รายการทีวี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 18 Sep 2020 01:41:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ฉากต่อไป “ทีวี ธันเดอร์” ยุคเจน 2 ต้องเด็กลง! ขอปรับภาพเกมโชว์ จับตลาด “ซีรีส์วาย” https://positioningmag.com/1297387 Thu, 17 Sep 2020 14:26:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297387 อานิสงส์คนอยู่บ้านเเละต้อง Work from Home ในช่วงวิกฤต COVID-19 ทำให้ตลาดคอนเทนต์เติบโตขึ้นอย่างน่าจับตามอง

เมื่อผู้คนอยู่หน้าจอกันมากขึ้น เสพสื่อหลากหลาย ผ่านทั้งช่องทีวีดั้งเดิม แพลตฟอร์ม OTT ต่างชาติ เเละโซเชียลมีเดีย การเเข่งขันของรายการทีวี วาไรตี้ เเละตลาดใหญ่อย่างซีรีส์ดุเดือดมากขึ้น ผลักดันให้เหล่าผู้ผลิตต้องคิดหาของใหม่เร่งทำผลงานให้เข้าตาเเละเข้าใจผู้ชมยุค New Normal

ที่ผ่านมา เราคงคุ้นเคยกับชื่อของทีวี ธันเดอร์ ผู้ผลิตคอนเทนต์ที่คร่ำหวอดมายาวนานในวงการบันเทิงไทยเกือบ 3 ทศวรรษ มีรายการในตำนานอย่างมาสเตอร์คีย์ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากทั้งปัญหาเล็กใหญ่ ครั้งนี้ถึงกับยอมรับว่าการมาของ COVID-19 เป็นวิกฤตที่หนักหนาที่สุด

ท่ามกลางความท้าทายนี้ทีวี ธันเดอร์มองทิศทางต่อไปที่จะปรับภาพลักษณ์จากผู้ผลิตรายการเกมโชว์ วาไรตี้ ละคร ส่งลงตามช่องทีวี หันไปเน้นผลิตซีรีส์ ป้อนให้ OTT มากขึ้น โดยเฉพาะตลาด “ซีรีส์วาย” ที่กำลังเนื้อหอมพร้อมๆ กับการปั้นนักเเสดง ให้มีเเฟนคลับต่างชาติที่มีกำลังซื้อหนา อย่างจีน รัสเซีย ฟิลิปปินส์เเละมาเลเซีย

จับกระเเสใหม่ ปั้น “ซีรีส์วาย” บุกเเพลตฟอร์ม OTT

ณฐกฤต วรรณภิญโญ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน) ทายาทรุ่นสองที่เข้ามาสืบทอดธุรกิจ เล่าให้ Positioning ฟังว่า ในไตรมาส 4 ของปีนี้ทีวี ธันเดอร์รับรู้รายได้ Black log 150 ล้านบาท จากการผลิตคอนเทนต์ป้อนแพลตฟอร์มต่างๆ ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นการ “ผลิตซีรีส์”

เดิมทีภาพลักษณ์ของทีวี ธันเดอร์ จะถูกมองว่าเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ประเภทรายการโทรทัศน์ป้อนทีวีสถานีต่างๆ อย่าง ช่อง 3 , ช่อง 8 , PPTV , ไทยรัฐทีวีเเละ True4U เเต่เมื่อมีกระเเสความนิยมการดูวาไรตี้เเละซีรีส์ผ่านเเพลตฟอร์ม OTT ที่เพิ่มขึ้น จึงเป็น “โอกาสทอง” ที่จะขยายไปเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดนี้

โดยบริษัทเริ่มความสำคัญต่อช่องทาง OTT ตั้งแต่ 3 ปีก่อน เริ่มจาก AIS play และ LINE TV ปัจจุบันได้ขยายไปในหลายแพลตฟอร์มอย่าง WeTV, NetFlix, POPS และ Viu ยิ่งในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เร่งให้ OTT ในไทยเติบโตได้เร็วขึ้น “ผลงานของคนไทย” จึงเป็นที่ต้องการของตลาดนี้มากขึ้น

“ทีวีธันเดอร์เป็นเบอร์แรกๆ ที่กลุ่ม OTT ต่างชาติเข้ามาเจรจาพูดคุยให้ผลิตคอนเทนต์ให้ โดยเฉพาะประเภทซีรีส์” ณฐกฤต กล่าว

ณฐกฤต วรรณภิญโญ เเละ ภัทรภร วรรณภิญโญ สองผู้บริหารทีวี ธันเดอร์

ทีวี ธันเดอร์ จึงปรับรับด้วยการตั้งทีมงานใหม่ที่โฟกัสกลุ่มซีรีส์อย่างจริงจัง โดยเฉพาะเทรนด์ซีรีส์วายที่กำลังเติบโตดังนั้นในปีนี้ไปจนถึงปีหน้า บริษัทจะเน้นผลิตคอนเทนต์ซีรีส์ให้เเพลตฟอร์ม OTT เป็นหลัก เช่น Manner of Death พฤติการณ์ที่ตาย ซึ่งเป็นซีรีส์สายวายที่จะทำป้อนให้กับทาง WeTV

“เรามองว่ากลุ่มผู้ชมซีรีส์สายวายมีการเติบโตขึ้น ไม่จำกัดเเค่กลุ่มผู้หญิง เเต่มีกลุ่มผู้ชายเเละหลากหลายช่วงวัย ด้วยความที่ตลาดนี้เริ่มมีผู้เล่นเข้ามาเยอะ ผู้ผลิตหลายเจ้าหันมาจับกระเเสนี้ เราจึงพยายามจะทำคอนเทนต์ให้เเตกต่าง อาจจะทำเป็นซีรีส์วายที่ไม่เน้นความโรเเมนติกจ๋ามาก เเต่หันไปเน้นพล็อตเรื่องที่ซับซ้อน เป็นเรื่องราวการสืบสวน สอบสวน” 

ก่อนหน้านี้ ทีวี ธันเดอร์ เคยประสบความสำเร็จจากซีรีส์วายที่ฉายบน LINE TV อย่าง “Together With Me อกหักมารักกับผม” เกิดกระเเสคู่จิ้น “แม็กซ์-ตุลย์” หรือ แม็กซ์-ณัฐพล ดิลกนวฤทธิ์ เเละตุลย์-ภากร ธนศรีวนิชชัย สองนักเเสดงนำที่ตอนนี้มีเเฟนคลับกว่า 30 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในจีน รัสเซีย ฟิลิปปินส์เเละมาเลเซีย ซึ่งจะเป็นเเนวทางให้ บริษัทบุกเเผน “ปั้นนักเเสดงหน้าใหม่” ออกมาอีกในช่วงต่อไป

“แม็กซ์-ตุลย์” จากซีรีส์ Together With Me อกหักมารักกับผม

“ภาพรวมของการลงทุนการผลิตคอนเทนต์จากนี้ไปจนถึงปีหน้า อาจจะต้องใช้มากขึ้นราว 20% ถือว่าเป็นปีที่กลับมาลงทุนสูงอีกครั้ง จากปกติที่มีการลงทุนราว 300 ล้านบาทต่อปี” 

ทั้งนี้ ปัจจุบันทีวี ธันเดอร์ ทำคอนเทนต์ป้อนเเพลตฟอร์ม OTT ในสัดส่วน 50% เท่าๆ กับช่องทางทีวี ซึ่งเเผนต่อไปจะขยายทำส่ง OTT มากขึ้น ตามความนิยมของตลาดคนดู

โดยล่าสุด บริษัทมีการผลิตคอนเทนต์ทั้งหมด 5 รายการ ซีรีส์เเละละคร 7 เรื่อง ยกตัวอย่าง เช่น มาสเตอร์คีย์ , Take Me Out Thailand , ใครเบอร์หนึ่ง Who is No. 1 , Show Me The Money thailand ซีซั่น 2 , ละคร หลวงตามหาชน , ละคร คุณแจ๋วกะเพราไก่คุณชายไข่ดาว , ซีรีส์ เสน่หาสตอรี่ , ซีรีส์ Manner of Death พฤติการณ์ที่ตาย , Take Me Out Reality , ราคาพารวย the Price is Right Thailand เเละ Take Guy Out Thailand

ตลาดทีวีไทย วาไรตี้…ยังขายได้ 

เเม้ทิศทางของทีวี ธันเดอร์ จะมุ่งไปเน้นการทำซีรีส์ป้อน OTT เเต่ก็ยังย้ำว่า “จะไม่ทิ้งทีวี” เพราะมีฐานผู้ชมเหนียวเเน่นมายาวนาน รายการวาไรตี้เเละรายการบันเทิงในตลาดทีวีไทยก็ยังได้รับความนิยมต่อเนื่องเเละเพิ่มขึ้น โดยในปีหน้ากำลังเจรจากับทางช่องต่างๆ อยู่ คาดว่าจะมีออกมาอย่างน้อย 2 รายการ

โดยคอนเทนต์ฮีโร่ของทีวี ธันเดอร์ ได้เเก่ Take Me Out Thailand , Show Me The Money thailand เเละ ซีรีส์ที่เพิ่งเปิดตัวไปอย่าง Manner of Death พฤติการณ์ที่ตาย

ณฐกฤต เล่าเกร็ดเล็กๆ ให้ฟังว่า ปกติเเลัวอายุของรายการทีวีที่มีกระเเสดีมากๆ จะอยู่ราว 3-4 ปี เพื่อไม่ให้คอนเทนต์ซ้ำเเละคนดูยังไม่เบื่อเกินไป เเต่ Take Me Out Thailand อยู่มาเเล้ว 7 ปีก็ถือว่ามาไกลกว่าที่คิดไว้มาก “อนาคตของ Take Me Out Thailand ก็คงไม่ได้เปลี่ยนอะไรมาก เเต่เราจะไปเน้นที่การรักษาคุณภาพ รักษาระดับที่เคยทำไว้ให้ดีเท่าเดิมมากกว่า” 

Photo : facebook /takemeoutthailand

เเม้ตลาดคอนเทนต์จะเติบโตขึ้น แต่ก็ยังมีความท้าทายอยู่มาก ผู้บริหารทีวี ธันเดอร์มองว่า สิ่งที่ผู้ผลิตคอนเทนต์ต้อง ตามให้ทัน คือ “รสนิยมของผู้ชม” ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีความหลากหลาย ทำให้ต้องทำการบ้านกันเยอะขึ้น อีกทั้งการทำคอนเทนต์ส่งลงช่องทางต่างๆ ก็จะทำการตลาดที่ไม่เหมือนกัน

ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มคนดูทีวี ส่วนใหญ่จะอายุ 35 ปีขึ้นไป ชอบดูอะไรที่คุ้นเคย เข้าใจง่าย ไม่ชอบดูอะไรที่ซับซ้อนมาก ส่วนกลุ่มผู้ชมผ่านแพลตฟอร์ม OTT ส่วนใหญ่จะอายุต่ำกว่า 25 ปี ต้องการความเเปลกใหม่ ไม่ซ้ำซาก ไม่ยืดยาว มีความเปิดกว้างกว่า 

“ละครผ่านทีวีจะเน้นเป็นบทประพันธ์นักเขียนรุ่นเก่า เเต่ซีรีส์ผ่าน OTT จะเป็นนักเขียนรุ่นใหม่ที่ทำผลงานโด่งดังในโลกโซเชียล ซึ่งทีวี ธันเดอร์ กำลังมองหาบทซีรีส์ใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น ซึ่งตอนนี้เราก็มีทีมงานคอยเสาะหานักเขียนใหม่ๆ บทใหม่ๆ ตามเเพลตฟอร์มต่างๆ อยู่ตลอด” 

หารายได้จาก “โซเชียล” ฝ่าพิษ COVID-19 

ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ว่าปีนี้ถือเป็นวิกฤตที่หนักที่สุดของวงการนี้ โดยผู้บริหารรุ่นก่อตั้งอย่าง “ภัทรภร วรรณภิญโญ” ซีอีโอของทีวี ธันเดอร์ เปิดเผยว่า ตั้งเเต่เดือนมี.ค.ช่วงนั้นแทบไม่ได้ออกไปถ่ายทำรายการหรือซีรีส์ เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ต่างๆ ทำให้รายได้รวมในครึ่งปีนี้ติดลบ 20% เป็นปีแรก ขณะที่ตลาดรวมติดลบไป 30%

“คาดว่ารายได้ในปีนี้ไม่ได้โตไปกว่าปีก่อน และคิดว่าจะลดลงราว 10%” 

สัดส่วนรายได้ของบริษัท หลักๆ มาจากการรับจ้างผลิตคอนเทนต์ 60% โฆษณา 35% เเละอื่นๆ 5% โดยในส่วนอื่นๆ นี้ เเบ่งเป็นการจัดอีเวนต์ การทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งให้เเบรนด์ต่างๆ รวมถึงรายได้ที่เกิดจากช่องทางโซเชียลมีเดียของทั้งบริษัท

โดยทีวี ธันเดอร์ มีช่องทางออนไลน์ของตัวเองที่สามารถนำมาต่อยอดทำรายได้ เพื่อพยุงรายได้ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งการพีอาร์นักเเสดง การรับเเอดโฆษณา รายได้ค่าวิดีโอจากเเพลตฟอร์ม อย่าง Youtube เเละ Facebook ซึ่งปัจจุบันช่องทาง Youtube มีตัวเลขผู้ติดตามอยู่ที่ 5.79 ล้านคน ทาง Facebook ของเพจ TV Thunder มีผู้ติดตาม 2.2 ล้านคน Twitter 4,600 คน ยอดผู้ติดตามใน Instagram 92,000 คน และเพจรายการ Take Me Out Thailand มีผู้ติดตามมากที่สุดในเครือที่ 7.8 ล้านคน

“เรามีการหารายได้อื่นๆ พยายามจะเป็น One Stop Service ทั้งผลิตคอนเทนต์ให้ โปรโมตทำมาร์เก็ตติ้งให้ได้ จัดอีเวนต์ได้ มีฐานโซเชียลที่เเข็งเเกร่ง” 

ภัทรภร ทิ้งทายว่า สิ่งที่ทำให้ทีวี ธันเดอร์ ยังอยู่ได้มาเกือบ 3 ทศวรรษ ผ่านมรสุมมามากมายทั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง การปฎิวัติ น้ำท่วมใหญ่เเละตอนนี้คือ COVID-19 นั้นก็คือ “การปรับตัวอยู่เสมอ” การที่ตลาดคอนเทนต์โตในช่วงนี้ ก็ถือเป็นโอกาสที่ดี เเละเชื่อว่าธุรกิจจะผ่านวิกฤตไปได้

]]> 1297387 คนกลุ่มสุดท้ายที่รู้เรื่องการระบาดของไวรัส COVID-19 : ผู้เข้าแข่งขัน Big Brother https://positioningmag.com/1268721 Tue, 17 Mar 2020 13:49:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1268721 หนึ่งในคนกลุ่มท้ายๆ บนโลกใบนี้ที่จะมีโอกาสทราบเรื่องการระบาดของไวรัส COVID-19 คือผู้เข้าแข่งขัน Big Brother เยอรมนี พวกเขาเข้าร่วมการแข่งขันที่ต้องถูกตัดขาดจากโลกภายนอกมาร่วม 1 เดือน และจนบัดนี้ก็ยังไม่ทราบเลยว่าเกิดอะไรขึ้นบนโลก (แต่โปรดิวเซอร์กำลังจะบอกพวกเขาวันนี้)

ผู้เข้าแข่งขันชายและหญิงจำนวน 14 คนอยู่ในบ้านหลังใหญ่ที่เมืองโคโลญจน์ ทางตะวันตกของประเทศเยอรมนี เพื่อร่วมการเรียลลิตี้โชว์ Big Brother ซีซั่น 13 โดย 10 คนแรกเข้าบ้านไปตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ. 63 ช่วงที่การระบาดของไวรัส COVID-19 เพิ่งจะเริ่มแพร่ขยายออกจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ส่วนอีก 4 คนที่เข้าไปทีหลัง เข้าบ้านในวันที่ 6 มี.ค. 63 เพียง 3 วันก่อนที่เยอรมนีจะประกาศพบผู้เสียชีวิตรายแรก

กติกาของรายการ Big Brother คือ ผู้เข้าแข่งขันต้องเข้าไปอาศัยร่วมกันในบ้านหลังหนึ่งเป็นเวลา 15 สัปดาห์ โดยถูกตัดขาดจากโลกภายนอก เพราะในบ้านจะไม่มีสมาร์ทโฟน โทรทัศน์ วิทยุ หรือสื่อใดๆ และถูกกล้องวงจรปิดจับภาพไว้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ละสัปดาห์ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับภารกิจให้ทำบางสิ่งบางอย่าง และผู้ชมจะเป็นคนโหวตว่าต้องการให้ผู้เข้าแข่งขันคนใดอยู่หรือออกจากบ้าน (ในไทยเคยมีการจัดแข่งขันนี้ 2 ครั้งเมื่อปี 2548)

ด้วยกติกาเช่นนี้ทำให้รายการ Big Brother กลายเป็นสถานที่กักกันตัวเองโดยบังเอิญ สำหรับผู้เข้าร่วมแข่งขัน และเป็นการกักกันแบบที่ไม่รู้ความเป็นไปของโลกด้วย

Big Brother เยอรมนี (photo: Sat.1)

หลังจากมีการระบาดของไวรัส โปรดิวเซอร์ของรายการนี้ชี้แจงกับหนังสือพิมพ์ Süddeutsche Zeitung ว่า กติกาของเกมระบุชัดเจนว่าจะต้องปิดกั้นข้อมูลข่าวสารทุกอย่างไม่ให้ผู้เข้าแข่งขันทราบ ยกเว้นมีเหตุร้ายแรงจริงๆ เช่น สมาชิกครอบครัวของผู้เข้าแข่งขันเจ็บป่วย และโปรดิวเซอร์ยังย้ำด้วยว่ารายการมีการรักษาสุขอนามัยในบ้านให้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม จากเสียงเรียกร้องในโซเชียลมีเดีย ทำให้ช่อง Sat.1 ผู้จัดฉายการแข่งขันต้องพิจารณาเรื่องนี้ใหม่ และประกาศว่า ก่อนการออกอากาศตามปกติในเวลา 19.00 น. วันที่ 17 มี.ค. 63 (ตามเวลาท้องถิ่น) ช่องจะให้มีช่วงเวลาถ่ายทอดสดพิเศษของรายการเพื่อประกาศให้ผู้เข้าแข่งขันทราบถึงวิกฤตในโลกภายนอก พวกเขาจะได้รับอนุญาตให้สอบถามถึงระดับความร้ายแรงภายในประเทศ และได้รับข้อความวิดีโอคลิปจากครอบครัว

ก่อนหน้าเหตุการณ์นี้ มีเพียงครั้งเดียวที่รายการ Big Brother จำเป็นต้องถอนกฎการปิดข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ 9/11 ขึ้นในช่วงที่บ้าน Big Brother ซีซั่น 2 ในสหรัฐอเมริกาเหลือผู้แข่งขัน 3 คนสุดท้าย และญาติของผู้เข้าแข่งขันรายหนึ่งหายตัวไปหลังเกิดเหตุ 9/11

ผู้เข้าแข่งขัน Big Brother แคนาดา พูดคุยเรื่องความผิดปกติในวันคัดออก (photo: Big Brother Canada)

นอกจากในเยอรมนีแล้ว ยังมี Big Brother อีก 3 ประเทศที่ผู้เข้าแข่งขันบังเอิญถูกกักกันไปโดยปริยาย คือ บราซิล ซึ่งผู้เข้าแข่งขันเริ่มเข้าบ้านตั้งแต่เดือนมกราคม ออสเตรเลีย ที่ผู้เข้าแข่งขันเข้าบ้านเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ และใน แคนาดา ที่ผู้เข้าแข่งขันเข้าบ้านในวันที่ 4 มี.ค. 63

Big Brother แคนาดายังออกอากาศช่วงเวลาที่ผู้เข้าแข่งขันแสดงออกให้เห็นว่าพวกเขา “ไม่ทราบ” เรื่องราวใดๆ เลย เพราะพวกเขานั่งคุยกันเรื่องว่า ทำไมการคัดคนออกในสัปดาห์แรกนั้นมีผู้เข้าชมในห้องอัดจำนวนมากจนได้ยินเสียงเชียร์ ขณะที่การคัดคนออกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมากลับแทบไม่ได้ยินเสียงจากห้องอัดเลย (เนื่องจากสัปดาห์นั้นรายการสั่งงดไม่ให้ผู้ชมเข้าชมในห้องอัดแล้ว)

ปัจจุบันผู้เข้าแข่งขันทั้งในแคนาดาและออสเตรเลียได้รับข้อมูลอัปเดตเรื่องไวรัสในวันที่ 16 มี.ค. 63 เป็นการส่วนตัวส่วนในบราซิลยังไม่ทราบเรื่อง

ขณะที่เยอรมนีเลือกหยิบเหตุการณ์ผิดแผนนี้มาเป็นโอกาสด้วยการ “ถ่ายทอดสด” ทำให้ผู้ชมตั้งหน้าตั้งตารอดู “ปฏิกิริยา” ของผู้เข้าแข่งขันต่อข่าวไวรัสระบาดระดับโลก และดูการตัดสินใจว่าพวกเขาจะทำอย่างไร บางคนอาจจะละทิ้งเส้นทางแห่งชื่อเสียงเพราะเป็นห่วงคนในครอบครัว หรือพวกเขาจะอดทนกับความวิตกกังวลเพื่อเงินรางวัลกันต่อไป

Source

]]>
1268721
ฤทธิ์เดช Netflix คนอเมริกันดูทีวีน้อยลง-ทำเงินโฆษณาหายเกิน 6 พันล้านดอลล์ https://positioningmag.com/1157356 Sun, 18 Feb 2018 23:15:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1157356 เปิดฤทธิ์เดชบริการสตรีมมิ่งวิดีโอออนไลน์สุดฮิต Netflix รายงานล่าสุดระบุว่า Netflix อาจเป็นต้นเหตุทำให้เม็ดเงินหมุนเวียนโฆษณาทีวีอเมริกันหดหายไป 3-6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่งให้สถานีโทรทัศน์แดนลุงแซมสูญรายได้ราว 9.3 หมื่น-1.87 แสนล้านบาท

วันนี้ชาวดิจิทัลทั่วโลกหลายล้านคนไม่เปิดฟรีทีวี แต่ยอมเสียค่าบริการให้ Netflix เพื่อชมรายการทีวี ภาพยนตร์ รวมถึงซีรีส์ที่ตัวเองสนใจแบบออนดีมานด์ไร้โฆษณาทุกที่ทุกเวลา พฤติกรรมผู้ชมทีวีที่เปลี่ยนไปเพราะ Netflix นี่เองที่ทำให้การสำรวจล่าสุดพบว่าผู้เล่นในวงการโฆษณาทีวีสหรัฐฯ กำลังสูญเสียรายได้หลักพันล้านเหรียญในปีที่ผ่านมา

ผลกระทบจากพฤติกรรมการชมทีวีที่เปลี่ยนไป คือชาวโลกได้เห็นโฆษณาทางทีวีน้อยลง สื่ออเมริกันจึงพาดหัวข่าวตัวใหญ่ว่า บริการสตรีมมิ่งวิดีโอ Netflix กำลังมีผลกระทบสำคัญกับวงการโฆษณาทีวี โดยยกงานวิจัยของบริษัท nScreenMedia ที่คำนวณแล้วพบว่า Netflix ทำให้ชาวอเมริกันพลาดการชมโฆษณามากกว่า 2 พันล้านครั้งต่อวัน

คำนวณจากอะไร?

nScreenMedia คำนวณตัวเลขนี้ออกมาเป็นพฤติกรรมการดูทีวีของชาวโลกจากสถิติของ Netflix โดยบอกว่าช่วงไตรมาส 3 ปี 2017 ดาวรุ่ง Netflix มีสมาชิกบริการสตรีมมิ่งจำนวน 56.4 ล้านรายในแดนลุงแซม ตัวเลขนี้สามารถคำนวณได้ว่า สมาชิก Netflix พลาดชมโฆษณาทีวีประมาณ 35 ชิ้นต่อวันต่อคน เนื่องจากบริการสตรีมมิ่งของ Netflix ที่ผู้ชมต้องจ่ายค่าสมัครนั้นจะไม่มีโฆษณาเลย

หากจับ 56.4 มาคูณกับ 35 ตัวเลขที่ได้คือ 1,974 ตีเป็นเลขกลมๆ แล้วใส่หลักล้านเข้าไป จะพบว่าโฆษณาทีวีสูญผู้ชมไปราว 2 พันล้านครั้งต่อวัน

nScreenMedia เจาะลงไปที่ตลาดทีวีอเมริกัน จนพบว่าผู้ชม Netflix เฉลี่ยในสหรัฐฯ พลาดโฆษณาทางทีวี 5,753 ครั้งในช่วงไพรม์ไทม์ และ 7,032 ครั้งในช่วงที่ไม่ใช่เวลาไพรม์ไทม์ เมื่อคำนวณมูลค่าแล้ว ประเมินได้ว่าโอกาสที่หดหายไปเพราะสายตาการชมโฆษณาทีวีที่ลดลงคิดเป็นมูลค่าราว 7.6 พันล้านเหรียญสำหรับสมาชิกรวม Netflix 

อย่างไรก็ตาม หากคำนวณการข้ามโฆษณาในบริการบันทึกรายการทีวีย้อนหลัง DVR อย่าง TiVo และบริการเครือข่ายเคเบิลทีวีระดับพรีเมียมเช่น HBO ตัวเลขประเมินเม็ดเงินโฆษณาที่สูญหายไปจะลดลงเหลือประมาณ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ

งานวิจัยชิ้นนี้ของ nScreenMedia ตอกย้ำสิ่งที่นักการตลาดตระหนักดีอยู่แล้ว เรื่องแนวโน้มการเติบโตของพฤติกรรม “cord-cutting” หรือการตัดสายไม่ต้องพึ่งพาหรือยึดติดกับสถานีโทรทัศน์ใด  

รวม YouTube ด้วยยิ่งหด

แม้ข้อมูลของ nScreenMedia จะย้ำว่าเฉพาะผู้ชม Netflix กลุ่มเดียว ก็ทำให้เงินหมุนเวียนในธุรกิจโฆษณาทีวีอเมริกันหดหายไปมากกว่า 4% ถึง 8% ของโอกาสสร้างรายได้รวม แต่เมื่อคำนวณรวมบริการทางเลือกวิดีโอดิจิทัลออนไลน์เช่น YouTube ยอดขายโฆษณาทีวีอเมริกันก็ยิ่งลดลงอีก 7.8% เบ็ดเสร็จแล้วเหลือเม็ดเงินราว 6.18 หมื่นล้านเหรียญเท่านั้น

สิ่งที่เราได้รับจากข่าวนี้ คือสัญญาณสะท้อนความเปลี่ยนแปลงในวงการโฆษณาทีวี เพราะวันนี้หลายแบรนด์เริ่มเห็น ROI หรือความคุ้มค่าในการลงทุนที่ลดลง ทำให้การตัดสินใจซื้อเวลาโฆษณาทางทีวีถูกมองข้ามไป

สถิติล่าสุดยังพบว่า จำนวนผู้ใช้บริการทีวีแบบชำระเงิน (Pay TV) ในสหรัฐฯ ยังคงตกต่ำต่อเนื่อง ทำให้ยอดขายโฆษณาเครือข่ายเคเบิลทีวีแดนลุงแซมลดลงเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี แต่จุดนี้นักวิเคราะห์ยังจับตาดู เพราะปีนี้ยังมีกิจกรรมถ่ายทอดสดทางทีวี เช่น ซูเปอร์โบว์ล โอลิมปิกฤดูหนาว และการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ โดยขณะนี้เริ่มปรากฏว่ายอดขายโฆษณากำลังฟื้นขึ้นมาบ้างแล้ว แต่อาจเป็นการฟื้นที่ไม่ยืนยาว

จากการสำรวจล่าสุดของ PwC ยังพบว่า ส่วนแบ่งสมาชิกผู้ใช้บริการ Pay TV และ Netflix อยู่ที่ 73% ของกลุ่มตัวอย่างอเมริกัน ในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามนี้ ราว 46% บอกว่าลงทะเบียนใช้บริการสตรีมมิงอย่างน้อยหนึ่งบริการในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เพดานการใช้บริการสตรีมมิ่งเช่น Netflix, Amazon Prime Video และ Hulu อยู่ที่ 4 บริการเท่านั้น เพราะ PwC พบว่า 75% ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าไม่สามารถจัดการได้เกิน 4 บริการสตรีมมิ่ง หากจ่ายค่าบริการ Pay TV แล้ว

ตัวเลขนี้เป็นสัญญาณว่า ตลาดอาจจะถึงจุดอิ่มตัวในอนาคตอันใกล้ และต้องมีใครสักคนที่ต้องเป็นฝ่ายไป.

ที่มาhttps://www.marketingdive.com/news/report-netflix-might-cost-tv-advertisers-up-to-6b-in-lost-revenue/517263/

]]>
1157356
ทีวีดิจิทัลหืดขึ้นคอ “วอยซ์ทีวี” เลย์ออฟ 127 คน หั่นรายการข่าวเหลือ 2 ช่วง มุ่งเน้นออนไลน์ ทำคลิปวิดีโอลงเว็บ https://positioningmag.com/1151448 Fri, 22 Dec 2017 11:25:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1151448 ทีวีดิจิทัล วอยซ์ทีวี เลิกจ้างพนักงาน 127 คน เพื่อปรับโครงสร้างองค์กร พร้อมลดรายการข่าวลงเหลือ 2 ช่วงเวลา และเน้นสื่อออนไลน์ ทำคลิปวิดีโอลงเว็บ หลังได้รับผลกระทบทางธุรกิจและคำสั่งหน่วยงานรัฐบ่อยครั้ง

เมฆินทร์ เพ็ชรพลาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วอยซ์ทีวี จำกัด เจ้าของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล วอยซ์ ทีวี ช่อง 21 เรียกพนักงานทั้งหมดชี้แจงการปรับโครงการสร้างองค์กร พร้อมกับออกแถลงการณ์ดังนี้  ตั้งแต่วันที่ 1 .. 2561 จะมีการปรับโครงสร้างองค์กร ปรับผังรายการทีวี และพัฒนาการนำเสนอผ่านทุกช่องทางออนไลน์ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลให้เป็นไปตามแผนธุรกิจและเป้าหมายของบริษัทฯ ปี 2561

ผลกระทบจากการเมืองทีวีดิจิทัลแข่งเดือด

ต้องทำงานภายใต้สถานการณ์การเมืองที่มีข้อจำกัดมาเกือบ 4 ปี ได้รับผลกระทบทางธุรกิจอันเนื่องมาจากคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ควบคุมการเสนอข้อมูลข่าวสารอยู่บ่อยครั้ง แต่บริษัทฯ ได้พยายามรักษาสมดุลระหว่างเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และข้อจำกัดทางการเมืองที่ต้องให้ความร่วมมือกับภาครัฐอย่างเต็มที่เท่าที่ทำได้ จึงยังทำให้ยังยืนหยัดอยู่ได้

นอกจากนี้ สถานการณ์ของอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล เป็นอีกปัจจัยที่มีผลกระทบแทบทุกช่องอย่างถ้วนหน้า รวมถึงวอยซ์ ทีวีด้วยเช่นกัน ความจำเป็นในการปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องต่อความเป็นจริงในอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

หั่นข่าวเหลือ 2 ช่วง เน้นออนไลน์

วอยซ์ทีวีได้ปรับโครงสร้างองค์กรและธุรกิจดังนี้

ปรับสัดส่วนการผลิตรายการทีวีใหม่ เน้นรายการวิเคราะห์ข่าวคุณภาพ 2 ช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ด้วยการลดจำนวนรายการลง แต่เพิ่มช่วงเวลาการออกอากาศมากขึ้น

มุ่งเน้นการนำผ่านทางสื่อออนไลน์มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีออโต้เมทต่าง ๆ รวมถึงการปรับระบบ Progressive Web Applications เพื่อรองรับการส่งวิดีโอคอนเทนต์ เพื่อรองรับผู้ชมรายการได้ทันทีทุกช่วงเวลา

เลิกจ้างพนักงาน 127 คน ผลจากการปรับสัดส่วนการผลิตรายการลง ทำให้ต้องปรับลดจำนวนพนักงานลง ด้วยการเลิกจ้างพนักงานจำนวน 127 คน โดยจะได้รับเงินค่าชดเชยไม่น้อยกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด แต่ส่วนหนึ่งที่ถูกเลิกจ้างยังคงร่วมงานในรูปแบบ Outsource กับบริษัทฯ

ทั้งนี้จากการจัดอันดับเรตติ้ง 25 อันดับทีวีดิจิทัล ระหว่างวันที่ 11 ธันวาคม-17 ธันวาคม 2560 พบว่า ช่องวอยซ์ทีวี อยู่ในอันดับสุดท้าย ด้วยเรตติ้ง 0.020.

ที่มา : mgronline.com/onlinesection/detail/9600000128846

]]>
1151448