ลดโลกร้อน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 26 Jan 2023 05:03:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สายเนื้อก็รักษ์โลก! สตาร์ทอัพออสซี่กำลังพัฒนา “อาหารวัว” ที่ช่วยลดการ “เรอ-ตด” ก๊าซมีเธน https://positioningmag.com/1416735 Thu, 26 Jan 2023 04:47:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416735 สายเนื้อจะห้ามใจหันไปกิน plant-based ได้อย่างไร แต่สิ่งแวดล้อมก็ต้องรักษาไว้ ทำให้สตาร์ทอัพชื่อ Rumin8 เริ่มพัฒนา “อาหารวัว” ที่จะช่วยลดการเรอและผายลมในวัว ต้นเหตุของก๊าซมีเธนตัวการโลกร้อน

Rumin8 เป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งในเมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่มีเป้าหมาย ‘ลดการปล่อยก๊าซมีเธน’ มีโปรดักส์หนึ่งที่น่าสนใจคือการพัฒนา “อาหารวัว” ที่ทำมาจากสาหร่ายทะเล ซึ่งจะช่วยให้วัวที่กินเข้าไปลดการผายลมและการเรอได้

สตาร์ทอัพรายนี้เพิ่งจะระดมทุนเฟส 2 ในรอบ Seed Stage ไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (23 มกราคม 2023) โดยได้รับเงินลงทุนไป 25 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 581 ล้านบาท) ที่น่าสนใจคือ นักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในรอบนี้ก็คือ Breakthrough Energy Ventures หรือ BEV ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนในสตาร์ทอัพของ “บิล เกตส์”

Rumin8 ระบุว่าเงินทุนในรอบนี้จะถูกนำไปใช้สร้างสายการผลิตเบื้องต้น และเริ่มการทดลองขายอาหารวัวดังกล่าวในเชิงพาณิชย์

ทำไมการลดการตดและเรอของวัวจึงสำคัญ? คำตอบคือ ในการตดและเรอของวัวนั้นจะมีก๊าซมีเธนออกมาด้วย และก๊าซมีเธนนี้มีศักยภาพในการกักเก็บความร้อนในชั้นบรรยากาศมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า (ข้อมูลจากสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา)

การทำปศุสัตว์นั้นคิดเป็นสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในโลกนี้ถึง 15% ทำให้การทำฟาร์มสัตว์ขนาดใหญ่ทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงการลดผลกระทบของธุรกิจตัวเองต่อโลก โดยต้องแก้โจทย์ให้ได้ว่าจะทำอย่างไรถึงเลี้ยงสัตว์ได้อย่างยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม

สัปดาห์ก่อนนี้ บิล เกตส์ ก็เพิ่งจะเข้าไปตอบคำถามใน Reddit Ask Me Anything เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ที่รักษ์โลกมากขึ้น โดยเขาเล่าถึงกระแสนี้ว่า “มีบริษัทมากมายที่กำลังผลิต ‘เนื้อ’ ในวิถีทางใหม่ หลายคนกำลังหาทางเพื่อที่จะยังเลี้ยงวัวได้อยู่แต่ลดการปล่อยก๊าซมีเธนแทน ผมคิดว่าสินค้าพวกนี้จะค่อยๆ กลายเป็นสินค้าที่ดีมาก แม้ว่าวันนี้ส่วนแบ่งในตลาดของพวกเขาจะยังเล็กอยู่”

ไม่ได้มีแค่ Rumin8 หรือ BEV เวนเจอร์แคปปิตอลของเกตส์ ที่สนใจเรื่องการลดก๊าซมีเธนจากตดและเรอของวัว เมื่อสัปดาห์ก่อน Danone บริษัทยักษ์ใหญ่ในธุรกิจอาหารจากฝรั่งเศส ก็ให้คำมั่นว่า บริษัทจะลดการปล่อยก๊าซมีเธนจากฟาร์มวัวนมของตนเองให้ได้ 1 ใน 3 ส่วนภายในสิ้นทศวรรษนี้

รวมถึง “นิวซีแลนด์” ประเทศผู้ส่งออกเนื้อวัวรายใหญ่ ก็กำลังจะเสนอร่างกฎหมายเพื่อ “เก็บภาษีจาก ‘เรอ’ ของปศุสัตว์” ภายในปี 2025!

Source

]]>
1416735
ลดโลกร้อน! “เบอร์ลิน” ผลักดันเปลี่ยนใจกลางเมืองเป็น Car-free Zone ที่ใหญ่ที่สุดในโลก https://positioningmag.com/1370408 Fri, 14 Jan 2022 04:50:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370408 “เบอร์ลิน” กำลังรณรงค์ออกกฎหมายเปลี่ยนพื้นที่ใจกลางเมืองขนาด 88 ตร.กม. ให้เป็น Car-free Zone พื้นที่ห้ามนำรถยนต์ส่วนตัวเข้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใหญ่เทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ชั้นใน เพื่อแก้ปัญหามลพิษ โลกร้อน อุบัติเหตุ มีพื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้น ผลักดันให้ประชาชนใช้รถสาธารณะ จักรยาน หรือเดินเท้าแทน

แคมเปญนี้เริ่มรณรงค์กันมาตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2021 โดยกลุ่มนักกิจกรรมใช้ชื่อแคมเปญว่า “Car-free Berlin” รวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายแก้ไขให้พื้นที่ใจกลางเมือง “เบอร์ลิน” เป็นพื้นที่ Car-free Zone ห้ามนำรถยนต์ส่วนตัวเข้าพื้นที่ และพวกเขาทำสำเร็จในขั้นต้นไปแล้ว เพราะรวบรวมรายชื่อได้ 50,000 รายชื่อเมื่อเดือนตุลาคม 2021 ขั้นต่อไปจะมีการลงประชามติในปี 2023

ความฝันของกลุ่มนักกิจกรรม มีจุดประสงค์เพื่อลดมลพิษและภาวะโลกร้อน โดยจะเปลี่ยนพื้นที่ใจกลางเมืองเบอร์ลินขนาด 88 ตร.กม. ให้เป็น Car-free Zone

พื้นที่นี้นับเฉพาะวงด้านในของรถไฟสาย S-Bahn Ring ซึ่งวิ่งรอบเมืองเป็นวงกลม ขนาดพื้นที่นี้ใหญ่มาก หากทำสำเร็จจะกลายเป็น Car-free Zone ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ชั้นใน ตั้งแต่พระนครไล่เรื่อยไปถึงสาทร ปทุมวัน จนถึงสุขุมวิทโซนทองหล่อเลยทีเดียว

เบอร์ลิน Car-free Zone
วงแหวนรถไฟสาย S-Bahn Ring ด้านในของวงแหวนนี้ถูกเสนอให้เป็น Car-free Zone ของ “เบอร์ลิน”

แน่นอนว่าการจำกัดรถยนต์เข้าออกจะมีข้อยกเว้นให้กับรถ 6 กลุ่ม ได้แก่ รถเมล์, รถแท็กซี่, รถขนส่ง, รถตำรวจ, รถดับเพลิง และรถที่ผู้ใช้งานมีความจำเป็นด้านร่างกาย ทั้งนี้ จะมีข้อยกเว้นให้นำรถยนต์ส่วนตัวเข้าเขตได้ 12 ครั้งต่อปี เพราะบางครั้งประชาชนก็อาจมีความจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องใช้รถเข้าพื้นที่ เช่น การย้ายบ้าน

นอกเหนือจากนั้นจะไม่สามารถเข้าได้ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนใช้รถสาธารณะ เดินเท้า ขี่จักรยาน ทำให้พื้นที่ผิวถนนจะถูกนำมาใช้ประโยชน์อื่นเพิ่ม เช่น พื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียว แก้ปัญหามลพิษ ภาวะโลกร้อน และลดอุบัติเหตุ

บรรยากาศลานเบียร์ในกรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนี วันที่ 5 มิ.ย. 2021 (Photo by Stefan Zeitz/Xinhua)

ในขณะที่ประเทศอื่นหรือเมืองอื่นอาจมองข้ามช็อตไปที่การใช้รถยนต์ไฟฟ้า แต่เบอร์ลินยังคงเรียกร้องที่จะเป็น Car-free Zone โดยสิ้นเชิง ต่อประเด็นนี้ Nik Kaestner หนึ่งในนักกิจกรรมที่ผลักดันแคมเปญ กล่าวกับสำนักข่าว The Guardian ว่า เป็นเพราะถ้าหากเบอร์ลินจะลดการปล่อยคาร์บอนจากการเดินทางได้ตามเป้าหมาย คนในเบอร์ลินต้องเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 50%

แต่ปัจจุบันเบอร์ลินมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแค่ 1.3% เท่านั้น ดังนั้นการรอรถยนต์ไฟฟ้าคงจะไม่ทันการ และการห้ามรถยนต์เข้าไปเลยก็มีประโยชน์อื่นดังที่กล่าวไปข้างต้นด้วย

แคมเปญนี้เป็นไปได้แค่ไหน? ในเมืองหลักของเยอรมนีนั้นมีค่าเฉลี่ยครอบครองรถยนต์ส่วนตัวประมาณ 1 คันต่อประชากร 2 คน กล่าวคือในประชากร 1,000 คน มีรถยนต์อยู่ประมาณ 450 คัน แต่ผู้เชี่ยวชาญพบว่าส่วนใหญ่แล้วไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา มักจะจอดทิ้งไว้ในที่จอดรถ มีรถยนต์เพียง 150 คันที่ถูกนำมาใช้เป็นประจำ เมื่อประชากรใช้รถน้อยอยู่แล้ว ก็เป็นไปได้ที่คนจะเห็นด้วยกับการมี Car-free Zone

เบอร์ลินไม่ใช่เมืองแรกของยุโรปหรือของโลกที่จะมี Car-free Zone หลายเมืองในยุโรปเริ่มทำไปก่อนแล้ว (แม้จะไม่ใหญ่ขนาดนี้) เช่น สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ใจกลางเมืองจะปิดไม่ให้รถเข้าในช่วงหน้าร้อนระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน และเมืองอื่นๆ ก็กำลังออกแบบและเสนอกฎหมายห้ามรถเข้ากลางเมืองเช่นกัน เช่น เวียนนา ประเทศออสเตรีย, ปารีส ประเทศฝรั่งเศส

Source: Timeout, Ampler Bikes

]]>
1370408
‘แอร์บัส’ คาดยอดซื้อ ‘เครื่องบินใหม่’ ยังพุ่ง เพราะมาตรการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ของสายการบิน https://positioningmag.com/1361955 Sun, 14 Nov 2021 06:11:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361955 แอร์บัส ผู้ผลิตเครื่องบินสัญชาติยุโรป คาดการณ์ว่าการระบาดใหญ่จะไม่ส่งผลกระทบระยะยาวต่อความต้องการเครื่องบินใหม่ เพราะหลายสายการบินต้องการฝูงบินที่ปล่อยคาร์บอนน้อยลง เพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เนื่องจากสายการบินจะต้องลงทุนในเครื่องบินรุ่นใหม่ที่มีมลพิษน้อยกว่าเพื่อให้เป็นไปตามคำมั่นสัญญาของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ว่าจะปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050

แอร์บัส จึงได้คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการเครื่องบินโดยสารและเครื่องบินขนส่งสินค้าใหม่จำนวน 39,020 ลำภายในปี 2040 ซึ่งจะทำให้ฝูงบินทั่วโลกมีจำนวน 46,720 ลำ ซึ่งตัวเลขการคาดการณ์ดังกล่าวยังคงใกล้เคียงกับการคาดการณ์ในปี 2019 ก่อนที่จะเกิดการระบาดของ COVID-19 ที่คาดว่าจะมีเครื่องบินใหม่จำนวน 39,210 ลำ ภายใน 20 ปีข้างหน้า

แอร์บัสระบุว่าเกือบ 40% ของเครื่องบินใหม่ในอุตสาหกรรมนี้จะถูกนำมาทดแทนไปสู่เครื่องที่ประหยัดเชื้อเพลิงและลดการปล่อยคร์บอนอย่างเร่งด่วน โดยเมื่อเทียบกับเครื่องบินรุ่นก่อน ๆ เครื่องบินรุ่นใหม่ล่าสุดประหยัดเชื้อเพลิงได้ 15-20% ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งส่งผลต่อภาวะโลกร้อน

“ภายในปี 2040 เครื่องบินพาณิชย์ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องบินรุ่นล่าสุด เพิ่มขึ้นจาก 13% ในปัจจุบัน” แถลงการณ์ของแอร์บัสระบุ

โดยในช่วง 10 เดือนแรก แอร์บัสกลับมามีกำไรและส่งมอบเครื่องบินได้ 460 ลำ ส่วนคู่แข่งอย่าง ‘โบอิ้ง’ ผู้ผลิตเครื่องบินสัญชาติอเมริกายังคงขาดทุนอยู่ และได้จัดหาเครื่องบินได้เพียง 268 ลำ ทว่าโบอิ้งคาดการณ์การส่งมอบใหม่ในอุตสาหกรรมเป็นจำนวน 43,610 ลำ ภายในปี 2040 หรือใกล้เคียงกับการคาดการณ์เดิมที่ 43,315 ลำ

ปัจจุบัน ปริมาณการเดินทางทางอากาศทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวจากภาวะโรคระบาดที่ลดลง แม้ว่าในเดือนต.ค. จะยังคงอยู่ในระดับครึ่งก่อนจะเกิดการระบาดก็ตาม โดยคาดว่าตลาดจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดในช่วงปี 2023-2025 เท่านั้น โดยกลุ่มชนชั้นกลางซึ่งมีแนวโน้มว่าจะบินได้มากที่สุด ซึ่งจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น 2 พันล้านคน คิดเป็น 63% ของประชากรโลก โดยเอเชียจะมีการเติบโตจะเร็วที่สุด และจีนจะเป็นตลาดภายในประเทศที่ใหญ่ที่สุด

“ในขณะที่สูญเสียการเติบโตไปเกือบ 2 ปีในช่วงโควิด แต่การกลับมาของผู้โดยสารได้แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่น เราเห็นการเติบโตที่ 3.9% ต่อปี” Christian Scherer ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์และหัวหน้า Airbus International กล่าว

Source

]]>
1361955
‘อินเดีย’ Go Green! เตรียมแบน ‘พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง’ ในปีหน้า หวังแก้ปัญหามลพิษ https://positioningmag.com/1356096 Mon, 11 Oct 2021 10:11:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356096 หลังจากมีมติในปี 2019 เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติกในประเทศ ในที่สุดรัฐบาลกลางของอินเดียก็เตรียมประกาศห้ามไม่ให้ใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use Plasstic) โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2022 โดยมาตรการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการลดมลภาวะ แต่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าไม่ง่ายและอาจจะได้ผลมากพอ

อินเดียเตรียมแบนการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง อาทิ ถุงหูหิ้ว, ถุงบรรจุภัณฑ์อาหาร ขวดและหลอดที่ใช้เพียงครั้งเดียวทิ้ง แต่นักวิเคราะห์มองว่า การบังคับใช้ จะเป็นกุญแจสำคัญ และมองว่าอินเดียยังต้องแก้ไข ปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญ เช่น นโยบายในการควบคุมการใช้พลาสติกทางเลือก, การปรับปรุงการรีไซเคิล และการจัดการการแยกขยะที่ดีขึ้น ไม่เช่นนั้นอาจจะได้ผลไม่ดีพอ

“พวกเขาต้องเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบในพื้นที่เพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตาม ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการบังคับใช้การแจ้งเตือนนี้ทั่วทั้งอุตสาหกรรม” Swati Singh Sambyal ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะอิสระในนิวเดลีกล่าวกับ CNBC  

Anoop Srivastava ผู้อำนวยการ Foundation for Campaign Against Plastic Pollution องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อจัดการกับขยะพลาสติกในอินเดีย เปิดเผยว่า ขยะพลาสติกประมาณ 60% ในอินเดียถูกรวบรวมไปกำจัดหรือรีไซเคิล ส่วนอีก 40% หรือ 10,376 ตัน ยังคงไม่ถูกเก็บ

ประเทศต่าง ๆ รวมถึงอินเดียกำลังดำเนินการเพื่อลดการใช้พลาสติก โดยส่งเสริมการใช้วัสดุทางเลือกที่ย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ อาทิ ผู้ขายอาหาร เครือร้านอาหาร และธุรกิจในท้องถิ่นบางแห่งเริ่มนำ ช้อนส้อมที่ย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ มาใช้งาน หรือนำ ถุงผ้า มาใช้ แต่ในอินเดีย ยังไม่มีแนวทางสำหรับการใช้พลาสติกทดแทน และนั่นอาจเป็นปัญหาเมื่อการห้ามใช้พลาสติกมีผล

ดังนั้น อินเดียจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อส่งเสริมทางเลือกอื่น นอกจากนี้ กฎระเบียบใหม่ยังขาดแนวทางในการรีไซเคิล แม้ว่าขยะพลาสติกในอินเดียประมาณ 60% จะถูกนำไปรีไซเคิล แต่ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่าขยะพลาสติกที่มากเกินไปนั้นเกิดจากการ ‘ดาวน์ไซเคิล’ ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่พลาสติกคุณภาพสูง ถูกรีไซเคิลเป็นพลาสติกใหม่ที่มีคุณภาพต่ำกว่าเดิม เช่น การเปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นโพลีเอสเตอร์สำหรับเสื้อผ้า

“ตามปกติแล้ว พลาสติกสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 7-8 ครั้งก่อนที่จะส่งไปยังโรงเผาขยะ แต่ถ้าคุณดาวน์ไซเคิล พลาสติกที่ได้จะใช้ได้ 1-2 ครั้งก็ต้องกำจัดทิ้ง นอกจากนี้ การแยกขยะก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

นักสิ่งแวดล้อมมักเห็นพ้องกันว่าการห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งนั้นไม่เพียงพอ และจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากความคิดริเริ่มอื่น ๆ ขณะที่ข้อบังคับของรัฐบาลจำเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดการรวบรวมและรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น เช่น การควบคุมผู้ผลิตและขอให้พวกเขาทำเครื่องหมายประเภทของพลาสติกที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถรีไซเคิลได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ควรลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาทางเลือกที่ใช้แทนพลาสติกด้วย

“อินเดียเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่อ่อนไหวต่อราคา ซึ่งพลาสติกทางเลือกสามารถผลิตได้จำนวนมากและขายได้ในราคาที่เหมาะสม ในอดีตรัฐต่าง ๆ ของอินเดียได้ออกข้อจำกัดต่าง ๆ เกี่ยวกับถุงพลาสติกและช้อนส้อม แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้บังคับใช้อย่างเคร่งครัด”

อย่างไรก็ตาม การสั่งห้ามครั้งล่าสุดถือเป็นก้าวสำคัญสู่การต่อสู้ของอินเดียในการลดขยะทางทะเล และช่วยฟื้นฟูสภาพอากาศ และสอดคล้องกับวาระด้านสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง โดยอินเดียกำลังอยู่ในเส้นทางที่จะบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามข้อตกลงของปารีส และเสริมว่ามีความมุ่งมั่นที่จะลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก 33% เป็น 35% ภายในปี 2030

Source

]]>
1356096
‘Apple’ ตั้งกองทุนมูลค่า ‘200 ล้านดอลลาร์’ เพื่อสนับสนุนการลดคาร์บอนแถมยังทำ ‘กำไร’ ได้ https://positioningmag.com/1328046 Sat, 17 Apr 2021 03:07:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328046 เป็นที่รู้กันว่าเพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากผลิตภัณฑ์กับสิ่งแวดล้อมทำให้สินค้า ‘Apple’ ทุกชิ้นในโลกได้ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล และล่าสุด Apple ได้ก่อตั้ง 200 ล้านดอลลาร์ที่จะเข้าไปลงทุนในโครงการด้านป่าไม้เพื่อขจัดก๊าซคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศ และสนับสนุนการปลูกป่าอย่างยั่งยืนพร้อม ๆ กับสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุน

Apple ได้เริ่มโครงการที่เรียกว่า ‘Restore Fund’ โดยมีเป้าหมายที่จะกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ 1 ล้านเมตริกตันในแต่ละปี หรือเทียบเท่ากับเชื้อเพลิงที่รถยนต์ 200,000 คันปล่อยออกมาในแต่ละปี โดยโครงการนี้ยังสามารถเป็นแบบอย่างที่สำคัญสำหรับองค์กรอื่น ๆ โดยแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรจากการลงทุนในสิ่งแวดล้อม

“ความคิดที่จะมีผลตอบแทนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโลกใบนี้ เพราะถ้าคุณต้องการให้ธุรกิจมีส่วนร่วมจริง ๆ ถ้าคุณต้องการให้ธุรกิจหันกลับมาและทำในระดับนี้ได้จริง ๆ ก็ต้องเป็นเพราะมีผลตอบแทนจากการลงทุน” ลิซ่า แจ็คสัน รองประธานฝ่ายสิ่งแวดล้อมนโยบายและสังคมของ Apple กล่าว

กองทุนฟื้นฟูจะสร้างผลตอบแทนโดยการลงทุนในการพัฒนาและอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืน ซึ่งทั้งสองจะกำจัดคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศเมื่อพวกมันเติบโตและยังผลิตต้นไม้สำหรับใช้เป็นวัสดุก่อสร้างกระดาษและประโยชน์อื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ของ Apple ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมาทำด้วยใยไม้บริสุทธิ์จาก ป่าไม้ที่มีการจัดการอย่างรับผิดชอบ” ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่มีแผนจะลงทุนผ่านกองทุน

The Restore Fund สร้างขึ้นจากพันธกิจของ Apple ที่มุ่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยตั้งแต่ปี 2561 Apple ได้กล่าวว่าร้านค้าและสำนักงานของบริษัทล้วนใช้พลังงานสะอาด 100% นอกจากนี้ บริษัทยังเปลี่ยนวัสดุที่ใช้สร้างผลิตภัณฑ์เป็นตัวเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และภายในปี 2573 Apple กล่าวว่าจะทำให้องค์กรทั่วโลกมีคาร์บอนเป็นกลางรวมถึงห่วงโซ่อุปทานกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ และสำหรับบริษัทเองมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยคาร์บอนจากซัพพลายเชนและผลิตภัณฑ์ลง 75%

“ความจริงก็คือ พลังงานสะอาดมีราคาถูกกว่าและสะอาดกว่า ดังนั้นหากเราสามารถแสดงให้บริษัทต่าง ๆ เห็นว่าสิ่งนี้ดีสำหรับธุรกิจ และคุณก็ไม่ต้องเลือกระหว่างผลกำไรของคุณกับผลกำไรจากโลกใบนี้”

ปัจจุบันนี้ iPhone 12 ของ Apple มีบรรจุภัณฑ์ที่ประกอบด้วยวัสดุที่ทำจากเยื่อไม้ 93% ซึ่งรวมถึงแผ่นปิดหน้าจอที่ทำจากเยื่อไม้ที่ช่วยปกป้องหน้าจอ และยังเป็นการนำมาใช้แทนแผ่นฟิล์มพลาสติกมาตรฐานเป็นครั้งแรกอีกด้วย และที่ผ่านมา Apple ได้ร่วมมือกับกองทุนเพื่อการอนุรักษ์และกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล โดย Apple ได้ปรับปรุงการบริหารจัดการผืนป่าที่สร้างผลประโยชน์ตอบแทนในพื้นที่กว่า 1 ล้านเอเคอร์ในสหรัฐอเมริกาและจีนตั้งแต่ปี 2558

Source

]]>
1328046
‘มาสเตอร์การ์ด’ เปิดตัวเครื่องวัด ‘คาร์บอน’ โดยคำนวณจากรายการสินค้า https://positioningmag.com/1327772 Tue, 13 Apr 2021 08:04:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327772 สำหรับผู้ที่ต้องการดูแลรูปร่างและสุขภาพคงจะถูกใจหากอาหารที่ทานมีการบอกจำนวนแคลอรี แต่สำหรับผู้ที่อยากมีส่วนร่วมในการ ‘ลดโลกร้อน’ ก็อาจจะอยากรู้เหมือนกันว่าตนเองมีส่วนช่วยในการลด ‘คาร์บอน’ ได้มากน้อยแค่ไหน ดังนั้น ‘มาสเตอร์การ์ด’ (Mastercard) ต้องการให้ลูกค้าเข้าใจว่าพฤติกรรมการใช้จ่ายของพวกเขามีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและภาวะโลกร้อนมากเพียงใด จึงเกิดเป็นเครื่องที่ใช้วัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากการซื้อของ

บริษัทบัตรเครดิต ‘มาสเตอร์การ์ด’ ได้สร้างเครื่องคำนวณที่ใช้วัดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผู้บริโภคโดยพิจารณาจากสิ่งที่พวกเขาซื้อ โดยเครื่องมือนี้จะพร้อมใช้งานบนเว็บไซต์และแอปของ Mastercard โดยเน้นไปที่หมวดการใช้จ่ายที่เฉพาะเจาะจง แต่ไม่ได้ติดตามธุรกรรมแต่ละรายการ

เครื่องมือดังกล่าวจะรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการที่เรียกว่า Doconomy Åland Index ซึ่งรวบรวมข้อมูลจาก Trucost ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Environmental, Social, Governance: ESG) ที่ประเมินค่าใช้จ่ายแอบแฝงของธุรกิจในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่ยั่งยืน

ดัชนีดังกล่าวจะคำนวณผลกระทบของธุรกรรมโดยใช้ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์เฉลี่ยสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะ เช่น ‘อาหารและเครื่องดื่ม’ หรือ ‘เครื่องแต่งกาย’ โดยเครื่องดังกล่าวยังแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนต้นไม้ที่ต้องใช้ในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณเดียวกันที่ปล่อยออกมาจากการซื้อของผู้บริโภคอีกด้วย

“แม้ว่ามันจะไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีมากเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายโดยรวมของคุณในเดือนนั้น ทั้งนี้ก็เพื่อบาลานซ์กึ่งกลางระหว่างความเป็นส่วนตัวและการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค” Jorn Lambert ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัลของ Mastercard กล่าว

การสร้างเครื่องคำนวณคาร์บอนเป็นความพยายามล่าสุดของบริษัทในการมุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืน โดยก่อนหน้านี้มาสเตอร์การ์ดเริ่มดำเนินการเพื่อลดการใช้พลาสติกครั้งแรกในการผลิตบัตรเครดิต และในเดือนมกราคมบริษัทให้คำมั่นว่าจะปล่อยก๊าซให้เป็นศูนย์ภายในปี 2593 โดยเข้าร่วมในรายชื่อบริษัทใหญ่ ๆ ที่มีพันธสัญญาในลักษณะเดียวกัน

Source

]]>
1327772
‘IBM’ วางเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น ‘ศูนย์’ ภายในปี 2030 https://positioningmag.com/1319965 Thu, 18 Feb 2021 07:24:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319965 เรื่อง Sustainable กลายเป็นเทรนด์ขององค์กรทั่วโลก เพราะคนรุ่นใหม่เริ่มแคร์เรื่องโลกมากขึ้น ล่าสุด ‘IBM’ (ไอบีเอ็ม) ยักษ์สีฟ้าผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศรายใหญ่ของโลก ได้ประกาศว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือศูนย์ภายในปี 2030 เพื่อแก้วิกฤตโลกร้อน

“วิกฤตโลกร้อนเป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญที่สุดในยุคของเรา และการปฏิญาณตั้งคำมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวย่างสำคัญที่ตอกย้ำความเป็นผู้นำในเรื่องสภาวะอากาศมาอย่างยาวนานของเรา ซึ่งถือเป็นก้าวที่รุดไปไกลกว่าเป้าหมายที่ความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Climate Agreement) ได้กำหนดไว้” อาร์วินด์ กฤษณะ ประธานและซีอีโอของไอบีเอ็มกล่าว

เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ไอบีเอ็มจะเริ่มเดินหน้าลดการปล่อยมลพิษ วางแผนและควบคุมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดในสำนักงานที่มีอยู่ใน 175 ประเทศ โดยภายในปี 2025 IBM ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 65% เมื่อเทียบกับปี 2010 โดยบริษัทจะจัดหา 75% ของพลังงานไฟฟ้าที่บริษัทต้องใช้ในสำนักงานทั่วโลกจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2025 และ 90% ภายในปี 2030 นอกจากนี้จะใช้เทคโนโลยีที่อย่างการจับคาร์บอนภายในปี 2025 เพื่อลดปริมาณการปล่อยมลพิษในปริมาณที่เท่ากับหรือมากกว่าระดับมลพิษที่เหลือค้างอยู่

“บริษัทฯ จะมีการคำนวณและรายงานการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างโปร่งใส เช่น เป้าหมายของไอบีเอ็มกำหนดขึ้นจากปริมาณพลังงานที่บริษัทบริโภคจริง ไม่ใช่การซื้อใบรับรองการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ไม่เกี่ยวข้องหรือแยกส่วนออกไป”

NEW YORK, NY – JUNE 16: SVP and Director at IBM Research Arvind Krishna speaks on stage during the 2016 Wired Business Conference on June 16, 2016 in New York City. (Photo by Brian Ach/Getty Images for Wired)

ที่ผ่านมาศูนย์วิจัย IBM ได้เปิดตัวโครงการ Future of Climate ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเร่งการวิจัยพัฒนาโซลูชันที่จะช่วยลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยผนวกความสามารถของ AI ไฮบริดคลาวด์ และ ควอนตัมคอมพิวติ้ง รวมถึงวิทยาศาสตร์เพื่อสู้กับปัญหาสภาพอากาศที่มีความซับซ้อน อาทิ การเพิ่มขึ้นของคาร์บอนฟุตปริ้นท์จากเวิร์คโหลดจากระบบคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลก วิธีการที่จะกำหนดโมเดลและประเมินความเสี่ยงของแพทเทิร์นสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป หรือการพัฒนาโพลิเมอร์ เยื่อบุผิว และวัสดุใหม่ ๆ ที่สามารถจับและดูดซับคาร์บอนโดยตรงจากจุดที่มีการปล่อยมลพิษ เป็นต้น

ทั้งนี้ IBM นับสนุนความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมมาต่อเนื่องหลายทศวรรษ นับตั้งแต่การประกาศนโยบายสิ่งแวดล้อมของบริษัทเป็นครั้งแรกในปี 1917 และตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา IBM ได้เริ่มเผยแพร่ผลการบริหารจัดการขยะ การอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน การลดการปล่อยคาร์บอนไดอ็อกไซด์ รวมถึงการพัฒนาโซลูชันนวัตกรรมต่าง ๆ ในรูปแบบรายงานสิ่งแวดล้อมประจำปีขององค์กร (Corporate Environmental Report)

Source

]]>
1319965
‘โค้ก’ เปิดตัว ‘ขวดรีไซเคิล 100%’ ลบภาพผู้ก่อมลพิษจากพลาสติกอันดับ 1 ของโลก https://positioningmag.com/1318765 Wed, 10 Feb 2021 08:19:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318765 ‘Coca-Cola’ หรือ ‘โค้ก’ ที่คนไทยคุ้นเคยกำลังเปิดตัวขวดขนาดใหม่เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี และเป็นขวดแรกที่พลาสติกผลิจจากพลาสติกรีไซเคิล 100%

Coca-Cola มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีส่วนทำให้เกิดขยะพลาสติกทำลายสิ่งแวดล้อม โดยเมื่อปีที่แล้ว Coca-Cola ได้รับการเสนอชื่อให้เป็น ‘ผู้ก่อมลพิษจากพลาสติกอันดับ 1 ของโลก’ ที่จัดโดยบริษัท Break Free From Plastic บริษัทด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งวัดผลจากโลโก้และตราสินค้าบนพลาสติก 13,834 ชิ้นใน 51 ประเทศที่มักจะทิ้งในพื้นที่สาธารณะ เช่น สวนสาธารณะ และชายหาด

ล่าสุด บริษัทก็ได้เปิดตัว ขวดที่ทำมาจากวัสดุพลาสติกรีไซเคิล 100% ในขนาด 13.2 ออนซ์ ซึ่งนี่ถือเป็นหนึ่งในความพยายามของ Coca-Cola ที่เกิดภายใต้โครงการ “โลกไร้ขยะ” ที่เริ่มต้นในปี 2018 โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ ภายในปี 2030 จะยกเลิกบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว และจะนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานมาใช้ผลิตขวดรีไซเคิลแทน

“การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ถือเป็นงานแห่งความรักและนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ โดยบรรจุภัณฑ์ใหม่นี้ จะสามารถนำไปทำความสะอาดก่อนจะนำไปบดให้ละเอียดจนกลายเป็นเกล็ดคล้ายเมล็ดพืช ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นขวดใหม่มาใช้อีกครั้ง” Alpa Sutaria ผู้จัดการทั่วไปด้านความยั่งยืนของ Coca-Cola กล่าว

ด้วยขนาดขนาด 13.2 ออนซ์นั้นใหญ่กว่าโค้กกระป๋องอะลูมิเนียมเล็กน้อย แต่ก็เล็กกว่าขวด 20 ออนซ์ทั่วไป ด้วยขนาดที่ไม่เหมือนใครนี้ Coca-Cola ได้ระบุว่าจะช่วยให้ “ดึงดูดให้ดื่มง่ายมากขึ้น” ขณะที่ราคาจะอยู่ที่ 1.59 ดอลลาร์ และไม่ใช่แค่จะช่วยลดขยะพลาสติกเท่านั้น แต่ Alpa Sutaria ระบุว่า ขวดใหม่ที่รีไซเคิลได้ 100% นี้จะช่วยดึงดูดนักดื่มอายุน้อยกว่า 25 ปีที่กำลังมองหาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

“เรารับฟังผู้บริโภคและพวกเขาบอกเราว่าพวกเขาต้องการอะไรที่เล็กลงและบริโภคได้ง่ายขึ้น เราเลยถือโอกาสนี้ทำขวดพลาสติกที่รีไซเคิลได้ 100% โดยเรามุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดผลกระทบต่อโลกของเราให้น้อยที่สุด โดยบริษัทได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของเราด้วยการลงมือปฏิบัติจริง”

ทั้งนี้ โค้กขวดใหม่จะเริ่มวางจำหน่ายในเดือนนี้ในบางรัฐทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา รวมถึงนิวยอร์ก, แคลิฟอร์เนีย, คอนเนตทิคัต และฟลอริดา ก่อนจะเปิดตัวทั่วประเทศในช่วงฤดูร้อนนี้ 

อย่างไรก็ตาม Coca-Cola ไม่ใช่บริษัทข้ามชาติเพียงแห่งเดียวที่มีเป้าหมายเพื่อลดมลภาวะจากพลาสติก ‘เนสท์เล่’ บริษัทอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลกประกาศเมื่อปีที่แล้วว่าใช้เงิน 2 พันล้านดอลลาร์ในโครงการที่คล้ายกัน เช่นเดียวกับ ‘Pepsi’ เพิ่งเปิดตัวขวดขนาด 2 ลิตรที่ออกแบบใหม่ซึ่งใช้วัสดุน้อยลง 24%

Source

]]>
1318765
ครั้งแรกใน 30 ปี! ‘เป๊ปซี่’ ปรับขวดขนาด 2 ลิตรให้ใช้ง่ายขึ้นแถม ‘บางลง’ 25% https://positioningmag.com/1306381 Tue, 17 Nov 2020 03:58:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306381 ขวดพลาสติกของ ‘เป๊ปซี่ (Pepsi)’ ขนาด 2 ลิตร ได้รับการออกแบบใหม่ให้ใช้งานง่ายขึ้น แถมบางลงอีก 25% ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีเลยทีเดียว

ตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป ลูกค้าเป๊ปซี่ในสหรัฐอเมริกาจะเริ่มเห็น ‘โฉมใหม่’ ของ ‘เป๊ปซี่’ รวมถึงสินค้าอื่น ๆ อาทิ MTN DEW (née Mountain Dew), Crush, Dr. Pepper และ Schweppes Ginger Ale ในขนาด 2 ลิตรที่ได้รับการปรับปรุงให้บางกว่าขวดเก่าถึง 25% พร้อมกับออกแบบให้ใช้งานง่ายขึ้น โดยขนาดของขวดใหม่นี้มีเส้นรอบวง 10.4 นิ้ว จากเดิมที่มีเส้นรอบวง 13.4 นิ้ว ส่งผลให้ขวดใหม่จับถนัดมือกว่า นอกจากนี้ฉลากของขวดใหม่ยังใช้วัสดุน้อยลง 24% เมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ ขวดใหม่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่เป๊ปซี่จะเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้ 100% หรือต้องสามารถย่อยสลายได้ภายใน 5 ปีข้างหน้า

การออกแบบใหม่นี้ช่วยให้ผู้บริโภคหยิบขวดออกจากชั้นวางและเทได้ง่ายขึ้นมาก และเราต้องผลิตให้ได้จำนวนมหาศาล เพื่อสร้างสิ่งนี้ให้เกิดในระดับปฏิบัติการ” เอมิลี่ ซิลเวอร์ รองประธานฝ่ายนวัตกรรมและความสามารถของเป๊ปซี่อเมริกาเหนือ กล่าว

ที่ผ่านมา ขวดขนาด 2 ลิตรของโค้กที่มีการออกแบบรูปทรงคล้ายกันมานานกว่า 10 ปี แต่มีรายงานว่ายอดขายเพิ่มขึ้นหลังจากมีการปรับเปลี่ยนโฉมสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยรายงานของ NPR ได้เปิดเผยว่าผู้ซื้อ ในการศึกษาขนาดเล็กมักจะหันไปสนใจการออกแบบขวดที่ง่ายต่อการหยิบ

เบื้องต้น เป๊ปซี่ 2 ลิตรโฉมใหม่กำลังจะเปิดตัวใน Chicago, Minneapolis-St. Paul and Wisconsin และจะเปิดตัวให้ทั่วอเมริกาในอนาคตอันใกล้ แต่สำหรับการขายในระดับโลกนั้นยังไม่มีการเปิดเผยว่าจะวางขายเมื่อไหร่

Source

]]>
1306381
“เสิ่นเจิ้น” ผุด “เขตปลอดรถยนต์” ต้นแบบผังเมืองอากาศบริสุทธิ์ ที่ตั้งสำนักงานใหม่ Tencent https://positioningmag.com/1284089 Thu, 18 Jun 2020 08:49:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284089 Net City พื้นที่ย่านชานเมือง “เสิ่นเจิ้น” ถูกออกแบบภายใต้คอนเซ็ปต์รักษ์สิ่งแวดล้อม ผังเมืองเน้นระบบขนส่งมวลชน ทางเท้า และทางจักรยาน มากกว่าการใช้รถยนต์ที่คุ้นเคย ภายในเมืองนี้จะมีแกนหลักเป็นที่ตั้งสำนักงานใหม่ของบริษัท Tencent พร้อมที่พักพนักงาน โรงเรียน ฯลฯ ครบในเขตเดียว

เขตเมืองใหม่ Net City ที่จะก่อสร้างย่านชานเมือง เสิ่นเจิ้น ประเทศจีน ถูกออกแบบผังเมืองให้เน้นการใช้ชีวิตของ “คน” มากกว่า “การจราจร” บนท้องถนน โดยจะอนุญาตให้รถยนต์เข้ามาในเมืองได้เท่าที่จำเป็น และจะเป็นที่ตั้งของแคมปัสสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของ Tencent บริษัทด้านอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดของจีน พร้อมกับก่อสร้างที่อยู่อาศัย โรงเรียน ศูนย์การค้ารีเทล สวนสาธารณะ ฯลฯ ครบในเขตเดียว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ปลายปีนี้หรือภายในปี 2021

เสิ่นเจิ้นเป็นหนึ่งในเมืองที่มีประชากรหนาแน่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อประชากรมาก รถยนต์บนถนนก็มากตาม นำไปสู่มลพิษทางอากาศ ทั้งยังทำให้พื้นที่สีเขียวในเมืองน้อยลงด้วย ขณะที่เมืองออกแบบใหม่หลายแห่งในโลกจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ ให้พื้นที่ส่วนใหญ่กับสวนสาธารณะ ทางเท้า และทางจักรยาน โดยเฉพาะ “พื้นที่สีเขียว” ที่มีความสำคัญ เพราะทำให้ผู้คนได้ใกล้ชิดธรรมชาติและยังช่วยซับน้ำ ป้องกันน้ำท่วมด้วย

เมืองใหม่ Net City ชานเมืองเสิ่นเจิ้น

NBBJ เป็นบริษัทที่ชนะการออกแบบมาสเตอร์แพลนให้กับเมือง Net City นี้ โดยต้นแบบของเมืองจะคล้ายกับการออกแบบโมเดลเมือง “ซูเปอร์บล็อก” ของบาร์เซโลนา ที่ออกแบบเมืองเป็นระบบ grid 9 ช่อง ทำให้สามารถปิดถนนรองระหว่างช่องเล็กๆ ไม่ให้รถเข้า อาศัยการเดินเท้าก็เพียงพอ

โจนาธาน วาร์ด พาร์ตเนอร์ผู้ออกแบบจาก NBBJ อธิบายว่าเมืองนี้จะเป็นระบบ grid 6 บล็อกเหมือนกับเสิ่นเจิ้น แต่แทนที่จะมีถนนใหญ่ล้อมรอบทุกบล็อก จะเหลือถนนใหญ่ล้อมรอบบล็อกทั้ง 6 ช่อง ส่วนถนนอื่นๆ ที่เชื่อมภายในบล็อก 6 ช่องจะกลายเป็นทางเท้า ส่วนที่จอดรถจะอยู่ใต้ดิน ทำให้ไม่จำเป็นต้องขับรถเข้ามา

ตัวอย่างการทำโมเดลเมืองแบบ “ซูเปอร์บล็อก” กันพื้นที่ภายในให้เป็นเขตลดการใช้รถยนต์ของบาร์เซโลนา (photo by Will Andrews Design)

ส่วนบริษัท Tencent ซึ่งจะเป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงคนเข้ามาอยู่อาศัยและทำงาน บริษัทต้องการให้พื้นที่นี้เป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรม และสร้างพื้นที่การทำงานและการอยู่อาศัยที่มีความสุขกว่าเดิม

“สิ่งเดียวที่เป็นข้อจำกัดความเป็นไปได้คือ รถยนต์” วาร์ดกล่าว “เมืองของเรามักจะออกแบบมาเพื่อรถยนต์ ถ้าคุณย้อนเวลากลับไป 3 เจนเนอเรชั่นก่อนหน้า การออกแบบเมืองเป็นไปเพื่อคนขับรถมาตลอด เราคิดว่า เราคงยังดึงการใช้รถออกไปหมดไม่ได้ ยังไม่ถึงขั้นนั้น แต่ถ้าหากเราสามารถลดการใช้รถยนต์อย่างมีนัยสำคัญได้ละ? และถ้าเราสามารถลดในจุดที่คุณเคยคิดว่าคุณจำเป็นต้องใช้รถ ทั้งที่จริงไม่จำเป็นล่ะ?”

พื้นที่เขต Net City สามารถไปถึงได้ทั้งทางรถไฟฟ้าใต้ดิน เรือ ทางจักรยาน และรถยนต์ แต่รถยนต์จะต้องจอดอยู่รอบนอก

การออกแบบเขตนี้ให้เป็นแคมปัสหลักของ Tencent ก็ช่วยลดการใช้รถด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อเป็นทั้งที่ทำงาน ที่อยู่อาศัย มีร้านค้าให้ช้อปปิ้ง คนที่อาศัยทำงานในนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้รถ เพราะสถานที่ที่จะไปส่วนใหญ่อยู่ในละแวกที่เดินได้ทั้งนั้น ส่วนคนที่มาจากนอกเขตก็สามารถนำรถมาจอดในบริเวณที่กำหนดได้ หรือใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน รถประจำทาง ทางจักรยาน และเรือ

นอกจากนี้ เขต Net City ยังเป็นเขตสร้างใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล (ซึ่งสามารถสั่งการได้เบ็ดเสร็จสมบูรณ์) จึงทำการออกแบบได้เต็มที่ “เราสามารถออกแบบถนนได้ใหม่หมด และเป็นอิสระจากระบบผังเมืองเดิม” วาร์ดกล่าว เนื่องจากทีม NBBJ จะทำงานใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่น

บรรยากาศจำลอง Net City

ไม่ใช่แค่เขต Net City เท่านั้นที่นำคอนเซ็ปต์ลดการใช้รถมาเป็นแนวคิดหลัก หลายเมืองรอบโลกกำลังสร้าง “เขตปลอดรถยนต์” หรือ Car-Free Zone ไม่ว่าจะเป็น “ลอสแอนเจลิส” ที่มีเป้าหมายให้ประชากรลดการใช้รถส่วนตัวให้ได้หลักแสนคนภายใน 1 ทศวรรษข้างหน้า รวมถึงเมืองในยุโรปจำนวนมากกำลังลดการใช้รถยนต์ ผ่านการบีบบังคับทางอ้อม เช่น ยกเลิกจุดอนุญาตจอดรถข้างถนน

วาร์ดกล่าวว่า ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ แม้แต่ลูกค้าที่หัวก้าวหน้าที่สุดยังแทบไม่พิจารณาการออกแบบเมืองใหม่ไร้รถยนต์ที่เปลี่ยนไปแรงขนาดนี้ แต่ขณะนี้แนวคิดของโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว “ผมคิดว่าคนตระหนักรู้มากขึ้นว่า วัฒนธรรมการใช้รถและโครงข่ายรถยนต์คือความท้าทายสำคัญต่อปัญหาโลกร้อน คนรุ่นใหม่เห็นว่า การใช้รถคือข้อจำกัดต่อการเพิ่มสีสันความหลากหลายให้กับเมือง ตอนนี้มีความตระหนักรู้และตื่นรู้มากขึ้นแล้ว จนเกิดแรงกดดันต่อองค์กรกำกับควบคุมให้สร้างความเปลี่ยนแปลง”

“สิ่งเหล่านี้เกิดจากการรับรู้มากขึ้นเรื่องโลกร้อนและการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ เราต้องต่อสู้เพื่อทำให้โลกเราร้อนขึ้นช้าลงกว่านี้” วาร์ดกล่าวทิ้งท้าย

Source

]]>
1284089