ต้นทุน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 02 Feb 2022 12:28:03 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Starbucks เตรียมปรับ ‘ขึ้นราคา’ อีกในปีนี้ เหตุเงินเฟ้อ-ต้นทุนพุ่ง-ขาดเเคลนเเรงงาน https://positioningmag.com/1372711 Wed, 02 Feb 2022 09:48:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372711 เชนร้านกาเเฟรายใหญ่ของโลกอย่าง Starbucks (สตาร์บัคส์) วางเเผนจะปรับ ‘ขึ้นราคา’ ในปีนี้ เพื่อชดเชยเงินเฟ้อ ต้นทุนที่สูงขึ้น เเถมเจอปัญหาซัพพลายเชนเเละการขาดแคลนแรงงาน

หลังจากที่เคยปรับขึ้นราคาเมนูมาเเล้วเมื่อเดือน ต.ค.ปีที่เเล้ว และเดือน ม.ค.ปีนี้ ล่าสุดทาง Starbucks ก็เตรียมปรับขึ้นราคาเมนูอีกครั้งในช่วงปี 2022 พร้อมลดใช้จ่ายบางส่วน อย่างด้านการตลาดและการส่งเสริมการขาย เพื่อชดเชยต้นทุนแรงงานและวัตถุดิบต่างๆ ที่พุ่งสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการเเพร่ะบาดของโควิด-19

โดยปัจจัยต่างๆ ทั้งภาวะเงินเฟ้อ การระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน เเละปัญหาขาดแคลนแรงงาน ได้ส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัท

ดังนั้น Starbucks จึงได้ปรับลดคาดการณ์ผลกำไรประจำปีและประจำไตรมาสแรกของปีนี้ลง เนื่องจากโควิดสายพันธุ์โอมิครอนทยังคงระบาดหนักในสหรัฐฯ ทำให้การกลับมาทำงานของผู้คนในออฟฟิศล่าช้าไปด้วย

อีกทั้งในประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่และเติบโตเร็วที่สุดของบริษัท ก็ยังคงต้องอยู่ภายใต้มาตรการควบคุมโควิดอย่างเข้มงวดของรัฐบาล

Photo : Shutterstock

ธุรกิจร้านอาหารต้องเเบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในทุกอย่าง ตั้งแต่เนื้อไก่ เนื้อหมูและน้ำมันปรุงอาหาร ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์และการขนส่ง ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์และการหยุดชะงักของซัพพลายเชนในช่วงโควิด-19

Kevin Johnson ซีอีโอของ Starbucks กล่าวว่า “หลังเจอการระบาดของโอมิครอน ต้นทุนเงินเฟ้อและการขาดแคลนพนักงานก็เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เกินความคาดหมายของเรา” อย่างไรก็ตาม ยังไม่เเน่ชัดว่า Starbucks จะปรับขึ้นราคาเป็นเท่าไหร่เเละเมนูใดบ้าง

ทั้งนี้ Starbucks รายงานผลประกอบการประจำไตรมาส 1/2022 (สิ้นสุด 2 ม.ค.2022) ว่ามีผลกำไรที่ 72 เซนต์ต่อหุ้น น้อยกว่าคาดการณ์ของนักเคราะห์วอลล์สตรีทซึ่งคาดไว้ที่ 80 เซนต์ต่อหุ้น โดยบริษัทยังได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของผลกำไรต่อหุ้นสำหรับปี 2022 เป็น 8-10% จากเดิมที่คาดว่าจะไม่น้อยกว่า 10%

ขณะที่ยอดขายทั่วโลกเพิ่มขึ้น 13% ในไตรมาส 1/2022 ใกล้เคียงกับตัวเลขที่นักวิเคราะห์จาก Refinitiv IBES ประเมินไว้ว่า Starbucks จะเติบโตที่ 13.2%

สิ่งที่น่าจับตามองคือ ยอดขายของสาขาในจีนนั้น ลดลงถึง 14% สวนทางกับยอดขายของสาขาในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบเป็นรายปี หลังได้เเรงสนับสนุนจากการเปิดตัวเครื่องดื่มเย็นเมนูใหม่ และจำนวนสมาชิก Starbucks Rewards ที่เพิ่มขึ้น 

 

ที่มา : Reuters , Marketwatch 

]]>
1372711
ประเมินราคาน้ำมันในไทยพุ่ง 25% กระทบธุรกิจ ครัวเรือนเเบกค่าครองชีพเพิ่ม 340 บาท/เดือน https://positioningmag.com/1359177 Fri, 29 Oct 2021 11:51:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1359177 วิเคราะห์สถานการณ์ ‘ราคาน้ำมันดิบโลก’ ปี 64-65 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 65% ดันราคาขายปลีกในไทยพุ่งขึ้น 25% กระทบค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเพิ่มสูงถึง 2 แสนล้าน ภาคธุรกิจเเบกภาระต้นทุนอ่วม ครัวเรือนเตรียมรับค่าครองชีพเพิ่มขึ้น 1.6% หรือราว 340 บาทต่อเดือน

ราคาน้ำมันดิบดูไบ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากต้นปี 2564 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปขายปลีกปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนของธุรกิจ และค่าใช้จ่ายของประชาชนอย่างมาก

บทวิเคราะห์ทิศทางและผลกระทบการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics มีประเด็นที่น่าสนใจหลักๆ ได้เเก่

  • แนวโน้มราคาน้ำมันดิบโลกและราคาน้ำมันสำเร็จรูปขายปลีกในประเทศ
  • การประเมินผลกระทบต่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน

โดยในปี 2564-2565 คาดราคาน้ำมันดิบโลก (ราคาน้ำมันดิบดูไบ อ้างอิงตลาดสิงคโปร์) เฉลี่ยอยู่ที่ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 65% จากปี 2563 ซึ่งจะส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศเฉลี่ยสูงขึ้น 25%

ราคาน้ำมันดิบดูไบทยอยไต่ระดับพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สิ้นปี 2563 ที่ผ่านมา และปรับขึ้นที่ระดับราคาเฉลี่ย 72.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในเดือนกันยายน 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปี 2563 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 75.8%

ทำไมราคาน้ำมัน ‘เเพงขึ้น’ 

สาเหตุสำคัญของราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น มาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นหลังการระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย ประกอบกับวิกฤตการขาดแคลนถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ทำให้โรงงานไฟฟ้าหลายแห่งปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าทดแทนจึงทำให้ราคาน้ำมันดิบโลกพุ่งสูงขึ้น

ttb analytics ประเมินว่าแม้จะมีแรงกดดันดังกล่าวอยู่บ้าง แต่การปรับขึ้นราคาอย่างรวดเร็วนี้ เกิดจากอุปทานตรึงตัว จากกำลังการผลิตที่ลดลงอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากความต้องการที่ลดลงจากผลกระทบการระบาดของโควิด-19 เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย ย่อมทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

จากนั้นกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันจะทยอยปรับเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้เกิดสมดุลกับความต้องการที่ฟื้นตัว ทำให้ระดับราคาปรับสู่ดุลยภาพ ซึ่งคาดว่าระดับราคาน้ำมันดิบดูไบในช่วงปี 2564-2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือปรับเพิ่มขึ้น 65% จากระดับราคาเฉลี่ย 42.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2563

Photo : Shutterstock
ค่าใช้จ่ายน้ำมันในไทย เพิ่มขึ้น 2 แสนล้านบาท

จากผลการศึกษาการส่งผ่านราคาน้ำมันดิบดูไบไปสู่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปขายปลีกในประเทศ ผ่านโครงสร้างปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปของประเทศไทย พบว่า “ราคาน้ำมันดิบดูไบที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 65% ในช่วงปี 2564-2565 จะส่งผ่านไปยังราคาน้ำมันสำเร็จรูปขายปลีกในประเทศเพิ่มขึ้น 25%”

ซึ่งจะทำให้ แนวโน้มราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปี 2564-2565 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 27.8 บาทต่อลิตร โดยกลุ่มน้ำมันเบนซินราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 26.7 บาทต่อลิตร หรือเพิ่มขึ้น 23.8% และกลุ่มน้ำมันดีเซลราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 28.2 บาทต่อลิตร หรือ เพิ่มขึ้น 25.0%

ด้านการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในปี 2564 คาดว่าจะหดตัว 4.2% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ความต้องการลดลง โดยกลุ่มน้ำมันเบนซินจะลดลง 5.5% จากการจำกัดการเดินทางของประชาชนตามมาตรการล็อกดาวน์ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2564 และกลุ่มน้ำมันดีเซลจะลดลง 3.2% จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลง โดยเฉพาะการขนส่งโดยสารคนที่ลดลง

ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศที่สูงขึ้นจะทำให้ค่าใช้จ่ายน้ำมันเพิ่มขึ้น 2 แสนล้านบาท โดยภาคธุรกิจจะเพิ่มถึง 1.83 แสนล้านบาท ขณะที่ภาคครัวเรือนจะเพิ่มขึ้น 1.7 หมื่นล้านบาท

กระทบภาคธุรกิจ ‘ขนส่ง-โลจิสติกส์’ อ่วมสุด 

สำหรับผลกระทบจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อภาคธุรกิจ โดยวิเคราะห์ผ่านโครงสร้างต้นทุนการใช้น้ำมันต่อต้นทุนรวม และอัตรากำไรขั้นต้นจากงบการเงินเฉลี่ยของธุรกิจ ซึ่งเจาะลึกธุรกิจที่ใช้น้ำมันมาก ได้แก่

1. ขนส่งและโลจิสติกส์ สัดส่วนต้นทุนจากการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 32%
2. ประมง สัดส่วนต้นทุนจากการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 19%
3. เหมืองแร่ สัดส่วนต้นทุนจากการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 11%
4. เคมีภัณฑ์ สัดส่วนต้นทุนจากการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 9%
5. วัสดุก่อสร้าง สัดส่วนต้นทุนจากการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 4%

พบว่า ระดับราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 25% ในปี 2564-2565

ทั้งนี้ พบว่าระดับราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 25% ในปี 2564-2565 ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบต่อมาร์จิ้นสูงสุด ได้แก่ ขนส่งและโลจิสติกส์ ประมง เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เหมืองแร่ ยานยนต์และชิ้นส่วน และวัสดุก่อสร้าง

โดยมาร์จิ้นของธุรกิจจะลดลง 10.4%, 3.6%, 3.2%, 2.6%, 2.2%, 2.0% และ 2.0% ตามลำดับ

“ธุรกิจเหล่านี้พึ่งพิงน้ำมันมาก แต่ความสามารถในการปรับราคาขายตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต้องใช้เวลาส่งผ่านนานและส่วนใหญ่สินค้ามีการควบคุมราคาจากภาครัฐ ทำให้เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ออัตรากำไรของธุรกิจจะลดลง” 

ครัวเรือนไทย แบกค่าครองชีพเพิ่ม 340 บาท/เดือน

ผลการศึกษาค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันสำเร็จรูปของภาครัวเรือนไทย จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2563 พบว่าภาคครัวเรือนไทยมีค่าใช้จ่ายน้ำมันสำเร็จรูปเฉลี่ย 1,361 บาทต่อเดือน คิดเป็นสัดส่วนการใช้น้ำมัน 6.4% ของค่าใช้จ่ายรวม

โดยระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น 25% จะส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 340 บาทต่อเดือน คิดเป็นค่าใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นหรือค่าครองชีพเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.6%

และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายภาคจะพบว่า ภาคใต้และภาคกลาง เป็นภาคที่ได้รับผลกระทบมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ เนื่องจากมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายน้ำมันสูง โดยสัดส่วนของภาคใต้ และภาคกลาง คิดเป็น 7.5% และ 6.9% ของค่าใช้จ่ายรวม ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายน้ำมันส่งผลให้ค่าครองชีพภาคใต้และภาคกลางเพิ่มขึ้น 1.9% และ 1.7% ตามลำดับ

เเนะรัฐตรึงราคาขายปลีกในประเทศ

การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบโลกในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ปริมาณการใช้ปกติของโลก หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง จะส่งผลทำให้เกิดความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นเกินกว่าการคาดการณ์ราคาเฉลี่ยทั้งปี โดยเฉพาะไตรมาส 4 ของปีนี้ที่น้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยมีโอกาสขยับขึ้นแตะ 85 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลได้ ซึ่งจะส่งผ่านให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าราคาเฉลี่ยทั้งปีได้

“ในยามที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นจากความไม่สมดุลนี้ ภาครัฐควรพิจารณาตรึงราคาขายปลีกในประเทศ โดยใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาชดเชยราคาให้ลดลง และหากมีความจำเป็นในกรณีราคาพุ่งสูงขึ้นมากอาจพิจารณาลดภาษีน้ำมันลง เพื่อช่วยบรรเทาภาระต้นทุนของภาคธุรกิจและค่าครองชีพประชาชนลงจนกว่าราคาน้ำมันจะปรับเข้าสู่ระดับราคาสมดุลใหม่อีกครั้ง”
]]>
1359177