สวนสนุก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 24 Aug 2021 12:28:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Universal Studio เตรียมเปิดบริการที่ “ปักกิ่ง” ท่ามกลางความท้าทายกระแส “ชาตินิยม” https://positioningmag.com/1348325 Tue, 24 Aug 2021 11:44:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348325 Universal Studio สาขาที่ 5 ของโลกเริ่มก่อสร้างใน “ปักกิ่ง” เมื่อปี 2015 และเลื่อนเปิดบริการเนื่องจากโรคระบาด แต่ในที่สุด มีความเคลื่อนไหวว่าจะเปิดได้เร็วๆ นี้ แม้ประเทศจีนยังไม่เปิดพรมแดน โดยคาดว่าตลาดภายในประเทศจะมีดีมานด์เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ความท้าทายหลักคือกระแส “ชาตินิยม” ของคนจีน อาจทำให้ธีมปาร์คแห่งนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

Universal Beijing Resort จะเป็นสวนสนุกธีมปาร์คแห่งใหม่ของ Universal Studio โดยตั้งอยู่นอกกรุงปักกิ่งไป 32 กิโลเมตร เป็นแห่งที่ 5 ของโลกต่อจากที่ ฮอลลีวูด, ออร์แลนโด, ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ภายในมีโซนเด่นๆ สร้างจากธีมภาพยนตร์และอนิเมชันอย่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์, ทรานสฟอร์เมอร์ส, จูราสสิค เวิลด์, กังฟู แพนด้า และ มินเนี่ยนแลนด์

สำนักข่าวท้องถิ่นในจีนเริ่มลงข้อมูลในเว่ยป๋อ (โซเชียลมีเดียจีน) ถึงความเคลื่อนไหวของ Universal Studio ว่ากำลังจะเปิด “ในอนาคตอันใกล้” หลังจากชื่อของ Universal Resort ปรากฏบนแผนที่รถไฟฟ้าใต้ดินแล้วตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ภาพเรนเดอร์เครื่องเล่น Decepticoaster โซนทรานสฟอร์มเมอร์ส

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ท้าทายมากสำหรับธีมปาร์คหรือสวนสนุก แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการเข้าออกธุรกิจไม่น้อย โดย “เบธ ชาง” กรรมการผู้อำนวยการ AECOM Economics รายงานข้อมูลกับสำนักข่าว South China Morning Post ระบุว่าปี 2020 มีสวนสนุกเปิดใหม่ถึง 12 แห่งในจีน แต่ก็มีถึง 9 แห่งที่ปิดตัวลงหรือปิดชั่วคราว

ส่วนสวนสนุกที่กำลังก่อสร้างก็พยายามที่จะเปิดให้ได้ตามกำหนด เพราะการทำงานกับรัฐบาลจีนซึ่งต้องการให้ธุรกิจเป็นตัวเร่งเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องการให้บริษัทเปิดดำเนินการให้ได้ตามเป้าที่วางไว้ อย่างเช่น Universal Beijing นี้รัฐบาลจีนร่วมทุนถึง 70% ด้วยความคาดหวังว่าจะเป็นแหล่งงานกว่า 10,000 ตำแหน่ง

 

พึ่งพิงคนในประเทศ

กรณีของ Disneyland Hong Kong ต้องปิดบริการนานหลายเดือนท่ามกลางโรคระบาด เพราะกลุ่มเป้าหมายถึง 2 ใน 3 มาจากคนนอกเกาะ ไม่ว่าจะเป็นคนจีนแผ่นดินใหญ่หรือต่างชาติอื่นๆ แต่กรณีของ Universal Studio ที่ปักกิ่ง จะแตกต่างกัน เพราะพึ่งพิงคนในประเทศเป็นหลักได้

เฉพาะกรุงปักกิ่งและเมืองเทียนจินก็น่าจะทำให้สวนสนุกแห่งนี้มีลูกค้ามากเพียงพอหล่อเลี้ยงได้แล้ว ในกรณีที่โรคระบาดอาจทำให้คนจีนเองไม่สามารถเดินทางเข้ามาปักกิ่ง อย่างไรก็ตาม จีนมีการฉีดวัคซีนให้ประชากรไปแล้วมากกว่า 200 ล้านคน เฉพาะในปักกิ่ง มีผู้ฉีดวัคซีนแล้ว 70% ของทั้งเมือง รวมถึงทั้งประเทศยังไม่มีการระบาดรุนแรงเพิ่มขึ้น

ม้าหมุนโซนกังฟู แพนด้า

ไซม่อน ลี อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย Chinese University of Hong Kong มองว่า การเปิดสวนสนุกในยามนี้อาจจะเสี่ยง แต่ตลาดท้องถิ่นจีนก็ใหญ่เพียงพอ และเชื่อว่าโรคระบาดจะดีขึ้นเป็นลำดับ สถานการณ์ขณะนี้เพียงแต่ทำให้เกิดผลกระทบเล็กน้อยเท่านั้น เช่น ทำให้ระยะคืนทุนช้าลงบ้าง

ส่วนคู่แข่งสวนสนุกในจีน หากวัดกลุ่มที่เป็นแบรนด์ต่างชาติด้วยกันจะมี Disneyland Shanghai ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2016 และเน้นกลุ่มเป้าหมายชนชั้นกลางแดนมังกรที่มีราว 400 ล้านคน

แต่คาดกันว่าคู่แข่งตัวจริงจะเป็นสวนสนุกที่อยู่ในปักกิ่งมานาน 15 ปีมากกว่า Happy Valley Beijing ตั้งอยู่ห่างจากกลางกรุงปักกิ่งไปเพียง 17 กิโลเมตร และบริหารงานโดย Overseas Chinese Town Enterprises รัฐวิสาหกิจจีนด้านสวนสนุก ซึ่งถือเป็นบริษัทที่ใหญ่อันดับ 3 ของโลก ใหญ่กว่า Universal Studio หากวัดจากจำนวนทราฟฟิกเข้าสวนสนุกต่อปี

 

ความท้าทายหลัก “กระแสชาตินิยม”

โรคระบาดและเศรษฐกิจที่ซบเซาลงอาจไม่ใช่ความท้าทายสำคัญนักของ Universal Studio แต่ที่น่ากังวลพอสมควรคือ กระแส “ชาตินิยม” ในหมู่คนจีนที่รุนแรงขึ้น นับตั้งแต่เกิดสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ

แฮร์รี่่ พอตเตอร์มีแฟนคลับไม่น้อยในจีน

ที่จริงแล้ว Universal Studio ไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนักสำหรับคนจีน แต่คนจีนที่เป็นแฟนคลับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ หรือทรานสฟอร์มเมอร์ส นั้นมีจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะทรานสฟอร์มเมอร์สที่น่าจะดึงดูดคนได้หลายวัย รองมาคือกลุ่มอะนิเมชั่นอย่าง กังฟู แพนด้า และ มินเนี่ยน ที่ดึงดูดกลุ่มเด็กๆ

ความโด่งดังวัดได้จากตัวเลขรายได้การฉายภาพยนตร์ ทรานสฟอร์มเมอร์ส ทำรายได้รวมกันทุกภาคไปกว่า 5,000 ล้านหยวน (ประมาณ 25,400 ล้านบาท) จูราสสิค เวิลด์ สองภาครวมกันทำเงิน 3,100 ล้านหยวน (ประมาณ 15,700 ล้านบาท) แม้แต่การนำ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพณ์ มาฉายใหม่ปีนี้ก็ยังทำเงินได้ 200 ล้านหยวน (ประมาณ 1,000 ล้านบาท)

อย่างไรก็ตาม มีเจนเนอเรชันหนึ่งที่ถูกมองว่าอาจจะไม่ตื่นเต้นกับการมาของ Universal Studio นั่นคือ “เจนซี” หรือคนที่เกิดระหว่างปี 1995-2010 (อายุ 11-26 ปี ณ ขณะนี้) iiMedia Research รายงานว่า คนกลุ่มนี้เติบโตมากับการปลุกเร้ากระแสชาตินิยม ตอบรับแบรนด์จีนและถวิลหาวัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งทำให้ช่วงที่ผ่านมา เสื้อผ้าแบบจีนโบราณเกิดฮิตติดตลาด เฉพาะปีนี้คาดว่าจะเติบโตถึง 59.7% เป็น 10,000 ล้านหยวน (ประมาณ 50,800 ล้านบาท)

วัยรุ่นชายหญิงแต่งตัวด้วยชุดฮั่นฝูของจีน เดินตามท้องถนนในเมืองนานจิง (ภาพเมื่อ เม.ย. 2020) แสดงออกถึงความภูมิใจในชาติ (Photo : Shutterstock)

iiMedia ยังมองด้วยว่ากระแสจีนทำจีนใช้แบบนี้ จะทำให้แข่งขันกับแบรนด์ต่างประเทศได้ในไม่ช้า และอาจจะเป็นแบรนด์ที่แข็งแรงในระดับโลกภายใน 5-10 ปีด้วย

แต่ตลาดที่มีผู้บริโภคจำนวนมากและเศรษฐกิจยังโตได้อีก ย่อมมีแบรนด์ต่างชาติเข้ามาไม่ขาดสาย เช่น Merlin Entertainments (อันดับ 2 ของโลกในธุรกิจสวนสนุก) จะนำ Legoland มาลงทุนถึง 3 แห่งติดต่อกัน ได้แก่ เสฉวน เปิดปี 2023, เซี่ยงไฮ้ เปิดปี 2024 และเสิ่นเจิ้น คาดว่าจะเปิดปี 2025 หรือ Disneyland Shanghai ก็ไม่หยุดลงทุน ธีมปาร์คพื้นที่ใหม่ ‘Zootopia’ จะเปิดเร็วๆ นี้ และเตรียมขึ้นราคาบัตรอีก 10% ปีหน้า

ทั้งนี้ ลิเดีย ไพรซ์ ศาสตราจารย์ที่ China Europe International Business School ให้ความเห็นว่า เพราะลักษณะผู้บริโภคจีนที่เปลี่ยนแปลง สวนสนุกที่เป็นแฟรนไชส์ต่างประเทศก็จะต้องตามให้ทัน เช่น สร้างคาแร็กเตอร์และเรื่องราวแบบเอเชียนให้มากขึ้น และลดการ ‘สเตอริโอไทป์’ จากสายตาคนตะวันตก ซึ่งเธอมองว่า Universal และ Disney คือ “ปรมาจารย์” ของเกมธุรกิจนี้ และเชื่อว่าจะทำสำเร็จในจีน

Source

]]>
1348325
‘ดิสนีย์ แคลิฟอร์เนีย’ เตรียมกลับมาเปิดชั่วคราว พร้อมดึงคนงานเก่าทำงาน 1,000 คน https://positioningmag.com/1318613 Tue, 09 Feb 2021 08:54:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318613 หลังจากที่ต้องปิด ๆ เปิด ๆ ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ในที่สุด ‘ดิสนีย์ แคลิฟอร์เนีย แอดเวนเจอร์พาร์ค’ (Disney California Adventure Park) ก็เตรียมกลับมาเปิดอีกครั้งในเดือนหน้า แต่การกลับมาครั้งนี้ไม่ได้กลับมาถาวร แต่เป็นการเปิดชั่วคราวเนื่องจากครบรอบ 20 ปีในการก่อตั้ง

หลังจากที่สวนสนุกแห่งนี้ถูกปิดเป็นเวลาเกือบปีเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ในที่สุดแฟน ๆ ดิสนีย์ ‘บางคน’ ก็จะมีโอกาสกลับไปเที่ยวที่ดิสนีย์ แคลิฟอร์เนีย แอดเวนเจอร์พาร์คในเดือนหน้า แต่การเปิดบริการครั้งนี้ไม่ได้เปิดให้บริการยาว แต่เป็นการเปิดแบบจำกัดให้กับแฟน ๆ เพื่อรับประสบการณ์แบบจำกัด โดยการเปิดครั้งนี้ดิสนีย์ได้ดึงคนงาน 1,000 คนกลับมาทำงานอีกครั้ง หลังจากที่ต้องเลิกจ้างพนักงานไป 28,000 รายเพราะต้องปิดสวนสนุก

Ken Potrock ประธาน Disneyland Resort ประกาศแผนเมื่อวันจันทร์ในจดหมายถึงคนงานที่จะกลับมาทำงานอีกครั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่วันครบรอบ 20 ปีของดิสนีย์ แคลิฟอร์เนีย แอดเวนเจอร์พาร์ค ทั้งนี้ Disney ยังไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐให้เปิดสถานที่ท่องเที่ยวทั้งหมดของสวนสนุกอีกครั้ง ดังนั้น งานจะไม่เหมือนกับการเข้าชมสวนสนุกทั่วไป แต่จะมีลักษณะเหมือนกับงานงานเทศกาลที่มีอาหารและเครื่องดื่มจำหน่าย และพร้อมมอบ “ประสบการณ์ความบันเทิงที่สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถัน” อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการประกาศวันที่และราคาตั๋วและยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมความบันเทิง

(Photo by Jeff Gritchen/MediaNews Group/Orange County Register via Getty Images)

“ด้วยความจุที่จำกัด และมาตรการด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว แขกผู้เข้าพักจะได้ก้าวเข้าสู่สภาพแวดล้อมของดิสนีย์ที่มีมนต์ขลังอีกครั้ง เราจะมอบประสบการณ์ที่น่าจดจำและสนุกสนานที่แขกของเราปรารถนา” Potrock กล่าว

แม้การเปิดให้บริการอีกครั้งอย่างจำกัด แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของการฟื้นตัวสำหรับการดำเนินงานของสวนสนุกดิสนีย์แคลิฟอร์เนียหลังจากการระบาดใหญ่ โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ดิสนีย์ต้องปิดสวนสนุกทั้ง 12 แห่งทั่วโลกแม้จะมีบางแห่งเช่น Walt Disney World ในออร์แลนโดรัฐฟลอริดากลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง แต่ดิสนีย์ แคลิฟอร์เนีย แอดเวนเจอร์พาร์ค ยังคงปิดให้บริการ เนื่องจากมาตรการด้านสุขภาพและความปลอดภัยของรัฐ

อย่างไรก็ตาม สหภาพแรงงานของดิสนีย์แลนด์ได้ผลักดันให้นายกาวิน นิวซัม ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย ให้เปิดสวนสนุกอีกครั้ง แต่คาดว่าการจะกลับมาเปิดนั้นต้องรอให้เขตออเรนจ์เคาน์ตี มีผู้ป่วย COVID-19 อยู่ในระดับที่ต่ำก่อน

CNN / latimes

]]>
1318613
“ดิสนีย์แลนด์” เตรียมปลดพนักงาน 32,000 คนอีกระลอก ภายในครึ่งปีแรก 2021 https://positioningmag.com/1307896 Thu, 26 Nov 2020 14:43:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307896 ภายในครึ่งปีแรกของปี 2021 สวนสนุกดิสนีย์แลนด์มีแผนที่จะปลดพนักงานออกจำนวนสูงสุด 32,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในสวนสนุก หลังบริษัทได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตโรค COVID-19 ระบาด

รอยเตอร์รายงานว่า ปีนี้ตลอดทั้งปีถือเป็นปีที่เลวร้ายสำหรับสวนสนุกดิสนีย์แลนด์เลยทีเดียว

สำหรับสวนสนุกดิสนีย์แลนด์ในรัฐแคลิฟอร์เนียนั้นยังคงปิดต่อไป ตัวเลขจากวันพุธที่ 25 พ.ย. อ้างอิงจาก CNBC พบว่าในรัฐออเรนจ์ เคาน์ตี (Orange County) ที่สวนสนุก 2 แห่งของดิสนีย์แลนด์ตั้งอยู่ เห็นตัวเลขเคส COVID-19 ที่ 20.2 เคส/ประชากร 100,000 คน

ทั้งนี้ในการยื่นต่อคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ SEC เมื่อวานนี้ บริษัทวอลท์ ดิสนีย์ โค (Walt Disney Co) เปิดเผยว่า จะทำการเลิกจ้างพนักงานสูงสุดถึง 32,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในส่วนสวนสนุกภายในครึ่งแรกของปีงบดุลปี 2021 จากสาเหตุที่วิกฤตการระบาด COVID-19 ยังคงทำร้ายอุตสาหกรรมสวนสนุกต่อไป

ถือเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นที่สวนสนุกดิสนีย์แลนด์ได้เคยประกาศจะเลิกจ้างไว้ 28,000 คน เมื่อกันยายน

(Photo by Yifan Ding/Getty Images)

CNBC รายงานเพิ่มเติมว่า ภายในวันที่ 3 ต.ค. ดิสนีย์แลนด์มีพนักงานราว 37,000 คน ที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสั่งปลดออก ถูกประกาศพักงานแบบไม่จ่ายเงินเดือน

ในขณะเดียวกันพบว่าดิสนีย์เวิลด์ซึ่งเป็นสวนสนุกอีกแห่งซึ่งตั้งอยู่ในรัฐฟลอริดา ได้มีการประกาศเลิกจ้างเช่นกัน อ้างอิงจากสื่อเบย์นิวส์ 9 พบว่า ในส่วนของพนักงานที่ออร์แลนโด รัฐฟลอริดาได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้างไม่ต่ำกว่า 15,000 คน เกิดขึ้นกับส่วนพนักงานที่แสดงสตรีทโชว์ และส่วนการแสดงอื่นๆ ดิสนีย์เวิลด์ปิดไปเมื่อกลางเดือนมีนาคม

และถึงแม้จะกลับมาเปิดใหม่อีกครั้งในเดือนกรกฎาคม พบว่าในส่วนการแสดงโชว์ยังคงไม่เปิดแสดง โดยหนึ่งในอดีตพนักงานของดิสนีย์เวิลด์ได้เปิดเผยความรู้สึกผ่านทางยูทูบว่า ถูกบอกเลิกจ้างผ่านทางอีเมลอย่างกะทันหันและเธอรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก

สวนสนุกดิสนีย์แลนด์มีพนักงานทั้งหมด 203,000 คน โดยพนักงานทั่วโลกนั้นประกอบไปด้วยพนักงานประจำราว 80% และอีก 20% เป็นพนักงานชั่วคราว และจากจำนวนทั้งหมดมีพนักงานราว 155,000 คน ทำงานอยู่ในส่วนของสวนสนุก และรวมไปถึงฝ่ายการผลิต และอื่นๆ

ทั้งนี้ในเดือนที่ผ่านมา สวนสนุกดิสนีย์แลนด์ในกรุงปารีสต้องกลับมาปิดตัวอีกครั้งในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา เกิดขึ้นหลังจากฝรั่งเศสสั่งใช้มาตรการล็อกดาวน์รอบใหม่ แต่สวนสนุกดิสนีย์ในฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ และกรุงโตเกียว ยังคงสามารถเปิดอยู่ต่อไป

Source

]]>
1307896
ปิ๊งไอเดีย Amusement Workation เมื่อพนักงานญี่ปุ่นใช้ “สวนสนุก” เป็นที่ทำงานในยุค COVID-19 https://positioningmag.com/1301870 Fri, 16 Oct 2020 09:15:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301870 การเเพร่ระบาดของ COVID-19 เปลี่ยนรูปแบบการทำงานของคนทั่วโลก ตอนนี้เริ่มขยับจาก Work from home ทำงานจากที่บ้าน มาเป็น Work from anywhere ทำงานจากทุกที่กันมากขึ้น เป็นโอกาสในวิกฤตของผู้ประกอบการที่จะนำเสนอบริการต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการใหม่นี้

ล่าสุด โยมิอุริแลนด์ (Yomiuriland) สวนสนุกแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียว ปิ๊งไอเดียเสนอเเพ็กเกจ “Amusement Workation” นั่งทำงานในสวนสนุก หลังเริ่มมีกระเเสพนักงานในญี่ปุ่น หันมาใช้สวนสนุกเป็นออฟฟิศเเนวใหม่มากขึ้น

โดยทางโยมิอุริแลนด์ มีจะการเปิดพื้นที่ให้พนักงานออฟฟิศหรือฟรีเเลนซ์ต่างๆ มาเปลี่ยนบรรยากาศทำงานนอกสถานที่ สามารถนั่งทำงานติดกับสระน้ำ คุยงานในบ้านผีสิง ทำงานที่สนามกอล์ฟหรือนั่งชิงช้าสวรรค์ ก็มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต Wi-Fi แบบพกพาคอยให้บริการอย่างทั่วถึง

จากการสำรวจของ Reuters เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พบว่า เเม้ปกติเเล้วโครงสร้างของบริษัทญี่ปุ่นมักจะให้พนักงานเดินทางมาทำงานในออฟฟิศทั่วไป เเต่หลังจากเกิดโรคระบาด มีเพียง 1 ใน 3 ของบริษัทในญี่ปุ่นเท่านั้นที่ยังคงให้พนักงานไปทำงานที่สำนักงาน ส่วนอีก 65% เสนอให้ทำงานจากบ้านได้ 

Tatsuki Yamamoto ประธานบริษัทไอที FLEQ วัย 47 ปี กล่าวระหว่างนั่งทำงานบนเก้าอี้ข้างสระน้ำในสวนสนุกว่า เขาชอบทำงานนอกสถานที่มาก เเละมองว่าแผนการที่ดีที่ทำให้รู้สึกสนุกในการทำงานมากขึ้น ส่วนพนักงานในบริษัทของเขาก็ชอบทำงานนอกสถานที่เช่นกัน

Photo : Reuters / Kim Kyung-Hoon

Yamamoto เล่าอีกว่า เขาได้ลองทำงานบนชิงช้าสวรรค์ที่เคลื่อนไปช้าๆ เวลามีประชุมทางวิดีโอ เพื่อให้เพื่อนร่วมงานได้ชมบรรยากาศด้านบนไปกับเขาระหว่างประชุมด้วย เเต่บางครั้งก็รู้สึกว่ามันก็ยากอยู่เหมือนกันที่จะตั้งใจโฟกัสกับงานเมื่อได้เห็นวิวทิวทัศน์สวยๆ ด้านบนนั้น “ผมไม่รู้ว่าจะเพลิดเพลินไปกับวิวสวยๆ หรือสนุกกับทำงานดี”

สำหรับเเพ็กเกจ Amusement Workation ของสวนสนุกโยมิอุริแลนด์ สนนราคาอยู่ที่ 1,900 เยน หรือราว 560 บาท ต่อวันต่อคนในวันธรรมดา และ 2,000 เยน หรือราว 600 บาท ในวันเสาร์อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สามารถเลือกพิกัดทำงานได้ทั้งริมสระ นั่งชิงช้าสวรรค์ ในบ้านผีสิง และสนามไดรฟ์กอล์ฟก็เปิดให้ซ้อมตีได้อีกด้วย

โดยทางสวนสนุกบอกว่า ตอนนี้มีลูกค้าชาวญี่ปุ่นนับสิบคน ตั้งใจมาเพื่อเข้าไปทำงานบนรถไฟเหาะตีลังกา หรือไปเปลี่ยนสร้างความตื่นเต้นในบ้านผีสิง

จากสถานการณ์ COVID-19 ระบาดทั่วโลก ทำให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ต้องใช้มาตรการจำกัดการเดินทาง ซึ่งทำให้สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบด้วย โดยตอนนี้บรรดา “สวนสนุก” หลายแห่งเลือกที่จะหาลู่ทางใหม่เพื่อดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาใช้บริการในสวนสนุกเเทนการมาท่องเที่ยวปกติที่ลดลง

(Photo : Shutterstock)

ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีโจทย์ใหญ่ไม่แพ้ไทยในการกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยว แต่เมื่อคนญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมรักงานสูง ทำให้รัฐพยายามกระตุ้นเทรนด์ “Workation” ให้พนักงานทำงานไปด้วยระหว่างท่องเที่ยว เพื่อยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว พนักงานยังได้ทำงานอยู่ ขณะที่โรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวมีรายได้พยุงตัว

วิถีการ “Workation” ก็คือการนำงานไปทำระหว่างท่องเที่ยว อาจจะแบ่งเวลาทำงานสัก 4 ชั่วโมงต่อวัน เวลาที่เหลือออกไปท่องเที่ยวใช้จ่ายในพื้นที่ ทำให้พนักงานได้พักผ่อนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันก็รู้สึกผิดน้อยลงที่ออกมาอยู่นอกออฟฟิศ เพราะยังรับผิดชอบงานของตัวเองอยู่

กลุ่มเป้าหมายหลักกลุ่มหนึ่งที่รัฐมุ่งเน้นคือ “รีสอร์ตบ่อน้ำพุร้อน” หรือ “ออนเซ็น” นั่นเอง โดยรัฐมีแพ็กเกจ ช่วยเหลือทางการเงินแก่กลุ่มออนเซ็นให้นำไปติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ จากปกติโรงแรมประเภทนี้มักจะรักษาความเก่าแก่โบราณไว้ ทำให้ไม่มีเทคโนโลยีรองรับมากนัก แนวความคิดการเปลี่ยนออนเซ็นให้ทันสมัยขึ้นเพื่อให้เมืองออนเซ็นเป็นออฟฟิศย่อยแก่พนักงานตลอดปีนี้ ช่วยรักษาเศรษฐกิจเมืองท่องเที่ยวไม่ให้ย่ำแย่ลง

อ่านต่อ : “Workation” เที่ยวไปทำงานไป กลยุทธ์ใหม่ที่รัฐบาลญี่ปุ่นหวังช่วยกระตุ้นภาคท่องเที่ยว

 

ที่มา : Reuters

 

 

]]>
1301870
เสี่ยงนะกล้าไหม? สวนสนุกในอเมริกา ติดป้ายเตือนอาจติด COVID-19 แม้มีมาตรการป้องกัน เพื่อเลี่ยงถูกฟ้อง https://positioningmag.com/1281579 Mon, 01 Jun 2020 11:10:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281579 “หากคุณเข้าร่วมการแข่งขันเบสบอลคุณยอมรับความเสี่ยงที่คุณอาจถูกเบสบอลตี” นี่คือ ‘ข้อสรุป’ ของผู้พิพากษาในรัฐมิสซูรีและมินนิโซตา เพียงแต่ในปี 2020 เกมเบสบอล คือ สถานที่สาธารณะ และ ลูกเบสบอล คือ COVID-19

NEW YORK, NEW YORK – MAY 31: People sit in the social distance circles on the grass at Domino Park with a view of the Williamsburg Bridge in the Williamsburg neighborhood of Brooklyn on May 31, 2020 in New York City. Government guidelines encourage wearing a mask in public with strong social distancing in effect as all 50 US states have begun to slowly reopen after weeks of stay-at-home measures to control the spread of COVID-19. (Photo by Rob Kim/Getty Images)

ในขณะที่หลายธุรกิจพยายามเปิดประตูต้อนรับลูกค้าอีกครั้ง โดยมีมาตรการความปลอดภัย เช่น การใส่มาสก์, การตรวจสอบอุณหภูมิ และการเว้นระยะห่างทางสังคม ที่ถูกบังคับใช้แล้ว แต่กฎเหล่านี้ไม่ได้แปลว่าความเสี่ยงของการติด COVID-19 นั้น เป็น 0 นั่นเป็นสาเหตุที่ธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็กออกแถลงการณ์และวางป้ายเพื่อบอกผู้มีอุปการคุณว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ COVID-19 ในที่สาธารณะ

สัญญาณได้ถูกโพสต์ที่สวนสาธารณะสำนักงานทันตกรรมและสถานที่ YMCA ทั่วประเทศ แต่แบรนด์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในการออกป้ายเตือนความเสี่ยงเหล่านี้คือ Disney และ Universal เนื่องจากบริษัททั้งสองได้เปิดศูนย์การค้าในฟลอริดาอีกครั้ง และกำลังเตรียมที่จะเปิดสวนสนุกในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ทั้งคู่ได้เตือนลูกค้าว่า เมื่อเข้าไปในสถานที่ของพวกเขา ทุกคนต่างมีความเสี่ยงในการติด COVID-19

“สวนสาธารณะมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำให้มันปลอดภัย ไม่ว่าจะด้วยการทำความสะอาดสวนสาธารณะทั้งหมด รวมถึงกลั่นกรองพนักงานของพวกเขาให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้คนที่ทำงานในสวนสาธารณะอย่างดีที่สุด แต่ก็ไม่ได้แปลว่า จะไม่มีไวรัส” Barry Kantrowitz หุ้นส่วนที่ Kantrowitz, Goldhamer & Graifman กล่าว

ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่สวนสนุกในการเตือนถึงความเสี่ยง อย่างรถไฟเหาะตีลังกาก็มาพร้อมกับคำเตือนด้านความปลอดภัยแนะนำผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ มีอาการบาดเจ็บที่หลัง หรือมีความไวต่อแสงแฟลชเพื่อเข้าร่วมในความเสี่ยงของตนเอง ซึ่งการทำสิ่งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าอ้างว่าพวกเขาไม่ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงและบอกว่าสวนสนุกนั้นประมาท ซึ่งมันเป็นความรู้สึกเดียวกันเมื่อเตือนลูกค้าเกี่ยวกับความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19

อย่างไรก็ตาม หากพูดถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากเครื่องเล่น ไม่ได้หมายความว่าบริษัทจะไม่ต้องรับผิดชอบ แต่อาจต้องรับผิดชอบหากข้อผิดพลาดเกิดจากบริษัทเอง เช่น อุปกรณ์ชำรุด แต่ในกรณีของ COVID-19 นั้น โจทก์จะต้องพิสูจน์ว่า เขาทำตามมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด และธุรกิจดังกล่าวไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย แต่ปัญหาคือ จะพิสูจน์ได้อย่างไรว่า ได้รับมาจากที่ใดในที่สาธารณะ?

ดังนั้น ในกรณีของ COVID-19 บุคคลนั้นจะต้องพิสูจน์ว่ามาตรการความปลอดภัยถูกละเลยโดยบริษัท เช่น หากพนักงานที่คอยดูแลลูกค้าที่ไปที่สวนสนุกก็มีอาการป่วยอย่างเห็นได้ชัดไอและมีไข้ แต่ผู้จัดการของเขาไม่ได้ส่งเขากลับบ้านบางทีอาจมีกรณีหนึ่งเกิดขึ้น

“ถือเป็นความรับผิดชอบขงเจ้าของสถานที่ หากสถานที่เหล่านั้นมีความประมาท และไม่ได้ทำสิ่งที่สมเหตุสมผลในสถานการณ์”

Source

]]>
1281579
“ฮ่องกง ดิสนีย์แลนด์” เตรียมเปิดบริการอีกครั้ง หลังสถานการณ์ COVID-19 มีแนวโน้มดีขึ้น https://positioningmag.com/1280170 Fri, 22 May 2020 15:08:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280170 ฮ่องกง ดิสนีย์แลนด์ สวนสนุกชื่อดังระดับโลก เตรียมพร้อมเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง หลังสถานการณ์ COVID-19 ในฮ่องกง มีแนวโน้มดีขึ้น

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สวนสนุกฮ่องกง ดิสนีย์แลนด์ รีสอร์ต กำลังเตรียมพร้อมเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของจีนมีแนวโน้มดีขึ้น

สวนสนุกฮ่องกง ดิสนีย์แลนด์ ได้ปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค. เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เช่นเดียวกับสวนสนุกดิสนีย์อีก 5 แห่งทั่วโลก

โฆษกประจำสวนสนุกฯ เผยว่าจะมีการเฝ้าระวังสถานการณ์โรคระบาดอย่างใกล้ชิด ปฏิบัติตามคำแนะนำจากสำนักสาธารณสุข และดำเนินมาตรการป้องกันเพื่อรับประกันความปลอดภัยด้านสุขภาพของนักท่องเที่ยวและพนักงานเมื่อเปิดให้บริการอีกครั้ง

“เราจะแจ้งให้สาธารณชนทราบถึงวันเปิดที่แน่ชัด และมาตรการที่จะดำเนินการอีกครั้ง”

ด้านสวนสนุกอีกแห่งหนึ่งอย่างฮ่องกง โอเชียนพาร์ค (Hong Kong Ocean Park) ซึ่งปิดทำการในเดือนมกราคมเช่นกัน ได้ประกาศเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาว่ากำลังเตรียมพร้อมเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้งภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้

ขณะที่สวนสนุกเซี่ยงไฮ้ ดิสนีย์แลนด์ บนจีนแผ่นดินใหญ่ได้เปิดให้บริการแล้วตั้งแต่วันที่ 11 พ.ค. ที่ผ่านมา และเป็นสวนสนุกดิสนีย์แห่งแรกจาก 6 แห่งทั่วโลกที่เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้งนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรค COVID-19

Source

]]>
1280170
“ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์” เตรียมขึ้นราคาบัตรเข้าชมรายวัน หลังอั้นไม่ไหวขาดทุนต่อเนื่อง 4 ปี https://positioningmag.com/1227101 Sun, 28 Apr 2019 06:59:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1227101 ดิสนีย์แลนด์สำหรับใครที่เป็นแฟนคลับตัวยงตัวการ์ตูนของวอลต์ ดิสนีย์ย่อมอยากไปเยือนสักครั้งในชีวิตอย่างแน่นอน ซึ่งใกล้ๆ บ้านเรามีให้เลือกถึง 3 แห่งได้แก่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น, ฮ่องกง และ มหานครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน

แต่ข่าวที่ออกมาล่าสุดไม่รู้จะเรียกว่าเป็นข่าวร้ายได้หรือไม่ เพราะกลุ่มสื่อจีนรายงานเมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา ระบุ ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์เตรียมขึ้นราคาบัตรเข้าชมรายวันเป็น 639 ดอลลาร์ฮ่องกง หรือราว 2,600 บาท และกลายเป็นบัตรเข้าสวนสนุกที่แพงที่สุดในภูมิภาคเอเชีย

รายงานระบุว่า ราคาดังกล่าวจะเริ่มบังคับใช้ในวันพุธ (24 เมษายน) เป็นการปรับขึ้นราคาครั้งที่ 5 นับตั้งแต่มีการเปิดสวนสนุกอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2548

Source : Facebook 香港迪士尼樂園 | Hong Kong Disneyland

นอกจากนี้แดนมหัศจรรย์ยังปรับขึ้นราคาบัตรเข้าชมรายปี โดยบัตรประเภทแพลตตินัมมีราคา 3,599 ดอลลาร์ฮ่องกง หรือราว 14,700 บาท บัตรทองราคา 2,059 ดอลลาร์ฮ่องกง หรือราว 8,400 บาท และบัตรเงินราคา 1,278 ดอลลาร์ฮ่องกง หรือราว 5,200 บาท

สวนสนุกดังระบุว่า การปรับราคาในครั้งนี้เป็นการขึ้นราคาที่น้อยมากเมื่อเทียบกับครั้งอื่น โดยสวนสนุกมีความจำเป็นต้องปรับราคาให้เหมาะสมกับต้นทุนในการดำเนินกิจการและสภาพแวดล้อม

การปรับราคาดังกล่าวทำให้ค่าเข้าชมฮ่องกงดิสนีย์แลนด์มีราคาสูงที่สุดในเอเชีย เมื่อเปรียบเทียบราคาค่าเข้าชมดิสนีย์แลนด์แห่งอื่น เช่น โตเกียวดิสนีย์แลนด์ที่มีราคาค่าบัตร 7,400 เยน หรือราว 2,100 บาท และเซี่ยงไฮ้ดิสนีย์แลนด์ราคา 399 หยวน หรือราว 2,000 บาท

ทั้งนี้ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์เป็นสวนสนุกที่ลงทุนร่วมกัน ระหว่างรัฐบาลฮ่องกงกับวอลต์ ดีสนีย์” (Walt Disney Company) ซึ่งที่ผ่านมามีผลประกอบการที่ไม่สู้ดีนัก โดยประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องมาแล้ว 4 ปี

Source

]]>
1227101
ควัก 3 พันล้าน ทุบปราสาท “สวนสยาม” พลิกสู่ “สยามเมืองบางกอก” https://positioningmag.com/1156950 Wed, 14 Feb 2018 08:50:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1156950 ธุรกิจสวนสนุกในประเทศไทย ปัจจุบันไม่ใช่ขาขึ้นมากนัก เพราะจากข้อมูลของสมาคมสวนสนุกโลก (IAAPA) ระบุว่า สถานการณ์ตลาดไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวมากนัก เพราะยุคนี้มีสิ่งดึงดูดผู้บริโภคมากขึ้น เช่น สวนน้ำ ความบันเทิงกึ่งการเรียนรู้ (Edutainment) ที่เข้ามาแย่งตลาดมากขึ้น ทำให้สถานการณ์ของเจ้าตลาดสวนสนุกในประเทศไทยอย่างสวนสยามทะเลกรุงเทพฯเผชิญภาวะรายได้ดิ่งลง ไม่เพียงแค่รายเดียว แต่คู่แข่งในสนามเดียวกันอย่างดรีมเวิลด์ก็เหนื่อยไม่แพ้กัน

เพื่อไม่ให้ธุรกิจเจ็บตัว “ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ” ประธานคณะกรรมการ กลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้ จำกัด ผู้ก่อตั้งสวนสยามฯ เลยต้องปรับแผนพัฒนาพื้นที่โครงการใหม่สวนสยามเนื้อที่ 400 ไร่ใหม่ ยอมทุบทิ้งอาคารทางเข้าที่เป็นปราสาทอันเป็น “ไอคอนิค” ของโครงการที่สร้างยาวนานกว่า 40 ปี เพื่อนำพื้นที่บริเวณดังกล่าว 70 ไร่ ไปลุยโปรเจกต์ใหม่ “สยามเมืองบางกอก” มูลค่า 3,000 ล้านบาท ส่วนสวนน้ำยังเปิดบริการปกติ

“สิ่งหนึ่งที่ต้องทำทั้งที่ไม่อยากทำก็คือ การทุบทิ้งอาคารทางเข้าด้านหน้าที่เป็นปราสาททางเข้าสวนสยาม สัญลักษณ์ที่สร้างมานานกว่า ทศวรรษ” ไชยวัฒน์ บอกถึงความรู้สึก

สำหรับโครงการสยามบางกอก มีพื้นที่รวม 6,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) แบ่งการพัฒนาเป็น เฟส โดยเฟสแรกจะลงทุน 300 ล้านบาท เพื่อทำจุดจำหน่ายบัตร จุดประชาสัมพันธ์ ห้องจัดเลี้ยง ห้องประชุม พื้นที่การค้า เป็นต้น ซึ่งจะแล้วเสร็จไตรมาส ปีหน้า

เฟส จะก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ จำนวน 13 อาคาร สำหรับการจำลองวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ สมัยเก่ามาไว้ให้ชม เช่น ศาลาเฉลิมไทย ศาลาเฉลิมกรุง ห้างแบดแมนแอนด์โก ห้างบีกริมแอนด์โก คลองถม สำเพ็ง เยาวราชไชน่าทาวน์ บ้านพระอาทิตย์ เรียกว่าเป็นการดึงสถานที่แม่เหล็กที่เคยเป็นแหล่งไลฟ์สไตล์และการท่องเที่ยวของคนกรุงมาไว้ในที่เดียวเสร็จสรรพ

สยามเมืองบางกอก

ภายในโครงการยังมีเรือนขนมปังขิง เพื่อเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าชุมชน โอทอป ทั่วประเทศด้วย เพื่อให้พ่อค้าแม่ขายมีช่องทางจำหน่ายสินค้า แต่อีกมุมหนึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับทางโครงการ เพราะสวนสยามไม่ได้มีแค่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ไปเยือน แต่ยังมีต่างชาติเข้าไปหาความสนุกสนาน เมื่อกลับออกจากโครงการก็จะได้ซื้อสินค้าที่ระลึกของฝากติดไม้ติดมือกลับไปได้ โดยเฟส นี้ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2563  

โครงการสยามบางกอกนี้จะใช้เวลาคืนทุนไม่ต่ำกว่า 10-15 ปี แต่จะเป็น “จิ๊กซอว์” สำคัญให้กับสยามพาร์คหลายด้าน ตั้งแต่การเพิ่มรายได้ของบริษัท จากเกือบ 500 ล้านบาท ในปี 2560 จะเพิ่มเป็น 1,500 ล้านบาทต่อปี และมีผู้ใช้บริการรวม 3 ล้านคน ช่วยดึงกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามามากขึ้นเป็น 50% จากเดิมสัดส่วน 30% และคนไทย 70% ช่วยบาลานซ์พอร์ตโฟลิโอลูกค้าได้เป็นการกระจายความเสี่ยงในการทำเงินที่ไม่กระจุกตัวอยู่แค่กลุ่มเป้าหมายเดียว

เมื่อรายได้เพิ่ม ยังเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้บริษัท “มีโอกาส” นำบริษัทเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายใน ปีข้างหน้า หลังจากที่ผ่านมามีความพยายามที่จะระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว แต่ยังมีปัญหาเรื่องผลประกอบการ ทำให้เป็นอุปสรรคในการยื่นแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไม่ผ่าน

อย่างไรก็ตาม ความมุ่งมั่นในการเข้าตลาดครั้งนี้ มีความชัดเจนอีกครั้ง เพราะบริษัทได้ ใน Big4 ผู้ตรวจสอบบัญชี อย่าง EY มาเป็นที่ปรึกษาทางการเงินเรียบร้อยแล้ว

“เคยคิดจะเข้าตลาดหุ้นมานานแล้ว นึกว่าเข้าง่าย เอาเข้าจริงมันยาก เพราะบริษัทต้องมีความพร้อมทั้งด้านการบริการ จัดการ รายได้ กำไร เราต้องทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้น ต้องมีการจัดการที่ดี แต่ตอนนี้มีรุ่นลูกเข้ามาช่วยรับช่วงบริหารและสานโปรเจกต์ต่อแล้ว  ไชยวัฒน์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลของสมาคมสวนสนุกโลก (IAAPA) ระบุว่า ในปี 2558 ธุรกิจสวนสนุกไทยมีมูลค่าประมาณ 1,500-2,000 ล้านบาท เท่านั้น และมีการเติบโตค่อนข้างน้อย โดยตลาดยังแบ่งย่อยเป็น หมวดได้แก่ สวนสนุกกลางแจ้ง ธีมพาร์ค เช่น สวนสยามฯ ดรีมเวิลด์ฯ และสวนสนุกในร่ม ซึ่งอยู่ตามศูนย์การค้าต่างๆ รวมจำนวนสวนสนุกกว่า 20 แห่ง แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวไปใช้บริการประมาณ 5-10 ล้านคน.

]]>
1156950