ธุรกิจบัตรเครดิต – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 31 Jan 2023 11:19:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แทงสวน! American Express ‘ไม่เห็น’ สัญญาณ ‘ภาวะเศรษฐกิจถดถอย’ ในสหรัฐฯ ปีนี้ https://positioningmag.com/1417328 Tue, 31 Jan 2023 11:06:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1417328 ทั่วโลกต่างกังวลว่าปีนี้ “สหรัฐฯ” อาจจะเกิด “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” แต่ไม่ใช่ที่ American Express บริษัทบัตรเครดิตที่มีฐานลูกค้าระดับพรีเมียม คาดรายได้ปี 2023 จะเติบโต 15% หลังลูกค้ากลับมาใช้จ่ายหนัก โดยเฉพาะหมวดท่องเที่ยวที่โตยิ่งกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19

Stephen Squeri ซีอีโอบริษัท American Express บริษัทบัตรเครดิตที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของสหรัฐฯ กล่าวกับสำนักข่าว Yahoo Finance ในการประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 4/2022 ว่า “เรายังไม่เห็นสัญญาณภาวะเศรษฐกิจถดถอยใดๆ” ซึ่งเป็นมุมมองตรงกันข้ามกับนักเศรษฐศาสตร์ที่เฝ้าจับตาดูเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงนี้

ที่ Squeri มองเช่นนั้นอาจเป็นเพราะผลดำเนินงานของบริษัทที่พุ่งสวนกระแส รายได้ American Express ในไตรมาส 4 ที่ผ่านมานั้นเติบโต 17% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และถ้ารวมรายได้ทั้งปี 2022 บริษัทเติบโตขึ้นมาถึง 25%

บริษัทยังมองว่ารายได้ปี 2023 จะเติบโตต่อเนื่อง 15-17% อีกด้วย

รายได้ที่โตสวนกระแสของบริษัทเกิดจากฐานลูกค้าที่แตกต่างจากตลาด American Express มีลูกค้าหลักเป็นลูกค้าระดับพรีเมียม ซึ่งกลุ่มนี้จะมีความยืดหยุ่นมากกว่ายามเมื่อเผชิญเศรษฐกิจถดถอย การจัดการความเสี่ยงของบริษัทก็จะทำได้ดีกว่า

ในปี 2022 บริษัทยังคงหาลูกค้าใหม่ได้เพิ่มขึ้น โดยมีลูกค้าสมาชิกบัตรใหม่ 12.5 ล้านราย บัตรนี้ยังสามารถดึงการใช้จ่ายจากสมาชิกได้สูง และดึงให้ลูกค้าเกิดการใช้งานได้ต่อเนื่อง

Squeri ยังบอกด้วยว่า การใช้จ่ายของลูกค้าในช่วงไตรมาส 4 ปีก่อนนั้นสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะหมวดท่องเที่ยวที่มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึง 50% เทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19

หากจะมีกลุ่มไหนที่ใช้จ่ายน้อยลงบ้าง เขาระบุถึงกลุ่มกิจการขนาดเล็กที่บางส่วนใช้จ่ายน้อยลงหรือเติบโตไม่มากเท่ากลุ่มอื่น กลุ่มนี้ปกติจะใช้จ่ายไปกับการโฆษณาดิจิทัลสูง แต่ที่ชะลอตัวลงนั้นยังไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะกิจการขนาดเล็กกังวลกับเศรษฐกิจ หรือเป็นช่วงที่สับสนว่าจะลงโฆษณาที่ไหนให้ได้ผลดีในช่วงที่โลกเทคโนโลยีมีตัวเลือกมากแบบนี้

การมีลูกค้าระดับพรีเมียมเป็นหลักนั้นทำให้บริษัทมีความเสี่ยงน้อยกว่าในภาวะเงินเฟ้อ เพราะปกติแล้วเงินเฟ้อจะส่งผลลบต่อผู้บริโภคระดับล่างได้มากกว่า เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มกลางล่างจะ “อ่อนไหวต่อราคา” และยังมีเงินออมน้อย เงินเฟ้อที่ดีดราคาสินค้าขึ้นจึงส่งผลให้กลุ่มนี้ไม่กล้าใช้จ่าย แต่กลุ่มตลาดพรีเมียมนั้นตรงกันข้าม พฤติกรรมการใช้จ่ายท่ามกลางเศรษฐกิจฝืดนั้นก็ยังเหมือนเดิม ไม่มีผลกระทบมากนัก

ที่มา: Yahoo Finance, Nasdaq

]]>
1417328
โฉมใหม่ “บัตรเครดิต Central The 1 REDZ” สไตล์ ‘มินิมอล’ รีเฟรชภาพลักษณ์ดึงลูกค้า Gen Y https://positioningmag.com/1403056 Tue, 04 Oct 2022 09:18:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1403056 บัตรเครดิต Central The 1 (เซ็นทรัล เดอะวัน) อยู่ในตลาดมานาน 24 ปี ที่ผ่านมาพอร์ตลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม Gen X ทำให้บริษัทต้องเริ่มปรับกลยุทธ์เพื่อมาดึงลูกค้า Gen Y จนถึง Gen Z ให้มากขึ้น ผ่านการปรับโฉมบัตรกลุ่ม “REDZ” (เรดซ์) Limited ให้โดนใจวัยรุ่นด้วยสไตล์ ‘มินิมอล’ พร้อมดึง “เก้า-สุภัสสรา” เป็นแบรนด์ แอมบาสเดอร์คนแรกนับตั้งแต่เปิดบริษัท

“อธิศ รุจิรวัฒน์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด (GCS) ผู้ให้บริการ บัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน และประธานชมรมธุรกิจบัตรเครดิต-สมาคมธนาคารไทย เปิดเผยถึงที่มาการปรับโฉมในครั้งนี้ เพราะบริษัทเล็งเห็นว่า พอร์ตผู้ใช้บริการบัตรเครดิต Central The 1 ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม Gen X โดยอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 46-47 ปี ซึ่งถึงแม้ว่ากลุ่มนี้จะเป็นผู้มีกำลังซื้อ แต่บริษัทก็ต้องเริ่มมองถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ คนรุ่นใหม่ที่จะมาเติมพอร์ตให้ต่อเนื่องด้วย

“อธิศ รุจิรวัฒน์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด (GCS) และประธานชมรมธุรกิจบัตรเครดิต-สมาคมธนาคารไทย

บัตรเครดิต Central The 1 นั้นแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ REDZ, LUXE, BLACK และ THE BLACK โดยกลุ่ม REDZ นั้นถือเป็นบัตรระดับ ‘แมส’ เพราะกำหนดรายได้ผู้สมัครขั้นต่ำเพียง 15,000 บาทต่อเดือน (บัตรตั้งแต่ระดับ LUXE จะกำหนดรายได้ขั้นต่ำ 100,000 บาทต่อเดือน) ทำให้จะใช้บัตรนี้เป็นหัวหอกในการดึงลูกค้ากลุ่มใหม่

ลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ดังกล่าวคือคน Gen Y จนถึง Gen Z อายุประมาณ 25-35 ปี ซึ่งจากข้อมูลผู้ที่ถือบัตร REDZ ขณะนี้จะใช้จ่ายผ่านบัตรเฉลี่ย 7,000-8,000 บาทต่อเดือน ถือว่ามีกำลังซื้อและมีการใช้จ่ายผ่านบัตรพอสมควร

 

เปลี่ยนหน้าบัตรให้ทันสมัย-ตั้งแบรนด์ แอมบาสเดอร์

กลยุทธ์ที่จะดึงลูกค้าให้สนใจ อธิศมองว่าจุดขายหลักที่มีอยู่แล้วคือการเป็น “บัตร co-branding กับเครือเซ็นทรัล” แต่ด้วยรูปลักษณ์และการโปรโมตที่เน้นไปที่ฐานลูกค้าหลักเดิม ทำให้คนรุ่นใหม่อาจมองว่าบัตรดู ‘แก่’

ดังนั้น บัตรเครดิต Central The 1 REDZ (Limited) โฉมใหม่จึงปรับหน้าบัตรให้ทันสมัย ออกแบบสไตล์ ‘มินิมอล’ ที่โดนใจคนรุ่นใหม่มากขึ้น ด้วยสไตล์บัตรสีขาว ตัดขอบสีแดง แทนบัตรเดิมที่เป็นสีแดงล้วน

บัตรเครดิต Central The 1 REDZ (Limited)
บัตรเครดิต Central The 1 REDZ (Limited)

รวมถึงบริษัทยังตั้ง “แบรนด์ แอมบาสเดอร์” คนแรกนับตั้งแต่ก่อตั้ง GCS คือ “เก้า-สุภัสสรา ธนชาต” เพื่อให้การสื่อสารเข้าถึงคน Gen Y ที่เป็นเป้าหมายหลัก

นอกจากนี้ บัตรยังอัปเกรดขึ้นด้วย จากเดิมผู้ถือบัตร REDZ จะได้สิทธิกับ เซ็นทรัลรีเทล (CRC) และ เซ็นทรัล เรสเตอรองส์ กรุ๊ป (CRG) อยู่แล้ว การปรับโฉมครั้งนี้ยังเพิ่มสิทธิประโยชน์กับ เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ด้วย เมื่อช้อปผ่านบัตรที่ร้านค้าในศูนย์การค้าของเซ็นทรัลพัฒนาที่ร่วมรายการ จะได้รับเครดิตเงินคืน 5% และคะแนน The 1 สูงสุด 2 เท่า มีร้านค้าที่ร่วมรายการแล้ว เช่น MLB, Pomelo, H&M, NIKE, ADIDAS ฯลฯ

รวมถึงมีสิทธิพิเศษเพิ่มจากการ “ชมภาพยนตร์” ซึ่งทำให้บัตรตรงกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ผู้ถือบัตรรับส่วนลด 50% เมื่อซื้อตั๋วหนังในเครือ Major Cineplex และ SF (จำกัด 1 ที่นั่ง/บัตร/เดือน สิ้นสุด 31 มีนาคม 2566)

“เก้า-สุภัสสรา ธนชาต” แบรนด์ แอมบาสเดอร์

 

หวังดึง Gen Y ได้ “ครึ่งหนึ่ง” ของยอดสมัครใหม่

อธิศกล่าวต่อว่า เป้าหมายจากการปรับโฉมครั้งนี้ ตั้งเป้ามียอดสมัครบัตรใหม่สำหรับกลุ่ม Central The 1 REDZ (Limited) ตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นปี 2566 จำนวน 120,000 ใบ โดยคาดว่าจะมี Gen Y และ Gen Z เข้ามาสมัครราวครึ่งหนึ่ง ซึ่งเพิ่มสัดส่วนจากปกติจะมีคนวัยนี้สมัครบัตร REDZ ประมาณ 20% เท่านั้น

สำหรับภาพรวมของบัตรเครดิต Central The 1 ทั้งพอร์ต ปี 2565 ตั้งเป้ามียอดใช้จ่ายผ่านบัตรแตะ 95,000 ล้านบาท หรือเติบโต 25% เทียบกับปีก่อนหน้า

บัตรเครดิต Central

ส่วนภาพรวมธุรกิจตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนสิงหาคม 2565 ถือว่าบริษัททำได้ดี เนื่องจากยอดใช้จ่ายผ่านบัตรอยู่ที่ 60,000 ล้านบาท เติบโต 33% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 (ก่อนโควิด-19) และฟื้นตัวได้มากกว่าตลาดซึ่งมียอดใช้จ่ายเติบโต 3% ในช่วงเวลาเดียวกัน

บัตรเครดิต Central The 1 ยังเพิ่มมาร์เก็ตแชร์มาแตะ 4.6% ของตลาดรวมได้สำเร็จ เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากช่วงปี 2562 (ก่อนโควิด-19) ที่มีมาร์เก็ตแชร์อยู่ 2.4%

บัตรเครดิต Central

ด้านความกังวลของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่องหนี้ครัวเรือน จนมีการออกหนังสือขอความร่วมมือสถาบันการเงินและกลุ่มนอนแบงก์ ไม่ให้ออกแคมเปญจูงใจประชาชนก่อหนี้เพิ่ม

ส่วนนี้อธิศให้ความเห็นว่า ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีนโยบายเป็น ‘responsible lender’ ผู้ให้กู้ที่มีความรับผิดชอบอยู่แล้ว และในกรณีของบัตรเครดิตจะเลือกทำมาร์เก็ตติ้งกับการใช้จ่ายที่ลูกค้าใช้ในชีวิตประจำวันเป็นหลัก เช่น ร้านอาหาร, เติมน้ำมันรถยนต์ ขณะที่สินค้ากลุ่มลักชัวรีแบรนด์จะเลือกจัดแคมเปญกับลูกค้าที่เป็นกลุ่มพรีเมียม ซึ่งโอกาสก่อหนี้เสียจะน้อย

ขณะที่ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตจะมีการหารือกันภายในอีกครั้งหนึ่ง เพราะทางชมรมฯ เพิ่งทราบเรื่องผ่านทางสื่อมวลชนเช่นกัน

]]>
1403056
“ณญาณี เผือกขำ” แม่ทัพผู้ทรานส์ฟอร์ม “กรุงศรี คอนซูมเมอร์” สู่โลกการเงินยุคใหม่ https://positioningmag.com/1390448 Thu, 30 Jun 2022 11:00:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1390448

ปัจจุบันทุกอุตสาหกรรมต่างต้องเจอความท้าทายรอบด้าน ทั้งภาวะเศรษฐกิจโลก สิ่งแวดล้อม โรคระบาด “โลกดิจิทัล” ที่หมุนอย่างรวดเร็ว เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ชั่วข้ามคืน อุตสาหกรรมการเงินเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่หลายคนมองว่าถูก Disrupt อย่างหนัก แต่จริง ๆ แล้วดิจิทัลและนวัตกรรมกลับเข้ามาช่วยเปิดประตูสู่ยุคการเงินแห่งอนาคตมากกว่า

“กรุงศรี คอนซูมเมอร์” เป็นอีกหนึ่งผู้เล่นยักษ์ใหญ่ในธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ปัจจุบันทำตลาดแบรนด์บัตรเครดิตกรุงศรี, บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์, บัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน, และบัตรเครดิตโลตัส

เมื่อปี 2563 กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ได้จัดทัพองค์กรครั้งใหญ่ แต่งตั้ง ‘ณญาณี เผือกขำ’ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสายงานการเงินมากว่า 20 ปี และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ณญาณีช่วยนำธุรกิจของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ให้เติบโตอย่างมั่นคงและแข็งแกร่งในฐานะผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลชั้นนำของไทย

แน่นอนว่ามิชชั่นสำคัญของณญาณีคือการทรานส์ฟอร์มกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ให้ก้าวสู่โลกการเงินยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พร้อมสร้างความเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนในภาวะที่ต้องเจอกับความท้าทายรอบตัว


ก้าวทันโลกการเงินยุคใหม่

หลายคนอาจนิยมคำว่า “โลกการเงินยุคใหม่” แตกต่างกันไป อาจรวมไปถึงโลกของบิทคอยน์ หรือสกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ แต่ในมุมมองของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ โลกการเงินยุคใหม่ ก็เหมือนกับโลกใบใหม่ของลูกค้า โลกในการใช้จ่ายเงินที่มีประสบการณ์ใหม่ ๆ ตามไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของลูกค้า

สถานการณ์การระบาดของCOVID-19 ทำให้โลกการเงินเปลี่ยนแปลงเร็วยิ่งขึ้น เป็นตัวเร่งปฎิกิริยาการใช้จ่ายเงินเข้าสู่สังคมไร้เงินสดไปโดยปริยาย ณญาณีมองว่าโลกการเงินเปลี่ยนไปในเชิงที่ว่าลูกค้าไม่ได้เข้ามาใช้บริการตามจุดบริการเหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป รวมถึงพฤติกรรมการใช้ “บัตรพลาสติก”ก็เปลี่ยนไป หันมาทำธุรกรรมผ่านโลกออนไลน์มากขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อคนรุ่นใหม่เปิดรับเทคโนโลยีมากขึ้น “ข้อมูล” ก็มีบทบาทสำคัญขึ้นในการประกอบธุรกิจ ทั้งในแง่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์และเข้าใจความต้องการของลูกค้า เพื่อที่จะได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจ รวมถึงการใช้ข้อมูลมาประกอบการพิจารณาสินเชื่อ และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป

“โลกการเงินยุคใหม่การใช้จ่ายไม่ได้หมายถึงการเดินไปช้อปปิ้งที่ห้างหรือหน้าร้านเพียงอย่างเดียว แต่ลูกค้านิยมสั่งของทางช่องทางออนไลน์มากขึ้น ยอดใช้จ่ายออนไลน์เติบโตสูงมาก ปัจจุบันภาพรวมของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเติบโต 13% ซึ่งถือว่ากลับมาค่อนข้างดีขึ้น ยอดการใช้จ่ายในต่างประเทศก็เริ่มเติบโต เชื่อว่าโอกาสที่คนไทยได้เดินทางจะทำให้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ เทรนด์การใช้จ่ายในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อาจมีช่วงที่ดรอปไปบ้างจากมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐ บวกกับกำลังซื้อของผู้บริโภคที่น้อยลง แต่ภาพรวมของการช้อปปิ้งออนไลน์ช่วงต้นปีนี้เติบโตสูงถึง 19% เทียบกับปีที่แล้ว อีกกลุ่มหนึ่งที่เติบโตอย่างน่าสนใจไม่แพ้กันก็คือกลุ่มฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เติบโตสูงถึง 72%”

ณญาณีเริ่มฉายภาพวิธีคิดในการทำธุรกิจของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ว่าต้องปรับเปลี่ยนตามสภาวะการดำเนินธุรกิจและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป มีการเน้นระบบดิจิทัลมากขึ้น รวมทั้งนำเทคโนโลยีและการวิเคราะห์ข้อมูล เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดีไซน์ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงใจ

“การลงทุนในช่วง 3 ปีนี้จะเน้นพัฒนาระบบดิจิทัลและ Data เป็นส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมและความต้องการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น ให้บริการผ่านระบบอัตโนมัติ นำเรื่อง Data และ AI มาเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินและบริการทุกอย่างของเรา รวมถึงปรับทัศนคติของคนในองค์กรให้เข้าใจโลกอนาคตด้วย ต่อไปถึงลูกค้าจะไม่พกบัตรเครดิตที่เป็นบัตรพลาสติกก็ยังช้อปปิ้งได้ตลอดเวลา ทุกวันนี้ใช้วิถีใหม่สามารถสแกนจ่ายด้วย QR Code บัตรเครดิตได้เลย ลดการสัมผัสเพิ่มความสะดวกสบาย ไม่ต้องพกบัตรหลายใบ และก็ไม่ลืมที่จะนำเสนอโปรโมชันคุ้มค่าที่ตอบโจทย์ลูกค้าด้วยและแน่นอนว่าเมื่อลูกค้าก็หันมาใช้จ่ายผ่านทางออนไลน์มากขึ้น เทคโนโลยีการชำระเงินและบริการต่าง ๆ ของเราก็ต้องพัฒนาให้ก้าวทัน”


ปรับตัวสู่โลกดิจิทัล

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากรุงศรี คอนซูมเมอร์ ให้ความสำคัญและลงทุนที่เกี่ยวกับ Data และดิจิทัลอย่างมาก เพื่อมุ่งสู่การเป็น Data-Driven Company เช่น ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพด้านการตลาด การบริการ และการดำเนินธุรกิจ มีการจัดทำ Data Lake เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากหลากหลายแหล่งและหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น Demographic Data, Behavioral Data, Social Data เป็นต้น ซึ่งแต่ละ Data Point จะถูกนำมารวมและวิเคราะห์เพื่อจัดกลุ่มลูกค้ารวมทั้งยังมีการนำ Marketing AI มาใช้เพื่อทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคลเพื่อนำเสนอสิทธิประโยชน์ผลิตภัณฑ์ และบริการที่ตรงใจและตรงตามความต้องการลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม

ณญาณีเล่าว่า “เรามีบัตรเครดิตหลากหลาย โปรโมชันของเราก็มีมากมาย  แต่ก่อน ถ้าเราทำการตลาดโดยที่ไม่วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า โปรโมชันที่เราส่งไปอาจจะไม่ตอบโจทย์ วันนี้เราเห็น Data ว่าลูกค้าใช้อะไร ชอบอะไร เราก็สามารถนำเสนอสิ่งที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าในช่วงเวลานั้น ๆ ได้แบบ Personalized กระบวนการทำงานและการให้บริการของเราก็เช่นกัน ต้องปรับให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของลูกค้าด้วย ตอนนี้ ถ้าลูกค้าอยากได้บัตรเครดิต ถ้าไม่สะดวกเดินทางมาที่สาขา ก็สมัครทางออนไลน์ ทางแอป UCHOOSE ได้เลย  นอกจากนี้ เรายังออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อเน้นตอบโจทย์คนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ เช่น บัตร Krungsri NOW ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือน พ.ย. 2564 ก็ได้รับการตอบรับอย่างดี ปัจจุบันมียอดสมัครบัตรใหม่อยู่ที่ 25,000 ใบ ในปีนี้ตั้งเป้า 36,000 ใบ ส่วนแอปพลิเคชัน UCHOOSE มีอัตราการใช้งานของลูกค้าอยู่ที่ 80% ส่วน UCASH บริการเบิกเงินสดจากวงเงินบัตรผ่านแอปโดยโอนเข้าบัญชีธนาคารหรือพร้อมเพย์มีการปล่อยสินเชื่อแล้ว 30,000 ล้านบาท”

นอกจากนี้ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ยังเปิดช่องทางบริการใหม่เช่น Krungsri Consumer Line OA และ Facebookรวมทั้งพัฒนาบริการใหม่ เช่น บริการยืนยันตัวตนด้วยเสียง, บริการสอบถามข้อมูลบัญชีบัตรผ่านทาง FB Messenger รวมถึง AI MANOW สำหรับให้ข้อมูลแก่ลูกค้าผ่านคอลเซ็นเตอร์ เพิ่มความสะดวกสบายแก่ลูกค้า ให้สามารถตรวจสอบข้อมูลและทำรายการเกี่ยวกับบัญชีบัตรได้ง่าย ๆ ด้วยตนเองในหลากหลายช่องทาง

ในปีนี้กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ยังเตรียมขยายแพลตฟอร์ม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัลให้มากขึ้น โดยหนึ่งไฮไลท์สำคัญในปีนี้ก็คือ การทำ Digital Lending หรือการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลที่ให้ลูกค้าสามารถขอสินเชื่อผ่านออนไลน์ได้เลย เพียงแค่สแกนเอกสารประกอบการสมัครเข้าไปในระบบผ่านแอปจากนั้นก็จะทราบผลการอนุมัติภายในเวลาไม่นาน

“สำหรับ Digital Lending เรามีแผนจะร่วมมือกับ Partner ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล ครึ่งปีหลังคาดว่าจะมีราวสองสามรายที่ทำงานร่วมกัน การทำธุรกิจยุคใหม่จะเป็นลักษณะของความร่วมมือ เชื่อมต่อ สร้าง Digital Ecosystem พันธมิตรของเรามีลูกค้าจำนวนมาก ส่วนเรามีความเชี่ยวชาญในการปล่อยสินเชื่อและการทำธุรกิจบัตรเครดิต มีระบบและเทคโนโลยีต่าง ๆ พร้อมให้บริการ เรามีแผนจะร่วมมือกันออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ซึ่งคาดว่า ยอดสินเชื่อ Digital Lending น่าจะเติบโตไปเรื่อย ๆ คาดว่าใน3 ปี จะเติบโตคิดเป็น 50%ของยอดสินเชื่อรวม”

นอกจากนี้ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ยังมีแผนในการสร้างแหล่งรายได้ใหม่ เช่น บริการ Collection as a Service  ซึ่งน่าจะเริ่มให้บริการให้กับพันธมิตรที่สนใจได้ในช่วงปลายปีนี้


ทำงานแบบ Flexi Workplace

นอกจากการลงทุนด้านดิจิทัลแล้ว การลงทุนด้านบุคลากรก็ไม่แพ้กัน ณญาณีบอกว่า ต้องเปลี่ยนการทำงานจาก ‘Manual’ เป็น ‘Digital’ ต้องพัฒนาศักยภาพของบุคลากรมารองรับการทำงานในโลกอนาคต

ด้วย COVID-19 ทำให้วิถีการทำงานเปลี่ยนไป หลายองค์กรอาจจะเรียกการทำงานรูปแบบใหม่ว่า Work from Anywhere บ้าง หรือการทำงานแบบ Hybrid บ้าง แต่กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ได้ปรับวิถีการทำงานรูปแบบใหม่ภายใต้แนวคิด  “Flexi Workplace, Flexi Work-Life”โดยพนักงานที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดและมีลักษณะงานที่เหมาะสม จะได้รับสิทธิ์ให้ทำงานแบบ Hybrid ได้

“ที่กรุงศรี คอนซูมเมอร์ จะเรียกว่าการทำงานแบบ Flexi Workplaceสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ เราซัพพอร์ตเขา มีการทำประเมินว่าพนักงานอยากเข้าทำงานที่ออฟฟิศกี่เปอร์เซ็นต์ ผลออกมาว่าไม่มีใครอยากเข้ามาออฟฟิศ 100% เลยต้องปรับการทำงานให้ตรงใจ จะทำงานที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ แต่อาจจะต้องมีเข้าออฟฟิศมาเจอกันบ้าง เพื่อความสัมพันธ์ในทีม นอกจากนี้เรายังเตรียมดีไซน์ออฟฟิศใหม่ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์การทำงานแบบใหม่ด้วย เรื่องการสื่อสารภายในองค์กรและความสัมพันธ์ในทีมเราก็ให้ความสำคัญ เรามี แอป WE Connectเป็นช่องทางสื่อสารหลักของคนในองค์กร เป็นแหล่งรวมข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งเป็นช่องทางในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้าน HR เช่น แจ้งลาป่วย-ลากิจ-ลาพักร้อน เป็นต้น เรียกว่าถ้าต้องการติดต่องานด้านบุคคล สามารถใช้งานผ่านเครื่องมือนี้ได้เลย รวมทั้งยังมี AI CHATBOT ชื่อ สายฟ้าคอยให้บริการตอบคำถามพนักงานที่เกี่ยวกับเรื่อง HR ได้ทุกวัน ตลอด 24 ชม. อีกด้วย”

นอกจากการดีไซน์การทำงานให้ตอบโจทย์คนทำงานแล้ว ยังต้องมีการเพิ่มทักษะ Upskill และ Reskill อย่างต่อเนื่อง กรุงศรี คอนซูมเมอร์ จึงมีคอร์สฝึกอบรมต่าง ๆ ผ่านแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ชื่อ ‘UpVel by Krungsri Consumer’ ทำให้พนักงาน ได้ปรับสู่การเรียนผ่านดิจิทัลมากขึ้น ลดข้อจำกัดต่าง ๆ ไปได้

“อย่างแต่ก่อนจัดฝึกอบรมแต่ละครั้งสามารถเรียนได้ครั้งละ 40 คน ทำให้พนักงานไม่สามารถเรียนได้ครบถ้วน ปัจจุบันปรับมาเป็นเรียนทางออนไลน์ รองรับได้ 5,000-6,000 คน ได้อย่างสบาย ๆ ยืดหยุ่นมากขึ้นทำให้เราสามารถพัฒนาทักษะใหม่ ๆ เพิ่มศักยภาพให้พนักงานของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ” 


ผนึกกำลังสร้างระบบนิเวศดิจิทัล เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและเข้าใจลูกค้า

เนื่องจากข้อมูลและความสามารถในการเข้าถึงลูกค้านับเป็นสิ่งสำคัญ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ จึงมุ่งสร้างความเติบโต โดยมุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศดิจิทัล (Digital Ecosystem) ผ่านการร่วมมือกับพันธมิตร สร้างแพลตฟอร์มทางการเงินเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและเข้าใจความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น พร้อมเพิ่มโอกาสทางการตลาดและสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน

โดยความร่วมมือดังกล่าว เป็นความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำในธุรกิจต่าง ๆ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์-บริการ-และโปรโมชันที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า รวมไปถึงความร่วมมือกับบริษัทในเครือกรุงศรี ภายใต้กลยุทธ์ ‘Krungsri One Retail’ ที่มุ่งเน้นผสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในเครือกรุงศรี โดยมุ่งเน้นความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ข้อมูล ผลิตภัณฑ์ และช่องทางการขาย โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น

ณญาณีเล่าถึงยุทธศาสตร์ยิ่งใหญ่ Krungsri One Retail ว่า “กรุงศรีมีธุรกิจในเครือมากมาย ทั้งส่วนของธนาคาร, เงินฝาก, สินเชื่อบ้าน, สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต, สินเชื่อยานยนต์, ผลิตภัณฑ์ประกันภัย รวมถึงผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ วันนี้ เรามีการคุยกันเป็นทิศทางของกรุ๊ป ทำให้ต่อจากนี้เราจะทำงานแบบยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ลูกค้ารายย่อยทั้งหมดในเครือราว 12 ล้านราย ทุกหน่วยธุรกิจภายใต้กลุ่มธุรกิจลูกค้ารายย่อยและลูกค้าบุคคล ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร, กรุงศรี คอนซูมเมอร์, กรุงศรี ออโต้, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี, บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด จะร่วมมือกัน พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อยกระดับประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าแบบไร้รอยต่อ”

“สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมดีต่อวงการการเงิน รวมถึงดีต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน เพราะมีการให้บริการอย่างเหมาะสม มีบริการที่ตรงใจ ลูกค้าเองก็จะได้รับโปรโมชันดี ๆ จากการวิเคราะห์ว่าลูกค้าต้องการอะไร ต้องเสริมผลิตภัณฑ์อะไร ร่วมมือทำงานเป็น ‘One Team’ ที่มอบบริการและผลิตภัณฑ์ที่ดี ถูกที่ ถูกเวลา ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง ทำให้เราตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์ทางการเงินของลูกค้าได้ทุกมิติ”

นอกจากนี้ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ยังเดินหน้าผสานความร่วมมือกับบริษัทในเครือกรุงศรีในภูมิภาค เพื่อขยายธุรกิจสินเชื่อเพื่อรายย่อยสู่ภูมิภาคอาเซียน เช่น ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เพื่อก้าวสู่การเป็นสถาบันการเงินหลักสำหรับลูกค้าบุคคลอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าภายใต้สภาวะการดำเนินธุรกิจ และความท้าทายรอบด้าน รวมไปถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป แต่กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ในฐานะผู้นำในธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนาและยังปรับตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวให้ทันโลกการเงินยุคใหม่อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถรังสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง

]]>
1390448
กลยุทธ์ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ ทุ่มสร้างระบบนิเวศดิจิทัล ดันปล่อยกู้ออนไลน์ทะลุ ‘หมื่นล้าน’ ปีนี้ https://positioningmag.com/1340688 Mon, 05 Jul 2021 11:12:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340688 พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนเร็วหลังวิกฤตโรคระบาดกรุงศรี คอนซูมเมอร์รุกสร้างระบบนิเวศดิจิทัลทุ่มงบ 500 ล้าน ขยายเเพลตฟอร์ม ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ จับการตลาดเเบบเฉพาะบุคคลร่วมมือกับพันธมิตรที่หลากหลาย ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ปล่อยสินเชื่อผ่านออนไลน์กว่าหมื่นล้านมองการเเข่งขันดุเดือด ช่วงไตรมาส 3-4

อธิป ศิลป์พจีการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารธุรกิจกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด เล่าว่า ในช่วงการเเพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้บริโภคใช้โซเชียลมีเดีย จ่ายเเบบไร้เงินสดและบริการทางออนไลน์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบริการช่องทางดิจิทัลในเครือกรุงศรี คอนซูมเมอร์ มีสูงกว่า 250 ล้านรายการ

จากข้อมูลของ We Are Social ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ระบุว่า คนไทยเกือบ 70 ล้านคน ในช่วงอายุ 16-64 ปี ใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ต (All Devices) กว่า 8 ชั่วโมง 44 นาที ส่วนใหญ่ดูทีวีสตรีมมิ่ง เล่นโซเชียลมีเดีย เเละเสพข่าวสารออนไลน์ ในจำนวนนี้ ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนถึง 98.9% คอมพิวเตอร์เเละโน้ตบุ๊ก 48.5% เเละผ่านเเท็บเล็ต 34.7%

จากกระเเสเทรนด์นี้ ทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวให้ก้าวทันลูกค้าที่ใช้บริการออนไลน์ เพื่อขยายช่องทางการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างครบวงจร รวดเร็ว และหลากหลาย พร้อมเร่งทำการตลาดโดยใช้ข้อมูล (Data-Driven Marketing)

บริษัทเตรียมขยายธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อสร้างระบบนิเวศดิจิทัล (Digital Ecosystem) ด้วยงบลงทุน 500 ล้านบาท ในช่วงปีนี้เเละปีหน้า โดยในไตรมาส 3 จะเริ่มทยอยขยายเเพลตฟอร์ม บริการเเละผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อผ่อนชำระและประกัน ออกมาทำตลาด

คนไทยแห่ใช้ QR Code 

ปัจจุบันกรุงศรี คอนซูมเมอร์มีฐานลูกค้าทั้งหมด 9 ล้านราย มียอดทำรายการผ่านบัตรในเครือสูงถึง 151 ล้านรายการ เฉลี่ยทำรายการอยู่ที่ 4 แสนรายการต่อวัน

ขณะเดียวกัน มีลูกค้าหันมาใช้บริการเเอปพลิเคชัน ‘UChoose’ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเดือนธันวาคม ปี 2563 ที่ 5.8 ล้านราย คาดว่าปีนี้เพิ่มเเตะ 6.5 ล้านราย เติบโต 12% หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 70% ของฐานลูกค้าทั้งหมด

ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มียอดธุรกรรมผ่าน UChoose แล้วไปกว่า 2.2 ล้านรายการ เเละคาดว่าสิ้นปีนี้จะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวเป็น 6.2 ล้านรายการ

สิ่งที่น่าสนใจคือ ในช่วงการเเพร่ระบาดของโควิด-19 คนไทยจำนวนมากเลือกชำระเงินผ่าน ‘QR Code’ จากเเรงสนับสนุนของมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ของรัฐบาลรวมถึงการหลีกเลี่ยงสัมผัสเงินสด

จากในปี 2563 ที่มีธุรกรรมผ่าน QR Code ราว 8.7 หมื่นรายการ ขยับมาเป็น 1.01 แสนรายการ เพียงในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ โดยประเมินว่า ภายในสิ้นปีจะเพิ่มเป็น 3 แสนรายการ หรือเติบโต 3.4% สอดคล้องกับพฤติกรรมลูกค้าที่หันไปทำธุรกรรมบน ‘โมบายแอปพลิเคชัน’ มากขึ้น เห็นได้จากช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 30 ล้านครั้งเเล้ว จากปี 2563 อยู่ที่ 65 ล้านครั้ง เเละคาดว่าภายในสิ้นปีจะเพิ่มเป็น 80 ล้านครั้ง หรือเติบโตถึง 23%

3 กลยุทธ์ปั้นโมเดลธุรกิจ รับโลกออนไลน์ 

สำหรับเเนวทางการสร้างระบบนิเวศดิจิทัลของกรุงศรี คอนซูมเมอร์เเบ่งเป็น 3 ด้านหลักๆ ได้เเก่

Platform : ขยายแพลตฟอร์มข้อมูล ผลิตภัณฑ์ บริการผ่านดิจิทัล-โซเชียลมีเดีย

ที่ผ่านมา กรุงศรี คอนซูมเมอร์ นำเทคโนโลยีมาให้บริการลูกค้า เช่น บริการยืนยันตัวตนด้วยเสียง ที่ใช้เสียงพูดเพื่อยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับบัญชีบัตรเครดิต ผ่านศูนย์บริการข้อมูลทางโทรศัพท์ บริการตรวจสอบข้อมูลบัญชีบัตรเครดิตด้วยตนเอง ผ่านระบบแชทบอทบน Facebook Messenger

โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เป็นต้นไป บริษัทมีแผนเพิ่มช่องทางการสื่อสารทางดิจิทัลใหม่ๆ อย่าง กรุงศรี คอนซูมเมอร์ Line OA, Website, Facebook, Youtube เพื่อขยายขีดความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้อย่างครอบคลุม เเละบริการ U Card สมัครบัตรใหม่ผ่านแอปฯ UChoose พร้อมขยายจุดรับบริการยืนยันตัวตนอิเล็กทรอนิกส์ (E-KYC) ผ่านจุดยืนยันตัวตนกว่า 14,000 แห่งทั่วประเทศในช่วงไตรมาสที่ 4

Partnership : สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ร่วมอัดโปรโมชัน

สานต่อการจับมือกับพันธมิตรในหลากหลายแบรนด์และประเภทกลุ่มธุรกิจ เช่น อโกด้า, แอร์เอเชีย, แกร็บ, โฮมโปร, ช้อปปี้, เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์, ยูนิโคล่, โลตัสออนไลน์ ฯลฯ เพื่อจะตอบสนองความต้องการเเละไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของลูกค้า ผ่านการทำ ‘โปรโมชันและดีลพิเศษ’ อย่างการให้ส่วนลดซื้อสินค้า ใช้คะแนนแลกเครดิตเงินคืน หรือรับ E-Coupon สิทธิประโยชน์ต่างๆ ทั้งในผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตและบัตรสินเชื่อส่วนบุคคล

Personalization – การสื่อสารและทำการตลาดเฉพาะบุคคล

หนึ่งในกลยุทธ์เสริมศักยภาพในระบบนิเวศดิจิทัลของ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ ที่สำคัญ คือ การนำฐานข้อมูล พฤติกรรมการใช้จ่ายต่างๆ ของลูกค้าที่มีอยู่มหาศาล มาสกัดการทำการตลาดเเบบเฉพาะบุคคล หรือที่เรียกว่า Personalized Marketing เพื่อให้บริการ นำเสนอผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม และตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มมากขึ้น ให้ ‘ทันที ถูกที่ ถูกเวลา’ 

“ในอนาคต บริษัทยังเตรียมสร้าง Krungsri Consumer Data Platform ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มเชื่อมต่อและระบุตัวตนของลูกค้าจากข้อมูลทั้งออนไลน์และออฟไลน์จากทุก Touch Point ของลูกค้า รวมไปถึง Customer Journey เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านี้”

ขอสินเชื่อผ่านออนไลน์ มาเเรง 

ด้านความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของเเวดวงสินเชื่อ ในช่วง ‘ครึ่งปีหลัง’ ของปีนี้ ผู้บริหารกรุงศรีฯ ประเมินว่า ตลาดจะกลับมาแข่งขันดุเดือดมากขึ้น ช่วงปลายไตรมาส 3 หรือต้นไตรมาส 4 ในกรณีที่การกระจายวัคซีนได้ผลดีเเละมาตรการควบคุมการระบาดของรัฐไม่ยืดเยื้อเกินไป ซึ่งตลาดตลาดสินเชื่อบุคคลช่วงปลายปี น่าจะกลับมาเติบโตได้ดีกว่าช่วงต้นปี ที่หดตัวลงราว 5%

โดยช่วงนี้บริษัทได้ส่งบริการ ‘ขอสินเชื่อผ่านออนไลน์’ ออกมาเจาะตลาด นั่นก็คือ  ‘ยูแคช’ (U Cash) บริการโอนวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้าที่มีอยู่ เข้าบัญชีธนาคารเพื่อใช้เป็นเงินสด หลังเปิดบริการเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2564 เป็นต้นมา พบว่า ‘กระแสตอบรับดีเกินคาด’

ข้อมูล ณ วันที่ 23 มิ.ย. มียอดปล่อยสินเชื่อไปแล้วกว่า 1,240 ล้านบาท มีการทำธุรกรรมจำนวน 1.35 แสนรายการ เฉลี่ยวงเงิน 1.6 หมื่นบาทต่อราย คาดว่าภายในสิ้นปีจะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ 1 หมื่นล้านบาท

โดยได้รับความสนใจอย่างมากจากกลุ่มลูกค้าเดิม ที่มีวงเงินสินเชื่อในบัตรเครดิต ช่วงอายุ 30-40 ปี ซึ่งมีความคุ้นเคยกับระบบดิจิทัล ได้เปลี่ยนพฤติกรรมมาขอสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด เนื่องจากเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องเดินทางไปกดเงินสดเองที่ตู้เอทีเอ็ม

เมื่อถามว่า ท่ามกลางการเติบโตของเทรนด์ผู้ใช้เเพลตฟอร์มออนไลน์ที่มากขึ้นเรื่อยๆ อีกมุมหนึ่งอะไรเป็นความท้าทายของการสร้าง ‘ระบบนิเวศดิจิทัล’ ในไทย นั้น อธิปตอบว่า คือการพัฒนาระบบให้ผู้บริโภคทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายที่สุด ความพร้อมของอีโคซิสเต็ม การได้รับสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ รวมไปถึงการสร้างความรับรู้ การเปลี่ยน
เเปลงของรูปแบบการใช้จ่ายในสังคม เพื่อขยายฐานผู้ใช้งาน

โดยการที่กรุงศรี คอนซูมเมอร์ มีฐานลูกค้าตอนนี้กว่า 9 ล้านราย ครอบคลุมทั้งลูกค้าระดับเเมส และกลุ่มลูกค้าระดับบน พร้อมพันธมิตรกว่า 2.5 หมื่นราย เเละมีการเสริมทีมงานพัฒนาระบบให้รองรับการใช้งานที่มากขึ้นตามไปด้วย ก็นับเป็น ‘จุดแข็ง’ ของเเบรนด์ในตลาดที่เเข่งขันสูงนี้ …

 

]]>
1340688
ตลาดบัตรเครดิต 2563 และคาดการณ์ 2564 https://positioningmag.com/1326565 Mon, 05 Apr 2021 03:24:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326565 1326565 เปิดบิ๊กดีล JMART & KB เเบงก์เกาหลี นำกลยุทธ์ “ศิลปิน KPOP” เจาะสินเชื่อเเฟนคลับไทย https://positioningmag.com/1276373 Thu, 30 Apr 2020 13:00:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276373 เเม้ในยามที่ธุรกิจกำลังสู้กับวิกฤต COVID-19 ยังมีดีลใหญ่มาสะเทือนวงการสินเชื่อไทย เมื่อ JMART เปิดทางให้ KB Kookmin Card กลุ่มธุรกิจการเงินชั้นนำของเกาหลีใต้ ลงทุนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน “JFINTECH” ได้เงินก้อนโต 3,000 ล้านต่อยอดธุรกิจ เตรียมใช้กลยุทธ์นำ “ศิลปิน KPOP” เจาะสินเชื่อเเฟนคลับเเละคนรุ่นใหม่ไทยที่กำลังเติบโตสูง

เบื้องหลังดีลใหญ่ JMART & KB

ที่มาของการร่วมทุนครั้งนี้ KB Kookmin Card  ผู้ให้บริการบัตรเครดิตการ์ด และสินเชื่อส่วนบุคคลรายใหญ่ของเกาหลีใต้ มีฐานลูกค้าจำนวน 34 ล้านราย ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ KB Financial Group ได้ขยายลงทุนมายังอาเซียน

โดยเริ่มลงทุนธุรกิจ Non-Bank เน้นสินเชื่อส่วนบุคคลใน กัมพูชา เมียนมา ลาว เวียดนามเเละอินโดนีเซียก่อน จากนั้นต้องการขยับมาไทย เพื่อตั้งให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค จึงเริ่มมองหาพันธมิตรกลุ่มธุรกิจนี้ โดยมี EY(Ernst & Young) บริษัทตรวจสอบบัญชีรายใหญ่ของโลกเป็นผู้ประสานงาน

อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากหาพาร์ตเนอร์ในไทยมาร่วม 2 ปีก็ได้ตัดสินใจเลือก JFINTECH เเละทำการศึกษาร่วมกันกว่า 1 ปีครึ่งก่อนจะสำเร็จเเละแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา

โดยจะดำเนินการผ่านการเพิ่มทุนจดทะเบียนในบริษัทย่อย ด้วยมูลค่า 650 ล้านบาท เป็นการเพิ่มทุนเป็น 1,112,851,210 บาท แบ่งเป็น ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน และโอนหุ้นเดิมให้อีก 1 หุ้น รวมจำนวนหุ้นทั้งหมด 55,631,431 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (Par) หุ้นละ 10 บาท ซึ่ง JMART และบริษัทในเครือ JMT จะสละสิทธิ์การจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน JFINTECH

ดังนั้นการร่วมทุนครั้งนี้ ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ JMART ใน JFINTECH เหลือ 44.2% จากเดิม 90.2% ขณะที่ JMT ถือครองหุ้นในสัดส่วน 4.8% จากเดิม 9.8% ส่วน KB Kookmin Card จะถือครองหุ้น 49.99%

เบื้องต้นคาดว่า KB จะได้เข้าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนแล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย.ปีนี้ เเละเดินหน้า “เเผนต่อไป” โดยการหาสินเชื่ออื่นมาทดแทนสัญญากู้ยืมเงินผู้ถือหุ้นในปัจจุบัน ซึ่งมีรายละเอียดยอดเงินกู้ ณ สิ้นปี 2562 รวม 3,012.5 ล้านบาท เป็นยอดเงินกู้ของบริษัท จำนวน 2,717.5 ล้านบาท และยอดเงินกู้ของ JMT จำนวน 295 ล้านบาท

“ดีลครั้งนี้จะทำให้กลุ่ม JMART ได้เงินคืนรวม 3,012.5 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้สถานะทางการเงินของบริษัทแข็งแกร่งมากขึ้น”


ปั้น JFINTECH เป็น Top 5 ธุรกิจสินเชื่อ-บัตรเครดิตในไทย

ผู้บริหาร JMART บอกว่า การร่วมทุนครั้งนี้ได้รับผลประโยชน์กันเเบบ Win-Win ทั้ง 2 ฝ่าย โดย JFINTECH จะได้นำเอาความรู้และเทคโนโลยีทางการเงินของ KB เข้ามาเสริมให้กับกลุ่มบริษัทในระยะยาว ขณะที่ความแข็งแกร่งในเครือข่ายของ JFINTECH ที่มีความเชี่ยวชาญในท้องถิ่น ก็จะเป็นเหมือนแพลตฟอร์มที่ทำให้ KB ขยายธุรกิจต่อไปได้หลายมิติในอาเซียน

“JFINTECH” ตั้งเป้าจะเป็น 1 ใน 5 ผู้นำธุรกิจสินเชื่อและบัตรเครดิตในประเทศไทย โดยในช่วง 1-2 ปีแรกจะเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในบริษัท พร้อมปล่อยสินเชื่อ จากนั้นช่วงปีที่ 3-4 จะเข้าไปเจาะตลาดบัตรเครดิต เเละเปิดตัวโปรดักต์ใหม่ในกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคล รุกการตลาดเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ในไทย ส่วนช่วงปีที่ 5 เป็นต้นไป จะเป็นการสร้างการเติบโตเเละทำกำไรมากขึ้น”

 

โดยกลุ่ม JMART คาดว่าหลังการร่วมทุนเเล้วเสร็จจะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ในเฟสเเรก ราว 650 ล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าผู้คนจะต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

รุกการตลาด “ศิลปิน KPOP” เจาะสินเชื่อเเฟนคลับ-คนรุ่นใหม่  

เหล่าธนาคารในเกาหลีใต้ กำลังเเข่งขันกันดุเดือด ด้วยการนำ “ศิลปิน KPOP” มาเพิ่มยอดผู้ใช้เเละออกขายผลิตภัณฑ์ดีไซน์พิเศษกันคึกคัก KB Kookmin Card ก็ขึ้นชื่อว่าเป็นธนาคารใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในด้านนี้ ด้วยเป็นสปอนเซอร์ให้บอยเเบนด์ชื่อดังที่มีฐานเเฟนคลับทั่วโลกอย่าง “BTS” (Bangtan Sonyeondan)

โดย KB มีการทำตลาดทั้งออฟไลน์เเละออนไลน์ที่เข้มข้น เน้นเจาะกลุ่มตลาดคนรุ่นใหม่ที่เป็น “Young Generation”

จุดเเข็งด้านการตลาดไอดอลนี้ ทำให้กลุ่ม JMART มองว่าเป็นโอกาสที่จะนำมาต่อยอดในไทย ซึ่งกระเเส KPOP กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก มีฐานเเฟนคลับเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย มีกำลังซื้อเเละมีการใช้จ่ายด้านไลฟ์สไตล์สูง จึงเป็นลูกค้าที่เหมาะเเก่การปล่อยสินเชื่อเเละบัตรเครดิต

ก่อนหน้านี้วงการธนาคารไทย ก็มีการนำศิลปิน KPOP มาทำตลาดเจาะกลุ่ม New Gen ที่มีกว่า 10 ล้านคนในไทยมาเเล้ว อย่างโปรเจกต์ใหญ่ KBankxBLACKPINK ของกสิกรไทยร่วมกับเกิร์ลกรุ๊ปชื่อดัง BLACKPINK ในคอนเซ็ปต์ #แค่เชื่อก็เป็นได้ ปล่อยโปรดักต์แรกเป็นบัตรเดบิตคอลเลคชั่นพิเศษที่ตั้งเป้ายอดบัตรถึง 1 ล้านใบ

อาจเป็นไปได้ว่าในอนาคตเราอาจจะได้เห็นศิลปินวง BTS หรือวงอื่นๆ มาอยู่บนบัตรของ JFINTECH ก็เป็นได้ เพราะมีฐานเเฟนคลับในไทย “เยอะมาก” อย่างไรก็ตามเเต่..ก็ต้องคอยลุ้นกันต่อไป

พับเเผนขยาย Jaymart Mobile – ธุรกิจทวงหนี้ยังสดใส 

ย้อนกลับมาคุยกันถึงธุรกิจที่น่าเป็นห่วงที่สุดในกลุ่ม JMART นั่นก็คือร้านขายมือถือเพราะ COVID-19 ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป หันไปช้อปสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เเละมีกำลังซื้อลดลง ชะลอการใช้จ่าย

“ในปีนี้ Jaymart Mobile คงไม่ขยายสาขาในห้างสรรพสินค้าเพิ่มเติม เเละอาจปรับลดจำนวนสาขาลงด้วย”

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจในเครืออย่าง Singer ยังมีโอกาสขยายการเติบโตได้อีก เพราะไม่ต้องอยู่ในห้าง เเละจะเข้ามาเสริมช่องทางการขายของ Jaymart Mobile ได้

ขณะเดียวกัน JMART ก็ยังมีธุรกิจดาวรุ่งอยู่ในมือ เเม้ต้องเผชิญเศรษฐกิจฝืดเคือง นั่นคือ “ธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ” ของบริษัทในเครืออย่าง JMT ยังเป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากบริษัทมีพอร์ตบริหารหนี้สะสมในปัจจุบันอยู่ที่ 177,000 ล้านบาท และสามารถทยอยรับรู้รายได้จากกระแสเงินสด (Cash collection) ที่สามารถเก็บเข้ามาได้ต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 10 ปี

“ในสถานการณ์ COVID-19 จะทำให้มีเเนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในระบบเพิ่มขึ้น จึงตั้งเป้าใช้งบลงทุนซื้อหนี้เข้ามาบริหารในปีนี้ที่ 4,500 ล้านบาท สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน” สุทธิรักษ์ ตรัย
ชิรอาภรณ์ ซีอีโอของ JMT ระบุ

สำหรับภาพรวมธุรกิจ เเม่ทัพของ JMART ยืนยันว่าปีนี้ก็น่าจะเป็นปีที่ดีที่สุดอีกปีหนึ่งของบริษัท จากปีที่แล้วที่ทำกำไรได้สูงสุด ปีนี้ก็น่าจะทำสถิติกำไรสูงสุดได้อีกปีหนึ่ง โดยยังคงตั้งเป้าการเติบโตของกำไรไว้ที่ 25% รายได้เติบโต 10% เเม้จะยอมรับว่าได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เเต่ยังบริหารจัดการต้นทุนเเละค่าใช้จ่ายได้ดี จึงคาดว่าจะยังคงทำได้ตามเป้า เเละสถานการณ์น่าจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง

 

]]>
1276373