โลจิสติกส์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 11 Mar 2024 13:10:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ตลาด “คลังสินค้า” เริ่มชะลอตัว หลังอีคอมเมิร์ซผ่อนการลงทุน ปัญหาในทะเลแดงกระทบส่งออก-นำเข้า https://positioningmag.com/1465957 Mon, 11 Mar 2024 12:35:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465957 “ไนท์แฟรงค์” ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ วิเคราะห์สภาวะตลาด “คลังสินค้า” ครึ่งปีหลัง 2566 พบสัญญาณความร้อนแรงเริ่มชะลอตัว อัตราการเช่าและค่าเช่าลดลง หลังอีคอมเมิร์ซเริ่มผ่อนการลงทุนตามสภาพเศรษฐกิจไทย และปัญหาการเดินเรือในทะเลแดงมีผลต่อการส่งออกนำเข้าระหว่างภูมิภาคเอเชียกับยุโรป

อุปทานเพิ่ม 6.3% แถบอีอีซีเปิดเพียบ

ข้อมูลจาก “ไนท์แฟรงค์” วิจัยตลาด “คลังสินค้า” ในไทยพบว่า ช่วงครึ่งปีหลัง 2566 มีอุปทานคลังสินค้าเพิ่มขึ้นอีก 169,000 ตร.ม. เพิ่มขึ้น 6.3% เทียบช่วงเดียวกันปี 2565 ซัพพลายที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้มีคลังสินค้าสะสมในตลาด 5.70 ล้านตร.ม. ณ สิ้นปี 2566

คลังสินค้า

ปัจจุบันคลังสินค้าของไทยแบ่งได้เป็น 3 เขตหลัก คือ

  • เขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล คิดเป็นสัดส่วน 45% ของตลาด
  • เขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) คิดเป็นสัดส่วน 41% ของตลาด
  • เขตภาคกลาง คิดเป็นสัดส่วน 13% ของตลาด

คลังสินค้า

อุปทานที่เพิ่มขึ้นมาในช่วงครึ่งปีหลัง 2566 นั้นส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในเขตอีอีซีมากที่สุด โดยแถบอีอีซีมีพื้นที่คลังสินค้ามากขึ้น 8.9% เทียบช่วงเดียวกันปี 2565 มีคลังสินค้าใหม่ๆ เช่น เคอาร์ ต.บึง จ.ชลบุรี, อัลฟ่า แหลมฉบัง จ.ชลบุรี, เฟรเซอร์ บางนา 2 จ.ฉะเชิงเทรา

ขณะที่เขตภาคกลางก็มีคลังสินค้าเพิ่มขึ้นถึง 6.9% โดยมีคลังสินค้าใหม่ เช่น อัลฟ่า รังสิต-พหลโยธิน กม.33 จ.ปทุมธานี, บิลด์เวลด์ อาร์บีเอฟ จ.ปทุมธานี

 

อุปสงค์ลด พื้นที่ “คลังสินค้า” ว่างมากขึ้น

ไนท์แฟรงค์พบว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง 2566 แม้จะมีการเช่าพื้นที่คลังสินค้าใหม่ 150,000 ตร.ม. แต่มีการคืนพื้นที่เช่าเกือบ 181,800 ตร.ม. ซึ่งทำให้การดูดซับสุทธิ “ติดลบ” 31,800 ตร.ม.

อัตราการเช่าของคลังสินค้าไทยจึงลงมาอยู่ที่ 84.4% ซึ่งกลับมาอยู่ในค่าเฉลี่ยอัตราการเช่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ความร้อนแรงในตลาดนี้จึงเห็นได้ว่าเริ่มชะลอตัวลง

การวิเคราะห์นี้พบว่า ผู้เช่ารายสำคัญของคลังสินค้าไทยยังเป็นบริษัทไทยมากที่สุด รองลงมาคือญี่ปุ่น และตามด้วยบริษัทจีน ส่วนในแง่ของประเภทอุตสาหกรรม อุตสาหกรรม FMCG คือผู้เช่ารายใหญ่ ตามด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

คลังสินค้าไทยถือเป็นห่วงโซ่ที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับซัพพลายเชน “การนำเข้า-ส่งออก” การเช่าพื้นที่ที่ลดลงเมื่อปีก่อนเป็นผลกระทบโดยตรงมาจากความไม่แน่นอนในการขนส่งทางทะเลระหว่างภูมิภาคเอเชียกับยุโรป หลังจากกลุ่มกบฏฮูตีทำการโจมตีในทะเลแดงจนบริษัทขนส่งทางเรือต้องเดินเรืออ้อมแหลมกู้ดโฮปแทน เกิดความผันผวนเรื่องระยะเวลาเดินเรือขนส่งและค่าใช้จ่ายในการขนส่งอย่างมาก อุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพิงการส่งออก-นำเข้าจึงลดการลงทุนลงก่อนเมื่อเผชิญความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ และกระทบกับการลงทุนเช่าขยายคลังสินค้า

ขณะเดียวกันกลุ่มลูกค้าผู้เช่าอีกกลุ่มหนึ่งคือ “อีคอมเมิร์ซ” ที่เคยร้อนแรงต่อเนื่องมาหลายปี ก็เริ่มชะลอการลงทุนลงหลังจากเศรษฐกิจไทยเติบโตช้าลง โดยปีที่ผ่านมาจีดีพีไทยโตเพียง 1.9% ตามข้อมูลของสภาพัฒน์

สำหรับอัตราค่าเช่าคลังสินค้ามีปรับลดลงเล็กน้อยเหลือเฉลี่ย 158 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน เป็นการปรับลดลงมาประมาณ 5-10 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน หลังจากคลังสินค้าใหม่ๆ ลดค่าเช่าลงเพื่อเข้าสู่ตลาด

 

ปี 2567 เตรียมตัวรับซัพพลายอีกกว่า 4 แสนตร.ม.

งานวิจัยของไนท์แฟรงค์ยังคาดการณ์ด้วยว่าจะมีซัพพลายคลังสินค้าเข้าสู่ตลาดในปี 2567 อีก 413,900 ตร.ม. แบ่งเป็นช่วงครึ่งปีแรก 218,100 ตร.ม. และครึ่งปีหลัง 195,800 ตร.ม.

ในพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ 70% จะเปิดตัวในพื้นที่เขตอีอีซี อีก 25% เป็นพื้นที่เขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และ 5% ในเขตภาคกลาง

ไนท์แฟรงค์ประเมินด้วยว่า ผู้ประกอบการบางรายที่เริ่มพัฒนาแตกไลน์จากคลังสินค้าแบบดั้งเดิมไปสู่บริการเฉพาะทาง เช่น ห้องเย็น คลังสินค้าอันตราย ลานยานยนต์ น่าจะมีการเติบโตที่ดีกว่าในอนาคต

]]>
1465957
“เอสซีจี” ผนึก “มัส บี” บริษัทร่วมทุนในกลุ่มไทยเบฟและเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ถือหุ้น 50 : 50 ดัน NocNoc ขึ้นเบอร์ 1 Home and Living Destination Platform ในตลาดอาเซียน https://positioningmag.com/1433835 Tue, 13 Jun 2023 11:00:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433835

“เอสซีจี” ผนึก “มัส บี” บริษัทร่วมทุนในกลุ่มไทยเบฟและเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ร่วมทุนใน BetterBe โดยถือหุ้นฝ่ายละ 50% รวมมูลค่ากว่า 3,900 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าดัน “NocNoc” ผู้ให้บริการ ทุกเรื่องออนไลน์มาร์เก็ตแพลตฟอร์มในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ขึ้นเบอร์ 1 ในธุรกิจ Home and Living Destination Platform ในตลาดอาเซียน ภายในปี 2571 พร้อมชูประสบการณ์เป็นแพลตฟอร์มการซื้อสินค้าและบริการตกแต่งบ้านที่เข้าถึงง่าย หลากหลาย ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์สำหรับลูกค้า ผู้ขาย และผู้ให้บริการ ด้วยเทคโนโลยีระบบ AI ช่วยเปลี่ยนแรงบันดาลใจในการแต่งบ้านเป็นแรงบันดาลจริง มั่นใจสิ้นปี 2566 ยอดขายเติบโต 2.5 เท่าจากปีก่อน

นายนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี เปิดเผยว่า “บริษัท เบ็ตเตอร์บี มาร์เก็ตเพลส จำกัด หรือ BetterBe ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเอสซีจี ที่ประกอบธุรกิจออนไลน์มาร์เก็ตแพลตฟอร์มในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ NocNoc และในประเทศอินโดนีเซียภายใต้ชื่อ Renos เป็นบริษัทที่มีศักยภาพสูง เติบโตต่อเนื่อง เข้าถึงตลาดรวมกว่า 300 ล้านคน อีกทั้งยังตอบรับกับเทรนด์การอยู่อาศัยที่ต้องการความสะดวกสบาย รวดเร็วมากขึ้น

การร่วมทุนใน BetterBe ระหว่างเอสซีจี กับ บริษัท มัส บี จำกัด (“มัส บี”) บริษัทร่วมทุนของกลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ และบริษัทเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ครั้งนี้ โดย เอสซีจี ถือหุ้น 50% และมัส บี ถือหุ้น 50% ถือเป็นการผสานศักยภาพของเอสซีจี กับมัส บี ที่มีเครือข่ายระบบโลจิสติกส์ ทั้งการขนส่ง คลังสินค้า รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์การค้า และโรงแรมที่ครอบคลุมทั่วประเทศ จะทำให้ NocNoc แข็งแกร่งยิ่งขึ้น พร้อมคว้าโอกาสเติบโตในอนาคต จากฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นและการเปิดตลาดบ้านและที่อยู่อาศัย (Home and Living) ไปสู่วงกว้างมากขึ้น”

นายโฆษิต สุขสิงห์ กรรมการผู้มีอำนาจของ มัส บี และรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดกลุ่มดิจิทัลและเทคโนโลยี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การที่มัส บี ได้เข้ามาร่วมทุนกับเอสซีจีครั้งนี้ เนื่องจากมองเห็นทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมออนไลน์มาร์เก็ตเพลสแพลตฟอร์ม ซึ่งมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยในปี 2566 ทางศูนย์วิจัยกสิกร ได้ประเมินว่ามูลค่าตลาด B2C E-Commerce น่าจะมีอัตราการขยายตัวในอัตรา 4-6% หรือคิดเป็นมูลค่าตลาดประมาณ 606,000-618,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นโอกาสทางการตลาดในการสร้างการเติบโตด้านยอดขายและรายได้ให้เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ มัส บี ยังมองว่าการร่วมทุนใน BetterBe กับเอสซีจี มีศักยภาพและความแข็งแกร่ง โดยเฉพาะในธุรกิจเกี่ยวกับการตกแต่งบ้านและการอยู่อาศัย ตลอดจนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ มีช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเข้าถึงลูกค้าได้หลากหลาย รวมถึงระบบการจัดส่งสินค้าหรือโลจิสติกส์ที่สามารถกระจายสินค้าถึงมือผู้บริโภคได้โดยตรง และยังมี Home and Living Platform จัดจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับบ้านและการอยู่อาศัย ที่มีความแข็งแกร่งอย่าง NocNoc ซึ่งจะเข้ามาเสริมโอกาสทางการตลาดและเพิ่มยอดขาย ให้กับสินค้าในกลุ่มบริษัทฯได้อีกมากด้วย”

นางชลลักษณ์ มหาสุวีระชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เบ็ตเตอร์บี มาร์เก็ตเพลส จำกัด หรือ NocNoc กล่าวว่า “NocNoc มุ่งสู่ Home and Living Destination Platform ที่ช่วยให้ทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่เปิดกว้างให้ผู้ขาย แบรนด์ และพันธมิตรทุกรายสามารถนำเสนอสินค้าบนแพลตฟอร์มได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ขณะที่ผู้บริโภคเข้าถึงตัวเลือกสินค้าและบริการในกลุ่มบ้านและที่อยู่อาศัย (Home and Living) หลากหลาย ครบวงจร ตอบโจทย์ทุกความต้องการ โดย NocNoc เร่งนำเทคโนโลยีมาพัฒนาประสบการณ์การซื้อสินค้า อาทิ AI Personalization และ NocNoc GPT ซึ่งช่วยให้การต่อเติม ตกแต่งบ้านทั้งหลังเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น ตลอดจนสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องบ้าน เพื่อให้ผู้บริโภคใกล้ชิดกับ NocNoc มากขึ้น เปรียบเสมือนเพื่อนรู้ใจคนแต่งบ้าน อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ขายบนแพลตฟอร์มเป็นที่รู้จักในวงกว้างและเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น

การร่วมทุนครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้ NocNoc เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นโอกาสของผู้ขาย แบรนด์ และพันธมิตรทุกรายบนแพลตฟอร์มที่จะเติบโตไปพร้อมกัน โดยบริษัท ฯ ตั้งเป้าขึ้นแท่น ผู้นำตลาดเบอร์ 1 Home and Living Destination Platform ในตลาดอาเซียน ภายในปี 2571

28 มิ.ย. 66 – 2 ก.ค. 66 นี้ NocNoc เตรียมจัดงานใหญ่ใจกลางเมืองครั้งแรก “NocNoc Fair” งานแฟร์เพื่อคนรักบ้านที่รวบรวมสินค้าและบริการทุกเรื่องบ้านจากร้านค้าบนแพลตฟอร์ม NocNoc กว่า 3,000 ร้านค้า ในดีลคุ้มสุดพิเศษ พร้อมอัปเดตเทคโนโลยีที่พร้อมเป็นผู้ช่วยให้การแต่งบ้านเป็นเรื่องง่ายผ่าน “NocNocGPT” ที่ใช้ระบบ AI วิเคราะห์และออกแบบบ้านในสไตล์ที่ใช่เพื่อคนแต่งบ้านโดยเฉพาะ และต่อเติมแรงบันดาลใจ Home InspiRealtion จากเหล่าศิลปินและอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังที่พร้อมแชร์เรื่องบ้านในทุกสไตล์ ความสุขอัดแน่นเพื่อคนรักบ้านตลอด 5 วันเต็ม ที่ ชั้น 1 CentralwOrld, Central Court & Eden Zone ข้อมูลเพิ่มเติม https://bit.ly/3MrYdBe”

สำหรับผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา NocNoc มียอดขายรวมบนแพลตฟอร์มกว่า 10,000 ล้านบาท ในช่วงระยะเวลา 4 ปีที่เปิดให้บริการ ปัจจุบันมีผู้เข้ามาใช้บริการเฉลี่ยมากกว่า 3 ล้านรายต่อเดือน ทั้งกลุ่มลูกค้า B2C และ B2B จากการร่วมทุนกันในครั้งนี้ รวมถึงกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทในปีนี้ เชื่อมั่นว่า NocNoc จะมียอดขายบนแพลตฟอร์มเติบโต 2.5 เท่า จากปีที่ผ่านมา

]]>
1433835
‘Flash Express’ แก้เกมหลังขาดทุน! ซุ่มทำธุรกิจใหม่ปั้น “คนดังขายของ” บน TikTok https://positioningmag.com/1414985 Tue, 10 Jan 2023 08:42:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414985 หากพูดถึงปัญหา น้ำมันแพง เชื่อว่าผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ก็แทบกระอักเลือดแล้ว และสำหรับธุรกิจ ขนส่ง หรือ โลจิสติกส์ ก็เจ็บหนักจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมากเช่นกัน โดย คมสันต์ ลี ผู้ก่อตั้งอาณาจักร Flash Group ยูนิคอร์นตัวแรกของไทย ก็ได้มาเปิดใจถึงภาพรวมปี 2022 ที่เคยคิดว่า สดใส แต่กลายเป็น ขาดทุน

2022 ที่ไม่เป็นอย่างที่วาดไว้

ย้อนไปปี 2021 Flash Express มีรายได้กว่า 17,600 ล้านบาท มี กำไร 6 ล้านบาท ถึงแม้จะน้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้ แต่ก็ถือเป็น ปีแรก ที่บริษัทมีกำไร ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะอย่างที่รู้กันว่าธุรกิจโลจิสติกส์มีการแข่งขันที่สูง โดยเฉพาะเรื่องราคา

แต่เพราะการที่ปี 2021 ที่เริ่มมีกำไร ทำให้ คมสันต์ ลี มองว่าปี 2022 จะสดใสแน่นอน แต่สิ่งที่คิดไม่เหมือนกับความเป็นจริง เพราะในปี 2022 นั้นมี ปัจจัยลบมหาศาล เริ่มจาก

  • อีคอมเมิร์ซที่การเติบโตชะลอตัวลงอย่างมาก จากที่เคยเติบโตถึง 200% ทำให้อีคอมเมิร์ซในปี 2022 ไม่สามารถเติบโตไปได้มากกว่านี้ ประกอบกับเงินทุนของเหล่าอีคอมเมิร์ซที่ลดลงจากราคาหุ้นที่ตกลง บางรายตกลงกว่า 60% ทำให้เม็ดเงินที่จะอัดลงมากระตุ้นตลาดขาดหายไป นอกจากนี้ผู้บริโภคยังชะลอจับจ่าย เห็นได้ชัดว่าราคาเฉลี่ยต่อบิล ลดลง 15%
  • COVID-19 ที่ยังไม่หายไป ส่งผลให้เจ้าหน้าที่กว่า 7,000 คนต้อง Work From Home อยู่บ้าน คลังสินค้าถูกปิด ดังนั้น แฟลชจึงต้องจ้างพนักงานมาทดแทนที่ขาดหายไป ต้นทุนจึงเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล เพราะเหมือนการจ่ายเงินเพิ่ม 2 เท่าเพื่อให้ได้งานเดิม และยังมีต้นทุนถึงมาตรการฆ่าเชื้อต่าง ๆ ที่ตามมาอีก
  • น้ำมันแพงขึ้นเท่าตัว จากที่น้ำมันเคยลิตรละ 20 บาท แต่ผลพวงจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้น้ำมันแพงขึ้นเป็น 30-40 บาทต่อลิตร ส่งผลให้จากที่มีต้นทุนน้ำมันเดือนละ 300-400 ล้านบาท เพิ่มเป็นเท่าตัว ซึ่งวิกฤตนี้เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้ต้องบริหารจัดการลดต้นทุนภายในเป็นหลัก

ตลาดต่างประเทศก็มีปัญหา

ในปี 2022 ถือเป็นปีแรกที่ Flash Express ขยายไปตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ลาว, ฟิลิปปินส์ และ มาเลเซีย โดยในส่วนของ ลาว ก็เจอ ปัญหาค่าเงิน โดยมูลค่าของเงินกีบหายไป 40% และค่าน้ำมันในลาวเพิ่มขึ้นเท่าตัว อย่างไรก็ตาม ประเทศลาวไม่ใช่ประเทศใหญ่ ทำให้ไม่ส่งผลกระทบมากนัก

มาเลเซีย เจอ ปัญหาบุคคล เพราะคนหันไปทำงานที่สิงคโปร์ที่ได้เงินเดือนมากกว่า อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมี 7,000 คน ให้บริการเกือบครบทั่วประเทศ และภายในสิ้นปีมั่นใจว่าจะขึ้นเป็นที่ 3 ของตลาดมาเลเซียอย่างมั่นคง

ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศเดียวที่เติบโตดี เนื่องจากมีประชากรถึง 100 ล้านคน การจับจ่ายใกล้เคียงไทย ขณะที่ตลาดอีคอมเมิร์ซกำลังเติบโต เนื่องจากคมนาคมของประเทศยังไม่ดีมาก โดยปัจจุบัน Flash Express เป็นที่ 3 ในตลาด และคาดว่าปี 2023 นี้จะขึ้นเป็นที่ 2 และทำกำไรได้

“ปี 2022 เรามีรายได้ใกล้เคียงกับปี 2021 แต่ขาดทุนเกิน 20 ล้านบาทแน่นอน”

2023 มั่นใจต้องดีกว่าเดิม

ปีนี้เชื่อว่าจะดีกว่าปีก่อน เพราะน้ำมันคงไม่แพงไปมากกว่านี้ สถานการณ์สงครามมีแนวโน้มจะจบลง ขณะที่การแข่งขันด้าน ราคา ก็ไม่ใช่ปัจจัยหลักหากดูจากแนวโน้มในปี 2022 ที่ทุกคนเจ็บหนักจากต้นทุนที่สูง ซึ่งการแข่งขันจากนี้จะเป็นเรื่อง ความเสถียรของบริการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง คลังแตก ทำให้ไม่สามารถให้บริการได้ในบางพื้นที่ อีกส่วนคือ คุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านความเสียหาย, สินค้าหาย และความเร็ว ซึ่งปัจจุบันปัญหาดังกล่าวในไทยลดน้อยลงมาก ขณะที่ความเร็วถือเป็น ที่ 1 ในภูมิภาค เฉลี่ยที่ 2 วันถึง

นอกจากนี้ การเติบโตของ TikTok ที่ทำให้โครงสร้างตลาดของอีคอมเมิร์ซกำลังเปลี่ยนไป ขณะที่การ ท่องเที่ยว ที่กำลังกลับมาจะยิ่งช่วยฟื้นกำลังซื้อผู้บริโภค

“ตอนนี้ความเร็วไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าให้ความสำคัญหลัก แต่เป็นเรื่องความเสถียร อย่างเวลาคลังแตกลูกค้าไม่ได้รับพัสดุ เขาไม่ถล่มเป็นพื้นที่แต่เหมารวมทั้งบริษัท ส่วนราคาเรามองว่าการแข่งขันเริ่มน้อยลง ซึ่งปัจจุบันราคาเริ่มต้นเราอยู่ที่ 25 บาท กรุงเทพฯ 23 บาท ซึ่งตอนนี้คงปรับขึ้นไม่ได้แล้ว”

ปั้นคนดังขายของ อีกธุรกิจน่าจับตา

แฟลชมีธุรกิจย่อยอีก 10 บริษัท แต่ที่กำลังเติบโตอย่างดีคือ F Commerce หรือ บริการจัดหาอินฟลูเอนเซอร์มาไลฟ์สดขายของให้แบรนด์ ผ่านโซเชียลมีเดียโดยเฉพาะ TikTok ที่กำลังเติบโต โดยแฟลชถือเป็น 1 ใน 3 บริษัทของโลกที่เป็นพันธมิตรกับ TikTok ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจกับแพลตฟอร์มครบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการไลฟ์ขายของ การยิงโฆษณา บริหารจัดการคลังสินค้าให้แพลตฟอร์ม

ปัจจุบันมีบริการใน 4 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย โดยแฟลชถือเป็นเบอร์ 1 ในตลาด ส่วน ไทย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และ เวียดนาม เป็น Top 3 โดยในไทยบริษัทกำลังหาเช่าพื้นที่สำหรับเป็นสตูดิโอสำหรับไลฟ์ขายของให้กับอินฟลูเอนเซอร์

“บริการ F Commerce ช่วยให้ Win-Win ทุกฝ่าย อินฟลูฯ ก็ได้คอมมิชชั่นจากการขาย ไม่ต้องมีสินค้าเอง แบรนด์ก็ไม่ต้องไปหาอินฟลูเอนเซอร์เอง ส่วนแฟลชก็มีรายได้จากโฆษณา และช่วยเพิ่มวอลลุ่มการจัดส่ง โดยที่เราทำไปทั้งหมดก็เพื่อเพิ่มการจัดส่ง ซึ่งปัจจุบันเรามียอดพัสดุ 2 ล้านชิ้นต่อวัน ส่วนอินฟลูฯ ในระบบมีกว่า 400 คน”

ผลิตภัณฑ์บิวตี้เป็นหนึ่งในสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการแรงกระตุ้นทั้งราคาและรีวิว และรีวิวมีอิทธิพลมากกว่าเล็กน้อย

จากการเติบโตที่สูงของไลฟ์สดขายของ ทำให้บริการ Flash Fulfillment ได้แตกไปสู่ คลังสินค้าสำหรับสินค้าไลฟ์สด จากเดิมมีแต่ แบรนด์ และ ลูกค้าทั่วไป ซึ่งปัจจุบันคลังสินค้าของกลุ่มไลฟ์สดมีสัดส่วน เกินครึ่ง ไปแล้ว ส่วนธุรกิจ Fulfillment ในต่างประเทศ อาทิ เวียดนาม, อินโดนีเซีย ยังคงเติบโต โดยเฉพาะลูกค้าต่างชาติที่ไม่ต้องการทำคลังสินค้าเอง

อีกธุรกิจของแฟลชที่กำลังจะขยายคือ Flash Money และ Flash Pay ที่ให้บริการกับกลุ่ม B2B เมื่อปี 2022 โดย Flash Pay ในปีที่ผ่านมา Transaction กว่า 1,000 ล้านบาท ส่วน Flash Money ได้ปล่อยสินเชื่อแล้ว 500 ล้านบาท โดยในปี 2023 นี้มีแผนจะเริ่มให้บริการกับบุคคลทั่วไป

ผู้บริหารไม่พอ ความท้าทายใหม่แฟลช

แม้ว่าภาพรวมตลาดมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่สิ่งที่แฟลชมองว่าเป็นความท้าทายสำคัญในปี 2023 คือ การเปลี่ยนบทบาทของผู้บริหาร และ ขวัญกำลังใจของพนักงาน เนื่องจากปัจจัยภายนอกอย่างน้ำมันที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้ปีที่ผ่านมา แฟลชต้องปรับโครงสร้างภายในไม่ว่าจะเป็นเส้นทางเดินรถ การเช่าสถานประกอบการ และการโยกย้ายปรับเปลี่ยนผู้บริหารเกือบ 20% โดยให้ผู้บริหารที่เก่งเรื่อง สร้าง ไปต่างประเทศ ส่วนผู้บริหารที่เก่ง ซ่อม ให้รักษาฐานธุรกิจเดิม

“ปีที่แล้วถือเป็นปีมรสุมของทุกคนไม่ใช่แค่เรา แต่ขึ้นอยู่กับใครซ่อมตัวเองได้เร็วกว่า เรามีการเปลี่ยนผู้บริหารไปเกือบ 20% ส่วนการลดค้นทุนตอนนี้ยังต้องทำต่อเนื่อง ที่แก้ได้แก้ไปหมดแล้ว เหลือแต่น้ำมันที่ควบคุมไม่ได้ พอสวิงขึ้นเราขาดทุนทันที”

เพราะจำนวน ผู้บริหารมีไม่พอ เนื่องจากอย่างน้อยต้องใช้ถึง 200 คนในแต่ละประเทศ ทำให้การจะ ขยายไปต่างประเทศทำได้ยากขึ้น เพราะที่ผ่านมาแฟลชได้ทดลองดึงผู้บริหารจากนอกองค์กร แต่สุดท้ายไม่ไหว ดังนั้น แฟลชจำเป็นต้อง ปั้นลูกหม้อ ที่เติบโตมาจากแฟลชจริง ๆ ไปทำงาน ดังนั้น การขยายไปต่างประเทศในปีนี้จะลดเหลือ 1 ประเทศ จากแผนที่ต้องการไป 2 ประเทศ โดยกำลังเลือกระหว่าง สิงคโปร์ และ เวียดนาม

“เราเคยหาคนนอกมาเติม แต่ว่ามันไม่เวิร์ก ทำให้เขามาแล้วมันไม่ทน ไม่เหมือนคนที่เราปั้นมา ดังนั้น ตลาดที่มีการเติบโตสูงมาก อย่าง ลาตินอเมริกา และซาอุดีอาระเบีย เราเลยยังไม่ไป เพราะยังไม่พร้อมเรื่องคน”

ระยะยาวต้องเลิกพึ่งตลาดไทย

จากวิกฤตหลาย ๆ ด้าน ทำให้แผนการ เข้าตลาดหลักทรัพย์ เลื่อนไปในปี 2024 ขณะที่ปัจจุบันบริษัทมีมูลค่าอยู่ที่ 70,000 ล้านบาท โดยในช่วงเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมาบริษัทเพิ่งระดมทุนเพิ่มได้ 15,000 ล้านบาท ซึ่งจากนี้จะใช้ในการลงทุนทั่วไป

ในระยะยาว คมสันต์ มองว่า ต้อง ลดการพึ่งพาประเทศไทย ดังนั้น เป้าหมายในอนาคตรายได้จากต่างประเทศเมื่อรวมกันต้องมากกว่าไทย 3-4 เท่า เพื่อให้ธุรกิจมีความมั่นคงมากขึ้น โดยปัจจุบันรายได้ของไทยคิดเป็นเกือบ 70% เมื่อเทียบกับรายได้จากต่างประเทศรวมกัน

“ตั้งแต่เป็นยูนิคอร์นเราเหนื่อยมาก ตอนมาใหม่ ๆ เราไฟแรงอยากทำทุกอย่าง มองเห็นโอกาสไปหมด แต่ทำไปแล้วเจอแต่ปัญหา ยิ่งพอผู้ถือหุ้นมากขึ้นเราก็ต้องปรับตัวมากขึ้น เป็นมืออาชีพมากขึ้น ต้องแบกรับความคาดหวังมากขึ้น ต้องระวังตัวมากขึ้น”

]]>
1414985
ลงทุนในสินทรัพย์ป้อมปราการ แข็งแกร่งต้านทานความผันผวน ไปกับกองรีท WHART https://positioningmag.com/1405127 Sat, 22 Oct 2022 04:00:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1405127

เราจะเห็นความเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นในต่างประเทศในช่วงที่ผ่านมานั้นมีผลตอบแทนที่ผันผวนและไม่เป็นใจกับนักลงทุนมากนักในช่วงที่ผ่านมา ถ้าหากนับผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 28 กันยายน 2565 ไม่ว่าจะเป็นดัชนี S&P 500 นั้นมีผลตอบแทนติดลบ 23.48% ขณะที่ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิทที่เป็นดัชนีหุ้นจีน ผลตอบแทนติดลบ 16.34% หรือแม้แต่ผลตอบแทนดัชนีพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกนับตั้งแต่ต้นปีจนถึง วันที่ 28 กันยายน 2565 ข้อมูลจาก Wall Street Journal ได้ชี้ให้เห็นว่าผลตอบแทนนั้นติดลบ 13.46% สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นแทบจะทั่วโลกเกิดความผันผวนได้แก่ การบุกยูเครนโดยรัสเซีย การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ เหตุผลต่างๆ เหล่านี้ได้สร้างผลกระทบต่อตลาดทุนอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา

แล้วเราจะหาหลุมหลบภัยการลงทุนในช่วงสภาวะตลาดไม่เป็นใจได้อย่างไร

หนึ่งในสินทรัพย์ที่ผู้จัดการกองทุนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นของบริษัทประกันภัยกองทุนรวมของสถาบันการเงินต่างๆ ที่ได้มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนเพื่อที่จะไม่ให้พอร์ตการลงทุนผันผวนนั่นก็คือ “ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” หรือที่เรารู้จักกันดีว่า กองรีท (REIT) ซึ่งกองรีทกองหนึ่งที่มีความมั่นคง และจ่ายผลตอบแทนสม่ำเสมอที่เหมาะจะเป็นป้อมปราการทางการลงทุนสร้างกระแสเงินสดสม่ำเสมอให้กับพอร์ตการลงทุนของเรา

ในช่วงนี้ที่จะพาไปทำความรู้จักก็คือทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดับบลิวเอชเอ      พรีเมี่ยม โกรท หรือ กองทรัสต์ WHART


กอง WHART เป็นป้อมปราการทางการลงทุนที่มั่นคงอย่างไร?

  1. กอง WHART เป็นกองรีทที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มคลังสินค้าและโรงงาน  โดยมีขนาดสินทรัพย์เท่ากับ 47,905 ล้านบาท จากข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 บริหารทรัพย์สินโดยบริษัท WHA Corporation ผู้นำในการพัฒนาคลังสินค้าและผู้ให้บริการอุตสาหกรรมครบวงจรในประเทศไทย
  2. กอง WHART ลงทุนในคลังสินค้าและโรงงานให้เช่าที่มีสัญญาเช่าระยะยาวจำนวนมาก กอง WHART ลงทุนในคลังสินค้าและโรงงานให้เช่าประเภทสร้างตามความต้องการลูกค้าหรือ Built to suit คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 56 ของสินทรัพย์ที่กองลงทุนทั้งหมด ซึ่งโดยปกติลูกค้ากลุ่มนี้จะทำสัญญาเช่าระยะยาวกับผู้ให้เช่า ทำให้กอง WHART มีอายุสัญญาเช่าเฉลี่ยคงเหลือกับลูกค้ายาวถึง 3.55 ปี ทำให้กองมีรายได้อย่างสม่ำเสมอจากการปล่อยเช่า
  1. กอง WHART ปล่อยเช่าคลังสินค้า โรงงานให้กับกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมที่เติบโต กอง WHART ปล่อยเช่าคลังสินค้าและโรงงานให้กับบริษัทชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น DKSH, ไทวัสดุ, Alibaba Smart Hub, Shopee Xpress, Kerry Logistics เป็นต้น โดยทรัพย์สินของกองทรัสต์ปัจจุบันรองรับลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ E-commerce ข้ามชาติ ธุรกิจ FMCG และธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์
  1. จ่ายปันผลสม่ำเสมอตั้งแต่จัดตั้งกองทรัสต์ในปี 2015 อีกปัจจัยที่สำคัญของป้อมปราการ คือ กอง WHART ยังขึ้นชื่อในเรื่องของการจ่ายปันผลที่สม่ำเสมอ นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมาอัตราการปันผลอยู่ในช่วง 0.74 – 0.76 บาทต่อหน่วยมาโดยตลอด

แม้กระทั่งในช่วงโควิดที่ผ่านมา ก็ไม่ได้กระทบต่อการจัดหารายได้ของกอง WHART แต่อย่างใด ซึ่งการได้รับผลตอบแทนที่สม่ำเสมอดังกล่าวช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนได้เป็นอย่างดี


เดินหน้าสร้างความแข็งแกร่งกับการลงทุนทรัพย์สินเพิ่มเติมในปี 2565

กอง WHART มีการลงทุนในทรัพย์สินเพื่อการเจริญเติบโตของกองมาอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงที่ผ่านมา ล่าสุดในปี 2565 นี้ กอง WHART มีแผนในการเพิ่มทุนอีกครั้ง เพื่อการนำสินทรัพย์เข้าสู่กองทรัสต์อีกครั้ง


ภาพหลังเพิ่มทุน ป้อมปราการของกอง WHART แข็งแกร่งและน่าสนใจขึ้นอย่างไร

 การลงทุนเพิ่มเติมในปี 2565 นี้ จะสร้างความมั่นคงให้กับกอง WHART เพิ่มขึ้นดังนี้

  1. ทรัพย์สินที่ลงทุน เพิ่มความมั่นคงให้กับกอง WHART ทรัพย์สินที่กอง WHART จะลงทุนในปีนี้ยังคงเน้นทรัพย์สินในรูปแบบ Built-to-Suit ที่มาพร้อมกับสัญญาเช่าระยะยาวของลูกค้า โดยกอง WHART ก่อนการเพิ่มทุนนั้นมีสัญญาเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.4 ปี แต่ถ้าหากเพิ่มทุนในปี 2565 แล้วจะมีสัญญาเช่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 3.55 ปี
  1. นอกจากนี้กอง WHART ยังมีอัตราการเช่าเฉลี่ยที่สูงถึง 92% แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของสินทรัพย์ภายในทรัสต์เพื่อการลงทุนฯ นั้นมีคุณภาพ ลูกค้าของ WHART มีความมั่นใจ
  2. ทรัพยสินที่ลงทุนอยู่ทำเลศักยภาพ ทำเลของสินทรัพย์ที่จะนำเข้ากองทรัสต์ในปีนี้นั้นอยู่ในพื้นที่ทำเลยุทธศาสตร์ นั่นก็คือ
  • ถนนบางนา-ตราด ซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์แห่งหนึ่งในการขนส่งเชื่อมต่อได้ทั้งท่าเรือในภาคตะวันออก หรือสนามบินสุวรรณภูมิ
  • อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถือเป็นแหล่งกระจายสินค้า ซึ่งบริษัทต่างๆ ที่ต้องการกระจายสินค้าในภาคเหนือ หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่างต้องการ
  • พื้นที่ EEC จังหวัดชลบุรี พื้นที่ดังกล่าวนี้กำลังจะกลายเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในระยะยาว

เราจะเห็นว่าทำเลพื้นที่ตั้งของโครงการถือว่ามีความสำคัญไม่น้อย และเป็นจุดเด่นที่ WHART มีมาโดยตลอด และการเพิ่มทุนในปี 2565 นี้จะมีโครงการที่เข้ามาสู่ WHART ได้แก่

  • โครงการดับบลิวเอชเอ เมกกะ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ บางนา-ตราด กม. 23 โปรเจค 3 ตั้งอยู่ที่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ มีพื้นที่เช่าอาคารรวมประมาณ 34,001 ตารางเมตร
  • โครงการดับบลิวเอชเอ ซิกโนด แฟคทอรี่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

พื้นที่เช่าอาคารรวมประมาณ 8,151 ตารางเมตร

  • โครงการดับบลิวเอชเอ เมกกะ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ เทพารักษ์ กม.21 ตั้งอยู่ที่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ มีขนาดพื้นที่เช่าอาคารรวมประมาณ 30,311 ตารางเมตร
  • โครงการดับบลิวเอชเอ-เคพีเอ็น เมกกะโลจิสติกส์เซ็นเตอร์บางนา-ตราด กม.23 โปรเจค 2 ตั้งอยู่ที่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ขนาดพื้นที่เช่าอาคารรวมประมาณ 19,796 ตารางเมตร
  • โครงการดับบลิวเอชเอ เซ็นทรัล เมกกะ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ วังน้อย 63 ตั้งอยู่ที่ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขนาดพื้นที่เช่าอาคารรวมประมาณ 67,704 ตารางเมตร

ภายหลังจากการลงทุนเพิ่มเติมครั้งนี้แล้วเสร็จ จะส่งผลให้ กองทรัสต์ WHART มีมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ แตะที่ระดับกว่าประมาณ 51,956.40 ล้านบาท และกอง WHART จะยังเป็นกองทรัสต์ Industrial ที่มีมูลค่าสินทรัพย์รวมมากที่สุดในไทย

จากปัจจัยข้างต้น จะเห็นได้ว่ากอง WHART เป็นป้อมปราการทางการลงทุนที่แข็งแกร่งสามารถทนทานต่อความผันผวนทางเศรษฐกิจในช่วงนี้ และเหมาะสำหรับการกระจายความเสี่ยงทางด้านการลงทุน เพื่อสร้างรายได้สม่ำเสมอให้กับพอร์ตการลงทุน

สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนในการเพิ่มทุนในครั้งนี้ สามารถจองซื้อได้ในช่วงเวลา และช่องทางดังนี้

  • ผู้ถือหน่วยเดิมที่มีสิทธิ สามารถจองซื้อได้ระหว่างวันที่ 7-11 พฤศจิกายน 2565
  • ประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นบุคคลตามดุลพินิจของผู้จัดจำหน่ายหน่วยทรัสต์ สามารถจองซื้อได้ระหว่างวันที่ 15-18 พฤศจิกายน 2565

โดยผู้ถือหน่วยเดิมที่มีสิทธิจะจองซื้อที่ราคาเสนอขายสูงสุดที่ 10 บาทต่อหน่วย ซึ่งจะมีการคืนส่วนต่างหากราคาเสนอขายสุดท้ายต่ำกว่า ในส่วนของประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นบุคคลตามดุลพินิจของผู้จัดจำหน่ายหน่วยทรัสต์จะจองซื้อที่ราคาเสนอขายสุดท้าย โดยราคาเสนอขายสุดท้ายกำหนดโดยกระบวนการ bookbuilding

อย่างไรก็ดีการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของ WHART รวมถึงความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุนในกองทรัสต์ได้ในเว็บไซต์ www.whareit.com หรือ

https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=441017&lang=th

คำเตือน: ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

]]>
1405127
“คอนเทนเนอร์” ที่เคยขาดแคลนตลอด 2 ปี บัดนี้สถานการณ์กลับตาลปัตรเพราะภาวะเศรษฐกิจฝืด https://positioningmag.com/1404431 Mon, 17 Oct 2022 06:20:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1404431 หลังผ่าน 2 ปีที่เกิดปัญหาขาดแคลน “คอนเทนเนอร์” ท่าเรือหนาแน่น และการดิสรัปต์ในวงการโลจิสติกส์ ปัจจุบันสถานการณ์กลับตาลปัตร เพราะการส่งออกของจีนหดตัวลง เป็นผลต่อเนื่องจากเศรษฐกิจตะวันตกที่เริ่มฝืดเคือง

ราคาขนส่งสินค้าด้วยคอนเทนเนอร์ผ่านทางกองเรือเคยขึ้นไปสู่จุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงที่เกิดโรคระบาด แต่ปัจจุบันราคากำลังลดลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเส้นทางเดินเรือระหว่างทวีปเอเชียกับสหรัฐฯ

“กลุ่มค้าปลีกและผู้ซื้อรายใหญ่ หรือว่ากลุ่มผู้นำเข้าส่งออก เริ่มจะระมัดระวังกับดีมานด์สินค้าในอนาคต ทำให้สั่งซื้อสินค้าน้อยลง” Christian Roeloffs ซีอีโอบริษัท Container xChange แพลตฟอร์มด้านโลจิสติกส์ กล่าว

“ความหนาแน่นในการขนส่งก็ลดลงด้วย เพราะระยะการรอเรือน้อยลง มีการใช้งานท่าเรือน้อยลง การรอคอนเทนเนอร์วนกลับมาก็ใช้เวลารอน้อยลง” Roeloffs กล่าว

Drewry composite World Container Index ดัชนีราคาคอนเทนเนอร์เมื่อสัปดาห์ก่อน ราคาค่าระวางคอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุตอยู่ที่ 3,689 เหรียญสหรัฐ ซึ่งต่ำลง 64% เทียบกับช่วงกันยายนปี 2021 โดยราคานี้ทยอยลดต่ำลงต่อเนื่องมาแล้ว 32 สัปดาห์

ค่าระวางสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นของคอนเทนเนอร์ 40 ฟุต คือ มากกว่า 10,000 เหรียญสหรัฐ แต่ราคาดังกล่าวก็ยังถือว่าสูงกว่าราคาก่อนเกิดโรคระบาดที่เคยอยู่ที่ 1,420 เหรียญ

ตู้คอนเทนเนอร์
(Photo by Stephen Chernin/Getty Images)

Drewry รายงานด้วยว่า ราคาค่าระวางเรือในเส้นทางหลักของโลก เช่น เซี่ยงไฮ้-รอตเตอร์ดาม หรือ เซี่ยงไฮ้-นิวยอร์ก ก็ตกลงเหมือนกัน โดยลดลงไปประมาณ 13%

ค่าระวางที่ลดลงสอดคล้องกับดีมานด์การขนส่งที่ลดลง Nomura Bank พบว่า การขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์จากเอเชียไปสหรัฐฯ สำหรับสินค้าทุกประเภท (ยกเว้นสินค้ายางพารา) ลดลงแรงเทียบกับเดือนกันยายนปีก่อน

“เราคาดกันว่า การขนส่งทางเรือที่ลดลงอย่างรวดเร็วสะท้อนให้เห็นว่า ค้าปลีกสหรัฐฯ มีการหยุดสั่งซื้อสินค้าเพิ่ม และลดการสต็อกสินค้าเพิ่มเพื่อเตรียมตัวรับความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้น” Masaharu Hirokane นักวิเคราะห์จาก Nomura กล่าว แม้ว่ายอดขายค้าปลีกในสหรัฐฯ ขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณหดตัวรุนแรงก็ตาม

 

คอนเทนเนอร์กองอยู่ในท่าเรือมากขึ้น

ในยุโรปก็เช่นกัน ราคาค่าระวางคอนเทนเนอร์ลดลงเพราะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง

“ตลาดยุโรปเผชิญกับคอนเทนเนอร์ 40 ฟุตกองพะเนินเต็มพื้นที่ ทำให้ราคาค่าระวางลดลง” Container xChange รายงาน

เทรนด์โลจิสติกส์ที่เคยเกิดขึ้นในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาบัดนี้ได้กลับตาลปัตรเสียแล้ว ในช่วงโรคระบาดมีปัญหาขาดแคลนคอนเทนเนอร์ก็เพราะท่าเรือเกิดล็อกดาวน์ทำให้การขนส่งล่าช้าแต่ดีมานด์สินค้ากลับมีมากขึ้น แต่ปัจจุบัน สถานการณ์โรคระบาดกลับมาปกติ ขณะที่ดีมานด์สินค้าลดลง

“คอนเทนเนอร์ไปกองทับถมกันจำนวนมากในท่าเรือที่เน้นด้านการนำเข้าสินค้า สายเรือจำต้องส่งออกคอนเทนเนอร์เปล่าไปเพราะว่าคอนเทนเนอร์มาติดอยู่ที่ท่านานเกิน” Gregoire van Strydonck Account Manager ของ Container xChange กล่าว

ไม่ว่าจะในยุโรป จีน อินเดีย สิงคโปร์ หรือส่วนอื่นๆ เริ่มพบว่าคอนเทนเนอร์อยู่เต็มพื้นที่จัดเก็บมากขึ้น

Source

]]>
1404431
‘ไปรษณีย์ไทย’ ยกธงขาว ‘สงครามราคา’ ขอโฟกัส ‘คุณภาพ’ พร้อมดัน ‘รีเทล’ อุดรายได้ส่งด่วน https://positioningmag.com/1395268 Fri, 05 Aug 2022 09:24:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395268 เพิ่งเจอหมัดสวนของ 2 คู่แข่งรายใหญ่ไปหมาด ๆ จากที่ ไปรษณีย์ไทย ประกาศขึ้นราคา จดหมายประเภทซอง แม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับตลาด ขนส่งพัสดุ (Parcel Delivery) โดยเฉพาะกับตลาด ส่งด่วนหรือ EMS แต่ไปรษณีย์ไทยก็ได้ผลกระทบหนัก ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ถึงกับต้องรื้อกลยุทธ์ครึ่งปีหลัง เพื่อหาทางสร้างรายได้ที่จากทางอื่นเพื่อมาอุดช่วงว่างที่ถูกแย่งชิงไป

ยกธงขาวแข่งราคา

ดร.ดนันท์ ยอมรับว่าสถานการณ์การแข่งขันของตลาดขนส่งพัสดุกลับมาดุเดือดอีกครั้ง หลังจากที่ตอนราคาน้ำมันปรับตัวสูงทำให้ผู้เล่นแต่ละรายต้องประคองราคาค่าส่งเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนที่สูงขึ้น อีกทั้งตลาดอีคอมเมิร์ซไม่ได้เติบโตเหมือนช่วงโควิด อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ไปรษณีย์ไทยมีการ ปรับขึ้นราคาจดหมายประเภทซอง ทำให้ผู้บริโภคคิดว่าไปรษณีย์ไทยปรับขึ้นราคาทั้งหมด ส่งผลให้คู่แข่งก็ถือโอกาสดัมพ์ราคาลงมาเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด

“เราขึ้นราคาส่งจดหมาย ส่งด่วนไม่เคยขึ้น ซึ่งคู่แข่งก็อาศัยช่วงที่ผู้บริโภคยังงง ๆ ดัมพ์ราคา ส่งผลให้ตลาดมีการแย่งชิ้นงานมากขึ้น และด้วยการแข่งขันที่รุนแรงทำให้ราคาต่อชิ้นลดลงอีก 10% เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา ดังนั้น ต่อให้จำนวนชิ้นที่เพิ่มก็ยังชดเชยรายได้ที่หายไปไม่ได้ จะเห็นว่าทุกเจ้ากำไรลดลง แม้จำนวนชิ้นเพิ่ม”

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

โดยทิศทางของไปรษณีย์ไทยในครึ่งปีหลังนี้จะพยายามไม่แข่งด้านราคา แต่จะเน้นที่คุณภาพผ่านกลยุทธ์ Parcel Define Logistics หรือมีการปรับแต่งระบบการขนส่งให้สอดคล้องกับพัสดุ ตั้งแต่แพ็กเกจจิ้งจนถึงระบบการขนส่ง เช่น ส่งของชิ้นใหญ่, ส่งต้นไม้, ส่งของสด เป็นต้น รวมถึงปรับปรุงคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน โดยช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมาเทียบกับไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ยอดงานสอบสวนกรณีของสูญหายหรือเสียหาย ลดลง 46% ขณะที่ปริมาณการจัดส่ง เพิ่มขึ้น 15%

“สิ่งที่สำคัญตอนนี้ไม่ใช่แค่ด่วน แต่เราให้ความสำคัญกับสิ่งของมากขึ้นเพื่อสร้างแวลูให้บริการ ไม่ใช้ราคาเป็นตัวแข่งขัน เพราะเชื่อว่าสุดท้ายผู้บริโภคต้องการให้ของถึงมือตรงเวลา ไม่เสียหาย แต่คงไม่ใช่ว่าจะไม่ลดราคาเลย ก็ต้องทำบ้างเพื่อให้รักษาส่วนแบ่งตลาด แต่ไม่ใช่ทั้งหมดอาจเป็นบางประเภท เช่น เสื้อผ้าที่น้ำหนักเบา เสียหายยาก”

‘Kerry-Flash’ สบโอกาส ‘ไปรษณีย์’ ขึ้นราคา จัดโปร ‘ดัมพ์ค่าส่ง’ หวังโกยลูกค้าเพิ่มมาร์เก็ตแชร์

ดันรายได้รีเทลอุดส่งด่วน

นอกจากเรื่องคุณภาพ ช่วงครึ่งปีหลังไปรษณีย์ไทยจะเริ่มดันในส่วนของ รีเทล ในลักษณะการ แมตช์ดีมานด์กับซัพพลาย โดยใช้ บุรุษไปรษณีย์ เป็นตัวขับเคลื่อน เนื่องจากบุรุษไปรษณีย์มีจุดแข็งที่ ความสัมพันธ์กับชุมชน นอกจากนี้ ไปรษณีย์มีแผนจะขยายจากปัจจุบันมี 11,000 สาขา เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยจะเป็นพันธมิตรกับ โมเดิร์นเทรด ศูนย์บริการเอ็นที ซึ่งนำร่องไปแล้ว 60 แห่ง ไปจนถึง ตลาดสด โดยที่ผ่านมา ไปรษณีย์ไทยเริ่มมีการเปิด Outlet ในตลาดสด เช่นที่พัทยาเพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าสามารถส่งของสดผ่านไปรษณีย์ไทยได้

“เราอยู่มานานจนเหมือนครอบครัว บางบ้านไม่เคยสั่งของออนไลน์เราก็รู้จักเพราะทุกบ้านต้องมีจดหมายหรือบิลค่าน้ำไฟไปส่ง เมื่อเรามีข้อมูลเยอะ เราก็มีมาร์เก็ตติ้งเน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ รีเทลก็จะเติบโตได้”

สำหรับรายได้จากฝั่งรีเทลปีนี้ไปรษณีย์ไทยวางเป้าไว้ที่ 500 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาทำได้ 300 ล้านบาทโดยคาดว่ารายได้ 60% จะมาจากออฟไลน์ ทั้งสาขาไปรษณีย์และบุรุษไปรษณีย์ โดยรวมแล้วคาดว่าสัดส่วนรายได้จากรีเทลจะเพิ่มจาก 10% เป็น 15% ในปีนี้ ส่วนรายได้หลักอย่างธุรกิจส่งด่วนคาดว่าสัดส่วนจะลดลงจาก 43% เหลือ 40% เนื่องจากสภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ส่วน จดหมาย และ การส่งข้ามประเทศ คาดว่าจะทรงตัวที่ 30% และ 20% ตามลำดับ

จับมือพันธมิตรฟู้ดเดลิเวอรี่

อีกกลยุทธ์ที่ไปรษณีย์ไทยใช้ในครึ่งปีหลังคือ พันธมิตรอีคอมเมิร์ซ ปัจจุบันเริ่มมีบางแพลตฟอร์มส่งชิ้นงานให้กับไปรษณีย์มาเรื่อย ๆ นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทยก็เชื่อมต่อระบบหลังบ้านกับแพลตฟอร์มออนไลน์ของพ่อค้าแม่ค้า เพื่อเพิ่มความสะดวก ลดขั้นตอนในการป้อนเลขพัสดุ

“แพลตฟอร์มอีคอมเราให้ความสำคัญอยู่แล้ว แต่เรารู้ว่าสุดท้ายแล้วพอถึงจุดหนึ่งเขาก็ทำเอง เพราะว่าแพลตฟอร์มเกิดมาเพื่อสร้างดีมานด์ ต่างจากคนส่งที่สร้างซัพพลายรอดีมานด์เข้า ดังนั้น เราเลยต้องเน้นที่รีเทลเพื่อสร้างดีมานด์ของตัวเองด้วย”

นอกจากพันธมิตรกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแล้ว ไปรษณีย์ไทยกำลังร่วมกับ แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ ในการซับพอร์ตด้าน Cloud Kitchen โดยจะเห็นรายละเอียดภายใน 2 เดือน

“แน่นอนว่าฟู้ดเดลิเวอรี่มันเรดโอเชี่ยนถ้าทำแพลตฟอร์ม แต่เราเข้าไปในฐานะส่วนหนึ่งของตลาดโดยใช้ประโยชน์จากธุรกิจรีเทลของเราในเรื่องฟูลฟิลเมนต์ นี่จะเป็นอีกแวลูเชนหนึ่งที่เราจะซัพพอร์ต Cloud Kitchen ของตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่”

ใช้ทรัพยากรรัฐและมุ่งอีวีลดต้นทุน

จากปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนของไปรษณีย์เพิ่มขึ้น 30% ที่ผ่านมาก็ใช้การปรับเส้นทางการเดินรถเพื่อให้ใช้ทรัพยากรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเริ่มใช้รถยนต์ไฟฟ้า 250 คันในปีนี้ ส่วนรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ามีการทดลองใช้ประมาณ 30 คัน สาเหตุที่ยังน้อยเพราะต้องทดลองก่อนว่าสเป็คที่ใช้เหมาะกับการใช้งานของบุรุษไปรษณีย์หรือไม่ และนอกจากจะใช้รถอีวีแล้ว ไปรษณีย์ไทยมีแผนจะลงทุนในอีวีด้วย

“เราพยายามปรับไปใช้รถอีวีเพื่อลดต้นทุน ลดการปล่อยมลพิษ และเราก็ไม่ได้อยากเป็นแค่ผู้ซื้อหรือเช่า แต่ต้องการลงทุนด้วย”

thailand post ไปรษณีย์

นอกจากนี้ ไปรษณีย์ไทยกำลังพูดคุยกับ บขส. และ การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นพันธมิตรในการส่วนของ First and Mid Mile เพื่อใช้ทรัพย์สินหน่วยงานรัฐให้เต็มประสิทธิภาพ ลดการทำงานซ้ำซ้อน ช่วยลดต้นทุน และทำให้ระยะเวลาการขนส่งลดลง โดยไปรษณีย์ไทยตั้งเป้าที่จะ ส่งของทั่งประเทศให้ได้ภายใน 3 วัน หรือ Next Day +1

“เราคิดว่าครึ่งปีหลังเราจะทำได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการคุมต้นทุน ปรับระบบขนส่ง การให้ความสำคัญกับโปรดักส์เพื่อสร้างแวลูหลีกหนีสงครามราคา คงตอบยากว่ามันจะไปจบตรงไหน เพราะผู้เล่นบางรายให้ความสำคัญกับการชิงมาร์เก็ตแชร์ ดังนั้น เขาไม่สนเรื่องราคา ยิ่งมีรายใหม่ราคาก็ยิ่งลดลง คู่แข่งตอนนี้แค่รักษาการเติบโตได้ก็เหนื่อยแล้ว”

]]>
1395268
‘Kerry-Flash’ สบโอกาส ‘ไปรษณีย์’ ขึ้นราคา จัดโปร ‘ดัมพ์ค่าส่ง’ หวังโกยลูกค้าเพิ่มมาร์เก็ตแชร์ https://positioningmag.com/1392782 Fri, 15 Jul 2022 09:24:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1392782 หากพูดถึง ‘ราคาน้ำมัน’ แม้จะเริ่มปรับลดลงมาบ้างแล้ว แต่ถ้าเทียบกับปี 2020 ที่เกิดการระบาดของ COVID-19 ราคาน้ำมันในปัจจุบันก็แพงขึ้นกว่าเดิมถึง เท่าตัว แน่นอนว่าหลายคนต้องคิดว่าด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น ธุรกิจที่ต้องใช้น้ำมันเยอะ ๆ อย่าง ‘โลจิสติกส์’ ต้องได้รับผลกระทบแน่นอน โดยผู้เล่นรายแรกที่ออกมาปรับขึ้นราคาก็คือ ไปรษณีย์ไทย แต่ที่น่าสนใจคือ คู่แข่งได้ใช้โอกาสนี้ดัมพ์ราคาลงอีก โดยไม่แคร์ถึงต้นทุนที่สูงเลยทีเดียว

ไปรษณีย์ไทยขึ้นราคาในรอบ 18 ปี

ย้อนไปช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบที่จะปรับอัตราค่าบริการ โดยได้อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากในช่วง 18 ปีที่ผ่านา บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ไม่ได้ขอปรับอัตราราคาค่าบริการ

โดยเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม คือวันแรกของการบังคับใช้ โดย จดหมายประเภทซอง แม้จะเริ่มต้น 3 บาทเช่นเดิม แต่มีการปรับราคาเพิ่มเติมตามแต่ละน้ำหนัก เช่น จาก 10-20 กรัม 3 บาทก็ปรับเป็น 5 บาท, น้ำหนัก 20-100 กรัม จาก 5 บาทเป็น 10 บาท เป็นต้น ส่วน จดหมายประเภทหีบห่อ น้ำหนักไม่เกิน 500 กรัม ราคาอยู่ที่ 30 บาท และมีอัตราค่าบริการสูงสุด 55 บาท สำหรับพิกัดน้ำหนักเกิน 1,000 กรัม แต่ไม่เกิน 2,000 กรัม

แน่นอนว่าที่สาเหตุของไปรษณีย์ไทยต้องปรับราคาเป็นเพราะ ต้นทุน ที่เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่กิจการไปรษณีย์ในปัจจุบันมีแนวโน้มประสบปัญหาขาดทุน โดยปีที่ผ่านมาแม้จะมีรายได้ถึง 22,000 ล้านบาท แต่ก็ ขาดทุนถึง 1,600 ล้านบาท ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่บริษัทจำต้องปรับราคาค่าส่ง

KerryFlash สบโอกาสดัมพ์ราคา

คงไม่ต้องบอกว่า ตลาดขนส่งพัสดุไทย (Parcel Delivery) นั้นแข่งขันรุนแรงแค่ไหน เพราะมีคู่แข่งจากต่างชาติตบเท้าเข้ามาจำนวนมาก ที่เห็นจะมี Kerry, Flash, J&T, Best Express, Ninja Van เป็นต้น โดยในช่วงปี 2019-2021 ตลาดสามารถเติบโตได้ถึง 38% โดยในปี 2021 ตลาดมีมูลค่ากว่า 91,000 ล้านบาท

ขณะที่ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินว่า ตลาดปีนี้อาจเติบโตได้ถึง 17% คิดเป็นมูลค่าราว 1.06 แสนล้านบาท และมีปริมาณขนส่งพัสดุเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 7 ล้านชิ้นต่อวัน

ที่น่าสนใจคือ แม้ต้นทุนจะสูงแต่กลับยังไม่เห็นการเคลื่อนไหวของผู้เล่นเจ้าไหนที่จะปรับราคาขึ้น แต่หลังจากไปรษณีย์ไทยปรับราคาขึ้นได้ไม่เท่าไหร่ ผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Kerry และ Flash ทำโปรโมชันลดราคาทันที โดย Kerry เปิดราคาใหม่เริ่มต้นเพียง 15 บาท ต่ำกว่า J&T ที่เริ่มต้น 19 บาทเสียอีก ส่วน Flash ก็ลดราคาลง 10% สำหรับการส่งพัสดุที่มีขนาด 1 กิโลกรัม หรือความยาว x กว้าง x สูง ไม่เกิน 40 เซนติเมตร เรียกได้ว่าลดราคา สวนทางต้นทุนที่พุ่งสูง

คำตอบคือ ที่ผ่านมา ผู้เล่นแต่ละรายจำต้อง บริหารต้นทุนเพื่อตรึงราคาไว้ก่อน เพื่อให้สามารถ แข่งขันกับคู่แข่ง ได้ และเมื่อมีใครปรับราคาขึ้นหรือลง แต่ละแบรนด์ถึงจะเริ่มขยับตาม และในกรณีที่ไปรษณีย์ไทยที่เป็นผู้เล่นที่กินมาร์เก็ตแชร์ถึง 57% จึงถือเป็นโอกาสทองให้ผู้เล่นรายใหญ่รีบ ดัมพ์ราคา เพื่อชิงส่วนแบ่งตลาด เพราะต้องยอมรับว่าตลาดไม่ได้มีลอยัลตี้ขนาดนั้น รายไหนให้ราคาดีก็ใช้เจ้านั้นเพื่อประหยัดต้นทุน

หารายได้จากเซ็กเมนต์อื่น

เมื่อทุกคนหันมาแข่งราคากันหมด คำถามคือ เอากำไรจากไหน? คำตอบคือ ความ เฉพาะทาง ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็น พัสดุขนาดใหญ่ อย่างเช่น ต้นไม้, อะไหล่รถ หรืออย่าง สินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ เช่น การจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ เป็นต้น และจากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น (และไม่รู้จะลดลงเมื่อไหร่) การวางแผนควบคุมต้นทุนระยะยาวจึงจำเป็นที่ต้องคำนึงถึง ดังนั้น จึงเริ่มเห็นเทรนด์การนำ รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า มาใช้งานเพื่อเป็นการลดต้นทุนระยะยาว

จับตายักษ์ใหญ่ ‘โลจิสติกส์’ แตกเซกเมนต์ใหม่ ‘Bulky’ ส่งของชิ้นใหญ่ฉีกหนี ‘สงครามราคา’

ด้วยตลาดที่ยังเติบโต ผู้เล่นที่มีมากตลาดขนส่งพัสดุจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะแข่งขันกันอย่างดุเดือด แต่ไม่ใช่แค่คำแผนทำโปรโมชันหรือแข่งราคา ผู้เล่นแต่ละรายยังต้องพยายามที่จะบริหารต้นทุนให้ได้ดีที่สุด และมองหาลู่ทางสร้างกำไร เพื่อที่จะยังเป็นผู้อยู่รอดในตลาดต่อไป

]]>
1392782
มูฟใหม่ ‘Lalamove’ กับภารกิจลุยต่างจังหวัดและเป็น ‘ออนดีมานด์โลจิสติกส์’ รายแรกที่ทำ ‘กำไร’ https://positioningmag.com/1390707 Thu, 30 Jun 2022 05:55:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1390707 หากพูดถึงตลาด ‘โลจิสติกส์’ หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับแบบ Last-Mile หรือบริการจากไปรษณีย์ไทย, เคอรี่, แฟลช ฯลฯ แต่ยังมีอีกตลาดก็คือ โลจิสติกส์แบบ ‘ออนดีมานด์’ หรือการเรียกผู้ให้บริการขนส่งพัสดุไปรับพัสดุที่ใดก็ได้ ก่อนจะนำไปส่งที่หมายทันทีภายในวันนั้น อย่างการ ส่งอาหาร, เอกสารต่างๆ หรือขนของย้ายบ้าน ย้ายออฟฟิศ เป็นต้น และหนึ่งในผู้ให้บริการในไทยมาอย่างยาวนานก็คือ ‘ลาลามูฟ’ (Lalamove) ที่เพิ่งได้ เบน ลิน ผู้บริหาร ลาลามูฟ ประเทศไทย คนใหม่ ก็จะมาพูดถึงทิศทางและเป้าหมายจากนี้ของแพลตฟอร์ม

อยากโตยั่งยืนตลาดต้องจับ B2B

สำหรับตลาดการให้บริการขนส่งในประเทศไทยที่มีมูลค่ารวมกว่า 7.3 แสนล้านบาท คาดว่าปีนี้จะเติบโตได้ 5-10% โดยในตลาดโลจิสติกส์สามารถแบ่งรูปแบบการจัดส่งสินค้าได้ 3 รูปแบบ ได้แก่

  • First-Mile: เป็นการจัดส่งสินค้าจากผู้ผลิต เช่น โรงงาน ไปยังคลังสินค้าขนาดใหญ่
  • Mid-Mile: การจัดส่งสินค้าจากคลังใหญ่สู่ศูนย์กระจายสินค้าขนาดเล็ก เช่น โกดัง ร้านค้าปลีกต่าง ๆ
  • Last-Mile: เป็นการจัดส่งสินค้าจากโกดังหรือร้านค้าปลีกถึงมือผู้บริโภค

สำหรับ ลาลามูฟ ก็ถือเป็นผู้เล่นรายแรก ๆ ในตลาดออนดีมานด์โลจิสติกส์ (On-demand logistics) โดยเริ่มจากให้บริการขนส่งด้วยรถจักรยานยนต์ เน้นรับส่งของชิ้นเล็กหรืออาหาร ตั้งแต่ปี 2556 แต่ทิศทางที่ ลาลามูฟจะไปจากนี้จะไม่ใช่แค่ส่วน Last-Mile แต่จะขยับไปจับตลาด Mid-Mile หรือจับกลุ่ม B2B มากขึ้นเพื่อสร้างการเติบโตให้มากกว่าตลาด โดยปัจจุบัน สัดส่วนรายได้บริษัท 70% มาจาก B2C หรือ C2C แต่ภายใน 2 ปีสัดส่วนต้องเป็น 50-50

“เซกเมนต์ที่แข่งขันดุดเดือดสุดตอนนี้ คือ ฟู้ด ซึ่งก็เป็นตลาดที่หลายคนอยากมาเล่น แต่ก็ต้องใช้โปรโมชันมากที่สุด มีเพิ่มไดรเวอร์มากที่สุด ซึ่งหากอยากสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนเรามองว่าต้องไป B2B เพราะ B2C มีดีมานด์ที่สวิง ดังนั้น เราต้องการเติบโตอย่างยั่งยืนไม่ใช่ก้าวกระโดดแบบชั่วคราว” เบน ลิน กรรมการผู้จัดการ ลาลามูฟ ประเทศไทย กล่าว

เบน ลิน กรรมการผู้จัดการ ลาลามูฟ ประเทศไทย

เพิ่มรถใหญ่พร้อมขยายต่างจังหวัด

เพื่อจะรองรับงานที่ใหญ่ขึ้นจึงไม่ใช่แค่รับส่งของด้วยรถจักรยานยนต์อีกต่อไป ดังนั้น ลาลามูฟจึงจะเพิ่ม รถใหญ่ เพื่อรองรับตลาด B2B ได้แก่ รถ SUV, รถซีดาน, รถ Hatchback และ รถบรรทุกขนาดใหญ่ รวมแล้วลาลามูฟมีรถ 7 ประเภท ดังนั้น เมื่อแพลตฟอร์มมีรถยนต์ที่หลากหลาย ก็จะสามารถรองรับความต้องการที่หลากหลายของทั้งลูกค้าทั่วไป SME และลูกค้าองค์กร

“ยังไม่มีผู้ให้บริการในตลาดออนดีมานด์ที่มีรถบรรทุกมาก่อน การมีรถที่ใหญ่ขึ้นทำให้มีบัสเก็ตไซส์ที่ใหญ่ขึ้น เราก็สามารถจับตลาด B2B ได้ ยิ่งสถานการณ์โควิดที่ดีขึ้น ธุรกิจก็กลับมาเป็นปกติ ลูกค้า SME เราก็เพิ่มขึ้นจนปัจจุบันคิดเป็น 25%”

นอกจากนี้ ลาลามูฟจะเริ่มขยายสู่ตลาดต่างจังหวัด โดยจะเปิดตัวทีละจังหวัดซึ่งจะเริ่มจากจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับกรุงเทพและปริมณฑลก่อน เพื่อรองรับบริการการขนส่งแบบ ข้ามเมือง ซึ่งเมื่อบริการขนส่งในเมืองและข้ามเมืองแข็งแรง การขยายไปในจังหวัดอื่น ๆ จะเป็นเฟสต่อไปภายใน 2 ปีจากนี้

ดึง บิวกิ้น แบรนด์แอมบาสเดอร์คนแรก

เพื่อเป็นการสื่อสารถึงการเปลี่ยนแปลงและสร้างการรับรู้ในวงกว้าง ลาลามูฟจึงเลือกทำการตลาดด้วยภาพยนตร์โฆษณาและสื่อโฆษณานอกอาคาร โดยได้ บิวกิ้น พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์คนแรก โดยสาเหตุที่เลือกบิวกิ้นนอกจากชื่อเสียงแล้ว ยังตอบโจทย์ด้วยภาพลักษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นใหม่ (Young Entrepreneur) ประกอบกับความแอคทีฟแบบวัยรุ่น โดยตั้งแต่ 2 เดือนที่ผ่านมาที่เปิดตัวบิวกิน ก็ช่วยให้แพลตฟอร์มมียอดดาวน์โหลดและผู้ใช้งานครั้งแรกเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่เอนเกจเมนต์ในโซเชียลมีเดียก็เติบโตขึ้น

“มันเป็นช่วงเวลาที่เราอยากบอกว่ามีการเปลี่ยนแปลง อยากให้มีคนเห็นมากขึ้น นี่จึงเป็นวิชั่นหลักที่ทำให้มีพรีเซ็นเตอร์ เป็นสัญญาณให้เห็นว่าเราเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ช่วยดึงกลุ่ม Young Gen ซึ่งหลายคนเริ่มมีธุรกิจของตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อย”

เพิ่มรายได้ให้คนขับแก้ปัญหาน้ำมันแพง

ในส่วนของต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ นั้นจะกระทบกับฝั่งพาร์ตเนอร์คนขับที่ปัจจุบันมีกว่า 1.5 แสนคน เพราะทางลาลามูฟ ไม่ได้ลงทุนรถขนส่ง แต่ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มกลางกระจายงานให้พาร์ตเนอร์คนขับ ดังนั้น ลาลามูฟจะพยายาม เพิ่มรายได้ให้คนขับ เช่น เพิ่มงาน มีการให้สเปเชียลเครดิตโบนัส นอกจากนี้ ก็มีการทำพาร์ตเนอร์ชิปกับปั๊มน้ำมันเพื่อให้เป็นส่วนลดเพื่อช่วยลดต้นทุนของคนขับ ปัจจุบัน รายได้ของผู้ขับเฉลี่ยตั้งแต่ หลักร้อยถึงหลักแสนต่อเดือน ขึ้นอยู่กับความขยันในการรับงาน

“แพลตฟอร์มเราจะสอนให้เขาวิ่งแบบไหนได้เงินมากสุด และการขยายการให้บริการรถที่มีขนาดใหญ่ขึ้นนี้ ทำให้คนขับอิสระมีโอกาสในการทำรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งในส่วนของการเพิ่มจำนวนคนขับเรามีการประเมินทุกไตรมาส ค่อย ๆ จ้างตามการเติบโตของแพลตฟอร์ม”

สำหรับรูปแบบให้บริการที่เพิ่มขึ้นจะมีตั้งแต่การส่งออนดีมานด์, การเช่ารถพร้อมคนขับ, บริการจัดส่งสินค้าแบบกำหนดเวลา และบริการจัดส่งพัสดุ (Courier) ส่วนบริการจัดส่งเฉพาะทาง เช่น รถเย็นหรือรถควบคุมอุณหภูมิยังไม่มีให้บริการในปัจจุบัน แต่มีแผนที่จะเพิ่มในอนาคต

ตั้งเป้าโต 50% และทำกำไรใน 2 ปี

ที่ผ่านมา ลาลามูฟมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงไตรมาส 1-2 ที่ผ่านมาสามารถเติบโตได้ 40% ดังนั้นเชื่อว่าภาพรวมทั้งปีจะสามารถเติบโตได้ 50% ตามเป้าที่วางไว้ และจากกลยุทธ์ที่วางไว้ ลาลามูฟตั้งเป้าว่าจะสามารถทำกำไรได้ใน 2 ปีจากนี้ และเป็น แพลตฟอร์มออนดีมานด์รายแรกในประเทศที่สามารถทำกำไรได้

“ความท้าทายคือ ความเร็ว ตอนนี้การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว มีปัญหามาเรื่อย ๆ เราก็ต้องปรับตัวให้ทัน แต่ตอนนี้คู่แข่งไม่เยอะ เพราะถือเป็นตลาดที่ทำได้ยาก ถ้ามองด้านขนส่งต้องมีรถมีคนขับของตัวเอง ต้องใช้เงินและความเชี่ยวชาญเยอะ มันเป็นเซกเมนต์ที่เหมือนเข้ามาง่ายแต่ไม่ง่าย”

สุดท้าย ต้องยอมรับว่าการแข่งขันในตลาดรุนแรงโดยเฉพาะ ราคา ใครให้ราคาต่ำก็ใช้ แต่เราเริ่มเห็นเทรนด์ที่ลูกค้าให้ความสำคัญกับเซอร์วิสมากขึ้น ถ้าสามารถจัดการการส่งของที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ เขาก็จะเลือก ตอนนี้เมืองไทย กรุงเทพฯ ปริมณฑล มองว่าตลาดใหญ่พอสำหรับทุกคน เชื่อว่าผู้เล่นทุกรายอยู่ได้โดยไม่ต้องแข่งขันด้านราคา

]]>
1390707
“นินจาแวน” แทงสวน! ไม่ขอเล่นราคา เร่งสร้างแบรนด์ การันตีส่งภายใน 1 วัน https://positioningmag.com/1374550 Sat, 19 Feb 2022 08:28:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374550 แม้จะเข้ามาทำตลาดในไทยได้ 6 ปีแล้ว แต่ต้องบอกว่า “นินจาแวน” มีการทำการตลาดน้อยกว่าแบรนด์อื่นๆ ค่อนข้างมาก ปีนี้จึงเป็นการโหมตลาดครั้งใหญ่ ลงทุนสร้างจุดรับสินค้า ใช้พรีเซ็นเตอร์ แถมทำคอนเทนต์ออนไลน์ โดยใช้ฝีมือ Salmon House หวังสร้างแบรนด์เพื่ออุดช่องว่างของตลาดส่งพัสดุ

สวนทางตลาด ไม่เล่นเรื่องราคา ขอเร่งสร้างแบรนด์ 

นินจาแวนเป็นอีกหนึ่งผู้เล่นโลจิสติกส์ข้ามชาติ ที่ตบเท้าเข้ามาบุกตลาดในไทยเมื่อปี 2559 โดยที่นินจาแวนมีเจ้าของเป็นนักธุรกิจชาวสิงคโปร์ ได้ทำตลาดที่แรกที่สิงคโปร์เมื่อปี 2557 จากนั้นได้ขยายตลาดในอาเซียน ปัจจุบันได้ให้บริการใน 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, เวียดนาม และประเทศไทย

จะเห็นได้ว่าในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ตลาดส่งพัสดุในไทยมีการแข่งขันอย่างดุเดือด โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้เป็นช่วงของการระบาดของไวรัส COVID-19 ยิ่งเร่งพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น ทำให้แม่ค้าต้องพึ่งพาการส่งพัสดุมากขึ้น

ในช่วงแรกการแข่งขันในตลาด ผู้เล่นยักษ์ใหญ่ต่างอัดฉีดงบเพื่อจ้างพรีเซ็นเตอร์เบอร์ใหญ่ในตลาดทั้งสิ้น หวังสร้างการรับรู้ ได้แก่ KERRY Express – เวียร์ ศุกลวัฒน์ คณารศ, J&T Express – มาริโอ้ เมาเร่อ และใบเฟิร์น พิมชนก, Flash Express – ติ๊ก เจษฎาภรณ์ ผลดี และ Best Express – ณเดชน์ คูกิมิยะ

หลังจากนั้นก็เริ่มชูจุดเด่นที่ส่งเร็ว ส่งไว เพราะการจัดส่งพัสดุในอดีตอาจจะต้องใช้เวลา 2-3 วัน และมีวันหยุดเสาร์-อาทิตย์อีกด้วย แต่เมื่อแต่ละรายใช้กลยุทธ์เดียวกัน ยากที่จะหาความต่าง จึงลงมาแข่งกันเรื่อง “ราคา” กันอย่างหนักหน่วง

จากแต่ก่อนราคาส่งด่วนเริ่มต้นที่ 30 บาท เริ่มปรับลงมาเหลือ 25 บาท 23 บาท 19 บาท จนล่าสุด J&T ได้ทุบราคาไปจนเหลือ 15 บาท มีทีท่าว่าการแข่งขันเรื่องราคาน่าจะอยู่ไปอีกยาว ก่อนหน้านี้ทางไปรษณีย์ไทยออกมาเปิดเผยว่า ด้วยความที่ตลาดไม่มีความแตกต่างกันมาก จึงต้องอาศัยราคาเพื่อสร้างความต่าง ดึงดูดลูกค้า

ในช่วงแรกๆ ที่ทำตลาด นินจาแวนก็ไม่ได้โหมตลาดเท่าที่ควร ไม่มีการใช้พรีเซ็นเตอร์ ไม่มีการเล่นราคามากนัก อีกทั้งยังโดนคอมเพลนจากลูกค้าอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากปัญหาส่งช้า จากที่สำรวจคอมเมนต์ในโซเชียลมีเดีย หรือผู้ใช้บริการ Shopee จะพบว่า หลายคนไม่ค่อยอยากได้การขนส่งของนินจาแวน เพราะบริการไม่ประทับใจเท่าไหร่ ทำให้แบรนด์ดิ้งของนินจาแวนในไทยยังไม่ค่อยดีมากนัก

ninja van

แต่ในปีนี้นินจาแวนได้บุกตลาดครั้งใหญ่ เน้นไปที่การสร้างแบรนด์ อัดงบลงทุนทั้งการสร้างจุดรับสินค้าให้มากขึ้น และใช้พรีเซ็นเตอร์เป็นครั้งแรก เรียกว่าเป็นการสวนกระแสตลาด หลังจากที่ตอนนี้ไม่มีใครใช้พรีเซ็นเตอร์เท่าไหร่นัก แต่หันมาทำโปรโมชันเรื่องราคาแทน

ซึ่งนินจาแวนยังไม่ลงไปเล่นเรื่องราคา ปัจจุบันค่าส่งเริ่มต้นที่ 23 บาท สำหรับส่งภายในกรุงเทพฯ แต่การันตีจัดส่งภายใน 1 วัน ส่วนส่งต่างจังหวัดเริ่มต้นที่ 30 บาท แต่บริการอื่นๆ ที่หลายเจ้าลงมาจับตลาดกันนั้น นินจาแวนยังไม่ลงมาเล่น อย่างส่งควบคุมอุณหภูมิ และส่งสินค้าขนาดใหญ่

ninja van

เพียซ เอิง กรรมการบริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท นินจาแวน ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า

“ประเทศไทยได้เริ่มให้บริการมากว่า 6 ปีแล้ว มีการคาดการณ์ว่า ภายใน 10 ปีข้างหน้า การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกครึ่งหนึ่งจะมาจากภูมิภาคเอเชีย โดยได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมากมายก็มาจากภูมิภาคเอเชียด้วยเช่นกัน ประเทศไทยเองก็มีการคาดการณ์ว่า ตลาดอีคอมเมิร์ชจะเติบโตอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 30% เมื่อเปรียบเทียบประเทศไทยกับตลาดที่ก้าวหน้าอย่างประเทศจีน เราพบว่าสัดส่วนของการทำอีคอมเมิร์ซในไทยมีเพียง 10% ของยอดขายปลีกทั้งหมด  ในขณะที่ประเทศจีนมีสัดส่วนการทำอีคอมเมิร์ชมากถึง 25% สำหรับภาพรวมของตลาดขนส่งพัสดุในประเทศไทยมียอดการจัดส่งพัสดุพุ่งขึ้นมากถึง 3 เท่า แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะเริ่มลดลง แต่ว่ายอดจัดส่งพัสดุไม่ได้ลดลงและคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น”  

สร้างคอนเทนต์ อุดช่องว่าง “มนุษย์ห่วง”

กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ของนินจาแวนครั้งนี้สื่อสารผ่านวิดีโอ คอนเทนต์ หวังสร้างไวรัลให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น โดยครั้งนี้ได้ Salmon House มาร่วมทำคอนเทนต์ ขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้าพ่อแห่งคลิปไวรัลในยุคนี้

ภายในวิดีโอนี้ได้ดึงเอาอินไซต์ และ Pain Point ของผู้บริโภคกับการส่งพัสดุในยุคปัจจุบัน ที่ต้องเจอกับความกังวลต่างๆ ไม่ว่าจะส่งช้า สิ่งของเสียหาย ไม่มีรับประกัน ค่าส่งแพง เก็บเงินปลายทางได้รับเงินช้า ที่กล่าวมานี้เรียกว่า “ห่วง” สื่อสารว่าส่งกับนิจาแวนจะหมดห่วงปัญหาต่างๆ เหล่านี้ พร้อมให้พรีเซ็นเตอร์ “วู้ดดี้” มาช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ

แคมเปญโฆษณามนุษย์ห่วง มีเป้าหมายเพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจ เน้น 4 ข้อหลักๆ

  • การจัดส่งรวดเร็ว และคุ้มครองการบริการ การันตีส่งภายใน 1 วัน ถ้าอยู่ภายในกรุงเทพฯ
  • คุ้มครองพัสดุสูญหาย หรือเสียหายในวงเงินสูงสุด 5,000 บาท
  • บริการเก็บเงินปลายทางได้เงินภายใน 1 วัน
  • ราคาคุ้มค่า

อัดงบ 100 ล้าน ใช้พรีเซ็นเตอร์ครั้งแรก

ในปีนี้นินจาแวนได้ทุ่มงบการตลาดกว่า 100 ล้านบาท นอกจากทำแคมเปญมนุษย์ห่วงแล้ว ยังเร่งขยายศูนย์กระจายสินค้าเพิ่มอีก 200 แห่ง และเพิ่มจุดบริการรับส่งพัสดุกว่า 2,000 แห่งในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันมีอยู่ 400 จุด ถือว่ายังมีจุดให้บริการที่น้อย เมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด

ninja van

เปิดตัว “วู้ดดี้-วุฒิธร มิลินทจินดา” เป็นแบรนด์พรีเซ็นเตอร์คนแรก เพื่อสร้างการรับรู้ และการจดจำแบรนด์ให้มากขึ้น ตั้งเป้าการเติบโตไม่น้อยกว่า 200%”

เหตุผลที่นินจาแวนเลือกวู้ดดี้มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เพราะวู้ดดี้มีหลายบทบาท เป็นพิธีกรรายการทอล์กโชว์ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ทุกรุ่นทุกวัย มีบุคลิก มีความคิดเห็นที่หนักแน่น เป็นนักธุรกิจ มีผู้ติดตามหลายล้านคนบนแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ เชื่อว่าจะสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ได้

]]>
1374550
“ไปรษณีย์ไทย” ยุค “ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์” ต้อง Beyond Logistics ใช้พี่ไปรฯ เป็นจุดแข็งมากกว่าราคา https://positioningmag.com/1373454 Wed, 09 Feb 2022 15:25:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373454 ไปรษณีย์ไทยหนึ่งในองค์กรเก่าแก่กว่า 140 ปี จนถึงทุกวันนี้ต้องทรานส์ฟอร์มเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย และการแข่งขันในตลาดโลจิสติกส์ที่สุดแสนจะดุเดือด เป็นความท้าทายรอบด้านสำหรับ “ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่ขอย้ำว่าปีนี้ไปรษณีย์ไทยจะต้อง Beyond Logistics เป็นมากกว่าส่งพัสดุ แต่ไม่ลงเล่นสงครามราคา มีพี่บุรุษไปรษณีย์เป็นจุดแข็ง

ไม่เล่นราคา มี “พี่ไปรษณีย์” เป็นจุดแข็ง

ต้องบอกว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นอกจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่มีการแข่งขันอันดุเดือดเลือดสาดแล้ว ตลาดโลจิสติกส์ และส่งพัสดุก็เป็นอีกหนึ่งตลาดที่เหมือนสมรภูมิสงครามย่อมๆ ได้เห็นแบรนด์ยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศเริ่มเข้ามาทำตลาด รวมถึงแบรนด์ในประเทศก็เพิ่มบริการเพื่อที่จะจับตลาดด้วยเช่นกัน กลายเป็นว่าตอนนี้มีผู้ส่งพัสดุไม่ต่ำกว่า 10 ราย ทั้งรายใหญ่ รายย่อย รายโลคอลเฉพาะพื้นที่

มีการประเมินว่าภาพรวมตลาดโลจิสติกส์ในปี 2564 มีมูลค่า 100,000 ล้านบาท เป็นตลาดที่รวมผู้ส่งรายย่อย หรือขขนส่งแบบส่วนตัวขององค์กร ส่วนตลาดส่งพัสดุแบบด่วนมีมูลค่าราว 50,000 ล้านบาท เติบโต 19% เป็นอัตราเติบโตลดลงจากปี 2563 เนื่องด้วยสภาวะเศรษฐกิจ และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง อีกทั้งผู้เล่นในตลาดยังเล่นเรื่องราคากันหนักหน่วง

ถ้าพูดถึงตลาดส่งพัสดุแล้ว คงต้องนึกถึง “ไปรษณีย์ไทย” เป็นอันดับต้นๆ เรียกว่าเป็นพี่ใหญ่ในตลาด เฝ้ามองดูการตบเท้าเข้ามาของผู้เล่นใหม่ๆ ในทุกๆ ปี ไม่ว่าจะเป็น KERRY Express, Flash Express, SCG, J&T, Ninja, Best Express หรือแม้แต่ผู้เล่นในตลาด e-Marketplace อย่าง Shopee และ Lazada ก็ยังต้องมีโลจิสติกส์เป็นของตัวเอง

เนื่องด้วยความที่ไปรษณีย์ไทยเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ ทำให้ในช่วงหลังมีการเรียกการส่งพัสดุเป็น “ส่งปณ.” กับ “ส่งเอกชน” ไปโดยปริยาย

ในยุคแรกๆ การส่งพัสดุต่างชูจุดเด่นเรื่อง “ความเร็ว” และจุดรับสินค้าที่ครอบคลุม เข้ามาอุดช่องว่างในอดีตที่กว่าจะได้รับสินค้าใช้เวลา 2-3 วัน ใครเร็วกว่าก็ได้ใจกว่า ต่อมาเริ่มมีการสร้างแบรนด์ เริ่มเปิดตัว “พรีเซ็นเตอร์” กันแบบรัวๆ เพื่อสร้างการรับรู้ จากนั้นก็เข้าสู่ “สงครามราคา” แบบเต็มรูปแบบ จะเห็นว่ามีการดัมพ์ราคากันอย่างต่อเนื่อง จากเริ่มต้นที่ 25 บาท เริ่มลงมาที่ 23 บาท บ้าง 19 บาทบ้าง ตอนนี้ J&T ทุบราคาที่เริ่มต้น 15 บาท แต่ละเจ้ายอมเฉือนเนื้อตัวเอง เพื่อให้ได้ฐานลูกค้ามากขึ้น

กลยุทธ์ราคาสามารถดึงดูดผู้บริโภคได้พอสมควร เพราะในยุคนี้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ต่างต้องการลดต้นทุนในการส่งสินค้ามากขึ้น ต้องบอกว่าในตลาดนี้ลูกค้าอาจจะไม่มี Loyalty ที่แท้จริง นอกเสียจากจะเจอประสบการณ์ในการส่งที่แย่มากๆ จากเจ้าไหนก็ตาม จนไม่สามารถใช้เจ้านั้นได้อีก

ในการส่งพัสดุ ไปรษณีย์มีรูปแบบส่งแบบธรรมดา, ส่งแบบลงทะเบียน และส่ง EMS ถ้าให้เทียบกับเจ้าอื่นๆ คงต้องเป็นการส่ง EMS เพราะมีความไวพอๆ กัน แต่ราคาอาจจะสูงกว่า เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 30-50 บาท ในขณะที่เจ้าอื่นอยู่ที่ 15-25 บาท เมื่อปลายปีที่ผ่านมาไปรษณีย์ไทยได้จัดโปรเหมาค่าส่ง EMS ในราคา 25 บาทมาแล้ว หวังสู้ศึกในครั้งนี้

แต่ถ้าถามว่ามีแผนที่จะปรับราคาค่าส่ง EMS ในระยะยาวหรือไม่ “ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บอกว่า ไม่มองเกมสงครามราคาเป็นหลัก แต่เน้นการให้บริการที่เข้าถึงลูกค้า โดยมีพี่บุรุษไปรษณีย์เป็นคนสำคัญในการเชื่อม ที่เจ้าอื่นก็ไม่สามารถทำได้

“การแข่งขันเรื่องราคารุนแรงมาก ราคาเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดในการสร้างความแตกต่างที่ผู้ให้บริการเอามาเล่น เราไม่ได้มองว่าเกมนี้ไปรษณีย์ไทยจะไปเล่นแต่ราคา สิ่งที่สำคัญเราจะสร้างคุณภาพในการให้บริการ เข้าถึงลูกค้าให้ดีชึ้น ประสบการณ์ให้ดีขึ้น ราคาคุ้มค่า อีกทั้งไปรษณีย์ไทยก็มีความแข็งแกร่งในแง่ความเป็น Human Networking หรือการเข้าถึงเครือข่ายครัวเรือน ดังนั้นเราจึงใช้ความแข็งแกร่งตรงนี้ในการเป็นช่องทางในการให้บริการกับประชาชนเพิ่มเติม”

บุรุษไปรษณีย์ หรือพี่ไปรษณีย์ เป็นคีย์แมนคนสำคัญของไปรษณีย์ไทยก็ว่าได้ จุดเด่นที่สำคัญก็คือ พี่ไปรฯ สามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ และสามารถจำรายละเอียดแต่ละบ้านได้ ชนิดที่ว่าถ้าใครจ่าหน้าจดหมาย หรือพัสดุผิด พี่ไปรฯ ก็สามารถส่งให้ถูกได้ เนื่องจากไปรษณีย์มีทั้งการส่งจดหมายแบบดั้งเดิม จดหมายใบแจ้งหนี้ต่างๆ ไปจนถึงพัสดุ ทำให้มีปริมาณการส่งเยอะ เข้าออกชุมชน ตรอกซอกซอยได้อย่างชำนาน

ไปรษณีย์ไทยมีพนักงานรวมทั้งหมด 40,000 คน แบ่งเป็นพี่บุรุษไปรษณีย์เป็นสัดส่วนถึง 50% หรือราว 20,000 คน นอกนั้นเป็นพนักงานที่สาขา 40% และที่สำนักงานใหญ่ 10%

ดร.ดนันท์บอกว่า อัตราการเทิร์นโอเวอร์ของพนักงานไปรษณีย์ไทยต่ำมาก พูดได้ว่าต่ำกว่าตลาดแน่นอน มีพนักงานที่อยู่ตั้งแต่ต้นจนเกษียณเยอะ อยู่มาเหมือนครอบครัว ยอดเทิร์นโอเวอร์ต่ำกว่าเอกชนแน่นอน

ขยับองค์กร 140 ปี มีแต่ความท้าทาย

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ และกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นมา โดยการดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ มีวาระ 4 ปี

ดร.ดนันท์ มีประสบการณ์การทำงานด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล มากว่า 25 ปี ได้รับการยอมรับในวงการสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงมีบทบาทด้านการพัฒนาและบริหารธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งก่อนเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด  ดร.ดนันท์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและบริการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดูแลผลิตภัณฑ์ใน 6 กลุ่มหลัก ทั้ง Datacom, Voice, Internet, Cloud& Data Center, IT Security และ e-Business

การมาอยู่บริษัทที่มีอายุยาวนาน 140 ปี จึงมีความท้าทายอย่างมากที่จะทรานส์ฟอร์มเพื่อรับกับยุคสมัยใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านองค์กร และบริหารคน

ดร.ดนันท์บอกว่า “ความท้าทายหลักอยู่ที่ เป็นอุตสาหกรรมการแข่งขันสูง แต่เติบโต มีความสำคัญกับเศรษฐกิจประเทศ ความต้องการของผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลง เราอยู่มานานแต่ไม่แก่ ต้องทำอย่างไรให้พัฒนาไปกับเทคโนโลยี และดิจิทัลเซอร์วิส เรื่องการบริการภายในก็ต้องได้ คนต้องมีความคุ้นเคยกับดิจิทัล เป็นปกติของธุรกิจโลจิสติกส์ที่มีคนเยอะ มีความซับซ้อนในการบริหารจัดการ ทำอย่างไรให้พนักงานเห็นเป้าหมายเดียวกัน

thailand post ไปรษณีย์

เราอยู่กับคนไทยมา 140 ปี เติบโตมากับสังคมไทย เป็นเพื่อน สิ่งนี้เป็น Positioning สำคัญ ปีนี้จะรีเฟรชแบรนด์สิ่งที่ทำชัดเจนขึ้น ทำให้เห็นถึงความเชื่อมโยงไปรษณีย์ไทยกับสังคมไทย ไม่หยุดแค่โลจิสติกส์”

ล่าสุดไปรษณีย์ไทยยังเพิ่มบริการส่ง EMS แบบไม่มีวันหยุด โดยปกติแล้วจุดอ่อนของไปรษณีย์ไทยก็คือ “เวลาทำการ” แบบราชการ บางสาขาเปิดทำการตามเวลาราชการ มีวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ในช่วงหลังมีการปรับวันเวลาทำการใหม่ บางสาขามีเปิดเสาร์อาทิตย์ บางสาขาเปิดแค่ครึ่งวันเสาร์ หรือบางสาขาก็มีเปิดถึงดึก รวมไปถึงการส่งพัสดุก็มีวันหยุดก็คือวันอาทิตย์ ตอนนี้มีการนำจ่ายพัสดุทุกวัน เพราะพฤติกรรมคนซื้อของออนไลน์ต้องการได้ของเร็ว

พี่ไปรฯ เป็นทุกอย่างให้เธอแล้ว ส่งมากกว่าพัสดุ

สำหรับแผนในปี 2565 ไปรษณีย์ไทยเตรียมงบลงทุนอีก 3,000 ล้านบาท วางจุดยืนใหม่ Beyond Logistics จะเป็นมากกว่าผู้ให้บริการขนส่ง ดร.ดนันท์เปรียบว่า ธุรกิจขนส่งเหมือนคอมมูนิตี้แล้ว การแข่งขันอยู่ที่การพัฒนาประสิทธิภาพ สุดท้ายไปที่การเล่นราคา ถึงแม้ส่งพัสดุจะเป็นธุรกิจหลัก แต่ต้องต่อยอดไปน่านน้ำใหม่ๆ จะไปดิจิทัลแพลตฟอร์ม บุรุษไปรษณีย์จะไม่ใช่แค่ส่งของ แต่ให้บริการอื่นๆ แก่ประชาชน

“บุรุษไปรษณีย์เป็นจุดแข็งที่สร้างมานาน คนไทยรักบุรุษไปรษณีย์ รู้จักทุกครัวเรือน เป็นความคุ้นเคย ความเชื่อมั่น เป็นเหมือนเพื่อนกัน จากแค่ส่งจดหมาย ส่งพัสดุ จะเริ่มมีบริการถึงบ้านมากขึ้น”

เมื่อปี 2564 ไปรษณีย์ไทยมีเปิดตัวบริการใหม่ที่ต่อยอดจากการส่งพัสดุอย่างเดียว แต่ใช้จุดแข็งที่ตัวบุรุษไปรษณีย์เข้าถึงลูกค้าตามบ้าน มีทั้งเงินกู้ เติมเงิน ซื้อซิมมือถือ เป็นบริการที่มาจากความสัมพันธ์กับสังคมและชุมชน

  • จับมือ เอสซีบี อบาคัส ปล่อยสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้บริการส่งสินค้าเก็บเงินปลายทาง หรือ Cash on Delivery (COD) ด้วยสินเชื่อตั้งหลัก ผ่านแอปพลิเคชัน “เงินทันเด้อ” รู้ผลอนุมัติไวเพียง 15 นาที
  • จับมือกับ True และ AIS ให้บริการเติมเงินโทรศัพท์มือถือ และซื้อแพ็กเน็ตเสริม ผ่านบุรุษไปรษณีย์ทั่วประเทศ
  • ร่วมกับ AIS ในการฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ กับพี่ไปรฯ
  • ขยายบริการการเป็นตัวแทนธุรกรรมทางการเงิน หรือ Banking Agent ผ่านเครือข่ายที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ

ปัจจุบันไปรษณีย์ไทยมีจุดให้บริการมากกว่า 10,000 จุด ตู้ไปรษณีย์ 20,000 จุด ดร.ดนันท์บอกว่า ในปีนี้จะมีการแปลงร่างตู้ปณ.ให้กลายเป้นจุด Touch Point ใหม่ เอามาบริหารจัดการให้ง่ายขึ้น และจะเน้นทำแฟรนไชส์มากขึ้น เพิ่มจุดรับส่งสินค้า และต้องจัดการให้ราคาหน้าบ้านเท่ากันหมด เพราะก่อนหน้านี้จุดให้บริการของไปรษณีย์ไทยจะมีปัญหา ถ้าเป็นจุดของเอกชนจะราคาสูงกว่า

ในปี 2564 คาดว่าจะปิดรายได้ที่ 22,000 ล้านบาท เป็นช่วงเวลาที่ไม่พูดถึงกำไร เพราะถือว่าเป็นปีที่เจ็บหนักกันทุกธุรกิจ

]]>
1373454