ชิปขาดแคลน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 12 Nov 2022 06:02:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 โตโยต้า-โซนี่ นำทัพ 8 บริษัทญี่ปุ่นลงขัน “ตั้งบริษัทผลิตชิป” หวังแข่งขันไต้หวัน-เกาหลี https://positioningmag.com/1407879 Fri, 11 Nov 2022 06:15:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1407879 ตอนนี้ ใคร ๆ ก็อยากจะมีแหล่งผลิต ‘ชิป’ ของตัวเองทั้งนั้น หลังจากที่ทั่วโลกเจอกับวิกฤตการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ โดยหนึ่งในนั้นก็คือ ประเทศ ญี่ปุ่น โดยล่าสุด 8 บริษัทชั้นนำของประเทศก็ได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทผลิตชิปใหม่ภายในประเทศ เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต

กลุ่มบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น 8 แห่ง ได้แก่ Toyota Motor, Sony Group, SoftBank Corp, Nippon Telegraph and Telephone Corp (NTT), Kioxia Corp (บริษัทผู้ผลิตชิป), Denso Corp (ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์), NEC Corp (ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) และ ธนาคาร MUFG ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทใหม่ชื่อ Rapidus

สำหรับ Rapidus จะมุ่งเน้นในการพัฒนาและผลิตชิป รวมทั้งพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ให้กับญี่ปุ่น พร้อมกันนี้ Rapidus ยังได้ Tetsuro Higashi อดีตประธานบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ชิป Tokyo Electron มาเป็นผู้นำบริษัท

Yasutoshi Nishimura รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนจะให้เงินสนับสนุนถึง 7 หมื่นล้านเยน (ราว 18,000 ล้านบาท) ในขณะที่บริษัททั้ง 8 จะลงทุนรวมประมาณ 7 พันล้านเยน (ราว 1,800 ล้านบาท) ในบริษัท โดยรัฐบาลตั้งเป้าที่จะผลิตชิปขนาดต่ำกว่า 2 นาโนเมตรภายในประเทศภายในปี 2030 จากปัจจุบัน บริษัทญี่ปุ่นสามารถผลิตชิปที่มีความกว้างของเส้นวงจรได้เพียงประมาณ 40 นาโนเมตรเท่านั้น

“ด้วยการร่วมมือกับสถาบันวิจัยและอุตสาหกรรมในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา เราต้องการเสริมสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของญี่ปุ่นและความสามารถในการแข่งขันผ่านความพยายามร่วมกันของนักวิชาการและอุตสาหกรรมในประเทศ” Yasutoshi Nishimura กล่าว

การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกับปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่การผลิตรถยนต์ไปจนถึงการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงการแข่งขันพัฒนาชิปขั้นสูงเพื่อใช้ในควอนตัมคอมพิวเตอร์ เอไอ ตลอดจนอาวุธทางการทหาร อาทิ ขีปนาวุธ

จับตาอุตสาหกรรม ‘ชิป’ สงครามครั้งใหม่ของ ‘สหรัฐฯ-จีน’ ศึกตัดสิน ‘ผู้ชนะ’ ในเศรษฐกิจโลก

ปัจจัยดังกล่าวได้กระตุ้นให้เกิดการถกเถียงกันในญี่ปุ่นเกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการแข่งขันนี้มีผู้นำเป็นบริษัทต่าง ๆ ในไต้หวัน เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา

Source

]]>
1407879
รมว. พาณิชย์สหรัฐฯ เตือนปัญหา ‘ชิปขาดแคลน’ จะอยู่ถึงปีหน้าหรือนานกว่านั้น https://positioningmag.com/1387491 Thu, 02 Jun 2022 03:34:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387491 การปิดตัวของซัพพลายเออร์รายสำคัญในเอเชียเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคหยุดชะงักในปีที่แล้ว แต่ผู้บริโภคทั่วโลกไม่ได้หยุดจับจ่าย โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ จึงทำให้ทั่วโลกเจอปัญหาวิกฤตการขาดแคลนชิป

จีน่า ไรมอนโด รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ เตือนว่า ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกมีแนวโน้มว่าจะคงอยู่อย่างน้อยตลอดปีหน้าและอาจนานกว่านั้น หลังจากที่ได้พูดคุยกับซีอีโอหลายสิบคน รวมทั้งผู้นำของผู้ผลิตชิป ในช่วงเวลาที่เธออยู่ที่เกาหลีใต้เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลน และพวกเขาทั้งหมดเห็นพ้องต้องกันว่าจนถึงสิ้นปี 2023 อาจเป็นช่วงต้นปี 2024 ที่จะได้เห็นว่าปัญหาเริ่มเบาบางลงอย่างแท้จริง

“โชคไม่ดีที่เราไม่เห็นว่าปัญหาการขาดแคลนชิปจะลดลงอย่างมีความหมายในปีหน้า”

จีน่า เรียกร้องให้รัฐสภาดำเนินการอีกครั้งเพื่อให้อนุมัติเงินทุนสำหรับการออกกฎหมายเพื่อกระตุ้นการผลิตชิปคอมพิวเตอร์ภายในประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท ตั้งแต่สมาร์ทโฟน อุปกรณ์ทางการแพทย์ ไปจนถึงเครื่องดูดฝุ่น

“ประเทศอื่น ๆ ทุกประเทศมีเงินอุดหนุน และหากรัฐสภาไม่ดำเนินการอย่างรวดเร็ว ผู้ผลิตหลักอย่าง Samsung, Intel และ Micron กำลังจะสร้างฐานการผลิตในประเทศอื่น และนั่นจะเป็นปัญหาใหญ่หลวง”

วุฒิสภาสหรัฐฯ และสภาผู้แทนราษฎรต่างอนุมัติร่างกฎหมายมูลค่า 5.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ได้แก่ กฎหมาย CHIPS และพระราชบัญญัติการแข่งขันของอเมริกา ซึ่งจะลงทุนในการวิจัยและการผลิตชิปในประเทศ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถตกลงเกี่ยวกับรูปแบบสุดท้ายของกฎหมายได้

Source

]]>
1387491
‘ซัมซุง’ คาดกำไรไตรมาส 4 พุ่ง 1.15 หมื่นล้านเหรียญ โต 52% เพราะยอดขาย ‘ชิปความจำ’ https://positioningmag.com/1369839 Sun, 09 Jan 2022 11:07:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369839 ในขณะที่การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ได้สร้างความหายนะให้กับเศรษฐกิจโลก แต่ก็ช่วยให้บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งเติบโตได้ เนื่องจากเทรนด์ Work from Home กระตุ้นความต้องการอุปกรณ์ไอทีที่ขับเคลื่อนด้วยชิปของ Samsung (ซัมซุง) รวมถึงเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น โทรทัศน์และเครื่องซักผ้า ทำให้กำไรของ Samsung ช่วงไตรมาส 4 ของปี 2564 พุ่งขึ้น 52.5% 
ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ที่สุดของโลกคาดการณ์ว่ากำไรจากการดำเนินงานในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 อยู่ที่ประมาณ 13.8 ล้านล้านวอน (1.15 หมื่นล้านดอลลาร์) จากที่ไตรมาสเดียวกับปี 2563 อยู่ที่ 9.05 ล้านล้านวอน โดยการเติบโตดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากยอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสนี้ซึ่งเพิ่มขึ้น 23.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี และคาดว่ายอดขายประจำปี 2564 ก็ถือว่าสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา อย่างไรก็ตาม ประมาณการกำไรจากการดำเนินงานต่ำกว่าประมาณการของนักวิเคราะห์ที่ 15.2 ล้านล้านวอน 
Park Sung-soon นักวิเคราะห์จาก Cape Investment & Securities กล่าวว่า ชิปหน่วยความจำของ Samsung เติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ไตรมาสจนถึงเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ส่งผลให้อัตรากำไรของ Samsung เพิ่มขึ้น โดยแหล่งรายได้ที่สำคัญที่สุดสำหรับ Samsung อยู่ที่ธุรกิจชิปหน่วยความจำ อย่างไรก็ตาม Samsung Electronics ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับรายได้ของหน่วยงานต่าง ๆ ว่าแต่ละส่วนมีรายได้เท่าไหร่บ้าง โดยคาดว่าบริษัทจะเปิดเผยผลประกอบการเต็มรูปแบบในวันที่ 27 มกราคมนี้
ทั้งนี้ Samsung ผู้ผลิตชิปหน่วยความจำรายใหญ่ที่สุดของโลก และพึ่งได้เพิ่มการลงทุนอย่างจริงจังในธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ ในขณะที่โลกกำลังต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนชิปที่ส่งผลกระทบต่อทุกอย่างตั้งแต่รถยนต์และเครื่องใช้ในบ้าน ไปจนถึงสมาร์ทโฟนและคอนโซลเกม โดยในเดือนพฤศจิกายน บริษัทได้ประกาศสร้างโรงงานไมโครชิปแห่งใหม่ในเท็กซัส ด้วยเงินลงทุน 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ โรงงานคาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ภายในสิ้นปี 2567 
โดย Samsung เข้าร่วมกับคู่แข่ง TSMC จากไต้หวันและบริษัท Intel ในสหรัฐอเมริกาในการขยายกำลังการผลิตชิปในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมองว่าภาคส่วนนี้เป็นพื้นที่การแข่งขันเชิงกลยุทธ์กับจีน นอกจากนี้ บริษัทยังลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และการสื่อสาร 5G/6G
Samsung Electronics เป็น บริษัท ในเครือเรือธงของกลุ่มยักษ์ใหญ่ของ Samsung ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ โดยมูลค่าการซื้อขายโดยรวมของกลุ่มบริษัทนั้นเทียบเท่ากับประมาณ 1 ใน 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเกาหลีใต้ โดยหุ้น Samsung Electronics เพิ่มขึ้น 1.4%
]]>
1369839
ข้ามไทยอีกแล้ว! ‘Intel’ เตรียมลงทุน 7 พันล้านเหรียญ เปิดโรงงานผลิต ‘ชิป’ ในมาเลเซีย https://positioningmag.com/1367306 Thu, 16 Dec 2021 05:44:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1367306 ‘อินเทล’ (Intel) บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เปิดเผยว่า จะลงทุนเป็นเงินมากกว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างโรงงานบรรจุภัณฑ์และทดสอบชิปแห่งใหม่ในมาเลเซีย

แพ็ต เกลซิงเกอร์ หัวหน้าผู้บริหารระดับสูงของอินเทล กล่าวว่า สาเหตุที่อินเทลขยายการผลิต เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก โดยโรงงานบรรจุภัณฑ์ขั้นสูงแห่งใหม่ในมาเลเซียคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปี 2024 ด้านรัฐบาลมาเลเซีย กล่าวว่า การลงทุนมูลค่า 30 พันล้านริงกิต (7.10 พันล้านดอลลาร์) ของอินเทล จะสร้างงานกว่า 4,000 ตำแหน่งและงานก่อสร้างมากกว่า 5,000 ตำแหน่งในประเทศ

การดำเนินการนี้เกิดขึ้นได้ทันท่วงทีเนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาการขาดแคลนชิปและความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นจากการฟื้นตัวของโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก” โมฮาเหม็ด อัซมิน อาลี รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศของมาเลเซียกล่าว

ที่ผ่านมา อินเทลได้เปิดโรงงานผลิตแห่งแรกนอกสหรัฐอเมริกาที่รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซียเมื่อปี 1972 โดยโรงงานมีขนาด 5 เอเคอร์ และในปี 1975 มีพนักงานประมาณ 1,000 คน และได้กลายเป็นส่วนสำคัญของซัพพลายการผลิตของบริษัท ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการประกอบชิปของมาเลเซีย คิดเป็นกว่า 1 ใน 10 ของการค้าโลกซึ่งมีมูลค่ากว่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับปัญหาการขาดแคลนทั่วโลกของชิปเซมิคอนดักเตอร์ส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น โดยมีการแพร่ระบาดเป็นเชื้อเพลิง โดยที่ผ่านมาจะเห็นหลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากปัญหา ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ต้องลดจำนวนการผลิต ไปจนถึงความล่าช้าในการส่งมอบมาร์ทโฟน อาทิ iPhone ของ Apple ขณะที่ปัญหาการขาดแคลนชิปคาดว่าจะลากยาวไปอีกน้อย 2 ปี

โดยรวมแล้วอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในปีนี้จะเติบโตมากกว่าในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา แต่ช่องว่างยังคงมีขนาดใหญ่แต่ด้วยสถานการณ์และข้อจำกัดต่าง ๆ คาดว่าปัญหาจะยาวไปถึงปี 2023” แพ็ต เกลซิงเกอร์ กล่าว

ไม่ใช่แค่มาเลเซีย แต่อินเทลหวังที่จะประกาศเปิดโรงงานแห่งใหม่ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปภายในต้นปีหน้า

Source

]]>
1367306
‘ซัมซุง’ คาดกำไร Q3 พุ่งขึ้นเกือบ 30% หลังได้อานิสงส์ธุรกิจ ‘ชิป’ โตแรง https://positioningmag.com/1355868 Mon, 11 Oct 2021 03:18:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355868 ‘ซัมซุง อิเล็คทรอนิคส์’ (Samsung) บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของเกาหลีใต้ ที่ได้อานิสงส์จากปัญหาขาดแคลนชิปทั่วโลกดันให้ยอดขายในไตรมาส 3 ขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์มากกว่าไตรมาสอื่น ๆ โดยคาดการณ์ว่าผลกำไรจากการดำเนินงานจะเพิ่มขึ้นเกือบ 30%

ซัมซุง ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ที่สุดของโลกคาดว่า รายได้ของไตรมาส 3 จะอยู่ที่ 73 ล้านล้านวอน (6.12 หมื่นล้านดอลลาร์) เติบโตขึ้น 9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งถือว่าเป็น นิวไฮ เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานจะสูงถึง 15.8 ล้านล้านวอน (1.33 หมื่นล้านดอลลาร์) เพิ่มขึ้น 27.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี สูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากไตรมาส 3 ของปี 2561

ทั้งนี้ ซัมซุงไม่ได้ระบุการประมาณการรายได้โดยแบ่งตามกลุ่มธุรกิจ โดยระบุว่าบริษัทจะประกาศตัวเลขผลประกอบโดยละเอียดในเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างการเติบโตมาจากความต้องการสินค้าไอทีและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้น

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์มองว่า ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ของซัมซุงมีส่วนสำคัญที่ช่วยหนุนให้ผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 เติบโตขึ้นนิวไฮ และมีผลกำไรเพิ่มขึ้นทั้งใน ธุรกิจชิปหน่วยความจำและชิปประเภทอื่น ๆ โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนชิปของหลาย ๆ บริษัท

นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินวอนเกาหลีใต้เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้อัตรากำไรของผู้ผลิตชิปเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจสมาร์ทโฟน อย่างไรก็ตาม เมื่อมองไปข้างหน้า ราคาของชิปหน่วยความจำ DRAM ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของซัมซุงนั้น คาดว่าความต้องการจะลดลงในไตรมาส 4 ซึ่งทำให้แนวโน้มผมกำไรของบริษัทลดลง

“ด้วยความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ของผู้บริโภคที่ลดลงในช่วงหลัง COVID-19 ราคาชิปจึงคาดว่าจะลดลงตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 เป็นต้นไป” Park Sung-soon นักวิเคราะห์จาก Cape Investment & Securities กล่าว

ปัจจุบัน ซัมซุงถือเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของโลก โดยมูลค่าการซื้อขายโดยรวมของกลุ่มบริษัทนั้นเทียบเท่ากับ 1 ใน 5 ของ GDP เกาหลีใต้ทั้งประเทศ

Source

]]>
1355868
‘ชิปขาดตลาด’ ทำผู้ผลิตรถยนต์เสียหาย 2.1 แสนล้านเหรียญ ลุ้น ‘โช้คอัพ’ ของขาดชิ้นต่อไป https://positioningmag.com/1353994 Wed, 29 Sep 2021 10:30:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353994 ปัญหาการขาดแคลนชิปถือเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยปัญหาดังกล่าวเกิดจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้ยอดขายรถยนต์ลดลงอย่างกะทันหัน ส่งผลให้ผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ได้ลดคำสั่งซื้อชิปในอนาคต เพราะคาดว่าความต้องการรถยนต์ใหม่จะยังคงตกต่ำเป็นระยะเวลานาน

อย่างไรก็ตาม เมื่อยอดขายรถยนต์ฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ ผู้ผลิตรถยนต์พบว่าพวกเขาไม่สามารถเปลี่ยนคำสั่งซื้อชิปของได้ เนื่องจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างมากเพราะผู้คนส่วนใหญ่อยู่บ้านมากขึ้น ทำให้สินค้าไอทีไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อป แท็บเล็ต โทรศัพท์ ได้มาแย่งซัพพลายไปใช้ ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้โรงงานผลิตรถยนต์บางแห่งต้องปิดตัวลง การขนส่งรถยนต์ล่าช้า และส่งราคารถทะลุเพดาน แต่ดูเหมือนปัญหาขาดแคลนชิปจะไม่ใช่แค่ปัญหาเดียว

Mark Wakefield ที่ปรึกษาทางธุรกิจ จาก AlixPartners กล่าวว่า ผู้ผลิตรถยนต์ประสบปัญหาในการรับชิ้นส่วนและวัตถุดิบทุกประเภทด้วยเหตุผลหลายประการ รวมถึงการปิดโรงงานของซัพพลายเออร์ที่เกี่ยวข้องจากการระบาดของ COVID-19 ปัญหาด้านโลจิสติกส์ที่เกิดจากปัญหาการขาดแคลนเรือส่งสินค้า การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และคนขับรถบรรทุก

ปัญหาต่าง ๆ ส่งผลให้ต้นทุนที่เกิดจากวิกฤตด้านซัพพลายเชนในปัจจุบันใหญ่กว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้มาก ซึ่งนำไปสู่ต้นทุนที่สูงขึ้นมากสำหรับผู้ผลิตรถยนต์และผู้ซื้อรถยนต์เช่นกัน โดยคาดว่าปัญหาทั้งหมดทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ผลิตรถยนต์ลดลงถึง 7.7 ล้านคันทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากที่เคยคาดไว้ในเดือนพฤษภาคมที่ 3.9 ล้านคัน

จากจำนวนการผลิตที่ลดลง ส่งผลให้อุตสาหกรรมสูญเสียเงินกว่า 2.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จากที่เคยประมาณการไว้ที่ 1.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนพฤษภาคม ขณะที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินเพิ่มประมาณ 9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากราคารถยนต์ที่พุ่งสูงขึ้นราว 2,000 ดอลลาร์ต่อคัน ซึ่งเมื่อเทียบยอดขายที่หายไปแล้ว ผู้ผลิตรถยนต์จะต้องสูญเงินกว่า 1.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

Photo : AFP

แม้ปัญหาการขาดแคลนชิปคาดว่าจะหมดไปในช่วงไตรมาส 2 ของปี แต่เพราะจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่พุ่งสูงขึ้นทำให้เกิดการขาดแคลนรอบใหม่ เนื่องจากโรงงานชิปถูกบังคับให้ปิดตัวลงชั่วคราวในประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เช่น มาเลเซีย นอกจากนี้ยังส่งผลถึงวัตถุดิบอื่น ๆ อีกด้วยโดยเฉพาะโลหะและเรซิ่น

Dan Hearsch กรรมการผู้จัดการของ AlixPartners กล่าวว่า เมื่อพูดถึงการผลิตหรือการจัดหาวัสดุ การขาดแคลนหรือการหยุดชะงักของการผลิตในส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกส่งผลกระทบต่อบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก และขณะนี้ผลกระทบก็เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการขาดแคลนอื่น ๆ ทั้งหมด อย่างตอนนี้ไม่มีโช้คอัพเหลืออยู่ในอุตสาหกรรมแล้ว

Source

]]>
1353994
พิษเศรษฐกิจ ฉุดกำลังซื้อ เเนวโน้ม ‘ยอดขายรถยนต์’ ปี 64 ซบเซาต่อเนื่อง เหลือ 7.35 แสนคัน https://positioningmag.com/1345601 Fri, 06 Aug 2021 07:19:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345601 ตลาดรถยนต์ในประเทศไทย ยังหดตัวต่อเนื่องจากพิษโรคระบาด คาดยอดขายตลอดปีนี้ ลดลงจากปีก่อน 7.1% เหลือ 7.35 แสนคัน กำลังซื้อของผู้บริโภคเปราะบางรถยนต์ส่วนบุคคลกระทบหนักสุด ลุ้นปี 65 กระจายวัคซีนทั่วถึง เศรษฐกิจดีขึ้นอาจกลับมาขายได้ 8.6 แสนคัน

ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ระลอก 3 ที่ลากยาวเเละรุนเเรงกว่าที่คาดทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมรวมกว่าเเล้ว 6.64 แสนคน (ข้อมูล ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2564) ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศให้ชะลอตัวลง รวมไปถึงกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลงเรื่อยๆ

เเม้ว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศ ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ จะทำยอดขายได้กว่า 373,191 คัน เเละขยายตัว 13.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ก็เป็นการเพิ่มขึ้นที่มาจากฐานที่ต่ำในปี 2563 ที่หดตัวลงถึง 37.3% เป็นผลมาจากกำลังซื้อที่หายไปจากการล็อกดาวน์ติดต่อกัน 3 เดือน (เมษายน – มิถุนายน 2563) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ในระลอกแรก

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินยอดขายรถยนต์ในไทยจะอยู่ที่ 7.35 แสนคันในปี 2564 ลดลง 7.1% จากปีก่อน โดยมีปัจจัยฉุดรั้งต่างๆ เช่น การระบาดของโควิด-19 และกำลังซื้อที่เปราะบางแม้จะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวการส่งออกและราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นมาช่วยก็ตาม

โดยยอดขายจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไตรมาส 3’ อันเป็นผลมาจากมาตรการล็อกดาวน์และกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง

จากนั้นคาดว่าในไตรมาสที่ 4’ ยอดขายจะเริ่มทยอยฟื้น จากอานิสงส์จากการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมกว่า 70% ของประชากรรวมในประเทศ หากเป็นไปตามแผนของภาครัฐ ผนวกกับได้แรงพยุงจากการส่งออกที่ฟื้นตัว และรายได้เกษตรกรที่ดีขึ้นจากราคาและผลผลิตที่ดีขึ้น

ยอดขาย ‘รถยนต์นั่งส่วนบุคคล’ ลดฮวบ

เมื่อเเบ่งเป็นประเภทรถยนต์ จะพบว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลได้รับผลกระทบหนักกว่ารถยนต์เชิงพาณิชย์คาดว่าปีนี้ ยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจะหดตัว 11.1% ขณะที่รถยนต์เชิงพาณิชย์จะหดตัว 4.1% 

สาเหตุหลักๆ มาจากโรคระบาดจะบั่นทอนกำลังซื้อและความเชื่อมั่นให้ลดลง โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยว ซึ่งมีความต้องการรถยนต์นั่งส่วนบุคคลสูงกว่ารถยนต์เชิงพาณิชย์

จากสถิติกรมขนส่งทางบก ระบุว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ป้ายแดงขยายตัว 4.2% จากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่หดตัว 24.1% โดยพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลยังหดตัวต่อเนื่องที่ 1.9%

ขณะที่พื้นที่เศรษฐกิจที่พึ่งพาภาคธุรกิจการส่งออกและภาคเกษตร ได้แก่ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ เริ่มกลับมาขยายตัวได้ 12.2% 12.1% และ 11.8% ตามลำดับ

หากการแพร่ระบาดบรรเทาลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ พื้นที่เศรษฐกิจที่พึ่งพิงภาคธุรกิจการส่งออกและภาคเกษตร คาดว่าจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้เร็วกว่า ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวผู้บริโภคส่วนใหญ่ มีความต้องการรถยนต์เชิงพาณิชย์มากกว่า ทำให้ยอดขายจะกลับมาฟื้นได้ก่อนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล

ปัจจัยเสี่ยง-ปัยจัยหนุน ตลาดรถยนต์ในไทย มีอะไรบ้าง ?

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามในตลาดรถยนต์ในไทย หลักๆ มาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งหากไม่คลี่คลายภายในไตรมาส 3 จะส่งผลต่อให้ยอดขายลดลงได้อีก

ตามมาด้วยกำลังซื้อที่เปราะบางและความเชื่อมั่นด้านสถานะการเงินของผู้บริโภค นอกจาดนี้ยังมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน เเละหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงกว่า 93% ต่อจีดีพี

อีกหนึ่งประเด็นที่ต้องจับตามอง ก็คือปัญหาชิปขาดแคลนที่ส่งผลต่อการผลิตรถยนต์ ซึ่งคาดกว่าจะเริ่มผ่อนคลายลงในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2565 ตามอัตราการฉีดวัคซีนทั่วโลกที่ครอบคลุมประชากรมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตชิปทั่วโลกกลับมาผลิตได้ปกติอีกครั้ง ประกอบกับความต้องการชิปสำหรับอุปกรณ์การทำงานที่บ้าน (Work from home) ทั้งคอมพิวเตอร์ ระบบคลาวด์ลดลง ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์มีชิปสำหรับผลิตรถยนต์ได้เพียงพอ

ด้านปัจจัยบวกขั้นพื้นฐานที่ยังสนับสนุนเป็นแรงส่งให้ยอดขายรถยนต์กลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงปลายปี ได้แก่
การส่งออกฟื้นตัว รายได้เกษตรกรที่ดีขึ้น การทำโปรโมชันส่งเสริมการขายจากดีลเลอร์ เเละดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ

Photo : Shutterstock

ส่วนประเด็น ‘อายุรถยนต์’ เฉลี่ยบนท้องถนนที่มากขึ้น (รถยนต์นั่งส่วนบุคคลอายุเฉลี่ย 9.7 ปี รถยนต์เชิงพาณิชย์อายุเฉลี่ย 12.3 ปี) ก็ทำให้เกิดความต้องการเปลี่ยนรถใหม่ รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่ของรถยนต์ที่จูงใจผู้ซื้อด้วย

โดยปัจจัยเหล่านี้จะช่วยประคองให้ยอดขายรถยนต์ฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เป็นต้นไป

ttb analytics เสนอเเนะว่า ภาครัฐและภาคเอกชนในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ควรเตรียมพร้อมด้วยการเร่งฉีดวัคซีนให้แรงงาน และร่วมมือกันควบคุมการแพร่ระบาดด้วยการทำ ‘Bubble and Seal’ อย่างเป็นระบบ เพื่อรักษาซัพพลายเชนการผลิตไม่ให้หยุดชะงัก ซึ่งหากสามารถจัดการได้ ผนวกกับปัจจัยบวกพื้นฐานของกำลังซื้อรถยนต์ในประเทศ

ถ้าทำได้ คาดว่ามีโอกาสที่ยอดขายรถยนต์จะสามารถกลับเข้าสู่ระดับปกติ 8.6 แสนคันได้ในปี 2565”

 

]]>
1345601
คาดอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกเสียหาย ‘1.1 แสนล้านเหรียญ’ เหตุวิกฤต ‘ขาดแคลนชิป’ https://positioningmag.com/1333447 Sun, 23 May 2021 06:17:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333447 การขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกอาจทำให้ผู้ผลิตรถยนต์สูญเสียรายได้ไป 1.1 แสนล้านดอลลาร์ในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากประมาณการก่อนหน้านี้ที่ 6.1 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยบริษัทที่ปรึกษา AlixPartners คาดว่าจากวิกฤตดังกล่าวจะกระทบยอดการผลิตรถยนต์ 3.9 ล้านคัน

ปัญหาชิปได้ผลักดันให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องออกนโยบาย “เชิงรุก” ในตอนนี้และสร้าง “ความยืดหยุ่นของซัพพลายเชน” ในระยะยาวเพื่อหลีกเลี่ยงการหยุดชะงักในอนาคต โดยในอดีตผู้ผลิตรถยนต์มีข้อตกลงการจัดหาโดยตรงกับผู้ผลิตวัตถุดิบบางชนิดรวมถึงโลหะมีค่า เช่น แพลเลเดียมและแพลทินัมที่ใช้ในระบบท่อไอเสีย

“แนวทางดังกล่าวในการรักษาความปลอดภัยของวัสดุโลหะมีค่าได้เริ่มขึ้นหลังจากการหยุดชะงักของการผลิตและราคาที่ผันผวนในตลาด ทำให้ปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์กำลังมองหาการพัฒนาความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์” Mark Wakefield ผู้นำร่วมของแนวปฏิบัติด้านยานยนต์ระดับโลกของ AlixPartners กล่าว

ในอดีตผู้ผลิตรถยนต์ไม่เต็มใจที่จะเซ็นสัญญาระยะยาวในการซื้อชิปเซมิคอนดักเตอร์หรือวัตถุดิบอื่น ๆ เพื่อลดภาระทางการเงินสำหรับข้อตกลงดังกล่าว Wakefield กล่าว แต่ตอนนี้ “ความเสี่ยงเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่เคยเป็นแค่ความเสี่ยง” ที่จะสูญเสียกำลังการผลิตเนื่องจากการขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์

ทั้งนี้ Ford Motor Co กล่าวว่า กำลังออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ใหม่เพื่อใช้ประโยชน์จากชิปที่มีมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก

สำหรับประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์รถยนต์และรถจักรยานยนต์ว่า เดือน เม.ย. 2564 มีจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ 104,355 คัน ลดลงจากเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา 35.79% 

Source

]]>
1333447
ปัญหาขาดแคลนชิปทำ ‘ทีวี’ ราคาพุ่ง 30% ส่วน ‘Ps5’ ขาดตลาดยาวถึง 2022 https://positioningmag.com/1332674 Tue, 18 May 2021 08:22:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332674 โทรทัศน์, แล็ปท็อป และแท็บเล็ตเป็นที่ต้องการอย่างมากในช่วงที่ COVID-19 ระบาด เนื่องจากผู้คนทำงานและเรียนผ่าน Zoom, คุยกับเพื่อน ๆ ผ่าน Skype และใช้ Netflix เพื่อบรรเทาอาการเบื่อ แต่การขาดแคลนชิปตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นนั้นทำให้ ราคาของดีไวซ์พุ่งสูงขึ้น โดยเริ่มจาก ‘ทีวี’

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ราคาของทีวีระดับตัว Top พุ่งขึ้นประมาณ 30% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับปีที่ผ่านมาตามรายงานของบริษัทวิจัยตลาด NPD การที่ราคาพุ่งอย่างก้าวกระโดดเป็นผลโดยตรงจากวิกฤตชิปขาดแคลนในปัจจุบันและเป็นการตอกย้ำว่าปัญหามีความซับซ้อนมากกว่าการเพิ่มกำลังการผลิต

ปัญหาดังกล่าวถือเป็นการส่งสัญญาณว่าดีไวซ์อื่น ๆ อาจมีราคาสูงขึ้นตาม ไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อป, แท็บเล็ต และชุดหูฟัง VR โดย ‘Asus’ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชาวไต้หวันกล่าวว่าการขาดแคลนส่วนประกอบอาจหมายถึง การปรับขึ้นราคาที่สูงขึ้นไปอีกขั้น ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค

SEOUL, SOUTH KOREA – 2020/11/13: People wearing masks exit a PlayStation Store in Seoul. (Photo by Simon Shin/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)

Michael Hurlston ซีอีโอของ Synaptics ซึ่งเป็นบริษัทขายวงจรสำหรับควบคุมหน้าจอสัมผัสให้กับผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มั่นใจว่า “ราคาจะสูงขึ้นอย่างแน่นอน” สำหรับส่วนประกอบเหล่านี้ เพราะบริษัทเห็นการขึ้นราคาของส่วนประกอบอื่น ๆ จากบริษัทอื่น

ด้าน Sony ได้เปิดเผยว่า PlayStation 5 จะยังคงขาดตลาดไปจนถึงปี 2022 เนื่องจากปัญหาดังกล่าว โดยบริษัทระบุว่าส่วนประกอบบางอย่างได้เห็นยอดสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาทิ ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในผลิตภัณฑ์จำนวนนับไม่ถ้วนซึ่งปกติราคา 50 เซ็นต์ แต่ตอนนี้ขายได้มากถึง 70 เหรียญ ซึ่งผู้ผลิตวงจรจอแสดงผลจะรู้สึกถึงผลกระทบเป็นอันดับแรก

“คำที่ฉันได้ยินเมื่อไม่นานมานี้คือ สินค้าคงเหลือหมดลงแล้ว ดังนั้นราคาใหม่เที่เพิ่มขึ้นจะกระทบต่อร้านค้าปลีกและการบริโภคของผู้บริโภค” Peggy Carrieres รองประธานของ AVNet ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กล่าว

Photo : shutterstock

ก่อนหน้านี้ ผลกระทบได้เกิดกับผู้ผลิตรถยนต์ที่ต้องหยุดการผลิตเพราะขาดแคลนชิป ขณะที่มีอีกหลายปัญหาที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภายแล้งในไต้หวัน ที่กระทบต่อผู้ผลิตชิปในประเทศเพราะน้ำถือเป็นส่วนสำคัญในการผลิต นอกจากนี้มีเหตุไฟไหม้ในเดือนมีนาคมที่ต้องปิดโรงงานในญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ผลิตส่วนประกอบเซมิคอนดักเตอร์หลายชนิดรวมถึงวงจรรวมจอแสดงผล

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนคาดว่า ปัญหาการขาดแคลนชิปอาจกินเวลานานกว่าหนึ่งปี ซึ่งปัญหาการขาดแคลนดังกล่าวได้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรม รวมถึงผลกระทบต่อความก้าวหน้าในเทคโนโลยีสำคัญ ๆ เช่น AI, 5G และเทคโนโลยีทางทหาร

ที่ผ่านมา Intel ผู้ผลิตชิปชั้นนำของสหรัฐฯ ที่พ่ายแพ้ให้กับคู่แข่งอย่าง TSMC ในไต้หวัน และ Samsung ในเกาหลีใต้ แต่ปัจจุบันบริษัทวางแผนที่จะลงทุนอย่างหนักเพื่อความพยายามที่จะกลับมาเป็นผู้นำ ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้เสนอมาตรการกระตุ้นอุตสาหกรรมชิปของสหรัฐฯ มูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตชิปของอเมริกา อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะไม่ช่วยอะไรในสถานการณ์ปัจจุบัน

Source

]]>
1332674
รายแรกของโลก! ‘IBM’ เปิดตัวชิปขนาด 2 นาโนเมตรที่แรงขึ้น 45% แต่ใช้พลังงานน้อยลง 75% https://positioningmag.com/1331184 Sun, 09 May 2021 07:40:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331184 สิ่งที่ท้าทายของอุตสาหกรรม ‘เซมิคอนดักเตอร์’ หรือ ‘ไมโครชิป’ คือการทำให้ไมโครชิปที่มีขนาดเล็กนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และใช้พลังงานลดลงไปพร้อม ๆ กัน แต่ล่าสุด ‘ไอบีเอ็ม’ (IBM) ประกาศว่าได้สร้างชิปขนาด 2 นาโนเมตรซึ่งเป็นไมโครชิปที่เล็กที่สุดและทรงพลังที่สุดที่พัฒนาขึ้น

ปกติชิปคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้เทคโนโลยีการผลิต 10 หรือ 7 นาโนเมตร ขณะที่เทคโนโลยีล่าสุดยังติดอยู่แค่ 5 นาโนเมตรเท่านั้น ดังนั้น ชิปใหม่ของไอบีเอ็มที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต 2 นาโนเมตรจึงเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมที่ใช้ในการขับเคลื่อนทุกอย่างตั้งแต่สมาร์ทโฟน เครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์

วิธีปรับปรุงประสิทธิภาพของชิปคือ การเพิ่มจำนวนทรานซิสเตอร์ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่ประมวลผลข้อมูล โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดโดยรวม โดยชิป 2 นาโนเมตรใหม่มีขนาดประมาณเท่าเล็บมือและมีทรานซิสเตอร์ 5 หมื่นล้านตัว ซึ่งแต่ละตัวมีขนาดประมาณดีเอ็นเอสองเส้นตามที่ Mukesh Khare รองประธานฝ่ายวิจัยระบบคลาวด์แบบไฮบริดของ IBM ระบุ

(Photo by Spencer Platt/Getty Images)

ชิปรุ่นใหม่นี้คาดว่าจะมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น 45% และการใช้พลังงานลดลงประมาณ 75% เมื่อเทียบกับชิปขนาด 7 นาโนเมตรที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ด้วยชิปขนาด 2 นาโนเมตร แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือจะสามารถใช้งานได้นานขึ้นถึง 4 เท่า แล็ปท็อปสามารถทำงานได้เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และคาร์บอนฟุตพริ้นต์ของศูนย์ข้อมูลอาจลดลง เนื่องจากพวกเขาพึ่งพาชิปที่ประหยัดพลังงานมากกว่า

ทั้งนี้ ชิป 2 นาโนเมตรคาดว่าจะเริ่มผลิตในปลายปี 2567 หรือ 2568 ซึ่งแน่นอนว่าไม่เร็วพอที่จะมาอุดช่องว่างให้กับปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกในปัจจุบัน

Source

]]>
1331184