อาร์เอส – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 16 Aug 2024 08:10:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะ 3 กลยุทธ์ ‘Content to Commerce’ ฉบับ ‘RS’ ที่ไม่ใช่แค่เอาศิลปินมาขายของ https://positioningmag.com/1486590 Fri, 16 Aug 2024 06:27:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1486590 อย่างที่รู้กันว่า อาร์เอส (RS) ในยุคใหม่ แม้จะกลับมาทำธุรกิจเพลงอีกครั้ง แต่ธุรกิจที่โดดเด่นในช่วงหลัง ๆ มาก็คือ คอมเมิร์ซ หรือก็คือฝั่งของ RS LiveWell อาทิ แบรนด์ well u, Vitanature+, Lifemate และ Camu C แต่ล่าสุด บริษัทได้เพิ่มแบรนด์ใหม่อีก 3 แบรนด์ และย้ำถึงการใช้กลยุทธ์ Content to Commerce ในแบบอาร์เอสจะเป็นอย่างไร

เปิด 3 แบรนด์ใหม่ให้คลุมทุกกลุ่มสินค้า

หากพูดถึงการขายของแล้ว ใครที่มีทรัพยากรอย่าง ช่องทาง การจำหน่ายและ อินฟลูเอนเซอร์ ศิลปินคนดังในมือก็ถือว่าได้เปรียบกว่าอยู่แล้ว คำถามคือ จะหยิบจับทรัพยากรมาเปลี่ยนเป็นสินค้าอย่างไร ซึ่ง อาร์เอส ก็ได้แตกกลยุทธ์ Content to Commerce ไว้ 3 รูปแบบ ผ่าน 3 แบรนด์ ได้แก่ 

  • ปากท้อง
  • bbooty
  • TellmeDarling by Daring&Co.

“เราพยายามให้เฮาส์แบรนด์ครอบคลุมอยู่ในหลายกลุ่มสินค้า เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ซึ่งเรามีแต้มต่อคือ แพลตฟอร์มของตัวเอง เช่น  RS Mall และ ULife รวมถึงมีฟูลฟิลเมนต์กับซัพพลายเชนของตัวเอง”  กุ้ง – พรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส มิวสิค จำกัด กล่าว

พรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส มิวสิค จำกัด

น้ำพริกปากท้อง กับการ Co-Brand ธุรกิจในเครือ 

สำหรับกลยุทธ์ Strategic Partnerships จะเป็นการ Co-Brand ระหว่างธุรกิจในเครือ โดยบริษัทเลือกจะหยิบรายการ ปากท้องต้องรู้ ดูแล้วร้วยรวย รายการวาไรตี้เกี่ยวกับการนำเสนอนวัตกรรมของ SME รายย่อย ที่ฉายทางช่อง 8 ซึ่งมีกลุ่มแฟนคลับที่เหนียวแน่นกว่า 10 ล้านราย จนสามารถจัดงาน ปากท้องต้องรู้แฟร์ เพื่อเชื่อมระหว่างผู้ชมและ SME มาต่อเนื่อง 3 ปี

ด้วยกลุ่มฐานลูกค้าที่มี อาร์เอสจึงเริ่มดึงพิธีกรอย่าง เอ ไชยา-แป้ง ศรันฉัตร์ มิตรชัย ร่วมเป็นเจ้าของและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันจนเป็นแบรนด์ น้ำพริกปากท้อง โดยมีทั้งหมด 3 สูตร เพื่อเจาะ ตลาดน้ำซอสปรุงรสและน้ำพริก ในประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดใหญ่มูลค่าถึง 5.7 หมื่นล้านบาท เติบโต +8% 

“เรามองว่าตลาดนี้เป็นตลาดใหญ่และยังไม่มีผู้เล่นหลักที่ครองตลาดชัดเจน เราจึงกล้าเข้ามา และเริ่มจากน้ำพริกที่เป็นของแห้ง ทำให้สามารถเก็บได้นาน สามารถควบคุมคุณภาพได้ง่าย แต่อนาคตจะมีสินค้าอื่น ๆ แน่นอน” โบว์ – วรัญญา ราชพลสิทธิ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส ลิฟเวลล์ จำกัด อธิบาย

จับใบเตย เดินตาม ริฮานน่า

อีกกลยุทธ์ก็คือ Star Commerce ดยเห็นต้นแบบอย่าง ริฮานน่า (Rihanna) นักร้องชื่อดังระดับโลกที่ก่อตั้งแบรนด์ Fenty Beauty ดังนั้น อาร์เอสจึงต้องการศิลปินที่มี Earned Media ที่แข็งแรง และต้องมี แพชชั่น เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เพื่อมาเป็น เจ้าของผลิตภัณฑ์

โดยอาร์เอสเลือกจะดึง ใบเตย อาร์สยาม มาร่วมเป็นเจ้าของแบรนด์ bbooty เพื่อเจาะตลาด เครื่องสำอาง (Color Cosmetics) ที่มีมูลค่าถึง 20,087 ล้านบาท และเติบโตได้ถึง +33% และยังมีแนวโน้มที่จะโตขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในสินค้ากลุ่มประเภท Facial Makeup และ Lip Products

สาเหตุที่เป็น ใบเตย อาร์สยาม เพราะจากจำนวนผู้ติดตามบนโซเชียลมีเดียกว่า 6.5 ล้านบัญชี และส่วนใหญ่อายุประมาณ 20-35 ปี ซึ่งตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ นอกจากนี้ ใบเตยยังมี แพชชั่นที่อยากเป็นเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ความงาม อีกด้วย

“หลายคนคงมีคำถามว่าทำไมต้องเป็นใบเตย แต่เราเชื่อในการให้โอกาส และการมีคนพูดถึง ถือว่าดีกว่าไม่มีใครพูดถึง ซึ่งโมเดลนี้เราจะแบ่งรายได้กับศิลปินตามแต่ละช่องทางที่ตกลงกัน ซึ่งถือเป็นการช่วยสร้างรายได้อีกทางให้ศิลปิน”  พรพรรณ อธิบาย

ดึง Tellme ทำ Brand Collaborations

กลยุทธ์สุดท้าย Brand Collaborations โดยใช้จุดแข็งของตัวเองรวมกับจุดแข็งของพาร์ทเนอร์ เพื่อต่อยอดธุรกิจให้กับแบรนด์ ซึ่งอาร์เอสได้ร่วมกับแบรนด์ Tellme ที่กำลังต้องการ รีแบรนด์ให้เด็กลง ส่วนอาร์เอสมีแบรนด์ Daring&Co. ซึ่งเป็นแบรนด์อาหารเสริมจับกลุ่มวัยรุ่น Gen Z จึงได้ร่วมกันทำแบรนด์ TellmeDarling by Daring&Co. ออกแป้งทาหน้าในกลุ่มของ Facial Makeup ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าราว 5,131.3 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 8.4%

นอกจากนี้ อาร์เอสจะใช้กลยุทธ์ Music Marketing โดยออกเพลง Tellme Darling โดยได้ เบิ้ล ปทุมราชลำไย ไหทองคำ เป็นผู้ขับร้อง เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้ชื่อแบรนด์หรือชื่อสินค้ากลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้ฟัง เพื่อสร้าง Brand Awareness นอกจากนี้ ยังมีแผนจะทำการตลาดครบ 360 องศา ทั้งออนไลน์ และออนกราวด์ 

“ที่เราจับมือกับ Tellme เพราะเราอยากได้แบรนด์ที่เป็นตำนาน และจุดเด่นของ Tellme คือ การผลิตแป้งและช่องทางจัดจำหน่าย ซึ่งเราก็จะไปช่วยเขาในด้านมาร์เก็ตติ้ง เขาก็ไม่ต้องลงทุนตรงนี้ ส่วนเราก็ไม่ต้องลงทุนผลิตสินค้าเอง”

ไม่หวั่นพิษศก. มั่นใจคุณภาพ

แม้ว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะไม่ดี ขณะที่สถานะด้านการเมืองก็ยัง ไม่มั่นคง แต่ พรพรรณ เชื่อว่า บริษัทมีความ ยืดหยุ่นในการบริหารความเสี่ยง และทั้ง 3 แบรนด์ที่ออกใหม่ก็มีการบริหารความเสี่ยงตั้งแต่แรก นอกจากนี้ สินค้าทั้ง 3 แบรนด์ยังเน้นที่ คุณภาพ เพื่อลบภาพของ แบรนด์ดารามาแล้วไป

“ทุกธุรกิจเราคิดเรื่องความเสี่ยงแล้ว และมีความยืดหยุ่นในการปรับแผนตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเราเชื่อว่าเรามีความเสี่ยงน้อยกว่าทุก ๆ คน และสินค้าที่เราทำ ไม่ใช่สินค้าที่ ผู้บริโภคกล้าเสี่ยงกับของถูก ดังนั้น เราไม่กังวลเรื่องจีน เพราะเราเน้นเรื่องคุณภาพ ฟังก์ชันนอล เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ไม่ได้ต้องการเป็นแค่แบรนด์ของดารา”

วรัญญา ราชพลสิทธิ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส ลิฟเวลล์ จำกัด

วางเป้าโกย 1 พันล้าน พร้อมขยายไปตปท.

คาดการณ์สัดส่วนรายได้ของธุรกิจคอมเมิร์ซในปี 2567 อยู่ที่ 1,000 ล้านบาท แบ่งเป็น

  • รายได้จากทั้ง 3 แบรนด์ใหม่ คาดว่าจะอยู่ที่ 250 ล้านบาท 
  • รายได้จากแบรนด์สินค้าอื่นๆ ของ RS LiveWell ประมาณ 750 ล้านบาท

โดยอีกโอกาสที่อาร์เอสมองก็คือ โมเดิร์นเทรด และบิวตี้สโตร์ รวมถึงการขยายไป ตลาดต่างประเทศ โดยจะเริ่มในกลุ่มประเทศ CLMV ปัจจุบันอาร์เอสได้รุกตลาดต่างประเทศแล้วก็คือ ฟิลิปปินส์ โดยปัจจุบัน รายได้จากต่างประเทศคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 5-10% ของรายได้ฝั่งคอมเมิร์ซ

“เราอยากจะเน้นช่องทางตัวเอง แต่วางแผนจะเข้าออฟไลน์และต่างประเทศแล้ว เช่น โมเดิร์นเทรด และบิวตี้สโตร์ ซึ่งปัจจุบันตลาดฟิลิปปินส์เป็นตลาดที่มีโอกาสมาก เพราะประชากรส่วนใหญ่เป็นนิวเจน อยู่ในช่วงขาขึ้น และการบริโภคใกล้เคียงเรา นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังไม่ผลิตสินค้าเอง เน้นบริโภคซึ่งไทยมี OEM ที่คุณภาพดี” พรพรรณ ทิ้งท้าย

]]>
1486590
เปิดเบื้องหลังประวัติศาสตร์ ‘Grammy x RS’ แม้เป็นคู่แข่งแต่ไม่จำเป็นต้องเป็นศัตรู https://positioningmag.com/1425197 Tue, 28 Mar 2023 11:23:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425197 ถือเป็นประวัติศาสตร์ที่วงการเพลงต้องจดจำ เพราะในที่สุดแฟนเพลงก็จะได้เห็นคอนเสิร์ตร่วมกันครั้งแรกในรอบ 40 ปี ของ 2 ค่ายใหญ่อย่าง แกรมมี่ (Grammy) และ อาร์เอส (RS) จุดเริ่มต้น เบื้องลึก เบื้องหลัง และการร่วมมือจากนี้จะเป็นอย่างไร Positioning จะมาอธิบายให้ได้อ่านกัน

จีบกันไปกันมากว่า 5 ปี

ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เล่าว่า สำหรับการร่วมมือของแกรมมี่และอาร์เอสมีการคุยกันมานานแล้วแต่หลาย ๆ อย่างยังไม่ลงตัว จนกระทั่งจังหวะเวลาได้ ทั้ง 2 ค่ายจึงจัดตั้งกิจการร่วมการค้า (JOINT VENTURE) อะครอสเดอะยูนิเวิร์ส เพื่อจัดงานคอนเสิร์ตร่วมกัน โดยทุกอย่างแบ่งครึ่งเท่า ๆ กันทั้งการลงทุนและผลกำไร ขณะที่แต่ละค่ายก็จะทำในสิ่งที่ถนัด เช่น แกรมมี่ดูเรื่องการขายบัตร, งานโปรดักชั่น, งานครีเอทีฟ ส่วนอาร์เอสมองในภาพรวม ดูเรื่องงบประมาณ และการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

“ไม่มีใครจีบใครก่อน แต่จีบกันไปกันมาในช่วง 5 ปีมานี้ แต่เพราะจังหวะยังไม่เหมาะสม จนกระทั่งช่วงที่สถานการณ์โควิดคลี่คลาย และอาร์เอสก็ประกาศกลับมาทำเพลงอีกครั้ง การพูดคุยก็เลยลงตัว ซึ่งหัวใจสำคัญของดีลนี้ เรามองว่ามันคือ ความเท่าเทียมและความไว้ใจ”

ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)

ทำปีเดียวไม่ได้ เพราะศิลปินเยอะ

เบื้องต้น คอนเสิร์ตที่จะจัดจะเป็น ซีรีส์คอนเสิร์ต (SERIES CONCERT) ของศิลปินยุค 90 และ 2000 เบื้องต้นจะจัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2 รอบ และจะจัดต่อเนื่องยาว 3 ปี ซึ่งสาเหตุที่ต้องจัดคอนเสิร์ตเป็นซีรีส์เพราะจำนวนศิลปินที่มีมากกว่าร้อยชีวิต ครอบคลุมทุกแนว ดังนั้น แต่ละคอนเสิร์ตก็จะมีธีมและศิลปินที่แตกต่างกันไป โดยจะประกาศปีต่อปี ซึ่งในปี 2023 นี้จะจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม กันยายน และตุลาคม ตามลำดับ

การเลือกศิลปินเรายึดจากช่วงปี 90 ถึง 2000 เพราะถือเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุด และเรามองว่าเพลงเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่มีอายุไขแม้จะมีกระเเสใหม่ ๆ เข้ามา และจากพฤติกรรมทั่วโลกพบว่าคนฟังเพลงใหม่ ๆ 15% อีก 85% เป็นการฟังเพลงเก่า”

วางเป้า 3 ปีทำรายได้ 660 ล้านบาท

เบื้องต้น การลงทุนทำคอนเสิร์ตแต่ละปีจะอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาท คาดว่าจะทำรายได้ 220 ล้านบาท ทำกำไรประมาณ 50% โดยคาดว่าคอนเสิร์ตแต่ละครั้งจะสามารถจุดผู้ชมได้ 10,000 คน หรือประมาณ 60,000 คน/ปี ราคาบัตรอยู่ที่ 2,000-6,000 บาท

นอกจากนี้ ทุกคอนเสิร์ตยังเปิดรับสปอร์นเซอร์ ปัจจุบันมีประมาณ 10 แบรนด์ที่เข้ามาเป็นสปอนเซอร์ซึ่งยังคงเปิดรับอยู่แต่ไม่ได้อยากจะเปิดรับมากเกินไป เพื่อให้ทุกแบรนด์สามารถเป็นที่จดจำได้

“เรามองการขายบัตรเป็นรายได้หลักส่วนสปอนเซอร์เป็นรายได้เสริม ซึ่งเราอยากทำคอนเสิร์ตไปยาว ๆ ไม่อยากให้มันจบ ดังนั้น จำนวนสปอนเซอร์ก็รับตามความเหมาะสม แต่ยอมรับราคาสปอนเซอร์อาจแพงขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับที่แบรนด์รับได้ ส่วนราคาบัตรยังอยู่ในระดับปกติภาวิต เสริม

ไม่ปิดกั้นโอกาสอื่น

วิทวัส เวชชบุษกร ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการเงิน บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า 2 ค่ายใหญ่อย่างแกรมมี่และอาร์เอสสามารถสร้างเม็ดเงินให้อุตสาหกรรมเพลงไทยได้ประมาณ 5,000 ล้านบาท ดังนั้น เชื่อว่าการจัดคอนเสิร์ตร่วมกันในครั้งนี้นอกจากจะสร้างความสุขให้ผู้ชม จะยังช่วยให้อุตสาหกรรมเพลงไทยสามารถเติบโตได้ เพราะการมีคอนเสิร์ตที่ทำรายได้ปีละ 200 ล้านบาทก็เท่ากับตลาดโต 20%

นอกจากนี้ยังระบุว่า คอนเสิร์ตเป็นแค่จุดเริ่มต้น เพราะเชื่อว่ายังมีโอกาสอื่น ๆ ให้ได้ทำอีก อย่างไรก็ตาม ทั้งสองค่ายอาจต้องมาคุยเรื่องทิศทางต่อไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับว่าฟีดแบ็กของผู้ชมจะเป็นอย่างไร เห็นโอกาสอะไร แต่ต้องมาประเมินอีกที

“อาร์เอสมองว่า การทำธุรกิจสมัยนี้เราสามารถมีพาร์ตเนอร์ได้ในหลาย ๆ รูปแบบ การร่วมกับแกรมมี่ก็เป็นอีกพาร์ตเนอร์ชิปหนึ่งที่ทำให้เรามองเห็นโอกาส ซึ่งทั้งเราทั้งแกรมมี่ต่างก็ไม่ปิดกั้นโอกาส เรามองหาโอกาสที่จะมาต่อ ยอดซึ่งกันและกัน”

(ซ้าย) วิทวัส เวชชบุษกร ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการเงิน บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)

เป็นคู่แข่งไม่ใช่ศัตรู

ภาวิต ย้ำว่า อุตสาหกรรมเพลงไทยเองยังคงเติบโตได้อย่างมหาศาลเพียงแต่มันหมดยุคเทป, ซีดีมาสู่ยุคดิจิทัล หารายได้จากสตรีมมิ่ง Artist Management และคอนเสิร์ต ขณะที่ตลาดเพลงทั่วโลกเติบโตเฉลี่ย 9-12% ดังนั้น การเติบโตยังทำได้อย่างต่อเนื่อง แต่ภาพการแข่งขันก็เปลี่ยนไป ต้องแข่งขันกับเพลงทั่วโลก ค่ายเพลงใหม่ก็เพิ่มขึ้นเป็นร้อย ๆ แต่ค่ายก็ร่วมมือกับทุกค่าย เพราะสุดท้ายผู้บริโภคจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะให้เวลากับใคร ดังนั้น การแข่งขันในปัจจุบันมันไม่ใช่ว่าใครดีกว่าใคร แต่มันคือการแย่งเวลาผู้บริโภคมากที่สุด

“เราอยากสร้างประวัติศาสตร์ นี่เป็นสิ่งที่ทั้งแกรมมี่และอาร์เอสอยากทำให้เกิดขึ้น เพราะโอกาสแบบนี้บางทีร้อยปีอาจไม่เกิดขึ้น การที่เราเป็นคู่แข่งกันไม่จำเป็นต้องเป็นศัตรูกัน เราอยากทำให้เห็นว่ามันร่วมมือกันได้ ตอนนี้การแข่งขันในปัจจุบันมันไม่ใช่ว่าค่ายไหนดีกว่ากัน แต่มันคือใครแย่งเวลาผู้บริโภคมากที่สุดคนนั้นชนะ”

]]>
1425197
กางแผน ‘อาร์เอส กรุ๊ป’ กับการปั้นมาร์เก็ตแคป ‘แสนล้าน’ ใน 3 ปี ฝันใหญ่ที่ไม่ลมแล้งของ ‘เฮียฮ้อ’ https://positioningmag.com/1415743 Tue, 17 Jan 2023 13:15:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1415743 นับตั้งแต่ที่ อาร์เอส กรุ๊ป (RS Group) ได้รีแบรนด์ ปี 2023 นี้ก็ครบ 3 ปีพอดี ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมาทุกการเคลื่อนไหวของอาร์เอสนับว่าจับตามอง ทั้งการคลอดแบรนด์ Lifemate (ไลฟ์เมต) หรือการซื้อธุรกิจขายตรง ยูนิลีเวอร์ ไลฟ์ แต่ดูเหมือนเส้นทางจากนี้จะยิ่งน่าจับ เพราะ เฮียฮ้อ-สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ มองว่า ปี 2023 เป็นปีที่ท้าทายที่สุดในชีวิตการทำธุรกิจ 41 ปี และเป้าหมาย 3 ปีของอาร์เอส กรุ๊ป ต้อง สร้างอาณาจักรแสนล้าน ให้ได้

2023 เวลาที่ใช่ของวิชั่นส์ใหม่อาร์เอส

เฮียฮ้อ เล่าถึงช่วง 3 ปีที่ผ่านมาว่า ไม่ง่าย เพราะมีทั้งการะบาดของโควิด สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และวิกฤตเศรษฐกิจที่ทำให้คาดการณ์แนวทางการทำธุรกิจได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ และในปี 2023 นี้ จะเป็นปีที่ สำคัญที่สุดของอาร์เอสนับตั้งแต่ก่อตั้งมา และเป็นปีที่ สำคัญที่สุดของเฮียฮ้อนับตั้งแต่ทำธุรกิจมา 41 ปี เนื่องจากมองว่าการฟื้นตัวหลังจากโควิดจะทำให้ตลาดจะดีดกลับอย่างไม่ปกติ เพราะตลาดอั้นมานานและผู้บริโภคพร้อมกลับมาใช้จ่ายเพื่อซื้อความสุข

“ผมใช้เวลาทั้งชีวิตในการทำงานหาเวลาที่ใช่ และผมเชื่อว่าปี 2023 คือเวลาที่ใช่ ดังนั้น เราจึงใช้เวลานี้กำหนดวิชั่นส์ใหม่ของอาร์เอสใน 3 ปีจากนี้ โดยเราต้องการให้ทำให้มาร์เก็ตแคปของอาร์เอสกรุ๊ปมีมูลค่า 1 แสนล้านบาท

จัดโครงสร้างองค์กรใหม่ก่อน Spin-Off เข้าตลาด

นับตั้งแต่ 15 ปีที่แล้ว ที่ ตลาดมิวสิก อยู่ในช่วงขาลง อาร์เอสก็มีการปรับตัวมาตลอดอย่างที่หลาย ๆ คนรู้ว่าปัจจุบันอาร์เอสมีธุรกิจหลากหลายมากในมือ ซึ่งปีนี้ บริษัทได้ปรับโครงสร้างใหม่โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม เพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ได้แก่

  • RS Multimedia: ประกอบด้วย ช่อง 8 และ COOLfahrenheit
  • RS Music: ประกอบด้วยค่ายเพลง RSIAM, kamikaze, RoseSound และบริษัท โฟร์ท แอปเปิ้ล
  • RS LiveWell: ประกอบด้วย RS Mall และแบรนด์ผลิตภัณฑ์ well u, Vitanature+, Lifemate และ Camu C
  • RS Connect: ประกอบด้วย ULife และ De Beste ธุรกิจขายตรง
  • RS Pet All: ธุรกิจใหม่ที่ประกอบธุรกิจครบวงจรสำหรับสัตว์เลี้ยง
  • R Alliance: ดูแลด้านการลงทุน ตามกลยุทธ์​ M&A และ JV

โดยใน 3 ปีจากนี้อาร์เอสต้องการจะ Spin-Off 5 บริษัท (ไม่นับ R Alliance) ออกไปเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้ทุกธุรกิจรวมมีมูลค่า 1 แสนล้านบาท ได้ภายใน 3 ปีตามเป้าหมาย

กางแผน 6 บริษัทภายใต้วิชั่นส์ Life Enriching

เฮียฮ้อ เล่าต่อว่า อีกหนึ่งกลยุทธ์พาอาร์เอสกรุ๊ปสู่อาณาจักรแสนล้านก็คือ วิชั่นส์ Life Enriching (ยกระดับทุกมิติของการใช้ชีวิต) โดยกลยุทธ์จากนี้ของบริษัทในเครือคือการ เจาะตลาดแมส และเพิ่ม Accessibility การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้มากขึ้นด้วยช่องทางการจำหน่ายและพาร์ตเนอร์ที่หลากหลาย

โดยในส่วนของธุรกิจฝั่งอีคอมเมิร์ซ เริ่มจาก RS LiveWell ปีนี้เตรียมออกผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งหมด 19 SKUs ภายใต้แบรนด์ well u และ Vitanature+ ปี ในหมวดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว นอกจากนี้ สินค้าบางส่วนยังได้จับมือพันธมิตรเพื่อขยายช่องทางไปสู่ Specialty Store และ Duty Free เพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน ขณะที่ RS Mall ก็จับมือกับพันธมิตรหลากหลายยิ่งขึ้น อาทิ สถาบันการเงิน โรงพยาบาล คลินิก และบริษัทประกันชั้นนำ เพื่อสร้างฐานลูกค้าใหม่

ส่วน RS Connect ธุรกิจขายตรง ได้เพิ่มบิสซิเนสโมเดลใหม่ ได้แก่ ปิ่นโต สำหรับจำหน่ายสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพแบบ Subscription และโมเดลธุรกิจ PROMPT เพื่อจัดจำหน่ายสินค้ากลุ่มพันธมิตรที่น่าสนใจผ่านช่องทางออนไลน์ ส่วนแบรนด์ De Beste (เดอร์ เบสส์เต) จะเปิดระบบตัวแทนออนไลน์ (Online Marketing)

ต่อยอดไลฟ์เมตสู่ธุรกิจสัตว์เลี้ยงครบวงจร

จากที่ปี 2021 บริษัทได้ชิมลางออกแบรนด์ Lifemate ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่เกิดจากแพชชั่นส่วนตัวของเฮียฮ้อเอง โดยในปีนี้เฮียฮ้อก็ได้แตกออกมาเป็น บริษัท อาร์เอส เพ็ท ออล จำกัด เพื่อทำธุรกิจสัตว์เลี้ยงครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำที่ประกอบด้วยโรงงานผลิตอาหารสัตว์ รีเทลสัตว์เลี้ยง สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง รวมถึงธุรกิจเวลเนสสำหรับสัตว์เลี้ยงด้วย

ส่วนสินค้าภายใต้แบรนด์ Lifemate ก็มีแผนจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 22 SKUs ในหมวดอาหารกลุ่ม Specialty Food, สแน็คสำหรับสุนัขและแมว และผลิตภัณฑ์ดูแลทำความสะอาด อีกทั้งยังเตรียมขยายช่องทางการจำหน่ายไปยัง Modern Trade และตลาดต่างประเทศ

ช่อง 8 นำเสนอภูธรมาร์เก็ตติ้ง

อย่างในส่วนของ RS Multimedia ที่ประกอบด้วยช่อง 8 จะนำเสนอ ภูธรมาร์เก็ตติ้ง เน้นฐานผู้ชมต่างจังหวัดที่เป็นตลาดแมส ซึ่งถือเป็นฐานแฟนคลับชั้นดีของช่อง โดยปีนี้จะมีละครใหม่ที่ถูกจริตกับคนกลุ่มนี้ เสริมด้วยซีรีส์อินเดีย จีน เกาหลี เพื่อสร้างความแตกต่างและช่วยให้เข้าถึงเป้าหมายที่กว้างขึ้น นอกจากนี้จะเพิ่มรายการ มวย 4 รายการ เพื่อรักษาตำแหน่งเบอร์ 1

นอกจากนี้ จะผลิต คอนเทนต์ออนไลน์ของช่อง 8 โดยจะมีรายการใหม่ ๆ จับกลุ่ม Young Gen ส่วนของ COOLfahrenheit จะทำให้ครบทั้ง ออนแอร์ ออนไลน์ ออนกราวด์ โดยขยายช่องทางเข้าถึงจากแค่ FM 93 และ แอปพลิเคชัน COOLISM ให้สามารถฟังได้ผ่านสตรีมมิ่ง เช่น Joox, Siri, Apple Music, Google Home และ Google Assistant นอกจากนี้ ยังมีด้วยกิจกรรมโดนใจ อาทิ COOL Outing และ COOLive วางแผนจัด 4 คอนเสิร์ตใหญ่ และ 4 เฟสติวัล

คัมแบ็กตลาดเพลงในรอบ 15 ปี

อีกธุรกิจที่น่าจับตาสำหรับฝั่งคอนเทนต์ก็คือ RS Music ที่ตลอดช่วง 15 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เริ่มเห็นขาลงของธุกิจเฮียฮ้อก็ได้พักเอาไว้ แต่ปัจจุบันเฮียฮ้อมองว่า New Wave ของ Music กลับมาแล้ว ดังนั้น ตั้งแต่ปีนี้เฮียฮ้อจะกลับมาทำธุรกิจเพลงเต็มรูปแบบเหมือนในอดีต ผ่านค่ายเพลงในเครือซึ่งประกอบด้วย RSIAM, kamikaze และ RoseSound

สำหรับไฮไลต์สำคัญของปีจะมี 2 โปรเจกต์ใหม่ ได้แก่

  • RS Homecoming: ที่จะนำศิลปินเก่ากลับมาอีกครั้ง
  • RS Newcomers: ที่จะปลุกปั้นศิลปินใหม่ โดยจะมีรายการใหม่ vibe house เป็นรายการหาศิลปินหน้าใหม่ vibe square จัดงานอีเวนต์คอนเสิร์ตภายใต้บริษัท โฟร์ท แอปเปิ้ล

“รายได้ใหญ่สุดของธุรกิจเพลงในอดีตมันมาจากยอดขายแผ่นยอดขายเทป พอรายได้ส่วนนี้มันลดลงถือเป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่ามันไม่ใช่ธุรกิจที่เหมาะสม ตลอดที่ผ่านมาเรายังทำแต่แค่ลดลง ซึ่งตอนนี้เราเห็นการเติบโตทางดิจิทัลที่มีนัยสำคัญ และเรามองภาพต่างจากอดีต เพราะแม้รายได้ตอนนี้อาจไม่สูงเท่าเดิมแต่มันไม่มีต้นทุน และทำเงินได้ตั้งแต่เริ่มหาศิลปิน ดังนั้น ตอนนี้ถึงเวลาแล้ว น้ำขึ้นเราควรจะกลับมาจับปลา”

อย่างไรก็ตาม เฮียฮ้อยังไม่ได้เปิดเผยถึงส่วนของ RS Music มากนัก แต่ระบุว่า จะเห็นความชัดเจนเพิ่มขึ้นภายในไตรมาส 1 โดยเฉพาะเรื่องของ พาร์ตเนอร์ ที่จะมาร่วมกับอาร์เอส โดยเฮียฮ้อทิ้งท้ายถึงตลาดเพลงในปัจจุบันว่า อาร์เอส ไม่ได้มองใครเป็นคู่แข่ง เพราะตลาดเปลี่ยนไป ทุกคนสามารถ อยู่ร่วมกันหรือสามารถจับมือกันสร้างมูลค่าเพิ่มได้ และมั่นใจว่าสิ่งที่อาร์เอสมีแต้มต่อก็คือ ความเชี่ยวชาญ ความมีประสบการณ์เพลงกว่า 20,000 เพลง

“วันนี้รายได้จากดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำรายได้ให้เราแข็งแรง ซึ่งธุรกิจเพลง 3 ปีจากนี้มีโอกาสที่จะทำรายได้ 1,000 ล้านเหมือนในอดีต โดยปีนี้เราตั้งเป้าไว้ที่ 400 ล้านบาท”

วางเป้า 5,500 ล. พร้อมตั้งสายงานใหม่ Media & Marketing

นอกจากฝั่งอีคอมเมิร์ซและคอนเทนต์ อาร์เอสกรุ๊ปมีส่วนของการทุนก็คือ R Alliance สำหรับการทำ M&A และ JV โดยปีนี้คาดว่าจะมีการลงทุนในปีนี้ 2-3 ดีล ภายใต้งบลงทุนไม่เกิน 600 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทได้มีการตั้งสายงานใหม่ Media Sell and Marketing ดูแลการซื้อสื่อและการทำการตลาดแบบ one stop service ครอบคลุมและเชื่อมโยงสื่อและบันเทิงในทุกธุรกิจของอาร์เอส กรุ๊ป ช่วยให้การซื้อสื่อโฆษณาและการทำการตลาดของลูกค้ามีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด

สำหรับรายได้ของปี 2023 บริษัทตั้งเป้าไว้ที่ 5,500 ล้านบาท โดยมาจาก ธุรกิจคอมเมิร์ซ 3,100 ล้านบาท (RS LiveWell 1,800 ล้านบาท, RS Connect 900 ล้านบาท และ RS Pet All 400 ล้านบาท) และ ธุรกิจมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ 2,400 ล้านบาท (RS Multimedia 1,450 ล้านบาท, RS Music 400 ล้านบาท และอีเวนต์-คอนเสิร์ต 550 ล้าบาท) และในช่วง 3 ปีจากนี้ต้องการให้ภาพรวมทั้งหมดเติบโตปีละ 30-40%

60 แต่ยังไม่วางมือ

เฮียฮ้อทิ้งท้ายว่า ตนเองเริ่มต้นทำธุรกิจตั้งแต่อายุ 19 จนปัจจุบันอายุ 60 แต่ปีนี้ถือเป็นปีที่ท้าทายที่สุดที่อาร์เอสก่อตั้งมาและท้าทายที่สุดในชีวิตการทำงานของเฮียฮ้อ เพราะมีแผนที่จะทำให้มาร์เก็ตแคปบริษัทรวม 1 แสนล้านบาท ถือเป็นฝันที่ใหญ่แต่ไม่ใช่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ซึ่งตอนนี้เฮียฮ้อย้ำว่าตอนนี้ยังคงสนุกกับการทำงาน ดังนั้น ยังไม่มีแผนจะวางมือแน่นอน

“โหดสุดสำหรับเฮียคือ 5 ปีในธุรกิจเพลงที่เราขาดทุนต่อเนื่อง เป็นช่วงที่ยากที่สุดที่ต้องขายโรงงานผลิตซีดีทิ้ง แต่ก็ทำให้เรากล้าที่จะทรานซ์ฟอร์ม กล้าจะลองทำอะไรใหม่ ๆ ทั้งธุรกิจกีฬา ธุรกิจทีวี ธุรกิจคอมเมิร์ซ ทำให้เราได้บทเรียนดี ๆ สำหรับเฮียแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ยอมแพ้ ไม่กลัวความล้มเหลว และเรียนรู้สิ่งใหม่เสมอ มันทำให้เราล้มก็ต้องรับให้ได้ เรียนรู้กับมัน และการที่ไม่หยุดคิดและฝัน ทำให้เราไม่ยึดติดกับความสำเร็จ จะเห็นว่าอาร์เอสมีความหลากหลายมันสะท้อนว่าเราไม่หยุดที่จะหาสิ่งใหม่ ๆ

]]>
1415743
ขาลงหรือขึ้นอยู่ที่คนปั้น! ‘เฮียฮ้อ’ ลั่นขอ 3 ปีพา ‘ยูไลฟ์’ ขึ้น Top5 ขายตรง พร้อมลบภาพ ‘นักตื๊อ’ https://positioningmag.com/1387394 Wed, 01 Jun 2022 11:11:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387394 หลังจากที่ ‘อาร์เอส’ (RS) ของ เฮียฮ้อ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ได้ทรานส์ฟอร์มครั้งใหญ่จากธุรกิจบันเทิงเป็น ‘Entertainmerce’ หรือการนำศิลปิน ดารา นักแสดง คอนเทนต์ สื่อ ทีวี และวิทยุในมือทั้งหมด มาต่อยอดผสมผสานกับธุรกิจคอมเมิร์ซ เพื่อสร้างธุรกิจให้แข็งแรง คำถามคือ ในเมื่อมีทั้งช่องทางออนไลน์ มีทั้งสื่อในมือ แล้วอาร์เอสยังขาดอะไรที่จะทำให้กลยุทธ์ Entertainmerce นั้นสมบูรณ์ คำตอบก็คือ เครือข่ายขายตรง

ธุรกิจขายตรง จิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่รอ

ที่ อาร์เอส กล้าทรานส์ฟอร์มจากธุรกิจบันเทิงสู่การขายเต็มตัวก็เพราะมีเครื่องมือทั้ง ออนแอร์ ออนไลน์ ดังนั้น การที่อาร์เอสยอมทุ่มเงิน 900 ล้านบาท เข้าซื้อ ธุรกิจขายตรงยูนิลีเวอร์ ไลฟ์’ ของ ยูนิลีเวอร์ ก็เพื่อต่อจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายในการสร้างแพลตฟอร์มการขายที่ครบวงจรเพื่อที่จะมี ออนกราวด์

โดยหลังจากที่ปิดดีลดังกล่าวไปเมื่อช่วงสิ้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา เฮียฮ้อก็เดินหน้าทำงานต่อทันทีภายใต้ชื่อ ULife (ยูไลฟ์) โดยได้ ทีมบริหารมาครบชุด ฐานสมาชิกในเครือข่ายธุรกิจกว่า 1.5 แสนคน ที่ปัจจุบันแอคทีฟกว่า 40% ช่องทางจัดจำหน่ายกว่า 22 แห่ง สินค้า 43 ผลิตภัณฑ์ รวม 76 SKU โดยเฉพาะแบรนด์พรีเมียมอย่าง

  • Beyonde: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • Aviance: ผลิตภัณฑ์สุขภาพความงาม
  • I-Fresh: ผลิตภัณฑ์สุขภาพช่องปาก

ขาลงหรือขาขึ้นอยู่ที่มือใครปั้น

ก่อนจะเกิด COVID-19 ตลาดขายตรงของไทยเติบโตได้ 5-7% แต่ในปี 2020 ตลาดมีมูลค่าราว 70,000 ล้านบาท ติดลบ -1% และในปี 2021 แค่ครึ่งปีแรกตลาดติดลบ -5% จากการเติบโตที่ลดลงดังกล่าว หลายคนมองว่าตลาดอยู่ในช่วง ขาลง แต่เฮียฮ้อไม่ได้มองอย่างนั้น เพราะแม้ตลาดจะลดลงแต่กลับมาบริษัทที่จดทะเบียนเพิ่มกว่า 70 บริษัท

“อุตสาหกรรมขายตรงไม่ได้อยู่ในขาลง แต่ขึ้นอยู่กับอยู่ในมือใคร จะเห็นว่ามี 80 บริษัทยอดตก แต่มี 20 บริษัทที่โต เราไม่สนว่าตลาดรวมจะเป็นอย่างไร แต่เราต้องโตให้ได้ มันอยู่ที่ตัวเรามากกว่า ซึ่งเฮียมองว่าการได้ยูไลฟ์เหมือนได้รถที่พร้อมขับ แค่โมเครื่องใหม่ให้แรงกว่าเดิม”

เฮียฮ้อระบุว่า หลังจากที่ได้ยูไลฟ์มาในมือแค่เดือนเดียว ก็สามารถสร้างการเติบโตได้ ดังนั้น ภายใน 8 เดือนจากนี้อาร์เอสต้องการปิดรายได้ราว 800 ล้านบาท รวมทั้งปีปิดที่ 1,100 ล้านบาท โดยเติบโตจากปีก่อนที่ทำได้ 650 ล้านบาทหรือราว 50%

ขายตรงยุคใหม่ไม่ตื๊อให้ยี้

แน่นอนว่าถ้าแค่รีแบรนด์แล้วขายตรงแบบเดิมการเติบโตคงจะยาก ซึ่ง สุชาดา ธีรวชิรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส-ยู ไลฟ์ จำกัด อธิบายว่า Pain Point ของธุรกิจขายตรงคือ เส้นบาง ๆ ระหว่าง ใส่ใจ กับ ตื๊อ และคนขายจะเป็นฝ่ายเข้าหา แต่ขายตรงของยูไลฟ์ ลูกค้าจะต้องมาเป็นฝ่ายติดตามแทน เพื่อลบภาพลบนักตื๊อของขายตรง

แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จุดแข็งของอาร์เอสที่มีคือ คอนเทนต์ และ โค้ช ที่จะช่วยสอนเพื่อพัฒนาให้พาร์ตเนอร์กลายเป็น Nano Influencers เสมือนกับที่ พิมรี่พาย ขายของแล้วมีคนรอติดตามซื้อ และเพื่อขยายเครือข่าย Business Partners จากปัจจุบันมี 1.5 แสนคน ให้เพิ่มเป็น 1 ล้านคน ภายใน 3 ปี ยูไลฟ์จะเพิ่มค่าตอบแทนจาก 5% เป็น 15% เพื่อจูงใจอีกด้วย

“คนอาจจะมองว่าขายตรงล้าสมัย แต่จริง ๆ แล้วเหมาะกับยุคนี้ ยุคของ C To C ที่เป็น การสร้างสายสัมพันธ์ เรามองตัวเองว่าเป็นอีกทางเลือกให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ยากมากขึ้น เพราะโปรดักต์ไม่ยั่งยืน เราเองก็อยากจะดึงแม่ค้าออนไลน์มาเป็นพาร์ตเนอร์กับเรา สร้างความยั่งยืนให้ เราให้น้ำหนักกับการโค้ช การเรียนการสอน และสินค้าก็มีคุณภาพ หัวใจคือ สินค้าคุณภาพและความต่อเนื่อง”

เพิ่มสินค้าจับกลุ่มแมสมากขึ้น

สินค้าที่ขายในตลาด 56% เป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ เช่น อาหารเสริม ตามด้วยสินค้าด้านความงาม ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นสินค้าหลักของยูไลฟ์อยู่แล้วทั้งสิ้น แต่สิ่งที่อาร์เอสจะทำคือ เพิ่มความหลากหลายมากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในบ้าน, กาแฟเพื่อสุขภาพ และโปรตีน โดยตั้งเป้าจะเพิ่มเป็น 6 แบรนด์ 200 SKU นอกจากนี้ สินค้าจะไม่ได้จับแค่ตลาดพรีเมียมเหมือนเดิม แต่จะลงมาในกลุ่มแมสมากขึ้นด้วย

“สินค้าที่ใช้แล้วหมดไปถือเป็นสินค้าที่เหมาะอยู่แล้ว เพราะเราจะได้ดึงลูกค้าให้มาซื้อซ้ำ ธุรกิจก็จะยั่งยืนไม่ต้องพยายามหาลูกค้าใหม่ ดังนั้น ควรมีรายได้จากสินค้าเก่า 70% นี่ถือเป็นสัดส่วนที่เฮลท์ตี้ อีกสิ่งที่ต้องมีคือ นวัตกรรม สร้างความว้าว”

แน่นอนว่ายูไลฟ์จะใช้ความได้เปรียบของโมเดลธุรกิจ Entertainmerce ของอาร์เอส ที่มีสื่อในมืออย่าง ทีวี วิทยุ ออนไลน์ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมทั้งนำ Popcoin มาเป็นเครื่องมือการตลาด และมีการทำดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งร่วม รวมทั้งเปิดตัวไลฟ์สไตล์รีวอร์ด เพื่อสร้าง CRM ให้นักธุรกิจและลูกค้า โดยจากแผนดังกล่าว อาร์เอสคาดว่าจะใช้งบการตลาดราว 100 ล้านบาท Popcoin อีก 200 ล้านเหรียญ

“เรามีทั้งออนไลน์ ออนไซด์ ออนแอร์ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ครบ แต่หน้าร้านทั้ง 22 แห่งต่อไปจะเน้นเป็นเอ็กซ์พีเรียนสโตร์ คงไม่ขยายเพิ่ม เพราะมองว่าอนาคตยอดขาย 40% จะเป็นออนไลน์ จากปัจจุบันมีสัดส่วนที่ 30%”

ผงาดขึ้น Top5 ใน 3 ปี

เฮียฮ้อ ยอมรับว่าในตลาดจะมีผู้เล่นแข็งแกร่งในตลาดไม่ว่าจะเป็น แอมเวย์ นูสกิน กิฟฟารีน มิสทิน แต่ใน 3 ปี จากนี้ (2024) ต้องพายูไลฟ์ให้ติด Top5 จากเดิมเป็นแค่ผู้เล่น Top10 ให้ได้ นอกจากนี้ เฮียฮ้อตั้งใจจะพายูไลฟ์เข้าตลาด พร้อมปั้นรายได้ 3,000 ล้าน และขยายฐานลูกค้าให้ได้ 10 ล้านคน

ก็มารอดูกันว่าเฮียฮ้อจะพายูไลฟ์จิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่อยากได้มานานไปถึงเป้าที่วางไว้ไหม แล้วผู้เล่นตัวท็อปจะงัดไม้เด็ดอะไรมาสู้กับยูไลฟ์ของเฮียฮ้อ

]]>
1387394
เปิดใจ ‘เฮียฮ้อ’ จาก ‘ทาสน้องหมา’ สู่การปั้นแบรนด์ ‘Lifemate’ ธุรกิจที่ทำแล้วมีความสุขที่สุด https://positioningmag.com/1363572 Tue, 23 Nov 2021 12:21:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363572 จากปกติหลายคนมักจะพูดว่า ‘เฮียฮ้อ’ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ นั้น ‘ยิ้มยาก’ แต่ในวันนี้กลับ ‘ยิ้มกว้าง’ เพราะพาเจ้า ‘แบงก์เกอร์’ สุนัขคู่ใจมาร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวแบรนด์ ‘Lifemate (ไลฟ์เมต)’ ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยงที่เคยเกริ่นไว้ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมปี 63 ว่า RS เตรียมลุยตลาดอาหารสัตว์เต็มตัว พร้อมบอกว่านี่เป็นธุรกิจที่ทำแล้วมีความสุขที่สุด

เฮีอฮ้อ เล่าถึงที่มาที่ไปว่าเหตุผลที่เข้ามาในตลาดก็เพราะเป็น ทาสน้องหมา นี่แหละ แม้ส่วนตัวจะเป็นคนรักสัตว์ แต่ก็เพิ่งจะได้เริ่มเลี้ยงอย่างจริงจังก็เมื่อตอน 6-7 ปีก่อน เพราะมองว่าเวลากำลังเหมาะสม จนในที่สุดลูกก็ไปหาสุนัขพันธุ์เฟรนซ์บลูด็อกมาให้เลี้ยง หรือก็คือเจ้า แบงก์เกอร์ จากนั้นก็ตามมาอีก 2 ตัว คือ เจ้า ไทเกอร์ (สุนัชพันธุ์อิงลิช บลูด็อก) และ เพลเยอร์ (พันธุ์พุดเดิ้ลผสมมอลทีส)

“ย้อนไปช่วงอายุ 30 กว่า ๆ เราก็เคยเลี้ยงหมา แต่เราทำงานหนักไม่มีเวลาให้เขาเลย แต่ตอนนี้เรามองว่าเป็นช่วงที่เหมาะแล้ว ทุกวันนี้พวกเขาก็เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว เขาจะมานั่งตักเฮียทุกเช้า สาย ๆ ก็จะจูงเดิน เลิกงานก็เล่นกับเขาคลายเครียด มีเวลาก็อาบน้ำให้บ้าง”

เฮียฮ้อ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) และแบงก์เกอร์

เฮียฮ้อเล่าต่อว่า พอเรารักเขาเราก็เอาแต่ใจเขา อยากดูแลเขาให้เต็มที่ จากปกติเป็นคนไม่ค่อยเดินห้างฯ ช้อปปิ้ง แต่กลายเป็นว่าเราอยู่ในร้าน Pet Shop ได้เป็นชั่วโมง ๆ สามารถยินดีจ่ายเงินซื้อของให้ บางอย่างใช้แพงกว่าตัวเองด้วยซ้ำ นี่เลยเป็นจุดตั้งต้นให้เกิดแบรนด์ ‘Lifemate (ไลฟ์เมต)’

“เขาก็เป็นจุดตั้งต้นให้เราทำธุรกิจ เราเข้าใจเลยว่าเขาเป็นเพื่อนคู่ชีวิต เป็นมากกว่าสัตว์เลี้ยง แบรนด์เราเลยชื่อไลฟ์เมต และนี่เป็นธุรกิจที่ผมทำแล้วมีความสุขที่สุด”

ไม่ใช่แค่เรื่องของแพชชั่น แต่หากพูดถึงโอกาสทางธุรกิจแล้วต้องบอกว่าไม่น้อย เพราะปัจจุบัน วัฒนธรรมหรือมุมมองต่อสัตว์เลี้ยงของคนที่เปลี่ยนไป คนโสดมากขึ้น หรือแต่งงานแต่ไม่มีลูก รวมไปถึงเพศทางเลือก อีกทั้งสังคมสูงวัย ส่งผลให้คนเริ่มหาน้องหมาน้องแมวมาเลี้ยง ให้ความรักเอาใจใส่

และโดยเฉลี่ยแล้วเจ้าของสัตว์เลี้ยงจะมียอดใช้จ่ายเฉลี่ยที่ 14,200 บาท/ปี ขณะที่ตลาดสัตว์เลี้ยงตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเติบโตเฉลี่ย 10% และในหมวดอาหารสุนัขและอาหารแมวมีสัดส่วนประมาณ 45% หรือประมาณ 18,000 ล้านบาท แบ่งเป็นกลุ่มอีโคโนมี 60% กลุ่มสแตนดาร์ด 30% และกลุ่มพรีเมียม 10%

ดังนั้น แบรนด์ไลฟ์เมตจะเริ่มจาก อาหารแห้งชนิดเม็ด สำหรับเน้องหมาน้องแมวเป็นสินค้าตัวแรก โดยมีจุดเด่นด้านการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงแบบองค์รวม ซึ่งแบรนด์ไลฟ์เมตจะวางราคาไว้ที่จุดบนสุดของราคามาตรฐาน แต่คุณภาพใกล้เคียงกลุ่มพรีเมียม โดยความคาดหวังคือ เปลี่ยนใจคนที่มีกำลังระดับกลางยอมจ่ายเพิ่มอีกนิด หรือกลุ่มพรีเมียมที่หันมาซื้อไลฟ์เมตไม่ต้องไปรอสินค้านำเข้า

“เขาพยายามหาของดีที่สุดในราคาที่จับต้องได้ นี่เป็นจุดที่ทำให้เราเข้ามาเล่นในตลาดนี้ ตอนนี้กลุ่มพรีเมียมส่วนใหญ่นำเข้า คนอยากได้แต่ราคาเอื้อมไม่ถึง ดังนั้น เราจึงอยากทำสินค้าที่ดีเทียบเท่านำเข้า เราก็น่าจะทำตลาดได้” นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์ กล่าวเสริม

นำสัตว์เลี้ยงพนักงานเป็นพรีเซ็นเตอร์

ไม่ใช่แค่เฮียฮ้อที่มีความสุขกับการทำแบรนด์ไลฟ์เมต แต่พนักงาน RS ก็มีส่วนร่วมด้วย โดยเฮียฮ้อเล่าว่า ได้ให้พนักงานนำสัตว์เลี้ยงของตัวเองมาประกวดเพื่อเป็น พรีเซ็นเตอร์ ให้กับแบรนด์ นอกจากนี้ยังได้ เพนตาแกรม บริษัทด้านดีไซน์ระดับโลกเป็นผู้ออกแบบแพ็กเกจจิ้งแบรนด์

ทั้งนี้ แบรนด์ไลฟ์เมตใช้งบการตลาด 30 ล้านบาท โดยจะทำแบบครบวงจร ทั้งสร้างการรับรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ในเครือ RS ไม่ว่าจะทีวี วิทยุ สื่อนอกบ้าน อีเวนต์ พรีเซ็นเตอร์ การให้สิทธิประโยชน์ผ่านเหรียญ Popcoin แคมเปญการแจกสินค้าตัวอย่าง การทำโปรโมชันต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้ อย่าง บอล-จารุลักษณ์ มาเขียนเนื้อร้องและทำนอง และขับร้องโดย นะ-รัตน จากวง Polycat 

เบื้องต้น ไลฟ์เมตจะเริ่มวางจำหน่ายวันที่ 1 ธ.ค. นี้ ผ่านร้านเพ็ทช็อป คลินิก และโรงพยาบาลสัตว์ทั่วประเทศ รวมถึงช่องทางออนไลน์ RS Mall, Shopee และ Lazada

ตั้งเป้ายอดขาย 320 ล้านบาทในปีแรก

ในปีแรก ไลฟ์เมตตั้งเป้าทำรายได้ 320 ล้านบาท และปีหน้าจะเริ่มทำในส่วนของ อาหารเปียก สแน็ค และอาหารเสริมสำหรับน้องหมาน้องแมว และมีโอกาสที่จะต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อาทิ แชมพู ด้วยแน่นอน และหากแบรนด์ประสบความสำเร็จ เฮียฮ้อก็พร้อมที่จะก้าวไปสู่อีโคซิสเต็มส์ของตลาด ไม่ว่าจะเป็น Pet Shop หรือแม้แต่ทำ โรงพยาบาลสัตว์ ก็มีโอกาสเป็นไปได้

“เราทำธุรกิจเรามีแพชชั่นหมด แต่เราทำแล้วสนุก เรายิ้มได้ และเป็นทิศทางที่มันน่าสนใจ โอกาสทางธุรกิจก็ตามมา ซึ่งเราวางตัวไม่ใช่แค่อาหารสัตว์แต่เป็น Pet Care เราต้องการดูแลสัตว์เลี้ยงในทุกมิติ ดังนั้นเป็นไปได้หมด”

อ่านมาจนถึงตรงนี้ คงจะเชื่อแล้วว่าเฮียฮ้อมีแพชชั่นกับสัตว์เลี้ยงอย่างเต็มเปี่ยมจริง ๆ ไม่แน่ว่า เราอาจได้เห็นแบรนด์ไลฟ์เมตในสถานะอื่น ๆ อีกเร็ว ๆ นี้ก็ได้

]]>
1363572
คุยกับ “เฮียฮ้อ” ทรานส์ฟอร์ม RS ยุคใหม่ : ทาสหมาตัวยง ลุยขายอาหารสัตว์ ปัดฝุ่นเพลง https://positioningmag.com/1293489 Thu, 20 Aug 2020 10:28:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293489 RS เข้าสู่ยุคที่ 4 ของการดำเนินธุรกิจ ได้เปิดสำนักงานใหม่ย้ายจากลาดพร้าวสู่ย่านถนนประเสริฐมนูกิจ หรือเกษตร-นวมินทร์ ยุคที่ 4 นี้มีการปรับโมเดลใหม่หลายๆ อย่าง เตรียมลุยตลาดอาหารสัตว์เต็มตัว แถมยังเตีรยมปัดฝุ่นธุรกิจเพลงที่ห่างหายไปนานด้วย

RS สู่ยุคที่ 4

ถ้าฝั่งแกรมมี่มี “อากู๋” ฝั่ง RS ที่เป็นเหมือนคู่ปรับทางดนตรีมาตลอดก็ต้องมี “เฮียฮ้อ”

RS เป็นหนึ่งในตำนานเพลงยุค 90 ที่หลายๆ คนเติบโตมาพร้อมกับเพลง และศิลปินของ RS ถึงแม้ว่ายุคสมัยเปลี่ยนไป โมเดลธุรกิจต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อรับกับความต้องการของตลาด แต่ชื่อของ RS ก็ยังคงอยู่

RS ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2519 โดย “สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์” หรือเฮียฮ้อ และพี่ชาย “เกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์”  เริ่มก่อตั้ง RS และ Rose Sound จากธุรกิจตู้เพลง และค่ายเพลง ด้วยเงินลงทุน 50,000 บาท โดยมีสำนักงานแห่งแรกเป็นตึกแถวจำนวน 2 คูหา บนถนนอุรุพงษ์ ตอนนั้นเฮียฮ้อมีอายุ 19 ปี

อาร์เอส กรุ๊ป

จากนั้นในปี 2525 ก้าวเข้าสู่ธุรกิจเพลงวัยรุ่น ภายใต้บริษัท อาร์.เอส.ซาวด์ จำกัด โดยมีศิลปินวงแรกในสังกัดคือ วงอินทนิล ตามด้วย คีรีบูน, ฟรุตตี้, ซิกเซนต์, บรั่นดี, และ เรนโบว์ เป็นต้น

ในปี 2535 ย้ายสำนักงานจากตึกแถว 2 คูหา ถนนอุรุพงษ์ มายังอาคารเชษฐโชติศักดิ์ ซอยลาดพร้าว 15 และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “บริษัท อาร์.เอส. โปรโมชั่น 1992 จำกัด”

ถ้านับถึงตอนนี้ RS มีอายุ 39 ปีแล้ว ย่างเข้าปีที่ 40 ผ่านการทรานส์ฟอร์มครั้งใหญ่หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่ธุรกิจทีวีดิจิทัลเต็มตัวในปี 2557 ใช้ช่อง 8 เป็นหัวหอกหลัก ในปี 2559 เปิดบริษัท “ไลฟ์สตาร์ (LifeStar)” เข้าสู่ธุรกิจสุขภาพ และความงาม

จนถึงในปี 2562 มีการทรานส์ฟอร์มครั้งสำคัญที่ RS ได้ขอปรับย้ายหมวดธุรกิจ จากหมวดธุรกิจ “สื่อและสิ่งพิมพ์” มาเป็นหมวด “ธุรกิจพาณิชย์” หรือ MPC (Multi-platform Commerce) โดยกลุ่มนี้สร้างรายได้ได้ในสัดส่วนถึง 65% ของรายได้รวมของ RS และในปีเดียวกันนั้น “บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” ก็ได้เข้าถือหุ้น RS จำนวน 68 ล้านหุ้น (หรือประมาณ 7%) เพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลลูกค้า

เฮียฮ้อเริ่มเล่าว่า 39 ปีของ RS ที่ผ่านมา ได้แบ่งเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ จนในปีนี้ถึงยุคที่ 4 เป็นการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ พร้อมกับย้ายสำนักงานใหญ่ด้วย

“ที่ผ่านมาแบ่ง RS เป็น 3 ช่วงด้วยกัน ช่วงแรกเป็นช่วงของปลาใหญ่กินปลาเล็ก ช่วงนั้นเราเป็นปลาเล็ก ช่วงวัยรุ่น คิดแค่ว่าจะเอาตัวรอดได้อย่างไรไม่ถูกกินก่อนที่จะโต พอเข้าสู่ช่วงที่ 2 คือช่วงปี 2535 เริ่มย้ายมาที่ลาดพร้าว ธุรกิจเริ่มใหญ่ขึ้น เป็นปลาใหญ่แล้ว ช่วงนี้จะเป็นปลาใหญ่กินปลาช้า แต่ในช่วงที่ 3 คือช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เป็นยุคปลาฉลามที่กินทุกปลา ปลาใหญ่ หรือปลาเล็กไม่สำคัญ” 

โลโก้ใหม่สุดมินิมอล พร้อมสำนักงานใหม่

ในปีนี้มีการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ เฮียฮ้อบอกว่าไม่ใช่แค่เปลี่ยนโลโก้ใหม่ แต่ยังมีการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่ ใช้ระบบ Agile ที่เน้นความรวดเร็ว คล่องตัว กำหนดวัฒนธรรมองค์กรใหม่ เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนด้วยคอนแทนต์ และสินค้านั่นเอง

โดยที่โลโก้ใหม่ที่ให้ภาพลักษณ์เรียบง่าย มินิมอล และแฝงไปด้วยความร่วมสมัยเป็นสากล ได้ทำงานร่วมกับ มารีน่า วิลเลอร์ กราฟฟิกดีไซเนอร์ผู้ออกแบบโลโก้ให้แก่ เทต โมเดิร์น พิพิธภัณฑ์ศิลปะชื่อดังในอังกฤษ โลโก้ใหม่ยังสื่อถึงความเป็นเป็นองค์กรที่ไร้ขีดจำกัด ไม่มีสี ไม่มีกรอบ เป็นตัวอักษรขาวหรือดำก็ได้

ส่วนสำนักงานใหญ่ที่ย้านมาอยู่ที่ย่านถนนเกษตร-นวมินทร์ มีพื้นที่รวมถึง 16 ไร่ เป็นพื้นที่ส่วนตัวของเฮียฮ้อ และให้ RS เป็นผู้เช่า ซึ่งบ้านของเฮียฮ้อก็อยู่ในระแวกเดียวกันด้วย

ย้ำจุดยืน Entertainmerce

RS ได้เข้าสู่วงการขายของได้ราว 4 ปี เริ่มต้นจากธุรกิจไลฟ์สตาร์ เฮียฮ้อเริ่มมองเห็นแล้วว่าธุรกิจสื่อเริ่มอยู่ในช่วงขาลง ยิ่งมีทีวีดิจิทัล ยิ่งแบ่งเค้กกันมากขึ้น ในขณะที่จำนวนคนดูเท่าเดิม จึงเริ่มเปลี่ยนวิธีจากให้เอยนซี่เป็นลูกค้าซื้อสปอตโฆษณา เป็นให้คนดูเป็นผู้ซื้อแทน ใช้สื่อในเครือทั้งหมดเป็นช่องทางการขาย

RS ได้ Disrupt ตัวเองด้วยการใช้โมเดลธุรกิจ Entertainmerce หรือ Entertainment + Commerce ธุรกิจมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขนาดขอย้ายจากหมวดธุรกิจ Entertainment มาอยู่หมวด Commerce ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

พรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์

การทำ Entertainmerce ของ RS ก็คือ การใช้ศักยภาพ ทรัพย์สินทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นศิลปิน ดารา นักแสดง คอนเทนต์ สื่อ ทีวี และวิทยุในมือทั้งหมด มาต่อยอดผสมผสานกับธุรกิจคอมเมิร์ซ เพื่อสร้างธุรกิจให้แข็งแรง

พรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์ เล่าว่า

“ในปี 2557 เป็นปีที่อุตสาหกรรมสื่อเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากทีวี 4 ช่อง เป็น 24 ช่อง แต่สายตาคนดูเท่าเดิม RS เลยใช้วิธีแตกต่าง เอาเวลาครึ่งนึงของโฆษณามาทำธุรกิจใหม่ จนวันนี้ 5 ปีผ่านไป RS Mall เป็นการผสมช้อปปิ้งเข้ากับความบันเทิง เล่าถึงแนวทางการแก้ปัญหา เสนอข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าได้” 

แม้ในแต่ละสื่อทุกช่องทางของ RS จะมีการขายของเก่งอย่างไร แต่โมเดล Entertainmerce ก็พิสูจน์ได้ว่ามันเข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคนี้ และสามารถทำให้บริษัทอยู่รอดได้ และ RS ยังโตสวนกระแสวงการทีวีดิจิทัลที่มีการขาดทุนกันอย่างนัก ร่วมกับวิกฤต COVID-19 โดยที่ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ สามารถสร้างรายได้ 586.2 ล้านบาท สร้างสถิติ New High สูงที่สุด และมียอดขายจากช่องทางออนไลน์โต 80%

ปัจจุบันมีฐานลูกค้า 1.4 ล้านราย แบ่งสัดส่วนเป็นคนกทม. 65% และคนต่างจังหวัด 35% ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงอายุ 40 ปี ขึ้นไป มียอดใช้จ่ายเฉลี่ย 2,000 บาท

ทาสหมาตัวยง เตรียมขายอาหารสัตว์

ภายใต้ RS Mall ที่เป็นแพลตฟอร์มขายสินค้าของ RS มีสินค้าที่หลากหลาย ทั้งสินค้าแบรนด์ของ RS เอง และแบรนด์ที่รับมาขาย โดยสัดส่วนรายได้ 60% เป็นสินค้าในเครือ และอีก 40% เป็นสินค้าข้างนอก

ชาคริต พิชญางกูร หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจไลฟ์สตาร์ บอกว่า ในปีนี้จะบุกโมเดล Star Commerce Modelนำศิลปินดารามาร่วมคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มแฟนคลับ เริ่มต้นที่ใบเตย อาร์สยาม กับแบรนด์ BT Cosmetics Color Collection มีสินค้าแป้ง Color Palette และ Lipstick

ดร.ชาคริต พิชญางกูร หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจไลฟ์สตาร์

อีกหนึ่งไฮไลท์ของไลฟ์สตาร์ คือ การบุกตลาด “อาหารสัตว์” นอกจากตัวเลขมูลค่าตลาดอันมหาศาลถึง 40,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 10% โดยตลอด ที่สำคัญคือ เฮียฮ้อเป็น “ทาสหมา” ตัวยง จึงรู้ว่าตลาดนี้มีโอกาสมากมายขนาดไหน

เฮียฮ้อเล่าว่า “เฮียเลี้ยงหมา 2 ตัว เริ่มจากตัวเองนี่แหละถึงรู้ว่าตลาดใหญ่มาก เอาจากอินไซต์ของตัวเองเลย ซื้อยาสระผมให้ตัวเองอย่างมากราคา 200 บาท แต่ซื้อให้หมา 700 บาท พวกทาสเนี่ยจ่ายให้หมาแมวเหมือนลูก บางอย่างซื้อดีกว่าลูกด้วยซ้ำ”

เฮียฮ้อเสริมอีกว่า เชื่อว่าอาหารสัตว์จะทำให้เรามีแต้มต่อได้ เพราะเป็นเรื่องของ Emotional ใช้ Storytelling ให้เหมาะสม ยิ่งตอนนี้เป็นเทรนด์ของสังคมอีกด้วย ซึ่งอาหารสัตว์ในตลาดมีหลายกลุ่ม แต่ของไลฟ์สตาร์จะอยู่ในกลุ่มไฮเอนด์ มีทีมคิดสูตรเป็นของตัวเอง คาดว่าจะวางจำหน่ายช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้

เบื้องหลังการปลุกชีพธุรกิจ “เพลง”

อีกหนึ่งไฮไลท์ของแผนธุรกิจในปีนี้ของ RS ก็คือ การที่กลับมาปัดฝุ่น “ธุรกิจเพลง” อีกครั้ง หลังจากที่ห่างหายไปนาน เพราะ RS โฟกัสกับธุรกิจสื่อ และคอมเมิร์ซ

RS Music ในปีนี้จะกลับมาเต็มรูปแบบด้วย 3 ค่ายเพลง RSIAM, Kamikaze และ RoseSound ทั้งหมดเป็นค่ายดั้งเดิมที่เคยมี แต่ศิลปินใหม่ทั้งหมด แต่มาพร้อมกับโมเดลธุรกิจใหม่ ไม่ใช่แค่งานเพลงอย่างเดียว ศิลปินจะต้องขายของได้ด้วย! จะเริ่มเปิดตัวในเดือนตุลาคม

สุกฤช สุขสกุลวัฒน์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจเพลง บอกว่า

“ความท้าทายครั้งสำคัญของธุรกิจเพลง คือ การปรับตัวเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่แตกต่าง เพลงเป็นแค่เครื่องมือหนึ่ง แต่สิ่งที่จะสร้างและต่อยอดธุรกิจได้คือ สตาร์ ที่มีตัวตน มีคาแรคเตอร์ที่ชัดเจน และมีฐานแฟนคลับ ซึ่งทั้งหมดจะถูกเชื่อมโยงกับโมเดลธุรกิจใหม่ Music Star Commerce จากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ศิลปิน และสอดคล้องกับธุรกิจของอาร์เอส กรุ๊ป”

ถ้าถามว่าทำไมในปีนี้ถึงเป็นจังหวะที่ RS จะกลับมารุกธุรกิจเพลงอีกครั้ง เฮียฮ้อบอกแค่ว่า วันนี้มี Business Model รองรับนั่นเอง

“หัวใจสำคัญของกลยุทธ์ RS รู้ว่าเมื่อไหร่ควรทำ ควรหยุด ควรช้า ควรเร็ว จังหวะในการทำธุรกิจคือสิ่งสำคัญ โตได้โต โตไม่ได้อย่าฝืน มาทำช่วงที่กลับมาได้  เราปรับตัวในธุรกิจเพลงตลอด สร้างโมเดลใหม่ๆ ทำให้ยังมีรายได้ ตอนนี้ทรานฟอร์มจนคอมเมิร์ซเป็นธุรกิจใหญ่ การกลับมารุกธุรกิจเพลงอีกครั้ง เอาค่าย RoseSound ค่ายเพลงแรกในชีวิตกลับมา เพราะวันที่มี Business Model พร้อมรองรับ ต้องต่อยอดกับโมเดลคอมเมิร์ซได้ เรามีต้นน้ำถึงปลายน้ำพร้อม”

เฮียฮ้อบอกว่าแต่เดิมโมเดลธุรกิจเพลงของ RS จะเป็นการวางตัวเป็นมาร์เก็ตติ้ง นั่นคือให้ศิลปินออกเงินเอง แต่ทางค่ายเป็นคนทำการตลาดให้ หรือมีหน้าที่ซัพพอร์ต แต่ตอนนี้มีธุรกิจคอมเมิร์ซ ไม่เลือกแค่ร้องดีมีคุณภาพ แต่ต้องต่อยอดคอมเมิร์ซได้ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของศิลปิน เป็นพาร์ทเนอร์ เจ้าของแบรนด์ได้

ในปี 2562 RS มีรายได้รวม 3,200 ล้านบาท ในปีนี้ตั้งเป้ารายได้ที่ 4,200 ล้านบาท มีการปรับลดแผนจากเดิมที่วางไว้ที่ 5,000 ล้านบาทเพราะวิกฤต COVID-19

แบ่งสัดส่วนรายได้ธุรกิจคอมเมิร์ซ 65% ทีวี 20% วิทยุ 10 และเพลง 5%

เฮียฮ้อตั้งเป้ารายได้ไปถึง 10,000 ล้านบาท แต่ยังไม่บอกว่าภายในกี่ปี แต่ที่แน่ๆ คอมเมิร์ซยังเป็นธุรกิจใหญ่ที่จะยังคงมีสัดส่วนถึง 80%

]]>
1293489
ขายเก่ง! RS Mall รุกโมเดล Entertainmerce ผนึกทุกสื่อในเครือขายของ ปั๊มยอดขาย 3,200 ล้าน https://positioningmag.com/1260460 Tue, 14 Jan 2020 09:26:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1260460 RS Mall ปรับคอนเซ็ปต์โมเดล Entertainmerce นำทุกสื่อในเครือ และพันธมิตรขายของ พ่วงสร้างความบันเทิง ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีมากขึ้น เป้ารายได้ 3,200 ล้านในปีนี้ พร้อมแผนรายได้รวมของกลุ่ม RS ทะลุหมื่นล้านในปี 2022

ยุคใหม่ของ RS ในรอบ 37 ปี

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเรียกว่าเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดทุกปีจริงๆ สำหรับ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS ที่จากเดิมอยู่ในธุรกิจเพลง ก็เริ่มมุ่งหน้าเข้าสู่ธุรกิจสื่อ มีทีวีดิจิทัลช่อง 8” จนกระทั่งได้มีการทรานส์ฟอร์มครั้งยิ่งใหญ่สู่การเปลี่ยนกลุ่มธุรกิจเป็นกลุ่มคอมเมิร์ซอย่างเต็มตัว หลังพบว่าขายสินค้าเพื่อนสุขภาพ และความงามมีรายได้ที่ดีกว่า จนแซงหน้าธุรกิจสื่อไปแล้ว

ล่าสุด RS ได้เปลี่ยนช่องทางการขายสินค้าของตัวเองจาก Shop 1781 เป็น RS Mall เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา พร้อมกับกลยุทธ์ปี 2020 ในการปรับตัวเข้าสู่โมเดล Entertainmerce เรียกว่าเป็นการขายของที่พ่วงความบันเทิงในทุกสื่อในเครือมากขึ้น

งานนี้เฮียฮ้อสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ถึงกับออกปากเลยว่าปีนี้เป็นปีที่สำคัญของ RS ในรอบ 37 ปีเลยทีเดียว

“หลังจากที่ RS ได้ทรานส์ฟอร์มสู่ธุรกิจคอมเมิร์ซมาได้ 5 ปีแล้ว ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ได้เข้าใจตลาด และสภาพแวดล้อมธุรกิจ แต่ก็ยังเห็นช่องว่างในตลาดอีกมากที่จะเป็นโอกาสทางธุรกิจ ที่ผ่านมามีการเตรียมความพร้อมสู่ปี 2020 ได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ จัดทีมทำงาน ทีมบริหาร ลงทุนเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการขาย เรียกว่าเป็นปีสำคัญในรอบ 37 ปีของ RS ในการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่”

Entertainmerce ขายของแบบพ่วงความบันเทิง

สำหรับโมเดล Entertainmerce เฮียฮ้อเล่าว่า เป็นการต่อยอดจากธุรกิจดั้งเดิมที่แข็งแกร่ง ที่ผ่านมา RS ยังไม่ได้ใช้จุดแข็งนั้นอย่างเต็มที่ ก็คือการมีสื่อในมือเยอะ จะช่วยในเรื่องการขายได้มากขึ้น

พรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์ กลุ่มธุรกิจสินค้าและแพลตฟอร์ม เล่าว่า

“เราไปเจออินไซต์อย่างหนึ่งพบว่าเรื่องช้อปปิ้งเป็นเรื่องของประสบการณ์ ความสนุก การค้นเจอสิ่งใหม่ๆ และความบันเทิง ถ้าเอาทุกอย่างมารวมกันมันได้จะช่วยสร้าง Conversion Rate ที่สูงขึ้น ยกตัวอย่างที่ประเทศจีนก็ใช้โมเดลแบบนี้ ก็ประสบความสำเร็จ”

ถ้าพูดถึงสื่อในมือของกลุ่ม RS มีทั้ง

  • TV ช่องของตัวเองคือช่อง 8 และพันธมิตร ไทยรัฐทีวีเวิร์คพอยท์ และอมรินทร์ ที่มีการวัดจำนวนคนดูกว่า 2.6 ล้านคนต่อวัน
  • วิทยุ Cool Fahrenheit Online มีคนฟังออนไลน์ 49 ล้านครั้งต่อเดือน
  • ดิจิทัล นับทุกช่องทางของกลุ่ม RS ได้แก่ YouTube มีผู้ติดตามรวมทั้งหมด 57 ล้านราย Instagram 12 ล้านราย และ Facebook 38 ล้านราย (RS นับทุกแอคเคาท์ในเครือรวมกันทั้งหมด)
  • On Ground งานอีเวนต์ และคอนเสิร์ตต่างๆ

ต้องมีหมื่นล้านภายในปี 2022

สำหรับกลยุทธ์ด้านสินค้าของ RS Mall จะประกอบไปด้วย การเพิ่มความหลากหลายของประเภทผลิตภัณฑ์ รวมถึงการนำเอาสินค้าสำหรับเทศกาลต่างๆ เข้ามาสร้างสีสัน การทำสินค้าเฉพาะสำหรับ RS Mall เท่านั้น เป็นการเปิดตัวที่ RS Mall เป็นที่แรก หรือแม้แต่การทำ Brand Collaboration

ส่วนด้านการนำเสนอ จะมีการสร้างรูปแบบการนำเสนอประเภทไลฟ์สด การสาธิตการใช้จริง รวมถึงการนำผู้มีประสบการณ์ในการใช้งานจริงมาร่วมให้ความคิดเห็นและแบ่งปันประสบการณ์

ในปีนี้กลุ่ม RS ตั้งเป้ารายได้รวม 5,200 ล้านบาท เติบโต 30% แบ่งสัดส่วนเป็นรายได้จากคอมเมิร์ซ 60% หรือ 3,200 ล้านบาท และสื่อ/ความบันเทิง 2,050 ล้านบาท มีสัดส่วน 40%

ในปีหน้าตั้งเป้ารายได้ของคอมเมิร์ซมีสัดส่วน 80% รวมทั้งตั้งเป้าหมายว่าทั้งกลุ่ม RS ในปี 2022 จะต้องมีรายได้ 10,000 ล้านบาท

]]>
1260460
คุยกัน 15 นาที! เจาะดีล RS ผนึก BTS มีต่อ “ภาคสอง” ถือหุ้นเพิ่มอีก ปั้น S-Curve ใหม่ สานวิชั่นรายได้ “หมื่นล้าน” https://positioningmag.com/1244722 Sun, 01 Sep 2019 23:07:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1244722 เปิดเบื้องหลังดีลพันธมิตรล่าสุดของ RS ดึงกลุ่ม BTS เข้ามาถือหุ้น 7% มูลค่า 1,000 ล้านบาท นับเป็นจุดเริ่มต้นการ Synergy ของ 2 องค์กร สร้างธุรกิจใหม่แบบไร้กรอบด้วยอาวุธครบมือให้ RS เจาะตลาดกว้างและลึก จากดาต้า เบส ทั้ง 2 ฝ่ายที่มีฐานลูกค้ารออยู่กว่า 35 ล้านคน หลังจากนี้ยังมีภาคสองตามมา

สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ (เฮียฮ้อ) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เล่าที่มาการจับมือเป็นพันธมิตรกับกลุ่ม BTS ให้ Positioning ฟังว่า พันธมิตรรายล่าสุดที่ RS เลือก จะมาต่อ “จิ๊กซอว์” การขยายธุรกิจแนวราบ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ และนำไปสู่การขยายฐานรายได้ตามเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท ในปี 2565

จากปีนี้อาร์เอสวางเป้าหมายรายได้ไว้ 5,000 ล้านบาท การจะนำองค์กรไปสู่ 10,000 ล้านบาท หรืออีก “เท่าตัว” มีทางเดียวต้องโตแบบก้าวกระโดด และบีทีเอส เป็นสปริงบอร์ดสำคัญในภารกิจนี้

ในธุรกิจทีวีดิจิทัลที่เข้าสู่ปีที่ 6 ส่วนธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง Multi-platform Commerce (MPC) เข้าสู่ปีที่ 5 การเติบโตบนฐานธุรกิจเดิมโตได้เฉลี่ยปีละ 10 – 15% แต่หากต้องการมากกว่านั้น อาร์เอสต้องหา S-Curve ใหม่ให้ธุรกิจ คือการหาพันธมิตรใหม่ๆ เพื่อทำให้ธุรกิจเดิมเติบโตได้มากขึ้น พร้อมเปิดโอกาสสร้าง “ธุรกิจใหม่” และกลุ่ม BTS คือ “คำตอบ” ที่จะมา plug in กับวิชั่นของอาร์เอสให้สำเร็จได้ตามเป้าหมาย

สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ – กวิน กาญจนพาสน์

เจาะเบื้องหลังที่มากลุ่ม BTS

ดีลพันธมิตรที่มา “ลงตัว” กับกลุ่ม BTS เฮียฮ้อ เล่าว่าเป็นคนเดินเข้าไปคุยกับ กวิน กาญจนพาสน์” กรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ด้วยตัวเอง เพราะรู้จักกันในแวดวงธุรกิจอยู่แล้ว สิ่งที่อาร์เอสต้องการคือฐานลูกค้าที่อยู่ในมือบีทีเอส

เฮียฮ้อ บอกว่าเข้าไปคุยแผนธุรกิจทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที ครั้งแรกไม่ได้คุยเรื่องการถือหุ้น แต่เป็นการเล่าวิชั่นของอาร์เอส ที่ต้องการร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่ม BTS ในมุมต่อยอดช่องทางขายธุรกิจเดิมและพัฒนาโปรเจกต์ใหม่ร่วมกัน โดยใช้ Asset ที่แต่ละคนมี เพื่อจับมือกันทำธุรกิจแบบ win win ทั้งคู่

คุณกวินรู้ว่าเฮียกำลังจะทำอะไร มองภาพสุดท้ายของธุรกิจออกว่าจะเกิดอะไรขึ้นในความร่วมมือครั้งนี้

เมื่อเห็นภาพชัด คุณกวินก็บอกตรงๆ ว่าการ Synergy ตามบิสสิเนสโมเดลที่วางไว้ แม้จะ win win ทั้งคู่ แต่อาร์เอสได้ประโยชน์มากกว่า และ Policy ของกลุ่ม BTS คือต้องการลงทุนในธุรกิจที่เห็นโอกาสเติบโตด้วยการ Synergy ระยะยาว การพูดคุยครั้งต่อมาจึงเป็นการสรุปเรื่องการเข้ามาถือหุ้นของกลุ่ม BTS ในอาร์เอส ซึ่งก็ใช้เวลา 15 นาทีเท่านั้น ทุกอย่างลงตัว

ภาคแรกสรุปกันที่ให้กลุ่ม BTS ถือหุ้น 7.16% โดยเป็นการปล่อยหุ้นในส่วนที่เฮียฮ้อถืออยู่ออกมา 5.62% จากเดิมถือไว้ 36.26% เหลือ 30.64% และหุ้นของ “โสรัตน์ วณิชวรากิจ” อีก 1.54% จากเดิม 11.19% เหลือ 9.65%

นี่แค่ “ภาคแรก” ของจัดสรรหุ้นให้เท่านั้น เพราะทำได้แค่นี้ แม้กลุ่ม BTS อยากได้มากกว่านี้ แต่ยังมี “ภาคสอง” ตามมาอีกแน่นอน เพราะถือเป็นสัญญาที่พูดคุยกันไว้แล้ว ถึงสัดส่วนหุ้นที่ต้องปล่อยมาให้กลุ่ม BTS ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้จบกันที่ 7% เฮียฮ้อย้ำชัดว่า “ผมกับคุณกวินยังมีภาคสอง”

กวาดฐานลูกค้า 35 ล้านคน

จบเรื่องหุ้นแล้วมาต่อกันที่แผนธุรกิจ ที่อาร์เอสมองโอกาสร่วมกับกลุ่ม BTS จะเกิดใน 2 มิติ คือ การ Synergy และต่อยอด ธุรกิจ MPC เดิมของอาร์เอส นั่นคือ กลุ่ม BTS จะทำหน้าที่เป็นอีกช่องทางขาย นอกจากช่องทางเดิมที่อาร์เอส มีอยู่แล้ว และอีกมิติ คือการสร้างธุรกิจใหม่ร่วมกัน

ปัจจุบันในฝั่งอาร์เอส มีฐานผู้ชมช่อง 8 กว่า 10 ล้านคนต่อวัน ผู้ฟังวิทยุคลื่น Cool 2 – 3 ล้านคนต่อวัน ขายตรง Life star Biz ช่องทางออนไลน์ Shop 1781

ฝั่งบีทีเอส มีแพลตฟอร์มการเดินทางรถไฟฟ้า ที่มีผู้โดยสาร 1 ล้านเที่ยวคนต่อวัน จากเส้นทาง 48.9 กม. ในปัจจุบัน จะเพิ่มเป็น 133.4 กม. ในปี 2564 ส่วน VGI ในเครือบีทีเอส มี 3 แพลตฟอร์มหลักคือ ธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้าน (Out of Home Media) ทั้ง วีจีไอ, มาสเตอร์ แอด และแพลนบี ธุรกิจบริการชำระเงินผ่าน Rabbit Group มีผู้ใช้กว่า 18 ล้านคน และธุรกิจโลจิสติกส์ Kerry Express เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงกว่า 1.2 ล้านคนต่อวัน

เมื่อรวม “ดาต้าเบส” ของทั้ง อาร์เอส และบีทีเอส เข้าด้วยกันจะมีฐานลูกค้ากว่า 35 ล้านคน นั่นคือโอกาสมหาศาล

พัฒนาธุรกิจใหม่ “ไร้กรอบ”

ปัจจุบันดาต้าเบสที่เป็นฐานลูกค้าของอาร์เอส อายุ 35 ปีขึ้นไป แต่ฐานลูกค้าของกลุ่ม BTS จะเป็นกลุ่ม 35 ปีลงมา ทำให้อาร์เอสจะได้ฐานลูกค้าใหม่ขนาดใหญ่จากดาต้าเบสของกลุ่ม BTS ซึ่งไม่ทับซ้อนกับกลุ่มเดิมของอาร์เอส จึงมีโอกาสทั้งต่อยอดธุรกิจ MPC กลุ่ม Health & Beauty เดิมและพัฒนาสินค้าใหม่ร่วมกัน

สิ่งที่จะเกิดขึ้นระยะสั้น จะเห็นการร่วมมือใช้ช่องทางต่างๆ ของกลุ่ม BTS จากเดิมที่ลูกค้ากลุ่ม MPC มาจากช่องทาง อาร์เอส ทั้งทีวีดิจิทัล ช่อง 8 ทีวีดาวเทียม วิทยุคลื่น Cool ก็จะใช้ช่องทางของกลุ่ม BTS เริ่มจากการใช้สื่อของ VGI การทำงานร่วมกับ Kerry ที่จะมีมิติที่กว้างและลึกขึ้น หรือถึงขั้นเป็นพันธมิตร Official

ตัวอย่าง ป้ายโฆษณาในกลุ่ม VGI ที่ไม่ได้ใช้งาน สามารถเปลี่ยนมาเป็นพื้นที่ขายสินค้าให้กับธุรกิจ MPC ของอาร์เอสได้ทั้งหมด นั่นคือ หลักการเดียวกับการนำเวลาโฆษณาที่เหลืออยู่ของช่อง 8 มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากกว่าเป็นโฆษณาแถม

“ลองคิดง่ายๆ ว่าถ้าเดินไปไหน และก็เจอโฆษณา Shop 1781 จากป้ายของวีจีไอ และสามารถโทรสั่งซื้อได้ทันที นั่นคือ อาร์เอส สามารถขายสินค้ากับใครก็ได้ ไม่ใช่แค่คนที่อยู่หน้าจอช่อง 8 แค่นี้ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่แล้ว”

ปัจจุบันธุรกิจ MPC ของอาร์เอส ใช้บริการ Kerry จัดส่ง 60% ที่เหลือเป็นรายอื่นๆ ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะใช้ Kerry ทั้งหมด เพื่อทำให้ประหยัดต้นทุน จากการส่งสินค้าปริมาณมาก เป็นเรื่องที่ win win ทุกฝ่าย

อีกทั้งความร่วมมือ ระบบชำระเงินผ่าน Rabbit ที่จะเข้ามาเป็นตัวเลือก จากปัจจุบันลูกค้า 95% จ่ายเงินสดเก็บเงินปลายทาง เพื่อทำให้กระบวนการซื้อ ขาย จ่ายเงินอยู่ใน Ecosystem เดียวกันทั้งหมด ผ่านช่องทางของอาร์เอสและกลุ่ม BTS

การเป็นพันธมิตรกับบีทีเอส ทำให้อาร์เอสมี “อาวุธครบมือ” ทั้งช่องทาง สื่อ และลูกค้ากลุ่มใหม่ ที่แตกต่างจากอาร์เอส เป็นลูกค้าที่อยู่กับบีทีเอสมานาน มีดาต้าเบสชัดว่ามีพฤติกรรมอย่างไร การพัฒนาสินค้าจึงตอบโจทย์กลุ่มนี้จึงง่ายขึ้น ที่สำคัญทำให้อาร์เอสหาโอกาสจากการพัฒนาสินค้าใหม่ได้แบบ “ไร้กรอบ” คิดได้กว้างและลึกขึ้น จากฐานลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

เปิดตัวสินค้าใหม่ไตรมาสแรกปี 63

สำหรับความร่วมมือในมิติของการพัฒนาสินค้าใหม่และทำงานร่วมกับพันธมิตรกลุ่มบีทีเอส จะเห็นในไตรมาสแรก ปี 2563 โดยจะเป็นธุรกิจใหม่ สินค้าใหม่ และ Category ที่ต่างจากกลุ่มเดิมที่อาร์เอสมีอยู่ และจะเปิดตัวออกมาอย่างต่อเนื่อง

“ทีมงาน” อาร์เอสกำลังอยู่ระหว่างวิเคราะห์ฐานลูกค้าบีทีเอสและบัตรแรบบิท เพื่อพัฒนาสินค้าใหม่มาตอบโจทย์กลุ่มนี้ คร่าวๆ ก็คือ กลุ่มคนเมือง เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ เดินทางด้วยบีทีเอส

สินค้าที่เหมาะกับกลุ่มนี้ต้องใช้เวลาตัดสินใจซื้อไม่นาน ไซส์และราคาที่เหมาะสมสำหรับการซื้อแบบด่วน ต่างจากสินค้าปัจจุบันของอาร์เอส ที่เน้นไซส์ใหญ่ ซื้อต่อครั้งราว 2,000 บาท

ธุรกิจใหม่ที่จะเปิดตัวในไตรมาสแรกปีหน้า มีคนทำอยู่แล้วในตลาด แต่คนอื่นใช้เวลาทำ 5 ปี เมื่ออาร์เอสและบีทีเอสร่วมกันทำจะใช้เวลาเร็วขึ้น ในปีที่ 2 เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ เพราะมีทั้งฐานข้อมูลของกลุ่มบีทีเอส ศักยภาพสื่อ OOH หรือกระทั่งการใช้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส จัดกิจกรรมแจกสินค้าตัวอย่าง เป็นสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้ แต่อาร์เอสทำได้ในฐานะพันธมิตร ธุรกิจใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น “เป็นการทำธุรกิจที่เปลี่ยนใครก็ได้ให้เป็นลูกค้า”

“วันนี้บีทีเอสมีปลา (ฐานผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าและแรบบิท) และเปิดโอกาสให้ อาร์เอส ในฐานพันธมิตรเข้าไปจับปลา ที่คนอื่นๆ ไม่สามารถเข้ามาจับได้ แค่นี้ก็มีโอกาสอีกมหาศาล เป็นหลักการการตลาดง่ายๆ ในการทำธุรกิจ”

การร่วมมือกันครั้งนี้ “อาร์เอส” มีสิ่งที่กลุ่มบีทีเอสไม่มี และ “บีทีเอส” มีสิ่งที่อาร์เอสอยากได้ จึงเป็นพันธมิตรที่ลงตัว และร่วมกันสร้างธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น แต่สิ่งสำคัญ คือการต่อยอดธุรกิจใหม่ที่จะได้เห็นในไตรมาสแรก ปี 2563 “เฮียฮ้อ” ย้ำว่าเมื่อถึงวันนั้นทุกคนจะถึง “บางอ้อ” กับความเป็นพันธมิตรที่ลงตัวของอาร์เอสและบีทีเอส

“การหาพันธมิตรที่ใช่และเติบโตไปด้วยกันเป็นกลยุทธ์สำคัญและจำเป็นต้องทำในโลกธุรกิจปัจจุบัน”

ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1244722
เปิดใจเฮียฮ้อ ทำไม “เรตติ้ง” สำคัญน้อยกว่า “กำไร” เปิดที่มา 5 ปีธุรกิจ “พาณิชย์” ชุบชีวิต RS https://positioningmag.com/1235025 Tue, 18 Jun 2019 10:55:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1235025 นับตั้งแต่วันเริ่มต้นทีวีดิจิทัลเมื่อ 5 ปีก่อน หลายคนดีใจกับการเป็นเจ้าของใบอนุญาต เพราะวาดฝันอยากเป็นเหมือนช่อง 3 และช่อง 7 แต่ อาร์เอสกลับมองว่าเกมนี้ ไม่ง่าย” จากซัพพลายจำนวนช่องเพิ่มขึ้นมากกว่าดีมานด์ เม็ดเงิน” โฆษณา “ไม่เติบโต” อีกทั้งสื่อถูก Disrupt จากเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้ชม ที่กระจายตัวไปยังสื่อออนไลน์มากขึ้น โมเดลธุรกิจใหม่ MPC จึงเกิดขึ้นทันที

สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ (เฮียฮ้อ) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เล่าวิชั่นของ “อาร์เอส” ตั้งแต่เริ่มต้นทีวีดิจิทัลให้ Positioning ฟังว่า การเป็นเจ้าของทีวีดิจิทัลเป็นสิ่งที่อาร์เอส “ต้องการ” แต่สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมทีวีก็เปลี่ยนไปเช่นกัน จากฟรีทีวีธุรกิจ 4 ช่อง เพิ่มเป็น 24 ช่อง แม้เชื่อว่าอาร์เอสสามารถบริหารจัดการ ช่อง 8 ให้อยู่ในกลุ่มผู้นำได้ เพราะเป็นธุรกิจที่ทำมาตลอดชีวิต

แต่สถานการณ์ที่จำนวนช่องล้นตลาด ต่อให้เป็นช่องผู้นำเรตติ้ง เวลาโฆษณาก็ต้องเหลือ หากไม่คิดแผนธุรกิจไว้ล่วงหน้าก็ต้อง “ทิ้งเวลา” ที่เหลือไประหว่างทาง ที่สำคัญ “สื่อ” ไม่เหมือนกับ Asset อื่นๆ และต่างจากการผลิตสินค้า หากขายไม่ได้ ก็ยังเหลือเป็นสินค้า แต่ “สื่อ” เมื่อใช้ได้ก็เป็นประโยชน์ แต่หากไม่ใช้ก็จะเป็น “อากาศ” ผ่านไปแค่ 1 ชั่วโมง หากสปอตโฆษณาเหลือขาย จากเงินจะเปลี่ยนเป็นอากาศ ที่ถูกทิ้งทันที “สื่อคือมูลค่าที่สูงกับสูญ” เท่านั้น

ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ อาร์เอส ต้องมองหาโมเดลธุรกิจที่สร้างมูลค่าให้กับเวลาโฆษณาทีวีดิจิทัลที่เหลือขาย จึงเป็นที่มาของธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง หรือ Multi-platform Commerce (MPC) จากหลักคิดสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ โดยต้องใช้ “สื่อ” (ช่อง 8) ให้เป็นประโยชน์ ต้องอยู่ในเทรนด์ธุรกิจที่กำลังเติบโต จึงมาลงตัวที่สินค้า Health & Beauty เกาะเทรนด์สังคมสูงวัยดูแลตัวเองและสินค้าความงามเป็นเทรนด์ที่เติบโตทั่วโลก

สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์

เฮียฮ้อ ย้ำว่า MPC ของอาร์เอส ไม่มีโมเดลตัวอย่างและไม่ใช่ธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง แต่เป็นการทำธุรกิจที่อยู่กับ “โอกาส” นั่นคือเห็นโอกาส จากนั้นลงมือทำ เรียนรู้ ถูกผิด ปรับปรุงมาตลอดเส้นทางที่ก้าวสู่ปีที่ 5 กลายมาเป็นรายได้หลักของอาร์เอสในปัจจุบัน ที่เริ่มต้นสร้างรายได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

  • ปี 2558 รายได้ 240 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 220 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 1,400 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 2,100 ล้านบาท
  • ปี 2562 ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 3,000 ล้านบาท

MPC เกิดได้จากความเชื่อและ Passion

กว่าจะก้าวมาถึงจุดที่เป็นความสำเร็จ พิสูจน์ผ่านผลประกอบการปี 2561 รายได้ 3,399 ล้านบาท กำไร 516 ล้านบาท เฮียฮ้อบอกว่าเริ่มทำธุรกิจ MPC บนเดิมพันที่ต่ำมาก คือ 1. ไม่ได้หาทีมงานใหม่ แต่ใช้ทีมงานอาร์เอสเดิมทั้งหมด 2. ใช้สื่อช่อง 8 ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และเหลือจากการขายโฆษณา 3. การผลิตสินค้าจ้าง OEM เพื่อทดลองตลาด ทำให้ความเสี่ยงในการทำธุรกิจ “ไม่มาก”

MPC เป็นธุรกิจที่ใช้เงินไม่เยอะ แต่ต้องใช้ Passion ความมุ่งมั่นของเฮียและทีมงานอย่างมาก เป็นสิ่งที่ต้องใช้พลังและความเชื่อ ในการผลักดันคนของอาร์เอส ที่เริ่มต้นจากธุรกิจหนึ่งและต้องเปลี่ยนไปทำอีกธุรกิจหนึ่ง ต้องใช้ความเชื่อเยอะมากในการทำงาน

การทำ MPC 2 ปีแรก ต้องซ้อนตัวเลขรายได้ธุรกิจ MPC ไว้ในรายได้อื่นๆ ไม่แยกให้เห็นว่าเป็นธุรกิจใหม่ เพราะว่าเมื่อไรก็ตามที่บอกว่า อาร์เอสที่เป็นธุรกิจสื่อกระโดดไปขายของ สิ่งที่ต้องเจอ คือ มุมคิดเชิงลบ จากคนรอบข้างรวมทั้งนักลงทุน ที่มองว่าธุรกิจอาจมีความเสี่ยง จากการทำสิ่งที่ “ไม่ถนัด”   

“การทำธุรกิจหลายครั้ง ความยากคือ สิ่งที่คนอื่นบอกให้เราต้องเป็นแบบนั้นเป็นแบบนี้ ช่วงเริ่มต้นจึงไม่ต้องการเจอแรงกดดัน และไม่โชว์ตัวเลขรายได้จากธุรกิจ MPC แต่หากทำสำเร็จแล้ว ทุกคนจะเชื่อมั่นเราเอง”

สิ่งที่ทำให้ อาร์เอส มั่นใจในการก้าวไปทำธุรกิจ MPC เพราะตั้งแต่เริ่มทำทีวีดิจิทัล ไม่ได้มอง “ช่อง 8” เป็นเพียงสื่อเท่านั้น แต่มองเป็น “ห้างสรรพสินค้า” ที่ไม่มีหน้าร้าน มองคนดูที่เข้าถึง (Reach) ช่อง 8 แต่ละวัน 8 -10 ล้านคน เปรียบได้กับคนมาเดินห้าง จึงต้องมีกลยุทธ์ดึงผู้ชมในแต่ละช่วงเวลา เพื่อสร้างเรตติ้งให้ช่องและช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการใส่คอนเทนต์ของ MPC ที่ต้อง “บาลานซ์” คอนเทนต์ให้ดี และไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่เป็นการเรียนรู้และวิเคราะห์จากดาต้าที่มี

โฟกัสลูกค้าซื้อซ้ำ

ช่วงเริ่มต้นธุรกิจ MPC ปีที่ 1-3 จะแตกต่างจากปัจจุบัน เพราะช่วงแรกคือการหาลูกค้าใหม่ กลยุทธ์คือการต้อนคนดูจากช่อง 8 เข้ามาเป็นลูกค้าของ MPC หลังจากผ่านมา 4 ปี เข้าสู่ปีที่ 5 วันนี้มีฐานลูกค้าจากช่อง 8 จำนวนมาก หรือกว่า 1.5 ล้านคน ที่เป็นลูกค้าหมุนเวียนซื้อประจำ และ Data Base ยังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

“ฐานลูกค้า MPC ที่มีอยู่กว่าล้านคน เป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนการเติบโต การหาลูกค้าใหม่จากช่อง 8 ยังมีเข้ามาเรื่อยๆ แต่สิ่งสำคัญ คือการบริหารจัดการฐานลูกค้าที่มีอยู่ ด้วยการวิเคราะห์ดาต้าและใช้เทเลเซลที่มาอยู่กว่า 500 คน กระตุ้นกลุ่มลูกค้าเดิมให้ซื้อซ้ำ”

MPC โฟกัสการเติบโตบนฐานลูกค้าเก่า ซื้อซ้ำที่มีจำนวนมากขึ้น ตัวเลขการสั่งซื้อต่อครั้งชัดเจนว่า ลูกค้าใหม่ซื้ออยู่ที่ 2,000 บาทต่อครั้ง แต่ลูกค้าเก่าซื้อ 3,500 บาทต่อครั้ง เมื่อลูกค้าเข้าสู่ฐานข้อมูลแล้วค่าเฉลี่ยซื้อซ้ำอยู่ที่ 3,000 บาท กลุ่มซื้อซ้ำปัจจุบันมีสัดส่วน 15%

RS จัดใหญ่ทุ่ม 100 ล้านบาท งาน Mid Year Super Sale 2019

“เราทำตลาด MPC จนรู้ดาต้าของลูกค้าว่า แพ็กสินค้าที่นิยมซื้อต่อครั้งอยู่ที่ราคา 2,000 บาท การนำเสนอสินค้าจึงโฟกัสไปที่ราคานี้ ทั้งหมดมาจากการเรียนรู้ถูกผิด และวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค”

ปัจจุบันช่วงเวลาไพรม์ไทม์ของธุรกิจทีวีทุกช่อง คือ เช้า เวลา 7.00 – 9.00 น. และค่ำเวลา 18.00 – 22.00 น. ของช่อง 8 ก็อยู่ในช่วงเวลานี้ ซึ่งจะไม่เน้นขายของ แต่จะมุ่งใช้คอนเทนต์สร้างเรตติ้งเพื่อขายโฆษณาให้ลูกค้าและเอเยนซี

ขณะที่ไพรม์ไทม์ของกลุ่ม MPC ที่จะซื้อสินค้าจะอยู่ในช่วง 10.00 – 15.00 น. เป็นช่วงแม่บ้านอยู่บ้านดูทีวี เป็นกลุ่มที่จับจ่ายซื้อสินค้าเข้าบ้าน เห็นได้ว่าช่วงที่ขายของได้ดีที่สุดไม่ใช่ช่วงไพรม์ไทม์ของทีวี และนั่นเท่ากับว่า ช่อง 8 จะมีไพรม์ไทม์ตลอดทั้งวัน เพราะช่วง “นอน ไพรม์ไทม์” ของช่อง ได้ MPC เข้ามาอุดช่องว่าง

จิ๊กซอว์ใหม่พันธมิตรโรงงาน-ทีวีดิจิทัล

การทำธุรกิจ MPC วันนี้ก็ต้องก้าวไปอีกสเต็ป จากช่วงเริ่มต้นผลิตแบบ OEM เป็นรูปแบบที่คล่องตัวสูง แต่หลังจากทำยอดขายได้ระดับ 3,000 ล้านบาทในปีนี้ และเป้าหมาย 4,000 – 5,000 ล้านบาท ในอนาคตการผลิต OEM ทั้งหมดถือเป็นความเสี่ยง เพราะโครงสร้างที่ใหญ่ขึ้นแต่พึ่งพาการจ้างผลิต อาจเจอกับภาวะผลิตไม่ทัน สินค้าขาดตลาด จะกลายเป็นการเสียโอกาสทางธุรกิจได้

ยุทธศาสตร์หลังจากนี้ คือการเติบโตแนวราบ ต่อจิ๊กซอว์ธุรกิจกับพันธมิตรโรงงานผู้ผลิตด้วยการเข้าไปร่วมถือหุ้นจะสรุปในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยสินค้า 60 – 70% ควรผลิตจากโรงงานพาร์ตเนอร์ เพื่อควบคุมคุณภาพและการผลิตอยู่ในมือได้ระดับหนึ่ง ที่สำคัญเป็นการ “ดึงกำไร” จากการผลิตกลับมาหาอาร์เอสอีกทางจากการจ้างผลิต

ในวันที่ “ทีวีดิจิทัล” ต่างมองโอกาสการขายสินค้าผ่านหน้าจอทีวี ทำให้เห็นรายการรูปแบบโฮมช้อปปิ้งเกลื่อนจอ ด้วยสินค้าที่หลากหลาย เฮียฮ้อ มองการแข่งขันนี้ว่า เป็นมุมมองการทำธุรกิจของแต่ละช่อง

“ความสำเร็จในธุรกิจโฮมช้อปปิ้งของช่องอื่นๆ ก็ไม่ได้มากระทบธุรกิจ MPC ของอาร์เอส และการทำธุรกิจไม่ได้ง่ายเหมือนวาดภาพ ที่จะก๊อบปี้กันแล้วสำเร็จ”

วันนี้ทีวีดิจิทัลต่างต้องมองหาโอกาสในการหารายได้ใหม่ๆ และอาร์เอสก็มองการมีพันธมิตรช่องทีวี เพื่อนำเวลาที่เหลือมาขายสินค้า เป็นสิ่งที่ win win ทั้งคู่ เพราะทุกช่องมีเวลาเหลือ และไม่ต้องมาทำการค้าในสิ่งที่ไม่ถนัด อาร์เอสได้ประโยชน์จากสร้างโอกาสใหม่ๆ เหมือนไปเปิดห้างใหม่ พันธมิตรทีวีดิจิทัลที่ร่วมมือไปแล้ว คือ ไทยรัฐทีวี และปีนี้จะมีเข้ามาเพิ่มอีก  

ถูก Disrupt ตลอดเวลา แต่โอกาสยังมี

ตลอดเส้นทาง 38 ปีของอาร์เอส ที่เริ่มต้นในปี 2524 เฮียฮ้อ บอกว่าธุรกิจถูก Disrupt มาตลอด ตั้งแต่ยุคธุรกิจเพลง จากขายเทปมาเป็นซีดี จากซีดี ถูก Disrupt ด้วยการดาวน์โหลด อาร์เอส ต้องตัดสินใจขายโรงงานซีดี ทำให้จากไม่เคยขาดทุน ต้องอยู่ในภาวะขาดทุน 4 – 5 ปี เริ่มจับลิขสิทธิ์กีฬาฟุตบอลโลก ฟุตบอลยูโร

เข้าสู่ธุรกิจทีวีดาวเทียม แทบจะเป็นคนสุดท้ายของวงการสื่อ แต่ทุกวันนี้ช่องทีวีดาวเทียมของอาร์เอสก็ยังไปต่อได้ มาสู่ยุคทีวีดิจิทัล ที่ส่วนใหญ่ยังขาดทุน แต่อาร์เอสปรับตัวสู่ธุรกิจ MPC

“อาร์เอส เป็นองค์กรที่เปลี่ยนแปลงตลอด เมื่อเราเดินทางไกล วันนี้เส้นทางเดินอาจราบเรียบเดินสบาย แต่วันหนึ่งเดินไปเส้นทางเดิมอาจเจอสิ่งกีดขวาง ก็ต้องหาเส้นทางเดินใหม่”

ตลอดช่วงเวลาความท้าทายในธุรกิจสื่อที่ผ่านมา อาร์เอสทำให้เห็นแล้วว่า สามารถทำอะไรได้อีกหลายอย่าง วันนี้สิ่งที่ยังไม่ได้ทำ ก็ไม่ได้หมายถึงไม่ถนัด เพียงแต่ยังไม่ได้ทำ เพราะเมื่อการเดินบนเส้นทางเดิมยังแฮปปี้อยู่ ก็ยังเดินได้และยังไม่ต้องลุกขึ้นมาทำอะไรใหม่ ต่อเมื่อถึงวันที่เส้นทางเดิมไม่ดี ก็ต้องปรับตัว สร้างบิสสิเนสโมเดลใหม่ เพื่อหารายได้ที่จะอยู่ได้ยาว

เมื่อเห็นเทรนด์หรือสัญญาณอะไร มักจะคุยกับทีมงาน และศึกษาดูว่าหากเข้าไปในธุรกิจใหม่ จะมีแต้มต่อหรือไม่ โดยเริ่มจากปัจจัยที่เห็นอยู่ข้างหน้าก่อน หลังจากมั่นใจแล้วก็เดินหน้าลุย เพราะไม่มีแผนไหนสมบูรณ์ 100% หากวิเคราะห์แล้วว่าทำได้ 60 – 70% ก็กระโดดเข้าไปทำได้ทันที จากนั้นไปเรียนรู้อีก 30 – 40% ที่ไม่รู้ สิ่งสำคัญต้องมั่นใจว่า เรียนรู้และปรับตัวได้เร็ว กล้าที่จะเผชิญสถานการณ์ใหม่ๆ

การทำธุรกิจใหม่ๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่สิ่งที่ต้องมี คือ คิดเร็ว ทำเร็ว แก้เร็ว เรียนรู้เร็ว ถ้าไม่ดีก็เลิกให้เร็ว ดีก็ทำต่อ ในยุคนี้ไม่มีธุรกิจนิ่งๆ สบายๆ ให้ทำ เพราะแม้ทำแล้วดี ก็จะมีเรื่องใหม่ๆ มาให้แก้อยู่เสมอ สิ่งที่เคยทำแล้วได้ผลก็อาจไม่ได้ผลหลังจากนี้ นั่นคือโลกความจริงของธุรกิจที่ทุกคนต้องเจอ และไม่ต้องทำเร็วเกินไป แต่ต้องไปให้ทันการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค อุตสาหกรรมและธุรกิจที่ทำอยู่

“วันนี้ไม่รู้หรอกว่าอีก 3 ปีข้างหน้า จะทำอะไร แต่ระหว่างทางเดินหากเจอโอกาสใหม่ๆ ก็จะหยิบมานั่งคุย หากดูแล้วว่ามีปัจจัยที่จะทำสำเร็จได้ เหมือนมีอาวุธครบมือ ทำไมเราจะทิ้งโอกาส เช่นเดียวกับที่เริ่มต้นทำกับธุรกิจ MPC เมื่อ 5 ปีก่อน”

ทีวีดิจิทัล “เรตติ้ง” สำคัญแต่ไม่ใช่ที่สุด

หากดูจากรายได้และกำไรของอาร์เอส ก็อาจมองได้ว่าธุรกิจ MPC มาถึงจุดที่สำเร็จ แต่ “ช่อง 8” เรตติ้งเดือนพฤษภาคม 2562 อยู่อันดับ 9 เกือบหลุดท็อปเท็น

เฮียฮ้อ มองว่า Ranking หรืออันดับช่องทีวีดิจิทัลเป็นเรื่องที่ “คนนอก” มอง แต่เวลาลูกค้าซื้อโฆษณาไม่ได้ซื้อทั้งช่องอยู่แล้ว แต่ซื้อเป็นช่วงรายการที่มีเรตติ้งดี และตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

“เรตติ้งมีความสำคัญในธุรกิจทีวี แต่บิสสิเนสโมเดลของอาร์เอส เรตติ้งไม่ได้สำคัญที่สุด ตั้งแต่ปีแรกที่ทำทีวีดิจิทัล ทุกคนพูดถึงแต่เรตติ้งมาเป็นอันดับแรก แต่สิ่งที่อาร์เอสมองเป็นเรื่องแรก คือ ธุรกิจต้องมีกำไร เราชัดเจนว่า ช่อง 8 จะไม่ทุ่มเงินเพื่อสร้างเรตติ้งใน 2 – 3 ปีแรก เพราะเชื่อตั้งแต่แรกว่า ทีวีดิจิทัล คือ เกมมาราธอน”

ปัจจุบันรายได้ช่อง 8 มาจากการขายโฆษณา 60 – 65% และอีก 30 – 40% มาจากรายได้โฆษณา MPC ด้วยโมเดลธุรกิจ MPC ทำให้ช่อง 8 สามารถใช้ประโยชน์ (utilization) จากเวลาโฆษณาได้เต็ม ส่วนทีวีดิจิทัลช่องอื่นๆ ที่ขายโฆษณาไม่เต็มก็ต้องใช้วิธีแถมและใช้เป็นสปอตโฆษณารายการแทน

สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์

ในมุมของการทำทีวี ก็มีหน้าที่หาคอนเทนต์ใหม่ๆ มารักษาคนดูและเรตติ้งในช่วงเวลาหลักๆ ที่ทำรายได้ของสถานีเพื่อโอกาสการขายโฆษณา แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีการแข่งขันสูง ดังนั้นบางช่วงเวลาเรตติ้งก็จะมีการปรับเปลี่ยนบ้าง แต่ถือเป็นปกติของธุรกิจทีวี

ไพรม์ไทม์ 18.00 – 22.00 น. ถือเป็นช่วงที่มีการแข่งขันสูง ทุกช่องใส่เม็ดเงินเพื่อลงทุนคอนเทนต์เต็มที่ สำหรับช่อง 8 หลักคิดชัดเจนไม่ทุ่มเงิน และยังเป็นยุทธศาสตร์เดิม คือ ควบคุมต้นทุนให้สอดคล้องกับรายได้ ในช่วงที่มีการแข่งขันสูงและเรตติ้งลดลง ก็จะกระทบเฉพาะในช่วงเวลานั้นๆ ช่วงไพรม์ไทม์ที่มีการแข่งขันสูง ช่อง 8 จะปรับผังใหม่ในเดือนกรกฎาคมนี้ จันทร์ – อาทิตย์

สถานการณ์การแข่งขันของทีวีดิจิทัล หลัง 7 ช่อง “คืนใบอนุญาต” สิ่งที่ต้องจับตาคือ 15 ช่องที่ “อยู่ต่อ” จะมีดีกรีการแข่งขันดุเดือดมากขึ้น จากปกติที่รุนแรงอยู่แล้ว เพราะส่วนใหญ่คิดว่า เมื่อได้รับความช่วยเหลือต้นทุนค่าใบอนุญาตและค่าเช่าโครงข่ายต่อไปอีก 10 ปี จากคำสั่ง มาตรา 44 ของ คสช. หลายช่องจึงพร้อมที่จะใส่เม็ดเงินลงทุนคอนเทนต์มากขึ้น สำหรับช่อง 8 ทุกปีจะใช้เงินลงทุนคอนเทนต์ราว 600 ล้านบาทไม่มากไปกว่านี้

“ต้นทุนค่าใบอนุญาตและโครงข่ายที่ลดลง แค่ทำให้คนทำทีวีสบายตัวและคล่องตัวขึ้น แต่ไม่ใช่ตัวช่วยที่จะทำให้ชนะในเกมได้ เพราะธุรกิจทีวีต้นทุนหลักอยู่ที่คอนเทนต์และ Operating costs 80% การช่วยเหลือจากมาตรา 44 ไม่ได้เปลี่ยนให้ผู้แพ้เป็นผู้ชนะ”

การบริหาร “ช่อง 8” เป้าหมายแรก คือ การเกาะกลุ่ม “ผู้นำ” ท็อปเท็น แต่บิสสิเนส โมเดลที่วางไว้ไม่ได้พึ่งพาจากรายได้โฆษณาอย่างเดียว แต่มี MPC มา Synergy เพื่อสนับสนุนการเติบโต

“แม้เรตติ้งยังสำคัญ แต่เกมของอาร์เอสเปลี่ยนไป เพราะเรตติ้งสำคัญน้อยกว่ากำไรและตัวเลขลงทุนทำคอนเทนต์ ต่างจากทีวีดิจิทัลช่องอื่นๆ ที่มองเรตติ้งเป็นตัวนำ และทุ่มงบลงทุนเพื่อให้ได้มา แต่รายได้อาจไม่คุ้มการลงทุน”

วันนี้ภาพใหญ่ของ “อาร์เอส” มีการกระจายความเสี่ยง ไม่พึ่งพารายได้จากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง แต่สร้างแหล่งที่มาของรายได้หลายธุรกิจ.

ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1235025
“อาร์เอส” อัพเลเวล เฮลท์&บิวตี้ แสนล้านน้อยไป “เฮียฮ้อ” ขอชิงค้าปลีก 2.5 ล้านล้าน https://positioningmag.com/1221703 Tue, 26 Mar 2019 23:27:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1221703 ทรานส์ฟอร์มธุรกิจสื่อยกแรกของ “อาร์เอส” เมื่อ 4 ปีก่อน “เฮียฮ้อ” ขอขายครีม ประกาศเข้าสู่ตลาดเฮลท์แอนด์บิวตี้ “แสนล้าน” วันนี้อัพเลเวลอีกครั้ง เข้าสู่ธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีกมูลค่า 2.5 ล้านล้านบาท ด้วยโมเดล MPC ย้ำ 3 ปีนี้ต้องเห็นรายได้ 10,000 ล้านบาท

ย้อนไปปี 2557 “อาร์เอส” ที่เพิ่งคว้าไลเซ่นส์ทีวีดิจิทัลมาหมาดๆ เปิดตัวช่อง 8 สู้ศึกอุตสาหกรรมสื่อทีวี ที่มีเม็ดเงินโฆษณา 7 หมื่นล้านบาทให้ช่วงชิง แต่ผ่านไปเพียงปีเดียว ก็ประกาศขยายธุรกิจใหม่ “ไลฟ์สตาร์” ในปี 2558 กับสนามรบ “เฮลท์แอนด์บิวตี้” ที่มีมูลค่านับ “แสนล้านบาท” ให้กอบโกย

จากรายได้หลัก “ร้อยล้านบาท” ในปีแรกของไลฟ์สตาร์ การก้าวสู่ปีที่ 4 ของธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง หรือ Multi-platform Commerce (MPC) ที่อาร์เอสเป็นผู้พัฒนาบิสสิเนสโมเดลขึ้นเอง ประกาศเป้าหมายรายได้ MPC ปีนี้ที่ตัวเลข 3,000 ล้านบาท กับสถิติ New High ทุกปี

ปีที่ผ่านมารายได้จากธุรกิจพาณิชย์มีสัดส่วน 53% สูงกว่าธุรกิจสื่อ วันที่ 29 มีนาคมนี้ “อาร์เอส” จึงย้ายหุ้นจากหมวดธุรกิจสื่อไปยังหมวดธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีกของตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมเกมรุกเต็มรูปแบบ

เป้าหมาย 3 ปี “หมื่นล้าน”

สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ (เฮียฮ้อ) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วันนี้ธุรกิจ MPC ของบริษัทไม่ได้มีแค่กลุ่มเฮลท์แอนด์บิวตี้ แต่ยังมีสินค้าเครื่องใช้ภายในบ้านและไลฟ์สไตล์ กลุ่มเครื่องประดับและความเชื่อ และศึกษาธุรกิจอีกหลายแคทิกอรี่ อาร์เอสจึงอยู่ในธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีก ที่มีมูลค่ากว่า 2.5 ล้านล้านบาท และมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวอีกครั้ง หลังการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ ขณะที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อมากขึ้น ถือเป็นโอกาสของธุรกิจ MPC ในอนาคต

หลังจากปี 2561 ธุรกิจ MPC ทำยอดขายได้ 2,127 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53% ขณะที่รายได้รวมบริษัทอยู่ที่ 3,827 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% ทำให้มั่นใจว่าธุรกิจ MPC ยังโตต่อได้ ปี 2562 อาร์เอสวางเป้าหมายรายได้รวมไว้ที่ 5,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% รายได้ MPC อยู่ที่ 3,000 ล้านบาท เติบโต 41% ทำ “นิวไฮ” เช่นเดิม

“จากบิสสิเนสโมเดลที่พัฒนาขึ้นเอง ปีนี้ถือเป็นปีสำคัญในรอบ 37 ปีของอาร์เอส ในการก้าวสู่ธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีกเต็มตัว เราวางเป้าหมายเชิงรุก 3 ปีจากนี้ หรือปี 2565 รายได้ต้องแตะ 10,000 ล้านบาท เติบโตปีละ 30% ทุกปี รายได้จาก MPC มีสัดส่วน 60% ธุรกิจสื่อ 30% เพลงและอื่นๆ 10%”

เฟส 2 ทรานส์ฟอร์มจับมือพันธมิตร

การทรานส์ฟอร์มธุรกิจของอาร์เอส จากธุรกิจสื่อสู่ธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีก จบเฟสแรกไปแล้ว ปี 2562 เป็นการเริ่มต้นเฟสสอง ที่ว่าด้วยเรื่องการขยายธุรกิจ “แนวราบ” ร่วมกับ “พาร์ตเนอร์”         

ประเดิมไตรมาสแรกกับความร่วมมือ “ไทยรัฐทีวี” พันธมิตรด้านช่องทางจำหน่ายสินค้าที่ถือว่า win win ทั้งคู่ ฝั่งอาร์เอสได้กลุ่มลูกค้าใหม่จากฐานผู้ชมไทยรัฐทีวี ส่วนไทยรัฐทีวี ใช้ประโยชน์จากช่วงเวลา “นอนไพร์มไทม์” มาสร้างรายได้จากรายการโฮมช้อปปิ้ง คาดรายได้ปีนี้ อยู่ที่ 350 ล้านบาท และปี 2563 อยู่ที่ 455 ล้านบาท

ปัจจุบันอาร์เอสอยู่ระหว่างเจรจากับทีวีดิจิทัลอีกหลายช่อง เพื่อเป็นพันธมิตรด้านช่องทางจำหน่าย เพราะวันนี้ต้องยอมรับว่าช่วงนอนไพร์มไทม์ทีวีดิจิทัล ยังมีเวลาว่างที่ขายโฆษณาไม่เต็ม

พาร์ตเนอร์ต่อมาคือ โรงงานผลิตสินค้า อาร์เอสมีแผนจะเข้าไป “ร่วมทุน” กับเป็นผู้ผลิต Original Equipment Manufacturer (OEM) การรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด และ Original Brand Manufacturer (OBM) การผลิตแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งจะชัดเจนช่วงไตรมาส 3 ปีนี้

บิสสิเนสโมเดลที่กำลังอยู่ระหว่างเจรจากับผู้ผลิต อาร์เอสไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากนัก แต่จะสร้างความมั่นใจให้ผู้ผลิตที่จะได้รับออร์เดอร์ผลิตสินค้าของอาร์เอสต่อเนื่อง สัดส่วนไม่ต่ำกว่า 60-70% ของกำลังการผลิต เป็นการการันตีรายได้ระยะยาว และการร่วมทุนจะทำให้อาร์เอสมีรายได้จากฝั่งธุรกิจสินค้าอีกทาง

“หลังจับมือกับพาร์ตเนอร์โรงงานผลิตสินค้าแล้ว อาร์เอสจะเป็นผู้ดำเนินธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีกตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ”

ส่วนเฟส 3 การทรานส์ฟอร์ม จะอยู่ในปี 2564 ที่จะรุกตลาดต่างประเทศ ด้วย 2 รูปแบบ คือ การแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายสินค้า และการทำบิสสิเนสโมเดล MPC เข้าไปทำตลาด โดยจะเริ่มในกลุ่ม CLMV และประเทศจีน ที่เป็นตลาดกำลังซื้อมหาศาล

]]>
1221703