ล้มละลาย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 17 Jan 2025 09:39:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รายย่อย ‘ญี่ปุ่น’ อาการหนัก! ‘ล้มละลาย’ ทะลุ 1 หมื่นราย สูงสุดในรอบ 11 ปี จากปัญหาเงินอ่อนค่า-ขาดแคลนแรงงาน https://positioningmag.com/1506472 Wed, 15 Jan 2025 05:04:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1506472 ดูเหมือนไม่ใช่แค่ ร้านราเม็ง ของญี่ปุ่นที่ ล้มละลาย สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่เป็นบริษัทรายย่อยแทบทั้งประเทศที่แห่กันล้มละลาย จนทำสถิติสูงสุดในรอบ 11 ปี เนื่องจากเจอกับ ต้นทุนที่สูง ปัญหาแรงงาน และไร้ผู้สานต่อธุรกิจ

โดยจากการสำรวจของ Tokyo Shoko Research บริษัทวิจัยสินเชื่อ เปิดเผยว่า ในปี 2024 มีจำนวนบริษัทที่ล้มละลายในญี่ปุ่นพุ่งถึง 10,006 บริษัท พิ่มขึ้นจากปี 2023 ถึง +15.1% ซึ่งถือเป็นจำนวนที่มากที่สุดในรอบ 11 ปี โดยจำนวน 10,004 บริษัท ที่ล้มละลายเป็น บริษัทขนาดกลาง-เล็ก มีหนี้สินรวมอยู่ที่ 2.34 ล้านล้านเยน ถือว่าลดลง 2.4% จากปี 2023

ปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้บริษัทล้มละลายสูงเป็นสถิติเป็นเพราะ ค่าเงินเยนร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 37 ปี เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ ต้นทุนการนำเข้าของธุรกิจสูงขึ้น ปัญหา ขาดแคลนแรงงาน ที่หนักขึ้นจากประชากรสูงอายุในญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการนำกฎระเบียบการ ทำงานล่วงเวลา ที่เข้มงวดยิ่งขึ้นมาใช้ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างและบริการต้องเผชิญกับความตึงเครียดมากขึ้น

นอกจากนี้ มาตรการเลื่อนภาษีพิเศษ ที่นำมาใช้ในช่วงการระบาดของ COVID-19 ได้ยุติลงในปี 2024 ทำให้ภาระทางการเงินของบริษัทเล็ก ๆ ยิ่งเพิ่มมากขึ้น

เมื่อแบ่งตามอุตสาหกรรมพบว่า ภาคบริการ รวมถึงร้านอาหาร มีจำนวนการล้มละลายสูงสุดที่ 3,329 ราย เพิ่มขึ้น 13.2% สูงเกิน 3,000 คดีเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1990 ตามมาด้วย ภาคก่อสร้าง ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการปฏิรูปเวลาการทำงาน โดยมีการล้มละลาย 1,924 คดี เพิ่มขึ้น 13.6%

นอกจากนี้ การล้มละลายซึ่งมีสาเหตุจากการ ขาดแคลนแรงงาน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วสู่ระดับสูงสุดที่ 289 คดี ในขณะที่การล้มละลายที่เกิดจาก ไม่สามารถหาผู้มาดำเนินกิจการต่อได้ นั้นมีทั้งหมด 462 คดี ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุด เช่นกันส่วนจำนวนการล้มละลายเนื่องจาก ภาระทางการเงินที่เกิดจากค่าประกันสังคมและภาษี เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าเป็น 176 คดี จาก 92 คดี

Source

]]>
1506472
ทำสถิติต่อเนื่อง! จำนวนการ ‘ล้มละลาย’ ของบริษัทในญี่ปุ่นสูงสุดในรอบ 10 ปี หลังเจอพิษ ‘ค่าเงินเยนอ่อน’ และขาดแคลนแรงงาน https://positioningmag.com/1481727 Mon, 08 Jul 2024 02:32:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481727 ย้อนไปปี 2023 ที่ผ่านมา แค่ช่วงครึ่งปีแรก ญี่ปุ่นก็มีจำนวนบริษัทที่ล้มละลายถึง 4,042 บริษัท สูงสุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากผลกระทบจากโควิด มาปีนี้ จำนวนบริษัทที่ล้มละลายในญี่ปุ่นสูงขึ้นจนทำลายสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปี

บริษัทวิจัยสินเชื่อแห่งหนึ่งเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ว่า ในช่วงครึ่งปีแรกจำนวนการ ล้มละลาย ขององค์กรต่าง ๆ ในญี่ปุ่นพุ่ง สูงสุดในรอบ 10 ปี แตะ 4,931 บริษัท และถือเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยเป็นผลมาจาก การขาดแคลนแรงงาน และภาวะเงินเฟ้อ

เจ้าหน้าที่จาก Tokyo Shoko Research ประเมินว่า จะมีบริษัทต่าง ๆ มากขึ้นที่ไม่สามารถรับมือกับ ต้นทุนที่สูงขึ้นจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่า ได้ แม้ว่าพวกเขาจะผลักภาระต้นทุนที่สูงขึ้นให้กับลูกค้าก็ตาม พร้อมตั้งข้อสังเกตว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดกรณีดังกล่าวเกิน 10,000 กรณี ภายในหนึ่งปี

โดยการล้มละลายที่เกิดจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นเพิ่มขึ้น 23.4% เป็น 374 กรณี ในขณะที่การล้มละลายเพิ่มเติมอีก 327 กรณี เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ไม่สามารถชำระเงินกู้ดอกเบี้ย 0% ที่รัฐบาลให้มาซึ่งออกในช่วงการระบาดของ COVID-19

นอกจากนี้ บริษัทที่ล้มละลายสาเหตุจากการ ขาดแคลนแรงงาน เพิ่มขึ้น 2.2 เท่า เป็น 145 ราย ซึ่งถือเป็นจำนวนสูงสุดนับตั้งแต่มีการสำรวจในปี 2013

เมื่อแยกตามอุตสาหกรรม การก่อสร้าง ล้มละลายมากเป็นอันดับสองที่ 947 คดี เพิ่มขึ้น 20.6% เนื่องมาจากกฎระเบียบการทำงานล่วงเวลาที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ซึ่งเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน และราคาของวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม หนี้สินรวมที่เหลือจากบริษัทล้มละลายในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน รวมทั้งสิ้น 721,040 ล้านเยน ลดลง 22.8% โดยบริษัทวิจัยระบุว่า ตัวเลขดังกล่าวเกิดจากการล้มละลายครั้งใหญ่เพียงไม่กี่กรณี เพราะกว่า 88.4% ของบริษัทที่ล้มละลาย เป็นบริษัทขนาดเล็กที่มี พนักงานน้อยกว่า 10 คน

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเคยมีบริษัทล้มละลายมากถึง 8,169 ราย ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2009 อันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ทางการเงินทั่วโลก แต่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จำนวนดังกล่าวก็ลดลง แม้กระทั่งในช่วงที่มีการระบาดของโควิด ซึ่งได้รับการช่วยเหลือทางการเงินจากภาครัฐที่เพียงพอ

Source

]]>
1481727
“WeWork” พ้นสถานะ “ล้มละลาย” หลังปิดสาขาที่ไม่ทำเงิน 170 แห่ง – เจรจาค่าเช่าใหม่ 190 แห่ง https://positioningmag.com/1477833 Wed, 12 Jun 2024 14:20:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1477833 “WeWork” พ้นสถานะ “ล้มละลาย” แล้วเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2024 หลังจากปิดสาขาที่ไม่ทำเงินไป 170 แห่ง และขอเจรจาค่าเช่าใหม่ 190 แห่ง พร้อมกับการเริ่มต้นใหม่ บริษัทแจ้งเปลี่ยนซีอีโอคนที่ 4 ในรอบ 5 ปี

บริษัทโคเวิร์กกิ้งสเปซชื่อดัง “WeWork” ยื่นคำร้องขอเข้าสู่สถานะล้มละลายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2023 เนื่องจากมีหนี้สินรวม 18,650 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่มีทรัพย์สินเพียง 15,060 เหรียญสหรัฐ

สถานการณ์ของบริษัทตกต่ำถึงขีดสุดหลังเกิดโรคระบาดโควิด-19 ทำให้อัตราการเช่าพื้นที่ตกต่ำ แต่ถึงแม้โรคระบาดจะสงบลงในช่วง 2 ปีมานี้ เศรษฐกิจก็ยังไม่ฟื้นตัว รวมถึงการประเมินมูลค่าบริษัทเทคกลับตัวเป็นขาลง ส่งผลกระทบให้ WeWork ยังอยู่ในวิกฤตมาอย่างต่อเนื่อง

หลังการล้มละลายของ WeWork บริษัทเริ่มปรับโครงสร้างธุรกิจด้วยการปิดสาขาที่ไม่ทำเงินไป 170 แห่ง และเจรจาขอลดค่าเช่าตึกอีก 190 แห่ง จนทำให้ค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่ลดลงไปได้ปีละ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา WeWork แจ้งข่าวภายในว่าบริษัทมีการเจรจาสัญญาขอลดค่าเช่าตึกใน 6 เมืองแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำเร็จ ได้แก่ สิงคโปร์, กัวลาลัมเปอร์, กรุงเทพฯ, โฮจิมินห์ ซิตี้, จาการ์ตา และมะนิลา และทำให้บริษัทไม่ต้องปิดสาขาใดในตลาดเหล่านี้ (*ในไทยมี WeWork ตั้งอยู่ 3 สาขา ได้แก่ The PARQ พระราม 4, T-ONE ทองหล่อ และ Spring Tower พญาไท)

WeWork สาขา The PARQ พระราม 4 เปิดตัวในปี 2563

WeWork ระบุเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า พอร์ตโฟลิโอใหม่ของบริษัทในปัจจุบันมีพื้นที่เช่าทั้งหมด 45 ล้านตารางฟุต จาก 600 สาขา ใน 37 ประเทศ

นอกจากการประกาศพ้นสถานะล้มละลายแล้ว WeWork ยังเปลี่ยนตัวซีอีโออีกครั้งโดยซีอีโอใหม่ “จอห์น ซานโตรา” ถือว่าเป็นซีอีโอคนที่ 4 ในรอบ 5 ปีของ WeWork นับตั้งแต่ปี 2019 ที่บริษัทพลาดการเปิดขายหุ้น IPO และเป็นจุดตั้งต้นความปั่นป่วนในองค์กร

ซานโตราจะเข้ามารับตำแหน่งต่อจาก “เดวิด โทลเลย์” ซีอีโอที่เริ่มรับตำแหน่งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2023 (นับรวมช่วงที่เป็นซีอีโอรักษาการณ์) โดยโทลเลย์ถือเป็นคนที่เข้ามาปรับโครงสร้างธุรกิจ นำการปิดสาขาและเจรจาสัญญาใหม่

สำหรับ จอห์น ซานโตรา เคยเป็นประธานกรรมการ Cushman & Wakefield บริษัทโบรกเกอร์และบริการที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ บริษัทที่เขาทำงานด้วยมานานถึง 40 ปี

WeWork เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดย “อดัม นิวแมน” และ “มิเกล แมคเคลวีย์” เมื่อปี 2010 นิวแมนเป็นผู้นำองค์กรในช่วงแรก ผ่านการระดมทุนครั้งใหญ่และการเติบโตระดับประวัติการณ์ จนกระทั่งตัวเขาเองถูกขับออกจากบริษัทเมื่อปี 2019 หลังแผนการเปิดขายหุ้น IPO ไม่สำเร็จ ต่อมาบริษัทได้เข้าตลาดหุ้นในปี 2021 แต่ใช้วิธีเข้าตลาดหุ้นด้วยบริษัท SPAC (Special Purpose Acquisition Company)

Source

]]>
1477833
ปริมาณการยื่น ‘ล้มละลาย’ ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 18% ทะลุ 4.45 แสนราย เนื่องจากดอกเบี้ยขึ้นและหนี้ครัวเรือนสูง https://positioningmag.com/1457665 Thu, 04 Jan 2024 07:31:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457665 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และมาตรฐานการให้กู้ยืมที่ยิ่งเข้มงวดขึ้นไปอีก ส่งผลให้อัตราการ ยื่นล้มละลาย ในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น ทั้งในเชิงพาณิชย์และส่วนบุคคล

ตามข้อมูลจาก Epiq AACER ผู้ให้บริการข้อมูลการล้มละลายพบว่า ในปี 2023 ที่ผ่านมา การยื่นฟ้อง ล้มละลาย ในสหรัฐฯ มีจำนวนถึง 445,186 รายการ เพิ่มขึ้น 18% จากในปี 2022 มีจำนวนทั้งหมด 378,390 รายการ โดยการยื่นเรื่องการปรับโครงสร้างองค์กรเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น 72% เป็น 6,569 จาก 3,819 ในปีก่อนหน้า ส่วนการยื่นล้มละลายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 18% เป็น 419,55 จาก 356,911 ในปี 2022

อย่างไรก็ตาม แม้ในเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปี จำนวนการยื่นฟ้องล้มละลายจะลดลงเหลือ 34,447 รายการ จาก 37,860 รายการในเดือนพฤศจิกายน แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่ผ่านมา ถือว่าเพิ่มขึ้น 16% และมีการประเมินว่า จำนวนคดีล้มละลายจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2024 นี้ แต่คงจะไม่สูงเท่ากับปี 2019 ที่มีการยื่นล้มละลายสูงสุดที่ 757,816 คดี

“เราคาดว่าจำนวนผู้ยื่นฟ้องล้มละลายทั้งส่วนบุคคลและเชิงพาณิชย์จะยังคงดำเนินต่อไปในปี 2024 เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ COVID-19 หมดลง, ต้นทุนด้านเงินทุนที่สูงขึ้น, อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น, อัตราการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้น และหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกับประวัติการณ์” Michael Hunter รองประธานของ Epiq AACER กล่าว

ทั้งนี้ หนี้ครัวเรือนของสหรัฐฯ ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 17.3 ล้านล้านดอลลาร์ ณ สิ้นไตรมาสสาม ตามข้อมูลจากธนาคารกลางสหรัฐแห่งนิวยอร์ก ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นอัตราการผิดนัดชำระหนี้ก็สูงขึ้นเช่นกัน แต่ก็ยังต่ำกว่าอัตราก่อนเกิดการระบาดใหญ่

ภาวะทางการเงินสำหรับภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนมีความเข้มงวดมากขึ้นอย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจังเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ตัวอย่างเช่น อัตราสินเชื่อจำนองในช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้วพุ่งขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ต้นศตวรรษ

Source

]]>
1457665
ลือ ‘WeWork’ เตรียมยื่น ‘ล้มละลาย’ ในสัปดาห์หน้า https://positioningmag.com/1450163 Wed, 01 Nov 2023 02:49:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450163 จากสตาร์ทอัพยูนิคอร์นที่กำลังมาแรงและมีมูลค่าสูงกว่า 4.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่จากปัญหาด้านโมเดลธุรกิจและการบริหารงานภายใน ก็ทำให้ WeWork ต้องเจอกับวิกฤต และที่ผ่านมาก็พยายามจะกู้ธุรกิจกลับมาให้ได้ แต่ตอนนี้ดูเหมือนจะไม่ไหว และมีข่าวว่ากำลังจะยื่นล้มละลาย

แววไม่ดีของ WeWork สตาร์ทอัพผู้ให้บริการ Co-Working Space เริ่มเห็นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 โดยมีข้อกังวลว่าบริษัทจะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ แม้ว่าบริษัทจะมีรายได้ 844 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 4% ก็ตาม แต่ก็ยัง ขาดทุนถึง 397 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ บริษัทมีสภาพคล่องเหลือแค่ 680 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น 

เนื่องจากบริษัทต้องต่อสู้กับกอง หนี้จํานวนมาก รวมถึงมูลค่าของ หุ้น ปีนี้ ดิ่งลง 96% ก่อนหน้านี้ WeWork แจ้งขอเลื่อนจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัท เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ทำให้เข้าสู่ขั้นตอนกำหนดชำระล่าช้าภายใน 30 วัน ซึ่งบริษัทได้เจรจาขอมติผู้ถือหุ้นกู้ให้เลื่อนนัดชำระออกไปอีก 7 วัน มิฉะนั้นจะเข้าสู่สถานะผิดนัดชำระ

WeWork ส่อแววไม่รอดสูง บริษัทกังวลความสามารถในการดำเนินธุรกิจหลังขาดทุน สภาพคล่องแทบไม่มี

ล่าสุด มีแหล่งข่าววงในเปิดเผยว่า WeWork กําลังพิจารณายื่นคําร้อง ล้มละลาย ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ โดยบริษัทได้ทําข้อตกลงกับเจ้าหนี้เพื่อเลื่อนการชําระเงินชั่วคราวสําหรับหนี้บางส่วน โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน บริษัทมีหนี้ระยะยาวสุทธิ 2.9 พันล้านดอลลาร์ และสัญญาเช่าระยะยาวมากกว่า 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ 

ที่ผ่านมา WeWork ทําให้เกิดข้อสงสัยอย่างมาก เกี่ยวกับความสามารถในการดําเนินการต่อไปในเดือนสิงหาคม เนื่องจากมีผู้บริหารระดับสูงจํานวนมาก รวมถึง Sandeep Mathrani CEO ที่ลาออกในปีนี้

Source

]]>
1450163
เศรษฐกิจไม่เป็นใจ! ธุรกิจในสหรัฐอเมริกายื่นข้อฟื้นฟูกิจการเพิ่มขึ้น 61% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2023 https://positioningmag.com/1444675 Sun, 08 Oct 2023 11:13:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444675 ข้อมูลล่าสุดชี้ว่าธุรกิจในสหรัฐอเมริกายื่นข้อฟื้นฟูกิจการเพิ่มขึ้น 61% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2023 แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะยังต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การยื่นข้อฟื้นฟูกิจการเพิ่มขึ้นก็คืออัตราดอกเบี้ยในสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนในการทำธุรกิจเพิ่มมากขึ้น

Epiq ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลชี้ว่าบริษัทในสหรัฐอเมริกาได้ขอยื่นล้มละลายเพื่อขอฟื้นฟูกิจการ (Chapter 11) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2023 เป็นจำนวนมากถึง 4,553 บริษัท มากกว่าในปี 2022 ที่ผ่านมาถึง 61% แสดงให้เห็นถึงสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐที่แม้จะมีความแข็งแกร่ง แต่ภาคธุรกิจบางส่วนก็ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ดี

ขณะที่การขอล้มละลายธุรกิจขนาดเล็กในช่วงเวลาดังกล่าวเพิ่มขึ้น 41% เป็น 1,419 บริษัท อ้างอิงข้อมูลจาก Epiq และ American Bankruptcy Institute

ปัจจัยสำคัญที่สุดของการยื่นขอล้มละลายในสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งล่าสุดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อยู่ในช่วง 5.25 ถึง 5.5% ซึ่งถือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงสุดในรอบ 22 ปี

อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มมากขึ้น ยังทำให้สถาบันการเงินเองลดการปล่อยกู้ให้กับธุรกิจลง หรือไม่ก็ขอหลักประกันสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายธุรกิจที่มีปัญหาอยู่แล้ว พบกับต้นทุนการทำธุรกิจของผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้หลายธุรกิจที่ยังฟื้นตัวได้ไม่ดี หรือมีจำนวนหนี้ที่สูงมาก่อนหน้าได้ขาดสภาพคล่องอย่างหนัก เป็นเหตุทำให้ผู้ประกอบการตัดสินใจขอยื่นล้มละลายเพื่อฟื้นฟูกิจการนั่นเอง

ในปี 2023 ที่ผ่านมา กรณีการล้มละลายของธุรกิจสำคัญๆ ในสหรัฐอเมริกา เช่น กรณี Bed Bath & Beyond ธุรกิจค้าปลีกของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศยื่นล้มละลายในเดือนเมษายนที่ผ่านมา หรือแม้แต่กรณีของสำนักข่าวชื่อดังอย่าง Vice ก็ได้ประกาศล้มละลายเช่นกัน

แต่ถ้าหากอ้างอิงจากข้อมูลของ Epiq และ American Bankruptcy Institute นั้นกรณีของภาคธุรกิจได้ยื่นขอล้มละลายในสหรัฐอเมริกาทุกกรณีจะอยู่ที่ 18,680 บริษัท เพิ่มขึ้นจากปี 2022 ถึง 17%

Amy Quackenboss ผู้บริหารของ American Bankruptcy Institute ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า “แม้จำนวนการขอล้มละลายจะยังต่ำกว่าระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด แต่จำนวนการยื่นฟ้องแสดงให้เห็นถึงความท้าทายที่ยากลำบากและภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งครอบครัวและธุรกิจที่ประสบปัญหาทางการเงินกำลังเผชิญในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน”

ที่มา – ABFJournal, Retail Dive

]]>
1444675
จำนวนบริษัทในญี่ปุ่น ‘ล้มละลาย’ ทำสถิติสูงสุดในรอบ 5 ปี เนื่องจาก ‘แบกหนี้’ ช่วงโควิดไม่ไหว https://positioningmag.com/1437516 Wed, 12 Jul 2023 02:54:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437516 ดูเหมือนผลกระทบจาก COVID-19 ต่อบรรดาผู้ประกอบการยังไม่หายไป แม้ว่าการระบาดจะไม่ได้รุนแรงเหมือนในช่วงที่ยังไม่มีวัคซีนก็ตาม โดยในญี่ปุ่นมีจำนวนบริษัทที่ล้มละลายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 5 ปีเลยทีเดียว

จำนวนบริษัทที่ ล้มละลายในญี่ปุ่น ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 เพิ่มขึ้น 32.1% จากปีก่อนหน้า สู่ระดับ สูงสุดในรอบ 5 ปี ที่ 4,042 บริษัท เนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ ต้องใช้หนี้ที่เกิดจากโครงการกู้ยืมของรัฐบาล เพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอดในช่วงที่โควิดระบาดหนัก

บริษัทโตเกียว โชโกะ รีเสิร์ช จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทประมาณ 322 ราย ที่ล้มละลาย ล้วนเป็นบริษัทที่ได้รับทุนจากโครงการฉุกเฉิน ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ สองเท่า จากปีก่อนหน้า และมีบริษัทประมาณ 300 ราย ที่ล้มละลายเพราะปัญหา ต้นทุนวัสดุและค่าจ้าง แรงงานที่เพิ่มขึ้น

“จำนวนการล้มละลายขององค์กรอาจเพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทที่ฟื้นตัวช้าจากโรคระบาด”

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า จำนวนบริษัทที่ล้มละลายในอุตสาหกรรม 10 ประเภท เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี โดยธุรกิจใน ภาคบริการ มีจำนวนการล้มละลายมากที่สุดถึง 1,351 ราย เพิ่มขึ้น 36.1% โดยส่วนใหญ่จะเป็น ร้านอาหาร เนื่องจากรัฐบาลยุติการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ตามมาด้วย บริษัทก่อสร้าง จำนวน 785 ราย เพิ่มขึ้น 36.3% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากต้นทุนวัสดุที่สูงขึ้น

Source

]]>
1437516
“ไบเดน” สั่งการอุ้มเงินฝากทั้งหมดใน Silicon Valley Bank ลั่นตัวการทำแบงก์ล้มต้อง “รับผิดชอบ” https://positioningmag.com/1422904 Mon, 13 Mar 2023 05:20:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422904 รัฐบาล “ไบเดน” สั่งการเมื่อคืนวันอาทิตย์ เงินฝากทั้งหมดใน Silicon Valley Bank ต้องได้รับการคุ้มครอง นับเป็นการแทรกแซงเพื่อแก้วิกฤตทางการเงินครั้งใหญ่ของประเทศ พร้อมลั่นคำมั่นว่าตัวการที่ทำให้แบงก์ล้มละลายจะต้อง “รับผิดชอบ”

หลังเหตุ Silicon Valley Bank หรือ SVB ล้มละลายเมื่อวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2023 จ่อเป็นวิกฤตการเงินครั้งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ทำให้รัฐบาลโจ ไบเดนและธนาคารกลางของสหรัฐฯ (Fed) ต้องเร่งหาทางออก ล่าสุดเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม 2023 สหรัฐฯ จึงประกาศมาตรการเพื่อสกัดความเสียหายออกมา

มาตรการแรกคือ การรับประกันคุ้มครองเงินฝาก “ทั้งหมด” ใน SVB เพื่อให้ผู้ถือเงินฝากสามารถไว้วางใจได้ว่า เงินฝากทั้งหมดของพวกเขาจะยังถอนออกได้เมื่อต้องการ

มาตรการนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การคุ้มครองเงินฝาก เพราะปกติสถาบันคุ้มครองเงินฝากของสหรัฐฯ หรือ FDIC มีเพดานคุ้มครองเงินฝากสูงสุดเพียง 250,000 เหรียญสหรัฐ แต่รัฐบาลไบเดนร่วมกับ FDIC และ Fed ประเมินแล้วว่า มีความจำเป็นต้องเข้าช่วยเหลือเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบไปทั้งระบบ และมองว่าลูกค้า SVB มีจำนวนมากที่เป็นบริษัท SMEs ซึ่งถ้าหากไม่สามารถถอนเงินออกมาได้ แปลว่าสหรัฐฯ อาจต้องเผชิญกับการเลย์ออฟในบริษัทขนาดเล็ก เพราะบริษัทไม่มีกระแสเงินสดมาจ่ายเงินเดือนพนักงาน

มาตรการที่สองคือ Fed เปิดนโยบายพิเศษให้ธนาคารอเมริกันอื่นที่ได้รับผลกระทบจากการล้มละลายของ SVB สามารถขอกู้เงินจาก Fed ได้ ทั้งนี้ไม่มีการประกาศตัวเลขอย่างชัดเจนว่ามีวงเงินกู้ให้เท่าใด แต่ระบุว่ามากพอที่จะตอบสนองการยื่นกู้ในระดับหลักล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

มาตรการทั้งหมดนี้มีขึ้นเพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ ปกป้องระบบธนาคารสหรัฐฯ ให้ยังเดินต่อได้ ปกป้องเงินฝากของประชาชน และทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตต่อเนื่อง

“เจเน็ต เยลเลน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เสริมว่า การเข้าช่วยเหลือวิกฤตครั้งนี้จะไม่ก่อให้เกิดภาระต่อประชาชนผู้จ่ายภาษี เพราะจะใช้เงินกองทุนที่ธนาคารอเมริกันจ่ายรวมเป็นเงินกองกลางมาตลอด ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าราว 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

“โจ ไบเดน” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวด้วยว่า ตนเองจะนำตัวผู้ที่เป็นสาเหตุแห่งวิกฤตครั้งนี้มารับผิดชอบการกระทำให้ได้ และจะยิ่งเข้มงวดการกำกับดูแลธนาคารขนาดใหญ่ เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจเข้าสู่จุดที่ล่อแหลมเช่นนี้อีก

SVB นั้นเป็นธนาคารพาณิชย์ที่คนอเมริกันใช้บริการมากที่สุดในระดับ Top 20 ของประเทศ โดยมีสินทรัพย์รวม 2.09 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ณ ช่วงสิ้นปี 2022 ทำให้เมื่อธนาคารแห่งนี้ล้มละลาย จึงเป็นเหตุแบงก์ล้มที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจอุ้มเงินฝากใน SVB ครั้งนี้ เป็นไปได้ว่ารัฐบาลไบเดนจะต้องตั้งรับการโจมตีทางการเมือง เพราะจะถูกมองว่าเป็นการปกป้องสินทรัพย์ของกลุ่มบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ นักลงทุนเวนเจอร์แคปิตอล และกลุ่มเศรษฐีที่อาศัยอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย มากกว่ามีเจตนาปกป้องบริษัทขนาดกลางถึงเล็กหรือบริษัทสตาร์ทอัพที่ใช้บริการธนาคาร

ที่มา: Washington Post, CNN

]]>
1422904
Revlon ยื่นล้มละลายอย่างเป็นทางการแล้ว หลังประสบปัญหาธุรกิจรุมเร้าหลายเรื่อง https://positioningmag.com/1389090 Thu, 16 Jun 2022 16:33:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389090 Revlon แบรนด์เครื่องสำอางค์ชื่อดังจากสหรัฐฯ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 11 ของกฎหมายล้มละลายแห่งสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากที่มีข่าวในช่วงที่ผ่านมาว่าบริษัทไม่สามารถที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ เนื่องจากประสบปัญหาทางธุรกิจ รวมถึงหนี้สินล้นพ้นตัว

สำหรับปัญหาของธุรกิจที่แบรนด์เครื่องสำอางพบเจอนั้นได้แก่ปัญหาของคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้น อย่างเช่นแบรนด์เครื่องสำอางจากเซเลบริตี้ที่มีชื่อเสียงอย่าง Kylie Cosmetics ของ ไคลีย์ เจนเนอร์ และ Fenty Beauty ของรีฮานนา ที่ทำให้ลูกค้าของ Revlon หันไปใช้แบรนด์เหล่านี้มากขึ้น รวมถึงคู่แข่งรายสำคัญอย่าง L’Oreal และ Estee Lauder ที่มีผลิตภัณฑ์ออกมาแข่งกับ Revlon เอง

แบรนด์เครื่องสำอางรายนี้ยังประสบปัญหาในการผลิตสินค้าอีกด้วย โดยบริษัทได้ชี้แจงว่าการส่งวัตถุดิบจากประเทศจีนมาที่สหรัฐอเมริกานั้นใช้เวลามากถึง 12 อาทิตย์ ขณะเดียวกันต้นทุนของวัตถุดิบเองยังเพิ่มมากขึ้นถึง 4 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2019 ส่งผลทำให้สินค้าผลิตได้ไม่ทันแม้ว่าจะมีความต้องการจากลูกค้าที่สูงก็ตาม

เมื่อสินค้าของบริษัทออกช้ากว่าคู่แข่ง แต่ปัญหาต่างๆ เข้ามารุมเร้านั้นก็ได้ส่งผลกลับมาที่ยอดขายของบริษัทที่ลดลง ในปี 2021 ยอดขายของบริษัทนั้นอยู่ที่ 2,079 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ก็ยังต่ำกว่าในปี 2019 ที่บริษัทมียอดขายที่ 2,420 ล้านเหรียญสหรัฐ

Revlon เองยังประสบปัญหาหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ในรายงานที่ยื่นต่อศาลนั้นบริษัทมีหนี้สินมากถึง 3,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ทรัพย์สินของบริษัทเหลือเพียงแค่ 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น

หลังจากบริษัทได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 11 เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น บริษัทคาดว่าจะได้รับเงินกู้ก้อนใหม่จากเจ้าหนี้เป็นมูลค่า 575 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเงินกู้ก้อนดังกล่าวจะนำมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการต่อไป

สำหรับ Revlon ก่อตั้งในปี 1932 โดยเริ่มวางจำหน่ายยาทาเล็บในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ก่อนที่จะขยายธุรกิจไปทั่วโลกในช่วงปี 1955 และบริษัทถูกซื้อกิจการโดย MacAndrews & Forbes ในปี 1985 ก่อนที่จะนำบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในปี 1996

ที่มา – CNBC, CNN

]]>
1389090
ประธาน ‘Evergrande’ ขายทรัพย์สินส่วนตัวกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท กู้วิกฤตหนี้บริษัท https://positioningmag.com/1362874 Thu, 18 Nov 2021 12:10:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362874 ‘เอเวอร์แกรนด์’ (Evergrande) เป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของจีน และกำลังเผชิญกับภาวะล้มละลายจากวิกฤตหนี้สินที่มี 10 ล้านล้านบาท เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และการไล่ซื้อกิจการต่าง ๆ หลายปีที่ผ่านมา จนในที่สุด สีว์ จยาอิ้น ประธานเอเวอร์แกรนด์ จำต้องขายทรัพย์สินส่วนตัวใช้หนี้

สีว์ จยาอิ้น ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทเอเวอร์แกรนด์ จำต้องขายทรัพย์สินส่วนตัวกว่า 7 พันล้านหยวน (3.5 หมื่นล้านบาท) เพราะประคับประคองบริษัท โดย สีว์ จยาอิ้น ขายบ้านหลายหลังในฮ่องกง, กว่างโจว และ เซินเจิ้น รวมถึงเครื่องบินเจ็ตส่วนตัวบางลำ

สีว์พยายามอัดฉีดเงินเข้าบริษัทตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม เพื่อใช้รักษาการดำเนินงานพื้นฐานของอาณาจักรธุรกิจขนาดใหญ่ของเขา อาทิ เงินเดือนพนักงาน การจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร และสานต่อโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศให้เสร็จ โดยปัจจุบันหุ้นในบริษัทเพิ่มขึ้นมากถึง 4.3% ในช่วงเช้าวันพุธ และล่าสุดเพิ่มขึ้น 1.1% ดังนั้น ภาพรวมหุ้นบริษัททั้งปีในปีนี้จะลดลงที่ 80%

“เอเวอร์แกรนด์” ยักษ์ใหญ่อสังหาจีน เสี่ยงล้มพร้อมหนี้ 10 ล้านล้าน ลามวิกฤตซับไพรม์เอเชีย

ที่ผ่านมา บริษัทพยายามทำทุกวิธีเพื่อใช้หนี้มูลค่าราว 10 ล้านล้านบาท โดยในช่วงปลายเดือนกันยายน บริษัทประกาศว่าจะขายหุ้น 1.5 พันล้านดอลลาร์ใน Shengjing Bank ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ของรัฐ และกำลังดำเนินการขายหุ้นที่มีทั้งหมดใน HengTen Network Holdings บริษัทภาพยนตร์และสตรีมมิ่งโทรทัศน์ของจีน จำนวน 1.66 พันล้านหุ้น โดยมีมูลค่ารวม 2.13 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง (273.5 ล้านดอลลาร์) โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมดในวันที่ 22 พ.ย. นี้

โดยบริษัทคาดว่าจะได้รับการชำระเงินในรอบแรกจำนวน 20% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดในวันจันทร์ที่ 22 พ.ย.นี้ ส่วนเงินในส่วนที่เหลือจะได้รับการชำระภายใน 2 เดือน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่า Evergrande จะนำเงินที่ได้จากการขายหุ้นในครั้งนี้ไปชำระดอกเบี้ยที่ครบกำหนดชำระเมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา รวมถึงสะสมเงินเพื่อใช้ชำระดอกเบี้ยมูลค่า 255 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะครบกำหนดชำระในวันที่ 28 ธ.ค.นี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้

Source

]]>
1362874