รีวิวสินค้า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 01 Dec 2022 10:44:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะลึก 4 ปัจจัยที่ทำให้ ‘TikTok Shop’ อีคอมเมิร์ซน้องใหม่สาย ‘บันเทิง’ กำลังมาแรง! https://positioningmag.com/1410646 Thu, 01 Dec 2022 11:00:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1410646

อย่างที่รู้กันว่าตลาด อีคอมเมิร์ซ เป็นตลาดใหญ่แถมยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากสมาคมอีคอมเมิร์ซไทยระบุว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 นี้ คาดว่าตลาดจะมีมูลค่าประมาณ 8.1 แสนล้านบาท เลยทีเดียว ดังนั้น ไม่น่าแปลกใจที่แพลตฟอร์มต่าง ๆ ก็หันมาจับตลาดอีคอมเมิร์ซ รวมไปถึง TikTok ที่เพิ่งจะมีการเปิดตัว TikTok Shop ไปเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา


ช้อปสนุกด้วย Shoppertainment

หากพูดถึงช่องทางการซื้อ-ขายของออนไลน์ในปัจจุบันก็ต้องยอมรับว่ามีหลากหลาย ทั้งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและโซเชียลมีเดีย แต่ทำไม TikTok Shop ถึงกำลังมาแรงทั้งในหมู่ผู้ซื้อและผู้ขายนั้น ส่วนหนึ่งเลยก็คือ พฤติกรรมผู้บริโภคยุคนี้ที่เปลี่ยนไป

จากงานวิจัยของ TikTok ที่ทำร่วมกับ Boston Consulting Group (BCG) พบว่า ผู้บริโภคอิ่มตัวกับโฆษณา โดย 34% ของผู้บริโภคไม่เชื่อคอนเทนต์โฆษณาจากแบรนด์ เพราะรู้สึกว่าถูกยัดเยียดจนเกินไป แต่กลับกันผู้บริโภคถึง 71% เพลิดเพลินกับการรีวิวหรือให้ข้อมูลสินค้าแบบเรียล ๆ

ดังนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่ทำให้ TikTok เติบโตและเป็นแหล่งกำเนิดของไวรัลต่าง ๆ ในไทยก็คือ ความเรียล และ ความบันเทิง โดยอ้างอิงจาก Nielsen ที่ระบุว่า ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกยกให้คอนเทนต์บน TikTok คือที่สุดแห่งความบันเทิงเลยทีเดียว ดังนั้น สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการนั้นเป็นจุดเด่นของ TikTok อยู่แล้ว ซึ่งมันก็ยิ่งทำให้ TikTok Shop โดดเด่นด้วยกลยุทธ์ Shoppertainment ซึ่งคือการผสานระหว่าง Shopping และ Entertainment เข้าไว้ด้วยกัน พร้อมต่อยอดสู่ประสบการณ์ช้อปที่สนุกสนาน และลงตัวจนโดนใจผู้ใช้


ผู้ใช้ที่พร้อมช้อป

จากข้อมูล* เมื่อปี 2564 ที่จัดทำโดย Material ระบุว่า 3 ใน 4 ของผู้ใช้ TikTok กลุ่มมิลเลนเนียล มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าขณะที่เล่น TikTok ขณะที่ข้อมูลจากการสำรวจ**ของ TikTok เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เผยว่า 9 ใน 10 ของผู้ใช้ TikTok ในประเทศไทยมีการซื้อของในช่วง Mega Sales และซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเฉพาะในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี นอกจากนี้ นักช้อปบน TikTok ใช้จ่ายในช่วงมหกรรม Mega Sales มากกว่านักช้อปทั่วไปถึง 1.5 เท่า ซึ่งจากข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ใช้งาน TikTok พร้อมจะจับจ่ายหากพบสินค้าที่ถูกใจ

ที่น่าสนใจคือ ผู้ใช้ TikTok นิยมนำสินค้าไปรีวิวภายในคอมมิวนิตี้ ซึ่งจุดนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อจากผู้ชมหน้าใหม่ได้ด้วย เพราะเทรนด์ในปัจจุบัน ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลมีแนวโน้มเชื่อคำพูดของคอมมิวนิตี้, อินฟลูเอนเซอร์ หรือคำแนะนำของคนใกล้ตัวมากกว่าคำโฆษณาจากแบรนด์แบบตรง ๆ


นำเสนอสินค้าได้ตรงใจไม่ต้องเสิร์ช

ถ้าใครที่เล่น TikTok จะรู้ว่าระบบนั้นช่วยฟีดวิดีโอให้ตรงกับความสนใจของผู้ใช้ เช่นเดียวกันกับการนำเสนอสินค้าของ TikTok Shop มีรูปแบบการแนะนำสินค้าที่ Personalized เฉพาะความต้องการของแต่ละบุคคล ผ่านหลากหลายคอนเทนต์ที่จะกระตุ้นให้เกิดความสนใจได้ ต่างจากการใช้งานอีคอมเมิร์ซรูปแบบเดิมที่ผู้ใช้ต้องค้นหาสินค้าที่ต้องการด้วย keyword ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ 55% ของผู้ใช้ TikTok ในประเทศไทยจะระบุว่า TikTok Shop ช่วยให้พวกเขาค้นพบสิ่งใหม่ ๆ (อ้างอิงข้อมูล*ที่จัดทำขึ้นโดย Material) ซึ่งถือเป็นโอกาสในการขายของแบรนด์


ใช้ง่ายแถมมีโปรโมชั่น

หนึ่งในสิ่งสำคัญที่จะทำให้ปิดการขายได้ก็คือ ความง่าย ถ้าเกิดเจอของถูกใจแต่วิธีการซื้อยุ่งยาก ร้านก็ปิดการขายไม่ได้ ซึ่งวิธีการช้อปของ TikTok Shop ก็ใช้ง่ายใน 3 วิธี

1) Video Shopping ถ้าเลื่อนฟีดแล้วเจอรีวิวสินค้าที่โดนใจ ก็จิ้มที่ไอคอนรูปตะกร้า เพื่อกดสั่งซื้อสินค้าได้ทันที

2) Product Showcase คลิกที่ไอคอนตะกร้าที่หน้า TikTok ของร้านค้า เพื่อค้นหาสินค้าที่สนใจเพิ่มเติม

3) Live Shopping รับชมไลฟ์ขายของ และซื้อสินค้าได้ง่าย สะดวกสบาย เพียงคลิกตรงแถบสินค้าด้านล่าง

สุดท้าย สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับอีคอมเมิร์ซก็คือ โปรโมชั่น ซึ่ง TikTok Shop ก็มีโปรโมชั่นมากมาย รวมไปถึงโปรส่งฟรี***ให้ลูกค้าตลอดทั้งปี โดยล่าสุด TikTok Shop ก็มีแคมเปญ 12.12 ช้อปสนุก ให้สนั่น ส่งท้ายปี โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 6 – 12 ธันวาคม 2565 นี้ โดยเหล่านักช้อปจะได้

  • คูปองส่วนลดสูงสุด 1,212 บาท***
  • ส่งฟรีทุกออเดอร์***
  • ของขวัญสุดพิเศษจากแบรนด์ดัง เข้ากับช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปี อาทิ Sulwhasoo, Laneige, Singer และแบรนด์อื่นๆ อีกมากมาย

จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงการผสานเอาจุดเด่นดั้งเดิมมาต่อยอด TikTok Shop จึงถือเป็นจุดหมายปลายทางของการช้อปสนุกยิ่งกว่าที่เคย พร้อมนำเสนอสินค้าที่ตรงใจ ใครที่มองหาของขวัญช่วงปลายปี ก็ไถ TikTok ได้เลย

ติดตามรายละเอียดแคมเปญ TikTok Shop 12.12 ช้อปสนุก ให้สนั่น เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/tiktokshopthailandofficial

และรับชมวิดีโอโฆษณาแคมเปญนี้ได้ที่ https://youtu.be/TDJ_fnUfEzQ


*อ้างอิงข้อมูลจากผลวิจัย TikTok Marketing Science Global Entertainment Study (ข้อมูลประเทศไทย) เมื่อเดือน ธันวาคม 2564 ที่จัดทำขึ้นโดย Material

**อ้างอิงข้อมูลจากผลวิจัย TikTok commissioned study on TikTok users and non-users consumption and behaviours in TH (ข้อมูลประเทศไทย) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565

***เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯกำหนด

]]>
1410646
วงแตก! Amazon ไล่ฟ้องแอดมินกลุ่มจัดหา “หน้าม้า” รับจ้างรีวิวอวยสินค้า-ด้อยค่าคู่แข่ง https://positioningmag.com/1393335 Wed, 20 Jul 2022 09:19:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1393335 Amazon เอาจริง! ยื่นฟ้องร้องแอดมินกลุ่มใน Facebook กว่า 10,000 กลุ่ม โดยกลุ่มเหล่านี้เป็นผู้รวบรวมจัดหา “หน้าม้า” รับจ้างเขียนรีวิวอวยสินค้า หรือด้อยค่าสินค้าคู่แข่งบนแพลตฟอร์ม ซึ่งทำให้มาร์เก็ตเพลสเสียหายเพราะลูกค้าจะไม่ไว้ใจในระยะยาว ซื้อสินค้าแล้วไม่เป็นตามที่คาดหวัง

คดีความที่ Amazon เริ่มฟ้องร้องตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัทแจ้งว่าบริษัทหวังที่จะ “ตรวจสอบได้ว่าใครเป็นหน้าม้า” เพื่อลบรีวิวหน้าม้าที่เล็ดรอดการตรวจสอบด้วยเทคโนโลยีเฉพาะของบริษัททั้งหมดออกไป

“ทีมงานของเราสามารถหยุดการโพสต์รีวิวน่าสงสัยได้หลายล้านรายการ ก่อนที่ลูกค้าจะมาเห็นเข้า และคดีความครั้งนี้จะเป็นอีกก้าวหนึ่งในการ่ค้นหาตัวผู้กระทำผิดบนโซเชียลมีเดีย” ธาร์เมช เมห์ตา รองประธานฝ่ายบริการพันธมิตรผู้ขาย Amazon กล่าว “การฟ้องร้องทางกฎหมายเชิงรุกซึ่งวางเป้าหมายที่นักแสดงหน้าม้าเหล่านี้ คือหนึ่งในหลายช่องทางที่เราใช้ปกป้องลูกค้าของเรา โดยทำให้หน้าม้าต้องรับผิดชอบกับการกระทำ”

การฟ้องร้องของบริษัทเกิดขึ้นหลังจากรีวิวปลอมเริ่มเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ รีวิวหน้าม้าเหล่านี้จะทำให้ระบบให้ดาวของสินค้าผิดเพี้ยนไป โดยทำให้สินค้าของผู้ว่าจ้างได้ดาวมากผิดปกติ หรือของคู่แข่งได้ดาวน้อยกว่าปกติ ผลสุดท้ายนักช้อปทั่วไปก็จะเลือกซื้อสินค้าของผู้ว่าจ้างซึ่งอาจจะต่ำกว่ามาตรฐาน หรือบางครั้งก็เรียกได้ว่าเป็นแค่สินค้าขยะ

Photo : Shutterstock

ปัญหาเหล่านี้มีมากเสียจนมีอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเพื่อช่วยกลั่นกรองรีวิวหน้าม้า ยกตัวอย่างเช่น ReviewMeta เป็นเว็บไซต์ที่ช่วยให้นักช้อปเห็นเรตติ้งที่แท้จริงที่สินค้านั้นควรได้ จำนวนดาวบน Amazon ของสินค้านั้นอาจจะได้ถึง 4.4 ดาว แต่เมื่อกรองเอารีวิวหน้าม้าออก จะเหลือแค่ 1.9 ดาวเท่านั้น

นั่นคือเหตุที่ Amazon ฟ้องร้องกลุ่มบน Facebook เพราะกลุ่มพวกนี้จะมีการแจกสินค้าฟรีหรือให้เงินกับคนที่ไปเป็นหน้าม้าเขียนรีวิวให้ หนึ่งในกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดใช้ชื่อกรุ๊ปว่า “Amazon Product Review” ซึ่งเคยมีสมาชิกมากกว่า 43,000 บัญชี ก่อนที่ Meta จะสั่งปิดกลุ่มนี้ไปเมื่อต้นปีนี้เอง

ส่วนกลุ่มอื่นๆ นั้นบริษัทไม่เปิดเผยชื่อหรือข้อมูลเกี่ยวกับแอดมินที่ดูแลกลุ่มในการฟ้องร้องครั้งนี้ แต่มีการฟ้องมากกว่า 10,000 กลุ่ม กลุ่มเหล่านี้ไม่ได้ยังคงปฏิบัติการอยู่ทั้งหมด เพราะบริษัทคอยแจ้งฟ้องร้องไปที่ Meta มาตั้งแต่ปี 2020 ทำให้มีการปิดกลุ่มเหล่านี้ไปแล้วประมาณครึ่งหนึ่ง

นอกจากผลเสียหายโดยตรงต่อลูกค้าแล้ว Amazon ยังถูกบีบจากหน่วยงานกำกับกฎหมายแอนติทรัสต์ในสหราชอาณาจักร เมื่อปีก่อนหน่วยงานนี้เข้าสืบสวนเอกชนหลายแห่ง เช่น Amazon, Google ว่าได้มีการจัดการมากพอหรือไม่เพื่อกำจัดรีวิวหน้าม้าเหล่านี้

รวมถึงเมื่อย้อนไปถึงปี 2019 รัฐสภาสหรัฐฯ ก็เคยกล่าวถึงปัญหาเดียวกันนี้มาแล้ว และทำให้ปีนั้น คณะกรรมาธิการการค้ารัฐบาลกลางสหรัฐ (FTC) ทำการจับปรับเว็บไซต์แห่งหนึ่งที่ดำเนินการเป็นตัวกลางจ่ายเงินจ้างหน้าม้าเข้าไปเขียนรีวิวใน Amazon

ด้านการดำเนินการของบริษัท Amazon ระบุว่าบริษัทมีพนักงานมากกว่า 12,000 คนที่ทำหน้าที่ตรวจหารีวิวปลอมเหล่านี้โดยเฉพาะ และรายงานว่าในปี 2020 บริษัทสามารถลบรีวิวปลอมเหล่านี้ได้ก่อนผู้บริโภคจะเห็นถึง 20 ล้านรายการ

ส่วนฝั่งผู้บริโภค หากมีความกังวลว่าตัวเองกำลังอ่านรีวิวหน้าม้าโดยไม่รู้ตัว สามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้ได้เพื่อกลั่นกรองก่อนตัดสินใจสั่งซื้อ

  1. อ่านรีวิวโดยเรียงลำดับจากรีวิวล่าสุดก่อน – เพราะจะทำให้ได้เห็นว่าสินค้ายังใช้ดีอยู่จริงไหมเมื่อเร็วๆ นี้ อย่าลืมอ่านแพทเทิร์นการเขียนว่าดูเหมือนคนรีวิวปกติทั่วไปไหม และไม่ต้องสนใจคนที่มาให้ 5 ดาวอย่างเดียวแต่ไม่คอมเมนต์อะไรเลย
  2. อ่านรีวิวในแพลตฟอร์มอื่นด้วย – ถ้าเป็นการซื้อของชิ้นใหญ่ราคาแพง ควรจะตรวจสอบรีวิวในแพลตฟอร์มอื่นด้วย รวมถึงเช็กจากนักวิจารณ์สินค้าหมวดนั้นๆ ที่เชื่อถือได้
  3. แม้จะเป็นรีวิวจากผู้ซื้อจริงก็เชื่อถือไม่ได้ทั้งหมด – แพลตฟอร์มอาจจะ verified ให้ว่าผู้รีวิวรายนั้นมีการซื้อสินค้าจริง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเชื่อถือได้ทั้งหมด หากเห็นว่ารีวิวนั้นมีการเขียนคำผิดๆ ถูกๆ หรือเรียงคำเรียงประโยคแปลกๆ ให้ระวังไว้ว่าอาจเป็นรีวิวปลอม

Source

]]>
1393335
“Facebook Group” ขุมทองของ “แบรนด์” พื้นที่เก็บอินไซต์ลูกค้า-ดินแดนแห่งการ ‘ป้ายยา’ https://positioningmag.com/1356213 Tue, 12 Oct 2021 10:26:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356213 ใครยังไม่อยู่ในกลุ่ม “งานบ้านที่รัก” หรือ “จัดโต๊ะคอม” อยากให้ลองเข้าไป ‘ส่อง’ การสนทนาใน Facebook Group เหล่านี้ เพราะชุมชนในกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสินค้ากันอย่างจริงจัง จริงใจ ทำให้เห็นอินไซต์ของผู้ใช้จริง และเป็นดินแดนแห่งการ ‘ป้ายยา’ อะไรว่าดีจะมีคนซื้อตามกันจำนวนมาก มาฟังความเห็นจากที่ปรึกษาด้านการตลาด “วันเดอร์แมน ธอมสัน” และ “Kantar” กันว่า “แบรนด์” จะทำอะไรได้บ้างในพื้นที่นี้

ระยะหลัง Facebook จัดอัลกอริทึมให้โพสต์ใน Facebook Group เป็นโพสต์ที่จะถูก ‘ดัน’ ขึ้นมาแสดงเป็นหลักทั้งในหน้า News Feed และส่งแจ้งเตือนใน Notification ด้วย ทำให้การสนทนาใน Group เฟื่องฟู ถูกมองเห็นมาก และกลายเป็นชุมชนที่โตเร็ว

ปีนี้ Group ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นจะเป็นกลุ่มที่แลกเปลี่ยนความรู้และสินค้ากันในเรื่องเฉพาะเจาะจง เช่น “งานบ้านที่รัก” เปิดให้สมาชิกมาพูดคุยกันเรื่องเทคนิคการทำงานบ้าน หรือกลุ่ม “จัดโต๊ะคอม” แชร์ไอเดียการจัดโต๊ะทำงานให้สวยงาม ซึ่งบูมสุดๆ ในช่วง Work from Home ที่ทำให้หลายคนต้องจัดมุมหนึ่งหรือห้องหนึ่งในบ้านไว้ทำงานแบบจริงจัง

ตัวอย่าง Facebook Group ยอดฮิตขณะนี้ “งานบ้านที่รัก” และ “จัดโต๊ะคอม”

ทั้งสองกลุ่มนี้มีพลังอย่างมาก “งานบ้านที่รัก” ขณะนี้มีสมาชิกกว่า 302,000 คน ขณะที่ “จัดโต๊ะคอม” มีสมาชิกกว่า 228,000 คน มีบทสนทนากันทุกวัน

เสน่ห์ของ Facebook Group จะคล้ายกับเว็บบอร์ด คือทุกคนมีสิทธิ์ตั้งโพสต์เล่าเรื่องหรือตั้งคำถาม และทุกคนมีสิทธิ์ตอบความเห็นของตัวเอง ภายใต้กฎร่วมกันของกลุ่มที่ ‘แอดมิน’ คนก่อตั้งเป็นผู้ดูแล

ทำให้แต่ละกลุ่มมีวัฒนธรรมแตกต่างกันไป บางกลุ่มตั้งมาเพื่อขายของโดยเฉพาะ แต่กลุ่มที่กำลังฮิตอย่างงานบ้านที่รักและจัดโต๊ะคอม จะเน้นเรื่องการแชร์ประสบการณ์มากกว่าขายสินค้าเพื่อรักษาบรรยากาศ

เมื่อมีการรีวิว สิ่งที่คนคุยกันแน่นอนคือตัว “สินค้า” ทำให้ Facebook Group เป็นพื้นที่ที่ “แบรนด์” ไม่ควรมองข้าม เพราะนี่คือขุมทองในการรับฟังผู้บริโภคและทำการตลาด

 

“อินไซต์” คนใช้จริงที่ Focus Group ก็ให้ไม่ได้

ความเห็นจาก “ฐิติรัตน์ ตันติฤทธิศักดิ์” ผู้จัดการทั่วไปของ Digital Acceleration วันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย มองว่า ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของ Facebook Group คือการเข้าไปเก็บ “อินไซต์” จากผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ของตัวเอง หรือสินค้าคู่แข่งในหมวดเดียวกัน

ตัวอย่างโพสต์รีวิว “เครื่องอบผ้า” ในกลุ่มงานบ้านที่รัก ทำให้เกิดกระแสฟีเวอร์ในกลุ่มพ่อบ้านแม่บ้าน มีทั้งคอมเมนต์สอบถามการใช้งาน และ ‘กองหนุน’ ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ควรมีในบ้าน

“ยกตัวอย่างในกลุ่มงานบ้านที่รัก เคยมีคนรีวิวเครื่องอบผ้า ปรากฏว่ามีคนมาคอมเมนต์เกิน 300 ความเห็น เวลาเราทำ Focus Group เรายังไม่ได้กลุ่มตัวอย่างใหญ่ขนาดนี้มาก่อนเลย และแต่ละคนมีความต้องการละเอียดมาก” ฐิติรัตน์กล่าว “หลายอย่างเรานึกไม่ถึง ฟังก์ชันบางอย่างของสินค้าในมุมผู้ขายมองเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ปรากฏว่าเป็นเรื่องใหญ่มากของผู้ใช้”

จากข้อมูลที่คนมาแสดงความเห็นกัน จะทำให้แบรนด์รู้ว่าผู้บริโภคมี pain point อะไร และถ้าสินค้าเราตอบโจทย์เขาได้ ก็ควรสื่อสารประเด็นนั้น หรือถ้าพบว่าผู้บริโภคมีคำถามซ้ำๆ เกี่ยวกับสินค้าของเรา แสดงว่าแบรนด์ยังไม่ได้สื่อสารประเด็นนั้นดีพอ ก็ต้องกลับไปทำการตลาด การสื่อสารให้ตรงจุด

 

ดินแดน “ป้ายยา” ความน่าเชื่อถือสูง

ด้าน “ชีวานนท์ ปิยะพิทักษ์สกุล” ผู้จัดการฝ่ายการตลาด Kantar Worldpanel ประเทศไทยและมาเลเซีย อธิบายความน่าสนใจของ Facebook Group คือมีลักษณะการสื่อสารแบบ C2C ผู้บริโภคที่สนใจเรื่องเดียวกันมาพูดคุยกันเอง มีทั้งประสบการณ์ที่ดีและแย่ของแบรนด์ จะต่างจากระบบ Facebook Page ที่สื่อสารแบบ B2C มากกว่า ทำให้ผู้บริโภคเกิด “ความเชื่อถือ” ในข้อมูลที่แชร์กันผ่าน Facebook Group

กิจกรรมอวดโต๊ะทำงานในกลุ่ม “จัดโต๊ะคอม” พร้อมชี้เป้าป้ายยาแหล่งซื้อหาไอเท็มต่างๆ

สอดคล้องกับฐิติรัตน์ วันเดอร์แมนฯ ที่มองว่า คนในกลุ่มพร้อมรับฟัง และพร้อมที่จะ ‘ซื้อตาม’ เพราะเห็นว่าผู้รีวิวเป็นคนที่ใช้สินค้าจริง ตามด้วยคอมเมนต์ที่มีทั้งข้อดีข้อเสียให้ชั่งน้ำหนัก จากเดิมผู้บริโภคหากคิดจะซื้อสินค้าอย่างหนึ่งอาจจะต้อง search แหล่งข้อมูลหลายแหล่ง ใช้เวลานาน แต่ใน Facebook Group อ่านโพสต์เดียวก็ตัดสินใจได้เลย conversion ไปสู่ยอดขายจึงสูงมาก

 

สร้าง ‘user’ ที่มีความจริงใจ

ในกรณีของการทำการตลาด จะทำอย่างไรให้เข้าถึงผู้บริโภคใน Facebook Group ชีวานนท์จาก Kantar มองว่า แบรนด์ควรจะเข้าไป “เป็นส่วนหนึ่งของพวกเขา” หรือเรียกว่า “พูดภาษาลูกค้า” โดยอาจจะให้มีตัวแทนจากแบรนด์ไปเป็น user หนึ่งในกลุ่มเพื่อคอยให้ข้อมูลสินค้า ส่งเสริมการขาย คอยปกป้องแบรนด์หรือให้ข้อมูลที่ถูกต้องหากเกิดวิกฤตแบรนด์ขึ้น แต่ที่สำคัญคือแบรนด์จะต้องมีความจริงใจในการสื่อสาร

ด้านฐิติรัตน์มองในลักษณะการเปลี่ยนแพลตฟอร์มการทำการตลาด เพราะปกติแบรนด์อาจจะมีการจ้าง KOL ให้รีวิวสินค้าในแหล่งต่างๆ อยู่แล้ว เช่น Pantip.com หรือทำคลิปลงใน YouTube แบรนด์ก็สามารถเปลี่ยนพื้นที่ให้ KOL มารีวิวลงในกลุ่มเหล่านี้ด้วยก็ได้ แต่โทนการขายต้องรู้จักวัฒนธรรมของกลุ่ม นั่นคือพื้นที่เหล่านี้จะไม่เหมาะกับการ ‘hard sale’ เสนอโปรโมชัน แต่ต้องแนะนำสินค้าแบบที่อ่านแล้วได้ความรู้

 

จุดขายไม่แกร่งจริง อาจเป็นดาบสองคม

อย่างไรก็ตาม การทำตลาดในพื้นที่ Facebook Group ไม่ใช่เรื่องง่ายแน่นอน ด้วยลักษณะแบบเดียวกับเว็บบอร์ด ฐิติรัตน์ชี้ให้เห็นว่า แบรนด์หรือสินค้านั้นๆ จะถูกเปรียบเทียบกับแบรนด์อื่นตลอดเวลา ซึ่งถ้าแบรนด์ของเราด้อยกว่าจะกลายเป็นผลลบแทนได้

ดังนั้น จึงแนะนำว่า แบรนด์ที่มุ่งเข้าไปทำตลาดในพื้นที่นี้ ต้องสร้างจุดขาย สร้างเอกลักษณ์ของตัวเองให้ชัดเจนมาก่อน ถ้าแบรนด์แข็งแกร่งจริง โอกาสจะเปิดกว้างมาก เพราะผู้บริโภคที่ใช้จริงแล้วพอใจจะแนะนำต่อในกลุ่ม

ต้องยอมรับว่าจะมีการเปรียบเทียบแบรนด์อยู่ตลอดเวลา

 

สรุป : ประโยชน์สูงมากถ้าใช้ให้เป็น

ฐิติรัตน์สรุปว่านักการตลาดสามารถใช้ Facebook Group ให้เป็นประโยชน์ได้ ในกรณีเข้าไปเก็บอินไซต์ ต้องรู้จัก “เปิดใจ” รับฟังจุดเด่นจุดด้อยของตัวเองให้เป็น และพร้อมจะปรับแก้

ส่วนการทำการตลาด ควรจะเตรียมช่องทางอี-คอมเมิร์ซไว้ให้พร้อม เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคในกลุ่มมี conversion rate สูง พร้อมซื้อออนไลน์ แม้เป็นสินค้าชิ้นใหญ่ราคาสูงก็ตัดสินใจซื้อได้เร็ว แบรนด์ที่ไม่พร้อมบนอี-คอมเมิร์ซจะแพ้ในสมรภูมินี้ เพราะถ้าผู้บริโภคซื้อทันทีไม่ได้ อาจจะเปลี่ยนใจไปหาแบรนด์อื่นเมื่อเจอรีวิวชิ้นอื่นอีก

สำหรับกลุ่มสินค้าที่ได้ประโยชน์ ฐิติรัตน์มองว่าเป็นไปได้ทุกกลุ่มสินค้า แต่ที่จะได้เปรียบกว่าคือสินค้า ‘high involvement’ เพราะการอธิบายวิธีใช้งาน การรีวิวฟังก์ชัน จะช่วยจูงใจได้ดี และมองว่าพื้นที่ Facebook Group คือ “เวทีแจ้งเกิด” ให้กับแบรนด์ใหม่ๆ หรือสินค้าของ SMEs เพราะผู้บริโภคในพื้นที่นี้พร้อมจะรับฟังสิ่งใหม่อยู่เสมอ

]]>
1356213
ไม่ยอมจบ! Tripadvisor ขึ้นคำเตือนมีผู้รีวิวถูกจำคุกเพราะ “โรงแรมเกาะช้าง” ฟ้องอาญา https://positioningmag.com/1305703 Thu, 12 Nov 2020 09:34:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305703 ภาคต่อดราม่า “รีวิวโรงแรมเกาะช้าง” หลังชาวอเมริกันคู่กรณีบินกลับประเทศ Tripadvisor แพลตฟอร์มตัวกลางลงรีวิว ขึ้นคำเตือนหราหน้าเว็บไซต์ว่า มีผู้ใช้งานถูกโรงแรมแห่งนี้ฟ้องอาญาจนถึงจำคุก โดยเป็นครั้งแรกที่แพลตฟอร์มขึ้นคำเตือนในลักษณะนี้

หน้ารีวิว โรงแรม ซีวิว รีสอร์ท แอนด์ สปา เกาะช้าง บนแพลตฟอร์มของ Tripadvisor วันนี้ปรากฏข้อความพิเศษในลักษณะคำเตือนต่อผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม โดยเป็นข้อความที่ไม่เคยมีมาก่อนบน Tripadvisor ความว่า

สาส์นจาก Tripadvisor:
โรงแรมนี้หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโรงแรมแห่งนี้ได้ยื่นฟ้องอาญากับผู้ใช้งานทริปแอดไวเซอร์ท่านหนึ่ง อันเนื่องมาจากรีวิวที่ได้เขียนและโพสต์ออนไลน์ เป็นผลให้ผู้เขียนรีวิวดังกล่าวถูกจำคุก ทั้งนี้ ทริปแอดไวเซอร์ให้บริการผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดีที่สุด เมื่อนักท่องเที่ยวมีอิสระในการแบ่งปันความคิดเห็นและประสบการณ์ทั้งที่เป็นแง่บวกและแง่ลบบนเวบไซต์ของเรา โรงแรมอาจใช้สิทธิ์ตามกฎหมายภายใต้กฎหมายท้องถิ่น แต่อย่างไรก็ตาม เราถือเป็นหน้าที่ที่ต้องแจ้งให้คุณทราบ เพื่อที่คุณอาจนำสิ่งนี้มาพิจารณาในการหาข้อมูลวางแผนการเดินทางของคุณ

ย้อนความก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น โรงแรม ซีวิว รีสอร์ท แอนด์ สปา เกาะช้าง ได้รับรีวิววิพากษ์วิจารณ์จาก “เวสลีย์ บาร์นส์” แขกชาวอเมริกันรายหนึ่งอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ เหตุมาจากบาร์นส์ต้องการนำแอลกอฮอล์จากภายนอกเข้ามาดื่มในร้านอาหารของโรงแรม โรงแรมจึงเรียกเก็บค่าเปิดขวด 500 บาท ทำให้เกิดความไม่พอใจขึ้น

หลังจากนั้นโรงแรมเข้าไกล่เกลี่ยและยอมยกเว้นค่าเปิดขวด 500 บาทเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในโรงแรม แต่บาร์นส์ได้นำเรื่องนี้เขียนริวิวในหลายแพลตฟอร์มรวมถึงใน Tripadvisor ซึ่งต่อมาทางโรงแรมชี้แจงว่า บาร์นส์มีการเขียนข้อความที่เป็นการเหยียดเชื้อชาติพนักงานโรงแรม กล่าวหาว่าโรงแรมใช้งานพนักงานเยี่ยงทาส รวมถึงกล่าวว่าโรงแรมเปรียบเหมือนกับโคโรนาไวรัส

โรงแรมพยายามติดต่อบาร์นส์เพื่อขอให้หยุดการรีวิว แต่ไม่สามารถติดต่อได้ จึงดำเนินการฟ้องคดีหมิ่นประมาท เพื่อไม่ให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดต่อการดำเนินการของโรงแรม (อ่านละเอียดที่นี่ >> สรุป 10 ข้อ ดราม่า “โรงแรมเกาะช้าง” ฟ้องนักท่องเที่ยว สร้างบัญชีใหม่ถล่มรีวิวด้านลบ)

บรรยากาศการไกล่เกลี่ยคดีระหว่างเวสลีย์ บาร์นส์ กับโรงแรมซีวิว เกาะช้าง (Photo : Manager Online)

สำนักข่าว The New York Times รายงานว่า เวสลีย์ บาร์นส์ ถูกจำคุก 2 คืนจากคดีดังกล่าว ก่อนจะได้รับการประกันตัวออกมา

สำหรับคดีความ ทั้งสองฝ่ายมีการนัดไกล่เกลี่ยคดีในวันที่ 9 ต.ค. 63 ในวันนั้นทางโรงแรมยื่นข้อเสนอให้บาร์นส์เขียนหนังสือแสดงความเสียใจและขอโทษอย่างจริงใจ โดยส่งให้สำนักข่าวทุกสำนักที่ตีพิมพ์ข่าวของโรงแรมก่อนหน้านี้รวมถึงสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

นอกจากนี้ บาร์นส์ยังต้องประสานงานกับ Tripadvisor เพื่อขอให้เว็บไซต์หยุดการติด Red Badge บนหน้าเพจของโรงแรมด้วย จากนั้นโรงแรมจะดำเนินการถอนคำร้องทุกข์ (Red Badge หมายถึงข้อความเตือนพิเศษว่าการรีวิวของสถานที่นั้นๆ อาจจะถูกเจ้าของสถานที่เข้าแทรกแซงให้มีแต่รีวิวเชิงบวก)

บาร์นส์ได้ตกลงยอมรับข้อเสนอไกล่เกลี่ยดังกล่าว และเพิ่งบินจากประเทศไทยกลับสู่บ้านเกิดในสัปดาห์นี้เอง เมื่อทราบแน่ชัดว่าบาร์นส์กลับถึงสหรัฐฯ อย่างปลอดภัยแล้ว Tripadvisor ซึ่งเป็นผู้จัดหาทนายความให้บาร์นส์และพยายามเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยก็ขึ้นข้อความเตือนดังกล่าวทันที ทำให้โรงแรมซีวิว เกาะช้างงุนงงว่าเหตุใด Tripadvisor จึงไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงไกล่เกลี่ย

คดีดังกล่าวถือเป็นคดีดังในต่างประเทศ เพราะกฎหมายหมิ่นประมาทไทยที่มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 2 ปีนั้นนับว่าร้ายแรงและการนำมาใช้ฟ้องร้องลูกค้าผู้เขียนรีวิวก็ขัดกับหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่คดีเดียวที่ Tripadvisor มีส่วนเกี่ยวข้อง ปกติแพลตฟอร์มนี้มักจะมีคดีฟ้องร้องปีละ 50-100 คดีทั่วโลก และมักจะเกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ แต่การติดข้อความเตือนลักษณะนี้เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์

Source

]]>
1305703
เผยโฉม Top 5 เจ้าแม่รีวิว “วุ้นเส้น” แชมป์อันดับ 1 https://positioningmag.com/1168613 Sun, 06 May 2018 05:59:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1168613 56 คน คือจำนวนรายชื่อดารา นักแสดง เซเลบ เน็ตไอดอล ที่เคย “รับจ้าง” รีวิวสินค้าในเครือของเมจิค สกิน ที่ว่ากันว่ามีมากมายถึงกว่า 300 แบรนด์

เรียกว่าตอนนี้ยังคงเป็นประเด็น Talk of the Town ที่ถูกพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในทุกๆ สื่อ โดยเฉพาะในสังคมออนไลน์ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่เหล่านักรับจ้างรีวิวเหล่านั้น นำมาเป็นเครื่องมือในการตักตวงผลประโยชน์ และรายได้แบบมหาศาล

อย่าไปเสียเวลาถามหาความรับผิดชอบ!!

เพราะแม้ว่าเหล่าดารา เซเลบ จะอ้างว่าตนเองก็เสียรู้เจ้าของผลิตภัณฑ์ ที่ระบุว่าสินค้ามี อย. เรียบร้อยแล้ว โดยไม่ได้มีการสำรวจตรวจสอบให้ถี่ถ้วนว่าเป็น อย. แท้หรือไม่? อย่างไร? 

ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ว่าสินค้านั้นๆ มี อย. หรือไม่มี 

เพราะบางสินค้า อาจจะใช้วิธีการหมกเม็ด คือตอนยื่นเสนอ อย. ก็ใช้ส่วนผสมแบบหนึ่ง แต่พอผ่านกระบวนการนั้นๆ แล้ว จะมาแอบตัดนั่น เพิ่มนี่ ยัดส่วนผสมอื่นๆ ที่อาจจะไม่ได้มาตรฐานแต่ราคาถูก ผสมเข้าไป เพื่อลดต้นทุน ซึ่งก็คงไม่มีใครมานั่งตรวจสอบ 

แต่การที่ดารา นักแสดง เซเลบรับเงินจากเจ้าของสินค้าเพื่อกล่าวอ้างถึงสรรพคุณว่าดีงามอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งที่ตัวเองไม่ได้ใช้จริง ก็ถือว่าไม่ถูกต้องนัก

ไม่หลอกก็เหมือนหลอก ไม่ลวงก็เหมือนลวง

เพราะอย่าลืมว่าดารา นักร้อง นักแสดง หรือกระทั่งบรรดาเซเลบ และเน็ตไอดอลนั้น ถือเป็นผู้ทรงอิทธิพล และมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ หรือไม่ซื้อของผู้บริโภค

การพูดจาในลักษณะชี้นำว่าสินค้ามีคุณภาพ ใช้แล้วเห็นผลจริง จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผลทำให้ผู้คนคล้อยตาม ไม่ต่างอะไรกับการโฆษณาชวนเชื่อ

แต่ก่อนแต่ไร เราอาจจะคุ้นชินกับประโยคที่ว่า

มาในยุคทองของการรับจ้างรีวิวสินค้า รูปแบบประโยคดูเหมือนจะถูกสลับตำแหน่งนิดหน่อย 

เพราะแค่มีรูปเป็นทรัพย์ กับรู้จักบริหารจัดการสื่อโซเชียลของตัวเองให้เป็นประโยชน์ ก็สามารถผันไปเป็นรายรับที่ต้องบอกว่าอู้ฟู่เหลือเกิน

ลองมาดูกันว่าดารา นักร้อง คนดัง เหล่านั้น ได้รายได้กันมากน้อยขนาดไหนต่อการรับจ้างรีวิวสินค้า

ถ้าเป็นดาราที่อยู่ในกระแสสนนค่าตัวก็อยู่ที่ประมาณ 50,000 – 100,000 บาท ต่อการโพสต์รูป 1 ครั้ง แล้วแต่ว่าดังมาก ดังน้อย แต่ถ้าเป็นลักษณะคลิป ราคาก็จะถีบตัวสูงขึ้นไปอีก

กับอีกลักษณะหนึ่ง ก็คือเทียบเป็นสัดส่วนจากจำนวนของผู้ติดตามในไอจี 

เช่นยอดฟอลโล 100,000 คนขึ้นไป ก็จะได้เรตอยู่ประมาณ 35,000 บาทขึ้นไป ถ้ามีถึง 500,000 คน ก็จะได้เรตอยู่ในราว 50,000 บาทต่อครั้ง 

แต่ถ้าพุ่งไปแตกหลักล้าน ราคาก็อยู่ระหว่าง 80,000 บาทขึ้นไป 

เทียบเท่ากับค่าตัวออกอีเวนต์ 1 งาน หรือค่าตัวต่อของนางเอกละครระดับท็อปๆ เลยทีเดียว

แต่เวลาที่ใช้ต่างกันคนละโลกเลย

ไปอีเวนต์งานหนึ่ง อาจจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชม. เล่นละคร 1 ตอน อาจจะเสียเวลาเป็นวัน หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าบทบาทยากง่ายขนาดไหน

แต่รับจ้างรีวิวสินค้าใช้เวลาถ่ายรูป รวมกับโพสต์ลงสื่อในมือตัวเอง กินเวลาไม่ถึง 2 นาที

และที่สำคัญ การรับงานในลักษณะนี้ ไม่มีสัญญาผูกพันว่าห้ามไปรับสินค้าประเภทเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกถ้าจะเห็นดารา นักร้อง คนหนึ่งคนใด รับงานรีวิวสินค้ามากมายหลายแบรนด์ ชนิดที่ลองไล่ดูในไอจี นึกว่ากำลังส่องดูเว็บไซต์แค็ตตาล็อกสินค้าก็ไม่ปาน

80,000 บาทต่อ 1 โพสต์ สมมติว่ารับงานวันละโพสต์ เท่ากับเดือนหนึ่ง 30 โพสต์ ได้เงินเหนาะๆ ประมาณ 2 ล้านเศษๆ 

อะไรไม่ว่า ส่วนใหญ่การรับงานในลักษณะนี้ จะรับกันเป็นเงินสดแบบเต็มจำนวน และไม่มีการแจ้งที่มาของรายได้ ซึ่งสามารถหลบเลี่ยงภาษีได้อย่างดีเลยทีเดียว

แต่ก็ใช่ว่า ดาราทุกคนจะรับงานแบบนี้ 

เพราะถ้าเป็นดาราระดับท็อปจริงๆ ส่วนใหญ่จะไม่รับงานรีวิวสินค้าที่ตัวเองไม่ได้เป็นพรีเซ็นเตอร์

อย่างเช่น…อั้ม-พัชราภา , นุ่น-วรนุช , แอน ทองประสม ชมพู่-อารยา , พลอย-เฌอมาลย์ , ณเดชน์ , ญาญ่า , เจมส์จิ ฯลฯ เพราะมองว่าอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย 

“อั้มไม่เคยรับเงินจากการโฆษณาอะไรทั้งสิ้น ใครติดต่อมาไม่เคยรับ ไม่เคยโปรโมตให้ใคร อยากจะโปรโมตก็โปรโมตด้วยตัวเอง ไม่มีใครใช้ ไม่มีทาง ของอั้มให้ดูได้เลย ไม่เคยขายของอะไรเลย อั้มไม่ชอบเรื่องพวกนี้ด้วย อั้มไม่เคยรับ ไม่ชอบเรื่องพวกนี้ จริง ๆ ซีเรียสมาก ไม่ชอบ และคงไม่มีใครติดต่อมา เคยมีแต่ไม่ชอบ”

ส่วนดาราที่จัดอยู่ในทำเนียบเจ้าแม่รีวิว จึงมักจะเป็นดาราระดับรองๆ ลงมา คือไม่ถึงกับโด่งดังระดับพระเอก – นางเอก แต่ฉวยว่ามียอดคนฟอลโลในไอจีเยอะ ก็เลยมักจะมีสินค้ามาจ้างวานให้รีวิวอยู่เนืองๆ และสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ จนแทบไม่ต้องเสียเวลาไปเล่นหนัง เล่นละคร หรือออกงานอีเวนต์ใดๆ

และด้วยความที่ไม่มีสัญญาผูกพันนี่เอง เจ้าแม่รีวิวบางคนจึงสามารถรับจ้างโพสต์เชียร์สินค้าตั้งแต่หัวจรดเท้าเลยทีเดียว

นำโด่งมาเป็นอันดับหนึ่งในทำเนียบเจ้าแม่รีวิว เห็นทีจะไม่มีใครเกิน “วุ้นเส้น-วิริฒิพา” แม้จะไม้ใช่ดาราระดับหัวแถว ผลงานละครก็มีแทบจะนับเรื่องได้ แต่บังเอิญว่ามียอดคนฟอลโลในไอจีที่ทะลุเพดานไปกว่า 6 ล้านคน ประกอบกับมีหน้าตาสวยสดงดงาม ผิวขาวออร่ากระจาย รูปร่างได้สัดส่วน จึงเป็นที่ถูกตาต้องใจเจ้าของแบรนด์สินค้าประเภทอาหารเสริม อาหารผิว ยาลดความอ้วน จึงทำให้มีรายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้า ชนิดที่เรียกว่าไม่ต้องรับงานอื่นกันเลย

ลองมาไล่เรียงผลงานการรีวิวของวุ้นเส้น ที่มีมากมายจนนับกันไม่หวาดไหว อาทิ…

ครีมลดฝ้า กระ MJ , โคโคโร่ คลู แอนตี้ เซลลูไลท์ , อาหารเสริมผิว ขาว ใส Claire , The Secret Plus , แป้งซิลิโคนบาบาร่า , น้ำโสมเซวา Sewa Insam Essence , BJ เจลลี่หุ่นสวย , ครีมกันแดด W2M , Dr. Jill Serum , I-Slym , Sena Marine Plankton Aging Serum Concentrate , Well-Balance Gel , ครีมกันแดด Imin Nano , ครีมรังนก 2T White , Fresh CC Sunscreen Cream , Tan’s Absolute All-Around Perfect Skin , โลชั่นน้ำหอม Ravissant , Varie Cleaning Service , ครีมหน้าใส Anya System , หวีรีดผมตรง Madami , โลชั่น Benice , โทรศัพท์มือถือ Nokia , Melon Lotion , ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innar , อาหารเสริม Eighteen และ ฯลฯ

อันดับสอง แม้ชั่วโมงบินจะเป็นรองอยู่หลายปี แต่ยอดคนฟอลโลไล่บี้มาติดๆ สำหรับ “ปันปัน-สุทัตตา” ที่มีผู้ติดตามไอจีมากกว่า 6 ล้านคนเช่นเดียวกัน และด้วยความเป็นนักแสดงวัยรุ่น เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ จึงได้รับงานรีวิวสินค้าประเภทที่เจาะกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นมากเป็นพิเศษ

อันดับที่ 3 และ 4 ด้วยความที่มีสถานะเป็นคุณแม่ยังสาว ที่รักษารูปร่างได้แบบเป๊ะเว่อร์ และได้อานิสงส์จากความน่ารักน่าชังของลูก ก็เลยพลอยทำให้มีงานรีวิวสินค้า ทั้งประเภทความสวย ความงาม และสินค้าแม่และเด็กอยู่ไม่ได้ขาด สำหรับ “แพท-ณปภา” และ “เป้ย-ปานวาด” ที่มียอดคนฟอลโลไอจี มากถึง 5.2 และ 4.6 ล้านคนเลยทีเดียว

ส่วนอันดับที่ 5 ได้ชื่อว่าเป็นอดีตพริตตี้ระดับต้นๆ ของเมืองไทย “หญิงแย้-นนทพร” ด้วยยอดฟอลโลกว่า 1.3 ล้านคน ทำให้มีสินค้ามาจ้างรีวิวมากมายไม่แพ้ดารา เรียกว่าไล่มาตั้งแต่เครื่องสำอาง ลามไปจนถึงชั้นในเลยทีเดียว ด้วยลีลาการรีวิวที่หาตัวจับยาก ทำให้มีคนแห่ซื้อตามกันจนเจ้าของสินค้านับเงินไม่ทัน

อย่างไรก็ตาม กระแสการรับจ้างรีวิวสินค้านั้น ไม่ได้เพิ่งมาฮิต และไมได้แพร่ระบาดเฉพาะในหมู่ดารา นักร้อง ของไทยเท่านั้น แม้แต่ระดับต่างประเทศ ก็เคยมีปรากฏมาแล้วเหมือนกัน อย่างเช่น “จัสติน บีเบอร์” ที่มียอดผู้ติดตามในไอจีสูงถึง 41 ล้านคนเศษๆ ก็เคยรับงานรีวิวสินค้ายี่ห้อหนึ่ง ด้วยสนนค่าตัวที่ว่ากันถึง 8 หลัก หรือนักร้องที่มียอดผู้ติดตามมากที่สุดในโลกอย่าง “เทเลอร์ สวิฟท์” ค่าจ้างสำหรับการรับจ้างรีวิวสินค้านั้น สูงถึง 20 ล้านบาทเลยทีเดียว 

ฉะนั้นเมื่อเราไม่อาจเรียกร้องความรับผิดชอบของเจ้าของสินค้า หรือแม้กระทั่งบรรดาเจ้าแม่รีวิวทั้งหลายได้ หนทางเดียวก็คือ เราต้องรับผิดชอบการตัดสินใจของตัวเอง ว่าจะเลือกซื้อ เลือกใช้สินค้าแบรนด์ไหน ยี่ห้อใด ต้องพิจารณาให้รอบคอบ และถ้วนถี่ 

จะได้ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของวงจรโฆษณาชวนเชื่อแบบนี้!!

นิตยสาร ผู้จัดการ 360 องศา สุดสัปดาห์ ฉบับที่ 441 5-11 พฤษภาคม 2561

Source

]]> 1168613