ศิลปินเกาหลี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 30 Dec 2020 02:34:58 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ด้อมเกาหลี ขยายสู่เเฟน “อินเตอร์” มิติใหม่ “ป้าย HBD” เทนายทุน มุ่งกระจายรายได้ชุมชน https://positioningmag.com/1311070 Fri, 18 Dec 2020 13:18:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311070 ช่วงหลายปีที่ผ่านมา เวลาเราเดินทางด้วยรถไฟฟ้าก็มักจะเห็นป้าย HBD ที่เหล่าเเฟนคลับทุ่มเทลงขันบริจาคเงินกันเพื่อซื้อสื่ออวยพรวันเกิดให้ศิลปิน สร้างสีสันเเละบรรยากาศคึกคักในสถานี

จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ การเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย นำมาสู่กระเเสการเเบนบริษัทนายทุนต่าง ๆ หนึ่งในนั้นได้เกิดแคมเปญรณรงค์ให้ชาวแฟนด้อมหันไปสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย

เรียกได้ว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่ #เเบนจริง อย่างเป็นรูปธรรม เเละทำให้เกิดเเรงกระเพื่อมได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

เเม้สัดส่วนรายได้จากป้ายศิลปินจะยังไม่มากนัก เมื่อเทียบกับสื่อนอกบ้านอื่น ๆ เเต่บรรดาเเบรนด์ต่าง ๆ ก็ต้องกลับมาคิดให้หนักกันมากขึ้น

เพราะกลุ่มเเฟนคลับ หรือที่มักเรียกกันว่าเเฟนด้อม” (Fandom) เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง เห็นได้จากในเเต่ละครั้งที่มีการเปิดโดเนท เหล่าเเฟนด้อมจะสามารถ “ระดมทุนได้ยอดเงินบริจาค ตั้งเเต่ “หลักหมื่นยันหลักล้าน” ในเวลาอันรวดเร็ว เพียงเปิดโดเนทไม่กี่ชั่วโมง ก็ทะลุหลักเเสนบาทไปเเล้วในด้อมใหญ่ ๆ ที่มีเเฟนคลับจำนวนมาก

ด้อมเกาหลี ขยายสู่อินเตอร์” ช่วย “ตุ๊กตุ๊ก

กระเเสนี้เริ่มต้นจากกลุ่มเเฟนคลับศิลปินเกาหลี รวมตัวกันเพื่อต่อต้านการซื้อสื่อโฆษณาในสถานีรถไฟฟ้า เเม้จะเป็นโปรเจกต์ที่เหล่าเเฟนคลับทำกันมาช้านานก็ตาม

มีการเสนอให้นำโปรเจกต์ศิลปินต่าง ๆ ย้ายไปซื้อสื่อโฆษณาในขนส่งมวลชนท้องถิ่นมากขึ้น เช่น รถตุ๊กตุ๊ก บิลบอร์ดรถสองเเถว รถเเดง ป้ายในเรือ หรือป้ายในย่านชุมชนต่าง ๆ เเทน

เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ก็ประเดิมด้วยด้อมใหญ่อย่างกลุ่ม A.R.M.Y แฟนคลับของวง BTS บอยเเบนด์ชื่อดังเเห่งยุค ได้ทำโปรเจกต์ซื้อพื้นที่ป้ายโฆษณาหลังรถตุ๊กตุ๊กจำนวน 15 คัน เพื่ออวยพรวันเกิดให้ 2 สมาชิกในวงอย่าง คิม ซอกจิน (Jin) เเละคิม แทฮยอง (V) เน้นเคลื่อนที่ไปตามถนนเส้นสำคัญในกรุงเทพฯ อย่างสยามเเละสุขุมวิท

จากนั้นก็มีกลุ่มเเฟนด้อมต่าง ๆ หันไปซื้อสื่อโฆษณาในท้องถิ่นตามไปด้วย จนป้ายตามสถานีรถไฟฟ้าว่างในหลายพื้นที่อย่างเห็นได้ชัดต่างจากที่ผ่านมาจะมีโฆษณาลงเต็มตลอด

Source : twitter @piiragan

ล่าสุดความเคลื่อนไหวนี้ ไม่ได้จำกัดเเค่ในด้อมเกาหลีเท่านั้น เพราะได้ขยายไปสู่กลุ่มเเฟนคลับศิลปินระดับอินเตอร์ที่มีคนรู้จักทั่วโลก อย่าง Sarah Paulson เเละ Taylor Swift

Photo : Facebook / Sarah Paulson Thailand

จากการที่ได้พูดคุยกับผู้ทำโปรเจกต์เเละผู้ร่วมบริจาคซื้อโฆษณาบนรถตุ๊กตุ๊ก หลายคนมองว่า

  • เป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชนคนหาเช้ากินค่ำ
  • เป็นความเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ เพื่อต่อต้านนายทุนได้ดี
  • ราคาถูกกว่าการซื้อโฆษณาเเบบอื่น เเต่มีคนเห็นบนท้องถนนจำนวนมาก
  • มีความพิเศษ ไม่เหมือนใคร เพราะรถตุ๊กตุ๊กมีเเค่ในไทย ใครเห็นก็จำได้เเละคนต่างชาติก็สนใจ
  • เเบรนด์สินค้าก็สามารถทำได้ เพื่อลดต้นทุนการตลาดในยามเศรษฐกิจไม่ดี
Photo : Twitter @moomoots13

ด้านเหล่าคนขับรถตุ๊กตุ๊กบอกกับสื่อมวลชนว่าเเม้หลายคนจะมองว่ารายได้ป้ายโฆษณา 700 บาทต่อคันต่อเดือนนั้นจะน้อยนิดเเต่ก็สามารถต่อชีวิตในช่วงวิกฤต COVID-19 ได้ใช้จ่ายในครอบครัวหรือจ่ายค่านมลูกได้

จ่ายไม่เเพง เเต่ไปถึงคนตัวเล็กตัวน้อย

โดยราคาราคาป้ายโปรโมตศิลปินท้ายรถตุ๊กตุ๊กมีอัตราค่าบริการโดยเฉลี่ยราว 300 – 700 บาทต่อคันต่อเดือน ส่วนใหญ่ไม่มีขั้นต่ำจะติดกี่คันก็ได้ บางจุดไม่มีการหักค่าหัวคิว สามารถติดต่อคนขับได้โดยตรง เเต่บางจุดต้องติดต่อผ่านหัวหน้าวิน ซึ่งจะมีเเพ็กเกจพิเศษให้ถ้าตกลงติดตั้งเเต่ 30 – 100 คัน ส่วนตัวป้ายนั้น “ต้องทำมาเอง

ส่วนรถกระป้อในซอยต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ เรตราคาจะอยู่ที่ 400 – 500 บาทต่อคันต่อเดือน ส่วนรถเเดงในเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่ จะมีค่าทำตัวป้าย 500 บาท และค่าเช่ารถสองแถว 1,000 บาทต่อเดือน โดยได้ติดต่อผ่านทางสหกรณ์ที่ดูเเลรถ

Photo : Twitter @NEST97TG_

ขณะที่เมื่อเทียบกับค่าบริการป้ายโฆษณาของสถานีรถไฟ MRT นั้นจะเห็นว่าต่างกันมาก เเละลูกค้าต้องติดต่อกับบริษัทโดยตรง หรือบางกลุ่มก็ติดต่อผ่านเอเยนซี่โฆษณา โดยค่าใช้จ่ายของการติดตั้งป้ายนั้น รวมค่าพื้นที่มีเดีย สถานี ภาษีมูลค่าเพิ่มและระยะเวลาที่ต้องการติดตั้งไปด้วย ซึ่งมีไซส์ที่นิยมกันอยู่ 3 ขนาด คือ

  • ขนาดเล็ก (เเนวตั้งเเนวนอนเล็กเรตราคาตั้งเเต่หลักพันปลาย ๆ ถึง 3 หมื่นบาท
  • ขนาดกลาง (แนวนอนเรตราคาตั้งเเต่ 3 – 8 หมื่นบาท
  • ขนาดใหญ่ เรตราคาตั้งเเต่ 8 หมื่น – แสนบาท

โดยราคาของป้ายศิลปินมีอยู่หลากหลายมาก เริ่มตั้งเเต่หลักพันปลาย ๆ ไปจนถึงหลักเเสน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเเละโลเคชั่น เช่น ถ้าขึ้นเเค่ 15 วันจะถูกลงไปอีก อยู่จุดไหน สถานีไหน ขนาดเท่าไหร่ จุดที่คนมองเห็นมากน้อย ก็จะมีราคาที่ต่างกัน รวมถึงโปรโมชันที่ได้ด้วย

ตัวอย่างป้ายอวยพรศิลปิน ในสถานีรถไฟฟ้า MRT

ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะจองขึ้นป้าย 15 วัน – 1 เดือน เป็นธีมอวยพรวันเกิด เเสดงความยินดีในโอกาสพิเศษ ออกเพลงละคร หรือออกอัลบั้มใหม่

เมื่อดูจากสัดส่วนรายได้ พบว่า รายได้รวมจากป้าย HBD ศิลปินจากกลุ่มเเฟนคลับถือเป็นส่วนเล็ก ๆ ของสื่อโฆษณาทั้งหมดของ BMN บริษัทผู้พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ใน MRT โดยคิดเป็นเเค่ 2 – 3% เพราะส่วนใหญ่เป็นเเบรนด์สินค้าถึง 97%

เเต่ผู้บริหาร BMN ให้สัมภาษณ์กับ Positioning เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาก่อนจะเกิดกระเเสการเเบนนี้ว่า

ถึงจะน้อยเเต่เราไม่ละทิ้ง เราจะดูเเลลูกค้ากลุ่มเเฟนคลับเป็นพิเศษ เพราะต้องทำความเข้าใจพวกเขาด้วย ด้วยการที่เขาทำด้วยความชื่นชอบ เราจึงไม่ได้มองว่าต้องเอากำไรมากหรือเป็นการค้าจ๋าขนาดนั้น รวมถึงเป็นการสร้างสีสันเเละความหลากหลายให้สถานีด้วย คนเเวะมาถ่ายรูป ก็เป็นการเพิ่มทราฟฟิกเเละการจับจ่ายใช้สอยไปในตัว 

ด้านฝั่งผู้พัฒนาสื่อโฆษณารายใหญ่ของเมืองไทยอย่าง Plan B เทคแอคชั่นในกระเเสนี้ด้วยเชิญชวนเเฟนคลับกลับมาลงโฆษณา ด้วยเเคปชั่นว่าเมนใคร ใครก็รัก ประกาศความน่ารักของเมนให้โลกรู้  ซึ่งหลายความเห็นในทวิตเตอร์มองว่า ยิ่งทำให้รู้ว่าความเคลื่อนไหวในการ #เเบน ครั้งนี้มีผลต่อวงการโฆษณาไม่น้อย

เมื่อถามว่าความเคลื่อนไหวนี้ จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวหรือต่อไปอีกยาวหรือไม่ หนึ่งในผู้ทำโปรเจกต์ศิลปินเกาหลี บอกกับ Positioning ว่า จะมีการทำต่อเนื่องอย่างเเน่นอน โดยเฉพาะการซื้อโฆษณากับคนในชุมชน นอกจากรถตุ๊กตุ๊กเเล้ว ก็จะมีการขยายไปยังขนส่งมวลชนท้องถิ่นอื่น ๆ รวมไปถึงป้ายตามร้านโชห่วย รถเร่ขายของเเละรถพุ่มพวง ตามโอกาสที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งมองว่าในปีหน้าแฟนคลับจะมีการทุ่มเงินโปรโมตให้มากกว่าปีนี้อย่างเเน่นอนเพื่อเป็นการช่วยเหลือกันในช่วงเศรษฐกิจย่ำเเย่

สำหรับภาพรวมสื่ออุตสาหกรรมโฆษณาในเมืองไทย คาดว่าทั้งปีนี้ เงินโฆษณาจะสะพัดอยู่ที่ 7.1 หมื่นล้าน เเตะจุด “New Low” ต่ำสุดรอบ 20 ปี ใกล้เคียงกับช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง โดยสื่อทีวีและสื่อนอกบ้าน ที่เคยมีเม็ดเงินมากที่สุดยัง “ติดลบหนัก” ส่วนดาวรุ่งอย่างสื่อดิจิทัลที่เคยเติบโต 20-30% ต่อเนื่องมาทุกปี ต้องสะดุดเเละอาจเติบโตได้เพียง 0.5% เท่านั้น

 

]]>
1311070
เศรษฐกิจฝืด เเต่เเฟนคลับยัง “จ่ายหนัก” ป้ายศิลปินใน MRT เติบโต ขยายเรทราคา-ปรับไซส์ตามงบ https://positioningmag.com/1301849 Sat, 17 Oct 2020 09:30:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301849 ใครที่เดินผ่านสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) อยู่เป็นประจำ คงคุ้นเคยกับป้าย HBD อวยพรวันเกิดให้เหล่าศิลปิน ที่มีสีสันเเละดีไซน์เเตกต่างกันมากมาย  

เเม้ในช่วงที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เเต่ทว่า โปรเจกต์ของบรรดาแฟนคลับที่รวมเงินลงขัน จัดทำขึ้นมาเพื่อโปรโมตศิลปินที่พวกเขาชื่นชอบนั้นไม่ได้ลดลงเลย

ย้อนกลับไปถึงกระเเสสื่อโฆษณาป้ายบิลบอร์ดในสถานีรถไฟฟ้าเริ่มคึกคักในไทยมาตั้งแต่ปี 2016 โดยเฉพาะป้ายศิลปินที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งแฟนคลับจะเเสดงความยินดี ด้วยการอวยพรศิลปินผ่านป้ายโฆษณานอกบ้าน มีทั้งจอใหญ่เเละจอดิจิทัล ปัจจุบันได้ขยายการเข้าถึงคนหมู่มาก ด้วยฐานแฟนคลับในไทยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นกิจกรรมทางใจที่ได้ส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกลุ่มศิลปินที่ชื่นชอบ

ในมุมของเเฟนคลับนั้น ป้าย HBD เป็นการแสดงให้ศิลปินเห็นว่าพวกเขาอยู่เคียงข้างเเละพร้อมให้การสนับสนุน ขณะเดียวกันก็เป็นการโปรโมตตัวศิลปินด้วย เพราะป้ายจะติดอยู่ในส่วนที่คนเดินผ่านจำนวนมาก เเละผลพลอยได้อีกอย่างคืออาจทำให้คนที่ไม่เคยรู้จัก ก็จะได้รู้จัก และอาจกลายเป็นแฟนคลับคนใหม่ก็เป็นได้

ตลาดป้ายศิลปิน เติบโต-กำลังซื้อไม่ลด 

ในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา ถือว่าเทรนด์ป้ายโฆษณา MRT ของกลุ่มเเฟนคลับโตขี้นเรื่อยๆ มีดีมานด์สูงจริงๆ ทำให้เราต้องขยับทำอะไรเพิ่มเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า สมัยก่อนส่วนใหญ่เป็นป้ายของศิลปินเกาหลี เเต่ตอนนี้ศิลปินไทยเยอะขึ้นมาก มีศิลปินจีน ญี่ปุ่น เเละอาเซียนเพิ่มขึ้นด้วย

ณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด หรือ BMN ผู้บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของ MRT เล่าให้ Positioning ฟังว่า บริษัทมีการตั้งทีมงานเพื่อดูเเลลูกค้ากลุ่มนี้โดยเฉพาะ เพราะต้องการเข้าใจถึงสิ่งที่เเฟนคลับตั้งใจเเละอยากจะสื่อสารออกไป โดยความต้องการที่ลูกค้าขอมาในช่วงนี้ ส่วนใหญ่อยากให้เปิดพื้นที่จัด Meet and Greet เเละกิจกรรมเเบบเอ็กซ์คูลซีฟ เอาโปสเตอร์มาตกเเต่งได้ในช็อป ฯลฯ

เเม้ช่วง COVID-19 เศรษฐกิจจะค่อนข้างฝืดเคือง เเต่ป้าย MRT ของเเฟนคลับไม่ได้รับผลกระทบ เเละไม่ลดลงเลย

ด้านมุมมองจากเเฟนคลับที่ให้สัมภาษณ์กับ Positioning บอกว่า เเม้ช่วงนี้จะต้องระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจ เเต่เมื่อโรคระบาดทำให้ไม่ได้ไปชมคอนเสิร์ต เเละยังไม่ได้ซื้ออัลบั้มใหม่ ก็สามารถจัดสรรเงินเหล่านั้นมาร่วมระดมทุนเเทน หรือเเฟนคลับบางคนก็ไม่ได้รับผลกระทบทางการเงินเเละการงานมากนัก ก็ถือว่ายังมี “กำลัง” พอที่จะสนับสนุนศิลปินที่ชอบได้ 

ตัวอย่างป้ายโฆษณาขนาดกลาง (เเนวนอน)ใน MRT

เมื่อมองจากสัดส่วนรายได้ พบว่า รายได้รวมจากป้าย HBD ศิลปินจากกลุ่มเเฟนคลับถือเป็นส่วนเล็กๆ ของสื่อโฆษณาทั้งหมดของ BMN คิดเป็นเเค่ 2 – 3% เพราะส่วนใหญ่เป็นเเบรนด์สินค้าถึง 97%

ถึงจะน้อยเเต่เราไม่ละทิ้ง เราจะดูเเลกับลูกค้ากลุ่มเเฟนคลับเป็นพิเศษ เพราะต้องทำความเข้าใจพวกเขาด้วย ด้วยการที่เขาทำด้วยความชื่นชอบ เราจึงไม่ได้มองว่าต้องเอากำไรมากหรือเป็นการค้าจ๋าขนาดนั้น รวมถึงเป็นการสร้างสีสันเเละความหลากหลายให้สถานีด้วย คนเเวะมาถ่ายรูป ก็เป็นการเพิ่มทราฟฟิกเเละการจับจ่ายใช้สอยไปในตัว

ขยายเรทราคาให้ยืดหยุ่นมากขึ้น

ในช่วงเเรกๆ การทำป้าย HBD ศิลปินต้องใช้เงินอย่างน้อยหลักหมื่นต้นๆ ถึงหลักเเสน เเต่ตอนนี้มีการขยายราคาลงมาให้อยู่หลักพันปลายๆ เพิ่มพื้นที่วางป้ายให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น อย่างการมี ป้ายเล็ก สำหรับลูกค้าที่มีงบจำกัด

โดยส่วนใหญ่เเฟนคลับจะมีการจองป้าย ประมาณ 15 วัน – 1 เดือน เป็นธีมอวยพรวันเกิดหรือเเสดงความยินดีในโอกาสพิเศษออกเพลงละครหรือออกอัลบั้มใหม่

สำหรับรูปแบบในการ ระดมทุน (​Donate) ทำป้ายของเหล่าเเฟนคลับ ส่วนใหญ่จะกระจายข่าวผ่านทางทวิตเตอร์ ที่มีฐานเเฟนคลับนิยมใช้กันเยอะมาก บางโปรเจกต์อาจมีการระดมทุนผ่านการขายของที่ระลึกต่างๆ ด้วย ซึ่งก็มีการระดมทุนกันได้อย่างรวดเร็ว เเละมีการโหวตเลือก รูปภาพ-โลเคชั่น ที่จะวางโปรเจกต์นั้นๆ ด้วย

บางกลุ่มเเฟนคลับก็ติดต่อโดยตรงกับทีมงาน BMN เอง หรือบางกลุ่มก็ติดต่อผ่านเอเยนซี่โฆษณา โดยค่าใช้จ่ายของการติดตั้งป้ายนั้น รวมค่าพื้นที่มีเดีย สถานี ภาษีมูลค่าเพิ่มและระยะเวลาที่ต้องการติดตั้งไปด้วย ซึ่งมีไซส์ที่นิยมกันอยู่ 3 ขนาดคือ

  • ขนาดเล็ก (เเนวตั้งเเนวนอนเล็ก) เรทราคาตั้งเเต่หลักพันปลายๆ ถึง 3 หมื่นบาท
  • ขนาดกลาง (แนวนอน) เรทราคาตั้งเเต่ 3 – 8 หมื่นบาท
  • ขนาดใหญ่ เรทราคาตั้งเเต่ 8 หมื่น แสนบาท

ราคาของป้ายศิลปินมีอยู่หลากหลายมาก เริ่มตั้งเเต่หลักพันปลายๆ ไปจนถึงหลักเเสน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเเละโลเคชั่น เช่นถ้าขึ้นเเค่ 15 วันจะถูกลงไปอีก อยู่จุดไหน สถานีไหน ขนาดเท่าไหร่ จุดที่คนมองเห็นมากน้อย ก็จะมีราคาที่ต่างกัน รวมถึงโปรโมชันที่ได้ด้วย

ตัวอย่างป้ายโฆษณาขนาดเล็ก (เเนวตั้ง) ใน MRT

สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการทำป้าย ส่วนใหญ่แฟนคลับสร้างโปรเจกต์ขึ้นแล้วทำการระดมทุน (​Donate) เพื่อนำเงินมาทำป้าย โดยใช้การกระจายข่าวผ่านทาง Twitter (แฟนคลับเกาหลีอยู่ใน Twitter จำนวนมาก) ซึ่งรูปแบบการระดมทุนจะมีของที่ระลึก เช่น โปสต์การ์ด, พวงกุญแจ ฯลฯ ให้กับแฟนคลับที่ร่วมระดมทุนด้วย

ขณะที่เรทป้ายโฆษณาสำหรับเเบรนด์สินค้านั้น ส่วนใหญ่อยู่ที่หลักหมื่นหลักล้าน โดยทีม BMN บอกว่าสามารถปรับได้เสมอ เพราะเป็นเเคมเปญที่เป็นพาร์ตเนอร์กัน โดยในช่วงหลังๆ ก็มีเเบรนด์ใหญ่เข้ามาดีลเเบบระยะยาวเพิ่มขึ้น

ปีหน้าสถานการณ์น่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ เเต่สิ่งที่เราห่วงอย่างเดียวคือการเมืองเพราะคาดเดายาก เรื่องเศรษฐกิจกับการเมืองกระทบในเเง่ของโฆษณาอยู่เเล้ว ก็หวังว่าเราจะปรับตัวได้ตามเเผนที่เราวางไว้”

อัดโปรโฆษณา ซื้อ 1 เเถม 1 ช่วงวิกฤตโควิด

วิทสุวัฒน์ อำคาเพท กรรมการผู้จัดการของ BMN กล่าวว่า ตอนนี้ผู้โดยสารก็กลับมาประมาณ 80% เเล้ว ผู้โดยสารอยู่ที่ 3 – 4 เเสนคนต่อเที่ยวต่อวัน นอกจากนี้ยังต้องนับถึงผู้ใช้บริการทางลอดเช่นในสถานีจตุจักร พระรามเก้า ที่เเม้ไม่ได้โดยสารรถไฟ เเต่ก็เข้ามาในพื้นที่ มาช้อปปิ้งที่ Metro Mall มารอเพื่อน ดังนั้น จำนวนผู้ใช้บริการก็จะมากกว่าตัวเลขที่รายงานไป

ตามปกติเเล้ว ผู้คนจะใช้รถไฟฟ้าน้อยที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์เเละวันหยุดยาว เเต่สถานีจตุจักร จะยังเท่ากันทุกวัน เพราะคนยังมาเดินตลาดนัด มาวิ่งออกกำลังกายที่สวน

โดยสถานีที่มีคนใช้เยอะสุดคือสุขุมวิทที่มีผู้โดยสารที่เเตะตั๋วราว 1 เเสนคนต่อวัน ผู้ใช้บริการผ่านพื้นที่ราว 2 เเสนคนต่อวัน รองลงมาคือ เพชรบุรี พระรามเก้า เเละจตุจักร บริษัทคาดว่าปีหน้า จะมีผู้มาใช้บริการจะเพิ่มขึ้นเเตะหลักล้านคน ใน 38 สถานี เพราะสถานการณ์คงดีขึ้นกว่านี้

สถานการณ์หลังจากช่วง COVID-19 ที่หลายเเบรนด์ต้องชะลองบประมาณในการทำการตลาดไปนั้น การซื้อโฆษณาใน MRT ลดลงไปหรือไม่

ผมว่าในภาพรวมของการซื้อโฆษณาใน MRT ไม่ลดในเเง่พื้นที่ เราก็พยายามเติมให้เต็มทุกที่ เเต่อาจจะไม่ได้ทำกำไรจากโฆษณามากนักในสถานการณ์เเบบนี้ ดังนั้นจึงมีข้อเสนออย่างการซื้อ 1 เเถม 1 ที่ได้ช่วยทั้งลดค่าใช้จ่ายของลูกค้าเเละพื้นที่ของเราเต็มด้วย

จากนั้นเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น BMN ก็มีการดูเเลเฉพาะร้าน เฉพาะสถานี ส่วนใหญ่จะเน้นมาดูเรื่องสื่อโฆษณา ส่วนร้านค้าจะดูเเลทั้งภาพรวมอยู่เเล้ว เเต่ก็ยังไม่ได้กลับมาเก็บค่าเช่า 100% โดยยังมีโปรโมชันเเละส่วนลดอยู่ กระตุ้นให้ร้านต่างๆ ขายของได้ ส่งเสริมให้คนมาซื้อของให้ Metro Mall มากขึ้น

“MRT ปรับตัวรับผลกระทบนี้ โดยมองถึงความอยู่รอดของลูกค้าเป็นหลัก มีการออกมาตรการช่วยเหลือเป็นระยะๆ ตามสถานการณ์ ทั้งให้ส่วนลดเเละให้พื้นที่ฟรีในการขายของ อย่างช่วงเดือนเม.. – .. ลูกค้าอยากไปจัดโรดโชว์ที่สถานีไหน ก็เเจ้งเรามาเเละไปขายของฟรีได้เลย ไม่ต้องเสียค่าเช่า เพื่อให้ลูกค้ายังอยู่กับเราได้นานๆ”

ขณะเดียวกัน การที่ MRT สายสีน้ำเงินมีส่วนต่อขยายครบทั้ง 38 สถานี ก็ทำให้มีพื้นที่ในการบริหารสื่อโฆษณาเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ต่อไปมีการเพิ่มพื้นที่สื่อโฆษณา on ground เช่น บริเวณทางเข้าสถานี และปล่องระบายอากาศ ฯลฯ

โดยบริษัทได้มุ่งเน้นการให้บริการสร้างสรรค์สื่อโฆษณาต่างๆ ตามความต้องการเฉพาะ (Tailor Made) ร่วมกับ
เเบรนด์ชั้นนำเพิ่มมากขึ้น ด้วยนำเสนอที่แปลกใหม่ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ เเละเดินหน้ากลยุทธ์การตลาดแบบผสมผสาน OMO (Online Merges with Offline) ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมออนไลน์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน

บุกค้าปลีก ไซส์เล็ก รับเทรนด์ Grab & Go

อีกหนึ่งกลยุทธ์ของ BMN คือการปรับปรุงและสร้างสรรค์พื้นที่ค้าปลีก Metro Mall ทุกสถานีไปสู่ The Happy Hub of MRT

โดยการปรับรูปแบบการขายของร้านค้า ให้เป็นรูปเเบบไซส์เล็กมากขึ้น เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ซึ่งได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากหลายเเบรนด์ ที่ได้ปรับเปลี่ยนร้านอย่างเช่น Fuji To Go, Bon To Go ของโอ ปอง แปง, CoCo Express เเละอีกหลายๆ ร้านที่ปรับร้านเเละขายสินค้าขนาดเล็ก เพื่อคนเดินทางมากขึ้น

ผู้บริหาร BMN บอกว่า ด้วยความที่ MRT เป็นพื้นที่ใหญ่ มีดีมานด์ตลาดสูง บริษัทจึงมีเเผนขยายพื้นที่โฆษณาไปเรื่อยๆ ตามมุมต่างๆ ของสถานีที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยการจัดสรรพื้นที่นั้น หลักๆ จะดูจากอินไซต์ที่เรามี ทั้งเรื่องโลเคชั่นเเละขนาด ให้ตอบโจทย์เเต่ละสินค้าที่ไม่เหมือนกันได้ ช่วยให้ร้านค้าขายของดีขึ้น เพราะอยู่ในสถานที่ที่ใช่

ทั้งนี้ พื้นที่การค้าใน MRT มีอยู่ 2 โซน ได้เเก่ Metro Mall ซึ่งเป็นร้านช็อปใหญ่ เเละโซน Event Area ซึ่งเป็นพื้นที่ให้ร้านไซส์เล็กเข้ามาขาย Grab & Go เเบบ 100% เน้นให้ผู้โดยสารเเวะซื้อสินค้าระหว่างเดินทางได้สะดวก

พื้นที่เราอยู่ยาว เเต่ร้านค้าในโซน Event Area จะอยู่สั้น ประมาณ 10 – 14 วัน สร้างความหลากหลายให้ MRT ลูกค้าจะได้ไม่จำเจ เพราะผู้โดยสารเราขี้เบื่อ ชอบเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ถ้าร้านมีสินค้าหลากหลายให้เลือก มี Seasonal Menu ก็จะมัดใจลูกค้าผู้เดินทางได้ดีกว่า

]]>
1301849
สาวกเตรียมเฮ! รัฐบาลเกาหลีใต้มีแผนอนุญาตศิลปิน K-Pop ผ่อนผันเกณฑ์ทหารได้ https://positioningmag.com/1301323 Wed, 14 Oct 2020 16:41:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301323 รัฐบาลเกาหลีใต้กำลังมีแผนอนุญาตให้เหล่าคนดังวัฒนธรรมสมัยนิยม (Pop Culture) ซึ่งมีความดีความชอบในด้านส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศ เลื่อนเข้ารับราชการทหาร จากการเปิดเผยของหน่วยงานคัดเลือกกำลังพลของกองทัพ

แผนนี้มีขึ้นท่ามกลางประเด็นโต้เถียงว่าสมาชิกวง BTS บอยแบรนด์เคป็อปควรได้รับสิทธิพิเศษ ยกเว้น หรือเลื่อนเข้ารับราชการทหารหรือไม่ ด้วยเป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางว่าพวกเขามีส่วนส่งเสริมภาพลักษณ์ของเกาหลีใต้ จากกรณีที่เพลงของ BTS เคยสร้างปรากฏการณ์ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ต Billboard

รัฐมนตรีกลาโหมบอกก่อนหน้านี้ไม่มีการพิจารณายกเว้นให้แก่วง BTS ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 7 คน แต่การผ่อนผันเป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้

ในรายงานที่นำเสนอต่อรรัฐสภา สำนักงานกำลังพลของกองทัพเกาหลีใต้ เผยว่า ทางหน่วยงานกำลังผลักดันแก้ไขกฎหมายรับราชการทหาร เพื่อเปิดทางให้ศิลปิน K-Pop สามารถเลื่อนรับราชการทหาร หากได้รับคำชี้แนะมาจากกระทรวงวัฒนธรรม

Photo : bangtan.official

ทั้งนี้ ชายชาวเกาหลีใต้ทุกคนอายุ 18 ถึง 28 ปี จะต้องเข้ารับราชการทหารเป็นเวลาราวๆ 2 ปี และภายใต้กฎหมายปัจจุบัน ได้มีข้อกำหนดพิเศษเพื่อเปิดโอกาสให้นักกีฬา รวมถึงศิลปิน นักดนตรีคลาสสิก และนักเต้นบัลเลต์ ไม่ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร หากสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติได้ในเวทีระดับนานาชาติ แต่ยังไม่เคยมีศิลปิน K-Pop คนใดที่ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว

“การแก้ไขนี้มีเป้าหมายส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศ ด้วยการรับรองวัฒนธรรมสมัยนิยมและกิจกรรมศิลปะต่างๆ” สำนักงานกำลังพลของกองทัพเกาหลีใต้กล่าว พร้อมระบุว่าจะยื่นร่างกฎหมายฉบับแก้ไขต่อที่สมัชชาแห่งชาติในเดือนนี้

Source

]]>
1301323
กางแผน “JOOX” บุก “มิวสิกสตรีมมิ่ง” ไทย อยากโตต้องไปภูธร เพิ่มศิลปินเกาหลี หารายได้จาก “Coins” https://positioningmag.com/1212966 Fri, 08 Feb 2019 04:09:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1212966 คนไทย” ยืนหนึ่งไม่แพ้ชนชาติใดในโลก เรื่องการฟังเพลงผ่านสมาร์ทโฟน ผลสำรวจระบุ มีถึง 93% ในจำนวนนี้คนอายุกว่า 24 ปีถึง 96% นิยมฟังผ่านสมาร์ทโฟน แซงหน้าภาพรวมของโลกที่มีราว 75% เท่านั้น

พฤติกรรมเหล่านี้กลายเป็น ขุมทรัพย์ ที่เหล่ามิวสิกสตรีมมิ่งหลากหลายสัญชาติต่างกรีธาทัพเข้ามาทำสงคราม ที่คุ้นหน้าค่าตาพอนับได้อยู่ 3 ค่ายด้วยกันได้แก่ “JOOX” ในเครือเทนเซ็นต์ (Tencent) จากจีนแผ่นดินใหญ่ อาศัยจุดแข็งมิวสิกคอนเทนต์ใหม่ๆ และ MV มาดึงคนฟัง

“Spotify” มีประสบการในมิวสิกสตรีมมิ่งโลกกว่า 10 ปี ระบบการจัดเพลย์ลิสต์ เน้นความหลากหลาย และยังเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้และช่วยในการจัดเพลย์ลิสต์อัตโนมัติ ในขณะที่ “AppleMusic” ความง่ายในการเข้าถึงของผู้ใช้สินค้าในตระกูล iOS และคลังเพลงในมือมากกว่า 40 ล้านเพลง

แต่ละแบรนด์ก็มีจุดแข็งที่กินกันไม่ลง มีแนวโน้มแข่งขันที่รุนแรงได้ หาก กฤตธี มโนลีหกุลกรรมการผู้จัดการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหาร JOOX ประเทศไทย กลับฉายภาพที่สวนทางว่า

มิวสิกสตรีมมิ่งยังเป็น Blue Ocean การแข่งขันไม่ได้รุนแรงมากนัก เพราะการมีผู้เล่นหลายรายจะได้เข้ามา Educate คนไทยให้เลิกฟังเพลงจากการเสียบแฟลชไดรฟ์และซีดีเถื่อน มาฟังเพลงแบบถูกลิขสิทธิ์

ราคาคงไม่ลดเพราะลงแล้วขึ้นยาก

แม้จะมองว่าเป็น “Blue Ocean” แต่โจทย์ที่ท้าทายเหล่าผู้เล่นในสังเวียนมิวสิกสตรีมมิ่ง คือการที่คนไทยยังคุ้นชินของ ฟรีไม่พร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อฟังเพลง แม้แต่ละรายจะมีราคาเริ่มต้นเพียงเดือนละ 129 บาท เทียบเท่าราคาของกาแฟ 1 แก้วเท่านั้น

สะท้อนจากฐานผู้ใช้งาน JOOX ที่แอคทีฟราว 10 ล้านราย เท่ากับฮ่องกงที่เป็นตลาดหลัก ซึ่งมีไม่ถึง 10% ที่ยอมจ่ายเงินเพื่อเป็น VIP ฟังเพลงได้ทั้งหมดแบบไม่ติดโฆษณา แม้รายได้ปีที่ผ่านมาเติบโต 100% จะมาจากตรงนี้คิดเป็นสัดส่วน 50% ที่เหลือมาจาก Media Partner อีกราว 30 รายก็ตาม

กฤตธียืนยัน JOOX ไม่มีแผน ลดราคา เพื่อดึงคนฟังให้ยอมขยับเป็น VIP เพิ่ม เพราะหากลงแล้วจะกลับมา ขึ้นราคา อีกเป็นไปได้ ยาก วิธีที่ JOOX ทำจึงแบ่งแพ็กเกจออกให้เลือกหลากหลายทั้งรายวัน สัปดาห์ และรายเดือน รวมถึงการทำโปรโมชั่นต่างๆ ซึ่งวิธีนี้ช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้ยอมเสียเงินเพิ่มมากขึ้น ในระหว่างการทำโปรโมชั่น

ส่วนแพ็กเกจแบบครอบครัว ซึ่งจะทำให้ราคาต่อแอคเคาท์เฉลี่ยแล้วถูกลง เหมือนรายอื่นๆ ทั้ง Spotify -AppleMusic ที่มีกันอยู่ ผู้บริหาร JOOX ให้ความเห็น อาจ เป็นไปได้ที่จะทำ แต่ยังไม่ยืนยันในตอนนี้

ศิลปินหน้าใหม่

ปี 2018 มียอดสตรีมกว่า 3 พันล้านครั้งบน JOOX เติบโตกว่า 50% โดยมิวสิกคอนเทนต์ใหม่ๆ และ MV เป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดผู้ฟัง ซึ่งตัวแปรที่ขาดไม่ได้คือศิลปินหน้าใหม่ จากหลากหลายแนวเพลง ถือว่าบทบาทสำคัญอย่างมากบนแพลตฟอร์มของ JOOX

นั้นเพราะหนึ่งในพฤติกรรมของคนฟัง ที่มาพร้อมกับการเติบโตของมิวสิกสตรีมมิ่ง คือการที่คนฟังรู้จักแต่เพลง ไม่ได้รู้จัก นักร้อง เพลงจึงต้องมีคุณภาพจริงๆ ไม่ใช่หน้าตา จึงกลายโอกาสแจ้งเกิดกับศิลปินหน้าใหม่ได้ง่ายขึ้น โดยปีที่ผ่านมามีการฟังเพลงกว่า 80 ล้านครั้ง

ทีมงานของ JOOX จะเสาะหาเพลงใหม่ๆ ฟังตามแพลตฟอร์ม หากชื่นชอบค่อยมาโหวตกัน แล้วค่อยติดต่อให้นำเพลงมาขึ้นใน JOOX ผ่าน “JOOX Spotlight” และเมื่อมีแนวโน้มความนิยมเพิ่มขึ้น ก็จะมีการให้ทุนไปทำเพลงเพิ่มหรือ MV ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มคอนเทนต์ของ JOOX เองด้วย

ฟากศิลปินหน้าใหม่ก็จะมีรายได้นับจากการฟังต่อ 1 วิว นอกจากนี้ยังได้จัดคอนเสิร์ตเพลงอีกราว 35 ครั้งเพื่อนำศิลปินหน้าใหม่ออกไปให้คนฟังได้รู้จัก เป็นการเพิ่มฐานแฟนเพลงไปในด้วย

ถึงเวลาลุยขุมทรัพย์ภูธร

เป้าหมายของ JOOX ปี 2019 ต้องการเพิ่มฐานผู้ใช้งานเป็น 12 ล้านราย ซึ่ง JOOX กำหนดไว้ 3 แนวรบ

แนวรบแรก เจาะกลุ่มต่างจังหวัดเพราะฐานผู้ใช้งานเวลานี้ 55% เป็นอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นตลาดที่คู่แข่งเยอะ JOOX จึงต้องหนีไปหาตลาดใหม่ๆ อย่างต่างจังหวัด ซึ่งจำนวนประชากรเยอะกว่ามาก

เพียงแต่การจะเข้าไปหาได้ จะต้องเน้นแนวเพลงยอมนิยมคือลูกทุ่งและเพื่อชีวิตอยู่ในอันดับ 4 ส่วนมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นในปี 2019 จึงจะให้ความสำคัญกับ ลูกทุ่งและเพื่อชีวิต ที่ต้องการขยายทั้งคนต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ โดยจะหาศิลปินลูกทุ่งที่เหมาะกับ แมส เพื่เข้ามาทำโครงการร่วมกับศิลปินเมนสตรีมมากขึ้น

โดยโปรโมตผ่านรายการ เอะอะมะทัวร์ มี ปิงปอง ธงชัย เป็นพิธีกร นำศิลปินลูกทุ่ง มาสัมภาษณ์ และเสริมเป็นคาราโอเกะให้เกิดความรู้สึกร่วม

“Coins” โมเดลหารายได้ใหม่

แนวรบที่สอง คือการเพิ่มฟีเจอร์ JOOX VDO Karaoke โดยวางแผนดึง Influencer ในด้านต่างๆ มาร้องอันคลิปและให้คนที่เป็นแฟนคลับ สามารถร้องคาราโอเกะคู่กันได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มลูกเล่นต่างๆ ด้านวิดีโอ

โดย JOOX คาดหวังให้เกิดเป็น community คนรักเสียงดนตรี โดยปีที่ผ่านมา ฟีเจอร์ Karaoke มียอดการร้อง 5 ล้านครั้ง และมีการแชร์เพลงที่ร้องแบบคาราโอเกะไปถึง 2.6 ล้านครั้ง

และแนวรบสุดท้ายการปรับปรุงเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน ซึ่งปลายปีที่ผ่านมาได้ปรับปรุงให้ดูง่าย เพราะผู้ใช้งานมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่

นอกจากนี้แล้วในภาพรวมยังคงมุ่งไปที่การโปรโมตและส่งเสริมผลงานศิลปินในหลากมิติ เน้นโมเดล Collaboration Project ในการสร้าง Exclusive Content ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการถ่ายทอดสด Live Concert จากเกาหลี ที่จะมีมากขึ้น

การ Live Concert เกาหลีทำให้ JOOX พบโมเดลการหารายได้ใหม่ โดยผู้ที่เข้ามาชมสามารถซื้อ Coins ราคาตั้งแต่ 35 – 1,750 บาท นำมาซื้อสติกเกอร์แบบพิเศษ เพื่อแสดงออกถึงความชื่นชอบในศิลปิน และการซัพพอร์ต.

]]>
1212966