มาตรการภาครัฐ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 29 Aug 2020 13:23:22 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 10 ประเทศที่ยังปลอด COVID-19 พวกเขาคือผู้ชนะท่ามกลางโรคระบาดหรือไม่? https://positioningmag.com/1294586 Sat, 29 Aug 2020 12:07:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294586 COVID-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลก ยกเว้น 10 ประเทศเหล่านี้ แต่พวกเขามีความเป็นอยู่อย่างไรบ้างในประเทศที่ “ปลอดเชื้อ” ไปฟังมุมมองที่ทั้งเหมือนและแตกต่างของกลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกอย่าง ประเทศปาเลา หมู่เกาะมาร์แชล และวานูอาตู

The Palau เป็นโรงแรมที่เปิดมาตั้งแต่ปี 1982 ก่อนที่ธุรกิจท่องเที่ยวของ ประเทศปาเลา จะได้รับความนิยม แต่ตั้งแต่นั้นมา ประเทศเล็กจิ๋วแต่แวดล้อมด้วยน้ำทะเลสีฟ้าใสของมหาสมุทรแปซิฟิกแห่งนี้ ก็กลายเป็นจุดหมายยอดฮิตของนักเดินทาง

ในปี 2019 ประเทศปาเลามีนักท่องเที่ยวมาเยือนทั้งหมด 90,000 คน ซึ่งมากกว่าจำนวนประชากรบนเกาะถึง 5 เท่า ข้อมูลจาก IMF ปี 2017 ยังพบว่า ภาคธุรกิจท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วนถึง 40% ของจีดีพีประเทศปาเลา

แต่นั่นคือภาพก่อนเกิดโรคระบาด COVID-19 ขึ้น

ชายแดนประเทศปาเลาต้องปิดรับคนต่างชาติตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม และกลายเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศของโลกที่ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อโรคระบาด COVID-19 (นับเฉพาะประเทศที่เป็นสมาชิก UN และไม่นับประเทศเกาหลีเหนือกับเติร์กเมนิสถาน)

“10 ประเทศที่ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ COVID-19”
  • ปาเลา
  • ไมโครนีเซีย
  • หมู่เกาะมาร์แชล
  • นาอูรู
  • คิริบาตี
  • หมู่เกาะโซโลมอน
  • ตูวาลู
  • ซามัว
  • วานูอาตู
  • ตองกา

เศรษฐกิจ “ปาเลา” กำลังนับถอยหลัง

อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะไม่มีผู้ติดเชื้อแม้แต่รายเดียว ไวรัสโคโรนาก็ยังทำลายประเทศนี้ในเชิงเศรษฐกิจ

โรงแรม The Palau ต้องปิดดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม และไม่ใช่แค่โรงแรมนี้โรงแรมเดียวที่ต้องปิดชั่วคราว บรรดาร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ก็ต้องปิดเช่นกัน ส่วนแขกที่เข้าพักในโรงแรมก็เหลือแต่ประชาชนของปาเลาที่ใช้โรงแรมเป็นสถานที่กักตัว

The Palau โรงแรมแห่งแรกของประเทศ กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤต

“มหาสมุทรของที่นี่สวยกว่าที่อื่นในโลกมาก” ไบรอัน ลี ผู้จัดการและเจ้าของร่วมโรงแรม The Palau กล่าว ก่อนที่จะเกิดการระบาด โรงแรมขนาด 54 ห้องของเขามีอัตราเข้าพัก 70-80% แต่เมื่อประเทศถูกปิด เขาก็ไม่มีเบาะรองรับอื่นในการทำธุรกิจ

“ที่นี่เป็นประเทศเล็กๆ ดังนั้นคนท้องถิ่นจะไม่มาพักที่ The Palau หรอกครับ” ไบรอันกล่าว

เขามีพนักงานประมาณ 20 คนในโรงแรม และเขายังคงจ้างงานทุกคนแม้ว่าจะต้องลดชั่วโมงทำงานลง “ผมพยายามหางานให้พวกเขาทำ อย่างเช่นการซ่อมบำรุง รีโนเวต และอื่นๆ”

แต่โรงแรมที่ว่างเปล่าคงไม่สามารถรีโนเวตหรือซ่อมบำรุงอย่างเดียวไปตลอดกาลได้ “ผมอยู่อย่างนี้ได้อีกครึ่งปีเท่านั้น” ไบรอันกล่าว “หลังจากนั้นผมอาจจะต้องปิดโรงแรม”

หาดทรายขาวของปาเลา ประเทศทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ บัดนี้ร้างไร้ผู้คนเนื่องจาก COVID-19 (Photo : Shutterstock)

เขาไม่โทษรัฐบาลที่ทำให้เกิดสถานการณ์นี้ เพราะรัฐได้ให้เงินช่วยเหลือแก่ประชาชนทุกคน และสำคัญที่สุดก็คือ สามารถป้องกันไม่ให้ไวรัสโคโรนาแพร่ระบาดในประเทศได้

“ผมคิดว่าพวกเขาทำได้ดีแล้ว” เขากล่าว แต่ถ้าโรงแรมแห่งนี้จะรอดจากสถานการณ์วิกฤตไปได้ ก็คงต้องมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงเร็วๆ นี้

รัฐบาลปาเลาเพิ่งประกาศว่า เที่ยวบิน “ที่จำเป็น” จะสามารถบินเข้าออกประเทศได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนนี้ และมีข่าวลือว่ารัฐบาลกำลังหารือเปิด “ระเบียงทางอากาศ” กับไต้หวัน เพื่ออนุญาตให้นักท่องเที่ยวจากไต้หวันเข้ามาท่องเที่ยว

สำหรับไบรอัน เขามองว่าการเปิดรับนักท่องเที่ยวควรเกิดขึ้นให้เร็วกว่านี้ “ผมคิดว่ารัฐต้องเริ่มเปิดประเทศอีกครั้งได้แล้ว อาจจะเริ่มจากมี Travel Bubble กับนิวซีแลนด์ หรือประเทศอื่นๆ ใกล้เคียง” เขากล่าว “ไม่เช่นนั้น จะไม่มีใครรอดเลยในประเทศนี้”

 

ไม่ใช่แค่ท่องเที่ยว การประมงก็ซบเซา

ห่างออกไปทางตะวันออกอีก 4,000 กิโลเมตร หมู่เกาะมาร์แชล ที่ตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่เพียงแต่ไร้ผู้ติดเชื้อเหมือนปาเลา แต่ยังเจอสถานการณ์เศรษฐกิจคล้ายๆ กัน

โรงแรม Robert Reimers ที่ตั้งอยู่บนหาดทะเลแหวก Majuro ฝั่งหนึ่งของโรงแรมเป็นสระน้ำใส อีกฝั่งหนึ่งคือมหาสมุทรก่อนเกิดโรคระบาด โรงแรมขนาด 37 ห้องนี้มีอัตราเข้าพัก 75-88% รับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จากทวีปเอเชียแปซิฟิกและสหรัฐอเมริกา

แต่เมื่อต้องปิดพรมแดนในช่วงต้นเดือนมีนาคม อัตราเข้าพักก็ร่วงลงเหลือ 3-5% เท่านั้น “เรามีนักท่องเที่ยวบ้างจากเกาะรอบนอก แต่ก็ไม่มากนัก” โซเฟีย ฟาวเลอร์ ผู้บริหารเครือโรงแรมนี้กล่าว

มหาสมุทรสีเขียวสดของหมู่เกาะมาร์แชล แหล่งดำน้ำ ตกปลา (Photo : hotelrobertreimers.com)

ในระดับประเทศ หมู่เกาะมาร์แชลคาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานเพิ่ม 700 คนจากโรคระบาด เป็นวิกฤตตลาดงานที่หนักที่สุดนับจากครั้งวิกฤตต้มยำกุ้งปี 1997 ในจำนวนดังกล่าว 258 คนอยู่ในธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร

สำหรับหมู่เกาะมาร์แชลนั้นพึ่งพิงนักท่องเที่ยวน้อยกว่าปาเลา ดังนั้นการปิดประเทศจะส่งผลมากกว่าแค่ธุรกิจท่องเที่ยว กลายเป็นว่าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบยิ่งกว่าคืออุตสาหกรรมประมง

เนื่องจากรัฐต้องการทำให้ประเทศปลอดเชื้อ เรือลำใดที่เคยเดินทางไปยังประเทศที่มีผู้ติดเชื้อจะถูกแบนห้ามกลับเข้าท่าหมู่เกาะมาร์แชล คำสั่งนี้รวมถึงเรือน้ำมันและเรือคอนเทนเนอร์ด้วย ทุกลำจะต้องลอยลำกลางทะเลไป 14 วันก่อนจะได้กลับเข้าเทียบท่า

หมู่เกาะมาร์แชลนั้นโดดเด่นมากใน ตลาดปลาสวยงาม โดยมีปลายอดนิยมคือ “ปลาเปลวไฟสินสมุทร” แต่เมื่อมีคำสั่งแบนเรือเมื่อจะกลับเข้าท่า ทำให้ยอดส่งออกปลาสวยงามตกลง 50% นอกจากนี้ยังมีกลุ่มปลาทูน่าสำหรับทำปลาดิบ ยอดส่งออกตกลง 50% เช่นกัน ส่วนการประมงปลาประเภทอื่นๆ ตกลง 30%

โดยสรุปก็คือ ประเทศหนึ่งๆ อาจจะจำกัดไวรัสไม่ให้เข้าประเทศได้ แต่ถ้ายังเอาชนะไวรัสไม่ได้ ผลกระทบจาก COVID-19 จะส่งผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

โซเฟียหวังว่าสิ่งต่างๆ จะกลับสู่วิถีชีวิตปกติภายในปีหน้า แต่ถ้าหากไม่เกิดขึ้นดังหวังล่ะ? “ถ้าเช่นนั้น ธุรกิจคงไม่คุ้มค่าการลงทุนสำหรับเรา” เธอกล่าว

 

ความปลอดภัยสำคัญกว่าเศรษฐกิจ

แม้ว่าการปิดชายแดนจะทำให้ประเทศยากจนลง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องการให้กลับมาเปิดประเทศ

ดร.เลน ตาริวอนดา ผู้อำนวยการด้านสาธารณสุขประเทศวานูอาตู ซึ่งมีประชากรทั้งหมด 300,000 คน โดยเขามีพื้นเพเป็นชาวเกาะอัมเบทางเหนือของประเทศ “ถ้าคุณคุยกับคนที่อัมเบ คนส่วนใหญ่จะบอกว่าให้ปิดประเทศไปนานที่สุดเท่าที่จะทำได้” เขากล่าว “พวกเขาจะบอกว่า ‘เราไม่ต้องการความเจ็บป่วย ถ้าไม่ทำอย่างนี้เราพังพินาศแน่'”

เนื่องจาก 80% ของประชากรวานูอาตูอาศัยอยู่นอกเมืองและห่างไกลจาก “ระบบเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ” นั่นเอง “จากการสังเกตของผมพบว่า พวกเขายังไม่รู้สึกถึงผลกระทบมาถึงตัว เพราะพวกเขาเป็นเกษตรกรพึ่งตนเอง พวกเขาผลิตอาหารเองได้ และยังพึ่งพิงระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมในท้องถิ่น” ดร.ตาริวอนดากล่าว

80% ของชาววานูอาตูยังมีระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม พึ่งพิงตนเอง (Photo : vanuatu.travel)

ถึงอย่างนั้นก็ตาม ประเทศก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน โดย ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) คาดการณ์ว่าจีดีพีของวานูอาตูจะตกลงเกือบ 10% ในปีนี้ และเป็นการหดตัวที่รุนแรงที่สุดนับจากปี 1980 ปีที่ประเทศประกาศเอกราช ทั้งนี้ จีดีพีที่ตกต่ำของวานูอาตูไม่ได้เกิดจาก COVID-19 เท่านั้น เพราะเมื่อเดือนเมษายนเกิดพายุไซโคลนฮาโรลด์พัดผ่านประเทศ สร้างหายนะครั้งใหญ่ให้หมู่เกาะ มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และประชากรมากกว่าครึ่งได้รับผลกระทบจากพายุ

ย้อนไปเมื่อเดือนกรกฎาคม รัฐบาลวานูอาตูประกาศแผนกลับมาเปิดชายแดนกับประเทศที่ปลอดภัย วันที่ 1 กันยายนนี้ แต่หลังจากทำแผน ประเทศใกล้เคียงอย่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์กลับมีผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นอีกครั้ง ทำให้แผนเปิดประเทศถูกเลื่อนไป

ดร.ตาริวอนดา หนึ่งในสมาชิกคณะทำงานด้านพรมแดนร่วมกับรัฐบาล การท่องเที่ยว และบริษัทสายการบินต่างๆ ยอมรับว่าการเลื่อนแผนทำให้ประเทศ “เกือบจะกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่” เพราะยังไม่มีกำหนดวันที่เปิดพรมแดนใหม่เลย

วานูอาตูพึ่งพิงการท่องเที่ยวเป็นสัดส่วน 35% ของเศรษฐกิจประเทศ (photo : vanuatu.travel)

อย่างไรก็ตาม วานูอาตูก็มีโครงการเดินทางข้ามประเทศเพื่อช่วยเศรษฐกิจ โดยรัฐเพิ่งอนุญาตให้แรงงาน 172 คนเดินทางไปยังเขตนอร์ธ เทอริทอรีของออสเตรเลียเป็นเวลา 6 เดือนเพื่อทำงานเก็บมะม่วงในสวน แรงงานเหล่านี้จะส่งเงินกลับบ้านเพื่อพยุงเศรษฐกิจประเทศไว้ แต่วานูอาตูที่พึ่งพิงเศรษฐกิจท่องเที่ยวประมาณ 35% ของจีดีพี เม็ดเงินจากแรงงานคงจะไม่เพียงพอ

แต่วานูอาตูก็ไม่คิดจะเร่งเปิดประเทศ โดยดร.ตาริวอนดาชี้ให้เห็นกรณีของประเทศปาปัวนิวกินีที่เกือบจะเป็นประเทศปลอดเชื้อ แต่กลับมีผู้ติดเชื้อพุ่งสูงในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ทำให้เกิดข้อกังวลกับการเปิดประเทศอีกครั้ง

“ถ้ามีไวรัสหลุดเข้ามา มันจะกลายเป็นเหมือนไฟไหม้ป่า” ดร.ตาริวอนดากล่าว “เนื่องจากเรามีข้อจำกัดด้านสาธารณสุข บริบทของเราเองที่ตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก ทางเลือกที่ดีที่สุดของเราคือการป้องกันไวรัสไม่ให้เข้าประเทศให้นานที่สุด”

 

Travel Bubble เป็นความหวังเดียว?

แล้วประเทศปลอดเชื้อเหล่านี้ทำอะไรอื่นไม่ได้เลยหรือ? จากสิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้ มีกลยุทธ์ระยะสั้นคือ จ่ายเงินอุดหนุนให้กับคนงานและธุรกิจ ส่วนกลยุทธ์ระยะยาวก็คือ…รอให้วัคซีนวิจัยสำเร็จ

จนกว่าจะมีวัคซีน ความหวังที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ Travel Bubble “ข้อตกลงเหล่านี้ต้องมีการตกลงเงื่อนไขกันก่อน อย่างข้อตกลงชุดตรวจมาตรฐานร่วมกัน การติดตามตัวบุคคล และสถานที่กักกันโรค ถ้าหากเกิดการระบาดขึ้นอีก ข้อตกลงเหล่านี้กำลังมีการเจรจากัน แต่ก็เป็นไปอย่างช้าๆ อาจเป็นเพราะต้องสร้างขั้นตอนอย่างระมัดระวัง” รอมเมล ราบานาล จากธนาคาร ADB กล่าว

เมืองควีนส์ทาวน์ นิวซีแลนด์ (Photo : Pixabay)

แต่ในอีกมุมหนึ่ง โจนาธาน ไพรก์ ผู้อำนวยการโครงการหมู่เกาะแปซิฟิก สถาบัน Lowy ประเมินว่า Travel Bubble คงเป็นไปได้ยาก และถ้าเกิดขึ้นแล้วดีลยังล้มได้ง่ายมากด้วย

“ออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์เป็นสองประเทศที่ระบุว่าจะทดลองโครงการนี้” ไพรก์กล่าว “แต่ก่อนจะมี Travel Bubble ได้ ทั้งสองประเทศต้องหยุดการติดเชื้อภายในประเทศให้ได้ก่อน ดังนั้น ผมมองว่าความหวังของการมี Travel Bubble เกิดขึ้นภายในปีนี้จะเกิดขึ้นได้ยาก” (หมายเหตุ – โครงการ Travel Bubble ของออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ถูกเลื่อนออกไปก่อนตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม เพราะเกิดมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในออสเตรเลีย)

ไพรก์กล่าวว่า กลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกกำลังหลังพิงฝาเข้าไปทุกที แต่ทางเลือกเดียวที่พวกเขามีก็ยังคงเป็นการปิดประเทศ โดดเดี่ยวตัวเองจากสากลโลก “ต่อให้ประเทศหมู่เกาะเปิดพรมแดนอีกครั้ง ตลาดนักท่องเที่ยวหลักก็ยังเป็นชาวออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ และสองประเทศนี้ก็ยังล็อกพรมแดนตัวเองอยู่”

“ดังนั้นการเปิดประเทศอาจทำให้คุณต้องเผชิญสิ่งเลวร้ายที่สุดทั้งสองทาง คือทั้งวิกฤตสุขภาพและวิกฤตเศรษฐกิจ ในอนาคตเราคงจะได้ศึกษากันอีกยาวว่าการตัดสินใจที่ถูกต้องคืออะไร” ไพรก์กล่าว “แต่มองย้อนกลับไปตอนนี้ ไม่มีใครตั้งข้อสงสัยหรอกว่า การล็อกดาวน์ของกลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกเหล่านี้เป็นการตัดสินใจที่ผิด”

Source

]]>
1294586
เอเซีย พลัส ประเมิน “จีดีพีไทย 2563” ร่วงแรง -8.4% หวังใช้จ่ายภาครัฐช่วยฟื้นเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1286934 Wed, 08 Jul 2020 09:58:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286934
  • เศรษฐกิจโลกปี 2563 อ่วมติดลบ -4.9% จับตาการล็อกดาวน์รอบสองของหลายประเทศทุบซ้ำ ปัจจัยเสี่ยง “สงครามการค้า” ที่สหรัฐฯ อาจเปิดศึกอีกครั้ง
  • เครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยอ่อนแรงทุกตัว ความหวังอยู่ที่ “การลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐ” ช่วยฟื้นจีดีพีไทย อย่างไรก็ตาม เอเซีย พลัสเชื่อว่าจีดีพีไทยปีนี้จะติดลบต่ำถึง -8.4%
  • ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นมาแล้ว 40% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา แต่ช่วง Q3/2563 การเติบโตน่าจะชะลอตัวเนื่องจากไม่มีแรงหนุนจากกองทุน SSFX และการประกาศจีดีพีรวมถึงผลกำไรบลจ.รอบ Q2/2563 ที่รออยู่ ไม่น่าจะออกมาดี
  • ทีมนักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส (ASPS) นำโดย “เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม” รองกรรมการผู้อำนวยการ ประเมินเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยประจำ Q3/2563 ทิศทางยังมีปัจจัยลบรอบด้านแม้ว่าจะผ่านจุดต่ำสุดใน Q2/2563 ไปแล้วก็ตาม ติดตามอ่านได้ด้านล่าง

    เศรษฐกิจโลกขึ้นอยู่กับการล็อกดาวน์และสงครามการค้า

    ภาพรวมเศรษฐกิจโลกจะขึ้นหรือลงปีนี้ ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก คือ การล็อกดาวน์รอบสองหากเกิดการระบาดซ้ำ และ ความเร็วในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 โดยการพัฒนาวัคซีนคาดกันว่าจะวิจัยสำเร็จได้เร็วที่สุดคือช่วงปลายปี 2563 แต่ความเป็นไปได้จริงน่าจะอยู่ในช่วงกลางปี 2564 มากกว่า ดังนั้น ปัจจัยสำหรับปีนี้คือเรื่องของการล็อกดาวน์

    “เศรษฐกิจไม่ได้กลัวการระบาดรอบสองแต่กลัวการล็อกดาวน์รอบสองมากกว่า” เทิดศักดิ์กล่าว เพื่อชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจและความผันผวนในตลาดหุ้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประเทศนั้นๆ ในการรับมือโรค COVID-19 หากมีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น โดยที่ผ่านมาได้เห็นแล้วว่าในหลายประเทศมีการล็อกดาวน์บางพื้นที่เพื่อรับมือ เช่น จีน ออสเตรเลีย อังกฤษ

    อีกปัจจัยหนึ่งที่จะมีผลกับเศรษฐกิจโลกคือ “สงครามการค้า” เนื่องจากสหรัฐอเมริกาจะมีการเลือกตั้งช่วงปลายปีนี้ โดยที่คะแนนความนิยมของโดนัลด์ ทรัมป์จากที่โพลสำรวจมาพบว่าตกต่ำลงหลัง COVID-19 จึงเป็นไปได้ว่าทรัมป์จะเปิดสงครามการค้าอีกรอบเพื่อสร้างความนิยมให้ตนเองเหมือนกับการเลือกตั้งครั้งก่อน ซึ่งจะมีผลกับเศรษฐกิจโลก

    ภาพรวมปี 2563 ที่โลกยังตกอยู่ภายใต้ปัจจัยลบของ COVID-19 ทำให้ IMF ประเมินว่าจีดีพีโลกจะติดลบที่ -4.9% โดยมีประเทศหลักที่ยังเติบโตได้คือ “จีน” คาดว่าจีดีพีจะเติบโต +1% ส่วนประเทศอื่นๆ จะติดลบทั้งหมด ขณะที่ภาพปี 2564 น่าจะฟื้นตัวกลับมาได้ โดย IMF เชื่อว่าจีดีพีโลกจะดีดกลับมาเติบโต +5.4%

    รวบรวมโดย เอเซีย พลัส

    เศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับ “การลงทุนและใช้จ่ายภาครัฐ”

    มาถึงเศรษฐกิจประเทศไทย IMF ประเมินว่าจีดีพีไทยปี 2563 จะติดลบที่ -7.7% และปี 2564 จะฟื้นตัวที่ +5.0% เห็นได้ว่าประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักกว่าค่าเฉลี่ยโลก ปีนี้ติดลบแรงกว่าและปีหน้าจะฟื้นตัวได้ช้ากว่า

    ด้าน เอเซีย พลัส ประเมินรุนแรงกว่า IMF โดยคาดว่าจีดีพีไทยปี 2563 จะติดลบที่ -8.4% เนื่องจากเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยจะติดลบทุกด้าน ดังนี้

    • การท่องเที่ยว แบงก์ชาติประเมินจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงเหลือ 8 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่ต่ำกว่าเมื่อปี 2550
    • การส่งออก แบงก์ชาติประเมินว่าจะติดลบที่ -10.3% ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552
    • การบริโภคภายในประเทศ เนื่องจากยังมีจำนวนผู้ว่างงานสูงถึง 3 ล้านคน จะส่งผลต่อการบริโภคภายในประเทศต่ำลงตาม เอเซีย พลัสประเมินติดลบที่ -3.5%
    • การลงทุนภาคเอกชน จากตัวเลขแนวโน้มที่เป็นปัจจัยลบทำให้เอกชนชะลอการลงทุน เอเซีย พลัสประเมินติดลบที่ -10.0%

    ดังนั้น เครื่องยนต์เศรษฐกิจที่เป็นความหวังของปีนี้คือ “การลงทุนภาครัฐและการใช้จ่ายของภาครัฐ” ซึ่งเอเซีย พลัสประเมินว่าจะเติบโต +2.0% และ +2.5% ตามลำดับ

    อย่างไรก็ตาม วงเงินรวม 1 ล้านล้านบาทจากพ.ร.ก.กู้เงิน 3 ฉบับ เพิ่งมีการเบิกจ่ายได้ 1.23 แสนล้านบาทเท่านั้น โดยเป็นวงเงินในส่วนของการเยียวยาประชาชนจาก COVID-19 เช่น นโยบายเราไม่ทิ้งกันจ่ายเงิน 5,000 บาท ที่เหลือซึ่งจะมีงบส่วนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ภาครัฐจะต้องเร่งเบิกจ่ายให้ได้เร็วที่สุดเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของปีนี้

    ทั้งนี้ เอเซีย พลัส ประเมินด้วยว่าจีดีพีไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในช่วง Q2/2563 โดยคาดว่าจีดีพีไทยติดลบแรงถึง -15.0% และจะดีขึ้นในช่วง Q3-Q4/2563 แต่ก็ยังติดลบอยู่โดยอยู่ที่ -8.5% และ -6.0% ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจจะยังแย่กว่าไตรมาสแรกของปีซึ่งเพิ่งเริ่มได้รับผลกระทบจาก COVID-19

    ที่มา : เอเซีย พลัส

    ตลาดหุ้นไทยระวัง Q3 มี “หลุม” รออยู่

    ด้านตลาดหุ้นไทย มีการปรับขึ้นมาแล้ว 40% ภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งการฟื้นตัวแรงนั้นเอเซีย พลัสวิเคราะห์ว่า มาจากการลงทุนของนักลงทุนไทยเป็นหลัก เนื่องจาก Fund Flow ของต่างชาติยังไหลออกต่อเนื่อง และเชื่อว่า Q3 จะยังเป็นลักษณะนี้ต่อไป

    โดยการเติบโตของตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา พบว่าเกิดจากทั้งการเปิดกองทุนรวมเพิ่มขึ้นของสถาบันการเงิน และการเข้ามาเก็งกำไรจำนวนมากขึ้นของนักลงทุนรายย่อย พบว่าการเปิดบัญชีของรายย่อยช่วงเดือน ก.พ. – เม.ย. 63 สูงขึ้น 5.91% ซึ่งจะทำให้ตลาดมีโอกาสผันผวนสูง

    ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานที่จะผลักให้ตลาดหุ้นโตต่อนั้นลดลง อย่างแรกคือกองทุน SSFX ซึ่งมีการเร่งซื้อจบไปแล้วตั้งแต่สิ้น Q2 ด้วยมูลค่าการซื้อกว่า 8.8 พันล้านบาท ทำให้ Q3 จะไม่ได้อานิสงส์เม็ดเงินลงทุนส่วนนี้แล้ว

    ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจ Q2 ที่จะมาแสดงผลใน Q3 นั้นมีแนวโน้มจะเป็นปัจจัยลบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยแบงก์ชาติจะมีการประกาศจีดีพีประเทศ Q2 ในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ รวมถึงการประกาศผลกำไรบริษัทหลักทรัพย์ในตลาดหุ้น Q2 ที่น่าจะทำได้ดีที่สุดคือเท่ากับ Q1 ดังนั้น “อนาคตจะมีหลุมรออยู่แน่ๆ แต่ไม่รู้ว่าลึกแค่ไหน” เทิดศักดิ์กล่าว

    ที่มา : เอเซีย พลัส

    จากภาพรวมทั้งหมด เอเซีย พลัสจึงแนะนำลงทุนหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการรับงานลงทุนภาครัฐเป็นหลัก โดยตัวเลขแบ็กล็อกงานจะสำคัญต่อราคาหุ้น ไม่ว่าจะเป็นงานโครงสร้างพื้นฐานขนส่งมวลชนหรือโทรคมนาคมก็ตาม เช่น SEAFCO, INSET รวมถึงหุ้นที่มีแรงส่งเฉพาะตัว เช่น CPF เนื่องจากราคาสุกรปรับขึ้นหลังคลายล็อกดาวน์โดยที่ปัญหาโรคไข้หวัดหมูแอฟริกาในจีนและเวียดนามยังไม่คลี่คลาย เป็นโอกาสการขายของ CPF ขณะที่ต้นทุนอาหารสัตว์ยังไม่ปรับขึ้น จึงยังทำกำไรได้ดี

    ]]>
    1286934
    ส่อง 8 มาตรการ กยศ.ช่วยลูกหนี้สู้ COVID-19 ลดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% หักเงินเดือน 10 บาท https://positioningmag.com/1271161 Wed, 01 Apr 2020 10:01:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271161 กยศ. เผย 8 มาตรการอุ้มลูกหนี้สู้ภัย COVID-19 ลดเบี้ยปรับจาก 7.5% เหลือ 0.5% ลดจำนวนหักเงินเดือนของผู้กู้ยืมทุกรายในกลุ่มหน่วยงานเอกชนเหลือ 10 บาท/คน/เดือน ชำระหนี้ลดเบี้ยปรับ 75-80% พักชำระหนี้ 2 ปี สำหรับผู้กู้ยืมที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้กู้ยืมที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เกิน 8,008 บาทต่อเดือน สามารถขอผ่อนผันได้คราวละ 1 ปี ไม่เกิน 2 คราว ผู้กู้ยืมที่มีรายได้ถดถอยขยายระยะเวลาการชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 2.5 เท่าจากสัญญาเดิม รวมถึงงดการขายทอดตลาดทุกกรณี และชะลอการบังคับคดี ยกเว้นกรณีใกล้ขาดอายุความ

    ชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจในวงกว้าง ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีพของผู้กู้ยืม กองทุนฯ ได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างชำระหนี้

    โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1. ลดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% จาก 7.5% ในกรณีที่ผู้กู้ยืมยังไม่ถูกดำเนินคดีและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด กองทุนฯ จะปรับลดเบี้ยปรับให้กับผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระเงินกู้ยืมเป็นการชั่วคราว จากอัตรา 7.5% ต่อปี เป็นอัตรา 0.5% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 31 ธันวาคม 2563
    2. ลดจำนวนหักเงินเดือนเหลือ 10 บาทต่อคนต่อเดือน กองทุนฯ จะปรับลดจำนวนเงินที่แจ้งให้หักเงินเดือน เพื่อชำระเงินคืนกองทุนฯ ของผู้กู้ยืมทุกรายในกลุ่มหน่วยงานเอกชน จากจำนวนเงินที่เคยแจ้งหัก เป็นแจ้งให้นายจ้างหักเงินของผู้กู้ยืมทุกรายรายละ 10 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 30 มิถุนายน 2563
    3. ลดเบี้ยปรับ 80% สำหรับผู้กู้ยืมทุกกลุ่มที่ค้างชำระหนี้ และปิดบัญชีในครั้งเดียว กรณีผู้กู้ยืมที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี ติดต่อชำระหนี้ที่ธนาคารกรุงไทยหรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กรณีผู้กู้ยืมถูกดำเนินคดี ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ได้ที่เว็บไซต์ กยศ. โดยผู้กู้ยืมต้องชำระค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้เสร็จสิ้นก่อนชำระหนี้ปิดบัญชี โดยขยายระยะเวลาเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นให้สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563
    4. ลดเบี้ยปรับ 75% เฉพาะผู้กู้ยืมที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีที่ชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ (ไม่ค้างชำระ) โดยติดต่อชำระหนี้ที่ธนาคารกรุงไทยหรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยให้ขยายระยะเวลาเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นให้สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563
    5. พักชำระหนี้ให้แก่ผู้กู้ยืมที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2 ปี ผู้กู้ยืมที่มีสถานะยังไม่ถูกดำเนินคดี จะได้รับการผ่อนผันการชำระหนี้ตามเงื่อนไข กรณีผู้ที่มีงวดชำระเป็นรายปี ได้รับสิทธิ์ผ่อนผันการชำระหนี้งวดปี 2563 เป็นเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กองทุนฯ อนุมัติ โดยผู้กู้ยืมจะกลับมาชำระหนี้งวดปี 2563 ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 และงวดที่เหลือในปีถัดไป กรณีผู้ที่มีงวดชำระเป็นรายเดือน ให้ผ่อนผันการชำระหนี้ 24 เดือน นับตั้งแต่เดือนถัดไปที่กองทุนฯ อนุมัติ โดยในระหว่างพักชำระหนี้ดังกล่าว กองทุนฯ จะไม่ถือว่าผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้ กองทุนฯ​ จะหยุดคิดดอกเบี้ย เบี้ยปรับ หรือค่าธรรมเนียมผิดนัดชำระหนี้ทั้งงวดที่ค้างชำระก่อนหน้าและงวดที่อยู่ระหว่างผ่อนผันการชำระหนี้ จนกว่าระยะเวลาพักชำระหนี้จะสิ้นสุด โดยขยายเวลาให้ผู้กู้ยืมสามารถลงทะเบียนยื่นคำขอรับสิทธิ์ได้ทางเว็บไซต์ กยศ. เดิมสิ้นสุดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นให้สิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2563
    6. ผ่อนผันการชำระหนี้ ในกรณีสถานการณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้และไม่เป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ สามารถยื่นคำขอผ่อนผันและส่งเอกสารหลักฐานไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนครบกำหนดชำระหนี้ ในวันที่ 5 กรกฎาคม ซึ่งเป็นไปตามประกาศของกองทุนฯ ที่มีอยู่เดิมแล้ว ดังนี้

    กรณีผู้กู้ยืมที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เกิน 8,008 บาทต่อเดือน สามารถขอผ่อนผันได้ไม่เกิน 2 คราว คราวละไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งในช่วงเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน ผู้กู้ยืมไม่ต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย รวมถึงยกเว้นเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ได้รับการผ่อนผัน
    กรณีผู้กู้ยืมที่มีรายได้ถดถอย สามารถขอผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ได้ตั้งแต่ 1.5-2.5 เท่าของระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามสัญญากู้ยืมเดิม โดยขึ้นอยู่กับมูลหนี้คงเหลือ ในการชำระเงินงวดสุดท้าย ผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี และผู้กู้ยืมจะต้องทำบันทึกข้อตกลงกับกองทุนฯ เพื่อนำยอดหนี้คงเหลือมาคำนวณใหม่ และเฉลี่ยให้ชำระในแต่ละเดือนเท่าๆ กันภายในระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน

    1. งดการขายทอดตลาด สำหรับผู้กู้ยืม และ/หรือผู้ค้ำประกัน ที่กองทุนฯ​ ได้ดำเนินการยึดทรัพย์ไว้ทุกราย และขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการขายทอดตลาด กองทุนฯ จะยื่นคำร้องของดการขายทอดตลาดทุกรายไปจนถึงสิ้นปี 2563 โดยจะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้กู้ยืม และ/หรือ ผู้ค้ำประกันที่ถูกยึดทรัพย์ รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ผู้รับจำนองที่ยึดไว้ (ถ้ามี)

     

    1. ชะลอการบังคับคดี สำหรับผู้กู้ยืม และ/หรือ ผู้ค้ำประกันทุกคดี กองทุนฯ จะชะลอการบังคับคดีไว้ ยกเว้นกรณีที่คดีใกล้ขาดอายุความ กองทุนฯจำเป็นต้องดำเนินการบังคับคดีตามกฎหมาย แต่จะงดการขายทอดตลาดไว้

     

    ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมสามารถดูรายละเอียดมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ทาง www.studentloan.or.th และเพื่อเป็นการร่วมเว้นระยะห่างทางสังคม สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line@กยศ. หรือ Line@กยศ.หักเงินเดือน หรือ Line@กยศ.คดีและบังคับคดี หรือ e-mail : info@studentloan.or.th

    ]]>
    1271161
    โปรตุเกสปลดล็อกให้ “ผู้อพยพ” ได้สิทธิเป็นผู้พำนักชั่วคราว เพื่อให้เข้าถึงระบบสาธารณสุข https://positioningmag.com/1270924 Tue, 31 Mar 2020 06:34:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1270924 โปรตุเกสปลดล็อกให้ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยที่อยู่ระหว่างยื่นขอสิทธิการอยู่อาศัย จะได้รับสิทธิเป็นผู้พำนักถาวรในโปรตุเกสชั่วคราวจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เพื่อให้คนต่างชาติเหล่านี้เข้าถึงระบบสาธารณสุข ระหว่างการระบาดของไวรัส COVID-19

    คณะรัฐมนตรีแห่งโปรตุเกสประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2563 ว่า ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยที่อยู่ระหว่างยื่นขอสิทธิการอยู่อาศัยในประเทศกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จะได้รับสิทธิเป็นผู้พำนักถาวร (Permanent Resident) ในโปรตุเกสชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคมถึงวันที่ 30 มิถุนายนนี้ เพื่อการันตีสิทธิของชาวต่างชาติเหล่านี้ได้ชัดเจนว่าพวกเขาจะเข้าถึงระบบสาธารณสุขเสมือนชาวโปรตุเกสแต่กำเนิด

    คณะรัฐมนตรีโปรตุเกสอธิบายถึงการตัดสินใจนี้ว่า เกิดขึ้นเพื่อ “ลดความเสี่ยงทางสุขภาพสาธารณะ” ทั้งของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองและผู้อพยพ/ผู้ลี้ภัย หากยังนัดหมายเพื่อดำเนินการพิจารณาสิทธิพำนักอาศัยอยู่ อีกนัยหนึ่งคือเป็นความพยายามลดการแพร่ระบาดด้วยการลดการพบเจอกันของผู้คนให้มากที่สุด

    การประกาศนี้จะทำให้ผู้อยู่ระหว่างยื่นขอสิทธิพำนัก เพียงแสดงเอกสารหลักฐานว่าเป็นผู้อยู่ระหว่างยื่นขอสิทธิพำนัก จะสามารถเข้าใช้ระบบสาธารณสุข สวัสดิการสังคม เปิดบัญชีธนาคาร ทำงาน และทำสัญญาเช่าต่างๆ ได้ในระยะเวลาดังกล่าว

    “คนไม่ควรจะถูกตัดสิทธิเข้าถึงบริการสุขภาพและบริการสาธารณะเพียงเพราะเอกสารของพวกเขายังดำเนินการไม่เสร็จ ในห้วงเวลาพิเศษเช่นนี้ สิทธิของผู้อพยพต้องได้รับการรับประกัน” คลอดิโอ เวโลโซ โฆษกกระทรวงมหาดไทยของโปรตุเกสกล่าว

    สำหรับจำนวนผู้อพยพ/ผู้ลี้ภัยที่อยู่ระหว่างยื่นขอสิทธิพักอาศัยนั้นไม่ได้ประกาศออกมาว่ามีจำนวนเท่าไหร่ แต่สำนักข่าว Independent รายงานอ้างอิงตัวเลขผู้ได้สิทธิพำนักถาวรตลอดปี 2562 ของโปรตุเกสมีทั้งหมด 1.35 แสนคน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวบราซิล

    ประเทศโปรตุเกสนั้นประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 และสถานการณ์ฉุกเฉินจะบังคับใช้นาน 15 วัน

    จนถึงปัจจุบัน โปรตุเกสมีผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 แล้ว 6,408 ราย มีผู้เสียชีวิต 140 ราย และผู้ป่วยรักษาหาย 43 ราย โดยจำนวนผู้ติดเชื้อของโปรตุเกสถือว่าต่ำกว่าเพื่อนบ้านติดกันอย่างสเปนมาก เพราะสเปนกลายเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากเป็นอันดับ 3 ของโลกแล้ว โดยมีผู้ติดเชื้อกว่า 87,000 คน และผู้เสียชีวิตกว่า 7,700 ราย

    Source: CNN, Independent

    ]]>
    1270924
    ก่อนลงทะเบียนแจก 5,000 บาท! เยียวยาผลกระทบ COVID-19 มาเช็กคุณสมบัติและสิ่งที่ต้องเตรียม https://positioningmag.com/1270376 Fri, 27 Mar 2020 09:57:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1270376 คลังเคาะเปิด www.เราไม่ทิ้งกัน.com วันเสาร์นี้ 28 มีนาคม 2563 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป เพื่อเป็นช่องทางลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือเยียวยาเดือนละ 5,000 บาทต่อเนื่อง 3 เดือน สำหรับลูกจ้างนอกระบบประกันสังคมที่ขาดรายได้จากเหตุการณ์การระบาดไวรัส COVID-19 ผู้เข้าเกณฑ์คือกลุ่มไหน และต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เช็กกันได้ที่นี่!

    คุณสมบัติผู้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทต่อเดือน ระยะ 3 เดือน

    • เป็นลูกจ้างชั่วคราว แรงงาน อาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม
    • ถูกปลดออกจากงานหรือเลิกจ้าง เนื่องจากนายจ้างปิดกิจการ
    • อายุ 18 ปีขึ้นไป

    สิ่งที่ต้องเตรียม

    • บัตรประชาชน
    • ข้อมูลส่วนตัว
    • ข้อมูลการประกอบอาชีพ
    • ข้อมูลนายจ้าง
    • โทรศัพท์มือถือ (สำหรับรับ SMS แจ้งผล)
    • บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขที่บัตรประชาชน หรือ บัญชีธนาคารใดๆ ก็ได้ที่มีชื่อบัญชีตรงกับชื่อผู้ขอรับเงินเยียวยา
    • อุปกรณ์ที่สามารถใช้เข้าเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เพื่อลงทะเบียนออนไลน์ได้

    หลังจากเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เปิดลงทะเบียนในเวลา 18.00 น. ของวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 สามารถเข้าไปลงทะเบียน กรอกข้อมูลตามกำหนด และรอรับผลการตรวจสอบว่าได้รับอนุมัติเงินเยียวยาหรือไม่ทาง SMS ตามเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ได้ลงทะเบียนไว้ โดยเงินเยียวยาจะโอนเข้าสู่บัญชีเร็วที่สุด 7 วันนับจากวันลงทะเบียน

    ทั้งนี้ กระทรวงการคลังแนะนำประชาชนที่ไม่มีอุปกรณ์ในการลงทะเบียนหรือรับ SMS อาจขอความร่วมมือให้ญาติหรือบุคคลใกล้ชิดลงทะเบียนแทนได้ และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ Call Center ของธนาคารกรุงไทย หมายเลขโทรศัพท์ 0-2111-1144

    “อุตตม สาวนายน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังกล่าวด้วยว่า ขอความร่วมมือประชาชนที่ไม่ได้รับความเดือดร้อนจาก COVID-19 ไม่อยากให้เข้ามาแข่งรับเงินกับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจริงๆ และขอย้ำว่าไม่ควรเดินทางมาที่ธนาคารกรุงไทย ให้ลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น เพื่อลดการกระจายตัวของเชื้อไวรัส

    โดยกระทรวงการคลังประเมินว่ามีแรงงานนอกระบบประกันสังคมได้รับความเดือดร้อนครั้งนี้ 3 ล้านคน ทำให้เตรียมงบเยียวยาไว้ 45,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากมีผู้ได้รับความเดือดร้อนมากกว่านี้ ก็สามารถเสนอขอจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้

    ด้าน “ผยง ศรีวณิช” กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารมีระบบ AI สำหรับตรวจสอบผู้ได้รับผลกระทบ และระบบของเว็บไซต์นี้สามารถรองรับผู้ลงทะเบียนพร้อมกันได้ 58,000 รายการต่อวินาที หรือ 3.48 ล้านคนต่อนาที พร้อมเสริมว่า ประชาชนไม่จำเป็นต้องรีบร้อนลงทะเบียนตั้งแต่เวลาเริ่มเปิดใช้ เนื่องจากระบบสามารถเข้าลงทะเบียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง

    Source

    ]]>
    1270376
    สรุปแถลงการณ์นายกฯ ประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ย้ำไม่มีการปิดร้านค้าจำเป็นต่อการดำรงชีพ https://positioningmag.com/1269923 Wed, 25 Mar 2020 08:57:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1269923 สรุปประเด็นจากการแถลงของนายกรัฐมนตรี วันที่ 25 มี.ค. 63 ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจะมีผลบังคับใช้ระหว่างวันที่ 26 มี.ค. – 30 เม.ย. 63 ย้ำจะไม่มีการปิดร้านค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ แต่จะมีข้อกำหนดที่เข้มข้นขึ้นทยอยออกบังคับใช้ เน้นย้ำเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ถูกต้อง

    สรุปประเด็นแถลงการณ์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินรับมือไวรัสโคโรนา 2019

    • ประกาศ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง บังคับใช้ระหว่างวันที่ 26 มี.ค. – 30 เม.ย.63
    • ยกระดับ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้เป็นหน่วยงานพิเศษตามมาตรา 7
    • ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข, ปลัดกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบด้านการสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัด – ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร , ปลัดกระทรวงพาณิชย์ รับผิดชอบด้านการควบคุมสินค้าและเวชภัณฑ์ , ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ รับผิดชอบด้านการต่างประเทศ และการคุ้มครองช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้รับผิดชอบในการด้านความมั่นคงการปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภท การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ
    • โดยนายกฯ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ และเป็นผู้แถลงต่อประชาชนเพียงผู้เดียว ยกเว้นมอบหมายให้ผู้อื่น
    • สิ่งที่จะทยอยประกาศตามมา เช่น การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง, การปิดสถานที่เสี่ยงเพิ่มเติม, การปิดช่องทางเข้าประเทศ, การเสนอข้อพึงปฏิบัติสำหรับ ผู้สูงวัย คนป่วย และเด็ก, การห้ามกักตุนสินค้า, การขึ้นราคาสินค้าโดยไม่มีเหตุผล และการห้ามเสนอข่าวบิดเบือน การกำหนดมาตรการ จะเลือกใช้เฉพาะมาตรการตามจำเป็น โดยรับฟังจากข้อมูลทางการแพทย์เป็นสำคัญ
    • แต่ยืนยันจะไม่มีการปิดร้านค้าที่จำเป็นกับการดำรงชีวิต
    • จะมีการใช้แอปพลิเคชันกำหนดโลเคชัน มาช่วยในการเฝ้าสังเกตอาการ หรือการกักกันตัว
    • นายกฯ จะปรับปรุงเรื่องการสื่อสาร การแถลงข่าว คำแนะนำต่อประชาชน ได้สั่งการให้ลดการแถลงข่าวเหลือเพียงวันละครั้ง เพื่อลดการบิดเบือน ความซ้ำซ้อนของข้อมูล
    • ขอให้สื่อมวลชนใช้ข้อมูลจากทีมสื่อสารเฉพาะกิจ แทนการขอสัมภาษณ์บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่
    • ผู้ใช้สื่อโซเชียลขอให้ช่วยกันรายงานข้อมูลที่ถูกต้อง ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของท่านกระจายข้อมูลให้ไปถึงคนทุกเพศทุกวัย
    • ศูนย์ฯ จะดึงคนเก่งทุกภาคส่วนรวมถึงภาคเอกชนมาร่วมงาน ทีมจะใช้เวลา 1 สัปดาห์ไปพูดคุยกับทุกส่วนเพื่อทำความเข้าใจปัญหา
    • ต่อไปนี้ มาตรการของรัฐจะเข้มข้นขึ้น ประชาชนอาจรู้สึกว่าเสียความสะดวกสบาย เสียสิทธิเสรีภาพบ้าง แต่ก็เป็นการทำเพื่อความปลอดภัยของทุกคน

     

    อ่านแถลงการณ์นายกฯ ฉบับเต็ม ณ วันที่ 25 มี.ค. 63 ได้ด้านล่าง

    พี่น้องประชาชนครับ ช่วงเวลาหลายสัปดาห์และหลายเดือนข้างหน้าต่อจากนี้ไป เราอาจจะต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่เลวร้ายและเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเรา ช่วงเวลานี้เป็นบททดสอบที่เราทุกคนไม่เคยเผชิญมาก่อน ถึงวันนี้เราต้องยอมรับความจริงว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของภาวะวิกฤตจากไวรัสโควิด-19 และสถานการณ์อาจจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นและเลวร้ายยิ่งขึ้นกว่านี้อีกหลายเท่า ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ รวมทั้งรายได้และการใช้ชีวิตของคนไทยทุกคน

    ด้วยเหตุนี้ ผม ในฐานะนายกรัฐมนตรี จึงจำเป็นต้องดำเนินมาตรการต่างๆ ด้วยความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เราสามารถหยุดการแพร่ระบาดพร้อมกับลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนทุกคนให้ได้ ผมจะเข้ามาบัญชาการการจัดการกับไวรัสโควิด-19 ในทุกมิติอย่างเต็มตัว ทั้งด้านการป้องกันการระบาด การรักษาพยาบาล ไปจนถึงการเยียวยาและฟื้นฟูประเทศจากผลกระทบของโควิด-19

    ผมจะเป็นผู้นำในภารกิจนี้และรายงานตรงต่อประชาชนชาวไทยทุกคน โดยจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว

    และจะยกระดับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้ตั้งไว้แล้วให้เป็นหน่วยงานพิเศษ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดฯ เพื่อบูรณาการทุกส่วนราชการและสั่งการทุกส่วนราชการได้อย่างมีเอกภาพ รวดเร็ว เนื่องจากในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ จำเป็นต้องรวมศูนย์สั่งการไว้ที่เดียว เพื่อกำหนดแนวทางที่ชัดเจนและขจัดปัญหาการทำงานแบบ “ต่างคนต่างทำ” ของหน่วยงานต่างๆ โดยมีผมเป็นประธาน

    โดยกำหนดให้ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านการสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัด – ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านการควบคุมสินค้าและเวชภัณฑ์ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านการต่างประเทศ และการคุ้มครองช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านความมั่นคงการปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภทการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ

    รวมทั้งมีทีมงานจากทุกภาคส่วนเป็นคณะที่ปรึกษา โดยจะประชุมร่วมกันทุกวันเพื่อให้ทุกฝ่ายรับทราบข้อมูลสถานการณ์เป็นภาพเดียวกัน และเมื่อผมแจกจ่ายงาน ทุกฝ่ายจะรับทราบแผนงานทั้งหมดไปพร้อมกัน สามารถทำงานสอดประสานไปในทิศทางเดียวกันได้ ซึ่งผู้ที่จะรายงานต่อประชาชน จะต้องเป็นผม หรือผู้ที่ผมมอบหมายเท่านั้น

    สำหรับข้อกำหนดต่างๆ เช่น การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง, การปิดสถานที่เสี่ยง ซึ่งปิดไปบ้างแล้ว, การปิดช่องทางเข้าประเทศ, การเสนอข้อพึงปฏิบัติสำหรับ ผู้สูงวัย คนป่วย และเด็ก การห้ามกักตุนสินค้า,การขึ้นราคาสินค้าโดยไม่มีเหตุผลการห้ามเสนอข่าวบิดเบือน จะมีการประกาศตามมา หลังจากที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว

    ผมขอยืนยันว่า ภายใต้พระราชกำหนดฉบับนี้ จะไม่มีการปิดร้านค้าที่จำหน่ายสิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ข้อกำหนดเหล่านี้อาจจะสร้างความไม่สะดวกกับพี่น้องประชาชนบ้าง แต่ขอให้ทุกท่านร่วมมือและเสียสละเพื่อส่วนรวม

    งานหลักๆ ที่เราจะต้องให้ความสำคัญมากที่สุด และดำเนินการควบคู่กันไป คือ งานป้องกันการระบาด ด้วยการควบคุมพื้นที่ ทุกพื้นที่และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น แอพลิเคชันกำหนดโลเคชัน มาช่วยในการเฝ้าสังเกตอาการ หรือควอรันทีน การรักษาพยาบาล รวมทั้งการเยียวยา ฟื้นฟูประเทศจากผลกระทบของเชื้อไวรัสโควิด-19

    นอกจากนี้ ผมจะปรับปรุงให้การสื่อสารเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 กับประชาชน ให้มีความถูกต้อง ชัดเจน และครบถ้วน โดยผมได้สั่งการให้มีการแถลงข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์และมาตรการต่างๆ รวมถึงคำแนะนำต่อประชาชนเพียงวันละหนึ่งครั้ง เพื่อลดความซ้ำซ้อน ลดการบิดเบือนข้อมูล และลดการสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

    ผมขอยืนยันว่าประชาชนจะได้รับข้อมูลที่เป็นทางการ ตรงไปตรงมา โปร่งใส และชัดเจน จากเพียงแหล่งเดียว เป็นประจำทุกวัน นอกจากนี้ ผมขอความร่วมมือให้สื่อมวลชนเพิ่มความรับผิดชอบในการรายงานข่าว ขอให้ใช้ข้อมูลจากการแถลงประจำวันของทีมสื่อสารเฉพาะกิจและทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก แทนการขอสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ต่าง ๆ เพื่อให้ท่านเหล่านั้น สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ ผมเชื่อว่าหากทำได้เช่นนี้
    สื่อมวลชนจะเป็นกำลังสำคัญในการสู้กับภัยโควิด-19 ครั้งนี้

    สำหรับผู้ใช้ social media ทุกท่าน พวกเราคือ ทีมเดียวกัน ทุกท่านสามารถร่วมแชร์ข้อมูลที่ถูกต้องจากการแถลงประจำวัน ช่วยกันรายงาน และต่อต้านการแชร์ข่าวปลอม และใช้ความคิดสร้างสรรค์ของท่าน ช่วยให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยรับรู้และเข้าใจข้อมูลได้ง่ายและกว้างขวางยิ่งขึ้น

    นอกจากนี้ ผมขอเตือนกลุ่มคนที่จะฉวยโอกาสหาผลประโยชน์บนความทุกข์ร้อน ความเป็นความตายของประชาชน ให้รู้ไว้ว่า อย่าคิดว่าจะหลุดพ้นไปได้ ผมจะทำทุกทาง ที่จะใช้กฏหมายจัดการกับกลุ่มคนเหล่านี้อย่างรวดเร็ว เด็ดขาด และไม่ปรานี การบังคับใช้กฎหมายและข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการควบคุมโรค จะเข้มข้นขึ้นมากทั่วประเทศ ทั้งการเอาผิดผู้ที่ละเมิดกฎหมายและการเอาผิดข้าราชการและเจ้าพนักงานที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่

    อย่างไรก็ตาม ภาครัฐอย่างเดียวไม่สามารถฝ่าวิกฤตไปได้เพียงลำพัง ถ้าเราไม่จับมือ และดึงภาคส่วนอื่นๆ เข้ามาเป็นทีมเดียวกันกับภาครัฐ ประเทศไทยโชคดีที่มีคนเก่งมากมายอยู่ในภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่พร้อมจะช่วยรัฐบาลแก้ปัญหา ภายในหนึ่งสัปดาห์ผมจะกระจายทีมงานไปทำความเข้าใจปัญหาและความต้องการของทุกกลุ่ม รวมทั้งรับทราบศักยภาพของแต่ละกลุ่มในการที่จะเข้ามาร่วมมือกันแก้ปัญหา และผมจะดึงคนเก่งเหล่านี้มาร่วมกันทำงาน

    ต่อจากนี้ไป มาตรการต่างๆ ที่รัฐจะออกมาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อร้ายนี้จะมีความเข้มข้นขึ้น จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน ผมขอความร่วมมือและขอให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รวมทั้ง ปฏิบัติตามนโยบายป้องกันโรคระบาดนี้อย่างเคร่งครัด

    บางคนอาจจะรู้สึกเสียสิทธิเสรีภาพ แต่เป็นการทำเพื่อปกป้องชีวิตของท่านเอง ของครอบครัวของท่าน และของคนไทยทุกคน หากพวกเราเข้าใจ เข้มงวดและจริงจัง ในเวลาไม่นาน ผมมั่นใจว่าพวกเราจะสามารถก้าวพ้นสถานการณ์อันเลวร้ายนี้ไปได้

    ช่วงเวลานี้ อาจเป็นช่วงเวลาที่สร้างความเจ็บปวด และท้าทายความรัก ความสามัคคีของพวกเราทุกคน แต่ขณะเดียวกัน ช่วงเวลานี้ก็เป็นช่วงเวลาที่จะดึงสิ่งที่ดีที่สุดในตัวของพวกเราคนไทยทุกคนออกมา นั่นก็คือความกล้าหาญ ความรัก ที่มีต่อพี่น้องร่วมชาติ ความเสียสละที่จะช่วยเหลือผู้อื่น รวมถึงความเอื้ออาทรต่อกันและกัน ซึ่งจะนำพาให้เราก้าวผ่านช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ไปได้ด้วยความสามัคคี ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความมีน้ำใจของคนไทยซึ่งหาไม่ได้จากชาติใดในโลก

    ไวรัสโควิด-19 ที่น่ากลัวและอันตราย ได้สร้างความเสียหายไปทั่วโลกก็จริง แต่สิ่งหนึ่งที่ไวรัสโควิด-19 ไม่สามารถทำร้ายได้ก็คือ ความดีงามในใจและความสามัคคีของคนไทยจะกลับมาเปล่งประกายไปทั่วผืนแผ่นดินไทยอีกครั้ง

    ผมในฐานะนายกรัฐมนตรี ขอให้คำมั่นสัญญากับทุกคนว่า ผมจะเดินหน้าสุดความสามารถเพื่อนำประเทศไทยให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปให้ได้ ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชนชาวไทยทุกคนเป็นสิ่งสำคัญเหนืออื่นใด ผมขอให้ทุกคนเชื่อมั่นและร่วมมือกันฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน ประเทศไทยที่รักของเราทุกคนจะต้องกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง เราจะสู้ไปด้วยกัน และเราจะชนะไปด้วยกัน ขอบคุณครับ

    …………….

    ]]>
    1269923
    แจกเดือนละ 5,000 นาน 3 เดือน! เยียวยาลูกจ้างรายวัน-ฟรีแลนซ์ตกงาน กระทบจาก COVID-19 https://positioningmag.com/1269670 Tue, 24 Mar 2020 08:49:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1269670 รัฐบาลเคาะแล้ว! มาตรการเยียวยาลูกจ้างชั่วคราว-อาชีพอิสระนอกระบบประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 จะได้รับเงินสนับสนุนรายละ 5,000 บาทต่อเดือน ต่อเนื่อง 3 เดือน นอกจากนี้ จะจัดสินเชื่อก้อนแรกให้กู้ได้รายละ 10,000 บาท ดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน และสินเชื่อก้อนที่สองให้กู้ได้รายละ 50,000 บาท ดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน เตรียมไว้สำหรับผู้ที่ต้องการกระแสเงินสดเพิ่มเติม

    สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ แถลงภายหลังนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ในวันนี้ (24 มี.ค. 63) ว่า รัฐบาลเตรียมมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในระยะที่ 2 แล้ว โดยจะสนับสนุนเงิน คนละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งผู้ที่จะได้รับเงินสนับสนุนดังกล่าว ต้องเป็นแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม จากการปิดพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดชั่วคราว ซึ่งคาดว่ามีจำนวน 3 ล้านคน

    ผู้ที่ต้องการเงินช่วยเหลือสามารถลงทะเบียนได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com (โปรดติดตามวันเปิดให้บริการลงทะเบียนอีกครั้งหนึ่ง โดยจะเริ่มเปิดใช้ในเดือนเมษายนนี้) โดยใช้หลักฐานคือ บัตรประชาชน ข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลนายจ้าง จากนั้นจะได้รับเงินเยียวยาผ่านทางพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน หรือ โอนเข้าบัญชีธนาคาร ภายใน 5 วันหลังลงทะเบียน

    สำหรับผู้อยู่ในระบบประกันสังคมนั้น จะเพิ่มสิทธิกรณีว่างงาน จะได้รับเงินชดเชย 50% ของค่าจ้าง แบ่งออกเป็น 2 กรณี โดยกรณีแรกคือ นายจ้างให้หยุดงาน กรณีนี้จะรับเงินชดเชยไม่เกิน 180 วัน กรณีที่สอง กรณีภาครัฐสั่งหยุดรับเงินไม่เกิน 90 วัน

    นอกจากนี้ รัฐบาลยังจัดสรรสินเชื่อวงเงินรวม 4 หมื่นล้านบาท เป็นสินเชื่อพิเศษอัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน ให้บุคคลกู้สินเชื่อนี้ได้ 10,000 บาทต่อคน โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ขณะเดียวกัน ยังเตรียมสินเชื่อพิเศษอีกวงเงินหนึ่ง มูลค่ารวม 2 หมื่นล้านบาท ให้กู้เพิ่มเติมได้อีก 50,000 บาทต่อคน หากก้อนแรกยังไม่เพียงพอ โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน

    Source

    ]]>
    1269670
    สายการบินระส่ำทั่วโลก! IATA ประเมินธุรกิจนี้ต้องการให้ “รัฐช่วยอุ้ม” 2 แสนล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1268812 Wed, 18 Mar 2020 11:32:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1268812
  • การระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารลดฮวบ IATA คาดว่าสายการบินทั่วโลกจะต้องการเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลรวมกันประมาณ 1.5-2.0 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มิฉะนั้นวิกฤตครั้งนี้จะทำให้บางสายการบินต้องปิดตัวลง
  • หากสายการบินจะรอดพ้นวิกฤต จำเป็นต้องได้รับเงินและมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาล ซึ่งบางประเทศเริ่มช่วยเหลือธุรกิจสายการบินแล้ว เช่น อิตาลีที่ซื้อคืนสายการบิน Alitalia กลับมาเป็นของรัฐอย่างสมบูรณ์
  • ก่อนหน้านี้ IATA ประเมินว่าสายการบินทั่วโลกจะมีรายได้ลดลงมากกว่า 1.13 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และมีเพียง 30 สายการบินที่มีกระแสเงินสดแข็งแรงพอที่จะพยุงตัวเองได้
  • สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ประเมินว่าอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกจะต้องการมาตรการช่วยเหลือและเงินสนับสนุนจากรัฐมูลค่าประมาณ 1.5-2.0 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้รอดพ้นวิกฤตครั้งนี้ มิฉะนั้นแล้วการระบาดของไวรัส COVID-19 จะส่งผลให้หลายสายการบินต้องล้มละลาย หรือเกิดการควบรวมกิจการ

    โดยขณะนี้มีบางสายการบินที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐแล้ว เช่น Alitalia ซึ่งรัฐบาลอิตาลีประกาศแผนเข้าซื้อคืนกลับมาเป็นของรัฐอย่างสมบูรณ์ (ก่อนหน้านี้ Alitalia ประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องอยู่แล้ว และรัฐบาลพยายามหาผู้ลงทุนเพื่อผลักสายการบินให้กลับไปเป็นธุรกิจเอกชน) ขณะที่สายการบิน SAS สายการบินหลักของแถบสแกนดิเนเวียก็กำลังจะได้รับสินเชื่อที่รัฐบาลสวีเดนและเดนมาร์กค้ำประกันให้รวม 300 ล้านเหรียญสหรัฐ มาช่วยต่อลมหายใจ

    IATA ยังกล่าวถึงความเคลื่อนไหวของรัฐบาลประเทศสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และจีนที่มีมาตรการออกมาแล้ว ส่วนรัฐบาลสหรัฐฯ อังกฤษ และสหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะให้การช่วยเหลือสายการบิน

    ฟากบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินอย่าง Airbus ของฝรั่งเศส และ Boeing ของสหรัฐฯ ก็กำลังเจรจากับรัฐบาลประเทศตนเองเพื่อขอมาตรการช่วยเหลือ เนื่องจากบริษัทน่าจะได้รับผลกระทบหากหลายสายการบินชะลอหรือยกเลิกคำสั่งซื้อเครื่องบิน ทั้งนี้ บริษัท Airbus ปิดสำนักงานและไลน์การผลิตในฝรั่งเศสและสเปนแล้วเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายปิดเมืองของรัฐบาล

    Alexandre De Juniac ซีอีโอของ IATA กล่าวว่าสมาคมมีความพึงพอใจมากต่อการตอบรับของรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก “เรากำลังกดดันอย่างหนัก และรัฐบาลต่างรับฟังเรา”

    Photo : Shutterstock

    ก่อนหน้านี้ IATA ซึ่งมีสมาชิกสายการบิน 290 แห่ง ประเมินไว้ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2563 ว่าสายการบินทั่วโลกจะสูญเสียรายได้รวมกันมากกว่า 1.13 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปีนี้ แต่ข้อมูลดังกล่าวอาจจะต้องประเมินใหม่เพราะขณะนั้น IATA ยังไม่ได้ประเมินถึงความเสี่ยงของการปิดประเทศและแบนไฟลท์บินเข้าออกของหลายๆ ประเทศ

    IATA ยังประเมินด้วยว่า มีสายการบินเพียง 30 แห่งทั่วโลกที่สมาคมคาดว่ามีสุขภาพทางการเงินที่ดีพอจะรอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ไปได้ แต่ถึงเช่นนั้น กระแสเงินสดที่มีก็ทำได้เพียงพยุงตัวให้รอดไปได้ไม่กี่เดือนหากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ และยังคงเสี่ยงต่อการล้มละลาย

    สมาคมมองว่าธุรกิจสายการบินต้องการมาตรการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเพื่ออุ้มกิจการ การค้ำประกันเงินกู้ หรือการยกเว้นภาษีชั่วคราว และแม้แต่หลังจากวิกฤตได้ผ่านพ้นไปแล้ว De Juniac กล่าวว่าสายการบินจะยังคงอยู่ในสถานะอ่อนแอทางธุรกิจ และวอนขอให้รัฐบาลช่วยลดภาระให้ธุรกิจต่อไปก่อน

    ขณะนี้หลายๆ สายการบินถูกลดระดับเครดิตในการลงทุนไปแล้ว เช่น Lufthansa ของเยอรมนี ถูก Moody’s สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือลดระดับจากเกรดลงทุนไปอยู่ในกลุ่มเก็งกำไร ทำให้หุ้นกู้ของบริษัทที่มีกำหนดไถ่ถอนในปี 2567 ลดราคาลงไป 10 เซนต์เหลือ 78 เซนต์ต่อหุ้น Moody’s ยังลดระดับเครดิตของสายการบิน EasyJet แล้ว และกำลังพิจารณาเครดิตของสายการบิน British Airways รวมถึง IAG บริษัทแม่ของสายการบินด้วย

    Source

    ]]>
    1268812
    นายกฯ สั่งการตรวจเข้ม COVID-19 ตามจุดขนส่งมวลชน “ขอความร่วมมืองด” ชุมนุม-กิจกรรม https://positioningmag.com/1266781 Tue, 03 Mar 2020 10:00:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266781 นายกฯ สั่งการตั้งวอร์รูมรับมือ COVID-19 ณ ทำเนียบรัฐบาล สั่งหน่วยราชการงดเดินทางต่างประเทศ หากกลับจากต่างประเทศให้กักตัวในบ้าน 14 วัน สั่งตั้งจุดคัดกรองตามขนส่งมวลชน เช่น สนามบิน สถานีรถไฟ สถานีรถไฟฟ้า ให้ 3 กระทรวงร่วมประเมินความต้องการหน้ากากอนามัย-เจลสินค้า ควบคุมไม่ให้มีการกักตุน ขอความร่วมมือเอกชนงดจัดกิจกรรม-การชุมนุม ประกาศ สธ. ให้อำนาจนำผู้ต้องสงสัยว่าป่วยเข้ารับการรักษา

    วันนี้ (3 มี.ค.) เมื่อเวลา 13.50 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงสถานการณ์ไวรัส COVID-19 แจกเอกสารเป็นข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีและมาตรการระยะเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 และยังมีประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดมาตรการในการควบคุมโรคเพิ่มเติม ดังนี้

    ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี มาตรการระยะเร่งด่วน สำหรับการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19″

    1. ด้านการป้องกันโรค/สุขภาพ

    1.1 ให้ส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐ ดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด และหากมีความจำเป็นให้ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ดำเนินการ กำหนดมาตรการเป็นการภายในต่อไป

    1.2 ให้ส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐ ระงับหรือเลื่อนการเดินทางไปศึกษา ดูงาน อบรมหลักสูตร หรือประชุม ในประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 และประเทศเฝ้าระวังตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

    โดยในส่วนของการดูงานหรืออบรมหลักสูตร ขอให้พิจารณาเปลี่ยนแปลงงบประมาณเป็นการดูงานหรือจัดอบรมหลักสูตรภายในประเทศแทนจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย เว้นแต่กรณีมีความจำเป็นไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรจากหัวหน้าส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังพิจารณามาตรการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีผลกระทบต่อเอกชนคู่สัญญาน้อยที่สุด

    1.3 ให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เดินทางกลับมาจาก หรือเดินทางผ่าน หรือมีเส้นทางแวะผ่าน (Transit/Transfer) ประเทศที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อและแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 หรือ มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 และจำเป็นต้องสังเกตอาการ ปฏิบัติงานภายในที่พัก 14 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลา ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน จัดทำหลักเกณฑ์สำหรับให้ข้าราชการปฏิบัติงานภายในที่พัก โดยให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

    ในส่วนของประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับมาจาก หรือเดินทางผ่าน หรือมีเส้นทางแวะผ่าน (Transit/Transfer) ประเทศที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อและแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ให้ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการคัดกรองประชาชนกลุ่มดังกล่าวอย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด

    ในกรณีที่มีความจำเป็นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการขนส่งประชาชนกลุ่มดังกล่าวกลับภูมิลำเนาหรือไปยังสถานพยาบาลอย่างเหมาะสม รวมถึงการกำกับดูแล การกักกันตนเอง ณ ที่พักอาศัย โดยให้มีการบูรณาการการดำเนินงานระหว่างชุมชน จิตอาสา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) และสถานพยาบาลในพื้นที่ในการติดตาม เฝ้าระวังตรวจสอบ และป้องกันอย่างใกล้ชิด

    1.4 จัดให้มีศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ขึ้น ณ ทำเนียบรัฐบาล เพื่อบูรณาการข้อมูลจากทุกส่วนราชการ รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน และสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องให้กับสาธารณชน โดยเฉพาะในส่วนของมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในทุกมิติ รวมถึงจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงทุกกลุ่ม เพื่อสร้างการรับรู้ ตระหนัก และขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยเฉพาะขั้นตอนการฝาระวังและการป้องกัน

    1.5 มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันพิจารณาปริมาณความต้องการของสินค้าที่จำเป็นต่อการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 เช่น หน้ากากอนามัย และน้ำยาฆ่าเชื้อหรือเจลฆ่าเชื้อ และจัดหาให้เพียงพอกับความต้องการดังกล่าวในแต่ละช่วงเวลา

    โดยควรจัดลำดับความสำคัญในการกระจายสินค้าที่จำเป็นดังกล่าวตามระดับความเสี่ยงของบุคคล หน่วยงาน และสถานที่ เช่น สถานพยาบาลทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และประชาชนทั่วไป

    1.6 มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการป้องกันการกักตุน และควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่น หน้ากากอนามัย และน้ำยาฆ่าเชื้อหรือเจลฆ่าเชื้อ อย่างเคร่งครัด โดยครอบคลุมถึงช่องทางการขายสินค้าออนไลน์

    1.7 มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินมาตรการคัดกรองผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ สถานีรถไฟฟ้า สถานีขนส่งผู้โดยสารและท่ารถอย่างเคร่งครัด

    1.8 ให้กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงแรงงาน ติดตามและดูแลคนไทยที่พำนักอยู่ในประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และประเทศเฝ้าระวังตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด อย่างใกล้ชิด

    1.9 มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหม จัดเตรียมสถานที่พื้นที่สำหรับสังเกตอาการในกรณีที่พบว่าผู้เดินทางเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายโรคระบาด หรือพาหะนำโรคตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

    1.10 ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดหาเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นเพิ่มเติม ให้กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อให้มีเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับดำเนินการอย่างเพียงพอ

    1.11 ให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้นายกรัฐมนตรีรับทราบสถานการณ์และข้อมูลต่างๆ รวมถึงร่วมพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหา

    1.12 ให้กระทรวงสาธารณสุข ดูแลบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม และจัดให้มีสวัสดิการพิเศษเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง และครอบครัว

    1.13 ให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข บูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อรองรับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 หากมีความจำเป็น

    1.14 ให้ส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการภาคเอกชนให้หลีกเลี่ยง หรือเลื่อนการจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของประชาชนจำนวนมาก และอาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโดยไม่จำเป็น เช่น การแข่งขันกีฬา การจัดคอนเสิร์ต และการจัดมหรสพ เว้นแต่เป็นกิจกรรมที่เป็นการดำเนินการของสถานประกอบการตามปกติ ให้ดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกัน ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด

    ในกรณีที่เป็นกิจกรรมที่ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานของรัฐ ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตพิจารณาความเหมาะสมของกิจกรรมอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงต่อสาธารณชนโดยรวมต่อการแพร่ระบาดของโรคเป็นสำคัญ

    2. ด้านการบรรเทาผลกระทบที่เกี่ยวข้อง

    มอบหมาย รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จัดทำมาตรการบรรเทาผลกระทบและกระตุ้นเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) เพื่อเสนอคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจพิจารณาโดยเร็ว ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

    รวมทั้งให้ข้อมูลและสื่อสารกับสาธารณชน เพื่อให้เกิดเอกภาพและสร้างความมั่นใจให้กับสาธารณชน ผ่านศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่จะได้มีการจัดตั้งขึ้น ณ ทำเนียบรัฐบาล ในการดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบและกระตุ้นเศรษฐกิจจากการแพระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยครอบคลุมด้านต่างๆ ดังนี้ มาตรการทางภาษี มาตรการด้านสินเชื่อและพักชำระหนี้ มาตรการด้านงบประมาณ มาตรการสร้างความเชื่อมั่นในตลาดทุน มาตรการการจ้างงานและพัฒนาทักษะ และมาตรการด้านสินค้าเกษตรและสินค้าอื่นในชุมชน

     

    คำแนะนำสำหรับการแยกเพื่อสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย กรณีเดินทางกลับจากพื้นที่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกระทรวงสาธารณสุข”

    1.การปฏิบัติตัวระหว่างสังเกตอาการที่บ้าน ที่พัก เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่น

    โดยให้หยุดการไปเรียน ไปทำงาน เข้าร่วมกิจกรรมของสถานที่ที่มีการรวมคนจำนวนมาก ผู้เดินทางกลับควรนอนแยกห้อง ไม่ออกไปนอกบ้าน ไม่เดินทางไปที่ชุมชนหรือที่สาธารณะอย่างน้อย 14 วัน นับจากวันเดินทางกลับจากพื้นที่ระบาด

    การรับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น อาจรับประทานอาหารร่วมกันได้แต่ต้องใช้ช้อนกลางทุกครั้ง ไม่ใช้ของส่วนตัว ร่วมกับผู้อื่น ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที กรณีไม่มีน้ำและสบู่ให้ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นอย่างน้อย 60%

    สวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างจากคนอื่นในบ้านประมาณ 1-2 เมตร หรืออย่างน้อยประมาณ 1 ช่วงแขน หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดบุคคลอื่นในที่พักโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ

    การทิ้งหน้ากากอนามัยใช้วิธีใส่ถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่ทันที ปิดปากจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอจาม ทิ้งทิชชู่ลงในถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้ง หรือใช้แขนเสื้อปิดปากจมูกเมื่อไอหรือจาม และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือน้ำและสบู่ทันที

    ทำความสะอาดบริเวณที่ผู้เดินทางกลับพัก เช่น เตียง โต๊ะ บริเวณของใช้รอบๆตัว รวมถึงห้องน้ำด้วยน้ำยาฟอกขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียงผ้าขนหนู ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 70-90 C°

    2. วิธีการสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัยและแนวทางปฏิบัติเมื่อมีอาการป่วย กรณีที่มีหอพักและเจ้าหน้าที่ควรจัดให้มีจุดคัดกรองอุณหภูมิด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิแบบมือถือที่หน้าหอพัก ในผู้ที่เดินทางเข้าออกหอพักทุกคน

    ให้ผู้เดินทางสังเกตอาการไข้และอาการระบบทางเดินหายใจ แนะนำให้วัดอุณหภูมิร่างกายทุกวันเช้าและเย็น อาการระบบทางเดินหายใจได้แก่ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบาก หากพบอาการป่วยข้อใดข้อหนึ่งให้รีบไปพบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง โดยขณะเดินทางมาโรงพยาบาลโดยรถยนต์ส่วนตัวให้เปิดหน้าต่างรถยนต์ไว้เสมอ

    3. การปฏิบัติตัวของผู้อยู่อาศัยร่วมบ้านและการทำลายเชื้อในสิ่งแวดล้อมในบ้าน ทุกคนในบ้านควรล้างมือบ่อยครั้งที่สุดเพื่อลดการรับและแพร่เชื้อ โดยใช้น้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที กรณีไม่มีน้ำและสบู่ให้ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นอย่างน้อย 70 เปอร์เซ็นต์

    เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยของผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือสมาชิกในบ้าน ภายในระยะเวลา 14 วันหลังสัมผัสผู้ป่วย ควรนอนแยกห้องกับผู้เดินทางกลับ อาจรับประทานอาหารรวมกันได้ แต่ต้องใช้ช้อนกลางทุกครั้ง ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้เดินทางกลับ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดในระยะ 1 เมตร

    ทำความสะอาดบริเวณที่ผู้เดินทางกลับพัก ด้วยน้ำยาฟอกขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรด์ ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิ 70-90 C° หากมีเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดห้องพัก ของผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่ระบาด เช่น แม่บ้านควรใส่ชุดป้องกันร่างกาย ได้แก่ หน้ากากอนามัย หมวกคลุมผม แว่นตากันลม ถุงมือยาว รองเท้าบูท และผ้ากันเปื้อนพลาสติก

     

    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องมาตรการในการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด-19 เพื่อใช้ดำเนินการกับผู้เดินทาง ซึ่งมาจากท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558″

    เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคที่อาจเข้ามาภายในราชอาณาจักรอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จึงเห็นควรประกาศกำหนดมาตรการในการควบคุมโรคดังกล่าว เพื่อให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ และเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศไทยดำเนินการกับผู้เดินทาง ซึ่งมาจากท้องที่นอกราชอาณาจักร ที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19

    เมื่อพบผู้เดินทางที่เป็นหรือผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโควิด-19 ให้ประสานกับสถานพยาบาลที่ กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เพื่อนำผู้ที่เป็นหรือผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยเข้ารับการตรวจรักษา รับการชันสูตรจากทางการแพทย์ ตามสมควรแก่กรณี

    เมื่อผู้เดินทางที่ไม่เป็นหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศพิจารณา ให้ผู้ที่มีที่พักอาศัยในประเทศไทยกักกันตัวเอง ณ ที่พักเป็นเวลา 14 วัน ให้ผู้ที่ไม่มีที่พักอาศัยประจำในประเทศไทยแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ กรณีผู้ที่เดินทางไม่สามารถแสดงหลักฐานได้ ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ประสานเพื่อดำเนินการ

    ส่วนการเฝ้าระวังอาการและการรายงานตัว แจ้งให้บุคคลดังกล่าวทำการบันทึกอาการในระบบรายงานตัวและติดตามอาการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดด้วยตนเองจนครบ 14 วัน หากบุคคลดังกล่าวไม่สามารถทำการบันทึกในระบบรายงานตัวได้ ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อติดตามอาการและบันทึกข้อมูลในระบบดังกล่าวแทน

    และหากบุคคลดังกล่าวมีอาการป่วยหรือสงสัยว่าตัวเองป่วย ให้แจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อภายใน 3 ชั่วโมง นับแต่พบว่าตัวเองมีอาการป่วยหรือสงสัยว่าป่วย

    ทั้งนี้การนับระยะเวลา 14 วันให้เริ่มนับถัดจากวันที่ผู้เดินทางได้เดินทางมาถึงด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และให้แจ้งต่อผู้เดินทางให้ทราบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ และเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ

    Source

    ]]>
    1266781