แบรนด์ค้าปลีกเสื้อผ้า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 02 Oct 2020 11:36:53 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ปรับรับลูกค้าเปลี่ยน “ช้อปเสื้อผ้าออนไลน์” มาเเรง H&M ตัดสินใจปิดสาขา 250 แห่งทั่วโลก https://positioningmag.com/1299764 Fri, 02 Oct 2020 09:14:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299764 กระเเสผู้บริโภคหันมาซื้อเสื้อผ้าออนไลน์กันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง COVID-19 เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ H&M ยักษ์ฟาสต์เเฟชั่นอันดับ 2 ของโลกจากสวีเดน ตัดสินใจปิดร้าน 250 สาขาทั่วโลก คิดเป็นกว่า 5% ของจำนวนร้านสาขาทั้งหมด 5,000 แห่ง

H&M เริ่มกลยุทธ์ปิดร้านเพิ่มขึ้นเปิดน้อยลงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่หันมาซื้อออนไลน์ ท่ามกลางการเเข่งขันของวงการค้าปลีกเสื้อผ้าเเฟชั่นที่ดุเดือด เเละยิ่งประสบปัญหาใหญ่ เพราะผลกำไรของปีนี้ต้องลดลงอย่างมาก จากการเเพร่ระบาดของ COVID-19

H&M ระบุในเเถลงการณ์ว่าลูกค้าเริ่มช้อปปิ้งทางออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆโดยในช่วงที่แบรนด์ต้องปิดสาขาชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ ปรากฏว่า ยอดการสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ กลับพุ่งสูงขึ้นกว่า 80% เมื่อเทียบกับยอดขายของหน้าร้านตามปกติ

ยอดขายของบริษัทในไตรมาส 3 ตั้งแต่เดือนมิ..ถึงเดือนส.. เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น หลังผ่านช่วงวิกฤต จากการที่สามารถเปิดร้านได้อีกครั้ง และการช้อปปิ้งออนไลน์ที่เติบโตและทำกำไรอย่างไรก็ตาม ยอดขายเดือนก.. ลดลง 5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว

ผลประกอบการในช่วง 9 เดือนจนถึงวันที่ 31 .. ของ H&M มีกำไรก่อนหักภาษีลดลงเหลือ 2.37 พันล้านโครนาสวีเดน (ราว 8.3 พันล้านบาท) ถือว่าดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

แม้ความท้าทายต่างๆ จะยังไม่สิ้นสุด แต่เราเชื่อว่าบริษัทได้ผ่านพ้นจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว และเราจะฟื้นตัวจากวิกฤตได้อย่างแข็งแกร่ง” Helena Helmersson ซีอีโอของ H&M กล่าว

H&M สาขาแมนฮัตตัน นิวยอร์ก (photo: Shutterstock)

โดยเเผนต่อไป H&M จะเพิ่มการลงทุนในส่วนดิจิทัลเพื่อรองรับผู้บริโภคทางออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนจะมีการปรับเเผนการดำเนินงานใหม่ ทั้งการลงทุน ค่าเช่า การจัดหาพนักงาน และการจัดหาเงินทุน 

กลุ่มสินค้าเเฟชั่น เริ่มมีการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยผู้นำฟาสต์เเฟชั่นอย่าง Inditex เจ้าของเเบรนด์ดังอย่าง Zara ก็สามารถพลิกกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง ในช่วงไตรมาส 2 โดยมียอดขายออนไลน์” ที่พุ่งกระฉุดกว่า 74% เป็นพระเอก บ่งชี้ว่าการปรับกลยุทธ์ของธุรกิจฟาสต์เเฟชั่น ที่ผสมทั้งออนไลน์เเละสาขาเข้าด้วยกันนั้นประสบความสำเร็จ

ช่วงที่ผ่านมา Inditex มีการ “ลดต้นทุน” ปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ถึง 21% รวมถึงการจัดการสินค้าคงคลัง เน้นการผลิตในสเปนเเละประเทศใกล้เคียง อีกทั้งยังตั้งเป้าจะปิดร้านค้าขนาดเล็กประมาณ 1,000-1,200 สาขาทั่วโลก ภายในช่วง 2 ปีนี้เพื่อโฟกัสเฉพาะสาขาใหญ่เท่านั้น เเละหันมาบุกออนไลน์อย่างเต็มสูบ

โดย Inditex ตั้งเป้าว่าจะทำยอดขายออนไลน์ให้เพิ่มขึ้นมากกว่า 25% ของยอดรวมภายในปี 2022 เมื่อเทียบกับ 14% ที่สามารถทำได้ในปี 2019

ไม่ใช่เเค่เจ้าใหญ่อย่าง H&M และ Inditex เท่านั้น ตอนนี้ค้าปลีกเเฟชั่นอย่าง American Eagle Outfitter (AEO) และ GameStop (GME) ก็เพิ่งประกาศแผนการปิดสาขาไปหลายร้อยแห่ง เนื่องจากกระเเสช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กระตุ้นให้เเบรนด์ต่างๆ ต้องรีบมาทุ่มลงทุนด้านดิจิทัลเเทนนั่นเอง

]]>
1299764
Uniqlo เตรียมขาย “หน้ากากอนามัย” ใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับ AIRism เย็น-เเห้งเร็ว-ซักได้ https://positioningmag.com/1280435 Mon, 25 May 2020 06:55:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280435 หลังจากปล่อยให้เเบรนด์อื่นๆ ผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อวางขายกันมากมาย ถึงคราวของ Fast Retailing บริษัทแม่ของ Uniqlo ผู้ผลิตเสื้อผ้ารายใหญ่ของญี่ปุ่นประกาศจะวางจำหน่าย ‘หน้ากากผ้า’ ภายในร้าน Uniqlo เเละทางออนไลน์อย่างเป็นทางการเเล้ว

จากสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติในเร็ววันนี้ ทำให้ความต้องการ “หน้ากาก” และแอลกอฮอล์เจลยังมีอยู่มาก ขณะที่ในญี่ปุ่นยังคงมีการระบาดรอบ 2 ที่รุนเเรง

Uniqlo (ยูนิโคล่) จึงตัดสินใจประกาศเตรียมจำหน่ายหน้ากากผ้าในช่วงซัมเมอร์ที่ญี่ปุ่น (ระหว่างเดือน มิ.ย. – ส.ค.) ทั้งผ่านหน้าร้านและช่องทางอีคอมเมิร์ซ

จุดเด่นของหน้ากากผ้า Uniqlo นี้คือ จะใช้วัสดุเดียวกับที่ใช้ผลิตเสื้อผ้าในคอลเลกชั่น AIRism ซึ่งมีคุณสมบัติโดดเด่นระบายความร้อนได้ดี ผ้าเนื้อเย็น แห้งเร็วเเละสามารถซักเพื่อใช้ซ้ำได้

ทั้งนี้ คาดว่าราคาหน้ากากผ้าจะมีราคาต่ำกว่า 2,000-3,000 พันเยน (593-890 บาท) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ AIRism ของ Uniqlo ได้รับความนิยมอย่างมาก มียอดขายต่อปีฉลี่ยอยู่ที่เกือบ 100 ล้านชิ้นทั่วโลก มีการผลิตส่วนใหญ่มาจากโรงงานในประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคาดว่าหน้ากากผ้าบางส่วนจะถูกผลิตจากโรงงานเหล่านี้

เเม้ก่อนหน้านี้ Tadashi Yanai ประธานและซีอีโอของ Uniqlo เคยให้สัมภาษณ์ว่า ทางบริษัทไม่มีจุดประสงค์ที่จะผลิตหน้ากากอนามัย เพราะธุรกิจหลักคือการผลิตเสื้อผ้า เเต่จากสถานการณ์ตอนนี้เขามองว่าหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้ามีจำเป็นในหลายประเทศทั่วโลก เป็นสินค้าที่ขาดแคลนเเละมีผู้บริโภคเรียกร้องเข้ามาจำนวนมาก

“Uniqlo มีแผนที่จะบริจาคหน้ากากผ้าจำนวน 5 ล้านชิ้นและชุดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ให้กับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในญี่ปุ่น เพื่อต่อสู้ไวรัส COVID-19 ด้วย” Yanai ระบุ

นอกจากผลิตหน้ากากเชิงพาณิชย์เเล้ว Fast Retailing เคยประกาศว่าบริษัทจะร่วมกับโรงงานพันธมิตรในจีน ผลิตหน้ากากจำนวน 10 ล้านชิ้นเพื่อนำไปแจกจ่ายในหลายประเทศที่กำลังได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างรุนแรง

สำหรับในไทย บริษัทได้บริจาคหน้ากากอนามัยจำนวน 5 เเสนชิ้นผ่านทางบริษัท ยูนิโคล่ ประเทศไทย เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 11 โรงพยาบาล เพื่อสนับสนุนความพยายามเพื่อต่อสู้กับการระบาด COVID-19

ที่มา : asia.nikkei

 

]]>
1280435
ไม่ใช่ไทย Uniqlo ระบุ “ฟิลิปปินส์” เป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาค https://positioningmag.com/1191865 Tue, 09 Oct 2018 06:00:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1191865 ภาพจาก : Mark Demayo, ABS-CBN News

ซีอีโอ Uniqlo ปักธงแผ่นดินฟิลิปปินส์ เปิดร้านสาขาใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ย่านมาคาติในกรุงมะนิลาเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มั่นใจปัจจัยบวกทั้งกลุ่มประชากรวัยรุ่นจำนวนมาก และภาวะการท่องเที่ยวบูม คือกำลังหลักที่จะผลักดันยอดขายของ Uniqlo

ทั้งหมดนี้ Uniqlo ย้ำว่าฟิลิปปินส์คือตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคของ Uniqlo ถือเป็นข้อมูลน่าสนใจเพราะฟิลิปปินส์สามารถแซงประเทศใหญ่ที่มีประชากรวันรุ่นสูงไม่แพ้กันอย่างไทย และอินโดนีเซียไปได้

ตอกย้ำลุยอาเซียน

ก้าวใหม่ของแบรนด์ค้าปลีกเสื้อผ้าใส่สบายอย่าง Uniqlo เรื่องการเปิดร้านสาขายักษ์ในกรุงมะนิลา ถือเป็นการตอกย้ำว่า Uniqlo มีนโยบายขยายการลงทุนในเศรษฐกิจเอเชียที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

ร้านใหม่ของ Uniqlo มีขนาด 4,100 ตร.. (44,100 ตารางฟุต) ในย่านธุรกิจมาคาติ พื้นที่ใช้สอยกว้างขวางนี้ถือว่าใหญ่กว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับพื้นที่ 2,700 ตารางเมตร ซึ่ง Uniqlo เปิดร้านใหม่ที่ถนนออร์ชาร์ด ในสิงคโปร์เมื่อ 2 ปีที่แล้ว

ผลจากการเปิดร้านใหม่ Uniqlo มีสาขาที่ฟิลิปปินส์จำนวนรวมทั้งสิ้น 52 แห่ง ทำสถิติมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นประเทศที่มีสาขามากที่สุดอันดับ 4 ในกลุ่มประเทศที่ Fast Retailing Co. ต้นสังกัด Uniqlo ตะลุยเปิดร้านนอกตลาดญี่ปุ่น

สิ่งที่ทำให้ Uniqlo มั่นใจในตลาดฟิลิปปินส์ไม่ได้อยู่ที่จำนวนประชากรหนุ่มสาวเท่านั้น แต่เพราะความเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษของชาวตากาล็อกเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ตลาดการท่องเที่ยวในฟิลิปปินส์เฟื่องฟู ภาวะนี้ Uniqlo มั่นใจว่าจะสามารถผลักดันยอดขายได้ แม้การเติบโตทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์จะโตช้าเป็น 6% ในไตรมาสที่สอง แต่การบริโภคของครัวเรือน ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าหนึ่งในสามของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) นั้นเพิ่มขึ้น 5.6%

ประเด็นนี้ ซาโตชิ ฮาตะเสะ หัวหน้าฝ่ายบริหารของ Uniqlo ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย มั่นใจว่า Uniqlo มีพื้นที่อีกมากเพื่อเติบโตตามขนาดของเศรษฐกิจและศักยภาพของฟิลิปปินส์ จุดนี้ซีอีโอ Uniqlo ใช้คำว่าไกลจากการอิ่มตัวในการอธิบายว่าตลาด Uniqlo ในฟิลิปปินส์จะมีอนาคตสดใสรออยู่

อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตว่าร้านเรือธง Uniqlo เปิดขึ้นในช่วงที่ราคาค่าครองชีพของผู้บริโภคฟิลิปปินส์เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ขยายตัวขึ้นสู่ระดับ 6.7% ในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นอัตราที่เร็วที่สุดในรอบ 9 ปี ผลกระทบหลักจากราคาอาหารและน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น

จับตาเวียดนาม

ถัดจากฟิลิปปินส์ Uniqlo มีแผนเข้าสู่เวียดนามภายในปีหน้า (.. 2562) ซึ่งแน่นอนว่า ร้านค้าใหม่ในเวียดนามจะขึ้นแท่นเป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้

การเปิดร้านที่เวียดนามจะช่วยให้ Uniqlo อยู่ในเส้นทางเพื่อบรรลุเป้าหมายทำยอดขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้ 300,000 ล้านเยน (ราว 87,400 ล้านบาท) ภายในปี 2565 จาก 100 พันล้านเยนในปีที่แล้ว 

นักวิเคราะห์มองว่าการขยายธุรกิจของ Fast Retailing จะทำให้ Uniqlo มีจุดยืนแข็งแกร่งในการสร้างยอดขายจากชนชั้นกลาง ที่กำลังเติบโตในภูมิภาคนี้ได้ดี บนจุดเด่นของ Uniqlo คือเรื่องราคาคุ้มค่า ซึ่งจะดึงดูดผู้บริโภคที่ใส่ใจในราคา ท่ามกลางยุคที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น.

ที่มา

]]>
1191865