ตัวเลขเศรษฐกิจ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 10 Jan 2021 12:06:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 IMF มอง ‘เศรษฐกิจจีน’ ปี 2021 ขยายตัว 7.9% ฟื้นตัวไว เเต่การเติบโตยังไม่สมดุล https://positioningmag.com/1313553 Sun, 10 Jan 2021 08:56:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313553 IMF ปรับลดคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจจีนในปี 2021 เหลือ 7.9% จากที่เคยประเมินไว้ที่ 8.2% เเม้จีนจะเป็นประเทศมหาอำนาจประเทศเดียวที่ยังเติบโตได้ ท่ามกลางโรคระบาด COVID-19 เเต่ก็เป็นการเติบโตที่ยังไม่สมดุล

เศรษฐกิจจีน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองสหรัฐฯ หดตัวที่สุดเป็นประวัติการณ์ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2020 เป็นผลมาจากมาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวด โรงงานเเละภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องหยุดชะงัก เเต่หลังจากนั้นก็เริ่มฟื้นตัวขึ้นมาเรื่อยๆ ขณะที่ประเทศเเถบยุโรปเเละอเมริกา ยังคงต้องเผชิญกับการเเพร่ระบาดซ้ำอีกหลายระลอก

โดยตัวเลขจีดีพีตลอดปี 2020 ของจีนอยู่ที่ 1.9% เเม้จะเป็นบวกสวนกระเเสโลก เเต่ก็เป็นตัวเลขที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ปี 1976 ไม่นานก่อนเริ่มยุคปฏิวัติเศรษฐกิจในจีน

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มองว่า เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จากมาตรการของรัฐที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด และการดำเนินนโยบายอย่างฉับไว เพื่อจำกัดผลกระทบของวิกฤตไวรัสที่เกิดขึ้น 

“เเต่การเติบโตยังไม่สมดุล เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากภาคประชาชนเป็นหลัก เเต่ขณะนี้ยังขาดการบริโภคของภาคเอกชน

จีนกำลังปรับเศรษฐกิจให้เข้ากับภาวะปกติท่ามกลางการแพร่ระบาดด้วยการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีเเละเปลี่ยนบริการให้เป็นดิจิทัลอย่างไรก็ตาม ในภาคบริการ รวมถึงร้านอาหารยังคงได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดต่างๆ เเละกิจกรรมทางเศรษฐกิจก็ยังต่ำกว่าช่วงเวลาปกติโดยในปีนี้รัฐบาลจีนจะมีการเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น

ข้อจำกัดทางธุรกิจเเละการเว้นระยะห่างทางสังคม จะยังคงทำให้ธุรกิจภาคบริการอยู่ในภาวะซบเซาไปตลอดปี 2021” IMF ระบุ

 

ที่มา : AFP 

]]>
1313553
COVID-19 ทุบเศรษฐกิจไทย “คลัง” คาดจีดีพีปีนี้ -8.5% ผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 มาแล้ว https://positioningmag.com/1290116 Thu, 30 Jul 2020 08:22:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290116 สศค.คาดการณ์จีดีพีปีนี้ -8.5% จากพิษ COVID-19 ก่อนจะกลับมาขยายตัวในระดับ 4-5% ในปีหน้า เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัว หลังผ่านจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 2/63 ที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะติดลบเกินกว่า 10% เเละคาดว่าในไตรมาส 3/63 ยังติดลบเเต่ไม่มากเท่าไตรมาสก่อน

ลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เผยประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2563 คาดว่าจะจีดีพีหดตัวที่ร้อยละ -8.5 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -9.0 ถึง -8.0) จากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ขยายตัวเป็นวงกว้าง ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักหดตัวลง

โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าปีนี้ จะหดตัวที่ร้อยละ -11 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -11.5 ถึง -10.5) ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยจะหดตัวที่ร้อยละ -82.9 นอกจากนี้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -2.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -3.1 ถึง -2.1) และ -12.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -13.1 ถึง -12.1) ตามลำดับ สอดคล้องกับทิศทางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง

อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ การโอนงบประมาณ ตามพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 พ.ศ. 2563 โดยมีกรอบวงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.8 ถึง 4.8) และการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวที่ร้อยละ 9.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 9.2 ถึง 10.2)

กระทรวงการคลัง คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปหลังภาคธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินกิจการ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น ประกอบกับผลของมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนาของรัฐบาล ระยะที่ 1-3 และมาตรการ “เราเที่ยวด้วยกัน” เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจ ท่องเที่ยว และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง จะช่วยสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชน รักษาระดับการจ้างงาน และสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนให้เกิดการหมุนเวียนกิจกรรม เศรษฐกิจภายในประเทศต่อไป ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 และจะเห็นตัวเลขเศรษฐกิจที่ติดลบน้อยลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.0 ถึง 5.0 ในปี 2564 

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยภายในประเทศ คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2563 จะอยู่ที่ร้อยละ -1.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.8 ถึง -0.8) ปรับตัวลดลงจากปีก่อน ตามแนวโน้มราคาน้ามันดิบในตลาดโลก ที่ปรับตัวลดลงและอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอตัวลง

ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 1.33 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น ร้อยละ 2.7 ของจีดีพี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.2 ถึง 3.2 ของจีดีพี)

Photo : Shutterstock

ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในระยะต่อไป ได้เเก่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การพัฒนาวัคซีน และการผ่อนคลายมาตรการการเดินทางระหว่างประเทศของประเทศต่าง ๆ หลังสถานการณ์คลี่คลายลง ซึ่งจะมีผลต่อจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศในช่วงที่เหลือของปี 2563 และอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2563

โดยกระทรวงการคลัง คาดว่าธุรกิจที่จะฟื้นตัวได้เร็ว ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและเครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนสู่วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) จะช่วยสนับสนุนธุรกิจบริการดิจิทัล และธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ให้ขยายตัวได้ดี

 

]]>
1290116