โดยคุณทองมา ฉายภาพ “ตลาดที่อยู่อาศัย” ต่อจากนี้ไปมีแนวโน้มเล็กลง หดตัวลงทุกปี จากเคยสูงสุดกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี เหลือเพียง 3.5 แสนล้านบาท และในอีก 5-6 ปีข้างหน้าอาจจะเหลือเพียง 2 แสนล้านบาท
ขณะที่โฟกัสภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัย ปี 2567 ที่ผ่านมา ก็ไม่สดใสนัก
ยอดเปิดตัวใหม่ 421,000 ล้านบาท ลดลง 27% แบ่งเป็น
ยอดขาย (พรีเซล) 313,000 ล้านบาท ลดลง 20% แบ่งเป็น
ขณะที่พอร์ตฯ พฤกษาที่ผ่านมา เป็นกลุ่มทาวน์เฮ้าส์เป็นหลักซึ่งได้รับผลกระทบจากตลาดเต็ม ๆ
ทำให้ผลประกอบการปี 2567 ของพฤกษา ทำรายได้ประมาณ 21,000 ล้านบาท ส่วนกำไรสุทธิเหลือ 456 ล้านบาท จากเคยแตะระดับพันล้าน
จากปัจจัยความท้าทายในข้างต้น ทำให้ คีย์แมนพฤกษา ไม่จำกัดตัวเองอยู่แค่ธุรกิจที่อยู่อาศัยอีกต่อไป แต่ยังเฟ้นหาโอกาสเติบโตใหม่ ๆ อยู่เสมอ
]]>“ผมคงเข้ามาทำหน้าที่ดูแลพฤกษาอีก 2-3 ปี ส่วนการทำให้กำไรกลับมา 1,000 ล้านบาทไม่น่าเป็นเรื่องยาก เพราะเคยทำได้ ไม่น่ามีปัญหา ปีนี้ก็ต้องพยายามมากขึ้นด้วยการบริหารเรื่องการขายและค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จะมีส่วนทำให้อัตรากำไรสูงขึ้นได้”
ขณะที่ผลประกอบการปี 2567 ของพฤกษา มีรายได้รวม 20,996 ล้านบาท ลดลง 19.7% และกำไรสุทธิ 456 ล้านบาท ลดลง 79.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน (YoY)
ปัจจัยหลักมาจากเศรษฐกิจชะลอตัว และการปฏิเสธสินเชื่อแบงก์ยังคงสูง กดดันให้ตลาดอสังหาปีก่อน ให้ภาพรวมทั้งอุตสาหกรรมมียอดขายเหลือ 313,000 ล้านบาท ลดลง 20% (YoY) โดยกลุ่มทาวน์เฮ้าส์ดิ่งสุด 30% คอนโดหดตัว 23% และบ้านเดี่ยวลดลง 13%
“ตลาดอสังหาเล็กลงทุกปี เรามองหาโอกาสการเติบโตใหม่ต่อเนื่อง ทั้งจากธุรกิจเฮลท์แคร์ ที่วางเป้าบาลานซ์พอร์ตรายได้ขึ้นมาเป็น 50% (เดิม 30%) ตลอดจนธุรกิจรับก่อสร้าง และแวร์เฮ้าส์โปรเจกต์ “โอเมก้า” ที่มีงบลงทุนทั้งโครงการราว 9,000 ล้านบาท แต่ก็ยังคงรักษาระดับการเติบโตของธุรกิจอสังหาให้เป็นไปตามภาพรวมตลาด”
เบื้องต้น ปี 2568 วางเป้ารายได้รวมทุกธุรกิจไว้ 23,500 ล้านบาท แบ่งเป็น ธุรกิจอสังหา 18,700 ล้านบาท เติบโต 8% (YoY) และธุรกิจเฮลท์แคร์ 2,600 ล้านบาท เติบโต 19% (YoY)
พร้อมวางงบลงทุนปีนี้ไว้ที่ 8,500 ล้านบาท เพื่อซื้อที่ดินเพิ่ม 5,000 ล้านบาท และลงทุน 3 โรงพยาบาลใหม่ 3,500 ล้านบาท
ธีระ ทองวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตส จำกัด กล่าวว่า ปี 2568 พฤกษาวางแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 22 โครงการ มูลค่า 23,400 ล้านบาท จากปี 2567 เปิดตัว 16 โครงการ มูลค่า 18,200 ล้านบาท
โดยปีนี้ จะเน้นโครงการบ้านเดี่ยวพรีเมียมมากขึ้น อาทิ แบรนด์ The Palm, The Reserve โดยมีสัดส่วนสินค้าราคามากกว่า 7 ล้านบาท ราว 50% และเป็นทำเลในเมืองมากขึ้น
“ปี 2568 ตั้งเป้ายอดขาย 19,800 ล้านบาท และยอดขายจากโครงการ JV 3,200 ล้านบาท ส่วนยอดโอนฯ วางไว้ 18,700 ล้านบาท และยอดโอนโครงการ JV 1,600 ล้านบาท (รับรู้จากกำไรการลงทุน)“
นอกจากนี้ บริษัทฯ มีแผนทำโครงการแนวราบเจาะลูกค้าต่างชาติมากขึ้น ในรูปแบบสิทธิการเช่าระยะยาว (Leasehold) เช่า 30 ปี ต่อได้อีก 30 ปี
ซึ่งที่ผ่านมามีลูกค้าต่างชาติให้ความสนใจจำนวนมาก โดยเฉพาะลูกค้าชาวจีน โดยปี 2567 นำร่องโครงการ The Palm และ Patio และทำรายได้ส่วนนี้ไปราว ๆ 500 ล้านบาท
โดยส่วนใหญ่ลูกค้าเป็น นักลงทุนจีนที่ทำงานในไทย สนใจบ้านหรูราคา 30 ล้านบาท ใกล้โซนพัฒนาการ ที่เชื่อมต่อไปยังสนามบิน หรือกระทั่งโซนโรงงานได้ง่าย
“ปีนี้บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้ส่วนลีสต์โฮล จำนวน 1,000 ล้านบาท”
รวมทั้งมีแผนลีนองค์กรให้คล่องตัวขึ้น ผ่านการขายที่ดินมูลค่าสูงที่ไม่ได้มีการพัฒนาโครงการ โดยที่ดินที่ราคาสูงที่สุดที่เตรียมขาย อาทิ ที่ดินย่านเลิดสิน ที่ดินย่านอนุสาวรีย์ชัยฯ เป็นต้น
นพ.สุวาณิช เตรียมชาญชูชัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิมุต เปิดเผยว่า ปี 2568 วิมุต เตรียมเงินลงทุน ราว ๆ 3,500 ล้านบาท ทำ 3 โรงพยาบาลใหม่ ได้แก่
“การขยาย รพ. แต่ละแห่งจะแบ่งเป็น 3 เฟสใหญ่ งบลงทุน 2,000 ล้านบาท ต่อการขยายจำนวน 100 เตียง ซึ่งจะค่อย ๆ ขยายไปเพื่อดูดีมานด์ลูกค้า“
ส่งผลให้ภายใน 3 ปีข้างหน้า วิมุตจะมีจำนวนเตียงเพิ่มเป็น 600-700 เตียง จากปัจจุบันมีเตียง (ถ้าขยายเต็มศักยภาพ) อยู่ที่ 450 เตียง แบ่งเป็น รพ.วิมุต พหลโยธิน 235 เตียง, รพ.วิมุต เทพธารินทร์ 130 เตียง และ รพ.ผู้สูงอายุ 50 เตียง (เปิดตัวในปีนี้) ย่านวัชรพล โดยปีนี้ วิมุตตั้งเป้ารายได้ 2,600 ล้านบาท
”การขยายตัวเข้าไปในย่านกลางเมืองเป็นกลยุทธ์ในการขยายลูกค้าต่างประเทศด้วย จากปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 7% ของพอร์ตฯ เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ชาวต่างชาติมักเข้าทำศัลยกรรม และการรักษาพยาบาลทั่วไป (กลุ่ม Expat)”
]]>หลัง “ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์“ ผู้ก่อตั้ง และผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.พฤกษา โฮลดิ้ง (PSH) หวนคืนตำแหน่งรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม ไปเมื่อท้ายปี 2567 ไปหมาด ๆ
พฤกษา ก็ปรับโครงสร้างผู้บริหารอีกระลอก ตามสไตล์ทองมา “คิดเร็ว ทำเร็ว” โดยได้แต่งตั้ง 2 ผู้บริหารใหม่ ประสบการณ์โชกโชน ได้แก่
1.รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ตำแหน่ง ประธานกรรมการบริษัท แทน ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ซึ่งเกษียณอายุครบ 72 ปี ตามข้อกำหนดในกฎบัตรคณะกรรมการบริษัท มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568
รุ่งโรจน์ สำเร็จการศึกษา MBA จาก Harvard Business School และเป็นอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี (ปี พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2566) และพาบริษัทฝ่าวิกฤตหลายระลอก โดยเฉพาะด่านหินอย่างโควิด รวมไปถึงการดัน SCG Packaging เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการเดินหน้าโครงการในเวียดนาม
สะท้อนว่า “รุ่งโรจน์” มีความเชี่ยวชาญการบริหารจัดการธุรกิจเศรษฐกิจ และการลงทุนในองค์กรขนาดใหญ่ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
และมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการวางแผนกลยุทธ์ การต่างประเทศ การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการในภาวะวิกฤติ และการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2.แมนพงศ์ เสนาณรงค์ ตำแหน่ง กรรมการอิสระรวมทั้งแต่งตั้งเป็น ประธานคณะกรรมการลงทุน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568
สำหรับ “แมนพงศ์” สำเร็จการศึกษา MBA ด้าน Finance and Quantitative จาก Cleveland State University ประเทศสหรัฐอเมริกา
รวมถึงเป็นอดีตรองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีความรู้ด้านการจัดการโครงสร้างทางการเงิน โครงสร้างธุรกิจ และการวางกลยุทธ์ธุรกิจ
และมีประสบการณ์การทำงานด้านการบริหารวาณิชธนกิจ และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินให้กับบริษัทเอกชน และสถาบันการเงิน
ในการการแต่งตั้งผู้บริหารครั้งนี้ พฤกษา มุ่งสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กร ขับเคลื่อนธุรกิจสู่เป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืน จากปัจจุบันมี 2 กลุ่มหลัก คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจเฮลท์แคร์
ที่แม้ปัจจุบันจะผ่านพ้นวิกฤตโควิดไปแล้ว แต่ผลกระทบยังลากยาวมาถึงขณะนี้ ในแง่การเติบโตเศรษฐกิจและกำลังซื้อผู้บริโภคชะลอตัว
พฤกษา มีฐานลูกค้าส่วนใหญ่ ราว ๆ 70% ในกลุ่มล่างและกลุ่มกลาง ซึ่งจะได้รับปัจจัยลบจากเศรษฐกิจโดยตรง สะท้อนจากผลประกอบการพฤกษาที่ปรับลดลง
โดยช่วง 9 เดือน (ม.ค. – ก.ย.) ปี 2567 ทำรายได้รวม 15,607 ล้านบาท ลดลง 21.55% (YoY) และกำไรสุทธิ 752 ล้านบาท ลดลง 63.85% (YoY)
ทั้งนี้ ด้านรายได้ตกมาเป็นลำดับที่ 5 ของกลุ่มอสังหา และกำไรสุทธิอยู่ที่อันดับ 10 ของกลุ่มอสังหา “จากช่วงพีก ๆ เคยติด Top 3”
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาพฤกษา พยายามปรับแผนหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านเศรษฐกิจ บาลานซ์พอร์ตที่อยู่อาศัยเน้นบ้านระดับบนมากขึ้น โดยกลุ่มบน (ราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป) มีสัดส่วน 30% กลุ่มกลาง (ราคา 3-10 ล้านบาท) สัดส่วน 40% และกลุ่มล่าง (ต่ำกว่า 3 ล้านบาท) สัดส่วน 30%
การกลับมาของ “ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์“ ผู้ก่อตั้ง และผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.พฤกษา โฮลดิ้ง กลับมานั่งตำแหน่งรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม สร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ในองค์กรอีกระลอก
หลังก่อนหน้านี้เมื่อปี 2565 บอสใหญ่ประกาศวางมือ และเร่งแผนเตรียมความพร้อมองค์กร สืบทอดตำแหน่งให้กับ “มืออาชีพ” ตัวจริง
โดยเขาเลือกส่งไม้ต่อให้แก่ อุเทน โลหชิตพิทักษ์ ที่แม้ไม่ใช่ลูกหม้อพฤกษา แต่มีประวัติโชกโชนในวงการอสังหาริมทรัพย์ จากเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งเป็นมือลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ มารับตำแหน่งซีอีโอกลุ่มฯ
เจาะลึกการบริหารของอุเทน มุ่งเน้นขยายพอร์ตฯ สร้างรายได้ประจำ ผ่านการลงทุนธุรกิจใหม่ อาทิ การลงทุน ”สตาร์ทอัพ“ ที่ใช้งบลงทุนสูงถึง 3,500 ล้านบาท
และการลงทุน ”กลุ่มอีคอมเมิร์ซ“ ซึ่งดูเหมือนจะช้าไปสักนิดสำหรับการเข้ามาลงเล่นในตลาดที่มีรายใหญ่ห้ำหั่นกันอย่างเต็มกำลัง
โดยรายได้ในส่วนนี้ช่วง 9 เดือนแรก ปี 2567 ทำได้เพียง 1,077 ล้านบาท ลดลง 32.1% (YoY)
ซ้ำร้ายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของบริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งโปรดักส์พฤกษาที่ผ่านมา มีกลุ่มกลาง-ล่างเป็นฐานใหญ่
สะท้อนจากรายได้ธุรกิจอสังหาของพฤกษาฯ ในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2567 อยู่ที่ 12,930 ล้านบาท ลดลง 23% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ทำได้ 16,985 ล้านบาท หากจำแนกแยกประเภทที่อยู่อาศัย พบว่า “ลดลงทุกกลุ่ม” ยกเว้นกลุ่มการขายที่ดิน
ส่วนธุรกิจที่แนวโน้มบวกสุด คือ กลุ่มโรงพยาบาล ที่ทำรายได้ช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ ไปได้ 1,600 ล้านบาท โต 20% (YoY) ซึ่งเป็นธุรกิจที่ถูกปลุกปั้นตั้งแต่ยุค “ทองมา” และค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ และตามเทรนด์สุขภาพ
ส่งผลให้ผลประกอบการ “พฤกษา” ในยุค “อุเทน” ไม่เข้าเป้า และเติบโตขึ้นเท่าใดนัก
อย่างไรก็ดี “อุเทน โลหชิตพิทักษ์” ไม่ใช่มืออาชีพคนแรกที่เข้ามาบริหารพฤกษา ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2556 ก็เคยคว้า “นายเลอศักดิ์ จุลเทศ” อดีตบิ๊กแบงก์ออมสิน เข้ามาดำรงตำแหน่ง รองประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้อำนวยการ ทำหน้าที่บริหารองค์ในภาพรวม ก่อนจะหมดสัญญากันไป
ต่อมาจึงดึงนักการตลาดมือทองระดับเอเชีย “สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์” อดีตซีอีโอ ยูนิลีเวอร์กรุ๊ป เข้ารับตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และกรรมการบริษัท บมจ.พฤกษา โฮลดิ้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา เรียลเอสเตท ซึ่งเป็น นักปั้นบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ให้พฤกษาในยุคนั้น
ก่อนที่สุพัตราจะประกาศลาออก และ “ปิยะ ประยงค์” ลูกหม้อพฤกษาที่อยู่ตั้งแต่บุกเบิกบริษัทฯ เข้ามารับตำแหน่งคุมงานส่วนที่อยู่อาศัยทั้งหมดแทน
คงต้องรอดูว่า แผนนำ “ทองมา” ผู้ก่อตั้ง และสร้างตำนานความยิ่งใหญ่ให้กับพฤกษา กลับมาคุมบังเหียนเอง จะทำให้พฤกษาเติบโต และก้าวไปในทิศทางไหน!
]]>Positioning มีโอกาสไปเยี่ยมชมโครงการ “บ้านกรีนเฮ้าส์ รังสิต สเตชั่น – ซ.เวิร์คพอยท์” ของค่ายพฤกษา ซึ่งเป็นโครงการทดลองที่น่าสนใจ เพราะพยายามจะแก้โจทย์ที่ดินแพง บ้านแพง ทำโปรดักส์แนวใหม่ออกมาเพื่อให้แพ็กเกจราคาอยู่ในช่วงที่คนไทยจับต้องได้ง่ายขึ้นคือกลุ่มราคา “ล้านต้นๆ” ขณะเดียวกันก็ยังได้พื้นที่ใช้สอยกว้างพอที่จะอยู่เป็นครอบครัวขนาดเล็กได้
โครงการนี้ทางพฤกษาคาดว่าน่าจะเป็น “ครั้งแรกในไทย” แต่เป็นแนวคิดเดียวกับที่เคยมีแล้วในประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ สองประเทศที่ประสบปัญหาที่ดินแพงมาก่อนเมืองไทย โครงการ “คอนโดอารมณ์ทาวน์เฮาส์” จะเป็นอย่างไร เราจะพาไปเจาะลึกกันต่อด้านล่าง
การจะแก้โจทย์นี้ต้องย้อนไปดูกฎหมายจัดสรรที่ดินของไทย เนื่องจากกฎหมายไทยกำหนดให้ “ทาวน์เฮาส์” ต้องมีขนาดที่ดินไม่ต่ำกว่า 16 ตารางวา ทำให้การลดขนาดทาวน์เฮาส์จนเหลือเล็กจิ๋วเพื่อทำราคานั้นเป็นไปไม่ได้
ทางออกของพฤกษาจึงเป็นการสร้าง “คอนโดฯ” ที่หน้าตาเหมือนทาวน์เฮาส์แทน
เมื่อมองไปเผินๆ จึงทำให้โครงการบ้านกรีนเฮ้าส์หน้าตาเหมือนกับทาวน์เฮาส์ เพราะเป็นบ้านแถวเรียงเข้าไปในแนวลึก หันหน้าเข้าหากัน และแต่ละยูนิตมีชั้น 1 กับชั้น 2 ทุกครอบครัวจะได้อยู่ติดผืนดินทั้งหมด
แบบบ้านนั้นเท่ากันทั้งหมดคือเป็น ห้องชุดพื้นที่ใช้สอย 53 ตารางเมตร เป็นห้องชุด 2 ชั้น หน้ากว้าง 5 เมตร ลึก 6.5 เมตร ฟังก์ชันมี 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ห้องนั่งเล่น-ห้องทานอาหาร และ 1 ห้องครัว
ที่ต่างจากทาวน์เฮาส์คือ ไม่มีรั้ว ไม่มีระยะร่นหน้าบ้านไว้สำหรับจอดรถ ประตูเข้าบ้านเป็นกระจกบานเลื่อน ไม่มีบริเวณซักล้างหลังบ้าน จึงไม่มีทางออกหลังบ้านเช่นกัน
ส่วนในบ้านให้อารมณ์ทาวน์เฮาส์จริง เพราะเปิดเข้ามาจะพบกับโซนห้องนั่งเล่น ถัดไปเป็นโต๊ะทานอาหาร แต่ห้องครัวจะมาอยู่ฝั่งหน้าบ้านแทน สามารถเปิดบานเกล็ดระบายอากาศระหว่างทำครัวได้
ขณะที่บนชั้น 2 จะเป็นห้องนอน 2 ห้อง ห้องมาสเตอร์วางเตียงควีนไซส์ได้ ห้องเล็กเหมาะเป็นห้องเด็กวางเตียง 3.5 ฟุต ห้องน้ำของบ้านหลังนี้จะไม่มีแยกโซนเปียก-แห้ง แต่อาจจะติดม่านกันน้ำทีหลัง
จุดสำคัญมากของโครงการบ้านกรีนเฮ้าส์คือใช้ระบบพื้นที่ส่วนกลางแบบเดียวกับคอนโดฯ นั่นหมายความว่า “ที่จอดรถ” ถูกนำไปรวมกันที่ลานจอดรถส่วนกลาง ทุกยูนิตจะได้สิทธิจอดรถ 1 คัน (*ที่จอดรถพอดีจำนวนยูนิต สัดส่วน 100%)
ส่วนหน้าบ้านจะเห็นว่าถนนไม่ใช่ถนนรถวิ่ง แต่เป็นทางเดินกว้างประมาณ 4 เมตร ทางเดินตรงนี้ถือว่าเป็น “พื้นที่ส่วนกลาง” ที่นิติบุคคลจะคอยดูแลกฎและความสะอาดให้ โดยห้ามไม่ให้นำรถทุกชนิดเข้ามา (รวมถึงมอเตอร์ไซค์และจักรยาน) เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
สังเกตว่าทางเดินนี้มีการปลูกต้นไม้ไว้ตรงกลาง และมีกระบะปลูกต้นไม้หน้าบ้านทุกหลัง ซึ่งถือเป็นส่วนกลางเช่นกัน โดยนิติบุคคลจะสนับสนุนการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อให้ลูกบ้านสามารถใช้สอยประโยชน์ร่วมกัน เก็บพืชผักไปทำอาหารได้
นอกจากนี้ การรักษาความปลอดภัยจะใช้แนวคิดเดียวกับคอนโดฯ คือกรณีไรเดอร์ส่งอาหารหรือขนส่งพัสดุ จะต้องจอดส่งไว้ด้านหน้าประตูรั้วโครงการ ไม่สามารถเข้าไปส่งถึงหน้าบ้านได้ เสมือนคอนโดฯ ทั่วไปที่ต้องฝากไว้กับห้องนิติบุคคลหรือจุดที่จัดไว้เฉพาะ
รวมทั้งโครงการ “บ้านกรีนเฮ้าส์ รังสิต สเตชั่น – ซ.เวิร์คพอยท์” เฟสแรกมี 48 ยูนิต ราคาเริ่ม 1.39 ล้านบาทต่อยูนิต
หากเทียบกับโครงการทาวน์เฮาส์ปกติที่อยู่ติดกันของพฤกษาคือ “พฤกษาวิลล์ รังสิต สเตชั่น – ซ.เวิร์คพอยท์” ซึ่งปัจจุบันขายในราคาเริ่ม 2 ล้านบาท เท่ากับโมเดลแบบบ้านกรีนเฮ้าส์สามารถลดราคาลงมาได้ 30%
ทางเซลส์ดูแลโครงการของพฤกษาให้ข้อมูลว่า เบื้องต้นหลังจากเปิดขายได้รับการตอบรับดี มียอดจองไปแล้ว 40 ยูนิต ส่วนใหญ่แล้วเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อาศัยอยู่ 2 คน และมองว่าที่อยู่อาศัยลักษณะนี้ตอบโจทย์กว่าทาวน์เฮาส์เพราะพื้นที่ใช้สอยกำลังพอดี ใช้เวลาทำความสะอาดน้อยลง แต่ก็ยังกว้างพอที่จะมีสเปซในการใช้ชีวิต
ขณะนี้พฤกษายังไม่มีแผนจะขยายไปยังทำเลอื่น แต่ในทำเลเดียวกันนี้ยังมีพื้นที่ที่จะขยายเฟส 2-3 ได้อีกประมาณ 80 ยูนิต หากผลตอบรับเฟสแรกขายหมด
ถือเป็นโมเดลโครงการที่อยู่อาศัยโปรดักส์ใหม่ที่ทำให้ราคาลดลงจากทาวน์เฮาส์ปกติ แต่ยังได้พื้นที่ใช้สอยกว้างพอสมควรสำหรับคน 2-3 คน เหลือเพียงใช้เวลาศึกษาเมื่อลูกบ้านเริ่มย้ายเข้าอยู่จริงว่าวิธีอยู่อาศัยแบบนี้คนไทยจะเข้าใจหรือไม่ แต่ถ้าหากเป็นไปด้วยดี เราอาจจะได้เห็นโมเดลแบบนี้แพร่หลายมากขึ้นก็เป็นได้
]]>“ถนนหอการค้าไทย” จ.นนทบุรี เป็นถนนใหม่ที่เพิ่งตัดเสร็จเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ถนนเส้นนี้มีความยาว 4 กิโลเมตร เชื่อมต่อจากฝั่งถนนชัยพฤกษ์ ทะลุไปออกถนนทางหลวง 345 และเป็นถนนขนาดใหญ่ 6 เลนพร้อมเกาะกลางปลูกต้นไม้ตกแต่ง
ปัจจุบันสองข้างทางถนนเรียงรายด้วยหมู่บ้านสารพัดแบรนด์ เพราะเจ้าของถนนและที่ดินรอบข้างคือ “บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค” เป็นผู้เก็บสะสมที่ดิน ลงทุนตัดถนนเอง และดูแลบำรุงรักษาถนน เพื่อพลิกทำเลมาเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย
“วงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต” กรรมการผู้จัดการ บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เปิดเผยว่า บริษัทเริ่มเข้ามาทยอยซื้อที่ดินในย่านนี้มาเกิน 10 ปีแล้ว หลังจากเล็งทำเลแล้วมองว่าที่ดินย่านถนนรัตนาธิเบศร์และถนนแจ้งวัฒนะกำลังจะ ‘เต็ม’ ในไม่ช้า ทำให้เชื่อว่าความเจริญจะขยายข้ามแม่น้ำมาทางสะพานพระราม 4 เข้าสู่ถนนชัยพฤกษ์
ทำให้เพอร์เฟคซุ่มลงทุนซื้อที่ดินตาบอดที่ลึกเข้าไปจากถนนชัยพฤกษ์ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นทุ่งนา เมื่อเก็บที่ดินได้รวมกว่า 1,300 ไร่ บริษัทจึงทุ่มทุน 400 ล้านบาทเพื่อตัด “ถนนหอการค้าไทย” พลิกทำเลจากที่ดินตาบอดให้กลายเป็นทำเลที่เข้าออกถนนใหญ่ได้ถึง 2 ทาง โดยถนนนี้สร้างเสร็จปี 2557 และเป็นจุดเริ่มต้นในการชักชวนเพื่อนร่วมวงการมาลงทุน
สไตล์การลงทุนของเพอร์เฟคมักจะชอบเก็บที่ดินแปลงใหญ่และแบ่งขายให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เจ้าอื่น ไม่ได้ลงทุนเองทั้งหมด แปลงนี้ก็เช่นกัน ปัจจุบันมีอสังหาฯ ทั้งหมด 8 ค่ายที่มาลงทุนหรือจับจองที่ดินอยู่บนถนนหอการค้าไทย ได้แก่ เพอร์เฟค, ฮ่องกงแลนด์, เอสซี แอสเสทฯ, แสนสิริ, พฤกษา, เอพี, พราว เรียล เอสเตท และเซ็นทรัลพัฒนา
พื้นที่นี้มีการพัฒนาโครงการไปแล้ว 920 ไร่ รวมทุกค่าย 20 โครงการ มูลค่าโครงการรวมกันกว่า 30,000 ล้านบาท และทางเพอร์เฟคมีการประเมินว่าถ้าทุกค่ายพัฒนาที่ดินในมือจนครบ 1,300 ไร่ จะมีมูลค่าโครงการบนพื้นที่นี้รวมกว่า 50,000 ล้านบาท และจะทำให้มีครอบครัวเข้ามาอาศัยในบริเวณนี้กว่า 4,600 หลังคาเรือน!
วงศกรณ์อธิบายว่า ที่ตัดสินใจปล่อยขายให้อสังหาฯ เจ้าอื่นด้วย เพราะการมีหลายบริษัทมาพัฒนาโครงการพร้อมกัน จะทำให้ทำเล ‘เกิด’ เร็วกว่ามีบริษัทเดียว ด้วยการช่วยกันโปรโมตทำการตลาดจะทำให้คนรู้จักถนนหอการค้าไทยเร็วขึ้น และลูกค้าก็จะมีทางเลือกมากขึ้น มีบ้านหลายแบบ หลายราคา
ถนนเส้นนี้มีบ้านที่ยังอยู่ระหว่างขายให้เลือกหลายโครงการ เช่น โครงการ “แกรนด์ พลีโน่ แจ้งวัฒนะ-ราชพฤกษ์” ของค่ายเอพี ซึ่งเป็นบ้านแฝดที่เพิ่งเปิดตัว ราคาเริ่ม 6.09 ล้านบาท ขยับขึ้นมาเป็นบ้านเดี่ยว “เดอะ ปาล์ม แจ้งวัฒนะ-ชัยพฤกษ์” ของค่ายพฤกษา ราคาเริ่ม 8.99 ล้านบาท หรือจะเป็น “บางกอก บูเลอวาร์ด แจ้งวัฒนะ-ราชพฤกษ์” ของค่ายเอสซี แอสเสทฯ ราคาเริ่ม 9.99 ล้านบาท รวมถึงมีระดับคฤหาสน์ในโครงการ “เลค เลเจนด์ แจ้งวัฒนะ” โครงการร่วมทุนของเพอร์เฟคกับฮ่องกงแลนด์ ที่ทำราคาสูงสุดหลังละ 130 ล้านบาท
ส่วนพันธมิตรใหม่ที่เพิ่งเข้ามาอย่าง “พราว เรียล เอสเตท” และ “เซ็นทรัลพัฒนา” จะเข้ามาพัฒนาโครงการแนวราบเช่นกัน แต่ยังอยู่ระหว่างออกแบบว่าจะเป็นโครงการที่อยู่อาศัยประเภทใดในระดับราคาไหน
นอกจากการดึงที่อยู่อาศัยหลากหลายแบรนด์แล้ว ชุมชนบนถนนหอการค้าไทยยังมีการดึง “โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์ (SISB) นนทบุรี” เข้ามาอยู่บนถนนเส้นนี้ด้วย ซึ่งทำให้มีตัวเลือกด้านการศึกษาให้กับบุตรหลาน
ส่วนพื้นที่รีเทลนั้น บริเวณรอบๆ ถนนหอการค้าไทยมีการเปิดศูนย์การค้าเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี 2557 ไม่ว่าจะเป็น “เดอะ คริสตัล พีทีที ชัยพฤกษ์” “โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์” หรือ “โลตัส นอร์ธ ราชพฤกษ์”
แต่ภายบนถนนหอการค้าไทยเองยังไม่มีคอมมูนิตี้ มอลล์ จะมีเฉพาะโลตัสและอาคารพาณิชย์ ซึ่งทางวงศกรณ์กล่าวว่าบริษัทยังมีพื้นที่ที่กันไว้สำหรับพัฒนาคอมมูนิตี้ มอลล์ได้ อยู่ระหว่างเจรจาหาพันธมิตรที่สนใจลงทุน
สรุปรวมที่ดินบนถนนหอการค้าไทยยังเหลือแปลงที่ดินว่างอีก 386 ไร่จาก 1,300 ไร่ (*ไม่รวมแปลงของ ม.หอการค้าไทยที่มี 215 ไร่) ทั้งหมดนี้กระจายอยู่ในมือพันธมิตรทั้ง 8 บริษัท โดยวงศกรณ์คาดว่าน่าจะใช้เวลาอีก 5 ปีกว่าที่จะพัฒนาหมด และจะทำให้ชุมชนนี้สมบูรณ์และคึกคักยิ่งกว่าวันนี้
]]>นับตั้งแต่กำเนิด “พฤกษา โฮลดิ้ง” ตั้งแต่ปี 2559 บริษัทนี้เริ่มวางทิศทางธุรกิจกระจายความเสี่ยงออกจากการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อขายเพียงอย่างเดียว และดูเหมือนในปี 2567 การวางฐานใหม่มาอย่างต่อเนื่องจะเริ่มเห็นผลชัดเจน
“อุเทน โลหชิตพิทักษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อปี 2566 พฤกษา โฮลดิ้ง ทำรายได้ไป 26,132 ล้านบาท (ลดลง -9% จากปีก่อนหน้า) และทำกำไรสุทธิ 2,205 ล้านบาท (ลดลง -20% จากปีก่อนหน้า)
ขณะที่ปี 2567 บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 8% มูลค่าเพิ่มเป็น 28,000 ล้านบาท โดยสัดส่วนของธุรกิจ “กลุ่มรายได้ประจำ” (Recurring Income) จะเพิ่มเป็น 9% ของรายได้รวม
กลุ่มรายได้ประจำของพฤกษานั้นมีการวางฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันมีทั้งหมด 4 แกนหลัก ได้แก่
ปัจจุบันกลุ่มเฮลท์แคร์ยังถือเป็นเครื่องยนต์หลักที่ทำรายได้ประจำให้กับพฤกษา แต่ในกลุ่มอื่นๆ อุเทนมองว่าจะเติบโตขึ้นเช่นกัน เช่น กลุ่มอีคอมเมิร์ซ ที่มีเป้าหมายรายได้ขึ้นไปแตะ 1,000 ล้านบาทภายใน 3 ปี หรือ กลุ่มธุรกิจอินโน พรีคาสท์และอินโน โฮม คอนสตรัคชั่น ที่ขยายตัวรับผลิตพรีคาสท์และรับจ้างก่อสร้างนอกเครือพฤกษา เป็นโอกาสหารายได้ที่มากขึ้น
ทั้งนี้ พฤกษา โฮลดิ้ง วางเป้าในอนาคตจะผลักดันให้รายได้ประจำมีสัดส่วนขึ้นมาถึง 25% ในรายได้รวมของบริษัท
เจาะลงไปในรายละเอียดธุรกิจหลักของพฤกษาคือกลุ่มที่อยู่อาศัย “ปิยะ ประยงค์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ปี 2566 บริษัทมีการเปิดตัวโครงการเพียง 13 โครงการ มูลค่ารวม 14,200 ล้านบาท ทำยอดพรีเซลได้ 18,540 ล้านบาท และสร้างรายได้ 22,357 ล้านบาท (ลดลง -18% จากปีก่อนหน้า)
การเปิดตัวโครงการใหม่เมื่อปีก่อนยอมรับว่าต่ำกว่าเป้าต้นปีที่เคยตั้งไว้ 22 โครงการ มูลค่ารวม 23,500 ล้านบาท สาเหตุที่ไม่ถึงเป้าเพราะสภาพเศรษฐกิจเมื่อปีก่อนไม่เหมาะกับการเปิดตัวโครงการในระดับกลางล่าง ซึ่งทำให้พฤกษาระงับโครงการทาวน์เฮาส์กลุ่มราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทไปหลายแห่ง
โครงการที่ถูกระงับไปจะมีการนำมาประเมินและเปลี่ยนรูปแบบโครงการแล้วแต่ศักยภาพทำเล ในบางทำเลอาจจะขยับโปรดักส์ขึ้นเป็นกลุ่มบ้านแฝดหรือบ้านเดี่ยวได้ หรือบางทำเลอาจจะเปลี่ยนมาพัฒนาโปรดักส์แนวใหม่ ‘บ้านกรีนเฮ้าส์’ ทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น ราคา 1 ล้านต้นๆ ได้พื้นที่ใช้สอยกว้างกว่าคอนโดฯ มีที่ดิน แต่ปรับที่จอดรถเป็นที่จอดรวมเหมือนกับคอนโดฯ
ขณะที่แผนธุรกิจที่อยู่อาศัยพฤกษาปี 2567 กลับมาเติบโตต่อ โดยมีเป้าเปิดโครงการใหม่ 30 โครงการ มูลค่ารวม 29,000 ล้านบาท เป้ายอดพรีเซล 27,000 ล้านบาท และเป้ารับรู้รายได้ 25,500 ล้านบาท
ที่ผ่านมาในกลุ่มธุรกิจที่อยู่อาศัย พฤกษามีเป้าระยะยาวในการ ‘ลีน’ ตนเองมาโดยตลอด ลดการเปิดโครงการทับซ้อนทำเลและโปรดักส์ ทำให้มีโครงการในมือน้อยลง ซึ่งปิยะมองว่าปีนี้ถือเป็นปีที่พฤกษา ‘รีดไขมัน’ ออกจนอยู่ในระดับเหมาะสม เหลือโครงการระหว่างขาย 144 โครงการ มูลค่ารวม 62,900 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การเติมพอร์ตโครงการใหม่ยังคงยึดนโยบายเดิมคือ เน้นตลาด “กลางบน” เป็นหลัก
โดยการเปิดตัวใหม่ 30 โครงการปีนี้จะแบ่งเป็น ทาวน์เฮาส์ 17 โครงการ บ้านเดี่ยว 10 โครงการ และคอนโดมิเนียม 3 โครงการ ภาพรวม 50% ของโครงการเปิดใหม่จะเป็นสินค้า “พรีเมียม” หมายถึงทาวน์เฮาส์ราคา 5 ล้านบาทขึ้นไป, บ้านเดี่ยวราคา 7 ล้านบาทขึ้นไป และคอนโดฯ ราคา 4 ล้านบาทขึ้นไป (*ดูรายละเอียดตามกราฟด้านล่าง)
เมื่อผสมรวมกับพอร์ตโครงการระหว่างขายที่มีอยู่เดิม จะทำให้พอร์ตสินค้าในมือที่พฤกษามีแบ่งได้ดังนี้
สัดส่วนนี้ปิยะมองว่าเป็นพอร์ต “สุขภาพดี” ในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ต่างจากเมื่อ 5 ปีก่อนที่พฤกษามีสินค้าราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทถึง 70% ของพอร์ต
ด้านธุรกิจสร้างรายได้ประจำอย่างโรงพยาบาล “นายแพทย์พิชิต กังวลกิจ” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลวิมุต จำกัด ประกาศรายได้ปี 2566 ทำได้ 1,820 ล้านบาท เติบโต 50% และมีผู้ป่วยกลุ่ม non-COVID เพิ่มขึ้น 49%
ปี 2567 บริษัทมีเป้าเพิ่มรายได้อีก 26% มูลค่าเพิ่มเป็น 2,300 ล้านบาท พร้อมตั้งงบลงทุน 3,500 ล้านบาทเพื่อลงทุนสร้าง “เนอร์สซิ่งโฮม” เพิ่มอีก 2 แห่งที่วัชรพลและแบริ่ง ซึ่งจะทำให้มีเตียงสะสม 240 เตียง, เพิ่มจำนวนเตียง รพ.วิมุต พหลโยธิน เป็น 150 เตียง และการรีแบรนด์รพ.เทพธารินทร์เป็น “รพ.วิมุต เทพธารินทร์”
ขณะที่แผนระยะยาวของกลุ่มวิมุต มีแผนจะเปิดโรงพยาบาลวิมุตใหม่เพิ่ม 2 แห่ง คือ รพ.วิมุต ปิ่นเกล้า จำนวน 59 เตียง และ รพ.วิมุต ทองหล่อ ซึ่งจะเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ รวมถึงจะลงทุนธุรกิจเนอร์สซิ่งโฮมต่อเนื่องให้ครบ 600 เตียงภายใน 3 ปี
ต้องติดตามต่อว่ากลุ่มพฤกษาจะเป็นอย่างไรหลังจากจัดโครงสร้างองค์กรเรียบร้อย ได้เวลาเดินหน้าปั๊มรายได้จากทุกเครื่องยนต์ที่มีในปีนี้!
]]>‘พฤกษา’ จัดกิจกรรมพิเศษ “Live well Stay well Market Fest” ส่งเสริมประสบการณ์การอยู่อาศัยในสไตล์ อยู่|ดี|มี|สุข ให้กับครอบครัวพฤกษา ในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ จับมือพันธมิตรธุรกิจ ยกขบวนผลิตภัณฑ์และบริการดี ๆ พร้อมกิจกรรมมากมาย ครอบคลุมการดูสุขภาพ ต่อยอดไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมให้ลูกบ้านและชุมชนใกล้เคียงได้สัมผัสถึงที่โครงการพฤกษา อเวนิว พัฒนาการ 38 พร้อมมอบข้อเสนอพิเศษสุด! เพียงชวนเพื่อนมาเป็นสมาชิกครอบครัวพฤกษา นอกจากจะได้มาร่วมกิจกรรมดี ๆ แบบนี้แล้ว ยังมีโอกาสรับค่าแนะนำสูงสุดถึง 100,000 บาท
จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PSH กล่าวว่า “Live well Stay well Market Fest by PRUKSA Holding เป็นกิจกรรมที่พฤกษาจัดขึ้นเพื่อส่งมอบความเป็นอยู่ที่ดี สุขภาพที่ดี รวมถึงการสร้างสรรค์สังคมชุมชนที่ดี โดยร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ ออกแบบทุกกิจกรรมในงานให้สมาชิกครอบครัวพฤกษาได้รับความสุขกาย สบายใจ โดยนำผลิตภัณฑ์และบริการดี ๆ ในเครือโรงพยาบาลวิมุตและแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของพฤกษาให้เข้าถึงลูกบ้านมากขึ้นตามเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นเพื่อการอยู่อาศัยที่ “อยู่ดี มีสุข” ซึ่งจัดขึ้นที่พฤกษา อเวนิว พัฒนาการ 38 และได้การตอบรับเป็นอย่างดี มีลูกบ้านพฤกษาจากหลายโครงการมาร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก เรารู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่งานนี้ได้สร้างช่วงเวลาแห่งความสุข ทำให้ลูกบ้านมีช่วงเวลาดี ๆ และมีส่วนร่วมในการปลูกผังจิตสำนึกในการรักษ์โลกไปพร้อมกัน”
ภายในงานคัดสรรสินค้าและบริการ รวมถึงกิจกรรมดี ๆ ที่จะมาช่วยรังสรรค์ความ “อยู่ดี มีสุข” อย่างครบวงจร ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของทุกคนในครอบครัว เริ่มด้วยบูธจาก Z-décor บริการออกแบบตกแต่งภายในแบบ One Stop Service ครบจบในที่เดียว จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์บ้าน สำนักงาน และร้านอาหาร รวมถึงสมาร์ทเฟอร์นิเจอร์ที่ปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นได้หลายการใช้งาน ตามมาด้วยบูธที่เอาใจสายรักการช้อปปิ้งจาก clickzy.com (คลิกซิ) ซึ่งเป็น E-Marketplace สำหรับคนรักบ้านและสุขภาพ ที่ให้บริการค้าปลีกผ่านการช้อปออนไลน์ ง่ายแค่คลิกเดียว โดยยกขบวนร้านค้าพาร์ทเนอร์ชั้นนำมากมายในราคาพิเศษ ทั้งสินค้าสินค้าที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย การบำรุงรักษาบ้าน การออกแบบตกแต่งภายใน การดูแลสุขภาพ เป็นต้น ต่อด้วยบูธจาก My Haus ซึ่งเป็น Smart home ตัวช่วยที่ส่งเสริมเรื่องที่อยู่อาศัย ให้ผู้คนมีชีวิตที่ง่ายและสะดวกขึ้น ครอบคลุมทั้งหมด เช่น IoT, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, นักพัฒนา, การจัดการทรัพย์สิน, การดูแลสุขภาพ, สอบถามข้อมูล ฯลฯ นอกจากนี้ในงานยังมีกิจกรรม Workshop ประดิษฐ์ของตกแต่งบ้าน ทั้งโคมไฟขวดโหล และแต่งแต้มระบายสีบนเทียน ต้อนรับเทศกาลคริสมาสต์อีกด้วย
และเพราะสุขภาพที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตที่ดี จึงแนะนำการเข้าถึงบริการทางสุขภาพผ่าน โรงพยาบาลวิมุต และโรงพยาบาลเทพธารินทร์ ที่ใส่ใจให้บริการด้านการตรวจสุขภาพอย่างครอบคลุม จนไปถึงการดูแลสุขภาพของน้อง ๆ สัตว์เลี้ยงแสนรัก ที่เป็นอีกหนึ่งสมาชิกในครอบครัว มอบบริการตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยงเบื้องต้น และวัคซีนสัตว์เลี้ยงราคาพิเศษ จากโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ มาให้บริการดูแลน้อง ๆ ถึงโครงการ และภายในงานยังได้จัดมุมสำหรับ Pet Lover ให้นำน้อง ๆ มาเล่นสนุกผ่อนคลายกันเต็มที่ พร้อมด้วยกิจกรรมรักษ์โลกให้ลูกบ้านได้สร้างความสุขจากการได้ดูแลและใส่ใจโลกเพื่อส่งเสริมให้ลูกบ้านมีส่วนร่วมในการลดโลกร้อนและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี
พิเศษสุดกับ โปรแกรม “เพื่อน ชวน เพื่อน” เพียงชวนเพื่อนมาเป็นลูกบ้านพฤกษา นอกจากจะได้มาร่วมกิจกรรมดี ๆ แบบนี้แล้ว ยังช่วยสร้างรายได้ง่าย ๆ เพียงแนะนำเพื่อน มาซื้อที่อยู่อาศัย ประเภทใดก็ได้ทั้งทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม ในโครงการและยูนิตที่ร่วมรายการ โดยกรอกข้อมูลของผู้ถูกแนะนำก่อนแวะเยี่ยมชมโครงการ แลัวรอผู้ถูกแนะนำทำการรับโอนกรรมสิทธิ์ ผู้แนะนำจะได้รับค่าแนะนำมูลค่าสูงสุดถึง 1 แสนบาท (ค่าแนะนำแตกต่างกันตามโครงการ และยูนิตเข้าร่วม กรุณาสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Sale Gallery หรือ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pruksa.com หรือ โทร. 1739)
“ด้วยปณิธานของพฤกษา…เราไม่ได้หยุดอยู่ที่การพัฒนาที่อยู่อาศัย แต่เป็นการพัฒนา “การอยู่อาศัย” เพราะพฤกษาใส่ใจ มุ่งส่งมอบสิ่งที่ช่วยรังสรรค์ความเป็นอยู่ที่ดี เติมเต็มประสบการณ์การใช้ชีวิตที่เปี่ยมด้วยความสุข พร้อมสร้างชุมชนที่ยั่งยืน เพื่อรองรับทุกชีวิตให้ “อยู่ดี มีสุข” อย่างแท้จริง” จิตชญา กล่าวเสริม
]]>
“อุเทน โลหชิตพิทักษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ.พฤกษา โฮลดิ้ง (PSH) รายงานผลประกอบการปี 2566 ของพฤกษา เฉพาะไตรมาส 2 ทำรายได้ 7,107 ล้านบาท เติบโต 32% YoY และกำไรสุทธิ 1,083 ล้านบาท เติบโต 141% YoY
เมื่อรวมผลประกอบการช่วงครึ่งปีแรก 2566 พฤกษาทำรายได้ 13,665 ล้านบาท เติบโต 20% YoY กำไรสุทธิ 1,690 ล้านบาท เติบโต 72% YoY
การเติบโตเหล่านี้มาจากการฟื้นตัวของกลุ่มธุรกิจอสังหาฯ ที่มียอดโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้น 11% YoY
รวมถึงธุรกิจเฮลธ์แคร์ที่ทำรายได้พุ่งหลังจากผ่านพ้นช่วงโควิด-19 ทำให้โรงพยาบาลวิมุตและเครือหันมามุ่งเน้นบริการสุขภาพด้านอื่นได้ จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ธุรกิจเฮลธ์แคร์จึงมีรายได้มากกว่า 1,000 ล้านบาทแล้ว
อย่างไรก็ตาม อุเทนชี้แจงในส่วนธุรกิจอสังหาฯ เพื่อขายว่า ทุกส่วนยังต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของเป้าหมายปี 2566 ดังนี้
อุเทนกล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีแรกปกติจะไม่ใช่ ‘หน้าขาย’ ของธุรกิจที่อยู่อาศัย ประกอบกับบางโครงการที่ตั้งเป้าเปิดภายในครึ่งปีแรก เช่น พลัม คอนโด นิว เวสต์ ไม่ได้รับใบอนุญาตตามเวลาที่วางไว้เดิม ทำให้ต้องเลื่อนการเปิดตัว
ทีมงานยังเชื่อมั่นว่าจะสามารถเร่งเครื่องในช่วงครึ่งปีหลังให้ถึงเป้าที่ตั้งไว้ทั้งสามเป้าหมายนี้ โดยในส่วนสต็อกโครงการที่ยังอยู่ระหว่างขายยังมีอยู่มูลค่ารวมกว่า 64,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าเพียงพอสำหรับขายได้ต่อเนื่องอีก 2 ปี ทำให้บริษัทยังมียอดพรีเซลเข้ามา รวมถึงมีแบ็กล็อกรอโอนอีก 4,975 ล้านบาท ซึ่งน่าจะโอนได้หมดภายในครึ่งปีหลัง 2566
อุเทนระบุว่า บริษัทยังไม่มีการปรับเป้าลงมา โดยเฉพาะการเปิดโครงการใหม่ที่ครึ่งปีแรกเปิดไปเพียง 6 โครงการ ทำให้ครึ่งปีหลังจะต้องเร่งเปิดตัว 17 โครงการ มูลค่ารวม 19,000 ล้านบาท เชื่อว่าจะยังทำได้ตามเป้า
ไฮไลต์ของการเปิดตัวครึ่งปีหลังนี้ คือ จะมีการเพิ่มพอร์ตโฟลิโอกลุ่มสินค้าระดับพรีเมียมมากขึ้นเป็นสัดส่วน 33% ของที่เปิดใหม่ทั้งหมด เทียบกับครึ่งปีแรกที่มีการเปิดโครงการระดับพรีเมียมเพียง 22% (*กลุ่มสินค้าพรีเมียมของพฤกษา หมายถึง ทาวน์เฮาส์และบ้านแฝดราคา 5 ล้านบาทขึ้นไป และบ้านเดี่ยวราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป)
“ส่วนที่เราได้รับผลกระทบ มาจากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อธนาคาร ทำให้ลูกค้ากู้ยากขึ้น ดังนั้น 1 ใน 3 ของพอร์ตเราจึงต้องกระจายไปเซ็กเมนต์พรีเมียมมากขึ้นเพื่อหากำลังซื้อใหม่ๆ แต่เราจะไม่ทิ้งเซ็กเมนต์แมสไปหมด เพราะเราเชื่อว่าคนต้องมีบ้านในเกณฑ์ราคาที่จับจองได้ พฤกษามองว่าตรงนี้เป็นหน้าที่ต่อสังคมที่จะต้องทำบ้านให้เข้าถึงได้ทุกระดับชั้น” อุเทนกล่าว
ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2566 พฤกษาเริ่มงานเปิดโครงการไฮไลต์ใหม่แล้ว 2 โครงการ คือ “เดอะ ปาล์ม บางนา-วงแหวน 2” บ้านเดี่ยวไฮเอนด์ราคาหลังละ 15-30 ล้านบาท และ “พลัม คอนโด นิว เวสต์” คอนโดฯ ระดับกลางล่างที่ได้ยอดพรีเซล 29.7% ของโครงการตั้งแต่วันแรกที่เปิดขาย
ส่วนช่วงที่เหลือของปีจะมีโครงการไฮไลต์อีก เช่น พฤกษา วิลล์ พหลฯ-รามอินทรา, เดอะ แพลนท์ ฉลองกรุง 2, เดอะ ปาล์ม ไพรเวท เรสซิเดนซ์ วัชรพล บ้านเดี่ยวระดับลักชัวรี ราคา 25-40 ล้านบาท และคอนโดฯ แชปเตอร์ วัน จรัญ ทำเล MRT บางพลัด
ฟากธุรกิจเฮลธ์แคร์ก็ยังมีการลงทุนต่อเนื่อง โดยปีนี้มีงบลงทุน 2,500 ล้านบาทเพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลดูแลผู้สูงวัย (Elder Care) ทำเลวัชรพล เป็นโรงพยาบาลดูแลผู้สูงวัยแห่งที่ 2 ต่อจากแห่งแรกที่ รพ.วิมุต ร่วมทุนกับ JAS ทำเลถนนคู้บอน
อุเทนกล่าวต่อถึงสถานการณ์ครึ่งปีหลังของภาคอสังหาฯ ดูแล้วน่าจะยังมีความเสี่ยง เพราะหนี้ครัวเรือนไทยสูงมาก และอัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นมาตลอด แม้ขณะนี้นักวิเคราะห์คาดกันว่าการขึ้นดอกเบี้ยครั้งล่าสุดจะเป็นครั้งสุดท้าย แต่ด้วยอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ขึ้นมาอยู่ที่ 2.25% ก็ทำให้กำลังซื้อลดลงไปแล้ว
“ฝากถึงรัฐบาลใหม่ซึ่งตอนนี้ยังไม่รู้ใครจะเข้ามา แต่นโยบายที่ทุกๆ พรรคมีพูดถึง คือ การลดภาระค่าใช้จ่าย เช่น ค่าไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยค่าครองชีพลูกค้าได้มาก และถ้าหากมีนโยบายดิจิตอล วอลเล็ต 10,000 บาทได้จริงก็จะดีต่อกระเป๋าเงินของลูกค้าด้วย” อุเทนกล่าว
อุเทนหวังว่าในปี 2567 ภาคอสังหาฯ อาจจะหายใจได้คล่องมากกว่านี้ เพราะนักวิเคราะห์คาดว่าเป็นไปได้ที่ปีหน้าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมา ซึ่งจะเป็นผลดีกับทั้งอุตสาหกรรมอสังหาฯ หากเกิดขึ้นได้จริง
]]>ในอดีต “พฤกษา” เติบโตมาจากการเป็น “เจ้าแห่งทาวน์เฮาส์” ยึดครองตลาดทาวน์เฮาส์ระดับราคาต่ำกว่า 2 ล้านบาทไว้ทุกมุมเมือง ทำให้พอร์ตใหญ่ของพฤกษาคือการขายบ้านให้คนระดับกลางล่างซึ่งเป็นฐานพีระมิดของเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวและความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น ราคาบ้านที่ถีบตัวสูงขึ้นเพราะราคาที่ดิน ทำให้พฤกษาเองก็ต้องปรับนโยบาย
โดยเมื่อ 3 ปีก่อนบริษัทเริ่มแผน “ปรับพอร์ต” โครงการใหม่จะหันมาจับตลาดกลางถึงบนราคามากกว่า 3 ล้านบาทมากขึ้น และจะลดจำนวนการเปิดโครงการต่อปีลง ไม่กระหน่ำเปิดจำนวนมากๆ อย่างเช่นเคย ขณะเดียวกันก็จะเร่งขายโครงการเดิมที่มีออกไปซึ่งส่วนใหญ่ที่ติดมืออยู่จะเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท
“ปิยะ ประยงค์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เล่าถึงปัญหาความเปลี่ยนแปลงในตลาดว่า เกิดจากเศรษฐกิจเปลี่ยนมาขับเคลื่อนด้วยกำลังซื้อของคนชั้นกลางถึงระดับบนเป็นหลัก ขณะที่คนระดับกลางล่างมีกำลังซื้อน้อยลง แม้แต่กลุ่ม SMEs ก็ลำบากในช่วงเศรษฐกิจที่ผ่านมา
“เราขายบ้านเราจะรู้เลยว่าช่องว่างมันถ่างออกไปเรื่อยๆ เศรษฐกิจโดยรวมดูเหมือนโอเคนะ แต่ถ้าเจาะไปตามระดับเซ็กเมนต์ของเรา กลุ่มทาวน์เฮาส์ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือกลุ่มพลัม คอนโดซึ่งทำราคา 1 ล้านต้นๆ ค่อนข้างจะลำบากในการขาย” ปิยะกล่าว
ความยากลำบากที่ว่านี้คือ พฤกษาพบว่ากลุ่มผู้ซื้ออสังหาฯ ในราคาต่ำกว่า 2 ล้านบาทประมาณ 50% จะไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ เพราะโปรไฟล์กู้สินเชื่อบ้านไม่ผ่าน ทำให้แม้จะมีคนจองซื้อมาก หรือมีคนสนใจในโครงการมาก แต่สุดท้ายผู้ที่ซื้อได้จริงมีแค่ครึ่งเดียวเท่านั้น
เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ภาคอสังหาฯ แก้ไขได้ยาก มีทางเดียวที่จะช่วยได้คือรัฐบาลต้องช่วยเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ซึ่งวันนี้ดูเหมือนยังมองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
ในมุมของบริษัทพฤกษาจึงต้องปรับตัวเองไปก่อน หลังปรับพอร์ตมาเป็นเวลา 3 ปี ปิยะระบุว่า ขณะนี้บริษัทสามารถลดโครงการระหว่างขายจากเดิมมีกว่า 300 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 1 แสนล้านบาท ลงมาเหลือ 150 โครงการ มูลค่ารวม 4 หมื่นล้านบาท และสัดส่วนของโครงการเซ็กเมนต์กลางล่างได้ลดจาก 70% ลงมาเหลือ 50%
สำหรับปี 2566 ก็ยังทำตามแผนการปรับพอร์ต คือมีการเปิดตัวโครงการใหม่ 23 โครงการ มูลค่ารวม 23,500 ล้านบาท แบ่งเป็นทาวน์เฮาส์ 11 โครงการ บ้านเดี่ยว 8 โครงการ และคอนโดมิเนียม 4 โครงการ
บางส่วนของโครงการที่เปิดปีนี้ยังมีกลุ่มราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทอยู่ เช่น ทาวน์เฮาส์ประมาณ 60% จะอยู่ในช่วงราคา 2-3 ล้านบาท หรือคอนโดฯ โครงการหนึ่งคือ พลัม คอนโด นิว เวสต์ บางใหญ่ เปิดราคาเริ่มต้นที่ 1.59 ล้านบาท เนื่องจากที่ดินบางส่วนที่ติดมือมาแต่เดิมยังจำเป็นต้องพัฒนาเป็นโครงการในระดับกลางล่างตามแผน ทำให้ไม่สามารถปรับพอร์ตได้รวดเร็วอย่างใจ
อย่างไรก็ตาม ปิยะกล่าวว่า หากที่ดินผืนไหนสามารถปรับเปลี่ยนแบบเพื่อเจาะตลาดที่เหมาะสมกว่าได้ พฤกษาก็จะเปลี่ยน เช่น แปลง ถ.สีลม, แปลงซอยสุขุมวิท 18 เดิมมองว่าจะพัฒนาเป็นคอนโดฯ ราคาประมาณ 200,000 บาทต่อตร.ม. แต่กระแสคอนโดฯ เซ็กเมนต์นี้ปัจจุบันเริ่มลดความนิยม ทำให้เปลี่ยนมาพัฒนาแบบใหม่เป็นโครงการแนวราบราคาหลังละ 30-40 ล้านบาทแทน
“ปี 2566 นี้เราจะเห็นเลยว่าการเคลียร์พอร์ตเริ่มได้ผลแล้ว” ปิยะกล่าว โดยอัตรากำไรสุทธิน่าจะดีขึ้น แต่บริษัทจะยังคงนโยบายนี้ไว้เพราะเป้าหมายในอุดมคติจริงๆ คือต้องการอัตรากำไรสุทธิที่ 17%
นอกจากนี้ ปิยะยังแย้มถึงนโยบายใหม่ของพฤกษา เรียลเอสเตท ที่ต้องการจะหารายได้ประจำ (recurring income) เข้ามาถ่วงสมดุลราว 10% ของพอร์ต (เฉพาะส่วนที่พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขายขาด ไม่รวมพอร์ตของพฤกษา โฮลดิ้ง)
โดยบริษัทกำลังศึกษาโครงการพัฒนาหอพักหรืออพาร์ตเมนต์ใกล้มหาวิทยาลัย เนื่องจากเห็นผลตอบแทนที่ดีที่กลุ่มนักลงทุนแคมปัส คอนโดได้รับ จึงสนใจที่จะลงทุนด้วยตนเอง เบื้องต้นคาดว่าหากมีการลงทุนจะต้องเป็นโครงการขนาดใหญ่ 1,000 ยูนิตขึ้นไป
ปิยะยังประเมินตลาดอสังหาฯ โดยรวมในปี 2566 เชื่อว่าน่าจะเติบโตได้ 5-7% หากจีดีพีของประเทศโต 3.7% ได้ตามเป้าหมาย แต่ถือว่ายังเป็นปีที่ค่อนข้างท้าทายต่อพฤกษา เพราะกำลังซื้อตลาดกลางล่างที่ถดถอยลงดังกล่าว
]]>