ฮ่องกง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 18 Nov 2024 13:18:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ภายในปี 2028 “ฮ่องกง” จะขาดแคลนแรงงานกว่า 180,000 คน เนื่องจากประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1499327 Sun, 17 Nov 2024 09:30:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1499327 สํานักแรงงานและสวัสดิการของฮ่องกงมีการคาดการณ์ว่า เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคที่มีทักษะ เช่น ช่างบันไดเลื่อนและคนงานก่อสร้าง จะคิดเป็นมากกว่า 1 ใน 3 ของการขาดแคลนทั้งหมด

โดยจากการศึกษาและเก็บข้อมูลในปี 2023 ในพื้นที่ 17 ภาคส่วนที่สําคัญ รวมถึงการรวบรวมมุมมองจากเจ้าของธุรกิจในอุตสาหกรรมมากกว่า 1,000 คน เพื่อกําหนดอุปสงค์และอุปทานของกําลังคนในอีก 5 ปีข้างหน้าของฮ่องกง มีการคาดการณ์ว่า

ปริมาณความต้องการด้านกําลังคนในฮ่องกง (อุปทาน) สูงถึง 3.56 ล้านคน และในปี 2028 ปริมาณความต้องการด้านกำลังคนจะสูงถึง 3.75 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลให้ฮ่องกงขาดแคลนแรงงาน จำนวนกว่า 180,000 คน รวมถึงมีการสันนิษฐานว่าเศรษฐกิจฮ่องกงจะเติบโต 3.2% ในแต่ละปี 

ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น 260% เมื่อเทียบกับการขาดแคลนด้านกำลังคน 50,000 คนในปี 2023 สืบเนื่องจาก ฮ่องกงจะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยภายในปี 2028 ผู้คนมากกว่า 2 ล้านคน หรือ 28% ของประชากรจะมีอายุ 65 ปีขึ้นไปซึ่งคาดว่าจะคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของผู้อยู่อาศัยในเมือง ทำให้ประชากรที่ทํางานจะลดลงในขณะที่อายุเฉลี่ยของคนงานจะเพิ่มขึ้น

โดยประชากรวัยทํางานที่มีอายุระหว่าง 15 – 64 ปี จะอยู่ที่ 4.6 ล้านคน คิดเป็น 63% ของประชากรทั้งหมดในฮ่องกง และอายุเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นเป็น 50.2 ในปี 2028 จาก 48.3 ในปี 2023 และมีการตั้งข้อสังเกตว่า จํานวนคนที่มีอายุระหว่าง 35 44 ปีจะเพิ่มขึ้น 20,000 คนในปี 2023 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากนโยบายการสนับสนุนของรัฐบาลที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปลายปี 2022 

นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่ออุปสงค์และอุปทานของแรงงาน ได้แก่ การใช้ปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติ (AI) ระดับการศึกษาของแรงงาน และการเติบโตทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นและการปรับโครงสร้าง โดย Roy Chan Kwok-fai หัวหน้าหน่วยวิจัยของสํานักงานฮ่องกงกล่าวว่า มีการคาดการณ์ว่าความต้องการแรงงานจะลดลง 10% – 20% เนื่องจากการใช้ AI ในธุรกิจมากขึ้น

การขาดแคลนคน 180,000 คนรวมถึงช่างเทคนิคที่มีทักษะ คนงานในอุตสาหกรรมบริการ ผู้เชี่ยวชาญและผู้จัดการ และแรงงานด้วยตนเอง คิดเป็นประมาณหนึ่งในสามหรือคนจำนวน 60,000 คน ที่อยู่ในสายงานช่างเทคนิคที่มีทักษะ เช่น คนงานก่อสร้าง ช่างบันไดเลื่อน และช่างเทคนิคการบํารุงรักษาเครื่องบิน เป็นต้น

การขาดแคลแรงงานดังกล่าวทำให้รัฐบาลฮ่องกงวางแผนดึงดูดคนงานจำนวน 10,000 คน ที่มีอายุ 35 ปีหรือต่ำกว่าและไม่มีปริญญามาช่วยอุดช่องว่างด้านแรงงานในประเทศ และจะมีการเรียกร้องให้นายจ้างสํารวจวิธีแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มทักษะให้กับคนงาน ซึ่งการทบทวนกําลังคนในประเทศจะมีการตรวจสอบอย่างละเอียดในปี 2025 

Chau Siu-chung สมาชิกสภานิติบัญญัติภาคแรงงาน กล่าวว่า การนําเข้าแรงงานสําหรับอุตสาหกรรมเฉพาะที่ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานคน อาจเป็นหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาที่ดี แต่รัฐบาลก็ไม่ควรมองข้ามเรื่องของปัญหาโครงสร้างที่ผลักดันคนงานในท้องถิ่นออกไปเช่นกัน จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบ เช่น หากมีการให้เงินเดือนต่ำแต่ชั่วโมงการทำงานเยอะ และคนงานยังคงอยู่ภายใต้สภาพการทํางานที่ไม่ดี คนงานที่นําเข้าก็แทบจะไม่สามารถอยู่ต่อได้เช่นกัน

และ Chau Siu-chung ยังเรียกร้องให้รัฐบาลรักษาเสถียรภาพการสื่อสารอย่างใกล้ชิดกับสหภาพแรงงาน เมื่อมีการประเมินการขาดแคลนและพิจารณาการนําเข้าแรงงาน เนื่องจากจะทําให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจในงานและเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังวิกฤตการขาดแคลนแรงงานได้ดีขึ้น

“สิ่งที่สําคัญที่สุด คือฮ่องกงไม่สามารถพึ่งพาคนนอกได้ในระยะยาว เราต้องหาวิธีที่จะทําให้ธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีการขาดแคลนด้านกำลังคนเหล่านั้น มีข้อเสนอที่น่าสนใจยิ่งขึ้นสําหรับประชากรที่อายุน้อย” Chau Siu-chung กล่าว

ด้าน Simon Lee Siu-po นักวิชาการด้านการเงินของฮ่องกง กล่าวว่า ปัญหาการขาดแคลนแรงงานไม่ใช่ปัญหาเฉพาะในเมืองเพียงเท่านั้น เพราะในเมืองก็มีการแข่งขันกับเศรษฐกิจของเมืองอื่นๆเช่นกัน เมื่อมีการนําคนงานเข้ามาแล้วไม่มีผลตอบแทนที่ดีพวกเขาก็อาจไม่อยู่ทำงานในเมืองนั้นต่อ หากพวกเขาพบโอกาสที่ดีกว่าในเมืองอื่น 

จึงเป็นการดีที่สุดที่จะช่วยให้แรงงานเหล่านั้นสามารถตั้งถิ่นฐานในเมืองได้ หากแรงงานเหล่านั้นได้ทํางานที่ฮ่องกงมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในกลุ่มผู้มีความสามารถระดับสูงเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาในกลุ่มและส่วนที่เหลือด้วย มิเช่นนั้นช่องว่างของการขาดกำลังคนกว่า 180,000 คนนี้ อาจคุกคามความสามารถในการแข่งขันของเมืองได้ในระยะยาว เนื่องจากธุรกิจต้องแบกรับต้นทุนด้านแรงงานที่สูงและต้นทุนจะถูกโอนไปให้ผู้บริโภคแบกรับต่อในอนาคต

ที่มา : South China Morning Post 

]]>
1499327
‘ฮ่องกง’ ปูพรมแดงรอรับ ‘เศรษฐีจีน’ กลับประเทศ หลัง ‘สิงคโปร์’ เริ่มตรวจสอบเงินชาวต่างชาติจากคดีการ ‘ฟอกเงิน’ https://positioningmag.com/1481939 Tue, 09 Jul 2024 05:51:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481939 จากที่รัฐบาลจีนกำลังเข้มงวดกับการปราบปรามการ หนีภาษี ของบรรดา เศรษฐี รวมถึงการป้องกันทรัพย์สินจากนโยบาย Common Prosperity เพื่อลดความไม่เท่าเทียม ทำให้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เศรษฐีจีนจึงย่องออกนอกประเทศ โดย สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในปลายทางยอดนิยม

โดยจากรายงานของ Henley & Partners บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนและการย้ายถิ่นฐาน เผยว่า ในปีที่ผ่านมา เศรษฐีจีน ที่มีรายได้อย่างน้อย 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 36.7 ล้านบาท) อพยพออกนอกประเทศถึง 13,800 คน ทำให้จีนเป็นประเทศที่มีจำนวนเศรษฐีไหลออกนอกประเทศมากสุดในโลก และในปี 2024 นี้ คาดว่าจะพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 15,200 คน

โดย สิงคโปร์ ถือเป็นปลายทาง Top 3 ที่เศรษฐีจีนย้ายไปอยู่มากที่สุด นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เนื่องจากรัฐออกมาตรการดึงดูดหลายประการ เช่น การลดหย่อนภาษีสำนักงานครอบครัว, โปรแกรมวีซ่าและจัดหาถิ่นที่อยู่ นอกจากนี้ ประชากรส่วนใหญ่ของสิงคโปร์ยังเป็นคนเชื้อสายจีนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคดีฟอกเงินมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และมีความผิดฐานพัวพันกับการพนันออนไลน์ ซึ่งสร้างความฮือฮาให้กับสำนักงานธุรกิจครอบครัว (Family Office) ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินของครอบครัวที่สิงคโปร์ในอนาคต ทำให้มีมาตรการคุมเข้มเพื่อป้องกันการฟอกเงิน ส่งผลให้ลูกค้าบางส่วนไม่อยากมาใช้บริการสำนักงานธุรกิจครอบครัว เพราะหงุดหงิดกับกระบวนการและคำถามที่ถูกถาม

“สำหรับมหาเศรษฐีบนแผ่นดินใหญ่หลายคน เพราะพวกเขาไม่ชอบการแทรกแซงของรัฐบาลตามอำเภอใจ การตรวจสอบของรัฐบาล หรือการคุกคามต่อความมั่งคั่งส่วนบุคคลของพวกเขา นั่นคือเหตุผลที่พวกเขาต้องการย้ายเงินออกจากจีน หากสิงคโปร์จะตรวจสอบและกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นเช่นเดียวกับแผ่นดินใหญ่ แล้วทำไมพวกเขาถึงอยากไปที่นั่น?” Zhiwu Chen ศาสตราจารย์ด้านการเงินของมหาวิทยาลัยของฮ่องกง กล่าว

ส่งผลให้คาดว่า ฮ่องกง จะได้อ้าแขนรับเศรษฐีจีนกลับมาประมาณ 200 คนในปีนี้ เนื่องจาก ธุรกิจในฮ่องกงกำลังฟื้นตัว โดยในปี 2023 ที่ผ่านมา สินทรัพย์ภายใต้การบริหารของฮ่องกงเติบโต 2.1% เป็น 31 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง (5.4 ล้านล้านดอลลาร์สิงคโปร์)

“ผมเริ่มเห็นมหาเศรษฐีที่เริ่มเข้าไปสร้างธุรกิจสำนักงานครอบครัวในฮ่องกงมากขึ้น หลังธุรกิจของธนาคารเอกชนในจีนฟื้นตัวขึ้น ในขณะที่การเติบโตของกลุ่มเดียวกันในสิงคโปร์ชะลอตัวลง ซึ่งหมายความว่าเงินจะย้ายไปสิงคโปร์น้อยลง”

อีกจุดที่เป็นข้อบ่งชี้ว่าเงินของเศรษฐีจีนที่จะไปสิงคโปร์ตอนนี้มุ่งหน้าไปยังฮ่องกงก็คือ ยอดขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ยอดนิยมของชาวจีนผู้มั่งคั่งจากแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเพิ่มขึ้น 63% เป็น 1.56 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2023

ขณะที่ พอล ชาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยในเดือนนี้ว่า ในปีที่ผ่านมา กระแสเงินไหลเข้าสุทธิของกองทุนพุ่งสูงขึ้น มากกว่าสามเท่า เป็นเกือบ 3.9 แสนล้านดอลลาร์ฮ่องกง จากที่ในปี 2022 กระแสเงินไหลเข้าของกองทุนความมั่งคั่งและธนาคารส่วนตัวลดลงประมาณ 80%

 

Source

]]>
1481939
L’Occitane ถอนบริษัทออกจากตลาดหุ้นฮ่องกง คาดเจ้าของปรับโครงสร้างธุรกิจ เตรียมตัว IPO ใหม่ในยุโรป-สหรัฐฯ https://positioningmag.com/1469613 Sun, 05 May 2024 15:10:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469613 ล็อกซิทาน (L’Occitane) แบรนด์ความงามชื่อดังจากฝรั่งเศส เตรียมที่จะถอนบริษัทออกจากตลาดหุ้นฮ่องกงในเร็วๆ ปิดฉากบริษัทต่างชาติอีกรายที่ทำการซื้อขายในตลาดหุ้นดังกล่าวหลังจากเข้าทำการซื้อขายในปี 2010 เนื่องจากผู้ถือหุ้นใหญ่เตรียมปรับโครงสร้างธุรกิจ เพื่อที่จะทำบริษัทเข้า IPO ใหม่อีกครั้งในตลาดหุ้นสหรัฐฯ หรือในทวีปยุโรป

L’Occitane แบรนด์ความงามชื่อดังจากฝรั่งเศส เตรียมที่จะถอนบริษัทออกจากตลาดหุ้นฮ่องกงในเร็วๆ นี้หลังจากที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ได้ประกาศซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดในตลาด ปิดฉากบริษัทต่างชาติอีกรายที่ทำการซื้อขายในตลาดหุ้นดังกล่าว

ราคาหุ้นที่ L’Occitane รับซื้อนั้นสูงกว่าราคาเฉลี่ยในเดือนเมษายนไม่น้อยกว่า 60% โดยใช้เม็ดเงินราวๆ 1,780 ล้านเหรียญสหรัฐ ซื้อหุ้นจากนักลงทุนทั้งหมด เพื่อถอนบริษัทออกจากตลาหุ้นฮ่องกง หลังจากที่ได้เข้าซื้อขายครั้งแรกในปี 2010

ในช่วงที่ผ่านมา ผู้ถือหุ้นใหญ่ Reinold Geiger ซึ่งถือหุ้นสัดส่วนราวๆ 72% ได้เจรจาการเงินกับ Blackstone บริษัทลงทุนนอกตลาดหลักทรัพย์ และ Goldman Sachs Asset Management เพื่อที่จะนำเม็ดเงินดังกล่าวซื้อหุ้นบริษัทที่เหลือ

การซื้อหุ้นทั้งหมดทำให้มูลค่ากิจการแบรนด์ความงามชื่อดังจากฝรั่งเศสหลังจะมีมูลค่ากิจการอยู่ที่ราวๆ 6,000 ล้านยูโร แตกต่างกับในปี 2023 ที่บริษัทมีมูลค่ากิจการบริษัทนั้นไม่ถึง 4,000 ล้านยูโรด้วยซ้ำ

แบรนด์ความงามชื่อดังที่มีต้นกำเนิดจากฝรั่งเศสรายนี้มีชื่อเสียงในหลายผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า หรือแม้แต่เครื่องสำอาง โดยแบรนด์ดังกล่าวได้ตีตลาดหลายประเทศทั้งในยุโรป ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ทวีปเอเชีย โดยการนำบริษัทเข้า IPO ในตลาดหุ้นฮ่องกงในปี 2010 นั้นเพื่อที่ต้องการจะเปิดตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะในเอเชียที่เศรษฐกิจมีการเติบโตสูง

ผลประกอบการของแบรนด์ความงามรายนี้ในปี 2023 บริษัทมีรายได้รวม 2,135 ล้านยูโร รายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทมากถึง 42% มาจากสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป ขณะที่ 28% เป็นรายได้จากทวีปเอเชีย โดยบริษัทมีกำไรทั้งสิ้น 115 ล้านยูโร

นอกจากนี้ L’Occitane ไม่เคยประสบปัญหาขาดทุน แม้ในช่วงเวลาอย่างการแพร่ระบาดโควิดในปี 2020 จนถึงปี 2022 บริษัทก็ยังมีกำไรเติบโต

มีการวิเคราะห์ว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้ซื้อหุ้นบริษัทที่เหลือทั้งหมดนั้น เพื่อต้องการที่จะปรับโครงสร้างทางธุรกิจอีกรอบ และเตรียมตัวที่จะนำบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา หรือทวีปยุโรป แทนที่ฮ่องกง เนื่องจากมองว่าบริษัทจะมีมูลค่าได้สูงมากกว่านี้

ที่มา – Reuters, Euronews

]]>
1469613
เริ่มแล้ว! “ฮ่องกง” แบนช้อนส้อม “พลาสติก” ในร้านอาหาร กระตุ้นให้ลูกค้าพกมาใช้เอง https://positioningmag.com/1470573 Mon, 22 Apr 2024 09:11:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470573 ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2024 “ฮ่องกง” เริ่มแบนไม่ให้ร้านอาหารและโรงแรมใช้ช้อนส้อม กล่อง หลอด และอุปกรณ์การทานอาหารที่ทำจาก “พลาสติก” และบังคับให้ร้านเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ย่อยสลายได้ เช่น กล่องกระดาษ รวมถึงต้องคิดค่าอุปกรณ์เหล่านี้กับลูกค้าด้วย เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาพกอุปกรณ์ทานอาหารของตนเอง ลดปัญหาขยะ

ธุรกิจที่ยังฝ่าฝืนกฎหมายนี้มีบทลงโทษเป็นค่าปรับสูงสุด 100,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 472,000 บาท) แต่ขณะนี้รัฐบาลยังผ่อนผันให้เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อให้ธุรกิจได้มีโอกาสปรับตัวก่อน

กฎหมายนี้จะกระทบโดยตรงกับ “ร้านอาหาร” ที่มีตัวเลือกให้ลูกค้ารับกลับบ้านหรือส่งเดลิเวอรี เพราะธุรกิจลักษณะนี้ใช้หีบห่อและอุปกรณ์พลาสติกเป็นหลัก

Simon Wong Ka-Wo ประธานสมาพันธ์ร้านอาหารและธุรกิจเกี่ยวเนื่องแห่งฮ่องกง กล่าวว่า ประมาณ 70% ของร้านอาหาร 18,000 ร้านภายใต้เครือข่ายของเขายังไม่เริ่มเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์การทานที่ไม่ใช่พลาสติกกันเลย เพราะธุรกิจส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องเคลียร์สต๊อกอุปกรณ์พลาสติกที่ร้านมีอยู่ในคลังให้หมดก่อน ถึงจะเริ่มสั่งอุปกรณ์แบบใหม่ได้

แบน พลาสติก
(Photo: Mikhail Nilov / Pexels)

อย่างไรก็ตาม South China Morning Post (SCMP) ลงพื้นที่เขตช้อปปิ้งในฮ่องกงพบว่า ร้านอาหารหลายร้านเริ่มเปลี่ยนมาใช้กล่องกระดาษและช้อนส้อมทำจากไม้กันแล้ว และจะคิดเงินลูกค้าเพิ่มเซ็ตละ 1 ดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 4.72 บาท) หากลูกค้าต้องการอุปกรณ์การทาน โดยเฉพาะร้านเชนขนาดใหญ่ เช่น KFC และ McDonald’s เปลี่ยนมาใช้ช้อนส้อมไม้ทั้งการทานในร้านและซื้อกลับบ้าน

Joyce Chiu ผู้อำนวยการด้านการสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน Café de Coral Holdings บริษัทเจ้าของเชนร้านอาหารรายใหญ่ที่มีร้านอาหารในเครือรวมทุกแบรนด์กว่า 500 สาขา ระบุว่า บริษัทเริ่มเปลี่ยนมางดใช้อุปกรณ์พลาสติกตั้งแต่สัปดาห์ก่อน ทำให้ลูกค้าเลือกซื้อกลับบ้านน้อยลงมากหากร้านตั้งอยู่ในพื้นที่ที่อยู่อาศัย จากเดิมสัดส่วนลูกค้าซื้อกลับบ้าน 40% ลดลงมาเหลือ 20% เท่านั้น

รวมถึงกลุ่มที่ซื้อกลับบ้านนั้นมีเพียง 1 ใน 4 ที่ยอมจ่ายเงินเพิ่มเพื่อรับอุปกรณ์การทานที่ทำจากไม้และกระดาษไป

(Photo: ROMAN ODINTSOV / Pexels)

ในขณะเดียวกัน SCMP สอบถามลูกค้าร้านอาหารกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ พบว่าพฤติกรรมลูกค้าที่เกิดขึ้นมีหลายกลุ่มหลังกฎหมายบังคับใช้ โดยบางคนเลือกไม่จ่ายเงินเพิ่ม และหันมาใช้อุปกรณ์ส่วนตัวของตัวเองที่ล้างใช้ซ้ำได้

เหตุผลที่เลือกใช้อุปกรณ์ส่วนตัวไม่ใช่แค่เพราะต้องชำระเงินเพิ่ม แต่เพราะบางคนพบแรงกดดันจากเพื่อนร่วมงานรักษ์โลกหากใช้อุปกรณ์แบบใช้แล้วทิ้งให้เห็น และบางคนรู้สึกว่าอุปกรณ์บางอย่าง เช่น ช้อนส้อมไม้ ไม่สะดวกในการใช้งานจริง

แน่นอนว่ามีลูกค้าบางกลุ่มที่ ‘ลักไก่’ ลูกค้าบางคนยอมรับว่าพวกเขาใช้วิธีไปซื้อช้อนส้อมพลาสติกเหมาโหลมาเก็บไว้ในที่ทำงานเพื่อใช้ทานอาหาร ไม่ต้องการใช้ช้อนส้อมแบบล้างใช้ซ้ำเพราะไม่สะดวกต่อวิถีชีวิต แถมคิดราคาต่อชิ้นแล้วช้อนส้อมพลาสติกยังถูกกว่าช้อนส้อมไม้ที่ร้านชาร์จราคาเพิ่มด้วย

 

ลูกค้าเตรียมรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

Simon ประธานสมาพันธ์ฯ บอกด้วยว่า การเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์การทานอาหารจากไม้หรือกระดาษอาจจะกลายเป็นต้นทุนที่ถูกส่งผ่านไปยังลูกค้า เพราะราคาอุปกรณ์รักษ์โลกพวกนี้จะสูงกว่าพลาสติกถึง 30%

SCMP สัมภาษณ์ Yeung เจ้าของร้านอาหารเล็กๆ ในย่าน Wan Chai เขามองว่าการบังคับใช้กฎหมายในช่วงนี้ไม่เป็นผลดีต่อธุรกิจในช่วงที่เศรษฐกิจอ่อนแอ และในอนาคตร้านคงจะต้องชาร์จราคาเพิ่มกับลูกค้าที่สั่งกลับบ้านถึง 2 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อออร์เดอร์ เพื่อให้ครอบคลุมต้นทุนที่แพงขึ้น

ไม่ใช่แค่ร้านอาหารที่ต้องปรับตัว ธุรกิจโรงแรมก็ถูกแบนการใช้พลาสติกด้วยเช่นกัน เช่น น้ำดื่มฟรีในห้องต้องไม่ใช้ขวดพลาสติก หรือเครื่องใช้ในห้องน้ำที่ให้ฟรีต้องไม่ใส่ในถุงที่ทำจากพลาสติกหรือวัสดุย่อยสลายยาก

นี่เป็นแค่เฟสแรกของกฎหมายแบนพลาสติกของฮ่องกง เฟสที่สองจะตามมาภายในปี 2025 ซึ่งจะแบน    อุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มอีก เช่น ถุงมือพลาสติก ผ้าปูโต๊ะพลาสติก

Source

]]>
1470573
Cathay Pacific กลับมาอู้ฟู่อีกรอบ มีกำไรสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2010 จ่ายโบนัสพนักงานเกิน 1.5 เดือนได้สบายๆ https://positioningmag.com/1466092 Thu, 14 Mar 2024 08:14:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466092 คาเธ่ย์ แปซิฟิค (Cathay Pacific) รายงานผลประกอบการในปี 2023 นั้นมีกำไรมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาสายการบินจะประสบปัญหาจากการล็อกดาวน์ในฮ่องกง จนกระทบกับธุรกิจ รวมถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสายการบินอย่างการขาดแคลนแรงงานไปจนถึงเรื่องของ Supply Chain ก็ตาม

Cathay Pacific สายการบินรายใหญ่ของฮ่องกง ได้รายงานผลประกอบการของปี 2023 ที่ผ่านมา โดยสายการบินรายใหญ่นี้มีกำไรมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา โดยสายการบินได้กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาเราได้ทิ้งการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ไว้ข้างหลังได้ในที่สุด

ในปี 2023 สายการบินจากฮ่องกงรายนี้มีรายได้รวม 94,485 ล้านเหรียญฮ่องกง หรือคิดเป็นเงินไทย 431,482 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2022 ถึง 85.1% ขณะที่กำไรอยู่ที่ 9,789 ล้านเหรียญฮ่องกง หรือคิดเป็นเงินไทย 44,705 ล้านบาท

สาเหตุที่ทำให้สายการบินมีกำไรทำสถิติสูงสุดคือปริมาณผู้โดยสารที่ฟื้นตัว โดยปลายปี 2023 นั้นปริมาณผู้โดยสารรวมของ Cathay Pacific คิดเป็น 70% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด ขณะเดียวกันยังรวมถึงราคาตั๋วเครื่องบินที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย ส่งผลทำให้สายการบินรายใหญ่รายนี้มีกำไรจากการดำเนินงานที่เพิ่มมากขึ้น

สายการบินยังคาดว่าปริมาณผู้โดยสารรวมคาดว่าจะเติบโตที่ 80% ได้ภายในไตรมาส 2 และจะกลับมาเติบโตเท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดได้ภายในไตรมาส 1 ของปี 2025 ช้ากว่าที่บริษัทคาดไว้ในตอนแรกถึง 3 เดือน

การฟื้นตัวของสายการบินนั้นสอดคล้องกับการท่องเที่ยวของฮ่องกง เนื่องจาก Cathay Pacific เป็นสายการบินหลักประจำสนามบินฮ่องกง และยังเป็นสายการบินรายหลักที่พานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาฮ่องกง

อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบินในประเทศจีนที่เป็นไปอย่างล่าช้ายังได้สร้างผลกระทบต่อ Cathay Pacific ไม่น้อย เนื่องจากเส้นทางการบินนั้นมุ่งตรงสู่หลายเมืองในประเทศจีน และธุรกิจสายการบินยังประสบปัญหาแรงงานขาดแคลนรวมถึงปัญหาเรื่อง Supply Chain

Ronald Lam Siu-por ซึ่งเป็น CEO ของ Cathay Pacific ได้กล่าวถึงการยกเลิกเที่ยวบินในช่วงที่ผ่านมาว่าบริษัทจะจดจำเป็นบทเรียน และปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้น

โดยสายการบินยังกล่าวว่าจะมีการรับพนักงานเพิ่มขึ้นอีก 20% เพื่อตอบสนองกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นด้วย สายการบินยังได้กล่าวว่านักบินของสายการบินยังมีจำนวนที่ขาดแคลน และถ้าหากสายการบินจะกลับมาเติบโตเท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดจะต้องมีการรับพนักงานเพิ่มเติม

นอกจากนี้กำไรที่แตะระดับสูงสุดของสายการบินยังสามารถทำให้มีการจ่ายโบนัสให้กับพนักงานได้มากถึง 7.2 อาทิตย์ หรือคิดเป็นเกือบ 2 เดือน เพื่อที่จะสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน

ที่มา – South China Morning Post, Reuters, HKFP

]]>
1466092
“สิงคโปร์” ยึดหัวหาดตัวเลือกเบอร์ 1 ที่ตั้ง “สำนักงานใหญ่ภูมิภาคเอเชีย” ของบรรษัทข้ามชาติ https://positioningmag.com/1463750 Fri, 23 Feb 2024 04:02:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463750 Bloomberg รายงาน “สิงคโปร์” ยังคงเป็นเบอร์ 1 เมืองที่บรรษัทข้ามชาติเลือกตั้ง “สำนักงานใหญ่ภูมิภาคเอเชีย” มากที่สุด แซงหน้าคู่แข่งอย่าง “ฮ่องกง” ไปแบบไม่เห็นฝุ่น แม้แต่บริษัทจีนเองยังพิจารณาเลือกสิงคโปร์มากกว่า

รายงานจาก Bloomberg Intelligence สำรวจการตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียของบริษัทข้ามชาติเมื่อปี 2023 พบว่า “สิงคโปร์” เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ภูมิภาคถึง 4,200 บริษัท เป็นเบอร์ 1 ของภูมิภาคเอเชีย และแซงหน้าคู่แข่งสำคัญอย่าง “ฮ่องกง” แบบไม่เห็นฝุ่น เนื่องจากฮ่องกงมีสำนักงานใหญ่ภูมิภาคอยู่เพียง 1,336 บริษัท

สิงคโปร์เป็นประเทศที่ต่อสู้มาอย่างยาวนานเพื่อครองตำแหน่งจุดหมายปลายทางในการตั้งธุรกิจที่ดีที่สุดในเอเชีย แม้แต่บริษัทสัญชาติจีนหลายแห่งยังเลือกที่จะตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคที่สิงคโปร์มากกว่าฮ่องกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือกระจายความเสี่ยงด้าน ‘ภูมิรัฐศาสตร์’

“ฮ่องกงเริ่มเสียเปรียบในการแข่งขันเพื่อดึงดูดธุรกิจข้ามชาติให้เข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาค หลังจากบริษัทสากลหรือแม้แต่บริษัทจีนเองต่างเลือกสิงคโปร์มากกว่า เพราะสิงคโปร์มีความสัมพันธ์กับตะวันตกที่ดีกว่า เป็นแหล่งรวมแรงงานที่มีทักษะสูง (talent pool) มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย และให้แรงจูงใจทางภาษี” ข้อมูลส่วนหนึ่งจากรายงานฉบับนี้ของ Bloomberg เผย

“บริษัทหลายแห่งมักจะให้คะแนนสิงคโปร์มากกว่าในแง่ของเสถียรภาพทางการเมือง และการให้เสรีภาพมากกว่าท่ามกลางความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังไต่ระดับสูงขึ้นในภูมิภาคนี้”

ย่านเซ็นทรัล (Central) บนเกาะฮ่องกง ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจเเละเเหล่งช้อปปิ้ง Photo : Shutterstock

ในระยะหลัง “ฮ่องกง” มีภาพลักษณ์การเป็นศูนย์กลางทางการเงินของ “จีน” เด่นชัดขึ้น จากการเข้าปราบปรามการประท้วงทางการเมือง และการทำตามนโยบาย ‘Zero-Covid’ ของจีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงเกิดโรคระบาด เทียบกับ “สิงคโปร์” ยังขับเน้นภาพลักษณ์ความเป็นอิสระของตนเอง และกลายเป็นที่ต้องการตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติมากขึ้น

แม้ว่าฮ่องกงจะพยายามดึงดูดใจด้วยการลดภาษีนิติบุคคลลงเหลือ 16.5% ซึ่งดูเหมือนจะแข่งขันได้กับสิงคโปร์ที่ตั้งภาษีนิติบุคคลโดยทั่วไปไว้ที่ 17.0% แต่ในสิงคโปร์ก็มีโปรแกรมจูงใจอื่นๆ ที่ทำให้บริษัทสามารถหาทางลดภาษีเหลือ 13.5% ได้ด้วย และสิงคโปร์ยังมีแรงจูงใจพิเศษทางภาษีสำหรับบริษัทต่างชาติที่ต้องการตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคอีก

บริษัทชื่อดังส่วนใหญ่มีสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคที่สิงคโปร์ เช่น FedEx, Microsoft, Google, Mead Johnson, Rolls-Royce, General Motors

แม้แต่บริษัทจีนเองก็เลือกขยายสำนักงานภูมิภาคมาที่นี่ โดยเฉพาะถ้าหากเป็นบริษัทที่ต้องเลี่ยงความอ่อนไหวด้านภูมิรัฐศาสตร์ เช่น แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย TikTok, บริษัทขายเสื้อผ้าออนไลน์ Shein, บริษัทรถยนต์อีวี Nio หรือ บิ๊กเทคคัมปะนีอย่าง Alibaba Group Holding และ Huawei Technologies ก็อยู่ที่นี่ด้วย

Bloomberg Intelligence รายงานว่า การมีเศรษฐกิจที่หลากหลายในสิงคโปร์จะยิ่งช่วยให้ประเทศนี้ยิ่งดึงดูดบริษัทสากลได้มากกว่าฮ่องกงไปอีก 5 ปีข้างหน้า

Source

]]>
1463750
แข่งเป็นเมืองแห่งอีเวนต์! “ฮ่องกง” วางแผนดึง “ศิลปิน” ระดับโลกจัด “คอนเสิร์ต” กระตุ้นเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1460319 Thu, 25 Jan 2024 12:40:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460319 “จอห์น ลี” (ลี กาจิว) ผู้นำสูงสุดของฮ่องกง ประกาศนโยบายดึง “ศิลปิน” ระดับโลก เช่น เทย์เลอร์ สวิฟต์ เข้ามาจัด “คอนเสิร์ต” บนเกาะเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว แข่งขันกับเมืองหลักอื่นๆ ของเอเชียให้ได้

สำนักข่าว South China Morning Post รายงานว่า จอห์น ลี ผู้นำสูงสุดของฮ่องกง ให้คำมั่นว่าจะนำซูเปอร์สตาร์ระดับโลกมาจัดการแสดงบนเกาะฮ่องกงให้ได้ แต่ยอมรับว่าการเชิญชวนศิลปินมาจัดคอนเสิร์ตนั้นต้องใช้ความพยายามอย่างมาก “เหมือนชวนใครสักคนออกเดต”

โดยจะมีการทำงานผ่านคณะกรรมการด้านการท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนใ ‘one-stop shop’ ให้กลุ่มออร์กาไนเซอร์คอนเสิร์ตสามารถผ่านขั้นตอนต่างๆ ได้ง่ายที่สุด ทำให้ฮ่องกงมีเสน่ห์ดึงดูดการจัดอีเวนต์มากขึ้น

ไม่เฉพาะการดึงดูดคอนเสิร์ตของซูเปอร์สตาร์เท่านั้น ฮ่องกงยังต้องการดึงดูดอีเวนต์ระดับโลกทุกประเภทให้มาจัดบนเกาะ

“เราจะต่อสู้เพื่อสิ่งนี้ แต่ก็เหมือนการขอใครสักคนออกเดต” ลีกล่าว “ผมโทรฯ ไปหาเขาได้อยู่แล้ว แต่ก่อนอื่นต้องขึ้นอยู่กับเขาด้วยว่ามีเวลาจะคุยกับผมไหม และการมาจัดงานที่ฮ่องกงจะใส่เข้าไปในแผนของเขาได้หรือเปล่า”

ลีมองว่าการสร้างความสำเร็จของรัฐในประเด็นนี้ จะต้องอาศัยส่วนผสมของ “จังหวะเวลา สถานที่ และคน” ที่ถูกต้อง

เรจิน่า อิป ที่ปรึกษาคนสำคัญของรัฐบาลฮ่องกง เคยวิจารณ์ภาครัฐไว้ก่อนหน้านี้ที่ไม่สามารถดึงซูเปอร์สตาร์อย่าง “เทย์เลอร์ สวิฟต์” มาจัดคอนเสิร์ตในฮ่องกงได้ โดยสวิฟต์มีการจัดเวิลด์ทัวร์ 2024 ในเอเชีย แต่เธอเลือกจัดแสดงเพียง 2 ประเทศเท่านั้น คือ ญี่ปุ่น กับ สิงคโปร์

นอกจากสวิฟต์แล้ว อีกหนึ่งศิลปินดังระดับโลกที่มีทัวร์คอนเสิร์ตในเอเชียปีนี้อย่าง “Coldplay” ก็เลือกจัดแสดงเพียง 2 ประเทศเช่นกัน คือ สิงคโปร์ กับ ไทย ไม่มีแผนการจัดแสดงบนเกาะฮ่องกง

จอห์น ลี (ลี กาจิว) ผู้นำสูงสุดของฮ่องกง (Photo: Shutterstock)

ฮ่องกงจึงตื่นตัวมากในการดึงอีเวนต์ระดับโลกให้เข้ามามากขึ้น เพราะต้องการใช้อีเวนต์เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจภายในได้สองต่อคือทั้งการจัดอีเวนต์และการท่องเที่ยว

ระหว่างการหารือของภาครัฐ ซันนี่ ถัน ประธานสภาการสร้างประสิทธิผลแห่งฮ่องกง คือผู้เรียกร้องถึงรัฐบาลว่าควรจะมีการสร้าง “สถานที่” จัดคอนเสิร์ตหรืออีเวนต์ใหญ่ๆ ที่เหมาะสม โดยกล่าวเปรียบเทียบถึง “Opera House” ของซิดนีย์ ที่สามารถเป็นทั้งจุดจัดงานสำคัญและแลนด์มาร์กของเมืองได้

จอห์น ลีตอบเห็นด้วยว่าฮ่องกงควรจะมีสถานที่จัดงานที่ดีกว่านี้และมากกว่านี้ พร้อมเสนอแผนงานว่าจะมีการจัดสร้างสถานที่จัดอีเวนต์ให้มากขึ้นอีก 40% จากที่มีอยู่เดิม แต่จะต้องใช้เวลากว่าจะไปถึงจุดนั้นได้

ลียังเชิญชวนให้ภาคธุรกิจต่างๆ เข้าร่วมรวมกำลังกันเพื่อผลักดัน “เศรษฐกิจอภิมหาอีเวนต์” ให้เกิดขึ้นจริงบนเกาะฮ่องกง

“เพื่อฟื้นชีวิตชีวาให้กับเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับการจัดอีเวนต์ขนาดใหญ่ บทบาทของภาครัฐคือการเป็นโปรดิวเซอร์และคนเขียนบท” ลีกล่าว “แต่ออร์กาไนเซอร์และภาคธุรกิจต่างๆ ต้องเล่นตามบทบาทที่เขียนไว้ด้วย รวมไปถึงผู้บริหารและพนักงานในธุรกิจท่องเที่ยว เคเทอริ่ง และอุตสาหกรรมรีเทล”

เขากล่าวด้วยว่าตลาดเองก็ต้องมีสินค้าใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ เพื่อดึงนักท่องเที่ยวและทำให้นักเดินทางต้องการอยู่เที่ยวต่อ รวมถึงกระตุ้นให้คนท้องถิ่นเองต้องการออกมาใช้จ่ายในเศรษฐกิจช่วงกลางคืนด้วย

“ผมเชื่อว่าผู้บริหารและพนักงานในฮ่องกงมีความสามารถ พวกเขาจะแสดงถึงองค์ประกอบที่สามารถสร้างความภาคภูมิใจและความสำเร็จให้กับฮ่องกงได้อีกครั้ง” ลีกล่าว

Source

]]>
1460319
อินเดียแซงหน้าฮ่องกงเป็นตลาดหุ้นใหญ่อันดับสี่ของโลก จากปัจจัยเม็ดเงินไหลเข้าประเทศ เศรษฐกิจเติบโตสูง https://positioningmag.com/1459808 Tue, 23 Jan 2024 04:23:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1459808 ตลาดหุ้นอินเดีย ถือเป็นตลาดหุ้นหนึ่งในโลกที่กำลังได้รับความนิยมจากนักลงทุนชาวต่างชาติ เนื่องจากเม็ดเงินได้ไหลเข้าแดนภารตะมหาศาลในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ตัวเลขล่าสุดขนาดของตลาดหุ้นอินเดียได้แซงหน้าตลาดหุ้นฮ่องกง กลายเป็นตลาดหุ้นใหญ่อันดับ 4 ของโลกแล้ว

ตลาดหุ้นอินเดีย ล่าสุดมีขนาดของตลาดแซงหน้าตลาดหุ้นฮ่องกงเป็นที่เรียบร้อย และทำให้ตลาดหุ้นอินเดียมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกทันที

ข้อมูลล่าสุดจาก Bloomberg เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (22 มกราคม) ขนาดของตลาดหุ้นอินเดียนั้นอยู่ที่ 4.33 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ แซงหน้าขนาดตลาดหุ้นฮ่องกงที่มีขนาดตลาด 4.29 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และการแซงหน้าในครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกด้วย

ก่อนหน้านี้ในเดือนธันวาคมปี 2023 ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นอินเดียมีขนาดแตะ 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งตลาดหุ้นเป็นต้นมา

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นอินเดียได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นคือ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจอินเดียที่อยู่ในระดับสูง ขณะเดียวกันอินเดียยังมีจำนวนประชากรที่มากกว่าจีน ส่งผลทำให้มีแรงงานจำนวนมาก ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เม็ดเงินลงทุนไหลเข้าประเทศ

อีกปัจจัยที่สำคัญคือ ข้อมูลจาก BMI ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Fitch Solutions ได้คาดการณ์ว่า การเติบโตของการใช้จ่ายครัวเรือนต่อหัวของอินเดียจะแซงหน้าเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียได้ภายในปี 2027 และจะทำให้อินเดียเป็นตลาดผู้บริโภคใหญ่อันดับ 3 ยิ่งดึงดูดเม็ดเงินเพิ่มเติม

ขณะที่ตลาดหุ้นอินเดียถ้าหากดูตัวเลขกำไรการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนในช่วงหลายปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นอีกตลาดหุ้นที่ทำให้นักลงทุนชาวต่างชาติสนใจมากขึ้นด้วย

ตรงข้ามกับตลาดหุ้นของฮ่องกงในช่วงที่ผ่านมาได้ประสบปัญหาเศรษฐกิจจากการล็อกดาวน์ในช่วงโควิด และอยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัว

ขณะเดียวกันปัญหาเศรษฐกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ก็ได้สร้างผลกระทบต่อบริษัทในฮ่องกง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่หลายรายจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นฮ่องกง และยังรวมถึงปัจจัยความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ทำให้เม็ดเงินนักลงทุนโยกย้ายออกไปลงทุนในตลาดหุ้นอื่น ซึ่งรวมถึงอินเดียนั่นเอง

]]>
1459808
ปีทองของแท้! ตลาดหุ้น ‘​​อินเดีย’ มูลค่าทะลุ 3.98 ล้านล้านดอลลาร์ ขึ้นแท่นอันดับ 7 ของโลกแซงหน้า ‘ฮ่องกง’ https://positioningmag.com/1455494 Wed, 13 Dec 2023 08:17:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455494 ถือเป็นปีทองของ อินเดีย จริง ๆ หลังจากที่บริษัทผู้ผลิตและแบรนด์ไอทีต่างก็ย้ายฐานการผลิตบางส่วนจากจีนมาอินเดีย อาทิ Apple ซึ่งด้วยการเข้ามาลงทุนจากแบรนด์ไอทียักษ์ใหญ่ ก็ทำให้ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน ตลาดหลักทรัพย์แห่งชาติของอินเดียมีมูลค่า 3.989 ล้านล้านดอลลาร์ แซงหน้า ฮ่องกง เรียบร้อย

มูลค่าตลาดหุ้นของ อินเดีย แซงหน้า ฮ่องกง จนกลายเป็นตลาดหุ้นที่ใหญ่เป็น อันดับ 7 ของโลก โดย ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมของตลาดหลักทรัพย์แห่งชาติของอินเดียอยู่ที่ 3.989 ล้านล้านดอลลาร์ เทียบกับฮ่องกงอยู่ที่ 3.984 ล้านล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลจากสหพันธ์การแลกเปลี่ยนโลก

โดยดัชนี Nifty 50 ของอินเดียพุ่งสู่ถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งในวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยรวมทั้งปี ดัชนี Nifty 50 พุ่งขึ้นเกือบ +16% ในปีนี้และกําลังมุ่งหน้าเติบโตติดต่อกันเป็นปีที่ 8 ในทางตรงกันข้ามดัชนี Hang Seng ของฮ่องกงร่วงลง -17% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทําให้เป็นตลาดหลักในเอเชีย-แปซิฟิกที่มีผลการดําเนินงานแย่ที่สุด

อินเดียถือเป็นตลาดที่โดดเด่นในปีนี้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยขนาดจำนวนประชากรถึง 1.4 พันล้านคน สูงสุดในโลก อีกทั้งยังมีขนาดการเติบโตเศรษฐกิจที่เร็วที่สุดในโลก ซึ่งสะท้อนได้จากการใช้จ่ายด้านอสังหาริมทรัพย์ และสินค้าไฮเอนด์ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สามารถดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศได้มากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดียก็มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ในปีนี้ตลาดหุ้นอินเดียมีผลงานโดดเด่นที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 

สวนทางกับทางดัชนีหุ้นฮ่องกงที่มีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจจีนสูง ทำให้วิกฤติในภาคอสังหาริมทรัพย์จากจีนส่งผลต่อตลาดหุ้นฮ่องกง อีกทั้งความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำ จึงเป็นผลทำให้ดัชนี Hang Seng มีผลดำเนินการแย่ที่สุดในเอเขียแปซิฟิก

จากการประเมินของ HSBC มองว่า ภาคการธนาคาร, การดูแลสุขภาพ, และพลังงาน จะเป็นภาคส่วนที่ดีที่สุดของอินเดียในปีหน้า ขณะที่ภาคส่วนต่าง ๆ เช่น รถยนต์, ค้าปลีก, อสังหาริมทรัพย์ และโทรคมนาคมก็อยู่ในตําแหน่งที่ค่อนข้างดีในปีหน้าเช่นกัน 

Source

]]>
1455494
“ฮ่องกง” เสียตำแหน่งแหล่งช้อป “แบรนด์เนม” แห่งเอเชีย ร้านค้าเลือกขยายในจีนแผ่นดินใหญ่ https://positioningmag.com/1422142 Tue, 07 Mar 2023 10:10:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422142 “ฮ่องกง” หนึ่งในแหล่งช้อปปิ้ง “แบรนด์เนม” สุดหรูระดับโลก ไม่น่าจะหวนคืนตำแหน่งนั้นได้อีกแล้ว หลังแบรนด์ลักชัวรีหลายรายเลือกการขยายตัวในจีนแผ่นดินใหญ่แทน ทำให้หน้าร้านบนถนนช้อปปิ้งดังของฮ่องกงว่างลงกว่าครึ่ง!

ฮ่องกงเคยเป็นแหล่งช้อปปิ้งแบรนด์เนมยอดฮิตของเอเชีย สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ถึงปีละ 56 ล้านคนในช่วงก่อนเกิดโควิด-19

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคาค่าเช่าในย่านจิมซาจุ่ยกลับดิ่งลงถึง 41% เทียบกับก่อนเกิดโรคระบาด ตามข้อมูลของ Cushman & Wakefield บริษัทอสังหาฯ จนทำให้เมื่อปี 2022 ย่านนี้เสียบัลลังแชมป์ย่านรีเทลที่แพงที่สุดในโลกให้กับถนน Fifth Avenue ในเมืองนิวยอร์ก

Savills บริษัทที่ปรึกษาอสังหาฯ อีกรายหนึ่งรายงานว่า Canton Road ถนนช้อปปิ้งชื่อดังในย่านจิมซาจุ่ย มีอัตราพื้นที่ว่างสูงถึง 53%

“ค้าปลีกลักชัวรีส่วนใหญ่ไม่คิดว่าฮ่องกงจะกลับไปสู่จุดสูงสุดเมื่อปี 2014 อีกแล้ว” Simon Smith ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการวิจัยและที่ปรึกษาของ Savills Hong Kong กล่าว

“ถ้าคุณไปเดินย่านช้อปปิ้งวันนี้ในฮ่องกง คุณจะไม่เห็นคนมารอต่อคิวเข้าร้านแบรนด์เนมกันอีกแล้ว หรือถ้ามีก็น้อยมากๆ” Smith กล่าว

Photo : Shutterstock

หลายแบรนด์เลือกปิดหน้าร้านในจิมซาจุ่ยไปแล้ว เช่น Tiffany, Valentino, Burberry ร้านเหล่านั้นถูกแทนที่ด้วยแบรนด์อีกแบบหนึ่ง เช่น Adidas แบรนด์กีฬา

การปิดหน้าร้านแบรนด์เนมเกิดขึ้นหลังเหตุประท้วงเพื่อสนับสนุนประชาธิปไตยและการปราบปรามของภาครัฐ หลังจากนั้นยอดขายแบรนด์เนมเริ่มตกต่ำลง เพราะจีนสั่งห้ามการเดินทางของคนจีนแผ่นดินใหญ่ไปยังฮ่องกง ซึ่งปกติกำลังซื้อจากจีนคือแรงขับเคลื่อนหลักของตลาดลักชัวรี และสถานการณ์ยิ่งแย่ลงไปอีกเมื่อเผชิญกับโควิด-19 เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติอื่นๆ ก็ไม่สามารถเข้ามาช้อปปิ้งได้

 

ทางเลือกใหม่ของแบรนด์เนม: จีนแผ่นดินใหญ่

ลักชัวรีแบรนด์มากมายขยายตัวเข้าไปเปิดร้านในจีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงที่เกิดโควิด-19 โดยเฉพาะเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น “เกาะไห่หนาน” หรือเกาะข้างเคียงอย่าง “มาเก๊า” ก็กลายเป็นปลายทางใหม่ของแบรนด์เนม ทั้งสองหมุดหมายนี้ยังได้ประโยชน์จากนโยบายของจีนที่พัฒนาให้เป็นเกาะ “ปลอดภาษี”

“ฮ่องกงไม่น่าจะกลับไปสู่จุดที่เคยเป็นในทศวรรษที่แล้วได้อีก เพราะขณะนั้นฮ่องกงแทบจะเป็นจุดหมายเดียวที่คนจีนเลือกไปเพื่อช้อปแบบดิวตี้ฟรี” Nicolas Hieronimus ซีอีโอ L’Oreal กล่าวกับ Reuters “วันนี้พวกเขามีทางเลือกอีกมากมาย”

ศูนย์การค้าดิวตี้ฟรีบนเกาะไห่หนาน (Photo : Shutterstock)

เมื่อโควิด-19 ปิดประเทศจีน และมีการพัฒนาดิวตี้ฟรีขึ้นมาทดแทน ทำให้ร้านค้าดิวตี้ฟรีในเกาะไห่หนานทำยอดขายพุ่งถึง 84% ในปี 2021 จากข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษา Bain & Co ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยยอดขายลักชัวรีทั้งประเทศจีนซึ่งเติบโต 36%

ปี 2021 ประเทศจีนจึงมียอดขายสินค้าลักชัวรีในประเทศแตะ 4.71 แสนล้านหยวน (ประมาณ 2.3 ล้านล้านบาท) เพิ่มเป็นเท่าตัวจากปี 2019 เทียบแล้วยังมากกว่ายอดขายรีเทลในฮ่องกงที่เคยขึ้นไปสูงสุดเมื่อปี 2013 ด้วยมูลค่า 4.94 แสนล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 2.17 ล้านล้านบาท)

เมื่อเข้าไปขายในจีนก็ขายดี ทำให้แบรนด์ลักชัวรีจึงหันมาเลือกเปิดหน้าร้านในจีนแผ่นดินใหญ่แทน เช่น Hermes ที่เปิดไปแล้ว 27 สาขาในจีน ปีนี้เพิ่งจะเปิดหน้าร้านใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมที่เมืองนานจิง เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ขณะที่ Saint Laurent แบรนด์ในเครือ Kering เพิ่งจะเปิดแฟลกชิปสโตร์สองแห่งแรกที่เซี่ยงไฮ้และปักกิ่งเมื่อปี 2019 นี้เอง

อย่างไรก็ตาม มุมมองอีกทิศทางหนึ่งก็เห็นว่า ฮ่องกงอาจจะยังมีความหวังในระยะยาวได้เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกกลับมาปกติ และการท่องเที่ยวกลับมา

อีกทั้งเสน่ห์ของร้านแบรนด์เนมในฮ่องกงยังคงเป็นหน้าร้านแบบแยกตึกเดี่ยวของแบรนด์นั้นๆ ซึ่งเป็นความรู้สึกพิเศษที่หาไม่ได้ในศูนย์การค้าของไห่หนาน จุดนี้อาจจะเป็นจุดที่เอาชนะใจผู้ซื้อได้โดยเฉพาะผู้ซื้อจากจีนแผ่นดินใหญ่เอง

Source

]]>
1422142