เชนร้านสะดวกซื้อ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 11 Jan 2024 04:45:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 7-Eleven วางเป้ามีร้านสะดวกซื้อในเอเชียแตะระดับ 50,000 สาขาภายในปี 2026 จากปัจจัยชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น https://positioningmag.com/1458325 Thu, 11 Jan 2024 03:45:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458325 เซเว่น อีเลฟเว่น (7-Eleven) ได้ตั้งเป้ามีร้านสะดวกซื้อในเอเชียแตะระดับ 50,000 สาขาภายในปี 2026 นอกจากนี่ยังรวมถึงเชนร้านสะดวกซื้อจากญี่ปุ่นหลายแห่งที่มองถึงการขยายสาขาในประเทศต่างๆ ในเอเชีย จากปัจจัยชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น

Nikkei Asia รายงานข่าวว่า 7-Eleven เจ้าของเชนร้านสะดวกซื้อจากญี่ปุ่นได้ตั้งเป้าที่จะมีสาขาในทวีปเอเชียให้แตะระดับ 50,000 สาขา ขณะเดียวกันคู่แข่งร้านสะดวกซื้อรายอื่นจากญี่ปุ่นก็ตั้งเป้าที่จะเพิ่มสาขาให้ได้เช่นกัน แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของธุรกิจร้านสะดวกซื้อในทวีปเอเชีย

สื่อญี่ปุ่นรายงานว่า Seven & i Holdings เจ้าของ 7-Eleven ซึ่งถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่น ตั้งเป้าในปี 2026 จะมีสาขาในทวีปเอเชียเพิ่มขึ้นอีก 3,600 สาขา ซึ่งจะทำให้มีสาขารวมกันแตะระดับใกล้ 50,000 สาขา มากกว่าจำนวนสาขาในเดือนกุมภาพันธ์ของปี 2023 ซึ่งมีสาขาราวๆ 46,000 สาขาเท่านั้น

โดยโมเดลของ Seven & i Holdings เจ้าของ 7-Eleven คือการให้สิทธิ์แฟรนไชส์กับพันธมิตรในแต่ละประเทศ ปัจจุบันสาขา 7-Eleven นอกประเทศญี่ปุ่นที่มีจำนวนสาขาจำนวนมากกว่า 5,000 สาขา เช่น ไต้หวันที่มีสาขามากกว่า 6,600 สาขา หรือแม้แต่ในเกาหลีใต้ที่มีสาขามากกว่า 14,000 สาขา

สำหรับในประเทศไทย CPALL ซึ่งเป็นผู้รับสิทธิ์เปิดร้าน 7-Eleven ในไทย ลาว รวมถึงกัมพูชา ตัวเลขล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2023 ที่ผ่านมา บริษัทมีจำนวนร้านสะดวกซื้อเป็นจำนวนมากถึง 14,391 ในประเทศไทย 1 สาขาในประเทศลาว และ 72 สาขาในกัมพูชา

นอกจากนี้เชนร้านสะดวกซื้อคู่แข่งอย่าง ลอว์สัน (Lawson) ยังตั้งเป้าที่จะเปิดร้านในทวีปเอเชียอีกราวๆ 6,800 สาขาในจีนและอาเซียน ภายในปี 2026 ซึ่งจะทำให้มีสาขารวมกันราวๆ 13,000 สาขา

สื่อญี่ปุ่นรายดังกล่าวได้รวบรวมตัวเลขเชนร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่นนั้นได้มีจำนวนสาขานอกประเทศญี่ปุ่นรวมกันราวๆ 60,000 สาขา แซงหน้าสาขาในประเทศญี่ปุ่นซึ่งมากกว่า 50,000 สาขาไปแล้วเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เชนร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่นขยายสาขาในทวีปเอเชียเพิ่มมากขึ้นคืออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ที่หลายประเทศมี GDP เติบโตมากกว่า 5% ทำให้ชนชั้นกลางมีจำนวนมากขึ้น ส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันร้านสะดวกซื้อเองก็ถือว่าตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันด้วย

เชนร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่นได้เปลี่ยนสมรภูมิหลักจากประเทศญี่ปุ่นไปยังหลายประเทศในทวีปเอเชีย ซึ่งบริษัทเหล่านี้คาดหวังว่าจะสามารถเอาชนะคู่แข่งในแต่ละประเทศด้วยผลิตภัณฑ์และสินค้าคุณภาพ นอกจากนี้ยังรวมถึงบริการต่างๆ ที่ได้รับการฝึกฝนมาจากญี่ปุ่น

]]>
1458325
โควิดสะเทือนรายได้ ‘เซเว่น อีเลฟเว่น’ หาย 3 หมื่นล้าน ฉุดกำไร CPALL ปี’63 วูบ 27.9% https://positioningmag.com/1320464 Mon, 22 Feb 2021 13:08:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320464 พิษโรคระบาดทำคนใช้จ่ายน้อย ปี 2563 รายได้ร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น(7-Eleven) ลด 10% หายไป 3 หมื่นล้าน เหลือ 3 เเสนล้าน ฉุดกำไร CPALL ร่วง 27.9% ‘แม็คโครยังโตรายได้เพิ่ม วางเเผนปีนี้ทุ่มลงทุนร้านสะดวกซื้ออีก 1.2 หมื่นล้าน

วันนี้ (22 ..2564) เกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการเงิน บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถึงผลการดำเนินงานปี 2563 โดยบริษัทและบริษัทย่อย มีรายได้รวม 546,590 ล้านบาท ลดลง 4.3% จากปีก่อน โดยมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ 525,884 ล้านบาท ลดลง 4.5%

มีต้นทุนในการจัดจําหน่ายและค่าใช้จ่ายในการบริหาร 107,858 ล้านบาท ลดลง 3.3% มีกําไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จํานวน 19,262 ล้านบาท ลดลง 28.0% จากปีก่อน และมีกําไรสุทธิ 16,102 ล้านบาท ลดลง 27.9%

ปัจจัยหลักๆ มาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 กำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง เเละมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้จำนวนลูกค้าที่เข้ามาจับจ่ายใช้สอยลดลง รวมไปถึงการมีต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการถือปฎิบัติตาม TFRS16

สำหรับธุรกิจร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น’ (7-Eleven) ในปี 2563 มีรายได้รวม 300,705 ล้านบาท ลดลง 33,356 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10% มีกําไรขั้นต้นจํานวน 83,724 ล้านบาท ลดลง 10,103 ล้านบาท คิดเป็น 10.8% โดยมีสัดส่วนกําไรขั้นต้น 27.8% ลดลงจากปีก่อนหน้าที่อยู่ 28.1%

รายได้ของเซเว่น อีเลฟเว่นที่ลดลงดังกล่าว สาเหตุหลักๆ มาจากการขายสินค้าและบริการ ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ทําให้การประหยัดต่อขนาดที่ศูนย์กระจายสินค้าลดลง รวมถึงสัดส่วนของรายได้จากการขายสินค้าที่มีอัตรากําไรขั้นต้นสูงลดลง

ยอดขายเฉลี่ยของร้านเดิมในปี 2563 ลดลง 14.5% โดยมียอดขายเฉลี่ยต่อร้านต่อวันเท่ากับ 70,851 บาท มียอดซื้อต่อบิลโดยประมาณเท่ากับ 75 บาท ขณะที่จํานวนลูกค้าต่อสาขาต่อวันเฉลี่ย 949 คน

ด้านธุรกิจศูนย์จําหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชําระเงินสดและบริการตนเอง (ธุรกิจแม็คโคร) ยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตของรายได้ จากการขายและบริการไว้ได้ในระดับหนึ่งจากการเติบโตของธุรกิจแม็คโครประเทศไทย และสาขาในประเทศอินเดียและกัมพูชา

โดยแม็คโคร มีกําไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ก่อนหักรายการระหว่างกัน 8,051 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3% จากปีก่อน

ขณะที่ กลุ่มธุรกิจอื่นมีกําไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 4,543 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.4% จากปีก่อน เพราะมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีการบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม

ในปี 2564 CPALL มีแผนจะลงทุนเปิดร้านสะดวกซื้อสาขาใหม่ อีกราว 700 สาขา คาดว่าจะใช้งบลงทุนประมาณ 11,500 – 12,000 ล้านบาทเเบ่งเป็น

  • เปิดร้านสาขาใหม่ ลงทุนราว 3,800 – 4,000 ล้านบาท
  • ปรับปรุงร้านเดิม ลงทุนราว  2,400 – 2,500 ล้านบาท
  • โครงการใหม่, บริษัทย่อยและศูนย์กระจายสินค้า ลงทุนราว 4,000 – 4,100 ล้านบาท
  • สินทรัพย์ถาวร และระบบสารสนเทศ ลงทุนราว 1,300 – 1,400 ล้านบาท

ขณะเดียวกันก็จะวางเเผนเพิ่มตู้จําหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) เเละช่องทางขายทางออนไลน์ อย่าง ALL Online ผ่าน 7-Eleven.TH Application ShopAt24 เเละเเอปพลิเคชัน 7-delivery เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

 

ที่มา : SET 

]]>
1320464
ไวรัสฉุดรายได้ร้านสะดวกซื้อ CPALL เผย Q3/63 กำไรลดลง 28.8% งวด 9 เดือนกำไรวูบ 22.5% https://positioningmag.com/1305621 Thu, 12 Nov 2020 03:39:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305621 รายได้ร้านสะดวกซื้อวูบตามพิษไวรัส  CPALL เผย Q3/63 กำไร 3.99 พันล้านบาท ลดลงกว่า 28.8% เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่เเล้ว ส่วนงวด 9 เดือนกำไร 1.25 หมื่นล้านบาท ลดลง 22.5% ตั้งเป้าขยายสาขาให้ครบ 13,000 แห่งในปีหน้า เร่งนำกลยุทธ์ O2O ผสมออฟไลน์-ออนไลน์มาใช้ รับพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยน

เกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ Chief Financial Officer บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL เเจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ผลประกอบการงวดไตรมาส 3/63 มีกำไร 3,997.70 ล้านบาท หรือ 0.42 บาท/หุ้น ลดลง 28.8% จากงวดเดียวกันปีของ 2562 ที่มีกำไร 5,611.83 ล้านบาท หรือ 0.60 บาท/หุ้น

โดยในไตรมาส 3 ของปี 2563 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวม 135,500 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 3.8%

สาเหตุหลักๆ มาจากการปรับตัวลดลงของรายได้จากการขายและบริการของธุรกิจร้านสะดวกซื้อ จากผลกระทบต่อเนื่องจาก COVID-19 ส่งผลให้กำไรขั้นต้นจากการขายและบริการเท่ากับ 28,568 ล้านบาท ลดลง 7.9% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศที่ยังมีอยู่ ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามา

บริษัทชี้แจงอีกว่าผู้บริโภคมีความระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ส่วนหนึ่งจำกัดอยู่ในกลุ่มสินค้าจำเป็นเท่านั้น

นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบเชิงลบจากพายุฝนที่เกิดขึ้นทั่วประเทศในระหว่างไตรมาส ส่งผลให้จำนวนลูกค้าเข้าร้านลดลง ขณะที่รายได้จากการขายและบริการของธุรกิจค้าส่งแบบชำระเงินสดและบริการตนเองในประเทศ สามารถกลับมาเติบโตได้ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงรายได้จากการขายของธุรกิจในต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น

ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนแรกปี 2563 บริษัทและบริษัทย่อย มีรายได้รวมจำนวน 409,381 ล้านบาท ลดลง 3.2% จากช่วงเดียวกันของปืก่อน  ขณะที่กำไรสุทธิมีจำนวน 12,529.84 ล้านบาท หรือ 1.31 บาท/หุ้น ลดลง 22.5% จากงวดเดียวกันปีก่อนที่มีกำไร 16,175.63  ล้านบาท หรือ 1.72 บาท/หุ้น 

สำหรับเป้าหมายการขยายสาขา บริษัทได้กำหนดเป้าหมายใหม่ที่จะขยายสาขาให้ครบ 13,000 สาขา ภายในปี 2564

ช่วงไตรมาส 3 ปี 2563 ธุรกิจร้านสะดวกซื้อเปิดร้านสาขาใหม่รวมทั้งสิ้น 136 สาขาในทุกประเภท ทั้งร้านสาขาบริษัท ร้าน tore business partner (SBP) และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย มีอัตราเฉลี่ยคนเข้าต่อสาขาอยู่ที่ 917 คน โดยมียอดซื้อต่อบิล ประมาณ 75 บาท 

ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2563 บริษัทมีจำนวนร้านสาขาทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 12,225 สาขา เเบ่งเป็น

  • ร้านสาขาบริษัท 5,527 สาขา (คิดเป็น 45%)
  • ร้านเปิดใหม่สุทธิ 71 สาขาในไตรมาสนี้
  • ร้าน SBP และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต 6,698 สาขา (คิดเป็น 55%)
  • ร้านเปิดใหม่สุทธิ 65 สาขา ในไตรมาสนี้

โดยร้านสาขาส่วนใหญ่ ยังเป็นร้านที่ตั้งเป็นเอกเทศ ซึ่งคิดเป็น 85% ของสาขาทั้งหมด และส่วนที่เหลือเป็นร้านในสถานีบริการน้ำมัน ปตท.

บริษัทวางแผนที่จะลงทุนเปิดร้านสาขาใหม่อีกประมาณ 700 สาขาในปี 2563 ส่วนงบลงทุนประมาณ 11,500 – 12,000 ล้านบาท จะเป็นการเปิดร้านสาขาใหม่ 3,800 – 4,000 ล้านบาท การปรับปรุงร้านเดิม 2,400 – 2,500 ล้านบาท ส่วนโครงการใหม่, บริษัทย่อย และศูนย์กระจายสินค้าจะอยู่ที่ 4,000 – 4,100 ล้านบาท ด้านสินทรัพย์ถาวร และระบบสารสนเทศ 1,300 – 1,400 ล้านบาท

ด้านผลประกอบการของกลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ในไตรมาส 3 ปี 2563 มีกำไรก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้เท่ากับ 5,668 ล้านบาท ลดลง 26.2% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิเท่ากับ 3,842 ล้านบาท ลดลง 31.6% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ส่วนงวด 9 เดือนแรกของปี 2563 ในกลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อ มีรายได้รวมจำนวน 249,641 ล้านบาท ลดลง 7.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่กำไรสุทธิมีจำนวน 13,172 ล้านบาท ลดลง 22.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับเข้าถึงผู้บริโภค จะเน้นใช้กลยุทธ์ O2O (Online to Offline) ผสมผสานธุรกิจจากออนไลน์เเละออฟไลน์ ตามพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค โดยจะส่งเสริมบริการเดลิเวอรี่เเละการช้อปปิ้งได้ 24 ชั่วโมง 

 

 

ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

]]>
1305621
ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “อิ่มตัว” 7-Eleven ญี่ปุ่น พลิกเกมรุก “บริการส่งเร็วถึงบ้าน” ท้าเเข่ง Amazon https://positioningmag.com/1296561 Fri, 11 Sep 2020 08:35:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296561 ยุคนี้ค้าปลีกต้องขยับมาเดลิเวอรี่ยักษ์ใหญ่ร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นอย่าง 7-Eleven รุกหนักบริการส่งถึงบ้านเน้นรวดเร็วส่งถึงใน 30 นาที ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปช่วง COVID-19 เเข่งกับอีคอมเมิร์ซใหญ่อย่าง Amazon และ Rakuten ที่ครองตลาดอยู่

ช่วงที่ผ่านมา คนไทยอาจจะคุ้นกับบริการสั่งสินค้าจากร้าน 7-Eleven มาส่งถึงหน้าบ้านกันแล้ว เเต่ในญี่ปุ่นเพิ่งจะนำร่องให้บริการอย่างจริงจัง โดยในสิ้นปีนี้ 7-Eleven จะทดลองเปิดให้บริการนี้กับ 100 สาขาในกรุงโตเกียว ก่อนจะขยายไปให้ได้ 1,000 สาขา ภายในปี 2021

7-Eleven ญี่ปุ่นจะชูจุดเด่นด้วยสินค้าที่หลากหลาย เเละตั้งเป้าจะจัดส่งเร็วที่สุดใน 30 นาทีเพื่อท้าทายคู่เเข่งสำคัญอย่าง Amazon Japan

บริการจัดส่งถึงบ้าน ได้รับความนิยมขึ้นอย่างมากในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 โดย 7-Eleven เเละเครือข่ายร้านสะดวกซื้อต่างๆมองว่าเป็นหนทางใหม่ที่จะพาธุรกิจเติบโตต่อไปได้ ในสังคมที่มีผู้สูงอายุจำนวนมาก

ปัจจุบัน 7-Eleven มีสาขากว่า 50,000 ร้านค้าในญี่ปุ่น กำลังเผชิญความท้าทายจากยอดขายที่ลดลง ซึ่งสร้างความกังวลให้กับผู้ที่อยู่ในตลาดมูลค่า 12 ล้านล้านเยน (ราว 3.5 ล้านล้านบาท) ไม่น้อย

ท่ามกลางจุดอิ่มตัวของธุรกิจร้านสะดวกซื้อ เทรนด์การซื้อของออนไลน์กำลังก้าวเข้ามาครองใจชาวญี่ปุ่น โดยมีเจ้าใหญ่อีคอมเมิร์ซอย่าง Amazon และ Rakuten เป็นผู้ครองตลาด ทำให้ร้านสะดวกซื้อดั้งเดิมอย่าง 7-Eleven จึงต้องปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับเทคโนโลยีออนไลน์ เพื่อสู้กับคู่เเข่งในตลาดอีคอมเมิร์ซ

สำหรับบริการจัดส่งสินค้าถึงบ้านของ 7-Eleven จะเน้นไปที่การนำเสนอสินค้ากว่า 3,000 รายการ ทั้งอาหารและของใช้ประจำวันที่วางขายในสาขา ให้สามารถสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ได้ เบื้องต้นจะดำเนินการส่งให้ได้ในช่วง 2 ชั่วโมง อนาคตจะส่งให้เร็วที่สุดใน 30 นาที ซึ่งจะจัดส่งโดยบริษัทโลจิสติกส์ของ Seino Holdings

ปกติการสั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะส่งเร็วที่สุดในวันถัดไป และจะสิ้นสุดในเวลา 21.00 . นี่จึงเป็นโอกาสของ 7-Eleven จะสร้างความได้เปรียบกว่าอีคอมเมิร์ซเจ้าอื่น ด้วยการจัดส่งที่รวดเร็วกว่า ใกล้บ้านกว่า และรับคำสั่งซื้อจนถึงช่วงดึกได้

โดย 7-Eleven ได้เริ่มทดสอบบริการใหม่ดังกล่าวกับสาขา 39 แห่งในโตเกียว เปิดรับคำสั่งซื้อทางออนไลน์ในช่วงเวลา 09.00-22.00 . สำหรับการจัดส่งไปยังสถานที่ในรัศมี 500 เมตรจากร้านค้า เบื้องต้นจะคิดค่าธรรมเนียมการจัดส่งระหว่าง 110-550 เยน ตามช่วงเวลาของวัน เเละจะส่งฟรีสำหรับการสั่งซื้อตั้งแต่ 3,000 เยนขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขอื่นๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง 7-Eleven ก็ยังคงมีความท้าทายเรื่องการขาดเเคลนเเรงงานอย่างหนักด้วย

ด้านบรรดาร้านสะดวกซื้ออื่น ๆ ในญี่ปุ่นอย่าง Lawson ก็ได้เริ่มจัดส่งอาหารถึงบ้านโดยใช้บริการ Uber Eats เเล้ว

ที่ผ่านมา Seven & i Holdings ซึ่งเป็นบริษัท แม่ของ 7-Eleven มีความพยายามจะเปิดคำสั่งซื้อทางออนไลน์ที่ให้ลูกค้าสามารถไปรับของได้ที่สาขา เเต่บริการดังกล่าวไม่ได้รับความนิยมมากนัก จนกระทั่งเกิดวิกฤต COVID-19 ที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาซื้อของกินของใช้ จากร้านสะดวกซื้อทางออนไลน์มากขึ้นในชีวิตประจำวัน

 

ที่มา : Nikkei Asian Review

 

]]>
1296561
เร่งศึก “ร้านสะดวกซื้อ” ในญี่ปุ่น Itochu Corp จ่อซื้อหุ้น 100% ฮุบ “แฟมิลี่มาร์ท” https://positioningmag.com/1287317 Fri, 10 Jul 2020 10:03:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287317 บริษัทเทรดดิ้งชั้นนำของญี่ปุ่นอย่าง Itochu Corp ทุ่มลงทุนในธุรกิจค้าปลีก เสนอการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (tender offer) มูลค่ากว่า 580,000 ล้านเยน เพื่อซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของแฟมิลี่มาร์ท” (FamilyMart) เชนร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ที่มีสาขากว่า 16,000 แห่งทั่วประเทศ 

Itochu มีเเผนการที่จะเข้าซื้อหุ้นทั้งหมด 100% ของแฟมิลี่มาร์ท จากปัจจุบันที่ถือหุ้นอยู่ 50.1% ด้วยงบประมาณ 580,000 ล้านเยน (ราว 168,000 ล้านบาท) หากทำสำเร็จตามที่คาดไว้ จะทำให้ Itochu เข้าถือหุ้นของแฟมิลี่มาร์ท สัดส่วนถึง 94.7% โดยการทำ tender offer จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 9 .. จนถึง 24 ..นี้

อุตสาหกรรมค้าปลีกของญี่ปุ่นมีการเเข่งขันที่ดุเดือด การเข้าถือหุ้นทั้งหมดในแฟมิลี่มาร์ท” ครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้ Itochu สามารถตัดสินใจในการบริหารงานต่างๆ ของร้านสะดวกซื้อรายใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่นได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเพิ่มศักยภาพในการทำกำไร ด้วยการนำความเชี่ยวชาญด้านธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงเครือข่ายจัดซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศของ Itochu มาใช้ประโยชน์ร่วมกันมากขึ้น

นอกจากนี้ การเข้าครอบครองแฟมิลี่มาร์ท ยังเป็นการขยายธุรกิจของ Itochu จากธุรกิจพลังงานและการทำเหมือง สู่ธุรกิจค้าปลีกอีกด้วย

Photo : Shutterstock

เเผนต่อไปหาก Itochu เป็นเจ้าของแฟมิลี่มาร์ทเเบบ 100% เเล้ว บริษัทมีแผนจะขายหุ้นราว 5% มูลค่า 57,000 ล้านเยนให้กับธนาคาร Norinchukin หรือสหกรณ์การเกษตรของญี่ปุ่น เพื่อจะนำสินค้าเกษตรไปจำหน่ายตามสาขา 16,000 แห่งของแฟมิลี่มาร์ทในญี่ปุ่น

ปกติเเล้วแฟมิลี่มาร์ทมีลูกค้าวันละกว่า 10 ล้านคนในญี่ปุ่น แต่ผลกระทบจาก COVID-19 ที่ทำให้มีมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ในไตรมาสแรกถึงเดือนพ.. แฟมิลี่มาร์ทมีกำไรสุทธิลดลงถึง 71.5% ขณะที่ยอดขายลดลง 15.9% อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณปัจจุบัน บริษัทคาดว่ากำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้น 37.8% เป็น 60,000 ล้านเยน จากรายได้ 460,000 ล้านเยน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวลดลง 11% จากปีก่อน

ที่ผ่านมา ธุรกิจค้าปลีกเเละร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่น มีการเเข่งขันกันอย่างดุเดือด จากคู่เเข่งสำคัญอย่าง Seven-Eleven เเละ Lawson โดยยอดขายเฉลี่ยต่อวันของสาขา Seven-Eleven อยู่ที่ 656,000 เยน ในปีงบประมาณที่สิ้นสุดเดือนมี.. 2020 และ Lawson อยู่ที่ 535,000 เยนต่อวัน ส่วนร้านแฟมิลี่มาร์ทอยู่ที่ 528,000 เยนต่อวัน

ขณะที่ในปีงบประมาณปัจจุบัน คาดว่าตัวเลขดังกล่าวของแฟมิลี่มาร์ท จะลดลงไปอีกเหลือ 521,000 เยน สะท้อนถึงจุดอ่อนด้านผลิตภัณฑ์

จุดเด่นของ Seven-Eleven ในญี่ปุ่นคือพัฒนาสินค้าของตัวเองจนได้รับความนิยม ส่วน Lawson มีชื่อเสียงด้านขนมหวาน ขณะที่แฟมิลี่มาร์ทพยายามที่จะพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ในร้านสะดวกซื้อ อย่างเช่น แอปฯ ชำระเงิน

แฟมิลี่มาร์ท มีสาขานอกญี่ปุ่น 8,032 แห่ง สำหรับประเทศไทย หลังบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC ได้เข้าซื้อหุ้นแฟมิลี่มาร์ท ทั้งหมด 100% ทาง CRC ประกาศว่าจะเดินหน้าพัฒนาโมเดลใหม่ โดยล่าสุดได้ประกาศเปิดรับสมัครแฟรนไชส์เพิ่มสาขา ด้วยเงื่อนไขการันตีรายได้ขั้นต่ำ 3 หมื่นบาทต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี ภายใต้เงื่อนไขสัญญาแฟรนไชส์อายุ 6 ปี

 

ที่มา : Nikkei Asian Review , Reuters

 

]]>
1287317
ทุกสิ่งต้องรู้ เมื่อ “เซเว่น อีเลฟเว่น” เปิดเคาน์เตอร์เช็กอินให้บ้านเช่าในญี่ปุ่น https://positioningmag.com/1166776 Fri, 20 Apr 2018 14:31:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1166776 เซเว่น อีเลฟเว่น (Seven-Eleven) เชนร้านสะดวกซื้อชื่อดังกำลังพยายามโหนกระแสการท่องเที่ยวยุคใหม่ ที่ห้องเช่าตามสไตล์ Airbnb ได้รับความนิยมล้นหลามจนขณะนี้กลายเป็นเรื่องถูกกฎหมายทั่วประเทศ

ล่าสุด Seven-Eleven ประเทศญี่ปุ่นประกาศเป้าหมายแล้ว ว่าร้านสาขากว่า 1,000 แห่งจะสามารถเป็นเคาน์เตอร์รับคืนกุญแจห้องภายในปี 2020

Seven-Eleven มีดีกรีเป็นเครือข่ายร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น วันนี้ Seven-Eleven กำลังทำงานร่วมกับบริษัทเอเจนซี่ท่องเที่ยวอย่าง JTB เพื่อให้ผู้ใช้บริการเช่าห้องพักเพื่อท่องเที่ยวสไตล์ Airbnb สามารถเดินเข้า Seven-Eleven เพื่อเช็กอินที่พัก ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

เป้าหมายแฝงของโครงการนี้ คือ Seven-Eleven มั่นใจว่าจะสามารถเพิ่มการเข้าชมสินค้าของลูกค้านักท่องเที่ยวได้อีกทาง ซึ่งในทางทฤษฎีนั้นมีความเป็นไปได้สูงพอกันกับภาคปฏิบัติ

*** 1,000 สาขาใน 2 ปี

รายงานระบุว่าโครงการนี้ดูแลในนามหน่วยธุรกิจบริษัท Seven & i Holdings โดยเป้าหมายเบื้องต้น คือบริษัทวางแผนที่จะนำบริการเช็กอินห้องพักเข้าสู่ร้าน Seven-Eleven ราว 1,000 สาขาในเมืองใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นให้ได้ภายในปีงบประมาณ 2020 พื้นที่ที่จะมุ่งเน้นเป็นพิเศษคือจุดหมายท่องเที่ยวยอดนิยมสำหรับนักเดินทางต่างชาติ เช่น ซัปโปโร และ ฟุกุโอกะ

พื้นที่แรกที่จะประเดิมโครงการนี้ คือ Seven-Eleven หลายสาขาในเขตชินจูกุของโตเกียว คาดว่าจะเป็นสาขาแรกที่เริ่มให้บริการในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายใหม่เรื่องธุรกิจแบ่งเช่าบ้านทั่วประเทศมีผลบังคับใช้

รายงานระบุว่า Seven-Eleven จะเป็นพื้นที่ติดตั้งระบบเช็กอินห้องพักอัตโนมัติ คาดว่าภายในเดือนตุลาคมนี้ จะมีเครื่องเช็กอินห้องพักถูกติดตั้งในร้าน Seven-Eleven มากกว่า 50 สาขาทั่วโตเกียวและโอซาก้า

*** เช็กอินเช็กเอาต์ได้อัตโนมัติ

ในการเช็กอิน ผู้เข้าพักจะใช้เครื่องอัตโนมัติเพื่อถ่ายรูปใบหน้า หรือบัตรประจำตัวประชาชน (หรือหนังสือเดินทาง) จากนั้น จะต้องกรอกชื่อ ที่อยู่ และข้อมูลอื่นให้เรียบร้อย เมื่อข้อมูลได้รับการยืนยันจากระยะไกลผ่านศูนย์บริการ JTB เครื่องจะแจกกุญแจให้ ซึ่งเมื่อสิ้นสุดการเข้าพัก ผู้ใช้สามารถคืนกุญแจได้ที่ตู้เดียวกัน

ตู้อัตโนมัติเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นผลลัพธ์ของการไฟเขียวกฎหมายใหม่ที่ญี่ปุ่นเพิ่งผ่านออกมา เนื่องจากภายใต้กฎหมายฉบับใหม่ เจ้าของบ้านที่ไม่ได้อาศัยอยู่ที่บ้านเช่าของตัวเอง จะต้องมีทีมงานคอยจัดการงานยิบย่อย เช่น การตรวจสอบการระบุตัวตนของผู้พัก และการเก็บข้อมูลการเข้าพักอย่างถูกต้อง จึงจะถือว่าบริการนั้นเป็นบริการที่ถูกกฎหมาย เมื่อกฎหมายใหม่ระบุเช่นนี้ JTB จึงเสนอตัวให้บริการดังกล่าวเพื่อแลกกับค่าธรรมเนียม จุดนี้ รายงานย้ำว่าเจ้าหน้าที่ร้านสะดวกซื้อ Seven-Eleven จะไม่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการเช็กอินใดๆ

สำหรับ Seven-Eleven การขยายบริการในร้านค้าถือเป็นวิธีที่จะต่อสู้กับวิกฤติจำนวนลูกค้าลดลงทั่วโลกได้ โดยสถิติพบว่า เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานับเป็นเดือนที่ 24 แล้วที่ตัวเลขการเข้าร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่นลดลงต่อเนื่อง

ภาวะขาลงนี้ทำให้ Seven-Eleven พยายามหาพันธมิตรเพื่อเปิดบริการใหม่ ซึ่งล่าสุดคือกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Seven-Eleven เริ่มให้บริการเป็นศูนย์ยืมคืนสำหรับบริการแชร์จักรยาน ที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทุนของ SoftBank Group บนความหวังว่าจะสามารถดึงดูดผู้ซื้อได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม Seven-Eleven ไม่ใช่รายเดียวที่หันมามองธุรกิจวางตู้เช็กอินห้องพักอัตโนมัติ เพราะผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อรายอื่นต่างคว้าโอกาสที่จะมาพร้อมกับนักท่องเที่ยวในช่วงเวลาก่อนที่การแข่งขัน 2020 Tokyo Olympics โอลิมปิกกรุงโตเกียวจะเริ่มขึ้นไปแล้วก่อนหน้านี้ เช่น Lawson ที่เริ่มให้บริการแลกเปลี่ยนกุญแจห้องพักตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา บนกำหนดการจะขยายไปถึง 100 สาขาในปลายปีนี้ (2018) ด้าน FamilyMart Uny Holdings ก็เริ่มให้บริการเช็กอินแล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ร้าน FamilyMart สาขาหนึ่งในโอกินาวา ซึ่งระบบจะออกรหัส QR ให้สามารถใช้เป็นกุญแจอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเปิดบ้านได้

ในประเทศญี่ปุ่น Airbnb แข่งขันดุเดือดกับสตาร์ทอัปสัญชาติปลาดิบ Hyakusenrenma ยังมีบริการชื่อ Tujia จากจีนที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ไม่ว่าที่ผ่านมาการแข่งขันจะเผ็ดมันเพียงไร เชื่อว่าสมรภูมินี้จะร้อนแรงขึ้นอีกหลายเท่าตัว เนื่องจากการผูกธุรกิจแชร์ห้องพักกับร้านสะดวกซื้อที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง จะช่วยให้ภาคธุรกิจนี้เติบโตชัดเจนในตลาดญี่ปุ่นแน่นอน.

]]>
1166776
เซเว่น-อีเลฟเว่น (สหรัฐฯ) ทดสอบให้สั่งซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนแล้ว https://positioningmag.com/1150712 Mon, 18 Dec 2017 03:30:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1150712 เชนร้านสะดวกซื้อชื่อดัง “เซเว่น-อีเลฟเว่น” (7-Eleven) ในทวีปอเมริกาเหนือ กำลังทดสอบฟีเจอร์ใหม่ อนุญาตให้สั่งซื้อสินค้าได้แล้วผ่านอุปกรณ์สื่อสาร 

ฟีเจอร์ใหม่นี้จะเปิดให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้า เช่น ขนม, เครื่องดื่ม, เครื่องสำอาง, บัตรของขวัญ, ของใช้ภายในบ้าน และอีกมากมายหลายร้อยชนิด ได้จากร้านค้าของ 7-Eleven ใกล้บ้าน โดยสามารถเลือกได้ว่าจะให้ไปส่ง หรือมารับที่ร้าน 7-Eleven เองก็ได้

สำหรับวิธีการจัดส่งสินค้าให้นั้น ทางแอปพลิเคชันจะเป็นผู้จับคู่ให้เองว่า สินค้าจะมาจากร้านไหนของ 7-Eleven แต่จะเลือกจากร้านที่ใกล้ที่สุดให้ และส่งให้ถึงประตูบ้านของลูกค้าเลยทีเดียว (สั่งครั้งแรกจัดส่งให้ฟรี) ส่วนกรณีที่ต้องการมารับเองนั้น ลูกค้าต้องระบุด้วยว่าจะมารับสินค้าที่ร้าน 7-Eleven สาขาใด และเมื่อไรจึงจะสะดวก

ในตอนนี้ ลูกค้า 7-Eleven ในเมืองดัลลัส ที่ใช้ทั้ง iOS และแอนดรอยส์ สามารถร่วมทดสอบบริการนี้ได้แล้ว ส่วนการเปิดตัวไปยังเมืองอื่น ๆ นั้น 7-Eleven ระบุว่าอาจเลื่อนเวลาไปเป็นปีหน้า

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คาดว่า 7-Eleven ทำไปเพื่อเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับธุรกิจการจัดส่งสินค้าไปให้ถึงบ้านมามากกว่าใคร และการเปิดให้บริการนี้ยังวิเคราะห์ได้ว่า 7-Eleven สนใจการจัดส่งสินค้าไปให้ถึงบ้านมากกว่าการขยายสาขาให้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ครอบคลุมผู้ใช้งาน 

ในส่วนนี้เป็นไปได้ที่ 7-Eleven จะมองว่า บริการนี้น่าจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค และช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดได้ด้วย เนื่องจากผู้ซื้อไม่ต้องขับรถออกมาหาซื้อของด้วยตัวเองอีกต่อไป สอดคล้องกับเทรนด์พฤติกรรมของผู้ใช้บริการชาวมิลเลนเนียลที่มักจะสนใจใช้บริการ หรือชื่นชอบแบรนด์ที่มีนโยบายรักษ์โลกมากกว่าแบรนด์ที่ไม่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมนั่นเอง.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9600000126652

]]>
1150712