เครือซีพี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 15 Feb 2021 08:05:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘เทสโก้ โลตัส’ ปรับเเบรนด์ เปลี่ยนโลโก้ใหม่เป็น Lotus’s ใช้สีโทนพาสเทล หลังกลับสู่อ้อมอก ‘ซีพี’ https://positioningmag.com/1319272 Mon, 15 Feb 2021 05:33:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319272 เทสโก้ โลตัสประเทศไทย ปรับเเบรนด์เปลี่ยนโลโก้ใหม่เป็น ‘Lotus’s’ ตัดคำว่า Tesco ออกพร้อมใช้สีโทนพาสเทลให้ดูเข้าถึงง่ายขึ้น หลังกลับมาอยู่ในอ้อมอกอาณาจักรซีพี

ช่วงปีปลายที่ผ่านมาซีพี ออลล์ได้เข้าซื้อกิจการเทสโก้ โลตัสในไทยและมาเลเซีย เปลี่ยนมือเจ้าของจากอังกฤษกลับมาสู่มือคนไทยอีกครั้ง ชนะดีลประมูลไปด้วยมูลค่ากว่า 3.3 เเสนล้านบาท 

ความเคลื่อนไหวล่าสุดกับการเปลี่ยนเเปลงภาพลักษณ์ครั้งใหญ่ โดยวันนี้เทสโก้ โลตัสเปลี่ยนโลโก้ใหม่เป็น Lotus’s ตัดคำว่า Tesco ออกเเละเติม ’s เข้าไป โดยการเพิ่มตัว s มาอีก 1 ตัวนั้น มีความหมายแทนคำว่า SMART (Simple, Motivate, Agile, Responsible, transformative เเละ Sustainability) เป็นยุคใหม่ของโลตัสจะผสมผสานระหว่างค้าปลีก ‘ออฟไลน์’เเละ ‘ออนไลน์’ นำสินค้าชุมชนขึ้นมาอยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัล

พร้อมมีการปรับใช้สีโทนพาสเทลให้ดูทันสมัยเเละดูเข้าถึงง่ายขึ้น เเละเปลี่ยนสโลเเกนจาก ‘เราใส่ใจคุณ’ เป็น ‘รู้สึกดีดี ทุกวัน ที่โลตัส’

ด้านเสียงตอบรับจากผู้บริโภคก็มีหลากหลาย ทั้งบอกว่าออกแบบมาได้น่ารักดี ดูเด็กลงและ friendly มากขึ้น ขณะที่บางคนก็เห็นว่าสีสันเเสบตาไป เเละเเบบเดิมดู Professional กว่า บางคนสงสัยว่า ‘Lotus’s’ ต้องอ่านออกเสียงอย่างไร ซึ่งก็มีคำคอบว่า Lotus’s จะยังคงอ่านออกเสียงว่าโลตัสเช่นเดิม

ทั้งนี้ หลังจากการควบรวมกิจการเทสโก้ โลตัสเสร็จสิ้น จะทำให้เครือซีพี ของตระกูลเจียวรนนท์ มีเครือข่ายธุรกิจค้าปลีกค้าส่งมากที่สุดในประเทศไทย

โดยมีร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่น 12,089 สาขา แม็คโคร 136 สาขา ซีพีเฟรชมาร์ท 400 สาขา ซูเปอร์มาร์เก็ต ซีพี เฟรช 1 สาขา เเละหากรวมกับเทสโก้ โลตัสที่มีอีก 2,046 สาขา จะทำให้เครือซีพีมีจำนวนสาขาร้านค้าปลีกรวมกันประมาณ 14,312 แห่งทั่วประเทศไทย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม :

 

 

]]>
1319272
‘เครือซีพี’ ทุ่มเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท เข้าถือหุ้น 15% ใน ‘ซิโนแวค’ บริษัทผลิตวัคซีนโควิด https://positioningmag.com/1313000 Tue, 05 Jan 2021 11:14:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313000 นิกเกอิ รายงานข่าวว่า บริษัท ‘ซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech)’ ของจีนระดมทุนมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์จากนักลงทุน เพื่อขยายกำลังผลิตวัคซีนโคโรนาแวค (CoronaVac)

นิกเกอิ ได้รายงานเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563 ว่า บริษัท ‘ซิโน ไบโอฟาร์มมาซูทิเคิล ลิมิเต็ด’ (Sino Biopharmaceutical Limited) บริษัทจดทะเบียนในฮ่องกง ซึ่งเป็นบริษัทในการควบคุมของ ‘ซีพี ฟาร์มาซูติเคิล กรุ๊ป’ (CP Pharmaceutical Group) ได้ทุ่มเงิน 515 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 15,450 ล้านบาท) แลกกับการถือหุ้น 15% ในบริษัท ‘ซิโนแวค ไลฟ์ ไซแอนซ์’ (Sinovac Life Sciences) ซึ่งเป็นหน่วยที่รับผิดชอบการผลิตวัคซีน ‘โคโรนาแวค’ (CoronaVac) หรือวัคซีนไวรัส COVID-19 ในเครือบริษัท ‘ซิโนแวค ไบโอเทค’

รายงานข่าวระบุว่า ก่อนหน้านี้กองทุนของจีน Advantech Capital และ Vivo Capital ของสหรัฐฯ ก็ได้ถือหุ้นของซิโนไบโอฟาร์ม (Sino Biopharm) บริษัทละ 6.3%

“เรามีความก้าวหน้าอย่างมากในการพัฒนาโคโรนาแวค และจากการระดมทุนแล้ว ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ใหม่นี้กับซิโน ไบโอฟาร์มมา ซูทิเคิล ลิมิเต็ด ยังช่วยให้เราสามารถปรับปรุงความสามารถในการขายวัคซีน ขยายตลาดในเอเชียพัฒนาและเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ และที่สำคัญที่สุดคือเร่งความพยายามในการช่วยต่อสู้กับโรคระบาดทั่วโลก” หยาน เหว่ยตง หยิน ประธานกรรมการประธานและผู้บริหารสูงสุดของซิโนแวค กล่าว

(Photo by Andressa Anholete/Getty Images)

ในแถลงการณ์ ซิโนไบโอฟาร์มกล่าวว่า ได้ลงทุนในซิโนแวคเพื่อเร่งการผลิตวัคซีนจำนวนมาก แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในการต่อสู้กับการแพร่ระบาด และขยายจากการรักษาโรคไปสู่ยาป้องกันโรค

ทั้งนี้ ซีพี กรุ๊ป (CP Group) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของซีพีฟาร์มา (CP Pharma) เป็นหนึ่งในบริษัทต่างชาติกลุ่มแรกที่เข้าไปลงทุนในประเทศจีน และปัจจุบันมีความสนใจตั้งแต่อาหารไปจนถึงการประกันภัย

Source

]]>
1313000
CPF ปรับพอร์ตรายได้ 3 ธุรกิจเท่ากัน เทน้ำหนักลงทุน “อาหาร” ทั้งซื้อกิจการ-สร้างแบรนด์เอง 5 ปีรายได้ 8 แสนล้าน https://positioningmag.com/1237647 Thu, 04 Jul 2019 13:33:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1237647 ปัจจุบัน CPF ถือเป็นบริษัทธุรกิจอาหารใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และติดอันดับ 1,000 ของโลก หลังลงทุนธุรกิจอาหารสัตว์ (Feed) และธุรกิจเลี้ยงสัตว์ (Farm) สร้างรายได้หลักกว่า 80% แผนลงทุน 5 ปีนี้โฟกัสธุรกิจอาหาร (Food) เพื่อกระจายพอร์ตโฟลิโอให้เท่ากันทั้ง 3 เสาหลัก พร้อมสานวิสัยทัศน์ ครัวของโลก

ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2562 กล่าวว่า แผนธุรกิจ 5 ปี (2562 – 2566) จะโฟกัสการขยายธุรกิจอาหาร (Food) มากขึ้น ครอบคลุมการผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป โออีเอ็ม อาหารปรุงสุกและอาหารพร้อมรับประทาน ปัจจุบันธุรกิจอาหารคิดเป็นสัดส่วนรายได้ 17% ของซีพีเอฟ

ภายใน 5 ปีนี้ ธุรกิจอาหารจะขยับขึ้นมาเป็น 1 ใน 3 ของรายได้ เป็นการปรับพอร์ตให้ทั้ง 3 ธุรกิจหลักเท่ากัน จากปัจจุบันธุรกิจอาหารสัตว์ 42% และธุรกิจเลี้ยงสัตว์ 41%

เครือซีพีอายุเกือบ 100 ปี เริ่มต้นจากธุรกิจต้นน้ำ อาหารสัตว์ และธุรกิจเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันขยายครอบคลุมทุกด้านแล้วทั้งสัตว์บกและทะเล ด้วยเป้าหมาย “ครัวของโลก” จึงต้องมุ่งขยายการลงทุนธุรกิจอาหารมากขึ้น ซึ่งจะมีทั้งการซื้อกิจการ (M&A) การร่วมทุน และการสร้างแบรนด์เอง การลงทุนธุรกิจอาหารที่เป็นธุรกิจปลายน้ำ จะช่วยสร้างมูลค่าและทำ “กำไร” ได้ดีกว่าธุรกิจอาหารสัตว์และเลี้ยงสัตว์

ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ

โฟกัสธุรกิจอาหารตามเทรนด์โลก

กลุ่มธุรกิจอาหารปัจจุบันมีทั้งการผลิต แปรรูป โออีเอ็มให้กับคู่ค้าต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น เคเอฟซี ที่ผลิตไก่สดส่งให้ 10 ประเทศ เช่นเดียวกับในไทยที่มีทั้งแปรรูปและพร้อมรับประทาน ตัวอย่างล่าสุด ไก่เบญจา แบรนด์ยู-ฟาร์ม ซึ่งเป็นนวัตกรรมอาหารสุขภาพ เริ่มจากเนื้อไก่แปรรูป ปลายปีนี้จะเปิดตัวสินค้าพร้อมทาน ตอบโจทย์เทรนด์สะดวกซื้อ

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสินค้าในกลุ่ม Smart เช่น อาหารเพื่อผู้ป่วยและผู้สูงวัยอย่าง Smart Soup, อาหารมังสวิรัติ Smart Meal และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ Smart Drink

สำหรับเทรนด์ธุรกิจอาหารระดับโลกปัจจุบันมี 9 เทรนด์ คือ อาหารปลอดภัย แหล่งวัตถุดิบที่ยั่งยืน ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจหมุนเวียน บริการด้านฟู้ดเดลิเวอรี่ อาหารเพื่อสุขภาพ ระบบการผลิตอัตโนมัติ อาหารเฉพาะบุคคล เช่น สูงวัย ผู้ป่วย วัตถุดิบและส่วนผสมจากธรรมชาติ และอาหารพรีเมียม แนวทางธุรกิจอาหารของซีพีเอฟก็จะสอดคล้องกับเทรนด์ตลาดโลก 

5 ปีรายได้ 8 แสนล้านบาท

ปีที่ผ่านมา CPF มีรายได้ 5.67 แสนล้านบาท กำไร 15,531 ล้านบาท สัดส่วนรายได้มาจากตลาดในประเทศและส่งออก 33% และรายได้จากต่างประเทศที่ซีพีเอฟเข้าไปลงทุน 16 ประเทศ สัดส่วน 67%

แผนธุรกิจ 5 ปีนี้จะใช้เงินลงทุนปีละ 30,000 ล้านบาทต่อเนื่องทุกปี เพื่อเป้าหมายเติบโตปีละ 10% โดยวางเป้าหมาย 5 ปีจากนี้รายได้แตะ 8 แสนล้านบาท โดยสัดส่วน 75% มาจากธุรกิจต่างประเทศ และอีก 25% ธุรกิจในไทยและส่งออก

“ซีพีเอฟ จะใช้โมเดลธุรกิจไทยที่มี 3 ธุรกิจเข้าไปลงทุนในต่างประเทศทั้ง 16 ประเทศ ปีที่ผ่านมาธุรกิจไทยมีรายได้ 1.5 แสนล้านบาท นั่นหมายถึงการทำให้ทุกประเทศมีรายได้เหมือนไทย ปัจจุบันจีนทำรายได้แสนล้านบาทแล้ว เวียดนาม อยู่ที่ 6 หมื่นล้านบาท”

ลงทุนนวัตกรรม-เทคโนโลยี

นอกจากนี้กลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรยุค 4.0 ได้นำแนวคิดนวัตกรรมเข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและทุกผลิตภัณฑ์ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) คลาวด์ (Cloud Computing) บิ๊กดาต้า ไอโอที (Internet of Thing : IOT) ตลอดจนระบบอัตโนมัติ มาใช้ในกระบวนการบริหารจัดการ

ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ โรงงานอัจฉริยะ ระบบการตลาดดิจิทัลและช่องทางการจำหน่ายสินค้าอีคอมเมิร์ซ เพิ่มทั้งประสิทธิภาพการทำธุรกิจ และรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการบริโภค รวมทั้งลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา (R&D Center) โดยใช้งบลงทุนราว 1,000 – 2,000 ล้านบาท

“การลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อก้าวสู่องค์กร 4.0 เป็นสิ่งที่ต้องทำทุกด้าน ไม่สามารถทำเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งได้”

ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1237647
บทสรุปซีพี คว้า รถไฟ “ไฮสปีด” เชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 2 แสนล้าน https://positioningmag.com/1232091 Wed, 29 May 2019 10:13:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1232091 1232091 แอสเซนด์ มันนี่ บ.ร่วมทุนซีพี-แจ็ค หม่า แต่งตั้งธัญญพงศ์-มนสินี นั่ง CO-President ลุยขยายธุรกิจฟินเทค 6 ประเทศ https://positioningmag.com/1168956 Mon, 07 May 2018 15:00:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1168956 ถือเป็นฟินเทคอีกรายที่ต้องจับตา สำหรับบริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด ในเครือซีพี และแอนท์ ไฟแนนซ์ ที่ล่าสุดประกาศแต่งตั้ง 2 ผู้บริหารร่วม เพื่อผนึกกำลังขยายธุรกิจฟินเทคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ธัญญพงศ์ ธรรมาวรานุคุปต์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัทแอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ดูแลภาพรวมธุรกิจกลยุทธ์ขององค์กรและการพาณิชย์

มนสินี นาคปนันท์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ดูแลภาพรวมด้านปฏิบัติการรวมถึงด้านกฎหมายข้อกำหนดต่างๆ และนโยบายบริษัทภาพรวม

โดยผู้บริหารทั้งสองคนจะร่วมทำหน้าที่ขับเคลื่อนธุรกิจของแอส เซนด์มันนี่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด 6 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทยฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย กัมพูชา และเมียนมา ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป

ธัญญพงศ์ จบการศึกษาปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ (MBA) จาก University of Rochester สหรัฐอเมริกา คร่ำหวอดอยู่ในธุรกิจการเงินมากกว่า 15 ปี อาทิ บริษัท จีอี แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด ดูเครดิตการ์ด และสินเชื่อบ้าน ต่อมาย้ายมาที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด มหาชน, กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซีเอฟจี เซอร์วิส จำกัด เจ้าของแบรนด์ เงินติดล้อ เคยเป็น รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย ดูธุรกิจรายย่อยและเครือข่าย ก่อนจะมาร่วมงานในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ที่บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ในเดือนตุลาคม 2559

ส่วน มนสินี นาคปนันท์ ถือเป็นลูกหม้อของกลุ่มทรู จปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ เอกไฟฟ้าสื่อสาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท MBA, Massachusette Institute of Technology หรือ MIT

เริ่มงานที่บริษัท Intel Corporation สหรัฐอเมริกา และย้ายมา Lucent Technologies ที่สิงคโปร์ และบริษัท Openwave ที่ฮ่องกง ก่อนจะกลับมมาร่วมงาน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กลุ่มธุรกิจ SME Access Solution and Application Development) บุกเบิกเว็บอีคอมเมิร์ซ WeLoveShopping จากนั้นก็ขยับตามสายงานด้านดิจิทัล เป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ บริษัท ทรู ดิจิตอล คอนเท้นท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด และได้รับแต่งตั้งให้เป็น กรรมการผู้จัดการร่วม แอสเซนด์ มันนี่

สำหรับ แอสเซนด์ มันนี่ เดิมเป็นบริษัทในกลุ่มแอสเซนด์ กรุ๊ป ในเครือซีพี ต่อมาได้มีบริษัท แอนท์ ไฟแนนเชียล เจ้าของระบบชำระเงินอาลีเพย์ บริษัทภายใต้เครือข่ายของอาลีบาบา บิ๊กอีคอมเมิร์ซของจีน เข้ามาถือหุ้น เป้าหมายของทั้งคู่นอกจากจะได้ประโยชน์จากฐานลูกค้า และระบบร่วมกันแล้ว ยังจับมือกันขยายฐานธุรกิจฟินเทค ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บริการชำระเงิน จะใช้แบรนด์ ทรูมันนี่ ส่วนแอสเซนด์ นาโน ให้บริการสินเชื่อ บริษัทมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ แอสเซนด์ มันนี่ เปิดให้บริการใน 6 ประเทศ ประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา

แอสเซนด์ มันนี่ มุ่งเน้นให้บริการไปที่ลูกค้าสองกลุ่มหลัก 1) ลูกค้ากลุ่มดิจิทัลไลฟ์สไตล์ ด้วยบริการแอปพลิเคชั่นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ 2) ลูกค้ากลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน ด้วยเครือข่ายตัวแทน

บริการที่อยู่ภายใต้แอสเซนด์ มันนี่ ได้แก่ บริการชำระเงินออนไลน์ บริการโอนเงินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ บริการชำระค่าบริการต่างๆ บริการเติมเงิน บริการชำระเงินทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งบริการจ่ายเงินเดือน. 

]]>
1168956