ร้านขายของเล่น – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 21 Sep 2023 08:49:20 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “POP MART” กับเส้นทางสู่รายได้กว่า 2 หมื่นล้าน จากการเปลี่ยนสินค้า “นิช” ให้เป็น “แมส” https://positioningmag.com/1445067 Thu, 21 Sep 2023 06:34:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445067 เมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์คนแห่ต่อคิวข้ามคืนหน้าร้าน “POP MART” สาขาแรกในไทยที่เซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อช่วงชิงกันซื้อ ตุ๊กตาของเล่น ภายในร้าน เรียกเสียงฮือฮาว่าทำไมคนจำนวนมากถึงอยากครอบครองตุ๊กตาเหล่านี้

ร้าน POP MART ไม่ได้ขายของเล่นประเภทที่ทำมาให้เด็กเล่น แต่เป็นร้านขาย “Art Toy” งานศิลปะในรูปแบบของเล่นสำหรับให้ผู้ใหญ่ได้สะสม

ตุ๊กตาน่ารักๆ เหล่านี้ทำเงินให้กับ POP MART ไป 4,617 ล้านหยวน (มากกว่า 22,000 ล้านบาท) และทำกำไรสุทธิ 475 ล้านหยวน (มากกว่า 2,300 ล้านบาท) เมื่อปี 2022  โดยจำหน่ายผ่านออนไลน์ส่งออกไปทั่วโลก และมีหน้าร้านอยู่ใน 23 ประเทศ

ทำไมสินค้าที่ดูเป็นของเฉพาะกลุ่มหรือ “นิชมาร์เก็ต” จึงสามารถปั้นกระแสทำเงินได้หลายหมื่นล้าน ต้องย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของบริษัทกัน

POP MART
ร้าน POP MART สาขาแรกในไทยที่เซ็นทรัลเวิลด์

 

งานศิลปะที่เข้าถึงง่าย

POP MART ก่อตั้งโดยชายชาวจีนชื่อ “Wang Ning” เมื่อปี 2010 เปิดสาขาแรกที่เมืองหนานหนิง ประเทศจีน

ทีแรกที่เปิดร้านเขาเริ่มจากการขายสินค้าไลฟ์สไตล์ทั่วไป เน้นเจาะตลาดคน Gen Y แต่เปิดไปได้ 2-3 ปี ร้านกลับไม่ทำกำไรเพราะขายของสารพัดอย่างมากเกินไป Wang จึงลองวิเคราะห์ธุรกิจตัวเองว่าจะทำอย่างไรต่อเพื่อให้ร้านอยู่รอด

สิ่งที่เขาพบคือ สินค้าที่ขายดีที่สุดของร้านคือ “Art Toy”

POP MART
Art Toy จากฝีมือศิลปิน Skullpanda

เมื่อจับจุดได้ว่า Art Toy เป็นสินค้ามาแรงในยุคแห่ง Pop Culture เขาจึงไปหาอินไซต์จากนักสะสมว่า งานของศิลปินคนไหนกำลังดังและเป็นที่ต้องการในตลาด

เป็นที่มาของการเข้าไปจีบ “Kenny Wong” ศิลปินชาวฮ่องกงผู้สร้างสรรค์คาแรกเตอร์ “Molly” ให้มาร่วมงานกับ POP MART

Wang ขายงานกับ Kenny ว่า กลยุทธ์ของเขาคือจะขอ ‘ย่อไซส์’ ตุ๊กตา Molly ให้มีขนาดเล็ก เพื่อทำราคาให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น และจะทำตลาดเหมือนสินค้า “แมสมาร์เก็ต” วางขายในศูนย์การค้ากลางเมือง

สรุปว่า Kenny Wong ตกลง และ Molly ไซส์เล็กที่ผลิตออกมาแค่ 200 ชุดร่วมกับ POP MART ก็ขายหมดเกลี้ยงทันทีตั้งแต่วันแรก เป็นจุดเริ่มต้นของการผลักดัน Art Toy ไปสู่ตลาดแมส ด้วยราคาที่เอื้อมถึงได้สำหรับคนทั่วไป ไม่ใช่งานศิลปะที่ต้องมีเงินหกหลักเพื่อครอบครองสักชิ้นหนึ่ง

 

“กล่องสุ่ม” สร้างแรงซื้อและตลาดรีเซล

Wang Ning ยังนำไอเดีย “กาชาปอง” ของญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้กับร้านของตัวเองด้วย

โดยเขาจะร่วมงานกับศิลปินให้ออกแบบตุ๊กตา 8-12 แบบต่อ 1 คอลเล็กชัน แต่เวลาขายจะเป็น “กล่องสุ่ม” (Blind Box) ลูกค้าเลือกไม่ได้ว่าจะซื้อแบบไหน ต้องลุ้นตอนแกะกล่องว่าจะได้ตัวที่ชอบหรือเปล่า ยกเว้นถ้าเลือกซื้อแบบเหมาทั้งคอลเล็กชันก็จะได้ครบทุกตัวทุกแบบ

ระบบ “กล่องสุ่ม” ลุ้นว่าจะได้ตัวไหนในคอลเล็กชัน

แต่เสน่ห์ของกล่องสุ่มมีมากกว่านั้น คือในแต่ละคอลเล็กชันจะมีการซ่อนตุ๊กตา ‘Secret’ หรือตัวพิเศษที่ผลิตมาจำนวนจำกัด อัตราสุ่มเจอน้อยมาก เช่น 1 ใน 400 ตัว เพื่อจะดึงนักสะสมให้ซื้อแบบสุ่ม ลุ้นรับตุ๊กตาตัวพิเศษที่เป็น ‘ของแรร์’ ไปครอง

นอกจากคุณค่าทางใจที่ได้ของพิเศษมาไว้ในมือแล้ว ตุ๊กตาที่มีจำนวนจำกัดยังได้ราคารีเซลที่สูงมากด้วย

กลยุทธ์กล่องสุ่มจึงหล่อเลี้ยงให้ลูกค้าได้ ‘ลุ้น’ และทำให้เกิดมูลค่าของคาแรกเตอร์นั้นๆ จากการรีเซลราคาสูงของตุ๊กตาแรร์ไอเทมในตลาด

 

ประกบ “ศิลปิน” ดีลธุรกิจร่วมกันครบวงจร

หลังจากเปลี่ยน POP MART มาเป็นร้านขาย Art Toy เต็มตัวตั้งแต่ปี 2014 และกิจการเริ่มตั้งตัวได้ สิ่งที่สำคัญมากของบริษัทคือการหาดีลกับศิลปินดังหรือมีศักยภาพ เพื่อปั้นกระแสทำการตลาดและผลิตสินค้าลิขสิทธิ์ร่วมกัน

ปัจจุบัน POP MART ทำงานกับศิลปินมาแล้วนับ 100 ราย แต่จะมีกลุ่มศิลปินที่ถือว่าดีลเหนียวแน่น มีผลงานร่วมกับร้านมาตลอด เช่น Kenny Wong เจ้าของผลงาน Molly, Kasing Lung เจ้าของผลงาน The Monsters, Ayan Deng เจ้าของผลงาน Dimoo, PUCKY เจ้าของคาแรกเตอร์ PUCKY, Skullpanda เจ้าของคาแรกเตอร์ Skullpanda

งานของศิลปิน PUCKY

POP MART ต้องการจะเฟ้นหาศิลปินดาวรุ่งเพื่อมาปั้นงานร่วมกันต่อเนื่อง จึงก่อตั้ง Pop Design Center (PDC) ขึ้นเมื่อปี 2017 เพื่อเป็นแหล่งค้นหาศิลปินหน้าใหม่มาทำงานด้วยกัน

โดยวิธีทำงานของ PDC จะไม่ใช่แค่คัดเลือกงานขั้นสุดท้าย แต่เข้าหาศิลปินตั้งแต่ยังทำงาน 2D และพัฒนางานเป็น 3D ร่วมกัน มุ่งสู่การออกแบบสินค้า ผลิตสินค้า ทำการตลาด และการจำหน่ายครบวงจร ซึ่งทำให้ POP MART เหนือกว่าคู่แข่งรายอื่นที่มักจะรับงานที่ผลิตเสร็จแล้วมาจำหน่ายเท่านั้น

 

จากจีนสู่ “ระดับโลก”

POP MART เริ่มขยายหน้าร้านออกต่างประเทศครั้งแรกในปี 2018 มุ่งสู่การทำตลาดโลกเต็มตัว

ปัจจุบันบริษัทมีหน้าร้านใน 23 ประเทศ รวมกว่า 460 สาขา โดยแบ่งเป็นในประเทศจีน 400 สาขา ส่วนต่างประเทศมี 60 สาขา

“Justin Moon” ประธาน POP MART International

“Justin Moon” ประธาน POP MART International หัวเรือในการขยายตลาดต่างประเทศ วิเคราะห์ ‘key success’ ที่ทำให้ POP MART ประสบความสำเร็จนอกจากกลยุทธ์ที่กล่าวไปข้างต้น ได้แก่

  1. มีฐานตลาดใน “จีน” เท่ากับได้ลูกค้ากลุ่มใหญ่ของโลกมาเป็นฐานไว้ก่อนออกสู่ระดับสากล
  2. มีโรงงานผลิตของตนเอง ไม่ต้องพึ่งพา OEM บริหารการผลิตได้ครบวงจร
  3. คุณภาพการผลิต ควบคุมอย่างละเอียดเพื่อให้งานศิลปะออกมาสมบูรณ์แบบ ลูกค้าพึงพอใจ
  4. การบริหารการผลิตให้พอดีกับดีมานด์ จึงบริหารต้นทุนได้ดี
  5. ทำการตลาดเจาะกลุ่ม “ผู้หญิง” โดยปัจจุบันลูกค้า 70% เป็นผู้หญิง ทำให้ได้ตลาดที่แตกต่างจากฟิกเกอร์อนิเมะที่มักจะได้ฐานลูกค้าผู้ชาย
POP MART
ความน่ารักของตุ๊กตายิ่งทำให้กลุ่มลูกค้าผู้หญิงชื่นชอบได้ง่าย

Justin ระบุว่า รายได้ของ POP MART ทั้งบริษัทปัจจุบัน 85% ยังมาจากจีน 15% มาจากต่างประเทศ แต่การเติบโตของตลาดต่างประเทศรวดเร็วมาก โดยช่วงครึ่งปีแรก 2023 รายได้จากต่างประเทศโตถึง 139.8% เทียบกับรายได้รวมบริษัทที่โต 19.3%

การเติบโตระดับนี้ทำให้บริษัทคาดว่า เป็นไปได้ที่รายได้ในอนาคต 50% จะมาจากจีน และ 50% มาจากต่างประเทศ หรือครึ่งต่อครึ่งนั่นเอง

 

“คนไทย” สุดยอดนักสะสม

สำหรับประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่ 7 ในเอเชียที่ POP MART เข้ามาเปิดหน้าร้าน (ไม่รวมจีน) โดยเป็นการร่วมทุนกับ Minor Lifestyle ในเครือ “ไมเนอร์” (POP MART เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ขอสงวนไม่แจ้งสัดส่วนร่วมทุน)

พร้อมเป้าจะเปิดร้านถาวรและป๊อปอัพสโตร์รวม 20 สาขาทั่วไทย รวมถึงตู้ขายสินค้าอัตโนมัติอีก 50 ตู้ ให้ได้ภายใน 5 ปี

ผลงาน CryBaby จากศิลปินไทย “มอลลี-นิสา ศรีคำดี”

แม้จะมาช้าแต่ว่าเมืองไทยถูกคาดหวังยอดขายไว้สูงมาก บริษัทเชื่อว่ายอดขายในไทยจะพุ่งแซงหน้าทุกประเทศในเอเชียไม่รวมจีน แซงแม้แต่ประเทศกำลังซื้อสูงอย่างสิงคโปร์ เกาหลีใต้ หรือญี่ปุ่น

“คนไทยจริงจังกับการสะสมมาก ลูกค้าจะซื้อจนกว่าจะมีครบทุกตัวในซีรีส์นั้น” Justin กล่าว “เราสังเกตว่ากลุ่มคนไทยที่กำลังซื้อสูงบินไปซื้อ Art Toy ที่เกาหลีใต้กันเยอะ และตัดสินใจเร็ว ทันทีที่คอลเล็กชันใหม่ออกจะเหมาซื้อเลย”

นอกจากคนไทยเองแล้ว POP MART คาดหวังรายได้จากนักท่องเที่ยวหลายล้านคนที่บินเข้าไทยในแต่ละปีด้วย รวมถึงนักท่องเที่ยว “จีน” เองที่จะเข้ามาช้อปงาน Art Toy กลับบ้าน เพราะร้านมักจะมีกลุ่มคอลเล็กชันพิเศษที่วางขายเฉพาะหน้าร้านสาขานั้นหรือในประเทศนั้น เป็นตัวกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวมาแวะร้านเพื่อหาซื้อรุ่นพิเศษ

ที่สำคัญอีกส่วนคือ POP MART มุ่งมั่นค้นหา “ศิลปินไทย” เพื่อร่วมงานผลิตสินค้าด้วย ปัจจุบันมีศิลปินที่ได้ร่วมงานแล้วคือ มอลลีนิสา ศรีคำดี เจ้าของผลงาน “CryBaby” ที่กำลังฮิตสุดๆ และอนาคตร้านน่าจะได้สนับสนุนงานของศิลปินไทยอีกหลายคนแน่นอน

]]>
1445067
เบนเข็มไปออนไลน์! Disney ทยอยปิด “ร้านขายของเล่น” 20% ของสาขาทั้งหมด https://positioningmag.com/1322000 Thu, 04 Mar 2021 13:14:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322000 Disney เตรียมปิด “ร้านขายของเล่น” Disney Stores สัดส่วน 20% ของสาขาทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ หันไปเน้นการขายออนไลน์ทดแทนตามนโยบายบริษัท โดยจะเริ่มจากทวีปอเมริกาเหนือจำนวน 60 สาขาก่อนทยอยปิดในทวีปอื่นต่อไป

Disney ประกาศเมื่อวันพุธที่ 3 มีนาคม 2021 ว่าบริษัทจะทยอยปิดสาขาของ Disney Stores สัดส่วน 20% ของทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับไปมุ่งเน้นธุรกิจอีคอมเมิร์ซเป็นหลัก

ดังนั้น สาขาอย่างน้อย 60 สาขาในทวีปอเมริกาเหนือจะปิดตัวลง ก่อนที่จะบริษัทจะทยอยปิดสาขาในทวีปอื่นต่อไป โดยทั่วโลกมี Disney Stores ทั้งหมดประมาณ 300 สาขา

พฤติกรรมผู้บริโภคที่กำลังปรับไปสู่การซื้อสินค้าออนไลน์นั้นถูกเร่งความเร็วขึ้นจากโรคระบาด ข้อมูลจาก IBM ระบุว่า
ความเร็วของการปรับไปสู่การช้อปออนไลน์ภายในปีที่ผ่านมา ถูกเร่งจนเหมือนกับก้าวกระโดดไปสู่อีก 5 ปีข้างหน้าเลยทีเดียว โดยเมื่อปี 2020 อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซโตก้าวกระโดด 32.4% ในปีเดียว มีมูลค่าไปแตะ 7.92 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และตัวเลขนี้จะยิ่งโตขึ้นเรื่อยๆ

ความเคลื่อนไหวของ Disney จึงสอดคล้องกับเทรนด์โลก ทั้งนี้ บริษัทไม่ได้เปิดเผยว่าการปิดสาขาจะส่งผลกระทบด้านการเงินอย่างไรบ้าง รวมถึงจำนวนพนักงานที่จะถูกเลย์ออฟก็ไม่ได้เปิดเผย แต่จะมีการปลดพนักงานสอดคล้องกับจำนวนสาขาที่ถูกปิด

อย่างไรก็ตาม จำนวนสาขา Disney Stores ดังกล่าวไม่ได้รวมร้านค้าที่อยู่ในสวนสนุก Disney และบูธขายสินค้า
ภายในห้างสรรพสินค้าซึ่งมีกว่า 600 จุดทั่วโลก กลุ่มร้านขายสินค้าออฟไลน์ลักษณะนี้จะไม่มีผลกระทบจากนโยบายมุ่งอีคอมเมิร์ซของบริษัท

นอกจากนี้ หน้าร้านบางประเภทอาจจะยิ่งเติบโตขึ้นด้วย เช่น การตั้ง Disney Stores ขนาดเล็กไว้ในดิสเคานต์สโตร์ Target เพิ่มขึ้นจาก 25 สาขาเมื่อปี 2019 เป็น 50 สาขาในปัจจุบัน

เพื่อให้สอดคล้องกับการลดสาขาออฟไลน์ บริษัทจะพัฒนาเว็บไซต์ ShopDisney ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีสินค้าที่หลากหลายขึ้น ไม่เฉพาะของเล่นแต่ยังมีคอลเลกชันเสื้อผ้าผู้ใหญ่ เสื้อผ้าแบบสตรีทแวร์ สินค้าพรีเมียมตกแต่งบ้าน และกลุ่มของสะสมด้วย ซึ่งจะทำให้ร้านค้า Disney บนโลกออนไลน์เจาะกลุ่มได้กว้างขึ้นในเชิงอายุผู้ซื้อ

Source

]]>
1322000
Toys R Us คัมแบ็ก เตรียมเปิด 10 สาขาในสหรัฐฯ https://positioningmag.com/1255461 Sun, 01 Dec 2019 12:20:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1255461 ทันเทศกาล Black Friday ปี 2019 พอดีสำหรับ Toys R Us ร้านขายของเล่นรุ่นใหญ่ที่ล้มละลายและปรับโครงสร้างหนี้จริงจังตั้งแต่ปีก่อน ล่าสุด Toys R Us ยุคใหม่กลับมาเปิดร้านแรกอย่างเป็นทางการในนิวเจอร์ซี สหรัฐฯ โดยวางแผนเปิดเพิ่มอีก 10 สาขาเป็นอย่างน้อย

การกลับมาของ Toys R Us ยังคงอยู่ในรูปห้างร้าน bricks-and-mortar แต่ปรับใหม่เป็น experiential retail เพื่อให้เด็กได้สัมผัสของเล่นตัวจริง ถือเป็นการเปิดตัวในช่วง 1 เดือนหลังจากเปิดตัว Toys R Us Adventure บูธขนาดย่อมที่เรียกน้ำย่อยก่อนการเปิดร้านค้าเต็มรูปแบบเช่นนี้

เบ็ดเสร็จแล้ว ร้านค้าใหม่ Toys R Us ถูกเปิดตัวในเวลา 17 เดือนหลังจากปิดร้านค้า Toys R Us ทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา เรียกว่าเป็นการคืนชีพของสัญลักษณ์สำคัญในวงการค้าปลีกของเล่นได้ทันเทศกาลจับจ่ายปลายปี

ปรับใหม่ 54 ขวบ Toys R Us

Richard Barry ผู้บริหารระดับสูงของ Tru Kids ซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการ Toys R Us กล่าวว่าแบรนด์อายุ 54 ปีอย่าง Toys R Us จะปรับอิมเมจหรือ reimagining ประสบการณ์การช็อปปิ้งของเล่นอีกครั้ง โดยแต่เดิม ร้าน Toys R Us เคยมีพื้นที่กว้างขวาง 40,000 ตารางฟุต แต่อยู่ในรูปกล่องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ทำให้ Toys R Us ยุคใหม่เตรียมปรับพื้นที่เป็นห้องแยกไปเป็นสัดส่วนเพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์จากของเล่นแบบเต็มที่และหลากหลาย

นอกจากช่วงการเปิดตัวร้านใหม่ ที่ Toys R Us จะมีอีเวนท์เปิดตัวยิ่งใหญ่ทั้งกิจกรรมในร้าน ของรางวัล และการจัดตัวการ์ตูนมาพบปะเด็กน้อยอย่างอบอุ่น ผู้บริหารย้ำว่าจะ reimagining ประสบการณ์การช็อปปิ้งแบบพลิกฝ่ามือให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่แท้จริงเป็นที่มาของการเปลี่ยนร้านค้า Toys R Us ให้รองรับประสบการณ์เหล่านี้มากขึ้น

Barry เผยว่าบริษัทตั้งเป้าหมายเปิดร้าน Toys R Us แนวคิดใหม่ราว 10 ร้านค้าในปีหน้า คาดว่าสาขาที่ 2 จะเปิดตัวในสัปดาห์หน้าที่เมืองฮูสตัน

การเปิดร้านครั้งนี้ถือเป็นความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่หลังจากช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ที่อดีตผู้บริหาร Toys R Us ประกาศเปิดตัวทีมบริหาร Tru Kids Brands จนในเดือนมิถุนายน มีข่าวลือว่า Toys R Us กำลังเตรียมพร้อมเปิดร้านค้า 6 แห่ง และจะปรับโฉมเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซครั้งใหม่ก่อนจะเริ่มฤดูช็อปปิ้งในช่วงวันหยุด

ปรากฏว่า Toys R Us ทำตามแผนด้วยการเปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ในเดือนตุลาคม เนื้อหาภายในมีทั้งรีวิวผลิตภัณฑ์และวิดีโอ พร้อมระบบซื้อขายของเล่นที่ Target.com เป็นเจ้าภาพหลัก ซึ่งลูกค้า Toys R Us จะปิดการซื้อขายได้สมบูรณ์กับ Target

ร้านเล็กพริกขี้หนู

สำหรับพื้นที่ร้าน 6,000 ตารางฟุต ร้านใหม่ถือว่ามีขนาดเล็กกว่าหลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับร้านค้าที่ปิดตัวไปในกลางปี 2018 นอกจากขนาดที่จิ๋วกว่า จุดสำคัญของร้านใหม่ยังอยู่ที่การปรับให้มี interactive play area ที่เหมาะกับการเล่นแบบโต้ตอบ ทั้งหมดนี้สะท้อนว่า Toys R Us ผลักดันตัวเองเข้าสู่โลกของการค้าปลีกประสบการณ์หรือ experiential retail อย่างเต็มตัว

แทนที่จะวางแต่ชั้นของเล่นเหมือนเดิม ภายในร้าน Toys R Us ยุคใหม่มีพื้นที่สำหรับ 4 แบรนด์ใหญ่อยู่ทางด้านขวาของร้าน ซึ่งเด็กน้อยสามารถทดลองเล่นสินค้าบางชนิดได้ กลายเป็น touch point ที่เด็ก จะได้สัมผัสประสบการณ์สนุกก่อนซื้อ

Barry อธิบายถึงเรื่องนี้ว่าในขณะที่ร้านค้าปลีกมีเทคโนโลยีมากมาย สิ่งสำคัญที่ Toys R Us มองคือพลังของการสัมผัสสินค้า ทำให้บริษัทจัดพื้นที่สำหรับโปรโมท Nerf Gun ให้เด็ก สามารถยิงไปที่เป้าหมาย ยังมีโซน Paw Patrol ที่เด็ก สามารถทดลองเล่นได้ที่โต๊ะกิจกรรม ขณะที่โซนของ Nintendo เตรียมพื้นที่ให้ลูกค้าสามารถเทสต์เกม และที่โซน Lego เปิดพื้นที่ให้เด็ก ลงมือสร้างเมือง

นอกเหนือจากของเล่น สรุปแล้วร้าน Toys R Us ยุคใหม่เน้นให้ประสบการณ์ interactive เต็มที่ทั่วร้าน เห็นได้ชัดจากบ้านต้นไม้ Geoffrey’s Tree House ซึ่งเด็กสามารถปีนขึ้นไปบนยอดระฆัง และกระจกวิเศษ Magical Mirror ที่เด็ก สามารถโต้ตอบกับยีราฟ Geoffrey the Giraffe แบบ 3 มิติ รวมถึงมาสค็อตขนาดเท่าตัวจริงที่ทางเข้าของร้าน ซึ่งคาดว่าจะเป็นมุมภาพถ่ายเซลฟี่ยอดฮิตของผู้ปกครองและเด็ก หลายคน.

]]>
1255461
Toys “R” Us ฆ่าไม่ตาย เปลี่ยนชื่อแบรนด์ ปรับโครงสร้าง หันเจาะตลาดขายส่ง https://positioningmag.com/1191578 Sat, 06 Oct 2018 06:42:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1191578 ถือเป็นข่าวใหญ่ในวงการค้าปลีกโลก เมื่อ Toys “R” Us ส่งสัญญาณชัดเจนเตรียมเกิดใหม่ด้วยรูปโฉมและทิศทางใหม่สดใสกว่าเดิม โดย Toys “R” Us ยืนยันในเอกสารที่บริษัทยื่นต่อศาลว่าจะกลับมาประกอบธุรกิจจำหน่ายของเล่นอีกครั้ง แต่ยังอุบเงียบไม่เปิดเผยวันและเวลาเริ่มเปิดตัวแบรนด์ใหม่ในขณะนี้

Toys “R” Us เป็นแบรนด์ที่อยู่ในภาวะล้มละลายและปิดตัวร้านค้าทุกแห่งในสหรัฐฯเพราะต้องเผชิญหน้ากับยอดขายที่ลดลงและหนี้สินที่เพิ่มขึ้น วันนี้ Toys “R” Us กำลังมองหาช่องทางกลับมาหายใจอีกครั้งในธุรกิจของเล่น ด้วยการเปลี่ยนแบรนด์ใหม่ ปรับโครงสร้างและรูปแบบธุรกิจให้ต่างจากเดิม คาดว่าจะมีเพียงจอฟฟรีย์เดอะยีราฟ (Geoffrey the Giraffe) และอีกไม่กี่ไอเท็มเท่านั้นที่จะมีส่วนกับแบรนด์ใหม่ของ Toys “R” Us 

รายงานจาก CNN Buiness สรุปความเคลื่อนไหวที่ผ่านมาว่า Toys “R” Us ปิดร้านค้าในสหรัฐฯ ทั้งหมดแล้วตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2018 เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเลิกกิจการเพราะภาวะล้มละลาย และเพื่อชำระหนี้ Toys “R” Us วางแผนประมูลสิทธิในชื่อแบรนด์หลักและแบรนด์รองอย่าง Babies “R” Us จุดนี้รายงานย้ำว่ามีผู้เสนอราคาได้ทำข้อเสนอตามเงื่อนไขการประมูลแล้ว แต่เจ้าของ Toys “R” Us ตัดสินใจยกเลิกการประมูลในที่สุด

ฮึดสู้เพื่ออยู่รอด

ไม่ว่าราคาประมูลนั้นต่ำเกินไป หรือมีเหตุผลอื่นแอบแฝง แต่รายงานชี้ว่ากลุ่มผู้เป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่เหลือของ Toys “R” Us ตัดสินใจฮึดสู้อีกครั้ง โดยกำลังมองหาทางรีสตาร์ทธุรกิจซึ่งจะครอบคลุมทั้งแบรนด์หลักแบรนด์รอง Toys “R” Us และ Babies “R” Us การตัดสินใจนี้ถูกชี้แจงต่อศาลสหรัฐฯ ผ่านเอกสารที่ถูกยื่นอย่างเป็นทางการในสัปดาห์นี้

ในเอกสาร Toys “R” Us กล่าวว่ากำลังพิจารณาหาทางให้ Toys “R” Us และ Babies “R” Us เริ่มต้นใหม่ในฐานะบริษัทใหม่ เอกสารระบุว่าขั้นตอนการคืนชีพบริษัทใหม่กำลังดำเนินการอยู่ มั่นใจว่าแผนนี้จะสามารถสร้างธุรกิจการค้าปลีกใหม่ภายในประเทศ ภายใต้ชื่อ Toys “R” Us และ Babies “R” Us รวมถึงการขยายธุรกิจในต่างประเทศ คู่ไปกับการพัฒนาธุรกิจแบรนด์ส่วนตัว

อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของเวลาและวิธีการที่แบรนด์จะถูกนำไปปรับโครงสร้าง เพื่อเกิดใหม่ในตลาดนั้นไม่มีการเปิดเผยใดๆ

ความหวังยังมี?

ข่าวการคืนชีพของ Toys “R” Us และ Babies “R” Us สะท้อนว่าผู้ก่อตั้งยังมีความหวังในตลาดของเล่นระดับโลก แต่ความหวังนี้ต้องลงมือทำด้วยตัวเอง เนื่องจากความจริงที่ว่าผู้เสนอราคาซื้อแบรนด์ Toys “R” Us และ Babies “R” Us อาจไม่ได้ต้องการจะนำแบรนด์กลับมาทำตลาดอีกครั้ง หรือบางกรณีที่อาจจะเป็นการซื้อแบรนด์ของคู่แข่ง เพื่อให้แน่ใจว่าแบรนด์นี้จะไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยคู่แข่งรายใหม่

ประเด็นนี้ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของผู้ที่เสนอราคาซื้อแบรนด์ Toys “R” Us และ Babies “R” Us ในเอกสารล้มละลาย

สำหรับ Toys “R” Us ยักษ์เคยใหญ่วงการของเล่นยื่นขอล้มละลายเมื่อปีที่แล้ว โดยมีแผนจะใช้กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อชำระหนี้และยังคงอยู่ในธุรกิจ แต่หลังจากช่วงเทศกาลช้อปปิ้งคริสต์มาสที่น่าผิดหวังสุดขีด ทำให้ Toys “R” Us จำใจประกาศในเดือนมีนาคมว่าจะปิดร้านค้าในสหรัฐฯ อีก 800 แห่งและเลิกทำธุรกิจ

ผลคือพลังงานประมาณ 31,000 คนตกงาน ทำให้ร้านค้าปลีกอายุ 70 ปีปิดกิจการในสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา.

ที่มา : https://edition.cnn.com/2018/10/03/business/toys-r-us-brand/index.html

]]>
1191578
ทอยส์ “อาร์” อัส อเมริกา เตรียมยื่นล้มละลาย https://positioningmag.com/1140103 Mon, 18 Sep 2017 07:28:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=1140103 วอลล์ สตรีท เจอร์นัล รายงานว่า บริษัทค้าปลีกของเล่นเด็กรายใหญ่ของสหรัฐฯ ทอยส์อาร์อัส เตรียมยื่นล้มละลาย เพื่อขอสิทธิการคุ้มครองในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ในช่วงเวลาที่บรรดาบริษัทผู้ผลิตของเล่นเด็กในสหรัฐฯ กำลังพิจารณาเงื่อนไขการทำธุรกิจกับร้านค้าปลีกต่างๆ ก่อนหน้าเทศกาลจับจ่ายซื้อของขวัญในอเมริกาจะมาถึง

สาเหตุที่เมืองของเล่นยักษ์ใหญ่ของโลก ตัดสินใจยุติบทบาทของตัวเอง เพราะประสบปัญหาเช่นเดียวกับห้างค้าปลีกรายใหญ่อื่นๆ คือผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้ราคาสินค้าออนไลน์ถูกกว่าราคาสินค้าชนิดเดียวกันที่วางขายตามร้านค้าต่างๆ ปัจจุบัน ทอยส์อาร์อัส ต้องแบกรับภาระหนี้ที่มีมูลค่าสูงถึง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทอยส์อาร์อัส เป็นเครือร้านขายของเล่นในสหรัฐอเมริกา มีสาขาตั้งอยู่ในยุโรป เอเชีย โอเชียเนีย แอฟริกา และแคนาดา ปัจจุบันบริษัทดำเนินงานร้านค้า 860 ร้านในสหรัฐอเมริกา และ 716 ร้านในอีก 34 ประเทศ ทั้งในแบบแฟรนไชส์และไลเซนส์ โดยร้านสาขาใหญ่ในนครนิวยอร์กที่ตั้งอยู่บริเวณไทม์สแควร์ เป็นร้านขายของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ขณะที่ธุรกิจของทอยส์อาร์อัส ในประเทศไทยยังมีแนวโน้มไปได้ดี โดยผู้บริหารเคยให้สัมภาษณ์เมื่อต้นปี 2560 นี้ว่า หลังจากเปิดให้บริการมาครบ 10 ปี บริษัทได้ขยายสาขาลำดับที่ 12 ที่ชั้น 3 ศูนย์การค้า โชว์ ดี ซี ขนาดพื้นที่ 850 ตารางเมตร แบ่งเป็น 7 โซน ได้แก่ เมืองซูเปอร์ฮีโร่ เมืองเครื่องยนต์ มหาสนุก เมืองเจ้าหญิง เมืองเกมหรรษา เมืองของเล่นสนุกคิด เมืองกีฬาสุดมันส์ และเบบี้อาร์อัส

ร้านค้าปลีกของเล่นอันดับหนึ่งของโลกจากสหรัฐอเมริกา ทอยส์อาร์อัส จับตลาดลูกค้าตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงมัธยมศึกษา เน้นจำหน่ายสินค้าที่ช่วยเพิ่มพัฒนาการทางด้านทักษะและการเรียนรู้ รวมถึงของเล่นที่เน้นความสนุกสนาน แต่การเติบโตทางด้านเทคโนโลยีทำให้ของเล่นหลายอย่างถูกแปลงโฉมไปเป็นเกมบนมือถือ และมีพ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่ให้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเป็นเพื่อนกับลูก แทนของเล่นสุดฮิตในอดีต            

บริษัทมีสาขาให้บริการทั่วโลกกว่า 1,000 สาขา ในกว่า 40 ประเทศ สำหรับประเทศไทยเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2548 โดยมีสาขาเปิดให้บริการรวม 12 แห่ง และยังมีร้านค้าในลักษณะ Pop up อีก 8 แห่ง และมีแผนจะขยายสาขาต่อไปอีก.

]]>
1140103