เศรษฐกิจ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 28 Jan 2024 12:48:11 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 15 บริษัทสหรัฐฯ สนใจเข้าลงทุนในเวียดนาม ทั้งผลิตชิป พลังงานสะอาด ฯลฯ มูลค่ารวมกัน 285,000 ล้านบาท https://positioningmag.com/1460519 Sun, 28 Jan 2024 08:25:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460519 15 บริษัทสหรัฐฯ สนใจเข้าลงทุนในเวียดนาม ทั้งผลิตชิป พลังงานสะอาด ฯลฯ มูลค่ารวมกัน 285,000 ล้านบาท ความเคลื่อนไหวดังกล่าวตามมาจากการเข้าพบปะพูดคุยระหว่างนายกรัฐมนตรีเวียดนามกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า 15 บริษัทในสหรัฐฯ ได้สนใจเข้าลงทุนในประเทศเวียดนามในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิตชิป พลังงานสะอาด โดยมูลค่ารวมกันมากถึง 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 285,000 ล้านบาท

Jose Fernandez เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้กล่าวว่า 15 บริษัทเหล่านี้ได้ประกาศลงทุนรวมกันมากถึง 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตจากอุตสาหกรรมการผลิตชิป หรือแม้แต่การรักษาสิ่งแวดล้อมจากพลังงานสะอาด

อย่างไรก็ดีเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ รายดังกล่าวไม่ได้กล่าวว่า 15 บริษัทที่จะมาลงทุนในเวียดนามนั้นมีบริษัทอะไรบ้าง แต่ได้กล่าวถึงการให้คำมั่นสัญญาของบริษัทหลายแห่งที่จะลงทุนในเวียดนาม

สหรัฐฯ ได้พัฒนาความสัมพันธ์กับเวียดนามเพิ่มมากขึ้นในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นในการลงทุนจากบริษัทต่างๆ ที่ต้องการกระจายการลงทุนออกจากประเทศจีน เพื่อความยืดหยุ่นด้าน Supply Chain ขณะเดียวกันเวียดนามเองก็เพิ่มความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ในเชิงความมั่งคงเพื่อจะคานอำนาจกับจีนในทะเลจีนใต้

ในส่วนของภาคเอกชนนั้น บริษัทใหญ่ๆ ที่สำคัญเช่น Apple ได้ตัดสินใจย้ายกำลังการผลิตออกจากประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น หรีอแม้แต่บริษัทอื่นๆ เช่น Dell Google และ Microsoft ก็มีการลงทุนในเวียดนามแล้วเช่นกัน ล่าสุดบริษัทอย่าง Nvidia ก็ประกาศที่จะลงทุนในเวียดนามด้วย 

เศรษฐกิจเวียดนามที่กำลังเติบโต และสัดส่วนประชากรวัยทำงานที่สูง กำลังซื้อของประชากรรวมถึงการเพิ่มจำนวนของชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น ยังทำให้ส่งผลดีต่อภาคเอกชนจากหลายประเทศที่เข้าไปลงทุนสามารถขายสินค้าของตัวเองในเวียดนามได้เพิ่มขึ้นอีกทาง

ในส่วนของเวียดนามได้มีการแก้กฎหมายต่างๆ เพื่อเอื้อแก่การลงทุนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านพลังงานสะอาดที่กำหนดพื้นที่สำหรับทำฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่ง หรือแม้แต่ภาคอุตสาหกรรมสามารถต่อรองการซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าได้ เพื่อจะเอื้อให้เอกชนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน

]]>
1460519
ไม่ใช่จีนอีกต่อไป! ‘อินเดีย’ ขึ้นแท่นประเทศผู้ขับเคลื่อนการเติบโตของ ‘เอเชีย’ ในอีก 3 ปีข้างหน้า https://positioningmag.com/1454089 Fri, 01 Dec 2023 04:33:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1454089 ถ้าพูดภึงภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตอนนี้คงไม่มีประเทศไหนร้อนแรงไปกว่า อินเดีย อีกแล้ว เพราะจะเห็นว่าบริษัทไอทียักษ์ใหญ่หลายรายหันไปใช้อินเดียเป็นฐานการผลิตสินค้าแทนที่ จีน เนื่องจากมีปัญหาสงครามการค้าและความไม่แน่นอนจากภาครัฐ

ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับสองของโลกอย่าง จีน ชะลอตัว เครื่องยนต์หลักสร้างการเติบโตของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก็เปลี่ยนทิศไปเป็นอยู่ที่ เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามข้อมูลของ S&P Global

โดย S&P Global คาดว่า เศรษฐกิจของ อินเดีย จะมีอํานาจเป็นผู้นำการเติบโตของภูมิภาคเอเชียในอีก 3 ปีข้างหน้า โดย GDP ของอินเดียสําหรับปีงบประมาณสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2024 คาดว่าจะแตะ 6.4% ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 6%

S&P ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงนี้เพิ่มขึ้นจากการบริโภคภายในประเทศของอินเดีย ซึ่งสร้างสมดุลระหว่างอัตราเงินเฟ้อด้านอาหารที่สูงและกิจกรรมการส่งออกที่ไม่ดี ในทํานองเดียวกัน ตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ มีกําหนดจะเติบโตของ GDP ในเชิงบวกในปีนี้และปีหน้าเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่ง

อย่างไรก็ตาม S&P ลดแนวโน้มการเติบโตของอินเดียลงเหลือ 6.5% ในปีงบประมาณ 2025 ซึ่งลดลงจากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 6.9% แต่คาดว่าการเติบโตของ GDP จะเพิ่มขึ้นเป็น 7% ในปีงบประมาณ 2026 ขณะเดียวกัน การเติบโตของ จีน คาดว่าจะอยู่ที่ 5.4% ในปี 2023 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ก่อนหน้าของ S&P 0.6% ในขณะที่การเติบโตในปี 2024 คาดว่าจะอยู่ที่ 4.6% ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 4.4% อย่างไรก็ตาม ความวุ่นวายในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนจะยังคงเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจต่อไป

ทั้งนี้ แม้ว่า S&P จะมองโลกในแง่ดีในเอเชียแปซิฟิก แต่จากสงครามอิสราเอล-ฮามาส และความเสี่ยงอย่างหนักในเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทําให้หน่วยงานจัดอันดับเครดิตลดการคาดการณ์สําหรับภูมิภาค (ไม่รวมจีน) ในปีหน้าเป็น 4.2% จาก 4.4%

Source

]]>
1454089
เศรษฐกิจไม่เป็นใจ! ธุรกิจในสหรัฐอเมริกายื่นข้อฟื้นฟูกิจการเพิ่มขึ้น 61% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2023 https://positioningmag.com/1444675 Sun, 08 Oct 2023 11:13:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444675 ข้อมูลล่าสุดชี้ว่าธุรกิจในสหรัฐอเมริกายื่นข้อฟื้นฟูกิจการเพิ่มขึ้น 61% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2023 แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะยังต่ำกว่าช่วงก่อนโควิด แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การยื่นข้อฟื้นฟูกิจการเพิ่มขึ้นก็คืออัตราดอกเบี้ยในสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนในการทำธุรกิจเพิ่มมากขึ้น

Epiq ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลชี้ว่าบริษัทในสหรัฐอเมริกาได้ขอยื่นล้มละลายเพื่อขอฟื้นฟูกิจการ (Chapter 11) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2023 เป็นจำนวนมากถึง 4,553 บริษัท มากกว่าในปี 2022 ที่ผ่านมาถึง 61% แสดงให้เห็นถึงสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐที่แม้จะมีความแข็งแกร่ง แต่ภาคธุรกิจบางส่วนก็ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ดี

ขณะที่การขอล้มละลายธุรกิจขนาดเล็กในช่วงเวลาดังกล่าวเพิ่มขึ้น 41% เป็น 1,419 บริษัท อ้างอิงข้อมูลจาก Epiq และ American Bankruptcy Institute

ปัจจัยสำคัญที่สุดของการยื่นขอล้มละลายในสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งล่าสุดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อยู่ในช่วง 5.25 ถึง 5.5% ซึ่งถือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงสุดในรอบ 22 ปี

อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มมากขึ้น ยังทำให้สถาบันการเงินเองลดการปล่อยกู้ให้กับธุรกิจลง หรือไม่ก็ขอหลักประกันสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายธุรกิจที่มีปัญหาอยู่แล้ว พบกับต้นทุนการทำธุรกิจของผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้หลายธุรกิจที่ยังฟื้นตัวได้ไม่ดี หรือมีจำนวนหนี้ที่สูงมาก่อนหน้าได้ขาดสภาพคล่องอย่างหนัก เป็นเหตุทำให้ผู้ประกอบการตัดสินใจขอยื่นล้มละลายเพื่อฟื้นฟูกิจการนั่นเอง

ในปี 2023 ที่ผ่านมา กรณีการล้มละลายของธุรกิจสำคัญๆ ในสหรัฐอเมริกา เช่น กรณี Bed Bath & Beyond ธุรกิจค้าปลีกของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศยื่นล้มละลายในเดือนเมษายนที่ผ่านมา หรือแม้แต่กรณีของสำนักข่าวชื่อดังอย่าง Vice ก็ได้ประกาศล้มละลายเช่นกัน

แต่ถ้าหากอ้างอิงจากข้อมูลของ Epiq และ American Bankruptcy Institute นั้นกรณีของภาคธุรกิจได้ยื่นขอล้มละลายในสหรัฐอเมริกาทุกกรณีจะอยู่ที่ 18,680 บริษัท เพิ่มขึ้นจากปี 2022 ถึง 17%

Amy Quackenboss ผู้บริหารของ American Bankruptcy Institute ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า “แม้จำนวนการขอล้มละลายจะยังต่ำกว่าระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด แต่จำนวนการยื่นฟ้องแสดงให้เห็นถึงความท้าทายที่ยากลำบากและภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งครอบครัวและธุรกิจที่ประสบปัญหาทางการเงินกำลังเผชิญในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน”

ที่มา – ABFJournal, Retail Dive

]]>
1444675
‘IMF’ หวั่น การงัดข้อของ “จีน-สหรัฐฯ” อาจฉุดเศรษฐกิจโลก 2% https://positioningmag.com/1426665 Thu, 06 Apr 2023 14:54:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1426665 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF มองว่า ความตึงเครียดทั่วโลก โดยเฉพาะระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน อาจกระทบกับการลงทุนในต่างประเทศ และอาจทำให้ GDP ทั่วโลกเสียหายถึง 2%

โดย IMF ชี้ว่า ความตึงเครียดระหว่าง สหรัฐฯ และจีน ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการออกร่างกฎหมายหลายฉบับ เช่น ร่างกฎหมาย Chips and Science Act ของสหรัฐฯ และเมื่อไม่นานมานี้ ญี่ปุ่น เองได้ก็เข้าร่วมกับสหรัฐฯ ที่พยายามตัดจีนออกจากการเข้าถึงชิป โดยญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายใหม่ ทำให้ไม่สามารถส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ 23 ประเภทไปยังจีนได้

“บริษัทต่าง ๆ และผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกกำลังค้นหาวิธีที่จะทำให้ซัพพลายเชนของพวกเขาให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นโดย ย้ายฐานการผลิตหรือไปยังประเทศที่เชื่อถือได้ ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปสู่การกระจายการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

การสำรวจที่จัดทำโดยหอการค้าอเมริกันในจีนแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยนักลงทุนมองประเทศจีนในมุมมองด้านลบมากขึ้น โดยมีไม่ถึงครึ่งที่นักลงทุนมองว่าจีนยังเป็น Top 3 ประเทศที่น่าลงทุน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี ที่จีนหลุด Top 3 ประเทศที่นักลงทุนเลือกลงทุน

โดย 66% ของบริษัทที่อยู่ในกลุ่มสำรวจมองว่า ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และจีน ถือเป็นความท้าทายอันดับ 1 ในการทำธุรกิจตอนนี้ และ 65% ระบุว่า พวกเขาไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจีนจะยังคงเปิดกว้างสำหรับการลงทุนจากต่างชาติหรือไม่ โดยบริษัทสหรัฐฯ ส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าพวกเขาได้รับการต้อนรับจากจีนน้อยกว่าในปีที่ผ่านมา

“ขณะนี้เงินกำลังไหลเข้าสู่ประเทศที่ถูกพิจารณาว่าเป็นประเทศใกล้ชิดทางการเมือง ตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาได้รับผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเข้าถึงการลงทุนที่ลดลงจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากการก่อตัวของทุนที่ลดลงและการเพิ่มผลิตภาพจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ที่ดีขึ้น” นักเศรษฐศาสตร์ของ IMF กล่าว

]]>
1426665
‘IMF’ ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจโลกขึ้นเป็น 2.9% หลังปัญหาเงินเฟ้อเริ่มดีขึ้น https://positioningmag.com/1417300 Tue, 31 Jan 2023 06:05:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1417300 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ได้ปรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกใหม่เป็น 2.9% ในปีนี้ เพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์เมื่อเดือนตุลาคม เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลกเริ่มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การเติบโตในปี 2023 ยังถือว่าลดลงเมื่อเทียบกับปี 2022 ที่เติบโต 3.4%

จากการคำนวณของ IMF ระบุว่า ประมาณ 84% ของประเทศต่าง ๆ จะเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ลดลงในปีนี้เมื่อเทียบกับปี 2022 ทำให้ IMF ได้ปรับการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกใหม่เป็น 2.9% แนวโน้มเศรษฐกิจโลกกลับมาเป็นบวกมากขึ้นจากปัจจัยภายในประเทศที่ออกมาดีเกินคาดในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา

อีกปัจจัยที่ทำให้แนวโน้มของเศรษฐกิจโลกขยายตัวดีขึ้นก็คือ จีน ที่ประกาศเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งหลังจากมีมาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวด ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนทำให้การเติบโตทั่วโลกสูงขึ้น นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงยังทำให้โอกาสของประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ถือครองตราสารหนี้เป็นสกุลเงินต่างประเทศสดใสขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม IMF มองว่าปัจจัยลบในปี 2023 คือ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและการรุกรานยูเครนของรัสเซียที่น่าจะยังคงส่งผลกระทบ นอกจากนี้ ยังมี ความไม่แน่นอน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า การเปิดใหม่ของจีนอาจหยุดชะงัก อัตราเงินเฟ้ออาจยังคงสูง การรุกรานยูเครนที่ยืดเยื้อของรัสเซียอาจทำให้ต้นทุนด้านพลังงานและอาหารสั่นคลอนไปมากกว่านี้ และตลาดอาจพลิกผันจากตัวเลขเงินเฟ้อที่แย่กว่า

การเติบโตทางเศรษฐกิจได้รับการพิสูจน์แล้วว่าฟื้นตัวอย่างน่าประหลาดใจในไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้ว ด้วยตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง การบริโภคภาคครัวเรือน และการลงทุนทางธุรกิจ และการปรับตัวที่ดีเกินคาดต่อวิกฤตพลังงานในยุโรป อย่างไรก็ตาม การเติบโตจะยังคงอ่อนแอ เนื่องจากต้องเจอกับปัญหาเงินเฟ้อและสงครามของรัสเซียในยูเครนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก” ปิแอร์-โอลิเวียร์ กูรินชาส ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ IMF กล่าว

ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของโลกจะลดลง แต่คาดว่าเฉลี่ยแล้วอัตราเงินเฟ้อปี 2023 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 6.6% และลดลงเหลือ 4.3% ในปี 2024 ซึ่ง IMF คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกของปี 2024 คาดว่าจะอยู่ที่ 3.1%

Source

]]>
1417300
‘IMF’ คาดการเติบโตเศรษฐกิจโลกจะ ‘ลดลง 4 ล้านล้านดอลลาร์’ ในช่วง 4 ปีจากนี้ https://positioningmag.com/1403756 Sun, 09 Oct 2022 06:19:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1403756 สงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาอาหารและพลังงานทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ยังส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาสภาพอากาศที่เลวร้าย ทุกสาเหตุส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และทำให้วิกฤตอื่น ๆ ทวีความรุนแรงขึ้น เช่น ระดับหนี้ที่สูงขึ้นของประเทศที่มีรายได้ต่ำ

Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า IMF กำลังลดการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกของปี 2023 อีกครั้ง โดยคาดว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกจะลดลง 4 ล้านล้านดอลลาร์จนถึงปี 2026

“สิ่งต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะแย่ลงก่อนที่จะดีขึ้น โดยเฉพาะการรุกรานยูเครนของรัสเซียซึ่งเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ได้เปลี่ยนมุมมองต่อเศรษฐกิจของ IMF ไปอย่างมาก ส่งผลให้ความเสี่ยงจากภาวะถดถอยกำลังเพิ่มสูงขึ้น”

Georgieva กล่าวว่า IMF ประมาณการว่าประเทศต่าง ๆ ที่คิดเป็น 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลกจะเห็นการหดตัวทางเศรษฐกิจอย่างน้อย 2 ไตรมาสติดต่อกันในปีนี้หรือปีหน้า และเสริมว่าสถาบันได้ปรับลดประมาณการการเติบโตทั่วโลกไปแล้ว 3 ครั้ง ตอนนี้คาดว่า -3.2% ในปี 2022 และ 2.9% ในปี 2023

ทั้งนี้ การคาดการณ์ของ IMF ที่เยือกเย็นเกิดขึ้นในขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยหวังว่าจะสามารถบรรเทาเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นได้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ถือเป็นกลุ่มที่ใช้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือลดอัตราเงินเฟ้อ และธนาคารกลางจากเอเชียไปยังอังกฤษได้เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้ รวมถึงการที่ OPEC+ ตัดสินใจลดการผลิตน้ำมันลง เพื่อพยุงราคาน้ำมันที่ตกต่ำ

]]>
1403756
ซีอีโอ ‘FedEx’ ชี้เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะ ‘ถดถอย’ ทั่วโลก หลังยอดขนส่งบริษัทลดลงต่อเนื่อง https://positioningmag.com/1400419 Fri, 16 Sep 2022 02:43:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1400419 ราจ สุบรามาเนียม (Raj Subramaniam) ซีอีโอของ เฟดเอ็กซ์ (FedEx) ได้ออกมาคาดการณ์ถึงเศรษฐกิจโลกว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยประเมินจากยอดจัดส่งสินค้าทั่วโลกที่ชะลอตัวลง

การประเมินเศรษฐกิจโลกของ ซีอีโอ FedEx เกิดขึ้นหลังจากที่รายได้ของบริษัทไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ในไตรมาสแรก พร้อมกันนี้บริษัทยังได้ปรับคาดการณ์รายได้ทั้งปีที่เคยให้ไว้เมื่อ 3 เดือนก่อน โดยระบุว่า อุปสงค์ทั่วโลกชะลอตัวลงโดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนสิงหาคม และมีแนวโน้มแย่ลงในไตรมาสสุดท้าย โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน

ผมคิดว่าเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย” ราจ ย้ำ

หลังจากเฟดเอ็กซ์เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมถึงรายงานรายรับและกำไรสำหรับไตรมาสแรกสิ้นสุดวันที่ 31 ส.ค. ซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ส่งผลให้หุ้นของบริษัทร่วงลงมากกว่า 15% โดยราจระบุว่า ปริมาณการจัดส่งทั่วโลกที่ลดลงทำให้เฟดเอ็กซ์ประสบผลที่น่าผิดหวัง ในขณะที่บริษัทเคยคาดการณ์ว่าความต้องการจะเพิ่มขึ้นหลังจากที่โรงงานในจีนกลับมาเปิดทำการหลังจากปิดไปเพราะ COVID-19 แต่กลับไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างที่คาดไว้

“ผมผิดหวังมากกับผลลัพธ์ที่เราเพิ่งประกาศ เนื่องจากสถานการณ์ระดับมหภาคที่เรากำลังเผชิญอยู่ เราเห็นปริมาณการขนส่งลดลงในทุกเซกเมนต์ทั่วโลกทุกสัปดาห์นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ดังนั้นเราจึงถือว่า ณ จุดนี้สภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก

เขาทิ้งท้ายว่า ธุรกิจขนส่งเป็นภาพสะท้อนของธุรกิจของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงในโลก

Source

]]>
1400419
ครัวเรือนไทย กลุ่ม ‘รายได้ต่ำ’ เสี่ยงเจอพิษ ‘เงินเฟ้อ’ เร่งตัวขึ้นกว่า 6 เท่า https://positioningmag.com/1381616 Fri, 15 Apr 2022 10:20:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381616 ราคาพลังงานในตลาดโลกที่เร่งสูงขึ้นจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ดันเงินเฟ้อไทยพุ่งสูงสุดในรอบ 13 ปี กระทบต้นทุนธุรกิจ ครัวเรือนรายได้ต่ำเจอหนักเร่งตัวขึ้นกว่า 6 เท่าจากปีก่อน สวนทางกับกลุ่มรายได้สูง 

อัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี สร้างความกังวลต่อค่าครองชีพของครัวเรือน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมีนาคมอยู่ที่ 5.73% YOY เพิ่มขึ้นจาก 5.28% เดือนกุมภาพันธ์

วิจัยกรุงศรี ระบุถึงสาเหตุสำคัญว่ามาจาก ราคาพลังงานในตลาดโลกที่เร่งสูงขึ้น จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับสูงขึ้นมาก (+31.4% YOY)

นอกจากนี้ ราคาสินค้าในหมวดอาหารที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ไข่ไก่ ผักสด และเครื่องประกอบอาหาร ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี ที่ 2.0% จาก 1.80% ในเดือนกุมภาพันธ์ สำหรับในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 4.75% และ 1.43% ตามลำดับ

ประชาชนเเบกค่าใช้จ่าย ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค

อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 และอยู่เหนือกรอบของเงินเฟ้อเป้าหมายของทางการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยการปรับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อส่วนใหญ่มาจากราคาพลังงาน แม้ว่าราคาไม่ได้เพิ่มขึ้นในทุกชนิดสินค้า แต่กลับสร้างความกังวลให้แก่สังคมเกี่ยวกับผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายและกำลังซื้อ

ทำให้ยอดค้นหาของคำว่า ‘เงินเฟ้อ’ ใน Google แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2551 และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมีนาคมร่วงลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนที่ 42.0 จาก 43.3 เดือนกุมภาพันธ์

Photo : Shutterstock

กลุ่มรายได้ต่ำ เงินเฟ้อเร่งตัว 6 เท่า

วิจัยกรุงศรี คาดอัตราเงินเฟ้อในปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 4.8% จากแรงหนุนของราคาอาหารเพื่อบริโภคที่บ้านและราคายานพาหนะ อีกทั้งราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของไทยยืนอยู่เหนือกรอบเป้าหมาย และอาจใช้เวลาถึงไตรมาสสุดท้ายของปีกว่าที่จะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
 
นอกจากนี้ ผลการศึกษาของวิจัยกรุงศรีพบว่า จากตะกร้าการบริโภคสินค้าที่มีความแตกต่างกัน กลุ่มคนรายได้ต่ำจะมีสัดส่วนการใช้จ่ายในหมวดอาหารเพื่อบริโภคที่บ้านและการขนส่ง รวมกันราวสองเท่าของกลุ่มคนรายได้สูง จึงมีโอกาสเผชิญเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นกว่า 6 เท่า เมื่อเทียบกับปีก่อน สวนทางกับกลุ่มคนรายได้สูงที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับปี 2564

สงครามรัสเซีย-ยูเครน ลากยาว กระทบเศรษฐกิจโลก 

ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมมีสัญญาณฟื้น แต่ยังมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจกดดันการเติบโตในระยะข้างหน้า

ล่าสุดดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 25 เดือนที่ 89.2 จาก 86.7 ปัจจัยหนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด

รวมถึงการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติจากหลาย ๆ ประเทศทยอยผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคม ผู้ประกอบการมีการเร่งการผลิตสินค้าเพื่อส่งมอบก่อนวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์

วิจัยกรุงศรีประเมินว่า แม้การผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงต้นปีจะมีสัญญาณเชิงบวก จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ แต่ในระยะถัดไปปัจจัยกดดันจากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่มีความเสี่ยงอาจลากยาวมากขึ้นกระทบเศรษฐกิจโลกและการค้าชะลอลง ส่งผลต่อภาคการส่งออกและภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทย ขณะที่ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นมากจะส่งผลต้นทุนการผลิตและการขนส่งสินค้า

นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงจากภาวะชะงักงันของอุปทานของโลก หากสถานการณ์การล็อกดาวน์ของจีนเพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 ระลอกล่าสุดมีแนวโน้มยืดเยื้อและเป็นวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากมีการประเมินว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยมีการใช้ input จากจีนคิดเป็นสัดส่วนเมื่อเทียบกับมูลค่าผลผลิตรวมทั้งหมด (gross value added) สูงสุดเป็นอันดับ 3 รองจากเวียดนาม และฮ่องกง

 

 

]]>
1381616
‘ศรีลังกา’ ระงับชำระหนี้ต่างประเทศชั่วคราว เก็บเงินทุนสำรองนำเข้าพลังงาน-สินค้าจำเป็น https://positioningmag.com/1381480 Tue, 12 Apr 2022 09:35:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381480 ศรีลังการะงับการชำระคืนหนี้ต่างประเทศชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระครั้งใหญ่ โดยเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่จำกัดนั้น จะต้องเก็บไว้ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าที่จำเป็นอย่างเช่น พลังงานเชื้อเพลิงเเละอาหาร

เรามาถึงจุดที่การชำระคืนหนี้ต่างประเทศเป็นเรื่องท้าทายและเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่สามารถดำเนินการได้ในตอนนี้ คือการปรับโครงสร้างหนี้และหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้Nandalal Weerasinghe ผู้ว่าการธนาคารกลางศรีลังกาเปิดเผยกับผู้สื่อข่าว

โดยศรีลังกา มีกำหนดจะเริ่มการเจรจากับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เกี่ยวกับโครงการเงินกู้ในสัปดาห์หน้า หลังต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก ไฟฟ้าดับเป็นเวลานาน ประกอบกับขาดแคลนอาหารและยารักษาโรค

สำหรับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของศรีลังกา ณ สิ้นเดือนมีนาคม อยู่ที่ 1,930 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าน้อยมากและมีกำหนดต้องชำระหนี้ต่างประเทศที่ครบกำหนดในปีนี้ที่ราว 4,000 ล้านดอลลาร์ รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ที่จะครบกำหนดในเดือนกรกฏาคมนี้

ผู้ว่าการธนาคารกลางศรีลังกา ยืนยันว่า การดำเนินการนี้เป็นไปโดยสุจริต เเละเน้นว่าประเทศศรีลังกา ซึ่งมีประชากรกว่า 22 ล้านคน ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้มาก่อน

โดยการงดชำระหนี้ต่างประเทศ จะเป็นมาตรการชั่วคราวเท่านั้น จนกว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้และได้รับการสนับสนุนโครงการเงินกู้กับ IMF

ท่ามกลางความไม่สงบของประชาชนที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจรัฐบาลต้องมุ่งไปที่การนำเข้าสิ่งของที่จำเป็นและไม่ต้องกังวลกับเรื่องหนี้ภายนอกประเทศ

วิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงของศรีลังกา ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ขาดเเคลนเชื้อเพลิงเเละสินค้าอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ พร้อมปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1381480
เซี่ยงไฮ้ผ่าเมือง! แบ่งล็อกดาวน์ทีละครึ่ง สู้โควิด แต่เศรษฐกิจต้องเดินต่อ https://positioningmag.com/1379542 Tue, 29 Mar 2022 03:56:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379542 เซี่ยงไฮ้ออกคำสั่งล็อกดาวน์ 2 จังหวะ โดยแบ่งเมืองออกเป็น 2 ส่วน และเริ่มปิดสะพานและอุโมงค์ จำกัดการจราจรบนทางหลวงด้านตะวันออกตั้งแต่วันจันทร์ที่ 28 มี.. เพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 ครั้งใหญ่ที่สุดในจีน ควบคู่กับการปกป้องเศรษฐกิจของมหานครแห่งนี้ที่เป็นหัวรถจักรสำคัญของเศรษฐกิจภายในประเทศรวมถึงเศรษฐกิจโลก

มาตรการล็อกดาวน์ที่รัฐบาลท้องถิ่นของเซี่ยงไฮ้ประกาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มี.. จะแบ่งเมืองออกเป็น 2 ส่วนคร่าวๆ ตามแนวแม่น้ำหวงผู่ และใช้มาตรการล็อกดาวน์รวม 9 วัน

คำสั่งนี้สะท้อนการเปลี่ยนจุดยืนกะทันหันของทางการเซี่ยงไฮ้ หลังจากเพิ่งยืนยันว่า จะไม่มีการล็อกดาวน์เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 26 มี.ค. แต่จะใช้แนวทางการล็อกดาวน์เฉพาะพื้นที่เพื่อให้เศรษฐกิจของเมืองที่มีประชากร 25 ล้านคนแห่งนี้เดินหน้าได้ต่อไป

อู่ ฟาน สมาชิกทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโควิดในเซี่ยงไฮ้ แถลงว่า การระดมตรวจโควิดพบการระบาดขนาดใหญ่ทั่วเมืองซึ่งทำให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดในประเทศจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการรับมือที่เข้มข้นขึ้น ควบคู่กับการปูพรมตรวจหาผู้ติดเชื้อเพื่อให้การระบาดสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

ทั้งนี้ เซี่ยงไฮ้พบผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ 3,450 คนในวันอาทิตย์ หรือเกือบ 70% ของจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วประเทศ และผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการอีก 50 คน

สำหรับทั่วประเทศจีนในวันเดียวกันนั้นพบผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ 5,134 คน และผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการ 1,219 คน

Photo : Shutterstock

ในฐานะหัวรถจักรกระตุ้นเศรษฐกิจหลักของจีน เซี่ยงไฮ้จึงพยายามตอบสนองการเรียกร้องของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในการลดผลกระทบจากมาตรการควบคุมโควิดที่มีต่อธุรกิจและการดำเนินชีวิตของประชาชน

ระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวันเสาร์ อู่ระบุว่า ไม่สามารถล็อกดาวน์เซี่ยงไฮ้เป็นเวลานานได้เนื่องจากเมืองนี้มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจโลก

ทว่า หลังจากต้องกลับลำนโยบายเมื่อวันอาทิตย์ โครงการตรวจโควิดได้ทำให้การเดินทางขนส่งหยุดชะงัก เช่นเดียวกับกิจกรรมการดูแลสุขภาพ และเศรษฐกิจในวงกว้าง

สำนักงานความมั่นคงสาธารณะเซี่ยงไฮ้ประกาศปิดสะพานและอุโมงค์ข้ามแม่น้ำ ตลอดจนด่านเก็บเงินทางด่วนที่กระจุกอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเมืองที่เรียกว่าเขตผู่ตง ซึ่งรวมถึงท่าอากาศยานนานาชาติแห่งหลักและศูนย์กลางการเงินตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันที่ 1 เมษายน

ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำหวงผู่ที่เรียกว่าเขตผู่ซีที่มีประชากรมากกว่านั้นจะเริ่มมาตรการจำกัดแบบเดียวกันนี้ตั้งแต่วันที่ 1-5 เมษายน

Photo : Shutterstock

สำนักงานความมั่นคงสาธารณะเซี่ยงไฮ้เสริมว่า จะควบคุมการจราจรบนทางหลวงที่เข้าและออกจากเมือง และผู้ที่ต้องการเดินทางออกจากเมืองต้องแสดงหลักฐานผลตรวจโควิดเป็นลบในช่วง 48 ชั่วโมงก่อนเดินทาง

รัฐบาลมหานครเซี่ยงไฮ้ประกาศว่า จะระงับระบบขนส่งสาธารณะ รวมถึงบริการซอฟต์แวร์เรียกรถสาธารณะในพื้นที่ที่ล็อกดาวน์ อีกทั้งยังสั่งระงับการทำงานของบริษัทและโรงงานต่างๆ ยกเว้นบริการสาธารณะหรือการจัดหาอาหาร

นอกจากนั้น ยังมีการระงับการให้บริการของโรงพยาบาลหลายแห่งทั่วเซี่ยงไฮ้ เพื่อจัดสรรบุคลากรการแพทย์และทรัพยากรอื่นๆ ไปช่วยในการระดมตรวจโควิด

ทั้งนี้ ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจีนสามารถควบคุมการระบาดได้เป็นส่วนใหญ่ผ่านมาตรการโควิดเป็นศูนย์ ซึ่งครอบคลุมถึงการล็อกดาวน์พื้นที่ขนาดใหญ่ในเมืองและมณฑลต่างๆ แม้พบผู้ติดเชื้อเพียงเล็กน้อยก็ตาม

แต่การมาถึงของโอมิครอนได้พิสูจน์ว่า มาตรการเข้มข้นของจีนไร้ผลในการสกัดไวรัสกลายพันธุ์นี้ โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จีนพบเคสใหม่วันละหลายพันคน จากไม่ถึงร้อยคนในเดือนกุมภาพันธ์

Source

]]>
1379542