“วรเดช รุกขพันธ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วีบียอนด์ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด เปิดตัวธุรกิจใหม่ในเครือ แพลตฟอร์ม “Property Mall” แหล่งค้นหาเพื่อซื้อขาย เช่า ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในไทย ขณะนี้สามารถค้นหาได้ผ่านหน้าเว็บไซต์ แต่จะพัฒนาแอปพลิเคชันต่อเนื่อง คาดใช้งานแอปฯ ได้ไม่เกินมกราคม 2566
ความแตกต่างของ Property Mall จากเว็บไซต์ค้นหาอสังหาฯ อื่นๆ วรเดชกล่าวว่ามาจากการใช้ AI เข้ามาช่วยประเมินความต้องการลูกค้า และเสนอสินค้าที่น่าจะเหมาะสมให้ จากปกติเว็บไซต์อื่นจะเป็นการเข้าไปค้นหาเอง โดยอาจมีให้เลือกเฉพาะทำเล ประเภทอสังหาฯ และราคา จากนั้นลูกค้าต้องเลื่อนหาเองไปทีละรายการ
“ในขั้นตอนสมัครสมาชิก ลูกค้าสามารถกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับตนเองลงไปได้อย่างละเอียด จากนั้นเมื่อค้นหาอสังหาฯ AI จะหาสินค้าที่ดีกับเรามากที่สุดมาเสนอ เช่น ใกล้ทั้งออฟฟิศ ใกล้โรงเรียนลูก และเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเราที่ชอบช้อปปิ้งด้วย” วรเดชกล่าว
รวมถึงการลงทุนในอสังหาฯ ก็สามารถปรึกษาเบื้องต้นกับแพลตฟอร์มได้เช่นกัน โดยระบบสามารถแนะนำแพ็กเกจการลงทุนที่เหมาะกับลูกค้าว่าควรลงทุนที่ไหน จากการประเมินผลตอบแทน (yield) ที่ลูกค้าเลือกและความเสี่ยงที่รับได้
ปัจจุบัน Property Mall มีดีเวลอปเปอร์ร่วมเป็นพันธมิตรแล้วกว่า 50 ราย มีทรัพย์ที่อยู่ในแพลตฟอร์มแล้วกว่า 100 โครงการ ดีเวลอปเปอร์เจ้าใหญ่ที่ลงขายกับแพลตฟอร์มนี้ เช่น แสนสิริ, เสนาฯ, เอสซี แอสเสท, ณุศาศิริ, CMC เป็นต้น
“เราวางเป้าว่าภายใน 5 ปีจะดึงดีเวลอปเปอร์ครึ่งหนึ่งของตลาดมาขายกับเรา” วรเดชกล่าว ทั้งนี้ ประเมินว่าขณะนี้มีดีเวลอปเปอร์รวมกว่า 700 รายในตลาด รวมทั้งรายใหญ่ไปจนถึงรายเล็กที่ทำโครงการระดับท้องถิ่น
อีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ Property Mall ต่างออกไปคือ ธุรกิจหลักของบริษัทแม่มาจากการเป็นเอเย่นต์/โบรกเกอร์ขายอสังหาฯ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2555 ทำให้ฟีเจอร์ในเว็บไซต์จะเพิ่มเรื่อง “โปรโมชัน” ที่ลูกค้าต้องการ เนื่องจากทรัพย์ที่นำมาขายในแพลตฟอร์มนั้นเอเย่นต์วีบียอนด์เป็นผู้ดูแลการขายอยู่แล้ว ทำให้ลูกค้าที่สนใจสามารถติดต่อเอเย่นต์เพื่อต่อรองโปรโมชันกลับไปที่ผู้ประกอบการได้
รวมถึงโครงสร้างธุรกิจจะต่างจากเว็บไซต์ค้นหาอสังหาฯ อื่นซึ่งมีรายได้หลักจากค่าโฆษณา (ผู้ประกอบการหรือเอเย่นต์จ่ายค่าโฆษณาเพื่อให้ทรัพย์ของตนเองอยู่ในลำดับแรกๆ เมื่อลูกค้าค้นหา) เมื่อ Property Mall เป็นโบรกเกอร์เองด้วย ทำให้จะได้รายได้จาก “ค่าคอมมิชชั่น” เมื่อขายทรัพย์รายการนั้นสำเร็จ โดยคิดค่าคอมฯ ตั้งแต่ 3% จนถึงสูงสุด 20%
วรเดชกล่าวต่อว่า สำหรับวีบียอนด์ เมื่อปี 2564 ทำกำไรสุทธิ 40 ล้านบาท เป้าปี 2565 จะทำกำไรสุทธิ 100 ล้านบาท คาดหวังปี 2566 จากการเปิด Property Mall น่าจะทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้นไปถึง 600 ล้านบาท
ส่วนเป้าหมายระยะกลางของแพลตฟอร์มนี้ ภายใน 3 ปีหวังว่าจะทำยอดขายได้ 50,000 ล้านบาทต่อปีสำหรับทรัพย์มือหนึ่ง และยอดขาย 10,000 ล้านบาทต่อปีสำหรับทรัพย์มือสองที่จะนำมาขายในแพลตฟอร์มด้วยเช่นกัน
]]>“จตุพร วิไลแก้ว” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชัน จำกัด ในเครือ บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ เปิดเผยถึงความคืบหน้าแผนการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เตรียมยื่นไฟลิ่งภายในไตรมาส 3/2565 และคาดว่าจะได้เปิด IPO ในไตรมาส 4/2565
รายได้ล่าสุดปี 2564 ของบริษัทอยู่ที่ 490 ล้านบาท และบริษัททำรายได้เติบโตเฉลี่ย 25-30% ในรอบ 3-4 ปีที่ผ่านมา พร้อมตั้งเป้าภายในปี 2566 จะขึ้นเป็น Top 3 บริการอสังหาฯ ครบวงจรในประเทศไทย และภายใน 3 ปีข้างหน้าเชื่อว่ารายได้จะเติบโต 2-3 เท่า
ประวัติบริษัทพรีโมก่อตั้งเมื่อปี 2554 เพื่อเป็นเอเย่นต์ขายอสังหาริมทรัพย์ และจัดการบริการทำความสะอาด ช่วยสนับสนุนการเติบโตของออริจิ้น หลังจากนั้นมีการขยายธุรกิจต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีทั้งหมด 8 บริษัทย่อย แบ่งตามวงจรอสังหาฯ 3 ขั้นคือ
1.กลุ่ม Pre-Living Services บริการที่อยู่ในช่วงก่อนเริ่มเข้าอยู่อาศัย ประกอบด้วย
2.กลุ่ม Living Services ให้บริการเมื่อผู้บริโภคเข้าพักอาศัยแล้ว ประกอบด้วย
3.กลุ่ม Living & Earning Services ให้บริการแก่ผู้อยู่อาศัยที่ต้องการได้รับประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม ประกอบด้วย
“จุดแข็งของเราคือเรามีทุกอย่างครบทั้ง journey ของการบริการอสังหาฯ เช่น ออกแบบโครงการ ออกแบบตกแต่งภายใน นิติบุคคล ทำความสะอาด ดูแลสินทรัพย์ปล่อยเช่า เอเย่นต์ฝากขายฝากซื้อ ฯลฯ มีครบตลอดวงจร แต่เจ้าอื่นอาจจะมีบางส่วนที่ไม่ได้ทำ” จตุพรกล่าว
จตุพรระบุว่าสัดส่วนรายได้หลักของบริษัทจะมาจาก Living Services เป็นหลัก เพราะธุรกิจนิติบุคคลและแม่บ้านทำความสะอาด จะเป็นการทำสัญญารายปีซึ่งทำให้ได้รายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ
ปัจจุบันพรีโมมีโครงการในมือที่ให้บริการในส่วนนิติบุคคล 50 โครงการ จำนวนรวม 30,000 ยูนิต โดยแบ่งเป็นโครงการในเครือออริจิ้น 60% และนอกเครือออริจิ้น 40% โดยเฉพาะ คราวน์ เรสซิเดนซ์ ที่เป็นบริการสำหรับกลุ่มโครงการลักชัวรี ได้รับผลตอบรับที่ดีจากดีเวลอปเปอร์นอกเครือด้วยชื่อเสียงการบริหารจัดการที่ทำให้บริษัทอื่นมั่นใจ
อีกธุรกิจที่บริษัทมีโครงการนอกเครือเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ คือ UPM ที่บริการออกแบบอาคารและการก่อสร้าง ขณะนี้บริษัทมีสัญญากับ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) เพื่อออกแบบศูนย์การค้าในต่างจังหวัด และกำลังเจรจากับ “บิ๊กซี” เช่นกัน ทำให้กลุ่มธุรกิจนี้ทำรายได้จากในเครือ 65% และนอกเครือเพิ่มเป็น 35%
ด้านธุรกิจลักษณะ B2C ที่กำลังมาแรง ได้แก่ Wyde ซึ่งทำงานออกแบบตกแต่งภายในและย้ายบ้าน เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา “บ้านเดี่ยว” เป็นสินค้าขายดี และลูกค้ากลุ่มนี้มีความต้องการนักออกแบบภายในพร้อมกับการย้ายบ้านด้วย จึงทำให้เป็นดาวรุ่งของปีนี้
จตุพรกล่าวว่า ทุกๆ ปีสัดส่วนรายได้จากนอกเครือจะเพิ่มขึ้นเสมอ ทำให้ใน 3 ปีข้างหน้าเชื่อว่าสัดส่วนรายได้ที่พึ่งพิงงานในเครือออริจิ้นจะลดเหลือ 30-35% และได้งานนอกเครือออริจิ้นเพิ่มเป็น 65-70% พร้อมจะเป็นอีกเครื่องยนต์หนึ่งในการขับเคลื่อนทั้งเครือ ตามที่ออริจิ้นตั้งเป้าจะเพิ่มมาร์เก็ตแคปบริษัท (อ่านต่อ >> “ออริจิ้น” ประกาศแผน “Multiverse 2025” จักรวาลธุรกิจดันมาร์เก็ตแคป “1 แสนล้าน”)
]]>