ดิจิทัล โนแมด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 20 Jan 2022 05:27:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 การตลาดแบบ Airbnb ซีอีโอลุยเอง! ย้ายที่พักทุก 2 สัปดาห์พัฒนาศักยภาพ “ทำงานทางไกล” https://positioningmag.com/1370920 Thu, 20 Jan 2022 05:03:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370920 หลังจาก Airbnb พบว่าการเช่าเพื่อ “ทำงานทางไกล” เติบโตสูงมากหลังเกิดโรคระบาด บริษัทจึงใช้โอกาสนี้โปรโมตฟังก์ชันใหม่ของที่พักในเครือข่าย สามารถเช่าไว้สำหรับทำงานและท่องเที่ยวไปพร้อมกัน โดยล่าสุด “Brian Chesky” ซีอีโอบริษัท ประกาศย้ายที่พักบน Airbnb ทุก 2 สัปดาห์ เพื่อพิสูจน์และพัฒนาประสบการณ์การทำงานทางไกลในที่พักของแพลตฟอร์ม

Brian Chesky ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Airbnb ประกาศผ่านบัญชีทวิตเตอร์ว่า เขาจะเริ่มย้ายที่อยู่ทุกๆ 2 สัปดาห์ เพื่อ “ทำงานทางไกล” (remote work) จากหลายๆ เมือง แน่นอนว่าที่พักที่เขาเลือกจะต้องมาจากแพลตฟอร์ม Airbnb ของเขาเอง

“ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจะเริ่มอาศัยอยู่ใน Airbnb” Chesky ทวีตข้อความนี้เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2022 “ผมจะเปลี่ยนที่พักไปในเมืองต่างๆ ทุกๆ 2 สัปดาห์”

ปกติแล้ว Chesky อาศัยอยู่ในเมืองซานฟรานซิสโก และที่แรกที่เขาจะย้ายไปอยู่คือเมืองแอตแลนตา และจะย้ายเมืองไปเรื่อยๆ

ทวีตของ Brian Chesky อ่านเต็มๆ ได้ที่ >> https://twitter.com/bchesky/status/1483474046847225865

เขาบอกว่า เขาต้องการจะทำอย่างนี้เพราะ “มันคงสนุกดี แต่ที่สำคัญกว่าคือ ประสบการณ์นี้จะช่วยให้เราพัฒนาตัวเองสำหรับคนที่สามารถอยู่ที่ไหนในโลกก็ได้”

การตลาดของ Airbnb ล้อตามดาต้าที่บริษัทพบเมื่อปีที่แล้ว เมื่อการเช่าพักระยะยาวบน Airbnb สูงขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่เกิดโรคระบาด COVID-19

“เมื่อเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนปีก่อน 1 ใน 5 ของการจองที่พักบน Airbnb เป็นการเช่าพัก 1 เดือนหรือนานกว่านั้น และเกือบครึ่งหนึ่งของการจองเป็นการเช่าพัก 1 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น” Chesky ทวีตข้อความนี้ และเสริมว่า “เฉพาะปีที่แล้ว มีแขกที่พัก Airbnb จำนวน 1 แสนรายที่จองเพื่อพักเป็นเวลา 3 เดือนหรือมากกว่า”

 

คนจะทำงานทางไกลมากขึ้น

Chesky คาดการณ์ว่าปีนี้ก็จะยังเห็นคนที่ “เดินทางไปในหลายพันเมืองเพื่อพักอาศัยยาวนานหลายสัปดาห์ หลายเดือน หรือกระทั่งพักอยู่ทั้งฤดูต่อการเดินทางหนึ่งครั้ง”

“คนจำนวนมากจะเริ่มย้ายไปอยู่ต่างประเทศ บางคนจะไปเที่ยวตลอดฤดูร้อน และบางคนจะเปลี่ยนตัวเองมาเป็นดิจิทัล โนแมด” Chesky ทวีต “เมืองต่างๆ และหลายๆ ประเทศจะแข่งขันกันเพื่อดึงดูดคนทำงานทางไกลเหล่านี้ และต่างต้องการเป็นผู้นำในการกระจายตัวแบบใหม่ของคนที่ต้องการใช้ชีวิตและท่องเที่ยวไปพร้อมกัน”

Airbnb ทำงานทางไกล
(Photo : Airbnb)

Future Workforce Pulse รายงานข้อมูลที่สนับสนุนการคาดการณ์ของ Chesky โดยพบว่า ชาวอเมริกันที่ทำงานทางไกลจะขยายเกือบเป็นเท่าตัวเทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาด โดยคาดว่าจะเพิ่มจาก 16.8 ล้านคนเป็น 36.2 ล้านคนภายในปี 2025

Airbnb คือผู้ได้รับอานิสงส์จากเทรนด์นี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บริษัททำกำไรได้สูงที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2008 และมียอดจองที่พักสูงกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด

ตัวบริษัท Airbnb เองก็สนับสนุนเทรนด์การทำงานทางไกล โดยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2021 ซีอีโอ Chesky ได้แจ้งถึงผู้ถือหุ้นว่าบริษัทอนุญาตให้พนักงานไม่ต้องกลับมาเข้าออฟฟิศอีกจนถึงเดือนกันยายน 2022 หรืออาจจะยาวนานกว่านั้น จนถึงเดือนพฤศจิกายนปีก่อน บริษัทก็ประกาศเตรียมทำนโยบาย “การทำงานแบบยืดหยุ่น” ให้อย่างถาวร ทำให้พนักงานทำงานทางไกลได้เลย

Airbnb เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2020 และถึงแม้ว่าข่าวการทำกำไรและเทรนด์ที่เข้าทางบริษัทน่าจะเป็นผลบวก แต่ล่าสุดบริษัทวิจัย Gordon Haskett ลดเกรดหุ้น Airbnb ลงและทำให้ราคาหุ้นตกไป 3.4%

Source

]]>
1370920
10 เมืองที่ดีที่สุดในโลกของคน “ทำงานจากที่ไหนก็ได้” (Work from Anywhere) ปี 2021 https://positioningmag.com/1340694 Tue, 06 Jul 2021 05:21:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340694 Nestpick แพลตฟอร์มค้นหาที่พักรายเดือนออนไลน์ รายงานดัชนี “เมือง” ที่เหมาะกับการ “ทำงานจากที่ไหนก็ได้” (Work from Anywhere) มากที่สุดในโลก ประจำปี 2021 โดยปีนี้เมือง “เมลเบิร์น” ออสเตรเลีย คว้าอันดับ 1 ไปครองจากที่สำรวจทั้งหมด 75 เมือง ส่วนประเทศไทยมีติดโผ 2 เมืองคือ “เชียงใหม่” และ “กรุงเทพฯ”

กระแสการ ทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Work from Anywhere) เป็นที่นิยมมากขึ้นหลังผ่านการดิสรัปต์จากโรคระบาด ด้วยเทคโนโลยีที่สร้างให้วิธีการทำงานเช่นนี้เกิดขึ้นได้จริง และเป็นไปได้ว่าจะยังนิยมต่อเนื่องแม้โรคระบาดคลี่คลายแล้ว mindset ของคนทำงานเริ่มเปลี่ยนไป จากการมุ่งเป้าไปพำนักในเมืองธุรกิจที่ค่าครองชีพมักจะสูง กลายเป็นการอยู่อาศัยในเมืองที่น่าอยู่ มีไลฟ์สไตล์ และถูกกว่า

นั่นทำให้คนทำงานที่สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้เริ่มมองหาที่อยู่ใหม่รอบโลก โดยบริษัท Nestpick ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มค้นหาที่พักรายเดือนทั่วโลก ทำการศึกษาเมือง 75 เมืองหลักซึ่ง “เหมาะกับการอยู่อาศัย” มากที่สุด โดยเฉพาะสำหรับคนที่ต้องการทำงานออนไลน์

ดัชนีของ Nestpick แบ่งการให้คะแนนออกเป็น 3 ส่วนหลัก 16 ข้อย่อย ดังนี้

1.ต้นทุนการทำงานและโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเช่าโฮมออฟฟิศ, ความยากง่ายในการหาที่พักอาศัย, ภาษี และความเร็วอินเทอร์เน็ต

2.กฎหมายและเสรีภาพ ได้แก่ กฎหมายรองรับคนทำงานทางไกล (เช่น วีซ่า), โครงสร้างพื้นฐานสำหรับคนทำงานทางไกล, ความปลอดภัย สิทธิ และเสรีภาพ, ความเท่าเทียมทางเพศ, เป็นมิตรกับ LGBTQ และเป็นมิตรกับชาติพันธุ์กลุ่มน้อย

3.ความน่าอยู่ของเมือง ได้แก่ อัตราการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19, ค่าครองชีพโดยรวม, ระบบสาธารณสุข, วัฒนธรรมและสถานที่พักผ่อน, ภูมิอากาศ, มลภาวะ

เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย

จะเห็นได้ว่า การสำรวจครั้งนี้รวมเอา “อัตราการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19” ของประชากรท้องถิ่นไว้ด้วย เนื่องจากความปลอดภัยเชิงสุขภาพกลายมาเป็นหนึ่งในดัชนีสำคัญวัดความน่าอยู่ของเมืองแล้ว

จากการสำรวจทั้งหมด เหล่านี้คือ 10 เมืองที่ดีที่สุดในโลกของ “คนทำงานจากที่ไหนก็ได้” (Work from Anywhere) ปี 2021

  1. เมลเบิร์น / ออสเตรเลีย
  2. ดูไบ / UAE
  3. ซิดนีย์ / ออสเตรเลีย
  4. ทาลลินน์ / เอสโตเนีย
  5. ลอนดอน / สหราชอาณาจักร
  6. โตเกียว / ญี่ปุ่น
  7. สิงคโปร์ / สิงคโปร์
  8. กลาสโกว์ / สหราชอาณาจักร
  9. มอนทรีอัล / แคนาดา
  10. เบอร์ลิน / เยอรมนี

ทั้งนี้ ใน 10 อันดับแรกมีเพียง 4 ประเทศที่ขณะนี้มีวีซ่าสำหรับดิจิทัล โนแมดหรือฟรีแลนซ์ ได้แก่ ออสเตรเลีย, UAE, เอสโตเนีย และเยอรมนี

ส่วนประเทศไทยซึ่งเป็นเป้าหมายอันดับต้นๆ ของกลุ่มดิจิทัล โนแมดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เรามี 2 เมืองที่เข้ามาติดโผนี้ ได้แก่ “เชียงใหม่” ในอันดับที่ 34 และ “กรุงเทพฯ” อันดับที่ 59 โดยเชียงใหม่นั้นถือว่ามีความโดดเด่นเรื่องของค่าเช่าโฮมออฟฟิศและค่าครองชีพถูกเทียบกับตลาดโลก และความเท่าเทียมทางเพศ เป็นมิตรกับ LGBTQ

Source

]]>
1340694
ประชาชนทิพย์! “เอสโตเนีย” เปิดโอกาสเป็น “พลเมืองดิจิทัล” มีจุดรับไอดีการ์ดในไทยแล้ว https://positioningmag.com/1330898 Thu, 06 May 2021 13:10:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330898 รู้จักโปรแกรม e-Residency ของ “เอสโตเนีย” โปรแกรมที่จะเปิดโอกาสให้คนทั่วโลกสมัครเป็น “พลเมืองดิจิทัล” ของประเทศ โดยไม่ต้องย้ายมาเอสโตเนียจริงๆ ปัจจุบันเปิด จุดรับ (pick-up point) ไอดีการ์ดหลังสมัครสำเร็จได้แล้วที่กรุงเทพฯ จากก่อนหน้านี้ชาวไทยต้องไปรับที่สิงคโปร์หรือเซี่ยงไฮ้

เอสโตเนีย เปิดโปรแกรม e-Residency นี้มาตั้งแต่ปี 2014 ให้คนชาติใดก็ได้สมัครขอเป็น พลเมืองดิจิทัล (e-Resident) ของเอสโตเนีย โดย “ลอรี่ ฮาฟ” กรรมการผู้จัดการ e-Residency อธิบายว่า จุดประสงค์โครงการคือให้ “อัตลักษณ์ออนไลน์” แก่คนชาติอื่น เพื่อให้คนคนนั้นทำงานแบบระยะไกลจากที่ไหนก็ได้ในโลก แต่มีสิทธิในเชิงการทำงานและธุรกิจแบบเดียวกับคนเอสโตเนีย

เหตุผลที่เอสโตเนียทำเช่นนี้ได้ เพราะเป็นประเทศที่ทำเอกสารราชการดิจิทัลได้ถึง 99% ของทั้งหมดโดยใช้ระบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ เหลือเพียง 2 อย่างที่คนเอสโตเนียต้องไปสถานที่ราชการ คือ จดทะเบียนสมรสและหย่า ดังนั้น แม้ตัวจะอยู่ที่อื่นในโลก แต่ก็ทำธุรกิจที่เอสโตเนียได้ ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนตั้งบริษัท เสียภาษี เปิดบัญชีธนาคาร หรือติดต่อราชการใดๆ

 

คนไทยได้อะไรจากการเป็น e-Resident เอสโตเนีย

ลอรี่ย้ำว่า คนที่ได้เป็น e-Resident เอสโตเนีย ไม่ได้หมายความว่าเป็นประชาชนเอสโตเนียจริงๆ ในโลกกายภาพ ไอดีการ์ดไม่สามารถใช้ในการเดินทางหรือใช้เป็นวีซ่าเข้าสหภาพยุโรปได้ แล้วประโยชน์ของมันคืออะไร?

ประโยชน์สำหรับคนไทยหรือชาติอื่นๆ ในโลกคือ สิทธิในการตั้งบริษัทสัญชาติเอสโตเนีย ซึ่งเป็นประเทศในสหภาพยุโรป การดำเนินธุรกิจในยุโรปจะเสมือนเป็นบริษัทสัญชาติยุโรป ธุรกิจที่มุ่งเจาะตลาดยุโรปจะทำงานง่ายขึ้น

นอกจากนี้ เอสโตเนียยังเสนอแรงจูงใจเพิ่มเติม เช่น ประเทศนี้อยู่ในอันดับ 14 การจัดอันดับประเทศที่เริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายที่สุด โดยธนาคารโลก (Ease of Doing Business Index) และอยู่ในอันดับ 18 ดัชนีชี้วัดมุมมองต่อการคอร์รัปชันในประเทศปี 2019 ซึ่งเหนือกว่าฝรั่งเศสและสหรัฐฯ

รวมถึงเป็นประเทศที่ระดับการแข่งขันด้านภาษีปี 2019 เป็นอันดับ 1 ของโลก เพราะมีโครงการให้สตาร์ทอัพที่จดทะเบียนในเอสโตเนีย ไม่ต้องเสียภาษีเมื่อทำกำไร (Profit Tax) จะเสียก็ต่อเมื่อจ่ายเงินปันผล (Dividend Tax) เพื่อส่งเสริมให้ใช้เงินหมุนเวียนกลับไปลงทุนในธุรกิจต่อ และสตาร์ทอัพจะโตได้ไวเพราะไม่มีภาระภาษีจากกำไร (อย่างไรก็ตาม หากคนไทยไปลงทุนแล้วรับจ่ายเงินปันผลจะเสียภาษีสองต่อคือภาษีนิติบุคคลที่เอสโตเนียและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ไทย)

เมืองทาลลินน์ เอสโตเนีย (Photo : Pixabay)

โครงการยังแนะนำ “ตัวอย่าง” e-Resident ที่อยู่ในภูมิภาคนี้ คือ จาค็อบ ปูเธนปารามบิล ซีอีโอบริษัท Redhill เอเยนซีด้านการประชาสัมพันธ์ จดทะเบียนในสิงคโปร์ แต่ล่าสุดเขาเพิ่งตั้งสาขาในเอสโตเนียแบบดิจิทัลตามโครงการนี้ เพื่อเริ่มเจาะตลาดยุโรปโดยไม่ต้องบินไปท่ามกลางโรคระบาด และใช้ประโยชน์จาก “ทาเลนต์” คนเอสโตเนียในการทำงานเป็นกราฟิกดีไซเนอร์และโปรแกรมเมอร์ ซึ่งติดต่องานออนไลน์ได้ทั้งหมด

หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือ มัทเทีย มอนทานารี ผู้ร่วมก่อตั้ง Resonance บริษัทการตลาดดิจิทัล เขาเป็นประชากรยุโรป แต่ต้องการเดินทางรอบโลก จึงสมัคร e-Resident เพื่อตั้งบริษัทเอสโตเนีย ใช้ประโยชน์จากการติดต่อราชการออนไลน์ 100% ทำให้เขาทำงานจากที่ไหนก็ได้ ปัจจุบันเขาอยู่ในบาหลี อินโดนีเซีย แต่เมื่อปีที่แล้วเขาเคยอาศัยอยู่ในไทยมาก่อน

จะเห็นได้ว่า แม้จะตั้งบริษัทอะไรก็ได้จากสิทธิตรงนี้ แต่ในทางปฏิบัติ บริษัทที่ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดคือธุรกิจที่สามารถดำเนินการออนไลน์ได้ ทั้งผู้ให้บริการและรับบริการอาจอยู่ที่ไหนก็ได้ในโลก เช่น การตลาดดิจิทัล ที่ปรึกษา กราฟิกดีไซเนอร์ ฯลฯ

 

เปิดจุดรับไอดีการ์ดใหม่ที่กรุงเทพฯ

สำหรับวิธีสมัครเป็น e-Resident ของเอสโตเนีย ทำได้ใน 3 ขั้นตอนนี้

1.เข้าไปลงทะเบียนส่งเอกสารในเว็บ https://eresident.politsei.ee/

2.จากนั้นรอสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) เอสโตเนียตรวจสอบประวัติไม่เกิน 30 วัน

3.เมื่อผ่านแล้วรอออก e-Residency Kit หรือ “ไอดีการ์ด” แสดงความเป็น e-Resident ของคุณมาส่งที่ “จุดรับ” (pick-up point) ที่ใกล้ที่สุด (ต้องไปรับด้วยตนเองเพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือ) ใช้เวลา 2-5 สัปดาห์ ผู้รับมีเวลาไม่เกิน 6 เดือนในการไปรับไอดีการ์ด และการ์ดมีอายุใช้งาน 5 ปี

e-Residency Kit ที่ได้รับเมื่อสมัครสำเร็จ

“จุดรับ” นี้เมื่อก่อนเอสโตเนียเคยให้ไปรับที่สถานทูตเอสโตเนียประจำประเทศนั้นๆ ซึ่งไม่ได้มีทุกประเทศแน่นอน ทำให้คนไทยหรือ expat ในไทยที่สมัคร ต้องบินไปรับไอดีการ์ดที่สิงคโปร์ แต่เนื่องจากโรคระบาด เอสโตเนียมีการปิดสถานทูตหลายแห่ง ปัจจุบันจึงเปลี่ยนมาจับมือพันธมิตรบริษัท BLS International ในการทำจุดรับขึ้นมา และหนึ่งในเมืองที่เลือกเปิดคือ “กรุงเทพฯ” ที่อาคารอินเตอร์เชนจ์ ชั้น B2 ซึ่งหวังว่าจะทำให้มีการสมัครมากขึ้น

ลอรี่กล่าวว่า ที่เลือกประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดรับภูมิภาคนี้ร่วมกับสิงคโปร์ เพราะไทยมีฮับการบิน สนามบินสุวรรณภูมิเป็น Top 20 สนามบินที่มีการจราจรสูงสุดในโลก (ก่อนเกิดโรคระบาด) ทำให้เดินทางเข้ามาได้ง่าย และเป็นสถานที่ที่ชาวต่างชาติมาอาศัยอยู่จำนวนมาก

 

เอสโตเนียได้อะไรจากการเปิดรับคนทั่วโลก

ประเด็นนี้ต้องย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น “ดรวีระชัย เตชะวิจิตร์” กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์เอสโตเนียประจำกรุงเทพมหานคร เล่าว่า เอสโตเนียเป็นประเทศที่ได้รับอิสรภาพจากโซเวียตเมื่อปี 1991 นี้เอง ช่วงเริ่มต้นประเทศเรียกได้ว่า ‘หลังพิงฝา’ ทางเศรษฐกิจ มีประชากรเอสโตเนียเพียง 1 ล้านคนในเวลานั้น เป็นประเทศเล็กๆ และยังไม่มีจุดเด่นอะไร

เมื่อไม่มีจุดเด่น ในที่สุดรัฐบาลเอสโตเนียวางแผนว่าจะสร้างจุดเด่นให้ประเทศ โดยมุ่งสู่การเป็น Digital Society-สังคมดิจิทัล อย่างแท้จริง เป็นที่มาของการทำระบบราชการดิจิทัล และมุ่งดึงดูดสตาร์ทอัพ ตามด้วยการออก e-Residency เป็นชาติแรกในโลก

“ยานาร์ โฮล์ม” ผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเอสโตเนีย เปิดเผยเมื่อปีก่อนว่า โปรแกรม e-Residency ทำให้ประเทศสร้างงานสร้างอาชีพให้คนเอสโตเนียไปแล้ว 1,300 คน

โปรแกรมยังทำรายได้ให้ประเทศสะสมตั้งแต่เริ่มโครงการ 41 ล้านยูโร (31 ล้านยูโรในจำนวนนี้มาจากภาษี) ถือว่าทำกำไรเพราะประเทศลงทุนไปแค่ 10 ล้านยูโรกับโครงการ และโครงการยังมีผลโดยอ้อมต่อการสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ

“ลอรี่ ฮาฟ” กรรมการผู้จัดการ e-Residency

ลอรี่ เอ็มดีของโครงการเปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้สมัครเป็น e-Resident กับเอสโตเนียแล้วกว่า 80,000 คน มีบริษัทจัดตั้งผ่านโปรแกรมนี้ 16,000 ราย ส่วนใหญ่คือชาวรัสเซีย ยูเครน และฟินแลนด์ แต่ที่กำลังมาแรงคือ “จีน”

การมีโปรแกรมรวมคนจากทั่วโลกทำให้เอสโตเนียเคยสร้างสตาร์ทอัพระดับ ‘ยูนิคอร์น’ มาแล้ว 7 ราย เทียบกับจำนวนประชากรเอสโตเนีย 1.3 ล้านคน จึงกลายเป็นประเทศที่มีจำนวนยูนิคอร์นต่อประชากรสูงที่สุดในยุโรป และเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากอิสราเอล

ส่วนคนไทยที่สมัครเป็น e-Resident แล้ว ดร.วีระชัยระบุว่ามี 135 ราย สูสีกับมาเลเซียและเวียดนามที่มีประเทศละประมาณ 140 ราย ขณะที่สิงคโปร์มีกว่า 300 ราย

แน่นอนว่ามีได้ก็มีเสีย โฮล์มระบุว่า ขณะนี้เมื่อโครงการถูกพูดถึงไปทั่วโลก อาชญากรและผู้ที่ต้องการเลี่ยงภาษีเริ่มเล็งเห็นประโยชน์จากโครงการนี้ ทำให้เอสโตเนียต้องระมัดระวังมากขึ้น เพราะย่อมไม่มีใครต้องการให้ประเทศของตนมีชื่อเสียงในทางลบ

Source เพิ่มเติม

]]>
1330898
“โครเอเชีย” ออกวีซ่าพิเศษชวน “ดิจิทัล โนแมด” อยู่ยาว 1 ปี ไอเดียกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยว https://positioningmag.com/1319262 Mon, 15 Feb 2021 04:53:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319262 ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตของธุรกิจท่องเที่ยวทั่วโลก “โครเอเชีย” หาทางพยุงธุรกิจนี้ไว้ โดยการออกใบอนุญาตพำนักระยะเวลา 1 ปีให้กับกลุ่ม “ดิจิทัล โนแมด” เข้ามาปักหลักกางคอมพิวเตอร์ทำงานในประเทศ พร้อมพักผ่อนตากอากาศชายทะเล จุดขายของการท่องเที่ยวโครเอเชีย

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2021 ประเทศโครเอเชียเริ่มเปิดให้ขอใบอนุญาตพำนักระยะยาว 1 ปี สำหรับบุคคลที่ประกอบอาชีพแบบ “ดิจิทัล โนแมด” จากนอกเขตสหภาพยุโรป (EU) โดยหวังว่าจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวที่ซบเซาเนื่องจาก COVID-19

กลุ่มดิจิทัล โนแมดตามคำจำกัดความของกฎหมายพิเศษนี้ หมายถึง บุคคลที่ทำงานด้าน “เทคโนโลยีการสื่อสาร” โดยจะเป็นพนักงานประจำของบริษัทหรือเปิดบริษัทของตนเองก็ได้ แต่การทำงานทั้งหมดต้องไม่เกี่ยวข้องกับการบริการให้กับบุคคลหรือธุรกิจในโครเอเชีย เนื่องจากทางรัฐบาลจะยกเว้นเก็บภาษีรายได้บุคคลธรรมดาให้

เมืองดูบรอฟนิก โครเอเชีย สถานที่ถ่ายทำ Game of Thrones

ดิจิทัล โนแมดเป็นอาชีพที่แพร่หลายมานาน เนื่องจากเทคโนโลยีทำให้คนเหล่านี้สามารถพกโน้ตบุ๊กเครื่องเดียวไปทำงานได้ทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต และมักจะย้ายไปทำงานจากต่างประเทศกันไม่น้อยด้วยเหตุผลต่างกันไป เช่น ความยืดหยุ่นของงานเอื้อให้ท่องเที่ยวระหว่างทำงานได้ ย้ายไปอาศัยในที่ที่ค่าครองชีพถูกกว่าแต่ได้รับรายได้จากประเทศโลกที่หนึ่ง

งานที่ดิจิทัล โนแมดมักจะทำ เช่น โปรแกรมเมอร์ นักเขียน นักแปล นักการตลาดออนไลน์ บล็อกเกอร์ ที่ปรึกษาธุรกิจ กราฟิกดีไซน์ นักตัดต่อวิดีโอ ติวเตอร์ออนไลน์ ฯลฯ

ดิจิทัล โนแมด กลุ่มคนทำงานด้วยเทคโนโลยีได้จากทุกที่บนโลก

แน่นอนว่าการขอใบอนุญาตพำนักสำหรับดิจิทัล โนแมดที่โครเอเชียต้องผ่านการคัดกรองต่างๆ ดังนี้
– เอกสารหลักฐานว่าประกอบอาชีพดิจิทัล โนแมด เช่น สัญญาจ้างงาน (ประจำหรือฟรีแลนซ์ก็ได้) เอกสารการประกอบกิจการของบริษัท (กรณีเปิดบริษัทเอง)
– ใบสอบประวัติอาชญากรรมจากประเทศต้นทาง
– แสดงรายการบัญชีเงินฝากธนาคาร ต้องมีเงินฝากขั้นต่ำตามกำหนด (ปีล่าสุดโครเอเชียกำหนดให้มีเงินฝาก 2,400 คูนาต่อเดือน การขอเข้าประเทศ 1 ปีจึงต้องมีเงินฝาก 28,800 คูนาหรือประมาณ 138,000 บาท)
– ใบยืนยันการตรวจปลอดเชื้อโรค COVID-19 ภายใน 48 ชั่วโมงก่อนเข้าประเทศ ทั้งนี้ บางประเทศอาจจะต้องถูกกักตัว 14 วัน เมื่อมาถึงโครเอเชีย เช่น สหราชอาณาจักร
– ประกันสุขภาพครอบคลุมระยะเวลา 1 ปี

โครเอเชียนั้นมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านสถานที่ท่องเที่ยวชายทะเล โดยมีเกาะกว่า 1,000 เกาะ และเมืองดูบรอฟนิกนั้นเป็นสถานที่ถ่ายทำซีรีส์ Game of Thrones ทำให้โครเอเชียยิ่งเป็นที่นิยมขึ้นก่อนเกิดสถานการณ์ COVID-19

ล่าสุด มีผู้ที่เข้ามาพำนักด้วยวีซ่าแบบดิจิทัล โนแมดเป็นรายแรกแล้ว เธอชื่อ “เมลิสซา พอลล์” เป็นเจ้าของธุรกิจจากสหรัฐอเมริกา บริษัทของเธอเป็นผู้จัดการโซเชียลมีเดีย ดูแลคอนเทนต์ให้กับแบรนด์ต่างๆ และเป็นบรรณาธิการบล็อกออนไลน์

การเปิดประตูให้ดิจิทัล โนแมดทำให้สังคม Expat ที่ประกอบอาชีพเชิงนี้ตื่นเต้นกันมาก โดยเว็บไซต์ Expat in Croatia พบว่ามีผู้ใช้เข้ามาตรวจสอบข้อมูลเพิ่มหลายพันคน มากที่สุดจากสหรัฐอเมริกา ตามด้วย สหราชอาณาจักร มาซิโดเนียเหนือ และ แคนาดา

 

ข้อเสนอจากผู้ประกอบการถูกนำมาใช้จริง

ไอเดียของการเปิดใบอนุญาตพำนักของดิจิทัล โนแมด มาจาก “ยาน เดอ จอง” เป็นผู้ประกอบการและนักลงทุนชาวดัตช์แต่มีถิ่นพำนักในโครเอเชีย เขากล่าวในการสัมมนาเมื่อเดือนเมษายน 2020 ว่าโครเอเชียสามารถเปลี่ยนตนเองเป็นจุดหมายปลายทางของดิจิทัล โนแมดได้ จากนั้นเขาเขียนจดหมายเปิดผนึกบน LinkedIn ถึง “อังเดรย์ เปลงกอวิช” นายกรัฐมนตรีแห่งโครเอเชีย เพื่อย้ำไอเดียที่เสนอว่าโครเอเชียจะได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาก เช่นเดียวกับที่เอสโตเนียเคยทำไปแล้ว

(ซ้าย) ยาน เดอ จอง นักลงทุนชาวดัตช์ เข้าพบ (ขวา) อังเดรย์ เปลงกอวิช นายกรัฐมนตรีแห่งโครเอเชีย (Photo : Jan de Jong)

ในที่สุดนายกฯ เปลงกอวิชเชิญเดอ จองเข้าพบและหารือ พร้อมเป็นที่ปรึกษาในการออกกฎหมายพิเศษนี้ โดยเป็นผู้ให้ข้อมูลว่าควรออกแบบใบอนุญาตอย่างไรเพื่อให้แข่งขันกับประเทศอื่นในโลกในการดึงดูดดิจิทัล โนแมด นั่นหมายถึงระยะเวลาพำนักที่เหมาะสม ค่าธรรมเนียม การจัดการภาษีรายได้ และประกันสุขภาพ

จากการจัดอันดับของเว็บไซต์ nomadlist.com แหล่งรวมคนดิจิทัล โนแมด โครเอเชียมีเมืองที่ดีที่สุดบนชาร์ตคือเมือง Split อยู่อันดับ 184 จากทั่วโลก จุดอ่อนของที่นี่คือ “อากาศ” (เนื่องจากช่วงนี้เป็นฤดูหนาว) “สถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำคืน” ไม่ดึงดูดใจ และ “มีอคติทางเชื้อชาติ/สีผิว”

เชียงใหม่เป็นเมืองยอดนิยมที่สุดของไทยสำหรับกลุ่มดิจิทัล โนแมด

ส่วน Top 5 เมืองที่ดิจิทัล โนแมดชอบมากที่สุดจากเว็บไซต์เดียวกัน ได้แก่ 1)ลิสบอน-โปรตุเกส 2)บาหลี-อินโดนีเซีย 3)เม็กซิโก ซิตี้-เม็กซิโก 4)เชียงใหม่-ไทย และ 5)เบอร์ลิน-เยอรมนี

ประเทศไทยนั้นถูกมองเป็นสวรรค์ของดิจิทัล โนแมดอยู่แล้ว โดยเรามีเมืองที่เป็นฮับที่คนกลุ่มนี้สนใจมากกว่า 10 เมือง ที่ดีที่สุดได้แก่ เชียงใหม่ อยู่ในอันดับ 4 ของโลก ปัจจัยที่โดดเด่นที่สุดคือภูมิอากาศอุ่นกำลังดี ค่าครองชีพต่ำ และประชากรไม่หนาแน่นเกินไป รองลงมาคือ กรุงเทพฯ อยู่ในอันดับ 8 ของโลก และ เกาะพะงัน ในอันดับ 38 ของโลก นอกจากนี้ยังมีเมืองอื่นๆ ที่ต่างชาติสนใจ เช่น ภูเก็ต กระบี่ เป็นต้น

Source: Euronews, Expat in Croatia, nomadlist

]]>
1319262