สหรัฐอเมริกา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 11 Dec 2024 01:56:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ชื่อทรัมป์ทำพิษ! ฉุดส่งออก ‘จีน’ ชะลอตัวลง นักวิเคราะห์เชื่อ ผลกระทบจะยิ่งชัดในเดือนธ.ค.-ม.ค https://positioningmag.com/1502693 Wed, 11 Dec 2024 01:55:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1502693 การส่งออกของ จีน ในเดือนพ.ย. เติบโตในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่การนำเข้าหดตัวกว่าที่คาด ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่น่ากังวลสำหรับเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก หลังจากที่โดนัลด์ ทรัมป์จะกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้ ที่นำมาซึ่งความเสี่ยงทางการค้าใหม่

ข้อมูล ศุลกากรจีน แสดงให้เห็นว่า การส่งออกของประเทศในเดือนพ.ย. เติบโตเพียง +6.7% ซึ่งน้อยกว่าการสำรวจจากนักเศรษฐศาสตร์ของ Reuters ที่ระบุว่า เพิ่มขึ้น +8.5% และน้อยกว่าในเดือนตุลาคมซึ่งเพิ่มขึ้น +12.7%

ที่น่ากังวลกว่านั้นคือ ปริมาณ การนำเข้าหดตัว 3.9% ซึ่งถือเป็นผลงานที่แย่ที่สุดในรอบ 9 เดือน และต่ำกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.3% ส่งผลให้มีการเรียกร้องให้มีการสนับสนุนนโยบายเพิ่มเติมเพื่อพยุงอุปสงค์ในประเทศอย่างต่อเนื่อง

โดยผลการส่งออกที่ลดลง ได้เกิดขึ้นหลังจากที่ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐฯ ให้คำมั่นว่าจะจัดเก็บภาษีสินค้าจีนเพิ่มอีก 10% เพื่อกดดันให้รัฐบาลจีน หยุดยั้งการค้าสารเคมีที่ใช้ในการผลิตเฟนทานิล และก่อนหน้านี้ ทรัมป์เคยกล่าวไว้ว่า จะเรียกเก็บภาษีสินค้าจีนเกิน 60%

ในขณะเดียวกัน จีนยังไม่สามารถจัดกับความตึงเครียดกับสหภาพยุโรปกรณีภาษีนำเข้าสูงถึง 45.3% สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในจีน ถือเป็นภัยคุกคามที่จะเปิดแนวร่วมที่สองในการทำสงครามการค้าระหว่างจีนกับฝ่ายตะวันตก ดังนั้น การขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อจีนมากขึ้น เนื่องจากการส่งออกของเศรษฐกิจจีนที่มีมูลค่า 19 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นแรงกระตุ้นการเติบโตหลักประการหนึ่ง ในขณะที่ความเชื่อมั่นของครัวเรือนและธุรกิจ ลดลงจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์

“สัญญาณเริ่มแรกของการเร่งรัดการค้าเพื่อเตรียมรับมือภาษีของทรัมป์ในปีหน้าเริ่มปรากฏให้เห็นแล้ว แต่ผลกระทบเต็มที่จะไม่ปรากฏให้เห็นจนกว่าจะถึงเดือนต่อ ๆ ไป โดยเฉพาะเดือนธันวาคมและมกราคม” Xu Tianchen นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก Economist Intelligence Unit กล่าว

อย่างไรก็ตาม จากการนำเข้าที่ลดลง ส่งผลให้การค้าของจีนเกินดุลเพิ่มขึ้นเป็น 97,440 ล้านดอลลาร์ ในเดือนที่แล้ว จาก 95,720 ล้านดอลลาร์ในเดือนตุลาคม โดยเศรษฐกิจจีนมีสัญญาณการกระตุ้นเศรษฐกิจบ้างเล็กน้อยเมื่อไม่นานนี้ โดยผู้ผลิตรายงานสภาวะการดำเนินธุรกิจที่ดีที่สุดในรอบ 7 เดือนจากการสำรวจโรงงานในเดือนพฤศจิกายน

บริษัทต่าง ๆ กล่าวว่า พวกเขายังคง ได้รับคำสั่งซื้อส่งออกน้อยลง แสดงให้เห็นว่าผู้ซื้อยังคงหายากในภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และผู้ส่งออกกำลังย้ายสินค้าไปยังคลังสินค้าในต่างประเทศ เนื่องจากคาดว่าความต้องการจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

ขณะที่การส่งออกของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการนำเข้าของจีน ชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 14 เดือนในเดือนพฤศจิกายน และการส่งออกสินค้าของเกาหลีใต้ไปยังจีนลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้ผลิตในจีนซื้อส่วนประกอบของเกาหลีใต้น้อยลงเพื่อส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูปอีกครั้ง

ทั้งนี้ ที่ปรึกษาของรัฐบาลแนะนำให้ปักกิ่งคงเป้าหมายการเติบโตไว้ที่ประมาณ 5% ในปีหน้า และดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้มงวดยิ่งขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาษีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของสหรัฐฯ โดยอาศัยตลาดผู้บริโภคภายในประเทศ

]]>
1502693
ถึงคิว ‘แคนาดา’ ขึ้นภาษี ‘อีวีจีน’ 100% ตามรอยสหรัฐฯ เพื่อตอบโต้การแข่งขันไม่เป็นธรรม https://positioningmag.com/1488025 Thu, 29 Aug 2024 08:43:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1488025 หลังจากที่ สหรัฐอเมริกา เตรียมขึ้นภาษีการนำเข้า รถอีวีจากจีน 100% รวมถึง สหภาพยุโรป ที่ขึ้นภาษีการนำเข้ารถจากจีนเช่นกัน ล่าสุด แคนาดา ก็เป็นอีกประเทศที่ประกาศขึ้นภาษีการนำเข้ารถอีวีจีน เพื่อสกัดกั้นการนำเข้า

จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ได้ประกาศว่า ประเทศแคนาดาจะจัดเก็บ ภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในจีน 100% เท่ากับภาษีของสหรัฐฯ จากเดิมที่จัดเก็บเพียง 6.1% โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ต.ค. 2567 นอกจากนี้ ยังจะเรียกเก็บภาษีนำเข้า จากเหล็กและอะลูมิเนียมของจีน 25% อีกด้วย โดยจะบังคับใช้วันที่ 15 ต.ค. 2567

ที่ผ่านมา ทางการจีน มีแนวโน้ม แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ หลังจากที่รัฐบาลประกาศขึ้นภาษีนำเข้าใหม่ครั้งใหญ่ ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ขั้นสูง โซลาร์เซลล์ เหล็ก อะลูมิเนียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ของจีน เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลจีนพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากการระบาดของ COVID-19 

ขณะที่ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวหาว่า รัฐบาลจีนให้เงินอุดหนุนสำหรับแบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ ซึ่งช่วยให้บริษัทจีนไม่ได้โฟกัสที่การทำ กำไร ซึ่งนั่นทำให้บริษัทเหล่านั้นได้รับความได้เปรียบที่ไม่เป็นธรรมในการค้าโลก

“แคนาดากำลังดำเนินการต่อต้านสิ่งที่เขาเรียกว่าเป็นนโยบายรัฐบาลจีนเลือกที่จะให้บริษัทของประเทศตัวเองได้รับข้อได้เปรียบที่ไม่เป็นธรรมในตลาดโลก โดยตั้งใจผลิตเกินกว่าที่จีนจะบริโภคเพื่อส่งออก และไม่คิดว่าจีนกำลังเล่นตามกฎเดียวกัน” ทรูโด กล่าว

ทั้งนี้ จีนถือเป็นพันธมิตรการค้ารายใหญ่เป็น อันดับสองของแคนาดา รองจากสหรัฐฯ ซึ่งจีนก็ได้ออกตอบโต้มาตรการดังกล่าวว่า เป็นการกีดกันทางการค้า ซึ่งละเมิดกฎขององค์การการค้าโลก และจวกว่า แคนาดากำลัง ทำลายระบบเศรษฐกิจโลก

ที่ผ่านมา รถอีวีจากจีนสามารถขายได้ในราคาเพียง 12,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.2 แสนบาท)

Source

]]>
1488025
ลือ ‘สหรัฐฯ’ เล็งขึ้นภาษี ‘รถอีวี’ จากจีนเพิ่ม 4 เท่า เป็น 100% เพื่อสกัดการนำเข้า https://positioningmag.com/1473144 Mon, 13 May 2024 03:27:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1473144 มีข่าวลือว่า ประธานาธิบดี โจ ไบเดน เตรียมประกาศภาษีสินค้าจากจีนในช่วงกลางสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่จะเป็นขึ้นภาษีครั้งใหญ่ นอกจากนี้ยังมีสินค้าสำคัญ ๆ อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ และ อุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์

มีข่าวลือว่า รัฐบาลสหรัฐฯ เตรียมแก้ไข ภาษีมาตรา 301 โดยจะมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันเชิงกลยุทธ์และความมั่นคงของชาติ โดยจะเพิ่มอัตราภาษีใหม่กับ เซมิคอนดักเตอร์, อุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ และ รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึง เวชภัณฑ์ เช่น เข็มฉีดยาและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ผลิตใน จีน

มีการคาดการณ์ว่า ภาษีรถอีวีของจีนจะเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า หรือคิดเป็น 100% ขณะที่ประธานคณะกรรมการการธนาคารวุฒิสภาต้องการให้ฝ่ายบริหารของไบเดน แบนรถยนต์ไฟฟ้าของจีนโดยสิ้นเชิง เนื่องจากความกังวลว่าอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อข้อมูลส่วนบุคคลของชาวอเมริกัน

ปัจจุบัน สหรัฐฯ มีการเรียกเก็บภาษีนำเข้ารถอีวีจีนที่ 25% แต่เพราะราคาที่ไม่ได้สูงมากของรถอีวีจีน ทำให้ไม่ได้ติดปัญหาเรื่องกำแพงภาษีมากนัก ดังนั้น รถอีวีจีนจึงยังสามารถแข่งขันได้ในสหรัฐฯ แต่หากการขึ้นภาษีใหม่เกิดขึ้นจริง จะทำให้รถอีวีจีนที่ขายในสหรัฐอเมริกา อาจต้องขายในราคา เพิ่มขึ้นอีก 2 เท่า อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการนําเข้ารถยนต์จีนยังมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย

ต้องยอมรับว่า การผลิตรถอีวีของจีนได้เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยย้อนกลับไปเมื่อปี 2015 ส่วนแบ่งตลาดรถอีวีของจีนมีเพียง 0.84% เท่านั้น ซึ่งใกล้เคียงกับสหรัฐฯ ที่มี 0.66% แต่ในปี 2023 ที่ผ่านมา ส่วนแบ่งตลาดรถอีวีของจีนก็พุ่งขึ้นเป็น 37% มากกว่าส่วนแบ่งของสหรัฐฯ ที่มี 7.6% 

นอกจากนี้ จีนยังเดินหน้าส่งออกรถอีวีไปยังตลาดต่างประเทศจำนวนมาก หลังจากที่ตลาดจีนเริ่มมีการเติบโตที่ชะลอตัวลง และมีการแข่งขันราคาอย่างรุนแรง ทำให้สหรัฐฯ จึงพิจารณาปรับขึ้นอัตราภาษี เพื่อให้กำแพงภาษีที่สูงขึ้น อาจจะลดการนำเข้าและลดการแข่งขันในสหรัฐฯ

Reuters / electrek

]]>
1473144
รัฐบาลสหรัฐฯ ทุ่ม 6.6 พันล้าน ดึง ‘TSMC’ ผู้ผลิตชิปเบอร์ 1 ของโลก ขยายโรงงานในอเมริกา https://positioningmag.com/1469461 Tue, 09 Apr 2024 03:29:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469461 ไม่ใช่แค่สกัดกั้น จีน ในการเข้าถึงชิประดับสูง แต่ สหรัฐฯ ยังเดินเกมดึงพันธมิตรเข้ามาลงทุนในประเทศ โดยรัฐบาลสหรัฐฯ วางแผนที่จะมอบเงิน 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง TSMC เพื่อขยายโรงงานในรัฐแอริโซนา

รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศว่า ได้ลงนามในข้อตกลงที่ไม่มีผลผูกพันกับ TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Co.) บริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์อันดับ 1 ของโลกสัญชาติไต้หวัน เพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับลงทุนเปิดโรงงานผลิตในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จะให้เงินอุดหนุนมูลค่า 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกเหนือจากเงินกู้รัฐบาลประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ จากกฎหมาย Chips and Science Act

ขณะที่ TSMC เองก็ตกลงจะเพิ่มวงเงินลงทุนในสหรัฐฯ อีก 25,000 ล้านดอลลาร์ รวมเป็น 65,000 ล้านดอลลาร์ โดยเตรียมที่จะสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ภายในปี 2030 โดยการลงทุนดังกล่าว ถือเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐแอริโซนา  

“อเมริกาคิดค้นชิปเหล่านี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราเปลี่ยนจากการผลิตเกือบ 40% ของกำลังการผลิตของโลก เหลือเพียง 10% และไม่มีชิปที่ทันสมัยที่สุดเลย นั่นทำให้เราเผชิญกับความเปราะบางทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติอย่างมีนัยสำคัญ” โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าว

ปัจจุบัน TSMC ครองสัดส่วนถึง 90% ของชิปที่ทันสมัยที่สุดในโลก โดย Mark Liu ประธาน TSMC กล่าวว่า การจัดตั้งโรงงานในสหรัฐฯ จะทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงชิปภายในประเทศ ที่สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนไปจนถึงดาวเทียม รวมถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ด้วย

ทั้งนี้ โรงงานทั้ง 3 แห่งคาดว่าจะสร้างงานด้านเทคโนโลยีประมาณ 6,000 ตำแหน่ง และงานทางอ้อมมากกว่า 20,000 ตำแหน่ง เช่น ในการก่อสร้างการรักษาความปลอดภัย และซัพพลายเชน รวมถึงจะดึงดูดซัพพลายเออร์เซมิคอนดักเตอร์ 14 ราย ให้กับรัฐ

การที่สหรัฐฯ สามารถดึง TSMC มาลงทุนในประเทศได้นั้น ถือว่า Win-Win ทั้ง 2 ฝ่าย เพราะรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องนำการผลิตชิปมาใช้ในประเทศมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการผลิตชิปจากประเทศอื่น หลังจากที่เจอปัญหาชิปขาดแคลนไปในช่วงการระบาดของ COVID-19 จนส่งผลให้ราคาสูงขึ้น

ขณะที่ประเทศไต้หวันก็อยู่ในตำแหน่งที่อ่อนแอเช่นกัน เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญด้านซับพลายเชนและเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กังวลว่า ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อาจทำให้เกิดการรุกรานทางทหารกับไต้หวัน อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิปที่สำคัญของประเทศ นอกจากนี้ ไต้หวันเพิ่งเจอกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งย้ำให้เห็นถึงความเสี่ยงของอุตสาหกรรมต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ

สำหรับกฎหมาย Chips and Science Act ได้ผ่านการรับรองในเดือนสิงหาคม 2022 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศของสหรัฐฯ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและแข่งขันกับคู่แข่งได้ดีขึ้น เช่น จีน โดยรัฐบาลได้ วางงบอุดหนุนด้านการวิจัยและการผลิตสูงถึง 52,700 ล้านดอลลาร์ นอกจากนี้สมาชิกสภาคองเกรสยังได้อนุมัติวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอีก 75,000 ล้านดอลลาร์ด้วย

Source

]]>
1469461
จีนเริ่มแบนชิป Intel และ AMD ภายในคอมพิวเตอร์ของรัฐบาล หันมาสนับสนุนและพัฒนาชิปเป็นของตัวเอง https://positioningmag.com/1467429 Mon, 25 Mar 2024 01:43:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1467429 รัฐบาลจีนได้เริ่มแบนชิป Intel และ AMD ภายในคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลแล้ว ขณะที่รัฐวิสาหกิจของจีนนั้นจะมีการเปลี่ยนผ่านให้แล้วเสร็จภายในปี 2027 ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นก้าวย่างสำคัญในการพึ่งพาเทคโนโลยีการผลิตชิปในประเทศ

Financial Times ได้รายงานข่าวโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่ารัฐบาลจีนได้ห้ามใช้ชิปของ Intel รวมถึง AMD ภายในคอมพิวเตอร์ของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์ของรัฐบาล และจะมีการสนับสนุนให้ใช้ชิปที่ผลิตภายในประเทศจีนรวมถึงระบบปฏิบัติการเป็นของตัวเองมากขึ้น

สำหรับกฎการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือแม้แต่เซิร์ฟเวอร์ของรัฐบาล จะต้องเข้าเกณฑ์ที่รัฐบาลจีนกำหนดว่าหน่วยประมวลผลดังกล่าวจะต้อง “ปลอดภัยและเชื่อถือได้” โดยชิปประมวลผลที่รัฐบาลได้ไฟเขียว 18 ผู้ผลิต เช่น Huawei หรือ Phytium ซึ่งผู้ผลิตรายชื่อดังกล่าวส่วนใหญ่รัฐบาลจีนได้ให้การอุดหนุนอยู่แล้ว

นอกจากการห้ามใช้ชิป Intel และ AMD ภายในคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลแล้ว จีนยังเตรียมที่จะยกเลิกการใช้ปฏิบัติการ Microsoft Windows รวมถึงซอฟต์แวร์ด้านฐานข้อมูลก็คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปใช้ซอฟต์แวร์ในประเทศเพิ่มมากขึ้น

แผนการดังกล่าวนั้นตามหลังมาจากแนวทางดังกล่าวซึ่งเปิดเผยในเดือนธันวาคมปี 2023 ที่ผ่านมา

ผลกระทบต่อบริษัทต่างๆ นั้นแตกต่างกันไป โดย Intel นั้นจะได้รับผลกระทบมากสุด เนื่องรายได้จากประเทศจีนนั้นมีสัดส่วนมากถึง 27% ขณะที่ AMD มีสัดส่วนรายได้จากประเทศจีนราวๆ 15% ขณะที่ Microsoft ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขดังกล่าว แต่ผู้บริหารของบริษัทได้เคยกล่าวกับสภาคองเกรสว่ารายได้จากประเทศจีนนั้นมีสัดส่วนราวๆ 1.5% จากรายได้ทั้งหมด

ไม่ใช่แค่หน่วยงานรัฐบาลที่ได้รับคำสั่งดังกล่าวเช่นกัน แต่รัฐวิสาหกิจเองก็ต้องทำตามแผนดังกล่าว โดยคาดว่าในส่วนของรัฐวิสาหกิจจะต้องมีการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในปี 2027 และต้องมีการแจ้งความคืบหน้าในการเปลี่ยนระบบไอทีในทุกไตรมาสด้วย

ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้พยายามในการผลิตชิปด้วยเทคโนโลยีภายในประเทศให้ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกา เช่น กรณีการผลิตโทรศัพท์มือถือรุ่น Mate 60 Pro ของ Huawei เป็นต้น

การผลิตชิปให้มีเทคโนโลยีล้ำหน้านั้นถือเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีของจีน ทั้งไม่ว่าจะเป็นการใช้โดยประชาชน หรือแม้แต่การใช้ในเทคโนโลยีการทหาร

นโยบายล่าสุดของจีนแสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญในการที่จะทยอยใช้เทคโนโลยีทดแทนภายในประเทศ จากเดิมที่พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ขณะเดียวกันความเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้นก็แสดงให้เห็นถึงความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มมากขึ้น

]]>
1467429
15 บริษัทสหรัฐฯ สนใจเข้าลงทุนในเวียดนาม ทั้งผลิตชิป พลังงานสะอาด ฯลฯ มูลค่ารวมกัน 285,000 ล้านบาท https://positioningmag.com/1460519 Sun, 28 Jan 2024 08:25:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460519 15 บริษัทสหรัฐฯ สนใจเข้าลงทุนในเวียดนาม ทั้งผลิตชิป พลังงานสะอาด ฯลฯ มูลค่ารวมกัน 285,000 ล้านบาท ความเคลื่อนไหวดังกล่าวตามมาจากการเข้าพบปะพูดคุยระหว่างนายกรัฐมนตรีเวียดนามกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า 15 บริษัทในสหรัฐฯ ได้สนใจเข้าลงทุนในประเทศเวียดนามในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิตชิป พลังงานสะอาด โดยมูลค่ารวมกันมากถึง 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 285,000 ล้านบาท

Jose Fernandez เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้กล่าวว่า 15 บริษัทเหล่านี้ได้ประกาศลงทุนรวมกันมากถึง 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตจากอุตสาหกรรมการผลิตชิป หรือแม้แต่การรักษาสิ่งแวดล้อมจากพลังงานสะอาด

อย่างไรก็ดีเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ รายดังกล่าวไม่ได้กล่าวว่า 15 บริษัทที่จะมาลงทุนในเวียดนามนั้นมีบริษัทอะไรบ้าง แต่ได้กล่าวถึงการให้คำมั่นสัญญาของบริษัทหลายแห่งที่จะลงทุนในเวียดนาม

สหรัฐฯ ได้พัฒนาความสัมพันธ์กับเวียดนามเพิ่มมากขึ้นในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นในการลงทุนจากบริษัทต่างๆ ที่ต้องการกระจายการลงทุนออกจากประเทศจีน เพื่อความยืดหยุ่นด้าน Supply Chain ขณะเดียวกันเวียดนามเองก็เพิ่มความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ในเชิงความมั่งคงเพื่อจะคานอำนาจกับจีนในทะเลจีนใต้

ในส่วนของภาคเอกชนนั้น บริษัทใหญ่ๆ ที่สำคัญเช่น Apple ได้ตัดสินใจย้ายกำลังการผลิตออกจากประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น หรีอแม้แต่บริษัทอื่นๆ เช่น Dell Google และ Microsoft ก็มีการลงทุนในเวียดนามแล้วเช่นกัน ล่าสุดบริษัทอย่าง Nvidia ก็ประกาศที่จะลงทุนในเวียดนามด้วย 

เศรษฐกิจเวียดนามที่กำลังเติบโต และสัดส่วนประชากรวัยทำงานที่สูง กำลังซื้อของประชากรรวมถึงการเพิ่มจำนวนของชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น ยังทำให้ส่งผลดีต่อภาคเอกชนจากหลายประเทศที่เข้าไปลงทุนสามารถขายสินค้าของตัวเองในเวียดนามได้เพิ่มขึ้นอีกทาง

ในส่วนของเวียดนามได้มีการแก้กฎหมายต่างๆ เพื่อเอื้อแก่การลงทุนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านพลังงานสะอาดที่กำหนดพื้นที่สำหรับทำฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่ง หรือแม้แต่ภาคอุตสาหกรรมสามารถต่อรองการซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าได้ เพื่อจะเอื้อให้เอกชนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน

]]>
1460519
ค้าปลีกสหรัฐฯ ให้ส่วนลดผู้บริโภคเพิ่มถ้าไม่ส่งคืนสินค้ากลับคืน หลังต้นทุนพุ่งสูงจนแบกไม่ไหว https://positioningmag.com/1454210 Sun, 03 Dec 2023 09:31:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1454210 ธุรกิจค้าปลีกสหรัฐฯ ได้ปรับแผนธุรกิจในช่วงที่ผ่านมาด้วยการแจ้งลูกค้าว่าอย่าคืนสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่าค่าใช้จ่ายในการคืนสินค้าโดยให้ส่วนลดหรือคูปองให้กับผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าไปแล้ว หรือให้ส่วนลดเพิ่มเติมถ้าหากผู้บริโภคนำสินค้ากลับมาคืนที่ร้านค้าด้วยตัวเอง จากต้นทุนในการส่งคืนสินค้าพุ่งสูงจนภาคธุรกิจแบกรับไม่ไหว

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า ธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาหลายรายเริ่มให้ส่วนลดหรือคูปองให้กับผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าไปแล้ว แต่ไม่พอใจสินค้าแล้วต้องการคืนสินค้ากลับ หรือให้ส่วนลดเพิ่มเติมถ้าหากผู้บริโภคนำสินค้ากลับมาคืนที่ร้านค้าด้วยตัวเอง หลังจากที่ต้นทุนในการส่งคืนสินค้าพุ่งสูงจนภาคธุรกิจแบกรับไม่ไหว

สื่อรายดังกล่าวได้สอบถามผู้ซื้อสินค้า 17 รายจากหลากหลายธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐอเมริกา เช่น Walmart รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Amazon หรือแม้แต่ Temu เป็นต้น ลูกค้าเหล่านี้ได้กล่าวว่า ธุรกิจค้าปลีกหลายแห่งได้แจ้งลูกค้าว่าอย่าคืนสินค้าที่มีมูลค่าประมาณ 20 ดอลลาร์ถึง 300 ดอลลาร์ รวมถึงสินค้าที่มีข้อบกพร่องหรือจัดส่งด้วยความผิดพลาดด้วย

ขณะที่ข้อมูลจาก goTRG ซึ่งสำรวจผู้บริหาร 500 รายในธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ 21 ราย ซึ่งรวมถึง Walmart และ Amazon.com ธุรกิจค้าปลีกมากถึง 59% ได้เสนอนโยบาย “ไม่คืนสินค้า” หรือ “เก็บไว้” สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าไม่ต้องการซึ่งสินค้าเหล่านี้มีต้นทุนการคืนสินค้าเกินมูลค่า

ทางด้านผู้ผลิตสินค้าประเภท ชุดชั้นใน เครื่องนอน เป็นหนึ่งในกลุ่มแรกที่นำนโยบาย “ไม่คืนสินค้า” มาใช้ เนื่องจากเรื่องสุขอนามัย รวมถึงกฎความปลอดภัยด้านสุขภาพในสหรัฐอเมริกา โดยผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้ได้ขอให้ผู้ซื้อบริจาคสิ่งของหรือมอบเป็นของขวัญให้เพื่อนแทนที่จะส่งกลับบริษัท

Amazon ก็ถือเป็นอีกบริษัทที่ใช้นโยบายดังกล่าวเช่นกัน เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการส่งกลับสินค้านั้นเพิ่มสูงขึ้น – ภาพจาก Shutterstock

ปัญหาของธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาหลายที่กำลังประสบในช่วงเวลานี้คือต้นทุนจากการคืนสินค้า โดยตัวเลขในปี 2022 ที่ผ่านมาจาก Appriss Retail และ National Retail Federation พบว่ามูลค่าสินค้าที่ส่งคืนในสหรัฐอเมริกานั้นมากถึง 816,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งยอดดังกล่าวสูงกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดมากถึง 2 เท่าด้วยกัน

ข้อมูลจาก Optoro บริษัทที่ปรึกษาด้านค้าปลีกได้ชี้ว่าในช่วงวันหยุดของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นวันขอบคุณพระเจ้า แบล็คฟรายเดย์ และไซเบอร์มันเดย์ และดำเนินต่อไปหลังช่วงวันคริสต์มาส ซึ่งมีกิจกรรมลดแลกแจกแถมจากธุรกิจค้าปลีกทั่วสหรัฐอเมริกา คาดว่าในช่วงดังกล่าวของปี 2023 นี้จะมีมูลค่าสินค้าที่ส่งคืนมากถึง 173,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วถึง 28%

ค่าขนส่งและค่าจัดการต่างๆ รวมถึงการใช้คลังสินค้าในสหรัฐฯ ที่ล้นหลาม ส่งผลทำให้บริษัทต่างๆ ต้องหยุดรับเสื้อยืด ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง หรือเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่พึงประสงค์กลับคืน เนื่องจากทำให้ต้นทุนบริษัทเพิ่มขึ้น และยังสร้างภาระให้กับผู้ประกอบการรายอื่นที่อยู่ใน Supply Chain ที่เกี่ยวข้องด้วย

โดยทั่วไปแล้วธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐฯ จะมีค่าใช้จ่ายจากสินค้าส่งกลับมาประมาณ 30 ดอลลาร์ต่อชิ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวนั้นรวมถึงค่าขนส่งสินค้าอีกทอด ค่าใช้จ่ายจัดเรียงสินค้า ค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าที่ผู้บริโภคส่งกลับไปจำหน่ายต่อในราคาที่ถูกกว่า หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายในการกำจัดสินค้า ซึ่งทำให้บริษัทเหล่านี้เลือกที่จะใช้วิธีดังกล่าวในข้างต้นแทน

]]>
1454210
กองทัพสหรัฐฯ ช่วยญี่ปุ่นซื้ออาหารทะเล หลังจีนประกาศงดนำเข้า ประท้วงกรณีปล่อยน้ำเสียโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ https://positioningmag.com/1450161 Wed, 01 Nov 2023 04:28:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450161 กองทัพสหรัฐอเมริกาในญี่ปุ่น ได้ประกาศซื้ออาหารทะเลจากญี่ปุ่น เพื่อช่วยเหลือ โดยเริ่มต้นที่หอยเชลล์จำนวน 1 ตัน และส่งสัญญาณว่าจะมีการซื้อเพิ่มมากกว่านี้ นอกจากนี้ทูตสหรัฐฯ ประจำญี่ปุ่นยังกล่าวว่าอาจหามาตรการตอบโต้กรณีที่จีนแบนนำเข้าอาหารทะเลญี่ปุ่นด้วย

Reuters และ BBC ได้รายงานข่าวว่า กองทัพสหรัฐอเมริกาที่ประจำการในประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มซื้ออาหารทะเลจำนวนมาก เพื่อที่จะชดเชยหลังจากที่จีนได้สั่งแบนการนำเข้าอาหารทะเลญี่ปุ่น เพื่อประท้วงกรณีการปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ และส่งสัญญาณว่าจะมีการซื้อสินค้าประเภทดังกล่าวเพิ่มขึ้นหลังจากนี้

อาหารทะเลที่กองทัพสหรัฐจะซื้อเป็นการเริ่มต้นคือ หอยเชลล์เป็นจำนวน 1 ตัน เพื่อนำไปเลี้ยงทหารทั้งในฐานทัพและบนกองเรือรบ รวมถึงร้านค้าในฐานทัพ และจะมีการนำเข้าอาหารทะเลเพิ่มขึ้นหลังจากนี้ นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังเตรียมที่จะเจรจาในการส่งออกหอยเชลล์เข้าไปแปรรูปในสหรัฐอเมริกาด้วย

ญี่ปุ่นได้ส่งออกสินค้าประเภทดังกล่าวนี้ไปยังจีนหรือแม้แต่ฮ่องกงเป็นจำนวนมาก ซึ่งทั้ง 2 แหล่งดังกล่าวเป็นปลายทางส่งออกอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ยกตัวอย่างเช่น หอยเชลล์ ในปีที่ผ่านมาจีนได้นำเข้ามากถึง 100,000 ตัน

ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กรมศุลกากรของจีน ได้ออกแถลงการณ์ว่า เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางอาหาร จากการปนเปื้อนของกัมมันตภาพรังสี และเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคชาวจีน ทำให้จีนระงับการนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม เป็นต้นไป

ผลที่เกิดขึ้นทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องเตรียมเงินหลักแสนล้านเยนเพื่อช่วยเหลือชาวประมงที่ได้ผลกระทบจากผลดังกล่าว ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีทั้งการพัฒนาให้ชาวประมงหาตลาดอาหารทะเลในประเทศอื่น และเก็บปลาส่วนเกินแช่แข็งจนกว่าจะขายได้เมื่อมีความต้องการฟื้นตัว

Rahm Emanuel เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำญี่ปุ่น ได้กล่าวว่า สหรัฐฯ อาจพิจารณานำเข้าปลาจากญี่ปุ่นและจีนด้วย โดยก่อนหน้านี้ กองทัพสหรัฐฯ ไม่เคยซื้ออาหารทะเลที่จับได้ในทะเลญี่ปุ่นด้วยซ้ำ

นอกจากนี้เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำญี่ปุ่น ได้กล่าวว่าสหรัฐฯ กำลังพิจารณาหาวิธีตอบโต้ที่จีนได้สั่งแบนการนำเข้าอาหารทะเล โดยมองว่ามาตรการดังกล่าวของจีนนั้นถือว่าเป็นสงครามทางเศรษฐกิจ

ที่มา – Reuters, BBC

]]>
1450161
สหรัฐฯ เผชิญปัญหา “ออฟฟิศ” ร้างผู้เช่า อัตราเช่าสำนักงานดิ่งต่ำกว่ายุควิกฤตแฮมเบอร์เกอร์แล้ว https://positioningmag.com/1444466 Sat, 16 Sep 2023 03:14:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444466 วิกฤตภาคอสังหาฯ เพื่อเช่าโดยเฉพาะ “ออฟฟิศ” ของสหรัฐฯ อยู่ในจุดที่สาหัสกว่าช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008 แล้ว โดยอัตราพื้นที่ว่างของสำนักงานขึ้นไปแตะที่ 16.4% คาดเป็นผลมาจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและเทรนด์ทำงานจากบ้าน (Work from Home)

Colliers บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์และการลงทุน ประเมินอัตราพื้นที่ว่างของอาคารสำนักงานในสหรัฐฯ ว่าขึ้นไปแตะ 16.4% แล้ว ซึ่งถือเป็นสถิติ ‘นิวไฮ’ แซงหน้าอัตราสูงสุด 16.3% ที่เคยเกิดขึ้นช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เมื่อ 15 ปีก่อน

“พื้นฐานตลาดออฟฟิศของสหรัฐฯ กำลังอ่อนตัวลง เริ่มเห็นสัญญาณตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2022 เรื่อยมาจนถึงไตรมาส 2 ปี 2023 จนทำให้ภาพรวมอัตราดูดซับพื้นที่เช่าออฟฟิศกลายเป็น ‘ติดลบ’ และอัตราพื้นที่ว่างในอาคารสำนักงานพุ่งขึ้นเป็นสถิติใหม่” Stephen Newbold ผู้อำนวยการประจำประเทศฝ่ายวิจัยอาคารสำนักงาน Colliers แสดงความเห็นในรายงาน

ตั้งแต่ต้นปี 2023 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยสูง เทรนดทำงานจากบ้าน (Work from Home) และความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น

“อัตราพื้นที่ว่างในออฟฟิศสหรัฐฯ ขณะนี้อยู่ที่ 16.4% เพิ่มขึ้นมา 30 basis points จากไตรมาสแรก” Newbold ระบุ และคาดว่าความกดดันเหล่านี้จะทำให้อัตราพื้นที่ว่างยิ่งเพิ่มขึ้นอีกในระยะต่อไป

ทำเลที่ถือว่ามีอัตราพื้นที่ว่างในออฟฟิศสูงสุด ได้แก่ ฮูสตัน รัฐเท็กซัส, อินเดียนาโพลิส รัฐอินเดียนา และ ปริมณฑลของลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย

ออฟฟิศ
เมืองฮูสตัน รัฐเท็กซัส (Photo: Shutterstock)

การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วรวม 500 basis points ในช่วง 6 ไตรมาสที่ผ่านมาเพื่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อนั้น มีผลกระทบกับภาคอสังหาฯ เพื่อการพาณิชย์มาก

ในทศวรรษที่ผ่านมา เจ้าของอาคารสำนักงานเหล่านี้สามารถขอเงินกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำมาตลอด แต่เมื่ออัตราดอกเบี้ยขยับขึ้น ทำให้อัตราหนี้สินสูงขึ้นด้วย

ท่ามกลางความอึมครึมของภาคอสังหาฯ เชิงพาณิชย์ นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียรายหนึ่งคาดการณ์ว่า เมืองใหญ่บางเมืองในสหรัฐฯ ขณะนี้กำลังยืนอยู่ปากเหวทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า “วงจรหายนะ” เนื่องจากตลาดอาคารสำนักงานกำลังจะล้ม

กลุ่มเฮดจ์ฟันด์ก็เริ่มส่งสัญญาณให้ระมัดระวังในการลงทุนอสังหาฯ ที่เกี่ยวกับอาคารสำนักงาน และมองว่าธนาคารในสหรัฐฯ น่าจะเสียหายประมาณ 250 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 8,900 ล้านบาท) จากการไปเกี่ยวข้องกับภาคอสังหาฯ เชิงพาณิชย์

Source

]]>
1444466
‘หัวเว่ย’ ซุ่มสร้าง ‘โรงงานลับผลิตชิป’ โดยได้งบสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อเลี่ยงการคว่ำบาตรของ ‘อเมริกา’ https://positioningmag.com/1442262 Thu, 24 Aug 2023 07:29:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1442262 นับตั้งแต่ที่โลกเกิดปัญหาขาดแคลน ชิป ในช่วงที่ COVID-19 ระบาด ปัจจุบัน ชิปได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการทำสงครามระหว่าง จีน และ สหรัฐอเมริกา โดยสหรัฐฯ เองพยายามจะกีดกันจีนไปพร้อม ๆ กับสร้างความแข็งแรงของการผลิตชิปในประเทศ อย่างไรก็ตาม มีข่าวว่ารัฐบาลจีนได้แก้ปัญหาดังกล่าวโดยการให้งบกับ หัวเว่ย สร้างโรงงานลับไว้ผลิตชิป  

สมาคมผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ (Semiconductor Industry Association) ได้เปิดเผยกับ Bloomberg ว่า ทางรัฐบาลจีนให้เงินสนับสนุน หัวเว่ย (Huawei Technologies) เป็นมูลค่าถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ในการสร้าง โรงงานลับ สำหรับ ผลิตชิป ทั่วประเทศจีน เพื่อหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ

สำหรับหัวเว่ยได้เริ่มหันมาผลิตชิปในปี 2565 โดยที่ผ่านมาหัวเว่ยได้ซื้อโรงงานผลิตชิปที่มีอยู่อย่างน้อย 2 แห่ง และกําลังสร้างใหม่อีก 3 แห่ง โดยดำเนินกิจการในชื่ออื่นเพื่อจะได้ซื้ออุปกรณ์ผลิตชิปของอเมริกาทางอ้อม เนื่องจากบริษัทติด บัญชีดำ (Entity List) ของสหรัฐฯ

ทั้งนี้ หัวเว่ย ถูกขึ้นบัญชีดําทางการค้าในสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2562 โดยจํากัดซัพพลายเออร์ส่วนใหญ่จากการจัดส่งสินค้าและเทคโนโลยีไปยังบริษัทเว้นแต่บริษัทนั้น ๆ จะได้รับใบอนุญาต

ที่ผ่านมา จีนและสหรัฐฯ ต่างก็ทำสงครามเทคโนโลยีกัน โดยเฉพาะในด้านของชิปหรือเซมิคอนดักเตอร์ ที่ถือเป็นผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่สำคัญที่สุด เพราะต้องใช้ในทุกสิ่งตั้งแต่สมาร์ทโฟนไปจนถึงรถยนต์และตู้เย็น และยังถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญในการใช้งานทางทหารและการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ โดยนอกจากสหรัฐฯ จะจำกัดการส่งออกชิปที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลด้านเอไอไปยังจีนแล้ว ทางจีนก็ตอบโต้โดยการจำกัดการส่งออกวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชิปไปยังสหรัฐฯ และยุโรปด้วย

Source

]]>
1442262