วงการภาพยนตร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 24 Mar 2023 08:37:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Apple เตรียมอัดทุนสร้าง “ภาพยนตร์” 1 พันล้านเหรียญ พร้อมส่งเข้าฉายโรงก่อนสตรีมมิ่ง https://positioningmag.com/1424745 Fri, 24 Mar 2023 08:00:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1424745 Apple วางแผนทุ่มทุนสร้าง “ภาพยนตร์” ปีละ 1,000 ล้านเหรียญ พร้อมส่งหนังเข้าฉายในโรงก่อนอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อสื่อสารต่อสาธารณะว่าบริษัทเป็นค่ายหนังคุณภาพ และเอาจริงกับการทำภาพยนตร์

สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า Apple วางแผนจะอัดทุนสร้างภาพยนตร์อีกปีละ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และจะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ปกติก่อนอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนที่จะเข้าฉายผ่านสตรีมมิ่ง Apple TV+

จุดประสงค์การเข้าโรงปกติเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ผู้ชมเห็นว่า ค่าย Apple Studios นั้นเป็นผู้เล่นหลักในวงการภาพยนตร์ และต้องการจะทำหนังดีมีคุณภาพออกมา

ถือเป็นการแก้เกมที่ก่อนหน้านี้ นอกจากเรื่อง CODA ที่ชนะรางวัลออสการ์ถึง 3 รางวัล ค่ายนี้ก็ยังไม่มีหนังฮิตติดกระแสอีก และยังไม่ถูกมองเป็นค่ายหนังรางวัล

ปัจจุบัน Apple ถือว่ายังใหม่มากในการจัดจำหน่ายภาพยนตร์เข้าไปฉายในโรงหนัง ทำให้มีข่าวว่าค่ายอาจจะพูดคุยกับค่ายหนังอื่นด้วย เพื่อหาพันธมิตรช่วยในการจัดจำหน่าย

Argylle หนังระทึกขวัญจากค่าย Apple Studios คาดเข้าฉายกลางปี 2023 และอาจจะผลักดันเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ก่อน

แผนการนำภาพยนตร์ฉายในโรงอย่างต่อเนื่องของ Apple อาจได้เห็นเร็วๆ นี้ เพราะค่ายมีโปรแกรมหนังในมือรอออกฉายในปี 2023 อยู่หลายเรื่อง เช่น เรื่อง Argylle หนังระทึกขวัญนำแสดงโดย ดูอา ลิปา และ เฮนรี่ คาวิลล์ รวมถึงเรื่อง Napolean หนังดราม่าอิงประวัติศาสตร์ที่กำกับโดย ริดลีย์ สก็อตต์ และนำแสดงโดย โจอาควิน ฟินิกซ์

ด้านคู่แข่งของ Apple มีความเคลื่อนไหวแตกต่างกันไป เช่น Amazon ประกาศเหมือนกันว่าจะอัดทุนสร้างปีละ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างภาพยนตร์ที่เข้าโรงก่อนเข้าสตรีมมิ่งของตนเอง ขณะที่ Netflix นั้นส่งสัญญาณว่าแพลตฟอร์มไม่พร้อมจะส่งภาพยนตร์เข้าฉายโรงก่อน

แผนของ Apple ที่จะส่งหนังเข้าโรงก่อนนั้นยังไม่รู้จะออกหัวออกก้อยในการช่วยดึงคนมาสมัครสมาชิกสตรีมมิ่งเพิ่ม แต่ที่แน่ๆ ก็คือ การส่งหนังไปฉายในโรงปกติก่อนจะทำให้สาธารณชนเปลี่ยนความคิด หันมามองว่าค่ายหนังของ Apple นั้น “เอาจริง” ในการทำหนังที่มีคุณภาพ และต้องทำหนังที่ดึงคนให้ไปตีตั๋วดูที่โรงหนังได้จริงๆ

Source

]]>
1424745
ตรวจรายได้ “Mulan” แพ้ศึกในโรงหนัง แต่ชนะสงครามบนสตรีมมิ่ง Disney+ https://positioningmag.com/1297730 Fri, 18 Sep 2020 07:09:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297730 จากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ Disney ต้องเปลี่ยนแผนชุลมุน ตัดสินใจฉายภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ Mulan เวอร์ชันคนแสดงบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง Disney+ แทนในประเทศที่มีบริการนี้แล้ว ส่วนประเทศที่ยังไม่มีจะฉายในโรงตามปกติ หลังเปิดตัวมา 2 สัปดาห์ ปรากฏว่าภาพรวมรายได้จากโรงภาพยนตร์ต่ำกว่าที่ควร แต่บนสตรีมมิ่งประสบความสำเร็จสูง ดันยอดสมาชิกสมัครเพิ่ม 68%

ภาพยนตร์ Mulan (2020) รีเมคใหม่เวอร์ชันคนแสดงเป็นภาพยนตร์ที่แฟนๆ ทั่วโลกเฝ้ารอคอย โดยกำหนดการเดิมจะต้องเข้าฉายในเดือนมีนาคม 2020 แต่จากสถานการณ์โรค COVID-19 ทำให้ Disney ผู้อำนวยการสร้างเลือกเลื่อนฉายออกไปก่อน

และที่สุดแล้วต้องยอมปรับแผน ลงฉายในสตรีมมิ่ง Disney+ แทนสำหรับประเทศที่มีบริการแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย โดยสมาชิกต้องจ่ายเพิ่มพิเศษ 29.99 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 900 บาท) เพื่อเข้าชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ส่วนประเทศที่ยังไม่มีบริการ เช่น จีน ไทย หนังเข้าโรงฉายตามปกติ

หลิวอี้เฟย นักแสดงนำเรื่อง Mulan ในงาน World Premier ของภาพยนตร์ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2020

หลังทยอยเข้าฉายตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2020 มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์หลายประเด็นที่ยิ่งกระหน่ำซ้ำเติม Mulan เข้าไปอีก ไม่ว่าจะเป็นการติดแฮชแท็ก #BoycottMulan เพราะ “หลิวอี้เฟย” นักแสดงนำ กล่าวให้การสนับสนุนตำรวจปราบม็อบฮ่องกง ตามด้วยผู้ชมพบในเครดิตหนังเรื่องนี้ว่ามีการถ่ายทำในเขตซินเจียง ซึ่งมีข้อพิพาทการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลจีนอยู่ ทำให้ฮ่องกง ไต้หวัน และโลกตะวันตกมีกระแสแบนหนังคุกรุ่น

กระทั่งตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ที่เป็นตลาดมุ่งเน้นของ Mulan ก็มีเสียงวิจารณ์ตัวหนังว่าออกมาน่าผิดหวัง เพราะทีมงานทำหนังแทบทั้งหมดเป็นคนตะวันตก และถ่ายทอดหนังออกมาในมุมของ ‘คนขาว’ ที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมจีน

แต่เรื่องดราม่าเหล่านี้จะกระทบรายได้ภาพยนตร์แค่ไหน จะคุ้มทุนสร้างที่ลงไปมากกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือไม่ หรือจะกลายเป็นการตลาดมุมกลับที่ทำให้คนยิ่งอยากเข้าไปชมด้วยตนเอง การจะประเมินความสำเร็จของ Mulan รอบนี้จะต้องแยกเป็น 2 ส่วนตามแพลตฟอร์มที่เข้าฉาย

 

รายได้โรงหนังต่ำกว่าที่ควร

ตรวจการบ้านฝั่งการเข้าฉายปกติในโรงหนังก่อน ตามรายงานของ Box Office Mojo by IMDBPro ภาพยนตร์เรื่อง Mulan (2020) เข้าฉายทั้งหมด 17 ประเทศ ทำรายได้รวมกัน 37.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดหลักคือจีนแผ่นดินใหญ่ที่เพิ่งลงจอวันที่ 11 กันยายน 2020 ทำรายได้สัปดาห์แรกไปที่ 23.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนประเทศไทยเราที่ลงจอมาแล้ว 2 สัปดาห์ ทำรายได้ไป 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

ถ้าเทียบกับภาพยนตร์ Disney เวอร์ชันคนแสดงที่ผ่านๆ มา ตัวเลขในจีนถือว่าน่าผิดหวัง เพราะภาพยนตร์อย่าง Beauty and the Beast ทำรายได้ที่เมืองจีนไปถึง 85 ล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่สัปดาห์แรกที่ฉาย ตามด้วยเรื่อง Jungle Book ทำรายได้ไป 55 ล้านเหรียญ

ในไทย Mulan เข้าฉายโรงภาพยนตร์ตามปกติ โดยเข้าฉายแล้ว 2 สัปดาห์ ทำรายได้ 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นตลาดที่ทำรายได้อันดับ 2 รองจากจีนสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังไม่ใช่หนัง Live-action เรื่องที่ทำรายได้แย่ที่สุดในจีนของ Disney เพราะภาพยนตร์ Dumbo เคยทำสถิติสัปดาห์แรกเพียง 11 ล้านเหรียญ แต่ถ้าเทียบกับการทำการตลาดอย่างหนักในจีนของ Mulan ตัวเลขที่ได้มา 23.2 ล้านเหรียญก็ค่อนข้างน่าผิดหวัง

นอกจากมีปัญหาเรื่องการทำหนังจีนด้วยมุมมองคนขาว Mulan ยังต้องผจญกับคู่แข่งชนโรงด้วยทำให้รายได้ลดลงไปอีกเพราะ Tenet ภาพยนตร์ของคริสโตเฟอร์ โนแลน ผู้กำกับที่มีแฟนๆ มากมาย ก็เข้าฉายพร้อมกัน และ Tenet สามารถทำรายได้สัปดาห์แรกไปถึง 50 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

Disney+ รับอานิสงส์เต็มประตู

ตัดภาพมาที่การฉายบนสตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม Disney+ ดังที่กล่าวว่าไม่ใช่แค่สมัครสมาชิกแล้วรับชมได้เลย แต่ต้องเสียเงินเพิ่ม 29.99 เหรียญเพื่อชม Mulan (ภาพยนตร์ Mulan จะปลดล็อก สมาชิกสามารถชมได้โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มในเดือนธันวาคม 2020)

ปรากฏว่าแฟนๆ ยอมเสียเงินเพิ่มเพื่อดูหนังเรื่องนี้ โดยทำรายได้เฉพาะส่วนจ่ายพิเศษนี้ 35.5 ล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่ารายได้ในโรงเสียอีก และเป็นรายได้เข้า Disney 100% เพราะไม่ต้องจ่ายส่วนแบ่งให้กับใครเลย ไม่ว่าจะเป็นโรงหนัง หรือแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งหากไปฉายในแพลตฟอร์มอื่นนอกบริษัท

Mulan ยังทำให้ยอดสมัครสมาชิก Disney+ เพิ่มขึ้นถึง 68% และทำให้สมาชิกใช้เวลาดูคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มเพิ่มอีก 193% แน่นอนว่า Mulan กลายเป็นคอนเทนต์ยอดนิยมอันดับ 1 ของ Disney+ ในสัปดาห์แรกที่ฉาย และส่งให้แพลตฟอร์มนี้มีส่วนแบ่งยอดวิวขึ้นเป็น 15% ของยอดวิวรวมในกลุ่มบริการแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งทั้งหมด

โดยสรุปรายได้รวมทั้งจากโรงหนังปกติกับที่ได้จากสตรีมมิ่ง เป็นไปได้ว่าจะไม่คุ้มทุนที่ลงไปทั้งหมดกว่า 200 ล้านเหรียญ แต่ถ้ามองในมุมการแก้เกมของ Disney ที่กล้าตัดสินใจลงฉายในสตรีมมิ่งแทน กลยุทธ์นี้นับว่าประสบความสำเร็จ และได้พิสูจน์โมเดลการฉายหนังแบบใหม่ ทำให้เห็นว่ามีคนเกือบ 1.2 ล้านคนที่ยอมจ่ายเงินเพิ่ม 29.99 เหรียญเพื่อดูหนังเรื่องหนึ่งที่บ้านแบบชนโรง

Source

]]>
1297730
“หว่องกาไว” แท็กทีม “บาส-นัฐวุฒิ” ผกก.ฉลาดเกมส์โกง สร้างหนัง “One For The Road” ขนดาราไทยลงจอ https://positioningmag.com/1256735 Thu, 12 Dec 2019 08:29:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256735 (photo: Jet Tone Films)

ข่าวดีวงการหนังไทย บาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ ผู้กำกับจาก ฉลาดเกมส์โกง คว้าโอกาสกำกับภาพยนตร์เรื่องใหม่ “One For The Road” ในค่ายหนังของ “หว่องกาไว” ผู้กำกับชั้นครูแห่งฮ่องกง

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นสไตล์ดราม่า-โรดมูฟวี่ที่เซตฉากในนิวยอร์กและประเทศไทย เรื่องราวเกี่ยวกับคู่หูเพื่อนซี้ที่กลับมาเจอกันอีกครั้งหลังผ่านไปนานหลายปี พวกเขาออกเดินทางเป็นครั้งสุดท้ายหลังฝ่ายหนึ่งพบว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็ง แต่การเดินทางครั้งนี้…มีจุดประสงค์แอบแฝงที่มากกว่านั้น

One For The Road จากค่ายหนัง Jet Tone Films จะมี หว่องกาไว เป็นโปรดิวเซอร์เองด้วย โดย บาส-นัฐวุฒิ เป็นผู้กำกับและเขียนบทร่วมกับ ไก่-ณฐพล บุญประกอบ และ พวงสร้อย อักษรสว่าง และได้ ภาเกล้า จิระอังกูรกุล เป็นผู้กำกับภาพ

พร้อมขนทีมนักแสดงไทยลงจอเพียบ ได้แก่ ต่อ-ธนภพ ลีรัตนขจร, ไอซ์ซึ-ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์, วี-วิโอเลต วอเทียร์, พลอย หอวัง, นุ่น-ศิรพันธ์ วัฒนจินดา และ ออกแบบ-ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง นางเอกที่แจ้งเกิดจากเรื่อง ฉลาดเกมส์โกง ในระดับเอเชีย โดยได้รางวัล Asian Stars: Up Next Awards จาก International Film Festival Macao 2017

“เรารู้สึกยินดียิ่งที่มีโอกาสได้ร่วมงานกับผู้กำกับมากความสามารถอย่างบาส พิสูจน์ได้จาก ‘ฉลาดเกมส์โกง’ งานภาพยนตร์ครั้งล่าสุดของเขาที่สะท้อนวิธีสื่อสารอันเป็นเอกลักษณ์และแข็งแรง” หว่องกาไว ผู้กำกับหนังในตำนานอย่าง The Chungking Express และ In The Mood For Love กล่าวผ่านแถลงการณ์ประกาศความร่วมมือ

“1 ปีที่ได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับคุณหว่องนั้นเป็นโอกาสที่ดีเยี่ยมในการก้าวออกจาก comfort zone และเรียนรู้สิ่งใหม่ในฐานะผู้กำกับ ขณะที่ยังคงความจริงใจกับตัวเองในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง” บาส-นัฐวุฒิ กล่าว

ฉลาดเกมส์โกง

นัฐวุฒิ พูนพิริยะ ศึกษาวิชาภาพยนตร์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเรียนต่อด้านกราฟิกดีไซน์ที่ Pratt Institute ในนครนิวยอร์ก หลังเรียนจบ เขากลับมาทำงานที่ไทยตั้งแต่ปี 2554 เริ่มต้นสายงานเป็นผู้กำกับมิวสิกวิดีโอ ก่อนจะสร้างผลงานภาพยนตร์แรกคือ “เคาน์ดาวน์” หนังสไตล์ระทึกขวัญ-สยองขวัญ

ภาพยนตร์เรื่องที่สองของเขาคือ “ฉลาดเกมส์โกง” เป็นหนังระทึกขวัญเกี่ยวกับการโกงข้อสอบซึ่งฮิตติดชาร์ตไปทั่วเอเชีย ในประเทศไทยกวาดรายได้ไป 112.15 ล้านบาท เป็นหนังไทยที่ทำรายได้สูงสุดประจำปี 2560 ก่อนจะเซ็นดีลเข้าไปฉายที่จีนทำรายได้ไปถึง 1,347 ล้านบาท หนังยังเข้าฉายอีกหลายประเทศในเอเชียแปซิฟิก เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ

Source

 

]]>
1256735
หนังไทยไม่ “ตลก” ก็ “ผี” ถึงไม่ไปไหนสักที! “ซีเจ เมเจอร์“ พลิกมุมสร้างหนัง ต้องเน้น “อารมณ์และคน” ถึงจะเกิด วางแผนปีนี้ทำ 3 เรื่อง อยากได้เรื่องละ 100 ล้าน https://positioningmag.com/1226739 Fri, 26 Apr 2019 00:00:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1226739 นอกจากเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” จะเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์ 11 แบรนด์ ครองส่วนแบ่งตลาด 70% โดยมีโรงภาพยนตร์มากกว่า 160 สาขา 771 โรง และกว่า 176,435 ที่นั่งทั่วประเทศ ภายใต้ธุรกิจที่มีรายได้ในปี 2018 จำนวน 10,671.30 ล้านบาท กำไร 1,283.59 ล้านบาท ยังมีค่ายที่ทำหน้าที่ในการผลิตภาพยนตร์เพื่อป้อนให้กับโรงภาพยนตร์ในเครือ ทั้ง เอ็ม เทอร์ตี้ไนน์, เอ็ม ทาเลนต์ทรานส์ฟอร์เมชั่นฟิล์ม และล่าสุดคือ ซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์

ซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ก่อตั้งต้นปี 2016 โดยรวมทุ่นกับซีเจ อีแอนด์เอ็ม บริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์และจัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเกาหลี ในวันที่แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ซีเจ เมเจอร์ ได้ระบุว่า เรื่องแรกที่จะทำชื่อมิส แกรนนี่ (Miss Granny)” ฉายช่วงปลายปีนี้ เป็นการรีโปรดักชั่นจากเวอร์ชั่นที่ประสบความสำเร็จในประเทศเกาหลี พร้อมกับตั้งเป้าสร้างอีก 10 เรื่องภายใน 3 ปี

แต่ที่สุดแล้วมีเพียงเรื่องเดียวที่ได้ฉายออกมาคือ มิสแกรนนี่ ที่ได้นำมาทำใหม่ภายใต้ชื่อ “20 ใหม่ ยูเทิร์นวัย หัวใจรีเทิร์นมี ใหม่ดาวิกา โฮร์เน่, ก้อง – สหรัถ สังคปรีชา และ เจเจกฤษณภูมิ พิบูลสงคราม แสดงนำ เข้าฉายอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2016

ซีเจเมเจอร์คาดหวังว่าเรื่องนี้จะต้องทำรายได้เป็นกอบเป็นกำอย่างแน่นอน เพราะมิส แกรนนี่ต้นฉบับในประเทศเกาหลีใต้ ประสบความสำเร็จด้วยรายได้รวมกว่า 51.7 ล้านเหรียฐสหรัฐ หรือราว 1.66 พันล้านบาท จากต้นทุนสร้างราว 3.1 ล้านเหรียฐสหรัฐ แต่ปรากฏว่าแม้จะมีนักแสดงระดับแม่เหล็ก หากเข้าโรงจริงๆ สัปดาห์แรกทำรายได้ราว 8 ล้านบาท ค่อนข้างน้อยผิดคาด

โยนู ชเว กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ กล่าวว่า

ยอมรับว่าเมื่อเทียบอีก 7 เวอร์ชั่น ฉายใน 6 ประเทศ ที่สร้างขึ้นจากต้นฉบับเดียวกัน เรื่อง 20 ใหม่ ไม่ประสบความสำเร็จมากเท่าที่คาดหวังไว้ โดยความผิดพลาดอาจมาจากการเข้าฉายยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งตามสถิติภาพยนตร์ไทยประสบความสำเร็จค่อนข้างยาก ถือเป็นบทเรียนสำหรับเรา ที่ต้องเรียนรู้แล้วนำกลับมาปรับปรุงใหม่

อย่างไรก็ตามโยนูยังเชื่อว่า ตลาดภาพยนตร์ของไทยยังมีโอกาศอีกมาก เพราะเมื่อดูจากข้อมูล Box office ในปี 2017 จะพบว่า ภาพรวมตลาดภาพยนตร์ 6 ประเทศในอาเซียนรวมไทย มีมูลค่า 3.83 หมื่นล้านบาท

ในขณะที่เกาหลีใต้มีมูลค่า 4.91 หมื่นล้านบาท และเมื่อเทียบสัดส่วนประชากรไทยมี 65 ล้านคน เกาหลีมี 52 ล้านคน ชี้ให้เห็นว่ายังมีการเติบโตได้อีกมาก

ย้อนกลับไปเมื่อ 6 ปีก่อน ในปี 2011 Box office ของอินโดนีเซียมีมูลค่า 2.6 พันล้านบาท น้อยกว่าครึ่งกับเมืองไทยที่มีมูลค่า 4.9 พันล้านบาท หากเวลาผ่านในจนถึงปี 2017 กลับพบว่า ของอินโดนีเซียเติบโตทะลุหลักหมื่นล้านบาท ของไทยมีอยู่ราว 4.4 พันล้านบาท ลดน้อยลงเรื่อยๆ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ว่าผู้บริโภคไม่เข้าโรงไปดูภาพยนตร์ แต่เป็นเพราะภาพยนตร์ไทยไม่มีความน่าสนใจและดึงดูดคนไทยให้เข้าดูได้มากพอ เมื่อเทียบกับเกาหลีคนจะดูภาพยนตร์เกาหลีและภาพยนตร์ฮอลลีวูด 50:50 แต่ของไทยมีราว 20% ที่ดูภาพยนตร์ไทย

ที่เป็นอย่างนั้นเพราะคนไทยมองว่าการไปดูภาพยนตร์ไทยนั้นไม่คุ้มค่า” เมื่อเทียบภาพยนตร์ฮอลลีวูดที่มาการลงทุน บท นักแสดง และโปรดักชั่นถือว่าห่างชั้นกันอย่างมาก ที่สำคัญภาพยนตร์ไทยยังไม่หลากหลาย ไม่ทำภาพยนตร์ตลกก็ภาพยนตร์ผีซึ่งเป็นแนวที่คนชอบดูจึงมีการผลิตซ้ำๆ ทำให้คนดูผิดหวังมากขึ้นเรื่อยๆ

กลายเป็นว่าเมื่อภาพยนตร์ไม่ประสบความสำเร็จ รายได้ไม่เยอะ แต่ละปีมีภาพยนตร์ไทยทำรายได้ทะลุ 1 ร้อยล้าน เฉลี่ยปีละ 3 เรื่อง ที่เหลือห่างกันค่อนข้างมาก หลักล้านต้นๆ ค่ายภาพยนตร์จึงก็ไม่ค่อยทำแนวแปลกๆ จำนวนภาพยนตร์ไทยที่ออกมาในแต่ละปีจึงลดลงเรื่อยๆ จากจำนวน 66 เรื่องในปี 2012 เหลือ 42 เรื่องในปี 2018

โยนู บอกว่า สิ่งที่จะทำให้ภาพยนตร์ไทยกลับมาคึกคัก จะต้องมีผู้เล่นใหม่ๆ เข้ามาสู่ตลาด ซึ่งจะช่วยความความสดใหม่ โดบวิธีที่ซีเจ เมเจอร์จะทำ คือ เน้นผลิตภาพยนตร์ที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้เป็นอย่างดี ผ่านการเล่นกับอารมณ์ของคนดูเหมือนกับซีรีส์เกาหลี ทั้งสร้างแรงบันดาลใจและความสนุกสนานน่าตื่นเต้น

โดยหลังจากทิ้งช่วงมาตั้งแต่ปลายปี 2016 ในปีนี้ซีเจเมเจอร์เตรียมทำภาพยนตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ “Love Battle รัก 2 ปียินดีคืนเงินแนวโรแมนติกคอมเมดี้ กำหนดฉาย 20 มิถุนายน, “That March” แนวโรแมนติกดราม่า เข้าฉายเดือนกันยายน และ “Classic Again” ดัดแปลงมาจากภาพยนตร์เกาหลี

แต่ละเรื่องใช้งบลงทุน 25 ล้านบาท และงบโปรโมตอีก 25 ล้านบาท รวมงบลงทุนทั้งหมด 100 ล้านบาท ตั้งเป้ารายได้เรื่องละ 100 ล้านบาท โดย 70% มาจากการฉายในโรง ที่เหลือมาจากฉายในต่างประเทศและแพลตฟอร์ม OTT นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์อีก 3 เรื่องกำลังถ่ายทำอยู่

“ความท้าทายในตลาดไทยคือ การที่คนไทยมีพฤติกรรม ความสนใจที่หลากหลาย และมีกิจกรรมน่าดึงดูดใจจำนวนมาก แต่เชื่อว่าด้วย Know-how ที่มีซึ่งมาจากการผลิตภาพยนตร์กว่า 500 เรื่อง แต่ละปีมีเรื่องใหม่ 20 เรื่อง ยังมองตลาดไทยเป็นเรื่องบวกอยู่”

หลังจากนี้ซีเจ เมเจอร์ตั้งเป้าสร้างภาพยนตร์เพิ่มปีละ 1-2 เรื่อง โดยในที่สุดตั้งใจที่จะทำภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นออกไปฉายยังต่างประเทศ ทั้ง จีน ตุรกี เวียดนาม อินโดนีเซีย และอเมริกา.

]]>
1226739
Netflix จากร้านเช่าเกือบเจ๊งสู่เจ้าพ่อหนังออนไลน์ “ฆ่า” หรือ “อนาคต” วงการภาพยนตร์ https://positioningmag.com/1168064 Wed, 02 May 2018 08:48:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1168064 Netflix รูปแบบใหม่ของการชมภาพยนตร์ กำลังถูกตั้งคำถามอย่างจริงจัง ว่าสุดท้ายแล้วส่งผล “ดี” หรือ “ร้าย” แต่วงการภาพยตร์กันแน่

จากธุรกิจให้เช่าหนังส่งทางไปรษณีย์ 

เมื่อมองไปถึงความสำเร็จ อิทธิพล และผลกระทบของ Netflix ต่อวงการภาพยนตร์ ดูเป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อไม่น้อย ที่เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ Netflix ที่เริ่มต้นทำธุรกิจให้เช่าแผ่น DVD และอยู่ในภาวะ “ลูกผีลูกคน” อยู่หลายปี

Netflix เริ่มต้นกิจการในปี 1997 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการดูหนังผ่านแผ่น DVD กับการประกอบกิจการให้บริการเช่าแผ่นหนังแบบส่งทางไปรษณีย์ และอนุญาตให้ผู้เช่าหนังสามารถเก็บหนังไว้ดูนานแค่ไหนก็ได้ จนกว่าจะเช่าเรื่องใหม่ ก็ค่อยส่งหนังเรื่องเก่าที่เช่ากลับคืนไป โดย รีด เฮสติ้ง ผู้ก่อตั้ง Netflix บอกว่าเขาเริ่มธุรกิจนี้ก็เพราะเบื่อหน่ายกับการเช่าม้วน VDO หรือแผ่น DVD ที่ส่วนใหญ่จะมีกำหนดระยะเวลา และถ้าไม่ส่งคืนตรงเวลาก็จะโดนปรับ จนเขาเคยถูกร้านเช่าหนัง Blockbuster ปรับเงินเพราะไม่ส่งหนังเรื่อง Apollo 13 คืนตรงเวลาถึง 40 เหรียญฯ มาแล้ว

จนเมื่อดำเนินธุรกิจได้ 2 ปี Netflix จึงเริ่มขยายกิจการด้วยการลองเปิดให้คนเช่าหนังผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเป็นเจ้าแรก โดยมีหนังให้เลือก 925 เรื่อง ตามจำนวนแผ่น DVD หนังที่เพิ่งจะเริ่มมีจำหน่ายมาได้ไม่กี่ปีในตอนนั้น

ปฏิเสธข้อเสนอ 50 ล้านเหรียญฯ จาก Blockbuster 

Netflix เริ่มต้นจากการให้เช่าหนังเรื่องต่อเรื่อง จนเปลี่ยนเป็นการสมัครสมาชิกรายเดือน จนในปี 2000 สามารถหาสมาชิกได้ถึง 300,000 คน แต่ในแง่ธุรกิจแล้ว Netflix กลับประสบภาวะขาดทุน จนเครือร้านเช่าวิดีโอยักษ์ใหญ่ในยุคนั้นอย่าง Blockbuster ได้ยื่นข้อเสนอ 50 ล้านเหรียญฯ เพื่อซื้อ Netflix โดยทาง Blockbuster มีข้อเสนอว่าจะให้ Netflix ดูแลเรื่องงานเช่าหนังทางออนไลน์ ส่วน Blockbuster ที่มีสาขาอยู่ทั่วสหรัฐฯ จะเป็นผู้ส่งหนังให้กับลูกค้าเอง แทนที่จะแบบเดิมจะใช้การส่งผ่านไปรษณีย์ ซึ่งน่าจะลดค่าใช้จ่ายได้มาก แต่สุดท้ายทาง Netflix เลือกที่จะปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวไป

น่าเหลือเชื่อว่าในระยะเวลาอีก 10 กว่าปีต่อมา Blockbuster กลับต้องเลิกกิจการไป เพราะหมดยุคสมัยของแผ่น DVD แต่ Netflix กลับผงาดขึ้นมาเป็นยักษ์ใหญ่แห่งธุรกิจภาพยนตร์ที่ว่ากันว่ากำลังจะเปลี่ยนแปลงวงการหนังไปตลอดกาล

ครั้งหนึ่ง Netflix เคยประสบภาวะขาดทุนอย่างหนัก จนต้องให้พนักงานหลายร้อยคนออกจากงาน จนในกลางยุค 2000s Netflix ได้ตัดสินใจครั้งสำคัญ ด้วยการขยายกิจการให้เช่าหนังด้วยการให้ลูกค้าดาวน์โหลดหนังไปดูที่บ้านผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต จนกระทั่ง Youtube เริ่มประสบความสำเร็จขึ้นมา Netflix ให้ไปให้บริการเผยแพร่หนังผ่านระบบสตรีมมิงแทน และกลายเป็นจุดเปลี่ยนของธุรกิจโฮมวิดีโอมาจนถึงปัจจุบัน

เปลี่ยนวิถีการดู “ทีวี” 

ถึงปัจจุบัน Netflix มีสมาชิกถึง 125 ล้านคนใน 190 ประเทศทั่วโลก และนอกจากจะเผยแพร่หนังฮอลลีวูดรวมถึงหนังจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกแล้ว Netflix ก็ยังกลายมาเป็นผู้ผลิตเนื้อหาเจ้าสำคัญของวงการหนังไปเรียบร้อยแล้ว จากเดิมที่ Netflix ได้เข้ามาแทนที่ “ร้าน และแผ่น DVD” แต่ตอนนี้ Netflix กำลังจะกลายเป็นยิ่งกว่านั้น

ผู้บริหารเชื่อว่า Netflix จะ “กลายเป็นโทรทัศน์” ในรูปแบบใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบในปี 2025 Netflix เปลี่ยนแปลงอะไรหลาย ๆ อย่างในวงการ อย่างการนำเสนอซีรีส์จากเดิมที่จะฉายประจำทุกสัปดาห์ในเวลาเดียวกันครั้งละ 30 ถึง 60 นาที Netflix ก็เลือกที่จะปล่อยซีรีส์ออกมา “ครบทุกตอนทั้งซีซัน” ในคราวเดียว โดยไม่จำกัดระยะเวลาของตอน แล้วแต่ความสมัครใจของผู้ผลิตเอง จนทำให้ผู้สร้างสามารถยืดหยุ่นเนื้อหาของผลงานได้ตามชอบใจ ซีรีส์แต่ละเรื่องไม่ต้องมาเสียเวลากับ “ส่วนย้อนความ” เหมือนซีรีส์ที่ฉายทางโทรทัศน์ทั่ว ๆ ไป

และที่สำคัญที่สุดซีรีส์ของ Netflix ยังฉายแบบไม่ต้องมีโฆษณา ทำให้ผู้ผลิตไม่ต้องกังวลกับความกดดันในเรื่องเรตติ้ง และยังสร้างโอกาสให้ซีรีส์แต่ละเรื่องค่อย ๆ สร้างฐานผู้ชมไปเรื่อย ๆ จนช่วยไม่ให้ซีรีส์ถูก “ยกเลิก” หรือ “แคนเซิล” ง่ายเกินไปเหมือนซีรีส์ทางโทรทัศน์ด้วย

เขย่าวงการภาพยนตร์ 

นอกจากซีรีส์แล้ว Netflix ก็ยังเข้ามาเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์รายใหญ่ของโลกไปแล้วด้วย แน่นอนว่าก่อนหน้านี้สถานีโทรทัศน์เคเบิลอย่าง HBO หรือ Showtime ก็สร้างภาพยนตร์ของตัวเองด้วยเหมือนกัน แต่สิ่งที่ Netflix กลับสร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการภาพยนตร์มากกว่า เพราะ Netflix ไม่ได้เน้นสร้างหนัง “เฉพาะกลุ่ม” หรือหนังที่เหมาะสำหรับฉายทางโทรทัศน์เท่านั้น แต่ยังลงทุนระดับ 100 ล้านเหรียญฯ สร้างหนังฟอร์ม “บล็อกบาสเตอร์” เพื่อเผยแพร่ทาง Netflix โดยเฉพาะ

จาก Bright หนังแฟนตาซีของ วิล สมิธ ที่ลงทุนระดับ 90 ล้านเหรียญฯ ในปีหน้า Netfilx จะมีผลงานใหม่ของ มาร์ติน สกอร์เซซี อย่าง The Irishman ที่ได้ โรเบิร์ต เดอ เนโร, อัล ปาชิโน และ โจ เพซี กลับมาร่วมกันกันอีกครั้งออกเผยแพร่ด้วยทุนสร้างถึง 140 ล้านเหรียญฯ และด้วยชื่อชั้นของดารากับผู้กำกับก็น่าจะเป็นหนังที่ได้ลุ้นรางวัลสำคัญ ๆ ของวงการภาพยนตร์ในปีหน้าได้เลย

แต่สุดท้ายแล้ว The Irishman อาจจะไม่ได้ลุ้นรางวัลอะไรเลยก็ได้ เพราะคนในวงการเริ่มจะ “กันท่า” หนังของ Netfilx อย่างออกนอกหน้ากันมาเรื่อย ๆ

เวทีประกวดหนัง “ไม่ต้อนรับ” Netflix 

แม้แต่ “พ่อมดฮอลลีวูด” สตีเวน สปีลเบิร์ก ก็ยังแสดงความเห็นแบบตรง ๆ ว่า หนังจาก Netflix ไม่สมควรจะมีสิทธิเข้าชิงรางวัลออสการ์ เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์เหมือนหนังทั่ว ๆ ไป “เมื่อใดที่คุณเน้นไปที่การฉายทางโทรทัศน์ หนังของคุณก็คือ หนังทีวี ถ้าเป็นผลงานที่มีคุณภาพดี ก็สมควรที่จะได้ชิงรางวัลเอมมี แต่ไม่ใช่ออสการ์ ผมไม่เชื่อว่าหนังที่เข้าฉายแค่ 2-3 โรง ในระยะเวลาเพียงสัปดาห์เดียว ควรจะมีสิทธิ์เข้าชิงรางวัลของสถาบันศิลปะวิทยาการภาพยนตร์” สตีเวน สปีลเบิร์ก กล่าว

สปีลเบิร์ก เองยอมรับว่า ปัจจุบันนี้ หนังทีวี “มีคุณภาพยอดเยี่ยมกว่าที่เคยเป็นมาในประวัติศาสตร์ของวงการโทรทัศน์” โดยเฉพาะผลงานของ HBO, Netflix และ Amazon ที่เน้นเผยแพร่ผลงานทางสตรีมมิง ที่ต่างทุ่มเงิน และดึงคนทำหนังระดับแถวหน้ามาสร้างหนังเพื่อฉายให้ผู้ชมดูกันที่บ้าน แต่สปีลเบิร์ก ยังคงเชื่อว่า เราควรจะแยกหนังโรง กับหนังที่ผลิตเพื่อดูที่บ้าน ให้ออกจากกันโดยสิ้นเชิง

เมื่อปีก่อน ผลงานของผู้กำกับชาวเกาหลีใต้ บองจุนโฮ เรื่อง Okja ก็เคยถูกโห่ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ แม้หนังจะได้รับเสียงชมว่ามีคุณภาพดีก็ตาม แต่หนังเรื่องนี้ก็ถูกต่อต้าน เพราะเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ทาง Netflix เป็นหลักนั่นเอง ซึ่งคนที่เมืองคานส์ เชื่อว่าไม่ควรให้หนังทีวีมาลุ้นรางวัลในเทศกาลภาพยนตร์ใหญ่แห่งนี้ จนทำให้ในปีนี้เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ได้ตัดสินใจตัดสิทธิหนังที่เน้นฉายทาง Netflix ไม่ให้เข้าชิงรางวัลในสายประกวดของคานส์ไปเรียบร้อย ด้วยการอ้างกฎหมายของฝรั่งเศสที่กำหนดว่าสื่อที่จะเป็น “ภาพยนตร์” จะต้องไม่เผยแพร่ในรูปแบบ “โฮมเอนเตอร์เทนเมนต์” หลังเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ 36 สัปดาห์ขึ้นไป

Netflix “ฆ่า” โรงภาพยนตร์ หรือ คืออนาคตของวงการหนัง 

ปัญหาของ Netflix ในสายตาคนทำหนังจำนวนหนึ่งก็คือนโยบายที่ Netflix ยืนกรานอย่างหนักแน่นอนว่าจะเผยแพร่หนังทางช่องทางของตัวเอง “ทันที” โดยไม่ผ่านโรงภาพยนตร์ และ Netflix ก็ยืนยันว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการฉายหนัง เพื่อให้สอดคล้องกับกฎของเวทีประกวดต่าง ๆ และยังบอกว่าการตัดสินใจของคานส์นั้น “ขัดแย้งกับจิตวิญญาณของเทศกาลภาพยนตร์โดยสิ้นเชิง” 

ยังคงเป็นคำถามที่มีการถกเถียงมากมายว่าสุดท้ายแล้ว Netflix “ดีต่อวงการภาพยนตร์หรือไม่?” มีความกังวลว่า Netflix จะทำลายธุรกิจโรงภาพยตร์ คนทำหนังอย่าง คริสโตเฟอร์ โนแลน ที่ขึ้นชื่อว่าชื่นชอบการถ่ายหนังในโรงภาพยนตร์ เคยให้สัมภาษณ์ยอมรับว่า Netflix คือการปฏิวัติวงการที่น่ายกย่อง แต่เขาก็ยืนยันว่าคงจะไม่ไปทำหนังกับ Netflix เพราะไม่เห็นด้วยกับนโยบายส่งหนังตรงถึงผู้ชมโดยตรงแบบไม่ผ่านโรงภาพยนตร์ของทาง Netflix “นั่นเป็นนโยบายที่ขาดความใยดี และเป็นรูปแบบที่ไม่ได้เกื้อหนุนการฉายหนังในโรงภาพยนตร์ … คุณก็เห็นที่ Amazon ยินดีที่จะเอาหนังเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ก่อน … ระยะห่าง 90 วันระหว่างหนังฉายในโรงภาพยนตร์เป็นระบบที่สมบูรณ์แบบอยู่แล้ว”

แต่ในเวลาเดียวกับข้อมูลของ Variety กลับระบุว่าสิ่งที่มีส่วนให้ยอดขายตั๋วหนังลดลงในปัจจุบัน ไม่ได้มาจากความสำเร็จของ Netflix (และบริการประเภทเดียวกันอื่น ๆ) แต่อย่างใด แต่มาจากค่าตั๋วที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการเพิ่มโรงพิเศษประเภท IMAX และ 3D ให้มากขึ้นเกินความต้องการของคนดู … สุดท้ายแล้ว Netflix น่าจะเป็นข้อพิสูจน์ได้ดีทีเดียวว่า สำหรับคนดูในยุคปัจจุบันแล้ว “ขนาดจอ” อาจจะไม่ใช่เรื่องสำคัญอย่างที่คิด 

และไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม Netflix หรือการเผยแพร่หนังผ่านทางสตรีมมิงคือ “อนาคต” ของวงการหนังอย่างแน่นอน.

Source

]]>
1168064