ศิลปะ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 15 Mar 2023 07:17:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 การ “ประมูลงานศิลปะ” ปี 65 ทำสถิติสูงสุด สวนทาง ‘NFTs’ ยอดลดลง 94% https://positioningmag.com/1423284 Wed, 15 Mar 2023 07:08:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423284 ย้อนไปปี 2022 ตลาด ‘NFTs’ หรือ Non-fungible token กลายเป็นกระแสที่มารุ่งพุ่งแรง โดยเติบโตถึง 21,000% มีมูลค่าตลาดทะลุ 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะเทรนด์ที่หยิบงานศิลป์มาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบ NFTs อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนเพียงปีเดียวเท่านั้น ตลาด NFTs ก็ดิ่งวูบ กลับกัน ตลาดการประมูลงานศิลป์ยังคงเติบโต แม้ว่าเศรษฐกิจจะถดถอย

รายงานของ Artprice บริษัทผู้จัดประมูลงานศิลปะในฝรั่งเศส เปิดเผยว่า การประมูลงานศิลปะในปี 2023 ทำสถิติสูงสุด โดยมีงานศิลปะ กว่าล้านชิ้นถูกนำออกประมูลเป็นครั้งแรก ในปีที่ผ่านมา แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะซบเซาก็ตาม กลับกันในตลาด NFTs ที่ใช้แสดงถึงความเป็นเจ้าของในงานศิลปะดิจิทัล กลับมียอดขาย ลดลง 94% เหลือ 13.9 ล้านดอลลาร์

ในงานศิลปะจำนวนกว่า 1 ล้านชิ้นที่ถูกประมูล สามารถประมูลได้ถึง 704,747 ชิ้น โดยมี 6 ชิ้น ที่ปิดประมูลไปในมูลค่าเกิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3,500 ล้านบาท) โดยงานศิลปะที่ได้รับการตอบรับดีที่สุดคือ ภาพวาด

“ปัญหาเศรษฐกิจของโลกไม่มีผลกระทบต่อตลาดการประมูลงานศิลปะ และแน่นอนว่าสำหรับผลงานชิ้นเอกของประวัติศาสตร์ศิลปะปี 2022 มีการแข่งขันที่เข้มข้นกว่าที่เคยเป็นมา”

แม้จะมีจำนวนชิ้นในการประมูลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่รายได้จากการประมูลงานศิลปะทั่วโลกลดลงเล็กน้อยจาก 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์เหลือ 1.65 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเกิดจากการชะลอตัวของตลาดจีน ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของ COVID-19

ส่วนยอดขายในตลาด นิวยอร์ก เติบโตขึ้น 1.5 พันล้านดอลลาร์ จากยอดขายผลงานชิ้นเอกหลายชิ้นจากคอลเล็กชั่นส่วนตัวของ Paul Allen ผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft เช่น Cezanne, Van Gogh และ Monet นอกจากนี้ ภาพเหมือนของ มาริลีน มอนโร เซ็กซ์ซิมโบลระดับตำนานของวงการฮอลลีวูดที่วาดโดย Andy Warhol  สามารถปิดประมูลไปที่ 195 ล้านเหรียญสหรัฐ และถือเป็นผลงานศิลปะของชาวอเมริกันที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประวัติการณ์

ขณะที่ผลงานของ ปิกัสโซ ยังคงเป็นศิลปินที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ผลงานของเขาสร้างรายได้ 494 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

“เมื่อ 20 ปีที่แล้ว การขายงานศิลปะต้องใช้เวลาหลายเดือน วันนี้ขายได้ภายในไม่กี่วัน” เธียร์รี เออร์มันน์ หัวหน้าของ Artprice กล่าว

ในส่วนของตลาด NFTs แม้จำนวนจะเพิ่มขึ้นจาก 284 เป็น 373 รายการ แต่ผลงานส่วนใหญ่ถูกซื้อในราคาที่ ต่ำกว่า 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยสาเหตุที่ NFTs ไม่ได้รับความนิยมส่วนหนึ่งเป็นเพราะตลาดคริปโตฯ ที่มีปัญหา

อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้ว ตลาดศิลปะยังคงถูกขับเคลื่อนโดยตลาด สหรัฐอเมริกา จีน และอังกฤษ ซึ่งรวมกันแล้วคิดเป็น 81% ของยอดขายทั่วโลก โดยสหรัฐอเมริกากลับมาครองตำแหน่งสูงสุดด้วยมูลค่า 7.34 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็น 44% ของตลาดทั้งหมด

]]>
1423284
“ญี่ปุ่น” เปิดโซนปลอดภาษีหวังเป็น “ฮับซื้อขายงานศิลปะ” ชิงตำแหน่งจาก “ฮ่องกง” https://positioningmag.com/1330204 Fri, 30 Apr 2021 16:07:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330204 ญี่ปุ่นหวังขึ้นแท่น “ฮับซื้อขายงานศิลปะ” แห่งเอเชีย จากนโยบายเปิดพื้นที่ปลอดภาษีสำหรับงานแฟร์และประมูลงานศิลป์ ช่วงชิงตำแหน่งจาก “ฮ่องกง” ที่ขณะนี้สั่นคลอนด้วยนโยบาย “จีนเดียว” ซึ่งอาจปิดกั้นการสร้างสรรค์ศิลปะเสรี

รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพยายามขึ้นแทนที่ฮ่องกงในการเป็นตลาดงานศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งภูมิภาคเอเชีย และเป็นหนึ่งในฮับระดับสากลควบคู่กับฮับแห่งโลกตะวันตก 2 แห่ง คือ ลอนดอน และ นิวยอร์ก หลังจากเกาะฮ่องกงถูกสั่นคลอนตำแหน่งจากกฎหมายความมั่นคงที่เข้ามาดิสรัปต์การสร้างสรรค์ผลงานอย่างเสรี

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นปรับข้อบังคับกฎหมายใหม่ อนุญาตให้แกลเลอรีศิลปะ การประมูลศิลปะ และงานนิทรรศการศิลปะที่จัดขึ้นในเขตศุลกากร สามารถนำงานศิลป์เข้าสู่ประเทศได้โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าและค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งปกติภาษีก้อนนี้อาจคิดเป็นมูลค่าหลายล้านดอลลาร์สำหรับงานที่มีมูลค่าสูงมาก ภาษีนำเข้าจะถูกคิดก็ต่อเมื่องานชิ้นนั้นถูกซื้อและนำเข้ามาในญี่ปุ่น พ้นจากฟรีเทรดโซนดังกล่าว

ก่อนหน้านี้ ดีลเลอร์ศิลปะจะต้องจ่ายภาษีสูงมากเมื่อนำเข้างานศิลป์จากต่างประเทศมาขาย ประมูล หรือจัดแสดงในญี่ปุ่น เมื่อภาษีก้อนนี้ถูกยกเว้นให้ในเขตฟรีเทรดโซน รัฐบาลญี่ปุ่นหวังว่าจะกระตุ้นให้แกลเลอรีทั่วโลกพิจารณานำงานมาจัดในญี่ปุ่นมากขึ้น

 

ชิงส่วนแบ่งตลาดมูลค่าสูง

ข้อมูลจาก Art Basel และรายงานของ UBS Global Art Market ระบุว่า มูลค่าการซื้อขายศิลปะและของเก่าทั่วโลกมีมูลค่ารวมกัน 5.01 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.56 ล้านล้านบาท) ในปี 2020 ซึ่งลดลง 22% จากปี 2019 เนื่องจากโรคระบาด COVID-19

20% ในยอดขายจำนวนนี้มาจาก “จีนแผ่นดินใหญ่” จากกลุ่มนักสะสมผู้ร่ำรวยชาวจีนซึ่งมักจะเข้าไปซื้อขายศิลปะที่ฮ่องกง สถานที่จัดงาน Art Basel งานแฟร์ศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก

งาน Art Basel ในฮ่องกง (Photo : Art Basel)

ขณะที่ Art Tokyo ออร์กาไนเซอร์งานแฟร์ของญี่ปุ่น ประเมินว่าตลาดซื้อขายศิลปะภายในญี่ปุ่นมีมูลค่า 2.17 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6.76 หมื่นล้านบาท) เมื่อปี 2020 ซึ่งคิดเป็นเพียง 4% ของตลาดซื้อขายศิลปะทั้งโลก

อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นมีศักยภาพมากที่จะขึ้นเป็นฮับศิลปะ เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเศรษฐีนักสะสมศิลปะมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 31.9 ล้านคนเข้ามาเมื่อปี 2019

 

ฮับดึงเศรษฐีนักสะสมแข่งกับ ‘ฮ่องกง’

Nikkei Asia รายงานข้อมูลจากคนในแวดวงตลาดศิลปะว่า ปกติผู้เข้าร่วมงาน Art Basel ที่ฮ่องกงมักจะแวะพักที่โตเกียวและเมืองอื่นๆ ในญี่ปุ่นเพื่อท่องเที่ยวก่อนจะกลับประเทศอยู่แล้ว นั่นหมายความว่า ประเทศญี่ปุ่นมีโอกาสมากที่จะดึงคนจากชุมชนศิลปะให้เข้ามาซื้อขายและท่องเที่ยวไปในตัว

อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันฮ่องกงถูกสั่นสะเทือนด้วยนโยบายจีนเดียวซึ่งทำให้งานศิลปะอาจถูกปิดกั้นการแสดงออกไปด้วย แต่การจะชิงตำแหน่งจากฮ่องกงมาก็ไม่ง่ายนัก

Mori Digital Art Museum (Photo : Shutterstock)

“ความเปลี่ยนแปลงในญี่ปุ่นจะสร้างความตื่นเต้นอย่างมาก และจะดึงการสนองตอบจากโลกแห่งศิลปะตลอดจนกลุ่มนักสะสม” มาร์ค กลิมเชอร์ ประธานบริหาร Pace Gallery หนึ่งในแกลเลอรีขนาดใหญ่ในนิวยอร์ก ให้สัมภาษณ์กับ Nikkei Asia

แต่เขากล่าวเสริมด้วยว่า “เรามีฐานที่มั่นคงมากในฮ่องกง และเป็นที่ที่ทำให้เราได้สร้างสัมพันธ์กับคนจำนวนมากจากทั่วภูมิภาคนี้ ยากมากที่จะแข่งขันกับสถานที่ที่เป็นประตูทางผ่านแบบฮ่องกง”

“คัตสึระ ยามางุจิ” หัวหน้าฝ่ายธุรกิจในญี่ปุ่นจากโรงประมูล Christie’s มองว่า ความเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้เกิดงานแฟร์ศิลปะต่างประเทศขึ้นในญี่ปุ่น

“อำนวยความสะดวกการซื้อขายด้วยการปลดภาระภาษีเป็นสิ่งที่มีความหมายมาก แต่เรื่องสำคัญอย่างแรกคือ ต้องสร้างรากฐานศิลปะให้กับประเทศ” ยามางุจิกล่าว “ตัวอย่างเช่น เปิดพิพิธภัณฑ์ระดับโลก เหมือนอย่างเมืองบิลเบาในสเปนมีกุกเกนไฮม์ ซึ่งไม่เพียงแต่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ แต่ยังเป็นแหล่งรวมคนในแวดวงศิลปะด้วย”

Source

]]>
1330204
คุยกับ I Found Something Good มัลติแบรนด์กิฟต์ช็อป รันวงการ ‘สติกเกอร์’ นักวาดไทย https://positioningmag.com/1320454 Tue, 23 Feb 2021 12:20:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320454 ภาพของวัยรุ่น ‘ต่อคิวยาว’ เพื่อรอซื้อ ‘สติกเกอร์’ ของนักวาดคนไทย สร้างความเเปลกใจให้ผู้ที่เดินผ่านไปมาไม่น้อย สะท้อนความนิยมของตลาดได้เป็นอย่างดี

ย่างเข้าปีที่ 2 กับการเดินทางของ ‘I Found Something Good’ ร้านมัลติแบรนด์ที่รวบรวมผลงานศิลปะน่ารักกุ๊กกิ๊ก ที่เข้าไปเเล้วต้องได้ของออกมาสักชิ้น เเม้จะเริ่มทำธุรกิจมาได้ไม่นาน เเต่กลับต้องเจอกับความท้าทายครั้งใหญ่อย่าง COVID-19

จาก ‘ความชอบ’ สู่ ‘ธุรกิจทำเงิน’ ของ 4 สาวเพื่อนซี้ วัย 24-25 ปี ผู้ร่วมก่อตั้งที่หลงใหลในงานศิลปะ อย่าง เบลล์-อริยา สภานุรัตนา , นัตโตะ-ณัฐวดี กาญจนโกมล, โรล-นดี จรรยาประเสริฐ และ ร็อค-นดา จรรยาประเสริฐ

วันนี้เติบโตขึ้นไปอีกขั้น พร้อมหาโอกาสใหม่ ขยายสาขาจากสยามสเเควร์ สู่ศูนย์การค้าใหญ่ชานเมือง เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าให้กว้างกว่า ‘วัยรุ่น’

Positioning จะพามารู้จัก ‘I Found Something Good’ เสพงานศิลป์ให้เป็นไลฟ์สไตล์…ให้มากขึ้นกัน 

โอกาสธุรกิจจาก ‘ความชอบ’

I Found Something Good เกิดขึ้นจากความสนใจเเละชอบสะสมงานศิลปะของทั้ง 4 คน เวลาที่พวกเขาไปงาน Art Market ก็มักจะคิดเสมอว่า อยากให้มีร้านที่สามารถเเวะมาซื้อของเหล่านี้ได้ตลอด สร้าง community เล็กๆ เพื่อเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ซึ่ง ณ ตอนนั้นกระเเสงาน Art Market ในไทยก็เพิ่งเริ่มบูมมาได้ราว 1-2 ปีเท่านั้น 

หลังเรียนจบมหาวิทยาลัย ในช่วงปลายปี 2019 เริ่มคิดหาสิ่งที่ตัวเองอยากทำจริงๆ เดิมที ‘เบลล์’ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง ได้เปิดร้านขายสติกเกอร์น่ารักๆ ทางออนไลน์อยู่เเล้ว จึงได้มาพูดคุยกัน เเละเห็นตรงกันว่า 

“ทุกวันนี้เมืองไทยมีนักวาด นักศิลปะรุ่นใหม่เยอะมาก ความสามารถสูงไม่เเพ้ต่างชาติ เเต่ส่วนใหญ่กระจายตัวกันตามโซเชียลมีเดียต่างๆ อย่าง ทวิตเตอร์ เราจึงเห็นโอกาสที่จะเปิดพื้นที่ให้พวกเขาได้มาโชว์ผลงาน”

อย่างในญี่ปุ่นจะมีร้านรวมงานศิลปะเยอะ เเต่ในไทยไม่ค่อยมีเเละหายากมาก ส่วนใหญ่จะเป็นงานของต่างชาติที่นำเข้ามา 

“ตอนนั้นในตลาดเเทบจะไม่มีร้านมัลติเเบรนด์ที่รวบรวมของคนไทยเลย เป็นช่องว่างธุรกิจที่เราเห็นว่าน่าจะโตไปได้ พร้อมไปกับการได้ช่วยขับเคลื่อนวงการนี้ด้วย” 

คนรุ่นใหม่ เสพศิลปะที่ ‘จับต้องได้’ 

พอตกลงกันได้ ก็เริ่มลงมือทำทันที…ไม่รอรีให้เสียเวลา โดยทั้ง 4 คนลงขันกันเพื่อเปิดสาขาเเรก ด้วยเงินราว 4-5 เเสนบาท จากเงินเก็บสะสมของทุกคน เเละบางส่วนจากการสนับสนุนจากครอบครัว ซึ่งยอมรับว่าต้อง ‘อธิบาย’ เกี่ยวกับธุรกิจนี้ให้ผู้ใหญ่เข้าใจกันเยอะทีเดียว 

ชื่อของ I Found Something Good มีความหมายถึงการพบเจอสิ่งที่ดีๆ เเละอยากเเบ่งปันให้ผู้อื่น เปิดตัวมาด้วยการเป็นร้านเล็กๆ ในย่านวัยรุ่น อย่างสยามสเเควร์ 

โดยเริ่มหาผลงานของศิลปินเเละเหล่านักวาดไทย จากกลุ่มเพื่อนที่รู้จักกัน ช่วงเเรกๆ ต้องอาศัย ‘ความเชื่อใจ’ กันมาก เพราะที่ร้านยังไม่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจ

หลังเปิดร้านได้ไม่นาน ก็ได้รับเสียงตอบรับ ‘ดีเกินคาด’ ทำให้มองเห็นโอกาสอื่นๆ ที่จะนำมาต่อยอดไปได้อีก 

“สมัยก่อน เมื่อพูดถึงงาน Craft หรือ Art คนทั่วไปมักจะมองว่าต้องเป็นงานศิลปะยิ่งใหญ่ เป็นภาพวาดอลังการ เเต่เด็กๆ รุ่นนี้เสพงานศิลปะที่หลากหลายเเละเปิดกว้างมากขึ้น เน้นจับต้องได้จริงเเละใช้ในชีวิตประจำวันได้ กลายเป็นหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของพวกเขา” 

สร้าง community รวมพลคนชอบ ‘สติกเกอร์’ 

เมื่อคนซื้ออยู่ในโลกออนไลน์ ก็ต้องโปรโมตผ่านโลกออนไลน์ I Found Something Good เลือกทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียเพื่อเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่าง ‘ทวิตเตอร์’ เพื่อโปรโมตร้าน 

โดยได้เเรงสนับสนุนจากศิลปิน-นักวาดที่มี ‘ฐานเเฟนคลับ’ อยู่เเล้ว ช่วยเเชร์เเละกระจายข่าว ค่อยๆ สร้าง community พูดคุยรวมกลุ่มคนที่ชอบเหมือนกันขึ้นมา ทำให้ร้านเป็นที่รู้จักได้รวดเร็ว มีคนต่อคิวซื้อเเถวยาวเหยียด

จากร้านเล็กๆ ห้องเดียว ตัดสินใจย้ายร้านขึ้นมาอยู่ชั้น 3 สยามสแควร์วัน เพื่อรองรับการเติบโต จากเริ่มเเรกกลุ่มลูกค้าหลักจะเป็นนักเรียนมัธยม จากนั้นขยับมาเป็นกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย รวมถึงผู้ใหญ่วัยทำงานที่เข้ามามากขึ้น ปรับทาร์เก็ตให้เป็นผู้คนทุกช่วงวัย 

ทุกวันนี้ I Found Something Good เปิดให้บริการมาราว 2 ปี นับว่าเป็นร้าน ‘มัลติเเบรนด์’ ที่รวมงานสติกเกอร์ของคนไทยรายเเรกๆ โดยมีสินค้าในร้านกว่า 200 เเบรนด์ จำนวนมากกว่า 1 หมื่นชิ้น 

“พวกเรามองว่านี่เป็นเเค่ก้าวเเรกเท่านั้น ถ้าถามว่าสำเร็จเเล้วหรือยัง ก็ต้องบอกว่ายังไม่ถึงจุดวางไว้ เพราะยังต้องไปต่อได้อีกเยอะ ลึกๆ รู้สึก ‘ดีใจมาก’ ที่ได้เป็นจุดเล็กๆ ที่ได้ช่วยให้ศิลปินได้เติบโต สร้าง community เเละไลฟ์สไตล์ให้คนรุ่นใหม่ เป็นกำลังใจให้พวกเราได้สู้ต่อ” 

ปัจจุบัน มีศิลปินที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ I Found Something Good ราว 200 คนทั่วประเทศ โดยยังมีแผนขยายความร่วมมือไปเรื่อยๆ นักวาดคนไหนสนใจก็ติดต่อมาได้

พลิก ‘ขายออนไลน์’ พยุงรายได้ช่วง COVID-19 

เมื่อมองย้อนไปยังจุดเริ่มต้น ทุกคนยังไม่มีความรู้พื้นฐานธุรกิจ อีกทั้งยังอายุน้อย การ ‘ดีลงาน’ ก็ถือว่าเป็น ‘งานยาก’ ต้องเรียนรู้กันใหม่ โดยอาศัยการปรึกษาพ่อเเม่ ปรึกษาผู้รู้ทำธุรกิจมาก่อน เเละปรึกษากันเอง ค่อยๆ ทำเป็นระบบร้านขึ้นมา 

เเต่หลังเปิดร้านมาได้เพียง 5 เดือน ก็เจอมรุสมครั้งใหญ่ที่กระทบธุรกิจทั่วโลกอย่าง COVID-19 เเต่ในอีกมุมก็ทำให้เหล่านักธุรกิจรุ่นใหม่ ได้เรียนรู้การก้าวผ่านอุปสรรค นั่นก็คือ การปรับตัวเพื่อรับมือกับ ‘วิกฤต’ 

“โชคดีที่ตอนนั้น เราเริ่มคุยกันว่าจะขยับไปทำเว็บไซต์เเละขายผ่านออนไลน์กันมากขึ้น ในวันที่ทางการประกาศล็อกดาวน์ ตรงกับวันเเรกที่เราเปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ เมื่อต้องปิดร้านชั่วคราว เเต่เรายังสามารถขายของได้” 

อย่างไรก็ตาม ในส่วนรายได้ ที่ ‘เคยได้’ ยอมรับว่าหายไปพอสมควร เพราะรายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายหน้าร้าน เเต่ก็ถือว่าได้หาช่องทางพยุงรายได้ ไม่ได้ขาดช่วงเเละช่วยซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายได้ 

สำหรับช่องทางการขายในปัจจุบัน ลูกค้าส่วนใหญ่ยังเป็นหน้าร้าน เนื่องจากมีจุดเด่นอยู่ที่ ‘การได้เห็นของจริง’ เพราะสติกเกอร์เเต่ละชิ้น จะมีรายละเอียดที่เเตกต่างกันออกไป อย่างเช่น บางอันมีลวดลายที่มีมิติ กันน้ำได้หรือไม่ได้ เป็นต้น 

ช่วงที่ขายดีที่สุดคือช่วงเทศกาลเเละวันหยุดยาว ส่วนเวลาที่ขายดีในเเต่ละวัน จะเป็นช่วงเย็นๆ หลังเลิกเรียน โดยสินค้าที่ขายดีที่สุด ได้เเก่ สติกเกอร์ , โปสการ์ด , พวงกุญเเจ เเละเทียนหอม 

จากเริ่มต้นที่ต้องทำทุกอย่าง ทุกหน้าที่ เเละมีทีมที่เป็นญาติมาช่วยอีกเเค่ 2 คน มาตอนนี้บริษัทขยายทีมงานให้ใหญ่ขึ้น มีออฟฟิศเเละจ้างพนักงานดูเเลหน้าร้าน มีผู้จัดการสาขา เเละเเอดมินคอยตอบลูกค้า รวมทั้งหมด 10 คน มีการเเบ่งหน้าที่การรับผิดชอบกันเเน่ชัด สื่อสารกันตลอดเวลา 

ขยายฐานลูกค้า ให้เข้าถึง ‘ผู้ใหญ่’

จุดเด่นของ I Found Something Good  อันดับหนึ่งคือการเป็น ‘Local Brand’ ที่มีผลงานศิลปะฝีมือคนไทย 100% รองลงมาคือ ‘ราคาที่จับต้องได้’ เด็กๆ สามารถซื้อได้ในราคา ‘หลักสิบหลักร้อย’  สินค้ามีความหลากหลาย โดยมีการใช้จ่ายเฉลี่ยราว 150-200 บาทต่อคน 

ตามมาด้วย ‘บรรยากาศของร้าน’ เมื่อมาเจอลูกค้าได้มาเจอคนที่ชอบในสิ่งเดียวกัน จึงมีความที่อยากซื้อไว้สะสมมากขึ้น รู้สึกเป็นพื้นที่ของเขา เป็น comfort zone ที่เดินดูของได้นานๆ

จากสาขาเเรกในสยามสเเควร์วัน ย่านวัยรุ่น สู่การขยายสาขามาที่ ‘เมกาบางนา’ ศูนย์การค้าใหญ่ชานเมืองที่ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทุกช่วงวัย เพื่อเจาะกลุ่มครอบครัวเเละวัยทำงาน 

โดยเหตุผลที่เลือก ‘เปิดสาขาใหม่’ ที่เมกาบางนา เพราะมองว่าเป็นศูนย์การค้าที่มีทราฟฟิกเยอะ บรรยากาศทันสมัย มีลูกค้าทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ มาเป็นครอบครัวเเละกลุ่มเพื่อน อีกทั้งเมกาบางนายังมีการเติบโตต่อเนื่อง เเม้จะอยู่ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 

เมื่อถามว่า ทำไมจึงเลือกขยายสาขาในช่วงเวลานี้ เจ้าของร้าน I Found Something Good บอกว่าเป็นหนึ่งในแผนที่จะทำอยู่เเล้วในช่วงสิ้นปี 2020 โดยคิดไว้ว่าโรคระบาดน่าจะซาลงเเล้ว เเต่เมื่อต้องมาเจอ COVID-19 ระลอกใหม่ จึงต้องสู้กันใหม่ หาวิธีปรับตัวกันอีก เเต่ครั้งนี้มองว่าจะรับมือ ‘ได้ดีกว่าเดิม’ เพราะผ่านประสบการณ์เเบบนี้มาเเล้ว 

กลยุทธ์หลักๆ ของปีนี้ หลังขยายสาขาที่ 2 เรียบร้อยเเล้ว จึงจะเป็นการสร้าง ‘ระบบหลังบ้าน’ ให้เเข็งเเรง เรียกได้ว่า ‘กลับมาอยู่กับตัวเองมากขึ้น’ ทำความเข้าใจปัญหาที่มีเเละเตรียมตัวต่อยอดธุรกิจต่อไป 

‘ให้คุณค่า’ คือคีย์หลักของวงการ ‘สติกเกอร์’ ไทย

หลังจากที่อยู่ในวงการสติกเกอร์ไทยนาน  มองว่าปัญหาใหญ่ๆ ที่ต้องผลักดันคือเรื่อง ‘การให้คุณค่างานศิลปะ’ เพราะหลายคนยังตั้งคำถามว่า ทำไมราคาเท่านี้ อยากให้มองว่ากว่าจะสร้างสรรค์ผลงานออกมา 1 ชิ้น มันมี ‘ต้นทุน’ มากกว่าค่ากระดาษเเละค่าหมึกพิมพ์ ทั้งการฝึกฝน ทักษะเเละการเล่าเรียนต่างๆ ที่ต้องใช้เวลานานหลายปี 

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงปัญหาเรื่อง ‘ซัพพลายเออร์’ ที่มีในท้องตลาดจำนวนน้อย เวลาผลิตสติกเกอร์จึงไม่ค่อยมีความหลากหลายของวัตถุดิบ เนื้อสติกเกอร์ยังมีให้เลือกค่อนข้างจำกัด 

เหล่านี้เป็นปัญหาที่สอดคล้องกันว่า ถ้าสังคมให้ความสำคัญกับงานศิลปะมากขึ้น บรรดาซัพพลายเออร์ก็จะพัฒนาสินค้าให้มีมากขึ้นตามไปด้วย หาอะไรใหม่ๆ มาสู้กันบ้าง ซึ่งตอนนี้ก็มองว่าตลาดนี้เริ่มดีขึ้น มีการนำของใหม่ๆ มาให้ศิลปินมาลองใช้กัน เเต่ก็ยังถือว่าน้อย เมื่อเทียบกับประเทศที่ให้การสนับสนุนด้านงานวาดการ์ตูนอย่างญี่ปุ่น 

ส่วนปัญหาเรื่อง ‘ลิขสิทธิ์’ ทางร้านก็พยายามคัดสรรสินค้าไม่เหมือนกัน ไม่นำของละเมิดลิขสิทธิ์เข้ามาขาย โดยมีการพูดคุยข้อตกลงกับศิลปินที่เป็นพาร์ตเนอร์ด้วยอย่างจริงจัง  

“ไม่อยากให้มองว่าวงการสติกเกอร์ เป็นเเค่เทรนด์หรือกระเเสที่เกิดขึ้นชั่วคราว เเต่ให้มองว่าเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราจริงๆ เป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ผู้คนนำมาปรับใช้ ทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นในทุกๆ วัน” 

โดยปัจจุบัน มีทั้งการนำ ‘สติกเกอร์’ ไปตกเเต่งห้อง ตกเเต่งของใช้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เเละเครื่องเขียนต่างๆ นำไปใช้ตอนจดตารางการทำงาน จดสรุปการเรียน ช่วยให้มีกำลังใจในการอ่านหนังสือมากขึ้น ฯลฯ 

คงความเป็นตัวตน มีทีมเวิร์กเเละใส่ใจลูกค้า 

สำหรับการเเข่งขันในตลาด มองว่ามีความท้าทาย เพราะมีร้านลักษณะคล้ายกันมาเปิดมากขึ้น จากเดิมที่เคยเป็นเจ้าเเรกๆ จึงทำให้ต้องเร่งพัฒนาให้ไม่หยุดนิ่ง 

“ถ้าถามว่าจะให้ขยายสาขาไปเยอะๆ เลยเราก็ทำได้ เเต่จะไม่ได้บรรยากาศเเบบที่เราต้องการ เพราะมันจะดูเป็นธุรกิจจ๋าเกินไป จึงจะพยายามคงความเป็นตัวตนของเรา ไปพร้อมๆ กับการเติบโตที่มากขึ้น” 

หลักการทำงานที่สำคัญที่สุด ที่ทั้ง 4 คนยึดถือ นั่นก็คือ ‘ทีมเวิร์ก’ เพราะไม่มีทางที่คนคนหนึ่งจะทำงานทุกอย่างได้ตั้งเเต่ต้นยันจบ การมีทีมที่ดีทำให้เราทำสิ่งที่คิดให้เกิดขึ้นจริงได้ เเละโตไปได้ด้วยประสิทธิภาพที่มากกว่า 

ต่อมาคือ ‘การดูเเลพนักงาน’ เเม้ว่าเราจะอายุยังน้อย เเต่เมื่อพนักงานในบริษัทเเล้ว ก็ต้องให้สวัสดิการที่ดี สร้างบรรยากาศการทำงานให้พูดคุยกันได้ อาศัยการไว้ใจจากคนทำงาน สบายใจเเละเปิดใจกับเรา 

‘ความพึงพอใจของลูกค้า’ คือสิ่งสำคัญโดยจะมีเช็กฟีดเเบ็กลูกค้าตลอด มีปัญหาอะไรก็เข้าไปเเก้ทันที  ขณะที่การดูเเลศิลปินนั้น จะมีการช่วยโปรโมตผลงานให้อย่างต่อเนื่อง หาโปรโมชันทำร่วมกับศิลปิน เพื่อส่งเสริมการขายให้กันเเละกัน 

เเม้จะเต็มไปด้วยพลังที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เเต่ทุกการทำงานต้องมี ‘ความเหนื่อย’ อย่างตอนที่เช็กสินค้าในสต๊อกไม่ทัน ต้องอดหลับอดนอน เเละมีช่วงที่เเพชชั่นมันลดลง เเต่พอมาเจอลูกค้าหรือได้รับฟีดเเบ็กดีๆ ก็มีส่วนช่วยได้เยอะ 

ส่วนมุมมองของการทำ ‘ธุรกิจกับเพื่อน’ นั้น ทั้ง 4 คนมองไปในทิศทางเดียวกันว่า เป็นความสัมพันธ์ที่มากกว่าการทำงาน ไม่ได้มองว่าเป็นเเค่เพื่อนร่วมงาน เเต่เป็นเพื่อนร่วมชีวิต ฟังความคิดเห็นกันเเละพยายามหาโซลูชันที่พอใจกันทุกฝ่าย 

สุดท้าย I Found Something Good ฝากเเนะนำถึง ผู้ประกอบการรุ่นใหม่’ ที่อยากจะลองทำธุรกิจว่า ถ้าตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มจากอะไร ให้สังเกตความชอบของตัวเองดีๆ เพราะการทำธุรกิจต้องใช้ชีวิตอยู่กับมันจริงๆ ทำงานตลอดเวลา ต้องทุ่มเทเเละวางเป้าหมายให้เเน่ชัด การเลือกพาร์ตเนอร์ที่ไว้ใจได้เป็นสิ่งสำคัญ หาความรู้เกี่ยวกับธุรกิจทั่วไปเเละเฉพาะธุรกิจของเรา ลงมือทำจริง เเละตั้งมั่นว่าจะ ‘ไม่ถอยกลางทาง’ 

 

]]>
1320454
ศิลปะทำเงิน! ผู้ชนะประมูลยอมจ่าย “2.9 ล้านบาท” เพื่อชม “โมนาลิซ่า” แบบไร้กระจกกั้น https://positioningmag.com/1311078 Fri, 18 Dec 2020 05:04:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311078 พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ เปิดประมูล “โอกาสเข้าชมภาพ ‘โมนาลิซ่า’ อย่างใกล้ชิด” ร่วมกับโรงประมูล Christie’s โดยผู้ชนะประมูลยอมจ่ายราคาสูงถึง 98,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.92 ล้านบาท) เพื่อโอกาสแบบครั้งเดียวในชีวิตนี้ เพราะปกติแล้วภาพโมนาลิซ่าจะถูกเก็บรักษาอย่างดี ผู้ชมต้องชมผ่านห้องกระจกเท่านั้น

เป็นคุณจะยอมจ่ายสูงแค่ไหนเพื่อเข้าชมภาพในตำนานของศิลปินดัง ลีโอนาร์โด ดาวินชี ? คำตอบของคนที่ชนะประมูลคือการจ่ายสูงถึงหลักล้านบาท! พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ประเทศฝรั่งเศส และโรงประมูล Christie’s เพิ่งประกาศผลผู้ชนะประมูล “โอกาสเข้าชมภาพ ‘โมนาลิซ่า’ อย่างใกล้ชิด” ที่ราคาสูงถึง 98,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.92 ล้านบาท)

ตัวเลขดังกล่าวเป็นราคาที่สูงกว่าคาดอย่างมาก โดยโรงประมูล Christie’s ประมาณการณ์ว่าการประมูลจะจบลงที่ตัวเลขระหว่าง 12,000-37,000 เหรียญสหรัฐ

ปกติแล้วภาพโมนาลิซ่าจะถูกเก็บไว้ในห้องกระจกกันกระสุนและควบคุมอุณหภูมิ ผู้เข้าชมจะต้องชมด้วยระยะห่างพร้อมกับผู้ชมท่านอื่น โดยแต่ละวันมีแขกเข้าชมภาพโมนาลิซ่าถึงกว่า 30,000 คนต่อวัน (ในช่วงก่อนเกิดโรคระบาด COVID-19)

ผู้ชนะประมูลและแขกของผู้ชนะจะมีโอกาสชมภาพโมนาลิซ่าอย่างใกล้ชิดในพิธีการตรวจสอบภาพ (check-up)  ประจำปี เป็นโอกาสเพียงปีละครั้งที่ปกติแล้วพิพิธภัณฑ์จะเชิญเฉพาะประมุขของรัฐต่างๆ เข้าชมเท่านั้น

พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ฝรั่งเศส ดึงดูดนักท่องเที่ยวในปี 2019 ถึง 10 ล้านคน แต่หลังเกิดโรคระบาด COVID-19 ทำให้ต้องปิดทำการชั่วคราวรวม 5 เดือน (Photo : Pixabay)

นอกจากภาพโมนาลิซ่าแล้ว พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ยังเปิดประมูลโอกาสแบบเดียวกันนี้กับชิ้นงานศิลปะเด่นๆ อีกหลายสิบชิ้น เช่น ภาพเขียนสีน้ำมันปี 1962 ของปิแอร์ ซูลาจส์ ศิลปินฝรั่งเศส หรือนาฬิกาขึ้นชื่อของ วาเชอรอน คอนสแตนติน รวมถึงมีแพ็กเกจ “ทัวร์ส่วนตัวในพิพิธภัณฑ์” โดยจะมี ฌอง ลุค มาร์ติเนซ ประธานพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์พาชมด้วยตนเอง แพ็กเกจนี้ทำราคาได้ถึง 46,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.37 ล้านบาท)

กิจกรรมการประมูลที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเหล่านี้ จำเป็นต้องทำเพื่อรักษาสถานะการเงินของลูฟวร์ไว้ ปกติแล้วลูฟวร์จะมีนักท่องเที่ยวมาเยือนถึงปีละ 10 ล้านคน แต่ปีนี้เกิดโรคระบาด COVID-19 ทำให้พิพิธภัณฑ์ต้องปิดทำการรวม 5 เดือน และบัดนี้ก็ยังไม่สามารถรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้เช่นเคย

มาร์ติเนซ ประธานพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ กล่าวว่า ปีนี้พิพิธภัณฑ์อาจต้องเสียรายได้ไปถึง 90 ล้านยูโร ทำให้การประมูลโอกาสเข้าชมต่างๆ เหล่านี้มีความจำเป็น เพื่อรักษาชิ้นงานศิลปะอันประเมินค่ามิได้ภายในพระราชวังเก่าอายุ 800 ปีแห่งนี้เอาไว้

Source: Forbes, Dailymail UK

]]>
1311078
ภาพจากสถานที่จริง! โรงแรมคอนเซ็ปต์แหวกแนวในสวิส ไร้ผนัง-เพดาน ชมวิว 360 องศา https://positioningmag.com/1282303 Fri, 05 Jun 2020 11:37:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282303 ตากลมห่มฟ้า นอนจ้องตากับแสงดาว บนเตียงของโรงแรม Zero Real Estate ในสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ ถึงจะบอกว่าเป็นโรงแรม แต่มีเตียงเพียงเตียงเดียวเท่านั้น และไม่มีผนัง ไม่มีเพดาน ให้คุณอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอย่างแท้จริง

โครงการ Zero Real Estate กระจายทำเลวางเตียงนอนไร้ผนัง ไร้เพดาน ในมุมสวยสะกดใจใน 6 จุดทางตะวันออกของสวิตเซอร์แลนด์ (Toggenburg, Heidiland, St. Gallen-Bodensee, Appenzellerland AR, Thurgau Bodensee, Schaffhauserland) และอีก 1 จุดในประเทศลิกเตนสไตน์

รวมทั้งหมด 7 จุดที่แขกผู้เข้าพักจะได้เพลิดเพลินไปกับวิวทิวทัศน์ธรรมชาติ และอากาศบริสุทธิ์สดใสในช่วงฤดูร้อนของสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมมี “บัตเลอร์” คอยบริการและเสิร์ฟอาหารเช้าถึงเตียงนอน สนนราคาค่าที่พักเริ่มต้น 295 ฟรังก์สวิสต่อคืน (ประมาณ 9,700 บาท) เข้าพักได้ 2 ท่าน

Princes Suite จาก Zero Real Estate ตั้งอยู่กลางไร่องุ่นในลิกเตนสไตน์ พร้อมชมวิว 3 ประเทศ ลิกเตนสไตน์-สวิตเซอร์แลนด์-ออสเตรีย (Photo by zerorealestate.ch)

อันที่จริงแล้วโครงการ Zero Real Estate เป็นโครงการงานศิลปะของสองพี่น้องฝาแฝด แฟรงก์ และ แพทริก ริกคลิน ศิลปินแนวคอนเซ็ปชวล ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจโรงแรม ดาเนียล ชาร์บอนเนียร์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวท้องถิ่นให้ตีความการพัฒนาโรงแรมในรูปแบบของตัวเอง ผ่านการทดลองที่สร้างให้เห็นว่า “โรงแรม” นั้นไม่ต้องลงทุนก่อสร้างตัวตึกอะไรเลยก็ได้

โครงการยังเชื่อมโยงกับท้องถิ่น โดยบัตเลอร์ผู้บริการแขกก็คือเกษตรกรในพื้นที่นั้นนั่นเอง (ดังนั้นอย่าแปลกใจถ้าบัตเลอร์จะใส่เสื้อขาวผูกโบหูกระต่าย แต่ท่อนล่างเป็นกางเกงยีนส์กับรองเท้าบูทยาง) และที่พักสำรองในกรณีฝนตกหรือฉุกเฉินก็คือบ้านพักหรือโรงนาท้องถิ่นของเกษตรกรที่อยู่ใกล้ๆ รวมถึงอาหารเช้าจะปรุงด้วยวัตถุดิบของท้องถิ่นเช่นกัน

บัตเลอร์คอยบริการ (Photo by Facebook@nullsternspinoff)

Zero Real Estate เป็นโครงการต่อยอดมาจาก Null Stern Hotel โปรเจกต์ลักษณะเดียวกันที่เคยจัดในปี 2016 คำนี้แปลได้ตรงตัวว่า “โรงแรม 0 ดาว” เพราะดาวดวงเดียวที่มีในโรงแรมแห่งนี้คือ “คุณ” เนื่องจากศิลปินมองว่าแขกที่เข้าพักคือนักแสดงที่ขึ้นสู่เวที และสิ่งที่แขกได้แสดงก็คือการพิสูจน์คอนเซ็ปต์ที่ว่า โรงแรมไม่ต้องมีผนังหรือเพดานก็เป็นที่พักได้จริง

“ห้องที่ไม่มีผนังหรือเพดานเป็นการแสดงออกถึงการปลดปล่อยสู่เสรีภาพด้วย และคงไม่มีที่ไหนที่เราจะได้อยู่ใน ‘ห้อง’ ที่อากาศหมุนเวียนได้ดีเท่าฤดูร้อนของสวิตเซอร์แลนด์อีกแล้ว” แพทริก ริกคลิน กล่าว

Lüsis Suite วิวเทือกเขาแอลป์ และทะเลสาบ (Photo by zerorealestate.ch)

ในห้วงเวลาที่หลายๆ คนต้องการไปท่องเที่ยว แต่ก็ยังกลัวการอยู่ในพื้นที่ปิดกับคนแปลกหน้ามากมาย โรงแรมไร้ผนัง เพดาน และอยู่กันแค่ 2 คนกับบัตเลอร์อีก 1 คนอาจจะเป็นคำตอบที่ใช่ แต่ใครที่เพิ่งคิดจะจองตอนนี้อาจไม่ทัน เพราะโครงการระบุในเว็บไซต์ว่ามีคนต่อคิวยาว 9,000 คน และบางจุดถูกจองเต็มไปจนถึงสิ้นปี 2020 แล้ว

Source: zerorealestate.ch, Reuters, Nuvo Magazine

]]>
1282303