ออกกำลังกาย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 06 Aug 2021 05:59:34 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไม่หยุดแค่ยีนส์ ‘Levi’s’ ซื้อแบรนด์ ‘Beyond Yoga’ รุกตลาดชุดออกกำลังกาย https://positioningmag.com/1345544 Fri, 06 Aug 2021 05:55:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345544 หากพูดถึงเสื้อผ้า ‘ยีนส์’ แบรนด์แรก ๆ ที่หลายคนนึกถึงคงหนีไม่พ้น ‘ลีวายส์’ (Levi’s) ที่ถือกำเนิดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1853 แต่ในยุคนี้ ลีวายส์ก็ได้ขยายเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ โดยล่าสุด Levi Strauss & Co. ได้ตกลงซื้อแบรนด์เครื่องแต่งกายโยคะ Beyond Yoga เพื่อเข้าสู่พื้นที่การแข่งขันในตลาด activewear หรือชุดสำหรับออกกำลังกาย

แม้จะไม่มีการเปิดเผยถึงมูลค่าดีลดังกล่าว แต่คาดว่าจะจบลงในไตรมาส 4 ปีนี้ และการเข้าซื้อแบรนด์ Beyond Yoga จะช่วยเสริมรายได้ให้บริษัททันที โดยคาดว่าในปีงบประมาณหน้า บริษัทจะมีรายได้สุทธิรวมกว่า 100 ล้านดอลลาร์ โดยข้อตกลงดังกล่าวควรช่วยให้ลีวายส์ขยายตลาดกลุ่มผู้หญิง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของยอดขายในปัจจุบัน ขณะที่เป้าหมายคือทำให้สัดส่วนกลุ่มผู้หญิงเติบโตถึง 50%

“เราดูการเข้าซื้อกิจการมาระยะหนึ่งแล้ว และตลาดชุดออกกำลังกายก็น่าสนใจมาก เราเห็นศักยภาพการเติบโตมหาศาล และมันจะทำให้เราเป็นบริษัทในกลุ่มเสื้อผ้าที่มีการเติบโตสูงและมีกำไรสูง” Chip Bergh ซีอีโอของ Levi กล่าว

ฮาร์มิต ซิงห์ ซีเอฟโอของลีวายส์ให้ความเห็นว่า Beyond Yoga มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในขณะที่มีผลกำไรเพิ่มขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และหลังจากการทำธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ Beyond Yoga จะดำเนินงานแบบแยกส่วนภายในธุรกิจของตน ผู้ร่วมก่อตั้ง Michelle Wahler จะยังคงดำรงตำแหน่ง CEO ของ Beyond Yoga ต่อไป ทั้งนี้ ลีวายส์วางแผนที่จะขยายแบรนด์ Beyond Yoga นอกสหรัฐอเมริกาและเปิดหน้าร้านเพิ่มเติม

การเข้าซื้อกิจการของลีวายส์ถือเป็นอีกหนึ่งตัวบ่งชี้ว่า ภาคการค้าปลีกมีการแข่งขันดุเดือดอยู่แล้วกำลังเติบโตอย่างร้อนแรงยิ่งขึ้น เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ ตั้งแต่ Kohl’s ไปจนถึง Target แย่งชิงส่วนแบ่งตลาดเสื้อผ้า activewear ที่ผ่านมา Big-box chains Dick’s Sporting Goods, Kohl’s และ Target ได้เปิดตัวชุดออกกำลังกายของตัวเองโดยแข่งขันกับแบนเนอร์ของ Nike, Under Armour และ Athleta ของ Gap เป็นต้น

เสื้อผ้าจากแบรนด์ Beyond Yoga

จากผลการระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลต่อเทรนด์แฟชั่น โดยเฉพาะเสื้อผ้ากีฬาที่หลายคนยังเลือกใส่แม้การระบาดจะลดลง เนื่องจากความสบายใยการสวมใส่ เช่น กางเกงที่ยืดหยุ่นได้และรองเท้าผ้าใบ โดยสามารถใส่ได้ทั้งเพื่อออกกำลังกายและออกไปซื้อของนอกบ้าน

“ในขณะที่บางคนเริ่มกลับไปที่สำนักงาน แต่คุณไม่เห็นชุดสูทอีกต่อไป คุณเห็นผู้คนเข้าไปในสำนักงานด้วยเสื้อผ้าที่ไม่เป็นทางการมากขึ้น แม้แต่ผลิตภัณฑ์ประเภทกีฬา และเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกอย่างแท้จริง”

หลังจากมีข่าว ส่งผลให้หุ้นลีวายส์เพิ่มขึ้นราว 1% ขณะที่หุ้นลีวายส์เพิ่มขึ้น 37% ทุกปี มูลค่าตามราคาตลาดอยู่ที่ 11.1 พันล้านดอลลาร์

Source

]]>
1345544
เปิดเหตุผลทำไมทีมทำงานดีขึ้น? เมื่อหัวหน้าออกกำลังกายมีวินัยทุกวัน! https://positioningmag.com/1331190 Sun, 09 May 2021 14:47:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331190 หัวหน้าที่ดีต้องออกกำลังกาย! ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ในองค์กรฟันธง การจัดการความเครียดของหัวหน้า คือหนทางพาลูกทีมทำงานเต็มประสิทธิภาพ แนะผู้นำทุกคนควรสละเวลา 5 นาทีรีเซตอารมณ์ทุกวัน ก่อนที่ความเหนื่อยใจจะทำร้ายการตัดสินใจในระยะยาว

แม้เทคนิคเช่นการนับถึง 10 และการหายใจเข้าลึก จะมีประโยชน์ แต่ผู้บริหารส่วนใหญ่พบว่ายากที่จะทำได้ผลเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่บีบคั้นและซับซ้อนกว่าปกติ สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ทำคือการหาทางทำให้มีช่วงเวลาที่จิตใจไม่สร้างความเครียดขึ้นมา ผ่านกิจกรรมที่ชอบในทุกวัน การันตีเทคนิคนี้จะสร้างความแตกต่าง ยกระดับวิธีปฏิสัมพันธ์กับตัวเอง คนรอบข้าง และลูกทีมแบบจับต้องได้

อย่าละเลย

Paul Donovan ผู้ก่อตั้งบริษัท The Change Company ในออสเตรเลียตั้งแต่ปี 1999 นั้นมีความเชี่ยวชาญในการแนะนำให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรสามารถเจรจาและตัดสินใจที่เอื้อให้ทีมทำงานอย่างมีคุณภาพ ล่าสุด Paul ออกมาแนะนำให้ผู้นำองค์กรจัดการความเครียดของตัวเอง หากต้องการให้ลูกน้องทุกคนมีประสิทธิผลในการทำงาน โดยอธิบายว่า แม้การจัดการกับความรับผิดชอบจำนวนมากจะเป็นส่วนหนึ่งของงานผู้นำก็จริง แต่การละเลยสุขภาพของตัวเอง ก็อาจจะทำร้ายประสิทธิภาพในการตัดสินใจได้แบบรุนแรง

Donovan บอกว่าในฐานะผู้นำ การจัดการความเครียดอาจเป็นเรื่องท้าทาย เพราะหัวหน้างานมักจะจมอยู่กับงานการทำงานหลายอย่างพร้อมกันตลอดเวลา ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามรักษาสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัว ดังนั้น การเรียนรู้วิธีจัดการความเครียด จึงเป็นสิ่งที่ทรงพลังที่สุดอย่างหนึ่งที่ผู้นำทุกคนสามารถทำได้ ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับสุขภาพจิตใจโดยรวม แต่ยังช่วยเพิ่มผลผลิตและสร้างความมั่นใจให้ตัวหัวหน้า ว่าจะสามารถทำงานบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเพื่อนร่วมทีม

Donovan ย้ำว่าผู้นำองค์กรหลายคนประสบกับความเครียดในระดับสูงค่อนข้างบ่อย ซึ่งในความเป็นจริง การศึกษาพบว่าสังคมโลกประสบกับความเครียดมากขึ้นเรื่อย เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งนี้มักเรียกกันว่าการแพร่ระบาดของความเครียดเป็นปัญหาใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทีมต้องทำโปรเจกต์ใหญ่ที่ทีมต้องทุ่มเทพลังงานเต็มที่

เมื่อความรู้สึกเครียดครอบงำ ระดับคอร์ติซอลในร่างกายของคนนั้นจะเพิ่มขึ้น สิ่งนี้ทำให้เกิดมุมมองว่าเรื่องโน้นเรื่องนี้เป็นภัยคุกคาม สมองของคนผู้นั้นจึงเพิ่มความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ภาวะนี้เองที่จะทำให้คนผู้นั้นไม่ได้ใช้พลังของตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แต่มักจะเริ่มรู้สึกไร้เรี่ยวแรง รู้สึกอ่อนแอ และเริ่มสูญเสียวิจารณญาณ

ในขณะที่ความเครียดตัวร้ายเริ่มออกฤทธิ์ หลายคนจะมีความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อสิ่งที่เรียกว่าความขัดแย้งทางอำนาจ (power paradox) ความขัดแย้งทางอำนาจนี้จะเกิดขึ้นเมื่อคนผู้นั้นถูกบีบให้ใช้ตำแหน่งหรือยศของตัวเองเพื่อช่วยให้รู้สึกดีขึ้นชั่วคราว หลายคนอาจเคยประสบกับภาวะนี้ด้วยตัวเองหรือเคยเห็นเหตุการณ์นี้กับบุคคลอื่น เช่น หัวหน้างานที่เครียดและกังวลว่าเรื่องนั้นก็ไม่ดี เรื่องนี้ก็ไม่ใช่และทันใดนั้น หัวหน้ารายนี้ก็กลายร่างเป็นคนที่ฝักใฝ่งานสมบูรณ์แบบและมีแรงผลักดันพลังงานล้นปรี่ แล้วจึงเริ่มออกคำสั่งคนรอบข้างเพื่อลดความเครียด กลายเป็นการใช้อำนาจที่ไม่เข้าท่าไป

Donovan บอกว่าที่สุดแล้ว ทุกคนอาจรู้สึกเครียดได้ที่จุดใดจุดหนึ่ง แต่ถ้าใครมียศมีตำแหน่ง ก็จะถูกกระตุ้นให้ใช้ตำแหน่งของตัวเองเป็นเครื่องมือในการจัดการกับความรู้สึกว่าไร้อำนาจ ความเครียดยังมีแนวโน้มที่จะทำให้พวกเราทุกคนรู้สึกไร้พลัง และเมื่อรู้สึกเช่นนี้ หลายคนอาจจะไม่ใช้พลังของตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ นี่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางอำนาจซึ่งผู้นำหรือหัวหน้าทีมต้องระวังให้ดี

จัดการกับความเครียดสไตล์ผู้นำ

Donovan ยกตัวอย่างว่าเมื่อใดที่ใครก็ตามรู้สึกเครียดมาก เมื่อนั้นมักเป็นสัญญาณว่าคนผู้นั้นผลักดันตัวเองมากเกินไป และไม่ได้เข้าไปแทรกแซงเร็วพอที่จะจัดการกับอารมณ์ได้ แต่ทั้งหมดไม่ได้หมายความว่าจะสายเกินไปที่จะทำอะไรบางอย่างกับอารมณ์ที่คุกรุ่น เพียงแต่ทุกคนจะต้องไม่รอให้ถึงเวลาที่เครียดจัดก่อนที่จะลงมือแก้ไข

ตรงนี้ Donovan ยอมรับว่าแม้เทคนิคเช่นการนับถึง 10 และการหายใจเข้าลึก จะมีประโยชน์ แต่ผู้บริหารส่วนใหญ่พบว่ายากที่จะทำได้เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่บีบคั้นมากๆ ดังนั้นสิ่งที่แนะนำให้ทำคือออกกำลังกายให้มีวินัยมากขึ้น และควบคุมให้เข้มข้นขึ้นเมื่อไม่ได้รู้สึกเครียด 

Donovan เชื่อว่าทุกคนโดยเฉพาะหัวหน้างาน ควรต้องหาเวลาทุกวันที่จะปลีกตัวออกจากงาน แล้วนั่งลง คิด อ่าน ลดอัตราการเต้นของหัวใจ และผ่อนคลาย หากทำเช่นนี้ทุกวัน ความเครียดจะไม่เกิดขึ้นมาในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งทำให้คลายความรู้สึกหนักใจไม่ให้เกิดขึ้นต่อเนื่องจนสะสม

สิ่งนี้เป็นเหมือนการรีเซต Donovan เปรียบเทียบว่าเหมือนการตั้งค่ากลับเป็นศูนย์ทุกวันในเวลาครู่หนึ่ง เทคนิคนี้ถือว่าสำคัญ ผู้บริหารบางคนใช้วิธีนั่งสมาธิ หรือออกกำลังกายแบบใช้สมาธิง่ายๆ เช่น เก็บของใส่ตู้ อ่านหนังสือ หรือยืดเส้นยืดสาย แม้ว่าจะเป็นเวลาเพียง 5 นาที แต่หลายคนพบว่าสิ่งนี้จะเริ่มสร้างความแตกต่าง ช่วยให้ไม่ได้รู้สึกเครียดเพิ่มขึ้นบ่อยครั้งเหมือนเคย

การจัดการความเครียด จึงถือเป็นสิ่งสำคัญเมื่อเราอยู่ในสถานะที่มีอำนาจ การสละเวลาปล่อยวางออกจากงานอย่างมีสติ และใช้เวลาในแต่ละวันให้ช้าลง จะสามารถสร้างความแตกต่างอย่างมาก ต่อวิธีปฏิสัมพันธ์กับตัวเองและคนรอบข้างแบบเห็นได้ชัด Donovan ทิ้งท้าย ซึ่งสะท้อนได้ชัดถึงเหตุผลว่าทำไม? ทีมจึงทำงานดีขึ้นเมื่อหัวหน้าจัดการความเครียดของตัวเองได้สำเร็จ.

ที่มา

]]>
1331190
ปัญหาขาดตู้คอนเทนเนอร์ทำพิษ ‘Nike’ ฉุดรายได้อเมริกาเหนือร่วง 10% https://positioningmag.com/1324130 Fri, 19 Mar 2021 06:13:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324130 ‘Nike’ (ไนกี้) ผู้ผลิตรองเท้าและชุดกีฬาได้รายงานผลประกอบการรายได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ว่าได้รับผลกระทบในทางลบจากปัญหาซัพพลายเชน อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยเฉพาะในอเมริกาเหนือ, ยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา

รายได้ในอเมริกาเหนือในไตรมาสที่ 3 ตามปฏิทินบริษัทลดลง 10% จากปีที่แล้วมาอยู่ที่ 3.56 พันล้านดอลลาร์ซึ่ง Nike กล่าวว่า รายได้ที่ลดลงได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สินค้าทั่วโลก และความแออัดของท่าเรือในสหรัฐฯ ซึ่งทำให้การไหลเวียนของสินค้าคงคลังล่าช้ามากกว่าสามสัปดาห์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระยะเวลาในการจัดส่งสินค้า นั่นหมายความว่าพาร์ตเนอร์ค้าส่งจะได้รับผลกระทบเนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้าและร้านจำหน่ายเครื่องกีฬาไม่ได้รับสินค้าตรงเวลา

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผลกระทบดังกล่าวและในยุโรปยังมีการปิดร้านอย่างต่อเนื่อง แต่ Nike ยังคงเห็นโมเมนตัมทางออนไลน์ที่ดี โดยยอดขายอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้น 59% ในไตรมาสเดียวกัน ทำให้มีผลกำไรสูงขึ้นและมียอดขายรวม 10.36 พันล้านดอลลาร์ จากปีก่อนหน้าปิดที่ 10.1 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ยังต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ว่าจะมีรายได้รวม 11.02 พันล้านดอลลาร์

ในภูมิภาคยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา Nike ระบุว่ายอดขายหน้าร้านลดลงเนื่องจากการปิดและข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับการระบาด ในขณะที่ยอดขายออนไลน์ในตลาดเหล่านั้นเพิ่มขึ้น 60% ส่วนในประเทศจีนซึ่งเป็นภูมิภาคที่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องยอดขายเพิ่มขึ้น 51%

ทั้งนี้ Nike มองว่าแม้ว่าวิกฤต COVID-19 ทั่วโลกจะยังคงทำให้เกิดความไม่แน่นอน แต่ Nike คาดว่าปัญหาในยุโรปจะเริ่มคลี่คลายลงในเดือนเมษายน แต่ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ทั่วโลกและปัญหาการขาดแคลนคนขับรถบรรทุกในสหรัฐฯ ยังคงเป็นเรื่องน่าปวดหัวสำหรับธุรกิจต่าง ๆ หลายคนคาดว่าปัญหาเหล่านี้จะลากยาวไปจนถึงครึ่งหลังของปี แต่คาดว่าเวลาการขนส่งสินค้าคงคลังจะดีขึ้นอย่างช้า ๆ

Nike Store at La Roca Village
Photo : Shutterstock Nike Store at La Roca Village

โดยบริษัทคาดว่ายอดขายในไตรมาสสี่จะเพิ่มขึ้น 75% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากปีที่แล้ว Nike ต้องปิดหน้าร้านลงถึง 90% เนื่องจากการแพร่ระบาด ขณะที่นักวิเคราะห์มองหาการเติบโตที่ 64.3% ทั้งนี้ บริษัท กล่าวว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของ Nike จะมีสัดส่วนยอดขายอย่างน้อย 50% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดย Nike ได้ลงทุนในดิจิทัลมากขึ้นรวมถึงแอป SNKRS ที่จะช่วยให้ Nike เข้าผู้บริโภคที่โดยลดการพึ่งพาพันธมิตรคนกลางในการขายสินค้า

นอกจากนี้ยังระบุว่า Nike เพิ่งประสบความสำเร็จในการทดสอบ ‘ไลฟ์สด’ ขายของ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเอเชีย โดยในอเมริกาก็เริ่มมีการทดลองทำตามเทรนด์นี้บ้างแล้ว อาทิ Nordstrom และ Walmart ขณะที่ Nike ได้ระบุว่าได้เริ่มไลฟ์สดในญี่ปุ่น, เยอรมนี และอิตาลี

“เราได้เห็นการมีส่วนร่วมที่น่าอัศจรรย์สำหรับการโต้ตอบแบบสด โดยเรามีคนดูโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า” John Donahoe ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกล่าว

Source

]]>
1324130
Adidas รุกเเผนปั้นยอดขายออนไลน์ ‘เพิ่ม 2 เท่า’ ในปี 2025 ออกสินค้ารักษ์โลก ลุยตลาดจีน https://positioningmag.com/1323016 Thu, 11 Mar 2021 09:47:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1323016 จับเทรนด์อีคอมเมิร์ซเฟื่องฟู ‘Adidas’ แบรนด์เสื้อผ้าและรองเท้ากีฬาชื่อดังจากเยอรมนี ทุ่มพันล้านยูโรปั้นยอดขายออนไลน์เพิ่ม 2 เท่าภายในปี 2025 จับตลาดวัยรุ่น-เเฟชั่น-ผู้หญิง เร่งเจาะตลาดจีน พร้อมออกสินค้ารักษ์โลกคำนึงถึงความยั่งยืนมากขึ้น โดยเป็นหนึ่งในเเผนธุรกิจ 5 ปี ที่จะเพิ่มผลกำไรให้ทันคู่เเข่งอย่าง Nike

Adidas วางเป้าทำยอดขายทางออนไลน์ให้ได้ถึง 9 พันล้านยูโรต่อปี (ราว 3.2 เเสนล้านบาท) ให้ได้ภายในปี 2025 หลังมีกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 12-14% จากที่เคยทำได้ในปี 2019 ที่ 11.3% โดยสามารถทำรายได้ 5.55 พันล้านยูโร (ราว 2 เเสนล้านบาท) ในไตรมาสที่ 4/2020 ที่ผ่านมา 

บริษัท ประเมินว่า ในปีนี้จะมีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง หลังสาขาทั่วโลกมากกว่า 95% ได้กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง โดยเฉพาะลูกค้าในกลุ่มวัยรุ่นที่มีรายได้ปานกลางถึงระดับสูง

คาดว่ายอดขายปีนี้จะเพิ่มขึ้นมากถึง 30% โดยเฉพาะในประเทศจีน เอเชีย และลาตินอเมริกา

เเม้ธุรกิจเสื้อผ้าเเละอุปกรณ์กีฬา จะได้รับผลกระทบหนักจากการปิดสาขาชั่วคราว ตามมาตรการล็อกดาวน์สกัด COVID-19 ในหลายประเทศ เเต่ก็สามารถทำยอดขายทางออนไลน์ได้ถล่มทลาย เนื่องจากมีผู้คนจำนวนมากหันมาใส่ใจสุขภาพ มีการออกกำลังกายหรือเล่นโยคะที่บ้านกันมากขึ้น

ด้านรายใหญ่อีกเจ้าอย่าง Nike แบรนด์ชุดกีฬาที่ครองตลาดมากที่สุดในโลก ก็มีเเผนจะปรับตัวสู่ “ขายออนไลน์” เเบบเต็มสูบ ให้กลายเป็นทิศทางของเเบรนด์ หลังยอดขายไปได้สวย

John Donahoe ซีอีโอของ Nike บอกว่า “เราต่างรู้ดีว่าดิจิทัลเป็น New Normal ในยุคนี้ และพฤติกรรมผู้บริโภคจะไม่กลับไปเป็นแบบเดิมอีกเเล้ว” 

โดย Adidas มีเเผนจะทุ่มเงินทุนมากกว่า 1 พันล้านยูโร (ราว 3.6 หมื่นล้านบาท) เพื่อเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล ในปี 2525 พร้อมสร้างเเพลตฟอร์มเเละระบบต่างๆ ที่เอื้อให้มีคำสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ดีเเละรวดเร็วขึ้น

(Photo by Sean Gallup/Getty Images)

Kasper Rorsted ซีอีโอของ Adidas ระบุว่า ภายในปี 2025 อีคอมเมิร์ซจะมีสัดส่วนมากกว่า 40% ของยอดขายทั้งหมดในอุตสาหกรรม โดยออนไลน์จะเติบโตเร็วกว่าออฟไลน์ถึงสามเท่าซึ่งตอนนี้ Adidas มีสมาชิกมากกว่า 150 ล้านคนเข้าสู่ระบบออนไลน์ของบริษัทแล้ว

เช่นเดียวกับคู่เเข่งอย่าง Puma และ Nike เเบรนด์ Adidas จะให้ความสำคัญกับตลาดผู้หญิง มากขึ้น โดยเฉพาะในสินค้าหมวดเเฟชั่น

นอกจากนี้ ยังวางเป้าหมายที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์กว่า 9 ใน 10 เป็นผลิตภัณฑ์มีความยั่งยืนมากขึ้น ด้วยการใช้วัสดุรีไซเคิลและย่อยสลายได้ นำร่องด้วยการใช้หนังสัตว์เทียมจากเห็ดในรองเท้ารุ่นฮิตอย่าง Stan Smith ที่จะเปิดตัวในปีนี้

ซีอีโอ Adidas บอกว่าผู้บริโภคมากกว่า 70% เห็นว่าความยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ

ด้วยการที่จีนเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุด ณ ตอนนี้ Adidas จึงเตรียมเข้าถึงตลาดจีนมากขึ้น โดยจะแยกธุรกิจออกมาจากทวีปเอเชีย รวมถึงการรวมธุรกิจของรัสเซียเข้ากับธุรกิจของทวีปยุโรป โดยเตรียมเปิดตลาดใหม่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง และทวีปแอฟริกาในปีนี้ด้วย

นอกจากนี้ Adidas มีแผนที่จะขายกิจการ ‘Reebok’ ภายในปีนี้ เนื่องจากไม่สามารถทำรายได้ถึงเป้าหมายตลอดช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ทำให้สูญเสียส่วนแบ่งการตลาดไป โดย Adidas เข้าเข้าซื้อ Reebok แบรนด์เสื้อผ้าฟิตเนสของสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อ 15 ปีก่อน เพื่อหวังจะเข้ามาช่วยเเข่งขันกับคู่เเข่ง Nike ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ของสหรัฐฯเช่นกัน

 

ที่มา : Reuters (1) (2) , Yahoo

 

]]>
1323016
Jetts Fitness ปรับทิศขยายสาขาใกล้ ‘ออฟฟิศ’ ควบ ‘ชานเมือง’ เร่งดึงยอดสมาชิกกลับ ‘เข้ายิม’ https://positioningmag.com/1320999 Fri, 26 Feb 2021 09:14:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320999 ต้องยอมรับว่าฟิตเนสได้รับผลกระทบจากวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ไปไม่น้อย เมื่อต้องปิดสาขาชั่วคราวในช่วงล็อกดาวน์ เเต่ในอีกมุมก็เป็นโอกาสสำคัญที่ผู้คนทั่วโลกต่างหันมาดูเเลตัวเองเเละใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น

ปัจจุบัน มูลค่าตลาดของธุรกิจฟิตเนสในไทยอยู่ที่ราว 10,000 ล้านบาท เติบโตอย่างต่อเนื่อง ก่อนสะดุดลงด้วยพิษ COVID-19 เเต่ในปีนี้ เต็มไปด้วยความหวังที่จะกลับมารุ่งอีกครั้ง หลังสถานการณ์เริ่มคลี่คลายลงเเละมีการกระจายวัคซีน

นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของผู้ประกอบการฟิตเนส ว่าพวกเขาจะปรับกลยุทธ์รองรับวิถีชีวิตใหม่นี้อย่างไรกันบ้าง

ปีนี้ Jetts Fitness (เจ็ทส์ ฟิตเนส) เเบรนด์ดังจากออสเตรเลีย เร่งเครื่องขยับขึ้นมาเป็นเบอร์ 1’ ของตลาดไทยในเเง่สาขา ซึ่งเป็นถือกลยุทธ์หลักของธุรกิจฟิตเนส ที่พึ่งพารายได้จากค่าสมาชิกดังนั้นการหาลูกค้ากลุ่มใหม่ในทำเลที่ยังไม่เคยเข้าถึงคือหัวใจสำคัญ

ท่ามกลาง COVID-19 ที่ระบาดทั้งปี 2020 Jetts เปิดคลับใหม่เพิ่มถึง 13 สาขา ทำให้ตอนนี้มีอยู่ 35 สาขาทั่วประเทศไทย พร้อมเดินหน้าเปิดอีก 8 สาขาในปีนี้

เเม้จะขยายสาขาไม่หยุด เเต่ Jetts Fitness ก็เจอผลกระทบหนักเช่นกัน เพราะในช่วง COVID-19 มีสมาชิกยกเลิกไปถึง 20% จากจำนวนสมาชิกที่มีราว 29,000 ราย ขณะเดียวกันสมาชิกเหลืออยู่อีก 80% ในจำนวนนี้กว่า 30% ขอหยุดจ่ายค่าสมาชิกราว 30%

นี่เป็นโจทย์ยากของธุรกิจฟิตเนส ว่าจะทำอย่างไรให้ลูกค้าเก่ากลับมาเเละหาลูกค้าใหม่ไปด้วยในยามที่ใครๆ ก็รัดเข็มขัดประหยัดค่าใช้จ่าย

ไมค์ แลมบ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจ็ทส์ ฟิตเนส 24 ชั่วโมง ภูมิภาคเอเชีย บอกว่า ความท้าทายหลักๆ เเบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การทำอย่างไรให้สมาชิกที่หายไปกลับมาใช้บริการเเละการทำให้ธุรกิจเติบโตต่อไปเมื่อพฤติกรรมของลูกค้าจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ที่ผ่านมา Jetts Fitness มีการออกโปรเเกรมคลาสออนไลน์เเละเทรนเนอร์ออนไลน์เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับสมาชิกอยู่ตลอด

โดยมองว่าพฤติกรรมการใช้บริการฟิตเนส จะเปลี่ยนไปเป็นการ ‘ผสมผสานระหว่างคลาสออกกำลังกายออนไลน์และการเข้ายิมตามปกติ’ เพราะคนจำนวนมากเริ่มชอบการยืดหยุ่นด้านการเดินทางและตารางเวลา รวมถึงลดความเลี่ยงการติดโรค

สำหรับคลาสออนไลน์ที่บริษัทจัดมีสถิติผู้เข้าชมเกือบสี่หมื่นวิว มีผู้เข้าชมสูงสุดในเวลา 17.00 . ในวันธรรมดา และเวลา 15.00 .ในช่วงสุดสัปดาห์ โดยคลาสบอดี้คอมแบท เล็ทส์มูฟ และเจ ซีรี่ส์ เป็นคลาสยอดฮิต

อย่างไรก็ตาม เเม้คลาสเเละเทรนเนอร์ออนไลน์ จะได้รับการตอบรับที่ดีมาก เเต่ไมค์มองว่า สิ่งสำคัญที่ฟิตเนสมีคือการสร้างcommunity’ เเละบรรยากาศการออกกำลังกายที่ไม่เหมือนอยู่ที่บ้าน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เชื่อว่าผู้คนจะยังต้องการมาออกกำลังการที่สาขาต่อไปหลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย

ปีนี้ Jetts Fitness ประเทศไทย จะทุ่มงบการตลาด 4% เพื่อทำโปรโมชัน ออกแคมเปญต่างๆ อย่างแคมเปญกระตุ้น “We want you comeback” ด้วยการให้ส่วนลด 50% เเละเปิดตัวทีมเทรนเนอร์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อตอบความต้องการเฉพาะบุคคล ดูเเลนักกีฬามืออาชีพ และมีอุปกรณ์ที่ครบครัน

โดยแนวโน้มการกลับมาใช้บริการของสมาชิกเก่าที่หยุดไป รวมทั้งการสมัครสมาชิกของลูกค้าใหม่ เริ่มทยอยกลับมาเเล้วในระดับ 30%

นอกจากนี้ วิธีดึงดูดให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการ ก็คือการเข้าไปหาลูกค้าผ่านวิธีการเร่งขยายสาขาในทำเลที่หลากหลายขึ้น

ปัจจุบัน Jetts Fitness ครองส่วนแบ่งตลาดฟิตเนสรวมที่ 30% เเละครองส่วนแบ่งตลาดฟิตเนสที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมงที่ 60%

จากเดิม Jetts Fitness มีกลยุทธ์ขยายสาขาในพื้นที่กลางใจเมือง เน้นใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า ใกล้อาคารสำนักงาน เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าหลักอย่างพนักงานออฟฟิศ ที่มีอายุราว 21-40 ปี 

เเต่จากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้หลายบริษัทเลือกให้พนักงานทำงานทางไกลที่บ้าน หรือ Work from Home ดังนั้นทิศทางการเปิดสาขา จึงจะเริ่มขยายทำเลมาแถบชานเมือง ใกล้ชุมชนที่อยู่อาศัย ควบคู่ไปย่านการค้าในเมือง

สำหรับเเผนปีนี้ของ Jetts Fitness ตั้งเป้าเพิ่มอีก 8 สาขา มีงบลงทุนสาขาละ 40 ล้านบาท คาดว่าจบปี 2021 จะมีสาขาอยู่ทั้งสิ้น 41 สาขา พร้อมๆ กับการตั้งเป้าเพิ่มยอดสมาชิกให้เป็น 32,000 รายด้วย

โดยในกรุงเทพฯ จะมีคลับใหม่ที่สยามสแควร์วัน (อยู่กลางใจเมือง) เเละรามอินทรา (อยู่เเถบชานเมือง) ส่วนอีก 6 คลับ จะกระจายไปในต่างจังหวัดเน้นเมืองท่องเที่ยวที่ฮิตในหมู่คนไทย อย่าง หัวหินเเละเพชรบุรี

ต้องจับตาดูว่า ปีนี้ธุรกิจฟิตเนสจะกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งหรือไม่

 

]]>
1320999
Nike มองรายได้ปีนี้ “ดีเกินคาด” ปรับเป้ายอดขายเพิ่ม คนเเห่ซื้อออนไลน์พุ่ง เทรนด์สุขภาพอยู่ยาว https://positioningmag.com/1311261 Sat, 19 Dec 2020 14:17:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311261 เเบรนด์กีฬายักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Nike พลิกฟื้นขาดทุนกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง มองว่ารายได้รวมของปีนี้ จะดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังยอดขายออนไลน์เติบโตอย่างมากจากวิกฤตโรคระบาด

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้คนใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น เเละหันมาทำกิจกรรมต่างๆ เช่น วิ่งหรือขี่จักรยาน ทำให้ชุดกีฬาของเเบรนด์ต่างๆ ได้รับความนิยมขึ้นอย่างมาก โดยในช่วงล็อกดาวน์ มีผู้เข้าใช้งาน
เเอปพลิเคชันของ Nike จำนวนมากเเละมีการสั่งซื้อสินค้าต่อเนื่อง ทำให้มีรายได้ส่วนนี้มาช่วยพยุงยอดขายสาขาที่หดหายไป

Jessica Ramirez นักวิเคราะห์ฝ่ายค้าปลีกของ Jane Hali & Associates ให้ความเห็นว่า การทุ่มลงทุนในอีคอมเมิร์ซของ Nike ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา สร้างความได้เปรียบครั้งใหญ่ เหนือคู่แข่งสำคัญอย่าง Adidas เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเเปลงเข้าสู่ดิจิทัลมากขึ้น

ความพร้อมเเละการใช้งานง่ายของเว็บไซต์ Nike รวมถึงการรวบรวมข้อมูลสินค้าและบริการที่สอดรับความต้องการของลูกค้า ช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมายไปยังผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม เเม้ในช่วงที่ผู้คนต้องประหยัดเเละระะมัดระวังการใช้จ่าย

ยอดขายออนไลน์ของ Nike เติบโตถึง 84% โดยเฉพาะในตลาดอเมริกาเหนือที่เติบโตมากกว่า 100% และพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลกก็เติบโตเป็นอัตราเลขสองหลัก สอดคล้องกับกระเเสการออกกำลังกายกลางเเจ้งในหลายพื้นที่ ได้เริ่มกลับมาอีกครั้ง ก็มีส่วนทำให้ยอดขายของ Nike ฟื้นตัวขึ้นจากช่วงวิกฤตได้ดี

Nike รายงานผลประะกอบการงวดไตรมาส 2/63 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2020 มีรายได้เพิ่มขึ้น 9% มาอยู่ที่ 1.12 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ที่ 1.05 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ด้านกำไรสุทธิไตรมาส 2 อยู่ที่ 1.25 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 12% คิดเป็นกำไรต่อหุ้นที่ 78 เซ็นต์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดกำไรต่อหุ้นไว้ที่ 62 เซ็นต์

ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารก็ลดลง 2% สู่ระดับ 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้นทำให้ Nike ไม่ต้องใช้ทุ่มงบโฆษณา หรือจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาดมากเท่ากับปีก่อน ๆ

จากปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตเหล่านี้ ทำให้ Nike ได้ปรับคาดการณ์รายได้ในปีปฏิทิน 2021 (มิ.. 2020-.. 2021) จากเดิมที่คาดกว่าจะโตเเค่หลักเดียวเเต่ตอนนี้คาดว่าจะโตได้ถึงสองหลักอย่างเเน่นอน โดยกลุ่มลูกค้าที่บริษัทจะมุ่งตีตลาดต่อไปนั่นก็คือกลุ่มวัยรุ่นนั่นเอง

 

ที่มา : Reuters, Nike 

]]>
1311261
ทิศทางใหม่ ‘Nike’ ดันยอดขายอีคอมเมิร์ซพุ่ง 82% เมื่อออนไลน์คือ New Normal ของผู้บริโภค https://positioningmag.com/1298964 Sun, 27 Sep 2020 10:54:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298964 การปรับสู่ขายออนไลน์เต็มสูบของเเบรนด์ดังอย่าง ‘Nike’ เป็นทิศทางใหม่ที่ไปได้สวยเลยทีเดียว หลังยอดขายผ่านอีคอมเมิร์ซพุ่งสูงกว่า 82% ในไตรมาสที่ผ่านมา

John Donahoe ซีอีโอของ Nike บอกว่าเราต่างรู้ดีว่าดิจิทัลเป็น New Normal ในยุคนี้ และพฤติกรรมผู้บริโภคจะไม่กลับไปเป็นแบบเดิมอีกเเล้ว” 

บรรดาผู้ผลิตเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬารายใหญ่ของโลก ต่างปรับตัวมาขายตรงกับผู้บริโภคมากขึ้น ตามผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของตัวเอง ซึ่ง Nike เริ่มดำเนินกลยุทธ์นี้มาตั้งเเต่ก่อนวิกฤต COVID-19

ช่วงที่ผ่านมาเเม้ยอดขายทางออนไลน์ของ Nike จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก เเต่ตอนขายหน้าร้านลดลงอย่างมากเมื่อต้องปิดให้บริการชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ (ไตรมาส 4 ของปีงบประมาณ) บริษัทมีรายได้อยู่ที่ 6.31 พันล้านดอลลาร์ จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมีรายได้ที่ 1.01 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือลดลงมากถึง -38% โดยมียอดขาดทุนสุทธิ 790 ล้านดอลลาร์ 

ขณะเดียวกัน การที่ผู้คนหลีกเลี่ยงไปออกกำลังกายที่ยิม ก็มีส่วนหนุนให้ยอดขายออนไลน์ของ Nike เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะคนต้องการออกกำลังกายที่บ้านมากขึ้น ทำให้ยอดขายดิจิทัลเติบโต 82% มากกว่าไตรมาสก่อนหน้านี้ที่ Nike ทำยอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้น 75% คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของยอดขายทั้งหมด ที่  Nike เคยวางเป้าหมายว่าจะทำให้ได้ในปี 2023

Nike มีกำไรสุทธิในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้น 11% เป็น 1.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.8 หมื่นล้านบาท) จากการลดค่าใช้จ่ายในสาขาเเละลดต้นทุนการบริหารโดยถือว่าเป็นผลลัพธ์ที่เกินความคาดหมายของเหล่านักวิเคราะห์

(Photo by Spencer Platt/Getty Images)

เมื่อดูเป็นรายภูมิภาคพบว่า ในยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา มียอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า เเต่ธุรกิจค้าส่งเเละสาขาก็ยังมีลูกค้าไปเยือนลงลดมาก เเม้ในตลาดใหญ่อย่างจีนจะฟื้นตัวเร็วมาก เเต่การฟื้นตัวโดยรวมของเอเชียแปซิฟิกและลาตินอเมริกา กลับลดลง 18% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เเม้ตอนนี้ร้านค้ากว่า 90% จะกลับมาเปิดให้บริการปกติเเล้วก็ตาม

ขณะที่ หากเเบ่งเป็นหมวดหมู่ พบว่า ยอดขายกลุ่มเสื้อผ้าของ Nike ลดลง 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ยอดขายอุปกรณ์ลดลง 17%

ส่วนสินค้าที่ขายดีขึ้นคือรองเท้า โดยมีการเติบโตขึ้น 4% ถือว่าดีขึ้นกว่าไตรมาสก่อนหน้าซึ่งสิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2020 ที่รองเท้ามียอดขายลดลง 35% เสื้อผ้าลดลง 42% เเละอุปกรณ์กีฬาลดลง 53% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019

Christopher Svezia นักวิเคราะห์ของ Wedbush ให้ความเห็นกับ Reuters ว่า ยอดขายรองเท้าและเครื่องแต่งกายกีฬาทั่วโลกของ Nike จะฟื้นตัว โดยเฉพาะในอเมริกาเหนือ และจะเติบโตยิ่งขึ้น เมื่อกลุ่มนักเรียนนักศึกษากลับไปเรียนที่สถานศึกษาได้เหมือนเดิมอีกครั้ง

ทั้งนี้ Nike ประกาศจะปรับลดพนักงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 1 .. เป็นต้นไป โดยจะหันไปเน้นการลงทุนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น รวมถึงจะยกเลิกสัญญากับผู้ค้าปลีกหลัก 9 ราย และดีลกับห้างสรรพสินค้า Dillard’s และ Zappos ของ amazon.com พร้อมกับการระงับเเผนที่จะเปิดโรงงานใหม่ในรัฐแอริโซนาของสหรัฐฯ ด้วย

 

ที่มา : Reuters (1)(2) , Business Insider

 

]]>
1298964
อย่างล้ำ! ‘สิงคโปร์’ ติดตามการออกกำลังกายประชาชนผ่าน ‘Apple Watch’ พร้อมแจก ‘เงิน’ หากทำได้ตามเป้า https://positioningmag.com/1297558 Thu, 17 Sep 2020 10:16:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297558 ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ‘Apple’ ได้สร้างความโดดเด่นในสิงคโปร์ด้วยการเปิดตัว ‘Apple Store’ แห่งที่ 3 ซึ่งมีจุดพีคคือ ร้าน ‘ลอยน้ำ’ และล่าสุด รัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศความร่วมมือกับ Apple เกี่ยวกับโครงการด้านสุขภาพ โดยใช้ ‘Apple Watch’ เป็นตัวเก็บข้อมูล

รัฐบาลสิงคโปร์ ประกาศความร่วมมือกับ Apple ในการริเริ่มดำเนินโครงการด้านสุขภาพ ‘LumiHealth’ แอปพลิเคชันที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมกิจกรรมและพฤติกรรมการมีสุขภาพโดยใช้ ‘Apple Watch’ เป็นตัวเก็บข้อมูลของประชาชนที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการออกกำลังกายในแต่ละสัปดาห์ เช่น เดิน, ว่ายน้ำ หรือฝึกโยคะ นอกจากนี้ยังเตือนให้ผู้ใช้สมัครตรวจสุขภาพและนัดฉีดวัคซีนอีกด้วย และสำหรับใครที่สามารถทำได้ตามเป้าที่วางไว้ รัฐบาลจะให้รางวัลแก่ประชาชนเป็นเงินสูงสุด 380 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 8,700 บาท)

“สิงคโปร์มีระบบการดูแลสุขภาพชั้นนำแห่งหนึ่งของโลกและเรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับพวกเขา” Jeff Williams. ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ กล่าว

ทั้งนี้ สิงคโปร์ถือเป็นที่พูดถึงในเรื่องแนวทางที่เข้าใจเทคโนโลยีที่นำมาปรับใช้ในด้านสาธารณะ โดยเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ที่เปิดตัวแอปติดตามประชาชนเพื่อหยุดการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19  นอกจากนี้ยังใช้ ‘หุ่นยนต์สุนัข’ เพื่อลาดตระเวนในสวนสาธารณะและกระตุ้นให้เกิด Social Distancing

“แม้ว่าพวกเราทุกคนทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายของโรค COVID -19 แต่เราก็ต้องลงทุนต่อไปเพื่ออนาคตของเราและไม่มีการลงทุนใดที่ดีไปกว่าสุขภาพของเราเอง” Heng Swee Keat รองนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ กล่าว

Source

]]>
1297558
New Normal การออกกำลังกาย Reebok เผย 3 รูปแบบพัฒนา “หน้ากาก” เเห่งโลกอนาคต https://positioningmag.com/1280196 Fri, 22 May 2020 12:54:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280196 หากคุณเป็นคนชอบวิ่ง ปั่นจักรยาน หรือชอบทำกิจกรรมกลางเเจ้ง คงกำลังมองหา “หน้ากาก” ที่จะช่วยให้สามารถออกกำลังกายได้อย่างสะดวกสบายเเละปลอดภัย ท่ามกลางโรคระบาด

เเต่ก็เป็นเรื่องที่ “ยากมาก” เพราะหน้ากากที่ใช้ออกกำลังกายส่วนใหญ่ที่มีขายในท้องตลาด ไม่ได้ถูกออกเเบบ
มาเพื่อกรองอนุภาคต่างๆ เเต่เป็นการจำลองระดับออกซิเจนให้ต่ำ เพื่อช่วยฝึกซ้อมวิ่งในพื้นที่ที่ตั้งอยู่บนความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล อย่างพวกวิ่งขึ้นเขาหรือปีนเขา เพิ่มความแข็งแรงของระบบหายใจ

ตอนนี้ Reebok เเบรนด์สินค้ากีฬาชื่อดัง กำลังทำวิจัยเพื่อผลิตหน้ากากให้ตอบสนองความต้องการของคนในปัจจุบันที่ต้องปกปิดใบหน้า ป้องกันเชื้อโรคเเละไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน นวัตกรรมใหม่นี้จะทำให้เราได้เห็นว่า “หน้ากาก” จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในช่วงทศวรรษต่อจากนี้

ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าจากปัจจัยมลพิษที่สูงขึ้น ประกอบกับการระบาดใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นบ่อย จะทำให้หน้ากาก
กลายเป็นส่วนหนึ่งในการออกกำลังกายของเรา เเม้จะผ่านพ้นวิกฤต COVID-19 ไปแล้วก็ตาม

Don Albert หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมของ Reebok ยุโรป บอกว่า ตอนนี้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในเอเชีย
ผู้คนหันมาสวมหน้ากากในการออกกำลังกายมากขึ้น ถือว่าเป็น New Normal (วิถีชีวิตใหม่) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Albert เเละทีมของเขากำลังพัฒนา “หน้ากากต้นเเบบ” ที่จะปกป้องผู้ที่ออกกำลังกายจากอนุภาคอันตรายต่างๆ
ขณะเดียวกันก็ต้องมีระดับออกซิเจนเหมาะสมกับผู้สวมใส่ เเม้ตอนนี้จะอยู่ในช่วงเริ่มต้น เเต่ก็ทำให้เรามองเห็นรูปแบบของ “หน้ากากแห่งอนาคตเเบบดิสโทเปีย” ของเรา

“คงจะดีไม่น้อย ถ้าเราสามารถสร้างหน้ากากที่ผู้คนอยากสวมใส่มันจริงๆ ไม่ใช่เพราะจำเป็นต้องใส่” Albert กล่าว

เเละนี่คือรูปแบบของหน้ากากแห่งอนาคตของ Reebok เพื่อการออกกำลังกาย โดยเปิดตัวมา 3 เเบบดังนี้

THE SENSORIAL MASK

หน้ากากนี้มีรูปแบบคล้ายกับเเบบที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เเต่จะมีการเปิดเผยให้เห็นช่วงปากอย่างชัดเจน เนื่องจากผลวิจัยผู้ใช้ของ Reebok ส่วนใหญ่มองว่ากีฬาเเละการออกกำลังกาย เป็นกิจกรรมทางสังคมที่พวกเขาต้องการเเสดงอารมณ์เเละเห็นใบหน้าของผู้อื่น ดังนั้นหน้ากากนี้จะช่วยกรองอนุภาคต่างๆ เเละยังคงช่วยให้ผู้สวมใส่ได้สื่อสารกับสิ่งรอบตัว อีกทั้งหน้ากากนี้จะมีการติดเซ็นเซอร์ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจเเละอัตราการหายใจ ที่ดูได้ผ่าน
เเอปพลิเคชันด้วย

Photo : Reebok

THE IMMERSION MASK

หน้ากากนี้ดูแปลกมากที่สุด เหมือนเป็นหมวกที่ครอบทั้งใบหน้า โดยจะมีเครื่องช่วยหายใจเพื่อรักษาสมดุล ซึ่งถูกออกเเบบมาสำหรับผู้สวมใส่ที่อยากได้รับการปกป้องขั้นสุด ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้สวมใส่หายใจได้อย่างสะดวกด้วย

เเม้จะดูใส่ลำบากกว่าเเบบอื่น เเต่หน้ากากนี้มีศักยภาพที่จะให้ข้อมูลมากที่สุด เนื่องจากมันจะมีเซ็นเซอร์ทั่วทั้งใบหน้าและส่วนหัว นอกจากนี้ยังสามารถปรับสภาพภายในหน้ากากได้ตั้งแต่อุณหภูมิไปจนถึงระดับออกซิเจน

อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยบอกว่าหน้ากากนี้เมื่อสวมใส่เเล้วอาจจะรู้สึกร้อน โดยเฉพาะในพื้นที่เขตร้อนหรืออบอุ่น เเต่ดีสำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เเละหน้ากากเหล่านี้คงไม่ได้ใช้กันทั่วโลก เพราะในหลายประเทศก็มี “มีบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับการสวมหน้ากาก” ที่ไม่เหมือนกัน

Photo : Reebok

THE SYMBIOSIS MASK

สำหรับหน้ากากรูปแบบที่ 3 ผู้วิจัยบอกว่าเป็นความพยายามขั้นสุดของการผลิตหน้ากากแห่งอนาคต เพราะจะมีการ
ทำเครื่องช่วยหายใจที่ฝังตัวอยู่กับสารอินทรีย์อย่างสาหร่ายเเละมอส เพื่อทำให้ได้อากาศบริสุทธ์ ในกรณีนี้หน้ากากจะกรองอนุภาคอันตรายอย่างไวรัสได้ด้วย

“เห็นเเล้วว่าสาหร่ายช่วยฟอกอากาศที่มีมลภาวะได้อย่างไร ดังนั้นเราจึงคิดว่าระบบนี้ก็อาจทำให้มีอากาศบริสุทธิ์
ตามธรรมชาติในหน้ากากได้”

Photo: Reebok

เเม้ว่าตอนนี้ Reebok จะยังไม่ได้ทุ่มเงินเพื่อผลิตหน้ากากมากนัก เเต่งานวิจัยนี้ก็ทำให้เห็นว่าบริษัทมองทิศทาง
ของหน้ากากอนามัยอย่างไร เเละในที่สุด วิกฤตโรคระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ก็จะทำให้เเบรนด์กีฬาต่างๆ ต้องหันมาลงทุนใน “หน้ากากออกกำลังกาย” อีกไม่กี่ปีข้างหน้าอย่างเเน่นอน เพราะจะสิ่งนี้จะกลายมาเป็น “สิ่งจำเป็น”
สำหรับออกกำลังกายในโลกอนาคต

 

ที่มา : fastcompany / Reebok’s fitness masks point to an even more dystopian future

 

]]>
1280196
หาทางรอด! ฟิตเนสในจีนหันมาเปิดเทรนนิ่งออนไลน์-ให้เช่าอุปกรณ์ ท่ามกลางไวรัส COVID-19 https://positioningmag.com/1265002 Wed, 19 Feb 2020 06:44:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1265002 สำนักข่าว Reuters รายงานกลยุทธ์แก้โจทย์ของฟิตเนสหลายแห่งในประเทศจีน หลังจากสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ระบาด ทำให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้านเรือนเป็นหลัก สถานออกกำลังกายที่เป็นแหล่งชุมนุมชนจึงร้างผู้คน และผู้ประกอบการต้องพลิกหาโอกาสในวิกฤตครั้งนี้

Pilates ProWork Studio ใจกลางกรุงเซี่ยงไฮ้ หันมาใช้เทคโนโลยีไลฟ์สตรีมมิ่งทดแทน โดยให้ครูสอนพิลาทีสตั้งกล้องและ iPad ที่บ้านในการบรอดคาสต์แนะนำการออกกำลังกายไปสู่ลูกค้าหลายร้อยคนที่ชมสดพร้อมกัน

ความนิยมการออกกำลังกายกับเทรนเนอร์ผ่านไลฟ์สตรีมมิ่งกลายเป็นธุรกิจสุดฮิตขึ้นมาในสถานการณ์ไวรัสระบาด เพราะหลายคนยังต้องการฟิตร่างกายอยู่ แม้ว่าจะถูกกักกันโรคหรือต้องการอยู่แต่ในบ้านเพื่อความปลอดภัย

“เราไม่ต้องการให้ลูกค้าลืมเราไปหมด ถ้าเราไม่ทำอะไรสักอย่าง ลูกค้าบางคนอาจจะคิดว่าเราปิดตัวไปแล้ว และเราต้องการทำกิจกรรมที่ช่วยให้ลูกค้าสบายใจขึ้นด้วย” คริส ลี เจ้าของ Pilates ProWork Studio กล่าว สำหรับบริษัทนี้เปิดให้ลูกค้าไลฟ์สตรีมได้ฟรี โดยมีลูกค้ากดไลก์ให้ไปแล้ว 4,700 ครั้ง

ข้ามฝั่งไปที่กรุงปักกิ่ง ครูสอนออกกำลังกาย จางเว่ยหยา หันมาเปิดคอร์สสอนออกกำลังกายส่วนตัวผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยการไลฟ์สตรีมจากบ้านของเธอเช่นกัน คอร์สของเธอจะคิดราคาครึ่งหนึ่งของคอร์สเรียนตามปกติ และนักเรียนสามารถสอบถามข้อมูลกับเธอได้แบบเรียลไทม์

จางกล่าวว่า เธอต้องหาทางรอดในสถานการณ์นี้เพราะรายได้ของเธอลดไปแล้ว 1 ใน 10 คำนวณจากรายได้ตลอดปีที่เธอควรจะได้ เธอยังกล่าวด้วยว่าคอร์สออนไลน์ได้รับความนิยมสูงเกินคาด โดยมีนักเรียนจองคอร์สเต็มไปจนถึงสัปดาห์หน้าแล้ว

ขณะที่ฟิตเนส Gravity Plus เพิ่งเริ่มเปิดคอร์สออนไลน์เมื่อ 10 วันก่อนเช่นกัน และเปิดให้ลูกค้าเช่าอุปกรณ์ฟิตเนสไปใช้ที่บ้าน เพื่อหากระแสเงินสดเข้ามาในองค์กร

“เราไม่ได้คิดจะหาลูกค้าใหม่ในระยะนี้ เราแค่ต้องการปกป้องฐานลูกค้าของตัวเองเอาไว้” หลิวเสี่ยวจิน ผู้ก่อตั้งเชนฟิตเนส Gravity Plus กล่าว

แม้ว่ารัฐบาลจีนจะประกาศให้งบเยียวยาธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 แต่ธุรกิจก็ยังต้องหาทางรอดไปก่อน เพราะกว่าที่งบรัฐจะมาถึงยังต้องใช้เวลา หรือถ้าจะรอให้การดำเนินธุรกิจกลับมาเป็นปกติก็ไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

Source: Reuters, SCMP

]]>
1265002