดูจะไม่เป็นผลเท่าใดนัก

แม้แต่รัฐมนตรี “ฟูมิโอะ คิชิดะ” ก็เคยพูดถึงปัญหานี้ว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจอย่างมาก ตัวเขาเองกับภรรยานั้นมีลูกถึง 3 คน ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยประเทศที่มีลูกเพียงครอบครัวละ 1.3 คนเท่านั้น

Source

]]>
1467878
ล้ำไปอีก! Unicharm ประเทศญี่ปุ่นเตรียมรีไซเคิล “ผ้าอ้อมสำเร็จรูป” กลับมาใช้ใหม่ https://positioningmag.com/1303038 Mon, 26 Oct 2020 10:03:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303038 Unicharm บริษัทผู้ผลิตเครื่องอุปโภคบริโภครายใหญ่ของญี่ปุ่น เปิดเผยเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2020 ว่า บริษัทเตรียมตั้งฐานการรีไซเคิลทั่วประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการเก็บและรีไซเคิล “ผ้าอ้อมสำเร็จรูป” แบบใช้แล้ว ตั้งเป้าใช้งานได้จริงอย่างน้อย 10 แห่งภายในปี 2030

เนื่องจากผ้าอ้อมสำเร็จรูปทั้งสำหรับเด็กและสำหรับผู้ใหญ่ในปัจจุบันนั้น หลังผ่านการใช้งานแล้วจะถูกกำจัดทิ้งด้วยการเผา ซึ่งทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่บรรยากาศ บริษัทจึงหวังว่าความพยายามรีไซเคิลนี้จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้

Unicharm นั้นมีการวิจัยเทคโนโลยีดังกล่าวมานาน โดยมีนวัตกรรมดึงเอาเส้นใยในผ้าอ้อมสำเร็จรูปกลับมาทำความสะอาดเพื่อใช้ใหม่ พร้อมรับรองความสะอาดถูกสุขอนามัย และบริษัทเริ่มมีการทดลองรีไซเคิลด้วยนวัตกรรมนี้ที่จังหวัดคาโกชิม่ามาตั้งแต่ปี 2016

สาเหตุที่ Unicharm สนใจรีไซเคิลผ้าอ้อมสำเร็จรูป เป็นเพราะสังคมผู้สูงอายุของญี่ปุ่นที่มีจำนวนคนชราสูงขึ้นเรื่อยๆ
ทำให้การเก็บและรีไซเคิลสินค้านี้เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง โดยบริษัทหวังว่าจะสามารถขยายเครือข่ายรีไซเคิลนี้ให้ได้เร็วที่สุด ผ่านความร่วมมือกับภาครัฐประจำท้องถิ่นต่างๆ

ผ้าอ้อมสำเร็จรูปของ Unicharm แบรนด์ที่คนไทยรู้จักเนื่องจากมีจำหน่ายในประเทศ เช่น ผ้าอ้อมเด็กมามี่โพโค ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ไลฟ์รี่ เป็นต้น

ส่วนการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างไรนั้น บริษัทกล่าวว่า อยู่ระหว่างพัฒนาสินค้าใหม่ที่จะใช้เส้นใยหลังรีไซเคิลนี้ได้อยู่

Source

]]>
1303038
คุณแม่เซ็งผ้าอ้อมแพง Kimberly-Clark ยันยังขายดีไม่อ่วมพิษภาษีสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ https://positioningmag.com/1245636 Sun, 08 Sep 2019 02:58:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1245636 Photo : cnbc

CEO บริษัทใหญ่ Kimberly-Clark ระบุสงครามการค้าจีนสหรัฐฯไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัท ยอมรับราคาสินค้ากลุ่มผ้าอ้อมและกระดาษชำระแพงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปีที่แล้ว แต่ไม่ใช่เพราะพิษการเมืองเรื่องขึ้นภาษี ยืนยัน Kimberly-Clark ไม่ได้นำเข้าแต่เน้นผลิตในท้องถิ่นเพื่อลูกค้าในพื้นที่มาต่อเนื่อง

Michael Hsu ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Kimberly-Clark บริษัทผู้ผลิตผ้าอ้อม Huggies แสดงความเห็นถึงกรณีที่สินค้ากลุ่มผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็ก กระดาษชำระ Kleenex และผลิตภัณฑ์อื่นแบรนด์ Cottonelle ของ Kimberly-Clark ส่วนใหญ่มีราคาแพงขึ้นกว่าเดิมตั้งแต่ช่วงปลายปี 2018 เป็นต้นมา ว่าการปรับขึ้นราคาในสหรัฐฯไม่ได้มีสาเหตุเพราะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ผิดกับสินค้านำเข้ากลุ่มอื่นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมากกว่า

Hsu ระบุว่าในภาพรวม บริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนสู่ตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้ว Kimberly-Clark ผลิตสินค้าในตลาดท้องถิ่นสำหรับผู้บริโภคในพื้นที่ การประกาศว่าสินค้าของ Kimberly-Clark ไม่ได้รับผลเสียจากภาษีศุลกากรส่งให้หุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้นอีก

แข็งแกร่งทั้งในจีนและสหรัฐฯ

Hsu ซึ่งเข้ามาเป็นซีอีโอ Kimberly-Clark ในเดือนมกราคม 2019 เชื่อว่า Kimberly-Clark เป็นแบรนด์ที่มีความพิเศษ เพราะแม้ผู้บริโภคจะรับรู้ว่า Kimberly-Clark เป็นแบรนด์อเมริกัน แต่ลูกค้าก็จะมอง Kimberly-Clark ว่าเป็นสินค้าในท้องถิ่นเช่นกัน เนื่องจากแหล่งผลิตที่หลากหลาย ซึ่งทำให้ Kimberly-Clark ได้ใจลูกค้าในพื้นที่มาตลอด

ผลคือยอดขายของ Kimberly-Clark เพิ่มขึ้นเป็นเลข 2 หลักต่อเนื่องหลายไตรมาส ส่งผลให้หุ้น Kimberly-Clark เพิ่มขึ้น 22.4% หลังจากลดลงต่อเนื่องระหว่างเดือนมีนาคม 2017 และเมษายน 2018 โดยล่าสุดเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้นของ Kimberly-Clark เพิ่มขึ้นก่อนจะลดลงในช่วงปิดตลาด 1.5% ที่ 139.48 เหรียญสหรัฐ

คำให้สัมภาษณ์ของ CEO เจ้าพ่อผ้าอ้อมยังเป็นสิ่งยืนยันได้ว่า การผลิตในท้องถิ่นของ Kimberly-Clark ทำให้บริษัทได้รับประโยชน์ท่ามกลางสงครามการค้า เพราะไม่เพียงแต่การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรได้สำเร็จ แต่กลยุทธ์นี้ยังทำให้ผู้บริโภคจีนไม่มอง Kimberly-Clark ว่าเป็นบริษัทอเมริกันแบบเต็มตัว ทำให้ Kimberly-Clark ประสบความสำเร็จในการบุกตลาดจีนจนเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง

นวัตกรรมช่วยลดต้นทุน

สำหรับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ผู้บริหาร Kimberly-Clark ระบุว่าเป็นเพราะกลไกตลาด ซึ่งทีมงานของบริษัทกำลังพยายามอย่างหนักเพื่อพัฒนานวัตกรรมที่ยอดเยี่ยมให้บริษัทสามารถผลิตสินค้าพรีเมี่ยมในราคาต้นทุนที่ลดลง โดยที่ผ่านมา Kimberly-Clark ยืนยันว่าการขึ้นราคาผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นชัดเจนในปี 2018 ที่ผ่านมา

แต่แม้ราคาจะแพงขึ้น ผู้บริโภคก็ไม่ได้หันหลังให้กับ Kimberly-Clark ยอดขายที่ยังสดใสทำให้บริษัทมองว่าจะมีโอกาสจำหน่ายสินค้าในราคาที่ลดลงตามราคาต้นทุนสินค้าที่จะลดลงแน่นอนในปีนี้ ซึ่งสะท้อนว่า Kimberly-Clark จะมีโอกาสได้ลงทุนในแบรนด์ Kimberly-Clark อีกครั้ง

การยืนยันของ Kimberly-Clark ถือว่าสวนทางกับความเห็นของนักวิเคราะห์รายอื่นที่กังวลกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย จากมาตรการภาษีซึ่งจะทำให้สินค้าที่นำเข้าจากปรเะเทศจีน มีราคาแพงขึ้นเมื่อนำมาจำหน่ายในสหรัฐฯ โดยสถิติพบว่าการจับจ่ายใช้สอยสินค้าจีนของผู้บริโภคคิดเป็น 70% ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทีเดียว

อย่างไรก็ตาม Kimberly-Clark ไม่กังวลปัญหาเศรษฐกิจ ถดถอยที่อาจทำให้ยอดขายลดลง เนื่องจาก Hsu มองเห็นความแข็งแกร่งจากผู้บริโภค โดยมั่นใจว่าผู้บริโภคสหรัฐฯมีความยืดหยุ่นมากในการจับจ่าย.

Source

]]>
1245636