ละครไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 29 Jan 2024 09:03:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 10 อันดับคอนเทนต์ไทยบน “Netflix” ที่มีชั่วโมงการรับชมสูงสุด ครึ่งปีแรก 2023 https://positioningmag.com/1460742 Mon, 29 Jan 2024 09:02:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460742 สำหรับคนที่อยากรู้ว่าคอนเทนต์บน “Netflix” แต่ละเรื่องมีคนดูมากแค่ไหน ความปรารถนาของคุณเป็นจริงแล้ว เพราะสตรีมมิ่งเจ้านี้จะเริ่มเปิดเผยข้อมูลยอดรับชมของคอนเทนต์ทั้งหมดบนแพลตฟอร์ม!

ข้อมูลนี้ออกมาในรูปแบบรายงานชื่อ What We Watched: A Netflix Engagement Report โดยจะประกาศข้อมูลทุกๆ ครึ่งปี ครั้งแรกที่มีการประกาศคือเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2023 เป็นข้อมูลรอบวันที่ 1 มกราคม 2023 – 30 มิถุนายน 2023

รายงานนี้เปิดข้อมูลแบบละเอียดจริงๆ เพราะสามารถดาวน์โหลดตาราง Excel มาอ่านเองได้เลย ภายในแสดงข้อมูลคอนเทนต์ทั่วโลกรวมทั้งหมดกว่า 18,000 เรื่อง! ครอบคลุมคอนเทนต์ 99% ที่มีอยู่บน Netflix ไม่ว่าจะเป็นออริจินอลหรือเป็นการซื้อลิขสิทธิ์มาฉาย

การรายงานนี้จะไม่นับเป็นจำนวนครั้งหรือจำนวนบัญชีที่เข้าไปดู แต่คิดเป็น ‘จำนวนชั่วโมง’

สะท้อนให้เห็นว่า Netflix ต้องการวัดคุณภาพของคอนเทนต์ คนดูต้องชื่นชอบจริงๆ ถึงจะเปิดดูจนจบเรื่อง หรือกดดู EP. ต่อไปและต่อไปเรื่อยๆ รวมถึงถ้าแฟนคลับบัญชีเดิมกดดูวนไปซ้ำๆ ก็ถือว่าเป็นคอนเทนต์ที่ดีเช่นกัน

10 อันดับแรกคอนเทนต์ที่มีชั่วโมงการรับชมสูงสุดบน Netflix ทั่วโลก รอบครึ่งปีแรก 2023
  1. The Night Agent SS1
    ซีรีส์แอคชั่น ภาษาอังกฤษ
    812 ล้านชั่วโมง
  2. Ginny & Georgia SS2
    ซีรีส์คอมเมดี้ ภาษาอังกฤษ
    665 ล้านชั่วโมง
  3. The Glory SS1
    ซีรีส์ดราม่า ภาษาเกาหลี
    623 ล้านชั่วโมง
  4. Wednesday SS1
    ซีรีส์แฟนตาซีสยองขวัญ ภาษาอังกฤษ
    508 ล้านชั่วโมง
  5. Queen Charlotte: A Bridgerton Story
    ซีรีส์โรแมนติกคอมเมดี้ ภาษาอังกฤษ
    503 ล้านชั่วโมง
  6. You SS4
    ซีรีส์เขย่าขวัญ ภาษาอังกฤษ
    441 ล้านชั่วโมง
  7. La Reina del Sur SS3
    ซีรีส์ดราม่าระทึกขวัญ ภาษาสเปน
    430 ล้านชั่วโมง
  8. Outer Banks SS3
    ซีรีส์แอคชั่นผจญภัย ภาษาอังกฤษ
    403 ล้านชั่วโมง
  9. Ginny & Georgia SS1
    ซีรีส์คอมเมดี้ ภาษาอังกฤษ
    302 ล้านชั่วโมง
  10. FUBAR SS1
    ซีรีส์แอคชั่นคอมเมดี้ ภาษาอังกฤษ
    266 ล้านชั่วโมง

จากข้อมูลคอนเทนต์ยอดนิยม Netflix เล็งเห็นข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น 30% ของการรับชมคอนเทนต์บน Netflix เป็นการชมคอนเทนต์ที่ ‘ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ’ ตัวอย่างใน Top 10 มีคอนเทนต์ถึง 2 เรื่องที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ คือ The Glory (เกาหลี) และ La Reina del Sur (สเปน)

ฝั่งอุตสาหกรรมบันเทิงไทยก็มีความร่วมมือกับ Netflix ในการผลิตหรือลงสตรีมคอนเทนต์ที่ใช้ภาษาไทยดำเนินเรื่องเช่นกัน โดย Positioning เจาะตาราง Excel ของ Netflix และจัดลำดับข้อมูลดังนี้

10 อันดับคอนเทนต์ไทยบน “Netflix” ที่มีชั่วโมงการรับชมสูงสุด ครึ่งปีแรก 2023
  1. Hunger คนหิวเกมกระหาย
    ภาพยนตร์ดราม่า
    92.3 ล้านชั่วโมง
  2. Royal Doctor หมอหลวง ซีซัน 1
    ซีรีส์ย้อนยุคคอมเมดี้
    24.3 ล้านชั่วโมง
  3. Girl from Nowhere เด็กใหม่ ซีซัน 1
    ซีรีส์ดราม่าระทึกขวัญ
    14.2 ล้านชั่วโมง
  4. DELETE ซีซัน 1 (*)
    ซีรีส์ดราม่าระทึกขวัญ
    8.0 ล้านชั่วโมง
  5. Nak นางนาค สะใภ้พระโขนง
    ซีรีส์ย้อนยุคโรแมนติก
    8.0 ล้านชั่วโมง
  6. Moo 2 หมู่ 2
    ภาพยนตร์ตลกเดี่ยวไมโครโฟน
    4.9 ล้านชั่วโมง
  7. To the Moon and Back มาตาลดา ซีซัน 1
    ซีรีส์โรแมนติก
    3.9 ล้านชั่วโมง
  8. Bad Romeo คือเธอ ซีซัน 1
    ซีรีส์โรแมนติก
    3.8 ล้านชั่วโมง
  9. Oh My Girl รักจังวะ..ผิดจังหวะ
    ภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้
    3.6 ล้านชั่วโมง
  10. Love Destiny the Movie บุพเพสันนิวาส ๒
    ภาพยนตร์ย้อนยุคโรแมนติก
    3.4 ล้านชั่วโมง

(*) ซีรีส์เรื่อง DELETE เข้าสตรีมมิ่งวันที่ 28 มิถุนายน 2023 ทำให้มีเวลาเพียง 3 วันในการจัดอันดับรอบนี้

คอนเทนต์ภาษาไทยที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในรอบนี้คือ “Hunger คนหิวเกมกระหาย” มีชั่วโมงรับชมที่สูงเป็นอันดับ 110 ของโลก และยิ่งน่าประทับใจหากมองว่านี่คือชั่วโมงรับชมของ “ภาพยนตร์” เรื่องหนึ่งที่มีความยาวประมาณ 2 ชั่วโมงกว่า แปลว่าถ้ามีการรับชมคนละหนึ่งครั้ง จะเท่ากับมีผู้ชมหนังไทยเรื่องนี้ประมาณ 46 ล้านคนทั่วโลก

สิ่งที่น่าสนใจอีกประเด็นจาก 10 อันดับแรก คือดูเหมือนว่าคอนเทนต์ไทยจะได้รับความนิยมในกลุ่ม “ย้อนยุค” และ “โรแมนติก” มีถึง 3 คอนเทนต์ในการจัดอันดับที่เป็นเรื่องราวย้อนยุคในอดีต และมีถึง 5 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวความรักเป็นหลัก

น่าติดตามต่อว่าคอนเทนต์ไทยบน Netflix ในรอบครึ่งปีหลัง 2023 จะมีเรื่องใดที่ประสบความสำเร็จ เอาชนะใจคนดูบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งได้อีกบ้าง!

]]>
1460742
“บีอีซี สตูดิโอ” อาวุธใหม่ “บีอีซี เวิลด์” ลงทุนโรงถ่าย-บุคลากร ปั้น “ซีรีส์” ส่งออกเทียบชั้นเกาหลี https://positioningmag.com/1389092 Fri, 17 Jun 2022 02:13:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389092 เอาจริงแบบจัดเต็ม! “บีอีซี เวิลด์” เปิดบริษัทย่อย “บีอีซี สตูดิโอ” ลุยงานผลิต “ซีรีส์” เพื่อส่งออกต่างประเทศโดยเฉพาะ ลงทุนสร้างสตูดิโอหนองแขมเฟสแรก 400 ล้านบาท ปั้นบุคลากรทั้งเขียนบท-โปรดักชัน-ซีจี เพื่อยกระดับคุณภาพคอนเทนต์ให้เป็นสากล ดึงตัว “อภิชาติ์ หงส์หิรัญเรือง” จาก True CJ Creations คุมทัพ ส่งต่อองค์ความรู้การผลิตซีรีส์จากเกาหลี

สภาวะ “ดิสรัปต์ชัน” ในวงการโทรทัศน์ ทำให้ “บีอีซี เวิลด์” พึ่งพิงเฉพาะรายได้จาก “ช่อง 3” ไม่ได้อีกต่อไป จึงมีการวางกลยุทธ์ ‘New S-curve’ สร้างธุรกิจ “ผลิตคอนเทนต์” ไม่ใช่แค่ป้อนให้กับช่อง 3 แต่เพื่อส่งออกตลาดต่างประเทศซึ่งมีโอกาสกว้างกว่า แต่ก็ต้องแข่งขันสูง และต้องยกระดับคอนเทนต์ให้เป็นสากล

“อภิชาติ์ หงส์หิรัญเรือง” กรรมการผู้อำนวยการ สายธุรกิจ บริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด เปิดเผยว่า จากกลยุทธ์ของบีอีซี เวิลด์ทำให้บริษัทย่อยแห่งใหม่นี้จะเป็นหัวหอกในการสร้างคอนเทนต์ป้อนตลาดต่างประเทศ โดยบริษัทมีการศึกษาตัวอย่างจาก “เกาหลีใต้” ซึ่งสามารถพัฒนาซีรีส์ให้เป็นสากลจนเป็นเบอร์ 1 ของเอเชีย เพื่อนำมาเปรียบเทียบอุดช่องโหว่ในไทย

บีอีซี สตูดิโอ
“อภิชาติ์ หงส์หิรัญเรือง” กรรมการผู้อำนวยการ สายธุรกิจ บริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด

ข้อสรุปที่อภิชาติ์พบว่าเป็น “จุดที่ต้องพัฒนา” ของละครหรือซีรีส์ไทยหากอยากไปตลาดโลก มีทั้งหมด 3 ข้อ คือ

1.บทละคร ต้องยกระดับให้เป็นสากลในด้านวิธีการเล่าเรื่อง และการพัฒนาตัวละครให้ลึกขึ้น ในขณะที่ยังคงรสชาติของวัฒนธรรมไว้ได้

2.โปรดักชันการผลิต ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญมาก โดยการผลิตซีรีส์ของเกาหลีเรื่องหนึ่งใช้เวลาเพียง 4 เดือนถ่ายเสร็จ ขณะที่ไทยต้องใช้เวลาอย่างน้อย 7-8 เดือน

ข้อแตกต่างคือ เกาหลีมีการสร้างสตูดิโอในร่ม ทำให้สามารถเซ็ตแสงกลางวัน-กลางคืนได้ ควบคุมเวลาได้ ซีนถ่ายทำส่วนใหญ่อยู่ในสตูดิโอเดียว ไม่ต้องเคลื่อนย้ายมาก ขณะที่ไทยมักจะใช้สถานที่ถ่ายทำนอกสตูดิโอ ซึ่งทำให้การควบคุมแสงทำได้ลำบาก การถ่ายทำไม่ต่อเนื่อง

นอกจากนี้ เกาหลีจะมีการถ่ายทำ 5 วันต่อสัปดาห์ แต่ไทยมีวิธีทำงานแบบถ่ายทำควบ 2 กองถ่ายแต่ใช้คนกองชุดเดียวกัน ทำให้แต่ละกองจะได้คิวถ่าย 3-4 วันต่อสัปดาห์ จึงใช้เวลานานต่อหนึ่งเรื่อง

ตัวอย่างภาพเบื้องหลังการถ่ายทำ Squid Game ในโรงถ่าย โดยใช้สกรีนช่วยเพื่อทำซีจีในภายหลัง (Photo: YouTube@Still Watching Netflix)

3.นักแสดง ต้องมีการพัฒนาให้มีคุณภาพการแสดงที่ยกระดับมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ มองว่าข้อดีของนักแสดงไทยนั้นมีบุคลิก รูปร่างหน้าตาที่เป็นที่ยอมรับของตลาดสากล ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบ

 

ลงทุน 400 ล้านเนรมิตสตูดิโอหนองแขม

อภิชาติ์กล่าวต่อว่า บีอีซี สตูดิโอ จึงมีการลงทุนเพื่อตอบโจทย์ทุกอย่างเหล่านี้ทั้งทางกายภาพและบุคลากร แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่

1.Studio

บริษัทเตรียมงบลงทุน 400 ล้านบาท สำหรับก่อสร้างสตูดิโอ “CH3 Sound Stage Studio” เฟสแรก ในพื้นที่โรงถ่ายหนองแขมซึ่งมีที่ดินรวม 72 ไร่ (ที่ดินของตระกูลมาลีนนท์)

ที่ดินนี้เดิมมีการสร้างเซ็ตติ้งประเภท Backlot ไว้อยู่แล้ว เป็นฉากถ่ายทำแบบกลางแจ้งสำหรับละครประเภทพีเรียด แต่การสร้างสตูดิโอแบบ Sound Stage จะเป็นแบบในร่ม ใช้ถ่ายทำซีนภายในอาคารต่างๆ สามารถจัดแสงได้ง่าย และถ่ายทำแบบ Green Screen ได้ โดยเฟสแรกจะมีทั้งหมด 6 สตูดิโอ แบ่งเป็นขนาด 2,000 ตร.ม. 2 สตูดิโอ, 1,500 ตร.ม. 2 สตูดิโอ และ 800 ตร.ม. 2 สตูดิโอ

บีอีซี สตูดิโอ โรงถ่าย
ภาพจำลองสตูดิโอแบบ Sound Stage ที่จะก่อสร้างขึ้น
บีอีซี สตูดิโอ
สตูดิโอแบบ Backlot ใช้ในการถ่ายทำละครพีเรียด

2.Creative

กรณีนี้บีอีซี สตูดิโอต้องการจะยกระดับนักเขียนบทในไทยให้พัฒนาบทได้เป็นสากล จึงเปิดโปรเจ็กต์ Workshop การเขียนบท โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ 12 แห่งของไทย และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามาเป็นวิทยากรอบรม

รอบแรกเดือนเมษายน 2565 มีการรับสมัครและจัด Workshop ไปแล้ว 35 คน (คัดเลือกจากใบสมัครกว่า 600 คน) และหลังจากนี้จะมีการเปิดรอบต่อๆ ไป

3.Production

บีอีซี สตูดิโอมีการว่าจ้างทีมงานผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ที่เป็น in-house ทำให้สามารถวางแผนการพัฒนาการถ่ายทำได้คล่องตัว

4.Post-production

อีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ทำให้ไทยแตกต่างจากสากล คือการทำ “ซีจี” (Computer Graphic) หลังการถ่ายทำที่ต้อง ‘เนียน’ ให้มากขึ้น ซึ่งบริษัทจะมีการนำเข้าเทคโนโลยี และติดต่อผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามาเทรนนิ่งให้กับบุคลากรทีมซีจีของบีอีซี สตูดิโอ

นอกจากนี้ จะมีการใช้เทคโนโลยี Virtual Production เข้ามาถ่ายทำด้วย โดยเทคโนโลยีนี้เป็นการใช้กำแพง LED ฉายภาพฉากเสมือนจริงขึ้นมาระหว่างถ่ายทำ ไม่ต้องรอใส่ฉากเข้าไปใน Green Screen ภายหลัง

 

ประเดิม 3 ซีรีส์แรก เริ่มเปิดกล้องปีนี้

ด้านโมเดลธุรกิจของบีอีซี สตูดิโอ ดังที่กล่าวว่าเป็นการผลิตเพื่อเจาะตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะ บริษัทจะมีทั้งการผลิตแบบ Original Series ด้วยทีมงานของบีอีซีเอง และติดต่อขายให้กับ OTT และช่องโทรทัศน์ในประเทศต่างๆ โดยซีรีส์กลุ่มนี้จะลงฉายในช่อง 3 และดิจิทัลแพลตฟอร์ม 3Plus ด้วย รวมถึงบริษัทยังมีการผลิตแบบ Co-Production กับสตูดิโอหรือช่อง OTT ต่างประเทศด้วย ขณะนี้มีดีลที่กำลังเจรจาและจะประกาศได้เร็วๆ นี้

อภิชาติ์กล่าวถึงตลาดศักยภาพของไทย แน่นอนว่าอันดับ 1 คือ “จีน” ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด รองๆ ลงมา เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ ทวีปอเมริกาใต้

บีอีซี สตูดิโอ
ซีรีส์ที่เริ่มการถ่ายทำในปี 2565 ของ บีอีซี สตูดิโอ

โดยปี 2565 นี้มีซีรีส์พร้อมเปิดกล้องถ่ายทำแล้ว 3 เรื่อง จะเริ่มเปิดกล้องครบในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ ได้แก่

  • มือปราบกระทะรั่ว – ซีรีส์แนว Action Comedy กำกับโดย ฉิก-สกล เตียเจริญ นำแสดงโดย เต๋อ-ฉันทวิชช์ และ เต้ย-จรินทร์พร
  • เกมโกงเกมส์ – ซีรีส์แนว Crime & Suspense กำกับโดย โต้ง-ตรัยยุทธ กิ่งภากรณ์ นำแสดงโดย กระทิง-ขุนณรงค์ และ เก้า-สุภัสสรา
  • ร้อยเล่ม เกมส์ออฟฟิศ – ซีรีส์แนว Drama กำกับโดย เอ-นัฐพงศ์ วงษ์กวีไพโรจน์ นำแสดงโดย มิ้นต์-ชาลิดา และ นนกุล ชานน

ถือเป็นการประเดิมปีแรกของบีอีซี สตูดิโอ แต่จริงๆ แล้ว อภิชาติ์มองว่าบริษัทสามารถรับกำลังผลิตได้ถึง 10 เรื่องต่อปี

 

ไทยคือ “ดาวรุ่ง” ดวงใหม่ แต่ต้องใช้เวลาพัฒนา “คน”

แม่ทัพของบีอีซี สตูดิโอนั้นเคยเป็นกรรมการผู้จัดการ True CJ Creations มาก่อน ทำให้ได้องค์ความรู้และอินไซต์จากฝั่งเกาหลีผ่าน CJ Entertainment มาไม่น้อย และมุมมองจากฝั่งเกาหลีเชื่อว่าคอนเทนต์บันเทิงไทยนั้นมีโอกาส

“ถ้าจะมีประเทศไหนในเอเชียที่จะเป็น ‘ดาวรุ่งดวงใหม่’ ต่อจากเกาหลีใต้ได้ ก็ต้องเป็นประเทศไทย เพราะเรามีองค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่ไม่แพ้ใคร อย่างอาหารไทยที่โด่งดังไปทั่วโลก เรามีดาราที่หน้าตาดี บุคลิกดี เป็นที่ยอมรับ และประเทศเรามียุทธศาสตร์ที่เป็นมิตรกับหลายประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มองเชิงบวกกับเราทั้งหมด” อภิชาติ์กล่าว

“สิ่งที่สำคัญวันนี้คือบุคลากรซึ่งต้องใช้เวลาพัฒนา เป็นเรื่องที่ใช้เงินทุ่มขึ้นมาทันทีไม่ได้”

อภิชาติ์มองเป้าหมายสูงสุดขององค์กรว่า บริษัทต้องการจะยกระดับการผลิตคอนเทนต์ให้ทัดเทียมต่างประเทศ และตั้งเป้าว่าภายในปี 2567 คนไทยจะได้เห็นซีรีส์ไทยจากบีอีซีที่มีคุณภาพสากลอย่างแน่นอน

]]>
1389092
เห็นนิ่งๆ แต่จริงจังบนทวิตเตอร์! คนไทยทวีตเรื่องละครทีวีกว่า 80 ล้านข้อความในปี 2019 https://positioningmag.com/1256176 Sat, 07 Dec 2019 17:23:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256176 ใครว่าคนไทยไม่ดูทีวี หรือบอกว่าทีวีตายแล้ว ผลสำรวจจากทวิตเตอร์เผยคนไทยนิยมดูละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ไทยมากกว่าต่างประเทศ ระบุกว่า 80 ล้านข้อความบนทวิตเตอร์ในประเทศไทยเจาะรายการโทรทัศน์

คุยเรื่องละครแบบเรียลไทม์!

ทวิตเตอร์ เปิดผลการวิจัยจาก 500,000 ทวีตโดย Twitter ร่วมกับ Circus Social ต้นปี 62 สะท้อนภาพผู้ใช้งานทวิตเตอร์ชาวไทยมีการรับชมรายการโทรทัศน์ และภาพยนตร์ไทยมากกว่าต่างประเทศ และพบว่าคนไทยทวีตข้อความเกี่ยวกับละคร 77% และภาพยนตร์ 23%

มิสเตอร์มาร์ติน ยูเรน หัวหน้าฝ่ายวิจัยประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทวิตเตอร์ เปิดเผยว่า

“งานวิจัยล่าสุดได้ผลลัพธ์เป็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้ทวิตเตอร์ในประเทศไทย ผู้ใช้งานชาวไทยนิยมรับชมละครโทรทัศน์และภาพยนตร์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะนิยมละครไทย และภาพยนตร์ไทยมากกว่าของต่างประเทศ โดยจะมีการทวีตแสดงความคิดเห็นแบบเรียลไทม์ขณะรับชมรายการนั้นๆ ซึ่งการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับที่สูงมาก นับเป็นการสร้างโอกาสให้แบรนด์ต่างๆ ที่ต้องการเข้าถึงผู้ใช้งานทวิตเตอร์ที่เป็นกลุ่มที่มีความ สนใจในเรื่องเอ็นเตอร์เทนเมนต์มากได้เป็นอย่างดี”

โดยที่ปีที่ผ่านมามีบทสนทนาเกี่ยวกับรายการโทรทัศน์กว่า 80 ล้านข้อความบนทวิตเตอร์ในประเทศไทย (แหล่งที่มา: ข้อมูลจาก Crimson Hexagon ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 ถึง 1 กรกฎาคม 2562) และเป็นหนึ่งในหัวข้อการสนทนายอดนิยมตลอดทั้งปี

สำหรับผลการวิจัย Twitter และ Circus Social (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2562) พบว่ามี 4 ประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

1. กลุ่มคนที่สนใจมาก และไม่สนใจเลย

ข้อมูลจากการวิเคราะห์คุณภาพของการทวีตเกี่ยวกับเอ็นเตอร์เทนเมนต์ในประเทศไทยนั้น กลุ่มเป้าหมายบนทวิตเตอร์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มที่มีความสนใจมาก และกลุ่มที่ไม่มีความสนใจเลย โดยกลุ่มที่มีความสนใจในเรื่องเอ็นเตอร์เทนเมนต์นั้นจะเลือกชมสิ่งที่สนใจ และมีส่วนร่วมในชุมชนที่มีความสนใจเดียวกัน

3 กลุ่มที่มีความสนใจที่โดดเด่น คือ แฟนละครโทรทัศน์ไทย, แฟน Netflix และแฟนบันเทิงเกาหลี ในส่วนของกลุ่มที่ไม่มีความสนใจในเรืองเอ็นเตอร์เทนเมนต์เลย ในทางกลับกันจะมองหาความบันเทิงในยามว่างจากการทำงานหรือ เรียนหนังสือ หรือในช่วงระหว่างวันหยุดพักผ่อน

2. โทรทัศน์ยังเป็นที่นิยมเพราะคอนเทนต์

ท่ามกลางการเติบโตของแพลตฟอร์มทีวีออนไลน์และสตรีมมิ่งต่างๆ แต่โทรทัศน์ยังคงมีความต้องการสูงเมื่อเปรียบเทียบกับแพลตฟอร์มที่ต้องมีการจ่ายเงินหรือแพลตฟอร์มที่ผิดกฎหมาย เมื่อดูจากทวีต และจำนวนการเสิร์ชบน Google พบว่าความสนใจในคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มมีการจ่ายเงิน และแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งที่ผิดกฎหมายนั้นอยู่ในระดับเดียวกัน แต่ยังต่ำกว่าโทรทัศน์

คอนเทนต์ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อทางเลือกใช้แพลตฟอร์มของคนไทย มีจำนวนของผู้ใช้งานจำนวนหนึ่ง ได้เปลี่ยนไปรับชมคอนเทนต์จากแฟลตฟอร์มออนไลน์สตรีมมิ่ง ตามความสนใจในคอนเทนต์ เช่น ความสนใจและติดตาม รายการประเทศเกาหลี รวมถึงเฉพาะกลุ่มเช่น เรื่องสยองขวัญ หรือแนวแฟนตาซี

3. คนไทยยังอินละครไทย

ในเรื่องของภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ผู้ใช้ทวิตเตอร์คนไทยนิยมทวีตเกี่ยวกับภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ของไทย มากกว่าของต่างประเทศ แม้ในความเป็นจริงจำนวนของภาพยนตร์ไทยจะน้อยกว่าภาพยนตร์ของต่างประเทศ แต่มีบทสนทนาจำนวนมากกว่า

ภาพยนตร์ไทยที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดในปี 2561 คือ BNK48 Girls Don’t Cry และ น้อง.พี่.ที่รัก Brother of the Year ซึ่งได้มีการพูดถึงมากกว่าภาพยนตร์ฮอลลีวูด บล็อกบัสเตอร์ อย่าง Avengers: Infinity War และ Black Panther เลยทีเดียว และเมือมีการทวีตเกี่ยวกับภาพยนตร์ของไทยจะเป็นในเชิงบวกกว่าภาพยนตร์จากต่างประเทศ

ละครโทรทัศน์นับว่าเป็นประเภทรายการที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย โดยละครโทรทัศน์ไทยที่มีการพูดถึงมากที่สุด คือ บุพเพสันนิวาส และฮิตติดอันดับหนึ่งของหัวข้อเกี่ยวกับรายการโทรทัศน์ที่มีการพูดถึงมากที่สุดในปี 2561

ขณะที่การสนทนาบนทวิตเตอร์ประเทศไทยมีอัตราการสนทนาเกี่ยวกับรายการโทรทัศน์ไทยสูงที่สุด ซึ่งเป็นเทรนด์เดียวกันทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการทวีตถึงละครโทรทัศน์ไทย 77% เมื่อเทียบกับทวีตที่พูดถึงซีรีส์ต่างประเทศ 23%

4. ทวีตแตกต่างกัน

ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ชาวไทยทวีตถึงละครและภาพยนตร์ด้วยแนวทางที่แตกต่างกัน แฟนๆ ละครที่กระตือรือร้นจะเข้าไปมีส่วนร่วม ในการพูดคุยโดยเขียนถึงพล็อตเรื่องและเนื้อหาของบทละคร และหากว่าละครเรื่องนั้นอิงประวัติศาสตร์ การพูดคุยก็จะเป็นการถกเถียงถึงเรื่องความถูกต้องทางประวัติศาสตร์

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/UnderbedDara/status/1123105304202211328

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/KhaBah/status/1156605642334855168

บทสนทนาที่พูดถึงละครไทยจะมีรายละเอียด และใช้ระยะเวลาในการพูดคุยกันนานกว่าบทสนทนาที่พูดถึงภาพยนตร์ไทย ซึ่งมักจะเป็นทวีตที่มีข้อความสั้นกว่า โดยพวกเขามักจะแชร์ลิงก์การรีวิวที่พวกเขารู้สึกเห็นด้วยหรือทวีตที่รีวิวภาพยนตร์เรื่องนั้นแบบสั้นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการสปอยล์เนื้อหาของภาพยนตร์

นอกจากนี้บทสนทนาที่พูดถึงภาพยนตร์ยังเน้นไปที่ชื่อเรื่องของภาพยนตร์ และความตื่นเต้นก่อนที่ภาพยนตร์จะออกฉาย ในขณะที่บทสนทนาเกี่ยวกับละครซีรีส์มักจะเป็นแบบเรียลไทม์ รวดเร็ว มีการพูดถึงรายละเอียดของฉากนั้นๆ และการคาดเดาว่าจะเกิด อะไรขึ้นในตอนต่อไป

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/dooanime24hr/status/1180880579635499008

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/AyeMy_Happy/status/1179047074257612805

]]>
1256176
เร่งสร้างรายได้! ช่อง 3 ขายลิขสิทธิ์ละครไทยลงจอเคเบิล-ไอพีทีวี “เกาหลี” ครั้งแรก ลุยต่อ “จีน-อาเซียน” https://positioningmag.com/1245081 Tue, 03 Sep 2019 23:07:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1245081 การ “ขายลิขสิทธิ์” คอนเทนต์ช่อง 3 ที่เก็บสะสมไว้จำนวนมาก โดยเฉพาะละคร เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หาแหล่งรายได้ใหม่ที่ “บี๋ อริยะ พนมยงค์” ประกาศไว้ในการบริหาร บีอีซี เวิลด์ ให้กลับมากำไรอีกครั้ง   

นับเป็นก้าวแรกในประวัติศาสตร์วงการละคร ที่ละครของประเทศไทย จาก “ช่อง 3” จะได้มีโอกาสออกอากาศบนสถานีโทรทัศน์ของเกาหลี ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตรายการบันเทิงส่งออกระดับโลก ที่ผ่านมาประเทศเกาหลีจึงไม่มีความจำเป็น ต้องนำเข้ารายการโทรทัศน์ของต่างประเทศ ที่ผ่านมาก็มีเพียงซีรีส์ของประเทศจีนไม่กี่เรื่องที่ได้มีโอกาสฉายที่เกาหลีและไทย ถือเป็นประเทศที่ 2 ของเอเชีย ที่สามารถเข้าไปทำตลาดในเกาหลี

โดย TRA Media (ประเทศเกาหลี) ได้ทำข้อตกลงกับ บมจ. เจเคเอ็น โกลบอลมีเดีย (ประเทศไทย) ตัวแทนขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ช่อง 3 เพื่อซื้อลิขสิทธิ์ละครจากช่อง 3 เบื้องต้น 8 เรื่อง เพื่อนำไปออกอากาศบนสถานี TVA PLUS และ SMILE PLUS ซึ่งออกอากาศครอบคลุมทั่วประเทศเกาหลี

ทั้ง 2 สถานีทีวีเป็นช่องเคเบิลทีวีของประเทศเกาหลีที่ออกอากาศทั่วประเทศ มีเรตติ้งอยู่ที่อันดับต้นๆ จากทั้งหมด 252 ช่อง ของทั้งประเทศ

โดย SMILE PLUS เป็นช่องที่มีทั้งเคเบิลทีวีและไอพีทีวี มียอดสมาชิกกว่า 14.6 ล้านครัวเรือน ส่วน TVA PLUS เป็นเคเบิลทีวีที่มียอดสมาชิกกว่า 12.1 ล้านครัวเรือน โดยก่อนหน้านี้ มีเพียงซีรีส์จากประเทศจีนเพียงประเทศเดียวที่ได้ออกอากาศฉายบน TVA PLUS และ SMILE PLUS อย่างเช่นเรื่อง Hero of Sui and Tang Dynasty (ศึกจอมราชัน), Secret History of Empress เป็นต้น และต่อไปละครของช่อง 3 ก็จะเป็นซีรีส์ต่างประเทศชุดใหม่ที่จะไปออกอากาศบนช่องทีวีเกาหลี

ละครของช่อง 3 ทั้ง 8 เรื่องที่ได้ทำข้อตกลงในการซื้อไว้แล้วได้แก่ บุพเพสันนิวาส, คลื่นชีวิต, นาคี, ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง, รากนครา, ลิขิตรัก (The Crown Princess), บ่วงบรรจถรณ์ และ คมแฝก โดยจะเริ่มออกอากาศในสถานีทีวีเกาหลีภายในปีนี้

อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.บีอีซี เวิล์ด กล่าวว่า จากการขายลิขสิทธิ์ละครช่อง 3 ให้ กับ 2 สถานีทีวีเกาหลี ทำให้ละครช่อง 3 เป็นละครจากประเทศไทยเรื่องแรกที่ได้ออกอากาศในประเทศเกาหลี ซึ่งจะทำให้คนเกาหลีที่ชมละครมีโอกาสรู้จักประเทศไทยมากขึ้น ช่อง 3 ยังมีแผนงานขยายตลาดละครในต่างประเทศต่อไปอีก

ขณะนี้ละครของช่อง 3 ได้จำหน่ายไปยังต่างประเทศหลายประเทศ อาทิ ประเทศจีน ฟิลิปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น และกำลังจะบรรลุข้อตกลงในอีกหลายๆ ประเทศ

ปัจจุบันช่อง 3 มีคอนเทนต์ละครเก่ากว่า 100 เรื่อง และมีละครใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น คอนเทนต์ที่ทำตลาดขายลิขสิทธิ์ในต่างประเทศน่าจะอยู่ที่ราว 200 เรื่อง.

]]>
1245081
เปิดใจ “รอมแพง” เจ้าของนิยาย “บุพเพสันนิวาส” ออเจ้า ฮิตทั้งพระนคร https://positioningmag.com/1161264 Mon, 12 Mar 2018 13:00:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1161264 กลายเป็นปรากฏการณ์ไปทั่วเมืองแล้วจริง ๆ สำหรับละครเรื่อง ‘บุพเพสันนิวาส’ เรื่องราวของหญิงสาวในยุคปัจจุบันซึ่งบังเอิญได้หลุดไปอยู่ในยุคของรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นำพามาสู่เรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งนับได้ว่าเป็นอีกครั้งหนึ่งของวงการละครไทย และนวนิยายเรื่องนี้ผู้อยู่เบื้องหลังแห่งความสำเร็จนี้ รอมแพง หรือ จันทร์ยวีร์ สมปรีดา ผู้ปลุกปั้นตัวอักษรในนิยายให้ทั้งคนอ่านและผู้ชมได้ติดตามมากถึงเพียงนี้

เข้าห้องสมุดแทนการเล่นสนุก

เป็นคนอ่านหนังสือออกได้เร็วมาก ประมาณสัก 6-7 ขวบ ก็อ่านหนังสือออกแล้ว หนังสือที่อ่านในช่วงแรก ๆ จะเป็นพวกนิทานอีสปก่อน แล้วช่วงเด็กเราอยู่ที่ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช จะมีห้องสมุดประชาชน เราก็เริ่มอ่านจากตรงนี้ พอถึงเวลาพักเที่ยง เราเข้าไปอ่าน ไม่ค่อยได้เล่นเหมือนเด็ก ๆ ทั่วไปสักเท่าไหร่ อาจจะมีเล่นหมากเก็บ หรือกระโดดยางบ้าง แต่พอหลังจากเลิกเรียน เราก็อยู่ในห้องสมุดจนปิดเลย แล้วก็จะยืมหนังสือจากอาจารย์บ้าง หรือจากห้องสมุดของโรงเรียน แต่ไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่ เราก็จะอ่านหมดไม่เหลือเลย แล้วพอขึ้นมาเรียนมัธยมที่โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช เราก็อ่านหนังสือจนหมดทุกเล่มในห้องสมุดค่ะ ก็อ่านทุกเล่ม ทุกหมวดหมู่ เหมือนเดิม

เริ่มอ่านนิยายตั้งแต่ 8 ขวบ

เริ่มอ่านนิยายตั้งแต่อายุ 8 ขวบค่ะ นิยายเรื่องแรกที่อ่านคือ เรื่อง ในฝัน ของ โรสลาเลน (หรือ ทมยันตี) แล้วก็อีกเรื่องคือ สัมผัสที่หก ของ ตรี อภิรุม เล่มหนามาก แต่ก็อ่านมาตลอด ซึ่งตอนนั้นก็ไม่ได้เน้นว่าจะเป็นแนวไพรัชนิยายนะคะ แต่จะเป็นลักษณะอ่านไปเรื่อย ๆ แต่โดยส่วนตัวเรา จะชอบแบบแนวแฟนตาซี อย่างเรื่องในฝันก็เช่นเดียวกัน แต่จะเป็นแบบลิเกเจ้าหน่อย หรืออย่าง สัมผัสที่หก ก็จะเป็นแนวพลังจิต เหนือธรรมชาติ และเป็นทางจิต ซึ่งหลังจากนั้นเราก็อ่านหนังสือประเภทนี้มาโดยตลอด

จนกระทั่งเข้ามาเรียนที่ ม.ศิลปากร เราจะเช่าหนังสืออ่านที่ร้านต้นสน แถววังหลัง คือเช่าอ่านทุกวันค่ะ อย่างน้อย ๆ ก็ครั้งละ 2 เล่ม จนเจ้าของร้านยังจำได้ แล้วลักษณะการอ่านก็เหมือนเดิมค่ะ เรียกได้ว่า พอไม่มีวิชาเรียน ก็จะมานั่งอ่านหนังสือ อ่านทั้งนิยาย และการ์ตูน บ้าง จะไม่ใส่ใจในเรื่องการเรียนเท่าไหร่ จะไปอ่านหนังสือเรียนตอนช่วงสอบอย่างเดียว (หัวเราะเบา ๆ) แล้วโดยส่วนตัวจะชอบงานเขียนของ กิ่งฉัตร ทมยันตี ทั้ง 3 นามปากกา แก้วเกล้า ว.วินิจฉัยกุล และ โบตั๋น ตามทุกเรื่องเลย เพราะว่าสำนวนและเนื้อหาถูกใจ และส่วนใหญ่คาแร็กเตอร์ผู้หญิงจะไม่อ่อนแอ เราไม่ค่อยชอบนิยายที่นางเอกอ่อนแอเท่าไหร่

เขียนไดอารี่จากความฝัน

สมัยเรียนมัธยม เคยเขียนบทและแสดงละครเวที ตอนนั้นก็ได้รางวัลจากการเขียนบทเยอะอยู่ แต่ไม่ได้เรียนด้านการเขียนบท เอาตามความเข้าใจของตัวเอง เหมือนกับเราเขียนมาจากที่เราได้อ่านจากนวนิยายมา หลังจากนั้นก็จะมีในลักษณะเขียนไดอารี่บ้าง ซึ่งไม่ใช่แบบเขียนในชีวิตประจำวัน เป็นแบบว่า เขียนจากความฝันในแต่ละคืนที่ผ่านมา ว่าเราได้ฝันอะไรไป ว่าเราหลับแล้วฝันอะไร คือจำความฝันตัวเองได้แล้วเอามาเขียน ซึ่งจุดตรงนี้เองก็น่าจะเป็นในเรื่องพื้นฐานการเขียนของเราด้วย น่าจะมีส่วนอยู่เหมือนกัน เพราะจำได้ว่า การเขียนของเราจะเป็นแนวแฟนตาซีมาก แต่เราก็ทิ้งช่วงการเขียนมายาวเลย ตั้งแต่เรียนมหาลัยจนถึงอายุ 30 เพราะว่าเราก็ไปทำงานด้านอื่น ซึ่งก็ได้พบเจอผู้คนหลายระดับ เนื่องจากทำหลายงาน พอเบื่อแล้วก็ลาออก ก็สมัครที่ใหม่ เป็นอาชีพใหม่ไปเลย 

จุดเริ่มต้นเขียนหนังสือ

ตอนนั้นเล่นเกมพีซีออนไลน์ ชื่อว่า มังกรหยก ซึ่งพอเล่นไป มันก็จะมีโปรแกรมแชท เราก็แชทไป พอแชทไปก็จะมีคนทื่ติดสำนวนเรา ประมาณว่าชอบสำนวนเรา ก็มาตามเราเป็นลูกน้องเราในเกม แล้วเขาก็บอกเราว่า ‘พี่น่าจะเขียนนิยายนะ อ่านแล้วสนุก’ เพราะเวลาที่เราเล่าเรื่องต่าง ๆ เราเล่าด้วยความสนุกจากสิ่งที่เรารู้ เลยลองเขียนดูก็ได้ตามลูกยุ (หัวเราะ) เริ่มเขียนหนังสือมาตั้งแต่ 2549 แล้วก็เขียนมาตลอด จริง ๆ เราก็ได้รับการติดต่อหลังไมค์ให้มาเขียนให้ เพราะก่อนหน้านี้เราเขียนลงออนไลน์ในเว็บพันทิป จนเราตกลงทำสัญญา ก็ลาออกจากงานประจำเลย

ผลตอบรับ

ผลตอบรับดีตั้งแต่เรื่องแรกคือ มิติรักข้ามดวงดาว แล้วพอมาเรื่องที่ 2 สายลับลิปกลอส ผลตอบรับก็ดีมากเลย ต่อด้วย ปักษานาคา ที่ลุยไปป่าหิมพานต์ จนมาถึงเรื่อง ชายพรหม เรื่องนี้ก็ถล่มทลาย เป็นแนวพีเรียด อย่างเรื่อง ดาวเกี้ยวเดือน ก็ได้รับรางวัล Voice Award จากเว็บเด็กดี แล้วตอนหลัง ๆ ก็มาลงในออนไลน์ ซึ่งเราก็มีเป็นรูปเล่มมาตั้งแต่เรื่อง สายลับลิปกลอส แล้ว ผู้อ่านในตอนนั้นจะเป็นในแบบวัยทำงานมากกว่า ซึ่งเขาบอกว่า สำนวนหรือพลอตที่เขียนแบบสดดี เหมือนกับว่าไม่เหมือนสำนวนทั่ว ๆ ไป สำนวนคือสื่อถึงคนอ่านได้ทันที ซึ่งเขียนอยู่ประมาณ 3 ปี 10 กว่าเรื่อง ก่อนที่จะมาถึง บุพเพสันนิวาส

ที่มานิยาย บุพเพสันนิวาส

ตั้งแต่ปี 2549 เลย คิดไว้เลยว่าอยากจะเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์สักเรื่องนึง เพราะสนใจในด้านนี้อชอบอะไรที่มันเป็นไทย ๆ และเป็นอะไรที่เป็นประวัติศาสตร์อยู่แล้ว เคยอ่านนิยายหลาย ๆ เล่ม ที่เป็นแนวนางเอกย้อนยุค หรือแนวโบราณบ้าง ก็เกิดความรู้สึกว่าอยากเขียนจัง จึงเริ่มเก็บข้อมูลมาตั้งแต่ 2549 ไปหาข้อมูลทั้ง หอสมุด ม.ศิลปากร และหอสมุดแห่งชาติ และมีอินเทอร์เน็ตนิดหน่อย  พอหลังจากที่แต่งเรื่องดาวเกี้ยวเดือนจบ ก็มาแต่งบุพเพสันนิวาส และ ดาวเคียงเดือน ซึ่งเป็นดาวเกี้ยวเดือนภาคพิเศษ เรื่องละ 1 เดือน แล้ว 3 เรื่องนี้ จะแต่งแบบติด ๆ กันเลย เหมือนไฟกำลังมา แต่บางช่วงก็มีเหมือนกันที่เขียนไม่ได้เลยก็มี ซึ่งเรื่องนี้ก็ใช้เวลาเขียน 1 เดือน 29 ตอน แต่ก็จะมีช่วงหยุดตรงที่ตัวเอกเข้าหอ ที่จะเข้าช่วงประวัติศาสตร์ที่เครียดหน่อยแล้ว ตรงนั้นจะหยุดนานไปหน่อย หยุดจนคนอ่านบ่นว่า ทำไมตัวเอกโล้เรือสำเภานานจัง ฟ้าเหลืองหมดแล้ว (หัวเราะ) ตอนนั้นหยุดไป 3-4 วันได้ ก็กลับมาเขียนต่อจนจบเลย

จากเรื่องวิชาการ มาแปลงเป็นงานเขียนนวนิยาย 

ตอนที่เขียนในตอนนั้น ถือว่าสนุกมาก เพราะว่าเรื่องนี้ก็เขียนในออนไลน์ แล้วก็จะมีคนตอบโต้มาตั้งแต่เรื่องดาวเกี้ยวเดือนแล้ว แล้วพอเรามาเขียนเรื่องนี้ ก็เหมือนกับว่าคนที่อ่านเรื่องก่อนหน้านี้ มาอ่านเรื่องนี้ต่อเลย ก็ยิ่งทำให้คนอ่านแบบปากต่อปาก เนื่องจากเราเขียนวันละตอนเลย เขียนจบและโพสต์เลย แล้วเราก็มีข้อมูลอยู่ในหัวอยู่แล้ว เรารู้แล้วว่าเราจะเขียนไปแนวไหน แล้วเราจะเขียนอะไรบ้าง เพราะเราศึกษาและรวบรวมข้อมูลมานานไงคะ แล้วตกตะกอนกับที่เราอยากเขียนพอดี วันละตอนจนจบเลย เหมือนอารมณ์คนอ่านก็จะประมาณว่า จบแล้วเมื่อไหร่จะมีตอนใหม่ซะที ตอนเช้าเขาจะเล่าให้ฟังว่ามาเปิดคอมพ์รอแล้ว ซึ่งเขาก็รู้นะคะว่าเราแต่งสด แต่งปุ๊บโพสต์ปั๊บ ซึ่งถ้ามีเรื่องผิดพลาด เราก็จะแก้ทันที ซึ่งตอนนั้นก็ถือว่าเป็นข้อดีอย่างหนึ่งในตอนนั้นด้วย

เนื้อเรื่องต้องไม่เครียดอ่านได้ทุกวัย

โดยปกติเราก็จะเขียนนิยายโรแมนติกคอเมดี้อยู่แล้ว แล้วการเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์ มาจากความรู้สึกว่า หลายเรื่อง ๆ ในส่วนนี้มันรู้สึกเครียด แล้วเราจะใส่ไปยังไงไห้ไม่รู้สึกเครียดมากนัก เราก็เลยใช้วิธีในสไตล์ของเราเข้าไป ก็พยายามให้ไม่เครียดมากนัก เพราะว่าเราก็รู้สึกเหมือนกันว่า พออ่านหนังสือที่มันเครียด ๆ เราก็รู้สึกว่าไม่ค่อยอยากอ่าน เราก็จะอ่านไม่จบ เราเองก็ไม่อยากเครียดด้วย เราอยากให้คนอ่านได้สนุกสนานไปกับสิ่งที่เราสื่อ สนุกสนานกับข้อมูลที่เราย่อยไปให้ และอยากให้คนทุกเพศทุกวัยได้อ่าน โดยเฉพาะถ้าให้เด็กอ่าน จะให้รู้สึกว่าไม่น่าเบื่อ เราเลยให้เกศสุรางค์ที่เป็นคนยุคปัจจุบัน ที่หลุดเข้าไปในอดีต ก็จะให้เขาเป็นคนที่ล้น ๆ หน่อยค่ะ

อีกอย่างเรารักในเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซี่งเราอยากจะสื่อสารออกไป และเราก็รักในงานเขียนของเราด้วย และเราก็รักในแฟนคลับเราด้วย ให้เขารู้สึกว่าคุ้มค่าที่ได้อ่าน ซึ่งพอแต่งจบ ก็จะเป็นรูปเล่ม เราก็รู้สึกว่าไม่เสียดายเงินที่ได้ซื้อนิยายของเราไป ก็เลยต้องพยายามให้ที่สุดเลย ซึ่งตอนนี้เราก็คิดแบบนี้อยู่

จากนิยายสู่ละคร

ถือว่าสำเร๊จเกินกว่าที่คาดมาก ซึ่งตอนแรกที่จะเอามาทำเป็นละคร ก็เคยพูดกับพี่หน่อง อรุโณชา ว่าถ้าทำเรื่องนี้ให้ดี มันจะเป็นตำนานเลยนะคะ เราบอกพี่เขาไปอย่างงี้เลย แล้วทางทีมละครก็ตั้งใจมาก แล้วคนเขียนบทโทรทัศน์ ก็ได้ อ.ศัลยา (สุชะนิวัตติ์) ซึ่งท่านก็ดีมาก แล้วพอมารวมกับ คุณใหม่ (ภวัต พนังคศิริ) ก็ยิ่งทวีคูณไปอีก เพราะเขาอ่านนิยายไงคะ ก็จมไปในเนื้อเรื่องเลย เลยทำออกมาค่อนข้างตรงกับนิยาย อาจจะมีการเพิ่มสีสันในตัวละครให้เด่นชัดขึ้นตามภาษาศาสตร์ของละครเลย

แล้วพอมาได้ดูแบบละครก็สนุกค่ะ อาจจะมีการลำดับที่แตกต่างกันบ้าง แต่ตัวบทค่อนข้างตรงกับนิยายเลยค่ะ เพราะ อ.ศัลยาท่านบอกว่า ก็เขียนบทละครตามนิยายเลย และจะไม่ลดลง อาจจะเพิ่มให้สมบูรณ์ขึ้น เพราะบางอย่างในนิยายบางจุดอาจจะไม่ชัดเท่าไหร่ แล้วท่านก็จะเน้นให้ชัดขึ้น ก็จะมีสีสันเพิ่มขึ้นมา อย่างเวลาที่ทีมงานกำลังทำละคร ก้จะมาปรึกษาเราตลอด แล้วเราก็แนะนำหลาย ๆ อย่างให้เขา ซึ่งทางทีมงานด้านฝ่ายศิลป์ ก็จะมีการลงพื้นที่ทั้งอยุธยาและลพบุรี เราก็ได้ไปดู และชี้ให้ดูว่าตรงไหนเป็นตรงไหน

ใช้ความชอบประยุกต์เข้ากับนิยาย

เรียนจบเอกประวัติศาสตร์ศิลปะ มันเป็นคนละศาสตร์กัน เพราะวิชานี้จะศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางศิลปะทั้งหมด ทั้งวัตถุโบราณ สถานโบราณ เน้นในด้านศิลปะ พวกปูนปั้น พวกลวดลาย เพราะว่ามันจะบอกยุคสมัยได้ด้วย ลักษณะของพระพุทธรูปว่ามันจะสืบเนื่องกันยังไง หรือรูปปูนปั้นมันเป็นความนิยมสมัยไหน ดูลวดลายแล้วสืบเนื่องว่าเป็นยุคไหน แล้วที่เราเรียนมันจะเน้นไปทางตะวันตกซะมากกว่า อย่างสารนิพนธ์นี่คือทำเรื่องของยุโรปด้วย ซึ่งไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวกับของไทยซะเท่าไหร่ แต่ก็เป็นความชอบส่วนตัวในเรื่องประวัติศาสตร์มังคะ แต่มันก็มีส่วนช่วยในเรื่องจินตนาการอยู่นะคะ เพราะเวลาที่เราเห็นวัตถุโบราณ เราก็จะคิดแล้วว่าคนเคยจับนั้นมันจะเป็นยังไง เพราะมันเป็นเรื่องราว ทำให้ตัวเกตุสุรางค์ก็เลยตื่นตาตื่นใจ ทำให้เรามีความรู้สึกเดียวกันได้ เพราะเราชอบในด้านนี้ พอมาเจอของจริง ก็จะตื่นเต้นหน่อย

ปัจจัยที่ทำให้ละครเรื่องนี้โด่งดังมาก

อาจจะเป็นเพราะว่า นางเอกที่เป็นคนยุคปัจจุบัน ที่ไปอยู่ในร่างของคนในอดีต ทำให้ความคิดความอ่านของคนปัจจุบันมันเชื่อมโยงกันได้กับคนดู มันทำให้คนดูมีความรู้สึกว่า ถ้าคนดูเป็นเกตุสุรางค์จะรู้สึกยังไง มันเลยทำให้มีความเอาใจช่วยนางเอก ก็เลยทำให้คนชอบละครเรื่องนี้ เพราะเหมือนตัวเองไปเที่ยวเอง แล้วด้วยเจตนาของการเขียนแต่แรกอยู่แล้วาอยากสอดแทรกประวัติศาสตร์ให้คนอ่านรู้สึกชอบ รู้สึกเหมือนเรา ตอนที่เขียนนี่คือพยายามเขียนให้มันคลุมเครือเข้าไว้ แล้วประวัติศาสตร์ช่วงนั้นมันมีหลายกระแสมาก เราจึงต้องเลือกพล็อตแบบ โรแมนติก-คอมเมดี้ ก็เลยมาเป็นบุพเพสันนิวาส นี่แหละค่ะ 

ตอนที่เขียนคือพยายามสร้างคาแร็กเตอร์ของตัวละครที่เป็นคนจริง ๆ ในประวัติศาสตร์สมัยก่อน อาจจะมีการเติมแต่งในบางส่วน อาจจะมีบิด ๆ บ้าง ในบางส่วนของการกระทำ เพื่อให้เขาเป็นมนุษย์จริง ๆ เพราะว่าเขาอาจจะมีดี มีเลวอยู่ในตัว แล้วในข้อมูลทางประวัติศาสตร์ก็เป็นการเล่าแบบทื่อ ๆ จากการมองของคนในสมัยนั้น แล้วเล่าต่อ ๆ กันมา ก็อาจจะผิดเพี้ยนไป เราก็ใช้ส่วนนี้ค่ะ เป็นส่วนที่เราแทรกเข้าไป เหมือนกับเราต่อจิ๊กซอว์เข้าไป แล้วเสริมจินตนาการแทรกระหว่างประวัติศาสตร์ที่เราเลือกมาแล้ว แล้วมาร้อยให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

ถูกละเมิดลิขสิทธิ์

โดยส่วนตัวเรา ก็ไม่ได้ซีเรียสมากนัก ก็ให้เป็นไปตามกฎหมาย และไม่ได้ส่งผลอะไรมากนัก เพราะว่าเจอบ่อย เจอมาตั้งแต่เขียนนิยายมาจนถึงตอนนี้ แต่ช่วงปีที่ผ่านมาจนคาบเกี่ยวมาจนถึงปีนี้ อาจจะหนักหน่อย เพราะว่าพอเจอเรื่องหนัก ๆ ก็รู้สึกเหมือนชินชา แต่ก็เป็นไปตามกฎหมาย อีกอย่าง ก็มีคนให้กำลังใจเราเยอะด้วยมังคะ มีคนเห็นใจเข้าใจเราเยอะ เราก็รู้สึกว่ามันก็ได้เลวร้ายเสมอไป ซึ่งความเลวร้ายมันก็มีอยู่แล้ว แต่ความดีงามมันก็มี จากคนรอบข้างที่เขากำลังใจเรา ต่อให้ทุกข์ใจไปมันก็เท่านั้น ในเมื่อมันเกิดไปแล้ว ก็ทำให้ดีที่สุด เอาตามเท่าที่ได้ค่ะ เพราะกฎหมายฉบับนี้ มันก็ยากเหมือนกัน ถ้าเราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับคนทำผิด ก็ไม่สามารถแจ้งความได้ต้องสืบค้นกันไป ซึ่งถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็คือไม่ได้ค่ะ ไม่สามารถสืบหาคนทำผิดได้ มันก็รู้สึกไม่ค่อยดีหรอกค่ะ แต่ในเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว ก็ต้องยอมรับในสิ่งที่เป็น

ทิศทางต่อไป 

เราคิดว่ามันเป็นกระแสในช่วงนี้ แต่เดี๋ยวละครจบกระแสก็คงซา เพราะฉะนั้นถ้าใครคิดจะทำอะไรที่จะทำให้กระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นรับความเป็นไทย ตอนนี้ต้องรีบทำเลยค่ะ เราแทบไม่ปฎิเสธเลย ถ้าให้ไปพูดตามงานต่าง ๆ คือพยายามช่วยเขาให้มากที่สุดค่ะ เพราะเรารักในผลงานเรา ก็ไม่คาดคิดว่ามันจะมาถึงขนาดนี้ด้วยค่ะ อาจจะคิดแค่ว่ามีชื่อเสียงในระดับหนึ่ง เพราะเราก็เขียนงานให้เป็นปกติธรรมดา แต่ก็ไม่สามารถให้คนไปอ้างอิงได้ เนื่องจากมันเป็นนิยาย แต่ก็อยากให้คนอ่าน อ่านแล้วนึกฉุกใจว่า ที่เราเขียนไป มันใช่หรือเปล่า แล้วไปค้นคว้าเอง อาจจะมีการแลกเปลี่ยนความรู้กัน เพื่อให้เกิดความสนใจและศึกษาค่ะ ซึ่งถ้าเป็นประตูบานแรกสำหรับผู้ที่อยากศึกษา ไปค้นคว้าต่อ ถือว่าสมใจนึกเลยนะคะ เพราะคิดแบบนี้ในตอนช่วงที่เริ่มเขียนเรื่องนี้อยู่แล้ว ซึ่งถ้าจะมองก็ขอให้มองผ่านทางเกศสุรางค์ แล้วตัวละครนี้ก็ไม่รู้ว่าคนที่เขามองนั้น เป็นแบบที่เขาคิดจริง ๆ หรือเปล่า คือพยายามเขียนให้เป็นประมาณนี้ แล้วให้คนอ่านฉุกคิด ว่าแล้วเรื่องราวมันเป็นยังไง ทำนองนี้ค่ะ.

เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : Facebook Fan Page : รอมแพง

ที่มา : mgronline.com/onlinesection/detail/9610000023892

]]>
1161264