เกาหลีใต้ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 28 Nov 2024 13:34:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คนเกาหลีใต้รุ่นใหม่จํานวนมาก สนับสนุนการมีลูกโดยไม่ต้องแต่งงาน มีบุตรนอกสมรสสูงขึ้นมากสุดในประวัติการณ์ https://positioningmag.com/1501286 Thu, 28 Nov 2024 10:14:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1501286 จากผลการศึกษาของรัฐบาลเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า หนุ่มสาวเกาหลีใต้รุ่นใหม่จํานวนมาก มีความคิดเห็นที่ท้าทายมุมมองสังคมแบบเดิมๆ เกี่ยวกับการแต่งงานและการเป็นพ่อแม่คน โดยหนุ่มสาวในวัย 20 ปี จำนวน 2 ใน 5 คนแสดงการสนับสนุนการมีลูกโดยไม่จำเป็นต้องแต่งงานกัน 

โดยข้อมูลจากการเก็บสถิติประจําปีเกี่ยวกับสังคมเกาหลีใต้ เผยว่า 42.8% ของคนรุ่นใหม่ชาวเกาหลีใต้มีความคิดว่า การมีลูกโดยไม่แต่งงานเป็นเรื่องที่สามารถยอมรับได้ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและความคิดแบบเดิม โดยมีเพียง 30.3% เท่านั้นที่ยังมีมุมมองของการมีลูกแล้วยังต้องแต่งงานกันอยู่

ทำให้การสนับสนุนการมีลูกโดยไม่ต้องแต่งงานในปัจจุบันของเกาหลีใต้มีมากขึ้นเนื่องจากสัดส่วนของผู้ตอบแบบสอบถามที่สนับสนุนแนวคิดดังล่าวมีเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า จากเดิมมี 5.7% ในปี 2014 เป็น 14.2% ในปี 2024 ในทางกลับกัน ฝ่ายค้านแนวคิดการมีลูกโดยไม่ต้องแต่งงานก็มีอัตราลดลงจาก 34.9% เป็น 22.2% ในช่วงเวลาเดียวกัน

จากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวสะท้อนให้เห็นในแนวโน้มภาวะการเจริญพันธุ์ของชาวเกาหลีใต้ โดยในปี 2023 มีอัตราการเกิดของเด็กทารกกว่า 10,900 คนสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยกว่า 4.7% ของการคลอดบุตร ทั้งหมดเป็นบุตรที่เกิดนอกสมรส ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าปีก่อนหน้า 0.8% และเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่มีการเริ่มเก็บบันทึกในปี 1981

อีกทั้งมีจํานวนคู่รักจํานวนมากขึ้นไม่ได้แต่งงานหรืออยู่ด้วยกัน ทำให้ทารกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นโสด (Single Dad & Single Mom) มีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2020 มีทารกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นโสด 6,900 คน ในปี 2021 จำนวน 7,700 คน และในปี 2022 จำนวน 9,800 คน 

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ทัศนคติของสังคมต่อการมีลูกโดยไม่แต่งงานกําลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่รัฐบาลฯ กลับไม่มีนโยบายการสนับสนุนเหล่า Single Dad และ Single Mom แต่อย่างใด โดยนโยบายที่สนับสนุนการคลอดบุตรและการดูแลเด็กส่วนใหญ่ในเกาหลีใต้ถูกการออกแบบตามกรอบของคู่สมรสเท่านั้น ทำให้เด็กที่เกิดจากพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวหรือคู่สมรสที่ยังไม่แต่งงานมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับการเลือกปฏิบัติหรือตกอยู่ในจุดบอดของนโยบายเป็นอย่างมาก

อาทิ เมื่อประมาณเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คณะกรรมการสังคมภาวะเจริญพันธุ์ต่ำและผู้สูงอายุของรัฐบาลเกาหลีใต้ ได้เปิดเผยมาตรการที่ครอบคลุมการจัดการอัตราการเกิดที่ลดลง โดยกล่าวถึงความสมดุลระหว่างชีวิตการทํางาน การดูแลเด็ก และที่อยู่อาศัย แต่ไม่ได้ครอบคลุมรวมบทบัญญัติสําหรับการสนับสนุนเด็กที่เกิดจากพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวหรือพ่อแม่ที่ยังไม่แต่งงานกัน

ทั้งนี้ มีผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นว่า การสร้างระบบสนับสนุนสถาบันครอบครัวสําหรับการมีลูกโดยไม่คํานึงถึงสถานภาพสมรส อาจเป็นทางออกสําหรับวิกฤตอัตราการเกิดต่ำของเกาหลีใต้

จากข้อมูลขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ระบุว่า สัดส่วนของเด็กที่เกิดนอกสมรสทั่วโลกในปี 2020 สูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ โดยในประเทศต่าง ๆ เช่น ฝรั่งเศสมีสัดส่วนของเด็กที่เกิดนอกสมรสกว่า 62.2% สหราชอาณาจักร 49% และสหรัฐอเมริกา 41.2 % เมื่อเทียบกับเกาหลีใต้

ที่มา : Asia News

]]>
1501286
“เกาหลีใต้” ตรวจพบสารพิษระดับสูงในเสื้อผ้าเด็กที่ขายบน Temu, Shein และ AliExpress   https://positioningmag.com/1500719 Mon, 25 Nov 2024 11:35:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1500719 รัฐบาลกรุงโซล เกาหลีใต้ ระบุว่า ทางการฯ มีการตรวจพบสารพิษในเสื้อผ้าฤดูหนาวสำหรับเด็กที่ขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีน อย่าง Temu, Shein และ AliExpress สูงถึง 622 เท่าของระดับที่ทางการเกาหลีใต้กำหนดไว้

ในการตรวจสอบความปลอดภัยล่าสุดจากสินค้าสําหรับเด็ก และทารกจำนวน 26 รายการ ที่จำหน่ายผ่าน 3 แพลตฟอร์มนี้ มีการพบสารเคมีที่เป็นพิษในผลิตภัณฑ์ถึง 7 รายการ อาทิ แจ็คเก็ตที่ขายบน Temu มีพลาสติกไซเซอร์พาทาเลต (สารเคมี phthalate plasticisers ที่ใช้กันมากในผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภท PVC ใช้เป็นสารที่ทำให้เกิดความความอ่อนตัวในเนื้อพลาสติก) ซึ่งเป็นสารพิษที่ส่งผลต่อการทํางานของต่อมไร้ท่อ และสุขภาพการเจริญพันธุ์ของเด็ก โดยมีการตรวจพบค่าความเป็นพิษในระดับที่สูงกว่าขีดจํากัดทางกฎหมายในเกาหลีใต้เกือบ 622 เท่า

อุปกรณ์ตกแต่งเสื้อแจ็คเก็ตอย่างห่วงโซ่หรือสายคล้อง ที่ทางการเกาหลีใต้อนุญาตให้มีความยาวได้เพียง 7.5 ซม. แต่กลับตรวจพบว่าบางแบรนด์มีที่มีความยาวกว่า 11.2 ซม. ซึ่งถือว่าเกินจากเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้กังวลในด้านความปลอดภัยของเด็กเช่นกัน

อีกทั้งจั๊มสูทที่ขายใน Temu มีการตรวจพบพลาสติกไซเซอร์พาทาเลต ที่ระดับ 294 เท่าของขีดจํากัดทางกฎหมาย อีกทั้งตรวจพบระดับ pH ของเสื้อผ้าอยู่ที่ 7.8 ซึ่งเกินเกณฑ์ระดับ pH ที่อนุญาตคือ 4.0 ถึง 7.5 รวมถึงรองเท้าเด็กคู่หนึ่งที่ขายบน AliExpress มีการตรวจพบระดับสารตะกั่วกว่า 5 เท่าของระดับที่อนุญาต

นอกจากนั้นชุดบอดี้สูทสําหรับทารกที่วางจำหน่ายบนแพลตฟอร์ม AliExpress ยังตรวจพบว่ามีพลาสติกไซเซอร์พทาเลตเกินเกณฑ์อนุญาตกว่า 3.5 เท่า รวมถึงชุดเสื้อผ้าใส่สบายของเด็กที่มีราคาถูก ก็ตรวจพบสารตะกั่วกว่า 19.12 เท่าของเกณฑ์ที่กำหนดเช่นกัน

ทั้งนี้รัฐบาลเกาหลีใต้กล่าวว่า รัฐบาล มีแผนจะสุ่มทดสอบความปลอดภัยของสินค้าที่จำหน่ายบนแพลตฟอร์มต่างประเทศ ซึ่งเป็นอีกช่องทางที่มีผู้ใช้จํานวนมากในเกาหลีใต้ โดยจะเน้นที่ผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการสูงตามฤดูกาล และในเดือนธันวาคม รัฐบาลฯ วางแผนจะตรวจสอบของตกแต่งคริสต์มาสและของเล่นเด็กเป็นลำดับถัดไป 

ที่มา : The Straits Times

 

]]>
1500719
ไม่เป็นอย่างที่หวัง! ศก. ‘เกาหลีใต้’ Q3/67 แทบไม่เติบโต หลังยอด ‘ส่งออก’ ลดลง https://positioningmag.com/1495435 Thu, 24 Oct 2024 13:54:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1495435 หลังจากที่เศรษฐกิจของ เกาหลีใต้ ในช่วงไตรมาส 2/2567 จะหดตัวเล็กน้อย เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอเนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้นักวิเคราะห์ต่างก็เชื่อมั่นว่าในไตรมาส 3 จะต้องเติบโตขึ้น แต่กลายเป็นว่าผลลัพธ์ไม่เป็นอย่างที่หวัง

ในไตรมาส 2/2567 ที่ผ่านมา GDP ของ เกาหลีใต้ หดตัว -0.2% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส และในไตรมาส 3/2567 ก็สามารถเติบโตได้เพียง +0.1% หรือแทบจะไม่เติบโต เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งถือว่าพลาดเป้าจากที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะสามารถเติบโตได้ +0.5% และเมื่อเทียบเป็นรายปี GDP Q3/257 ขยายตัวเพียง 1.5% ซึ่งชะลอตัวลงจากไตรมาส 2 ที่มีการเติบโต 2.3% และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเติบโต 2%

แม้ว่าอุปสงค์ภายในประเทศจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 โดยเพิ่มขึ้น 0.5% หลังจากหดตัว 0.2% ในไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปัจจัยหลักที่คาดว่าจะทำให้ GDP ของเกาหลีใต้ในไตรมาส 3 ไม่เติบโตอย่างที่หวังก็คือ การส่งออก ที่ไม่ดีอย่างที่คาดโดย ลดลง 0.4% ซึ่งนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ฉุดการส่งออกมาจาก การชะลอตัวของยอดส่งออกรถยนต์และเคมีภัณฑ์ และนอกจากการส่งออกที่ลดลง การนำเข้ายังเพิ่มขึ้น 1.5% สวนทางอีกด้วย

ทั้งนี้ จากตัวเลขดังกล่าว ทำให้มีการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) อาจออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพื่อหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ธนาคารกลางเกาหลีใต้ยังอาจปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้ จากที่คาดว่าจะเติบโต 2.4% 

ทั้งนี้ เกาหลีใต้ถือเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของเอเชีย และการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแออาจกดดันเงินวอนมากขึ้น หลังอ่อนค่าลงเกือบ 5% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในเดือนนี้

Source

]]>
1495435
เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น-ไต้หวัน แข่งกันเปย์หนัก! หวังดึงแรงงานต่างชาติฝีมือดีเข้าทำงานในประเทศ https://positioningmag.com/1493971 Thu, 10 Oct 2024 13:28:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1493971 เกาหลีใต้ ประกาศเสนอค่าจ้างที่สูงขึ้นกว่าญี่ปุ่นและไต้หวัน สําหรับแรงงานต่างชาติที่มีทักษะเพื่อดึงดูดแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในภาคส่วนต่างๆ ของประเทศมากขึ้น โดยมุ่งหวังในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานและเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

รัฐบาลเกาหลีใต้จึงได้ขยายระบบใบอนุญาตการจ้างงานสําหรับแรงงานต่างชาติที่มีทักษะต่ำด้วย ซึ่งวงเงินรายปีเพิ่มขึ้นจาก 50,000 วอนในปี 2021 เป็น 165,000 วอนในปี 2024 โปรแกรมนี้รวมถึงคนงานในร้านอาหาร การบริการ และอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา นอกจากนั้นรัฐบาลฯวางแผนรับสมัครแรงงานป่าไม้เพิ่ม เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานในพื้นที่ชนบทและภูเขา โดยตั้งเป้าที่จะรับคนงานป่าไม้มากถึง 1,000 คนต่อปี 

นอกจากนั้นในอุตสาหกรรมการต่อเรือของเกาหลีใต้ต้องเผชิญกับการขาดแคลนแรงงานเช่นกัน โดยมีการประมาณการตัวเลขออกมาว่า ในปี 2023 อู่ต่อเรือมีการขาดดุลคนงาน 14,000 คน เนื่องจากหลายคนย้ายไปที่ภาคเซมิคอนดักเตอร์และยานยนต์ ทำให้เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เกาหลีใต้ได้เปิดศูนย์ฝึกอบรมแห่งใหม่สําหรับอุตสาหกรรมการต่อเรือที่อินโดนีเซีย โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมก็ได้รับการสอนเกี่ยวกับทักษะการเชื่อม ความปลอดภัย ภาษาเกาหลี และการผ่อนคลายข้อจํากัดด้านวีซ่า เพื่อเตรียมความพร้อมให้แรงงานฯพร้อมสําหรับการทํางานให้กับผู้สร้างเรือของเกาหลีใต้ทันทีเมื่อมาถึง 

นายกรัฐมนตรี Han Duck-soo กล่าวว่า รัฐบาลฯคาดการณ์ว่า เกาหลีใต้จะมีประชากรเป็นชาวต่างชาติซึ่งคิดเป็น 5.7% ของประชากรในประเทศภายในปี 2042 และเน้นย้ำถึงความจําเป็นในการสร้างสมดุลระหว่างโอกาสในการทํางานสําหรับพลเมืองเกาหลี กับการจ้างแรงงานต่างชาติที่ยังต้องคิดอย่างถี่ถ้วน

ทั้งนี้มีรายงานว่า ประชากรของเกาหลีใต้จะมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบสามปี โดยสูงถึง 51.77 ล้านคนในปี 2023 แต่การเพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของชาวต่างชาติ 10.4% รวมเป็น 1.93 ล้านคน ทำให้การไหลเข้าของแรงงานต่างชาติได้สร้างความท้าทายบางอย่าง อาทิ นอกจากนี้ อัตราการว่างงานของประเทศยังคงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนงานที่อายุน้อยกว่า สถานการณ์นี้ยังคงมีอยู่แม้จะขาดแคลนแรงงานในบางภาคส่วนก็ตาม

ที่มา : The Rio Times 

]]>
1493971
4 เดือนแรกปี 2024 คนไทย “เที่ยวเกาหลี” ลดฮวบ -21% สาเหตุหลักไม่อยากเสี่ยง “ติดตม.” https://positioningmag.com/1478924 Wed, 19 Jun 2024 11:27:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478924 สถิติพบคนไทย “เที่ยวเกาหลี” ช่วง 4 เดือนแรกปี 2024 ลดฮวบ -21% สวนทางกับภาพรวมการท่องเที่ยวเกาหลีใต้ที่ฟื้นตัว 87% จากปีก่อน สาเหตุหลักเพราะคนไทยไม่อยากเสี่ยง “ติดตม.”

สำนักข่าว Yonhap News Agency รายงานข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศเกาหลีใต้พบว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2024 มีนักท่องเที่ยวชาวไทยเข้าประเทศเกาหลีใต้ 119,000 คน ซึ่งลดลง -21.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อน สวนทางกับภาพรวมการท่องเที่ยวของเกาหลีใต้ที่มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าประเทศเพิ่มขึ้น 86.9% ในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้

หากมองเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) นักท่องเที่ยวไทยเคยครองแชมป์อันดับ 1 สัญชาตินักท่องเที่ยวจาก SEA ที่เข้าไปเที่ยวเกาหลีใต้มากที่สุดในช่วงก่อนโควิด-19 แต่ด้วยตัวเลข 4 เดือนแรกปีนี้ ทำให้นักท่องเที่ยวไทยตกไปอยู่อันดับ 3 ในกลุ่มนักท่องเที่ยว SEA ที่เข้าเกาหลีใต้มากที่สุด รองจาก “เวียดนาม” (163,000 คน) และ “ฟิลิปปินส์” (158,000 คน)

ตัวเลขนักท่องเที่ยวไทยที่เข้าเกาหลีใต้เพียง 119,000 คน ยังคิดเป็นสัดส่วนเพียง 59% ของจำนวนนักท่องเที่ยวไทยที่เข้าเกาหลีใต้ใน 4 เดือนแรกของปี 2019 (ก่อนเกิดโรคระบาด) เทียบกับตัวเลขนักท่องเที่ยวโดยรวมของเกาหลีใต้ที่กลับมามีสัดส่วน 88% ของปี 2019 ถือว่าตลาดท่องเที่ยวฟื้นตัวกลับมาสูงมากแล้ว

หมู่บ้านวัฒนธรรมคัมชอน ปูซาน

สาเหตุที่คนไทยยังไม่กลับไปเที่ยวเกาหลีใต้มากเท่าในอดีต ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของเกาหลีใต้มองว่าเป็นเพราะ “ความรู้สึกเชิงลบ” ของคนไทยจากกรณีที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ของเกาหลีใต้ปฏิเสธไม่ให้คนไทยเข้าประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

โดยขั้นแรกก่อนเดินทาง คนไทยจะต้องกรอกข้อมูลในระบบ K-ETA (Korea Electronic Travel Authorization) สำหรับนักท่องเที่ยวที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอวีซ่าเข้าประเทศเกาหลีใต้ 112 ประเทศ (*มีนักท่องเที่ยว 22 ประเทศเท่านั้นที่ได้รับยกเว้นทั้งวีซ่าและการกรอก K-ETA เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน แต่ชาวไทยไม่ได้อยู่ในลิสต์นี้)

ชาวไทยจำนวนมากถูกปฏิเสธตั้งแต่ขั้นตอนการกรอก K-ETA โดยไม่มีคำอธิบายสาเหตุที่ไม่ได้รับการอนุมัติ

ซ้ำร้ายกว่านั้นคือนักท่องเที่ยวไทยบางคนที่ได้รับอนุมัติ K-ETA แล้วก็ยังถูก ตม. เกาหลีใต้ปฏิเสธไม่ให้เข้าประเทศและส่งกลับไทยทันที ทั้งหมดทำให้ชาวไทยรู้สึกไม่พอใจอย่างมาก

ตัวอย่างการพูดคุยเกี่ยวกับ #แบนเกาหลี เมื่อปีก่อน ส่งผลต่อเนื่องให้ปีนี้คนไทยตัดสินใจไปเกาหลีน้อยลง

เรื่องราวการถูกปฏิเสธเข้าเมืองโดย ตม. เกาหลีใต้กลายเป็นกระแสในโซเชียลมีเดียไทยตั้งแต่ปลายปี 2023 อีกด้วย ผ่านการติดแฮชแท็ก #แบนเกาหลี เล่าประสบการณ์การถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าเมืองด้วยเหตุผลที่น่ากังขา ประสบการณ์เลวร้ายที่ถูกเผยแพร่ต่อเหล่านี้จึงทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวไทยเข้าเกาหลีใต้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

อย่างไรก็ตาม กระทรวงยุติธรรมของเกาหลีใต้ให้เหตุผลว่า ความเข้มงวดต่อคนไทยเป็นเพราะคนไทยเป็นสัญชาติหลักที่มักจะหนีเข้าเมืองมาเป็นแรงงานผิดกฎหมายในเกาหลี ทางกระทรวงฯ มิได้มีอคติเลือกปฏิบัติต่อคนไทยแต่อย่างใด

ทั้งนี้ สำหรับสัญชาตินักท่องเที่ยวที่เข้าไปเที่ยวในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นมากที่สุดใน 4 เดือนแรกปีนี้ คือ “จีน” จำนวนนักท่องเที่ยวจีนในเกาหลีพุ่งขึ้นถึง 470% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน รองลงมาคือ “ญี่ปุ่น” เพิ่มขึ้น 86% ตามด้วย “ฟิลิปปินส์” เพิ่มขึ้น 76% “อินโดนีเซีย” เพิ่มขึ้น 51% “มาเลเซีย” เพิ่มขึ้น 35% “เวียดนาม” เพิ่มขึ้น 29% และ “สิงคโปร์” เพิ่มขึ้น 11%

Source

]]>
1478924
“เกาหลีใต้” เตรียมแก้ข้อสอบเข้ามหา’ลัยให้สอดคล้องกับการศึกษาของรัฐ ลดการทุ่ม “กวดวิชา” https://positioningmag.com/1435553 Mon, 26 Jun 2023 11:51:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1435553 รัฐบาล “เกาหลีใต้” ประกาศแผนเพื่อลดการทุ่มเงิน “กวดวิชา” ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูกของแดนโสมขาวสูงที่สุดในโลก โดยรัฐบาลจะเริ่มจากการปรับแก้ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนของรัฐ เนื่องจากปัจจุบันข้อสอบเอนทรานซ์มักจะออกให้ยากและไม่มีสอนในหลักสูตรปกติ จนเด็กมัธยมส่วนใหญ่ต้องเข้าเรียนกวดวิชาเพื่อฝึกทำโจทย์นอกหลักสูตร

รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศในวันที่ 26 มิถุนายน 2023 ว่า รัฐมีแผนที่จะลดการใช้จ่ายมหาศาลไปกับโรงเรียนกวดวิชาของพ่อแม่ผู้ปกครองชาวเกาหลี ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้อัตราการเจริญพันธุ์ของคนเกาหลีใต้ตกต่ำลงมาก

ก่อนหน้านี้ในเดือนเดียวกัน “ยุน ซอกยอล” ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ เพิ่งจะวิพากษ์วิจารณ์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยว่ามีการตั้งโจทย์ที่ไม่สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของรัฐ โดยมีโจทย์บางข้อถึงขั้นถูกเรียกว่าเป็น “คำถามฆาตกร” เพราะมีความซับซ้อนสูงมากจนนักเรียนทั่วไปไม่สามารถแก้โจทย์ได้

“เราจะตัดวงจรของ ‘คำถามฆาตกร’ ในข้อสอบ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการแข่งขันจนเกินพอดีในหมู่นักเรียนและผู้ปกครองภายในโรงเรียนกวดวิชา” ลี จูโฮ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการเกาหลีใต้กล่าวในการแถลงข่าววันนี้

รัฐมนตรีลียังให้คำมั่นว่าจะกวาดล้าง “กลุ่มผูกขาด” ในตลาดการศึกษาภาคเอกชนเหล่านี้ และจะมีการสอดส่องการโฆษณาเกินจริงของโรงเรียนกวดวิชาเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย

ที่ผ่านมาสื่อมวลชนท้องถิ่นของเกาหลีใต้เคยรายงานข่าวว่า มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่างอุตสาหกรรมโรงเรียนกวดวิชากับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยความสัมพันธ์นี้นำไปสู่การออกข้อสอบเอนทรานซ์ที่ทำให้ต้องมีการ “ติว” หนังสือนอกโรงเรียนเท่านั้นจึงจะทำข้อสอบได้

รายงานจากกระทรวงศึกษาธิการและสำนักสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้ระบุว่า เมื่อปี 2022 ชาวเกาหลีใต้ทั้งประเทศลงทุนกับการส่งลูกไปเรียนกวดวิชาคิดเป็นเม็ดเงินรวมกันกว่า 26 ล้านล้านวอน (ประมาณ 7 แสนล้านบาท) ทั้งที่ประชากรวัยเรียนในประเทศกำลังลดจำนวนลง โดยนักเรียนเกาหลีใต้เกือบ 8 ใน 10 คนลงเรียนในโรงเรียนกวดวิชาที่เรียกกันว่า “ฮากวอน”

การที่ต้องพึ่งพิงการศึกษานอกโรงเรียนเช่นนี้ทำให้เกาหลีใต้มีค่าใช้จ่ายการเลี้ยงดูบุตรที่สูงที่สุดในโลก และมีอัตราเจริญพันธุ์ต่ำติดอันดับโลกเช่นกัน

การที่ต้องส่งลูกเข้า “ฮากวอน” ก็เพราะข้อสอบเอนทรานซ์ที่มี “คำถามฆาตกร” คำถามที่ยากและไม่มีสอนในหลักสูตรปกติเช่นนี้ เปิดช่องให้โรงเรียนกวดวิชาทำหน้าที่สอนวิธีแก้โจทย์เหล่านี้แทน

สังคมเกาหลีใต้มองว่าคำถามที่ยากจะช่วยให้มหาวิทยาลัยได้คัดเลือกนักเรียนที่เก่งที่สุดภายใต้สภาพแวดล้อมที่แข่งขันสูง แต่ประธานาธิบดียุนกล่าวว่า การออกข้อสอบลักษณะนี้ “ไม่ยุติธรรม” เพราะไม่ใช่ทุกครอบครัวที่มีกำลังทรัพย์พอส่งลูกไปเรียนพิเศษนอกเวลาได้

Photo : Xinhua

ด้าน “ชิน โซยัง” นักกิจกรรมรณรงค์จากกลุ่ม The World Without Worry About Private Education (โลกที่ไม่ต้องกังวลเรื่องเรียนกวดวิชา) กล่าวว่า แผนของรัฐบาลอาจจะยังไม่พอที่จะหยุดการแข่งขันด้านการศึกษาได้

“รัฐบาลจำเป็นต้องพัฒนาแผนที่ใหญ่ขึ้นกว่านี้ ตอบคำถามว่าจะทำอย่างไรเพื่อลดการแข่งขันเกินสมควรในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดไม่กี่แห่งของประเทศ” ชินกล่าว

เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีก่อนนี้ มีนักเรียนและ ‘เด็กซิ่ว’ รวม 450,000 คนร่วมเข้าสอบเอนทรานซ์ในเกาหลีใต้ การจัดสอบที่มีขึ้นตลอดทั้งวันนั้นสำคัญกับคนเกาหลีใต้มาก จนมีการห้ามเครื่องบินขึ้นบินตลอดชั่วโมงที่ผู้เข้าสอบเข้าสู่ช่วงทำโจทย์ข้อสอบการฟังภาษาอังกฤษ

หลังรัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศการกวาดล้างนี้ออกไป ทำให้ราคาหุ้นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกโรงเรียนของเกาหลีใต้ตกต่ำลงเล็กน้อย โดยมีบริษัทเกาหลีใต้ที่เกี่ยวข้อง เช่น Woongjin Thinkbig, MegaStudyEdu, Multicampus Corp. เป็นต้น

Source

]]>
1435553
สายการบิน “เกาหลีใต้” หยุดบินบางเส้นทางเข้าออก “จีน” หลังการเมืองระหว่างประเทศคุกรุ่น https://positioningmag.com/1435234 Sat, 24 Jun 2023 10:00:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1435234 สายการบินสัญชาติ “เกาหลีใต้” 2 ราย คือ Korean Air และ Asiana ประกาศหยุดบินบางเส้นทางเข้าออก “จีน” หลังจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคุกรุ่นมาตั้งแต่เดือนเมษายน จากกรณีที่ประธานาธิบดี “ยุน ซอกยอล” แสดงความเห็นถึงสถานการณ์ “ไต้หวัน”

สำนักข่าว Yonhap News Agency ของเกาหลีใต้ รายงานจากแหล่งข่าววงในอุตสาหกรรมการบินว่า Korean Air จะหยุดทำการบินในเส้นทาง สนามบินกิมโป โซล – ปักกิ่ง ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึง 28 ตุลาคมนี้ รวมถึงจะหยุดบินเส้นทาง สนามบินกิมโป โซล – เซียะเหมิน ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม ถึง 28 ตุลาคมนี้ด้วย

รายงานยังระบุถึงอีกสายการบินที่จะหยุดบินเช่นกันคือ Asiana Airlines จะหยุดบินในเส้นทาง สนามบินกิมโป โซล – ปักกิ่ง ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคมนี้ และหยุดบินเส้นทาง สนามบินอินชอน โซล – เสิ่นเจิ้น ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม

ก่อนหน้านี้ Asiana เริ่มหยุดบินเส้นทาง สนามบินอินชอน โซล – ซีอาน มาตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2023 แล้ว ทั้งนี้ สำนักข่าว Yonhap รายงานว่า ทุกเส้นทางบินจะกลับมาเปิดทำการอีกครั้งในวันที่ 28 ตุลาคม 2023

เกาหลีใต้
ยุน ซอกยอล ประธานาธิบดีแห่งเกาหลีใต้ (Photo by Chip Somodevilla/Getty Images)

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีนกับเกาหลีใต้นั้นเริ่มความคุกรุ่นรอบใหม่มาตั้งแต่เดือนเมษายน 2023 โดยเรื่องเริ่มต้นขึ้นเนื่องจากประธานาธิบดี “ยุน ซอกยอล” แห่งเกาหลีใต้ไปให้สัมภาษณ์กับสื่อสำนักข่าว Reuters ถึงสถานการณ์ใน “ไต้หวัน” โดยเขากล่าวว่า ความตึงเครียดในไต้หวันทวีเพิ่มขึ้นเพราะจีนพยายามที่จะใช้กำลังเปลี่ยนแปลงสถานะของไต้หวัน และเขาไม่เห็นด้วยกับท่าทีของจีน

ประธานาธิบดียุนยังเปรียบเทียบด้วยว่า สถานการณ์ของไต้หวันกับจีนนั้นเหมือนกับปัญหาระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้

เรื่องนี้ทำให้ฝั่งรัฐบาลจีนไม่พอใจอย่างมาก โดยกระทรวงการต่างประเทศของจีนตอบโต้ว่าประธานาธิบดียุนกำลังก้าวก่ายประเทศจีนด้วยวาจา และยังไม่เคารพนโยบาย ‘จีนเดียว’ ที่หมายถึงการให้การยอมรับว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน รวมถึงการเปรียบเทียบสถานะของไต้หวันกับปัญหาคาบสมุทรเกาหลีนั้นไม่ถูกต้อง

เกาหลีใต้โต้กลับเรื่องนี้ทันทีเช่นกัน โดยเรียกเอกอัครราชทูตจีนประจำเกาหลีใต้มาพบเพื่อประท้วงว่า “จีนไร้มารยาททางการทูตอย่างร้ายแรง”

การโต้ตอบทางการทูตของสองประเทศไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะความสัมพันธ์ของจีนกับเกาหลีใต้ตกต่ำลงมาตั้งแต่ปี 2017 หลังจากสหรัฐฯ ประกาศตัดสินใจติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธในบริเวณพิกัดตำแหน่งสูง หรือ Terminal High Altitude Area Defense: THAAD โดยจะเข้าประจำการที่กองบัญชาการทหารสหรัฐฯ ประจำเกาหลี ซึ่งฝั่งรัฐบาลจีนรวมถึงรัสเซียไม่พึงพอใจอย่างมาก

Source

]]>
1435234
‘เกาหลีใต้’ สั่งปรับ ‘Google’ กว่า 1,100 ล้าน ข้อหากีดกันผู้พัฒนาไม่ให้ปล่อยเกมบนแพลตฟอร์มคู่แข่ง https://positioningmag.com/1427256 Wed, 12 Apr 2023 01:52:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427256 คณะกรรมาธิการการค้าที่เป็นธรรมของเกาหลีใต้ (KFTC) ได้ปรับ Google บริษัทลูกของ Alphabet เป็นจำนวน 42.1 พันล้านวอน (ประมาณ 1,100 ล้านบาท) เนื่องจากบล็อกผู้พัฒนาไม่ให้ปล่อยเกมมือถือบนแพลตฟอร์มคู่แข่งของเกาหลีที่ชื่อว่า One Store

Google ได้ถูกกล่าวหาว่า บริษัทได้กำหนดให้บริษัทผู้ผลิตวิดีโอเกมของเกาหลีใต้เผยแพร่เกมใหม่ได้เฉพาะบน Play Store ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2016 จนถึงเมษายน 2018 ซึ่งหมายความว่า Google ห้ามผู้ผลิตเกมท้องถิ่นไม่ให้เผยแพร่เนื้อหาของตัวเองบนแพลตฟอร์ม One Store ซึ่งเป็นคู่แข่ง เพื่อแลกกับการขายและการสนับสนุนสำหรับการขยายตัวทั่วโลก

ในปี 2018 ส่วนแบ่งการตลาดของ Google ในตลาดแอปมือถือ Android เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 90-95% จากปี 2016 มีส่วนแบ่งประมาณ 80-85% ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดของ One Store ในปี 2018 คิดเป็นประมาณ 5-10% ซึ่งลดลงจาก 15-20% ในปี 2016 ตามข้อมูลที่รวบรวมโดย KFTC

“ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพื่อให้แน่ใจว่ามีการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาดแอป โดยป้องกันไม่ให้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ใช้ตำแหน่งที่มีอำนาจเหนือกว่าในทางที่ผิด” หน่วยงานต่อต้านการผูกขาดของเกาหลี กล่าว

Google Play และ One Store สร้างยอดขายในประเทศมากกว่า 90% จากการขายเกม ขณะที่นโยบายของ Google ส่งผลกระทบต่อบริษัทเกม ตั้งแต่ผู้ผลิตวิดีโอเกมรายใหญ่ เช่น NCSoft, Netmarble และ Nexon ไปจนถึงผู้พัฒนาเกมขนาดเล็กและขนาดกลาง

อย่างไรก็ตาม Google มั่นใจว่าไม่ได้ละเมิดกฎหมายของเกาหลีใต้ และอ้างว่ามีส่วนสนับสนุนการเติบโตและการขยายตัวทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จของนักพัฒนาเกมมือถือเกาหลีที่เปิดตัวเกมบน Play Store ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

“เราได้ให้ความร่วมมืออย่างขยันขันแข็งกับกระบวนการสอบสวนและพิจารณาของ KFTC ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และเชื่อว่าไม่มีการละเมิดกฎหมาย Google ลงทุนจำนวนมากเพื่อความสำเร็จของนักพัฒนา และเราไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปของ KFTC” Google กล่าวในแถลงการณ์ทางอีเมล

ย้อนไปในปี 2021 KFTC ได้สั่งปรับ Google เป็นเงิน 177 ล้านดอลลาร์ จากการใช้อำนาจเหนือตลาดของตนในทางที่ผิดในตลาดระบบปฏิบัติการ Android (OS)

สำหรับ One Store นั้น ถือเป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน 2016 โดยบริษัทโทรคมนาคมสามแห่งของเกาหลีใต้ ได้แก่ SK Telecom, KT และ LG Uplus และ Naver บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่

Source

]]>
1427256
‘เกาหลีใต้’ ขึ้นแท่นประเทศที่ใช้เงินกับ ‘แบรนด์เนม’ มากที่สุดในโลก https://positioningmag.com/1415463 Fri, 13 Jan 2023 07:52:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1415463 ถ้าใครเป็นแฟนซีรีส์เกาหลี น่าจะเห็นเสื้อผ้าหน้าผมเครื่องแต่งกายของตัวละครโดยเฉพาะพระนางที่เป๊ะปัง แถมยังใช้แบรนด์เนมทั้งตัว ซึ่งภาพลักษณ์ในซีรีส์นั้นก็ไม่ได้เกินจริงเท่าไหร่นัก เพราะจากผลสำรวจพบว่าชาวเกาหลีนั้นใช้เงินกับสินค้าหรู ๆ มากที่สุดในโลก

จากการประเมินของ มอร์แกน สแตนลีย์ เปิดเผยว่า ชาวเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีการใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยเฉลี่ยต่อหัวมากที่สุดในโลก โดยในปี 2022 ที่ผ่านมาการใช้จ่ายในสินค้าหรูเติบโตขึ้นถึง 24% เป็น 1.68 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.6 แสนล้านบาท) หรือคิดเป็น 325 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน (ราว 10,000 บาท) นั่นมากกว่าค่าใช้จ่าย 55 ดอลลาร์สหรัฐ และ 280 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน ของชาวจีนและชาวอเมริกันตามลำดับ

การเติบโตของแบรนด์หรูในเกาหลีใต้นั้น เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ในช่วงไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมา โดยนักวิเคราะห์ของ Morgan Stanley อธิบายว่า ความต้องการสินค้าฟุ่มเฟือยของผู้ซื้อชาวเกาหลีใต้นั้นได้รับแรงหนุนจากทั้ง กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น โดยรายได้ต่อครัวเรือนของคนเกาหลีเพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับปี 2021 และ 76% ของรายได้ต่อครัวเรือนมาจากมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาสูงขึ้นนับตั้งแต่ปี 2020

อีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเกาหลีใช้เงินซื้อแบรนด์เนมก็คือ การแสดงถึงสถานะทางสังคม โดยในเกาหลีใต้นั้น การแสดงความมั่งคั่งถือเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยจากการสำรวจของ McKinsey พบว่ามีเพียง 22% ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวเกาหลีเท่านั้นที่คิดว่า การอวดรวยโดยใช้แบรนด์เนมนั้นนิสัยที่ไม่ดี เทียบกับ 45% ของญี่ปุ่นและ 38% ของจีน

“คนดังในเกาหลีเกือบทั้งหมดต่างก็เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของแบรนด์หรู เพื่อกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภค เช่น Fendi ที่ใช้ Lee Min-Ho, Chanel ที่ใช้ G-Dragon และ Dior ที่มี Rose แห่งวง Blackpink เป็นพรีเซ็นเตอร์ ซึ่งก็ช่วยให้ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า”

สำหรับภาพรวมของสินค้าลักชัวรี่ทั่วโลกในปี 2023 นี้ McKinsey คาดการณ์ว่า จะเติบโตประมาณ 5-10% โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการจากสหรัฐฯ และจีน แม้ว่าปัจจุบัน ผู้บริโภคจีนจะใช้จ่ายกับสินค้าหรูน้อยกว่าเกาหลีใต้ถึง 6 เท่า แต่ตลาดเกาหลีใต้กับจีนนั้นมีความใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะการใช้สินค้าฟุ่มเฟือยเป็นเครื่องหมายแสดงสถานะ

“เราคาดว่าการเติบโตจะกลับมาหลังจากจีนฟื้นตัวจากโควิดในปัจจุบัน ซึ่งน่าจะได้เห็นภายในไตรมาสแรก”

Source

]]>
1415463
วิกฤตกิมจิ! “ผักกาดขาว” ในเกาหลีใต้ขาดแคลนเพราะอากาศเปลี่ยน สินค้าจีนดัมพ์ราคาตีตลาด https://positioningmag.com/1402766 Fri, 30 Sep 2022 17:37:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1402766 ภูมิอากาศป่วนจนเกิดฝนตกหนักผิดปกติในเกาหลี ทำให้ผลผลิต “ผักกาดขาว” ขาดแคลน ราคาพุ่งสูงจนเกิด “วิกฤตกิมจิ” ผู้ผลิตสู้ราคาไม่ไหว ซ้ำยังถูกกิมจิจีนราคาถูกตีตลาด รัฐบาลเกาหลีเปิดนโยบายแก้ปัญหาด้วยการสร้างคลังผักกาดขาวขนาดยักษ์

รัฐบาลเกาหลีใต้กำลังเร่งสร้างคลังสต็อกผักกาดขาว 2 แห่ง พื้นที่แห่งละ 9,900 ตารางเมตร หรือรวมแล้วเทียบเท่ากับสนามฟุตบอล 3 แห่ง ซึ่งสามารถเก็บสต็อกผักกาดขาวสดได้วันละ 10,000 ตัน และเก็บกิมจิผักกาดดองได้วันละ 50 ตัน

การก่อสร้างคลังเก็บผักกาดขาวนี้จะใช้งบประมาณ 58,000 ล้านวอน (ประมาณ 1,500 ล้านบาท) และจะสร้างเสร็จภายในปี 2025

สำหรับผู้ผลิตกิมจิขณะนี้ต้องผจญปัญหาขาดแคลนผักกาดขาว และราคาผักกาดขาวสูงเกินไป โดยผักกาดขาวถือเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ทำกิมจิ แม้จะใช้ผักอื่นแทนได้ แต่ความนิยม 3 ใน 4 ของกิมจิเกาหลีจะทำมาจากผักชนิดนี้

กิมจิ ขาดแคลน
กิมจิ เป็นเครื่องเคียงที่ต้องมีในอาหารเกือบทุกมื้อของคนเกาหลี (Photo: makafood / Pexels)

ปัญหาขาดแคลนผักกาดขาวขณะนี้เกิดจากภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงในเกาหลีใต้ ปีนี้เกิดฝนตกหนักผิดปกติจนทำลายเรือกสวนที่ใช้ปลูกผักกาดขาว เมื่อซัพพลายขาด ราคาย่อมพุ่งขึ้นตามกลไกตลาด แถมปีนี้ยังมีปัญหาอัตราเงินเฟ้อเข้ามาซ้ำเติม ทำให้ผักกาดขาวในเกาหลีใต้นั้นราคาทะยานเป็นเท่าตัวภายในเวลาไม่ถึง 3 เดือน

“ปกติเราจะซื้อผักกาดขาวไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนเพื่อเก็บสต็อกไว้ใช้ในช่วงที่ราคาผักกาดขาวสูงขึ้น แต่ปีนี้สต็อกเราไม่เหลือแล้ว” อันอิกจิน ประธานบริหารบริษัททำกิมจิ ชองวัน ออกานิก กล่าวถึงสต็อกที่หายไปในปีนี้

เมื่อวัตถุดิบแพงขึ้น ทำให้บริษัทของเขาก็ต้องขึ้นราคากิมจิเช่นกัน โดยปัจจุบันขายในราคากิโลกรัมละ 5,000 วอน (ประมาณ 130 บาท)

ถึงแม้ราคาจะปรับขึ้น แต่ดีมานด์ก็ยังเพิ่มขึ้นอยู่ดี เพราะผู้บริโภคมองว่าการซื้อวัตถุดิบสดมาหมักกิมจิเองกลับแพงกว่า ทำให้ยอดขายกิมจิสำเร็จรูปสูงขึ้น ข้อมูลจาก Hanaro Mart เชนซูเปอร์มาร์เก็ตเกาหลีพบว่ายอดขายกิมจิเพิ่มขึ้น 20% เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เทียบกับปีก่อนหน้า

 

กิมจิจีนพยายามตีตลาดมาตลอด

อุตสาหกรรมกิมจิของเกาหลีใต้อยู่ในช่วงขาลงมาระยะหนึ่งแล้ว เพราะการนำเข้ากิมจิจากจีนซึ่งมักจะทำราคาเหลือเพียง 1 ใน 3 ของราคากิมจิเกาหลี ล่าสุดกิมจิจีนสามารถครองตลาดเกาหลีใต้ได้ถึง 40% แล้ว

วิกฤตนี้ทำให้ผู้ผลิตกิมจิเกาหลีต้องปิดกิจการ แค่เพียงปีที่แล้ว ผู้ผลิตกิมจิเกาหลีปิดตัวทั้งแบบถาวร ชั่วคราว และที่เปลี่ยนไปผลิตสินค้าอื่น รวมกันมากกว่า 1,000 ราย (ข้อมูลจาก Korea Rating & Data)

ยิ่งเกิดปัญหาผักกาดขาวในเกาหลี ยิ่งทำให้อุตสาหกรรมย่ำแย่ลง ทำให้ผู้ผลิตกิมจิหวังว่ารัฐบาลจะช่วยปกป้องผู้ผลิตในเกาหลีไม่ให้สูญเสียตลาดไปมากกว่านี้

นั่นทำให้รัฐบาลมีโครงการสร้างคลังสต็อกผักกาดขาว โดยหวังว่าจะทำให้ผู้ผลิตกิมจิเกาหลีแข็งแรงขึ้นในระดับโลก และถ้าหากคลังสินค้าสองแห่งแรกประสบความสำเร็จ ก็น่าจะมีการสร้างคลังแบบนี้เพิ่มอีก

แม้ในประเทศจะถูกจีนตีตลาด แต่การส่งออกกิมจิเกาหลีนั้นกลับเพิ่มขึ้น โดยปี 2021 ยอดส่งออกกิมจิเพิ่มขึ้น 10.7% มูลค่าทะลุ 160 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6,000 ล้านบาท) ถือเป็นสถิติประวัติการณ์ ยอดส่งออกเหล่านี้เกิดจากการใช้ ‘soft power’ ของเกาหลี ผู้คนทั่วโลกเกิดกระแสเกาหลีฟีเวอร์เพราะซีรีส์เรื่อง Squid Game ที่ฉายทาง Netflix และวงศิลปิน K-Pop มากมายที่ไปสู่ตลาดโลกได้สำเร็จ ทำให้อาหารเกาหลีกลายเป็นที่ต้องการมากยิ่งขึ้น

Source

]]>
1402766